วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

"มจร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์" สานพลังบวร "โนนดินแดง" สร้าง "5 ร 5 ส" โมเดล เสริมสุขภาพชุมชน


คณะสงฆ์โนนดินแดงร่วมกับภาครัฐและสานพลังชุมชน ดำเนินโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข ด้วยพลังบวร       

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563  เวลา  08.30 น. ที่วัดโนนดินแดงเหนือ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดสู่แนวทางการขับเคลื่อน จากนโยบาย สู่การปฏิบัติ โดยนำบทบาทหน้าที่ภารกิจของวัดเชื่อมโยงสู่แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20  ปีและแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา : มุ่งเน้นพลังชุมชน วัด และส่วนราชการในพื้นที่ทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ประสานพลังสามัคคีนำนโยบาย สู่การปฏิบัติ ด้วยแนวทาง 5 ร และ 5 ส สู่ความเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการทําชุมชนให้เข้มแข็งและวัดพร้อมเป็นศูนย์กลาง ของชุมชนอย่างยั่งยืน 

พระครูนิเทศก์ธรรมคุณ,ดร.เจ้าคณะอำเภอโนนดินแดง  ประธานในพิธี กล่าวว่า วัด คือ ทุนทางสังคมอย่างหนึ่งของชุมชน เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมมาแต่เดิม 

อีกทั้งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นที่รวมพลังศรัทธาของชุมชน สามารถเชื่อมคติความเชื่อและประเพณีต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยวัดกับชุมชนและพุทธศาสนิกชน มีความสัมพันธ์กันใกล้ชิดและลึกซึ้ง จนยากจะแยกจากกันได้ ชีวิตคนในชุมขนเกี่ยวพันกับวัดตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย 

นายกฤษณะพงษ์ คงนันทะ ปลัดอำเภออาวุโส อำเภอโนนดินแดง ปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอโนนดินแดง ประธานฝ่ายคฤหัสถ์กล่าวว่า โดยที่วัดในฐานะองค์กรชุมชนประเภทหนึ่งซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนหรือชุมชนในเขตพื้นที่วัดและบริเวณใกล้เคียงมากกว่าองค์กรชุมชนอื่น ๆ วัดจึงมีบทบาทในการทำหน้าที่และมีกิจกรรมต่าง ๆ โดยเจ้าอาวาสและคณะกรรมการของวัด ร่วมกับชุมชนในการดำเนินภารกิจ วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย และเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมของชุมชน อย่างต่อเนื่องสืบมา การดำเนินกิจกรรม/โครงการในวันนี้ มีเป้าหมายโดยภาพรวม

คือ การนำพลังบวร คือบ้าน วัด โรงเรียนที่เป็นสถาบันหลักมีบทบาทใกล้ชิดต่อวิถีชีวิตของคนไทย เป็นแหล่งปลูกฝังบ่มเพาะเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อพัฒนาจิตใจและจิตสานึก ด้านจริยธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับ ให้มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม รู้รักสามัคคี เสียสละ และกตัญญูรู้คุณ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนไทยที่ควรธำรงรักษาไว้ รวมทั้งให้เป็นแหล่งกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดาเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงโครงการต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่วนภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแรงหนุนเสริม เพื่อให้การดำเนินงานหรือโครงการบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชน



พระครูประจักษ์วิริยาทร ประธานดำเนินโครงการ กล่าวว่า วัดโนนดินแดงเหนือ เป็นวัดที่สมบูรณ์ ซึ่งมีประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ สภาพความเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งวัด มีศาสนสมบัติของวัด โดยมีเจ้าอาวาสปกครองดูแลบริหารจัดการวัดอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเรียบร้อยเป็นอย่างดี ตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคมและได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามพันธกิจของคณะสงฆ์อย่างสมบูรณ์ ทั้งด้าน การปกครอง การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ โดยมีการพัฒนาวัด คือการปรับปรุงสภาพวัดและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดจนกระทั่งมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนและเป็นศูนย์กลางของชุมชน เสมอมา             

ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของวัด ดังกล่าว ด้วยคณะสงฆ์/ ผู้นำชุมชนและพุทธศาสนิกชน วัดโนนดินแดงเหนือ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับบุคลากร ส่วนราชการในท้องถิ่น ได้ร่วมกันจัดทำและดำเนินโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข ด้วยพลังบวรสู่ความเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข ด้วยแนวทาง 5 ร คือ สะอาดร่มรื่น สงบร่มเย็น สุขภาพร่วมสร้าง ศิลปกรรมร่วมจิต และชาวประชาร่วมใจ เริ่มจากการฝึกอบรมด้วยการสวดมนต์และเจริญจิตภาวนา ปฏิบัติธรรมในทุกวันเสาร์ โดยการฝึกอบรม เสริมธรรม เสริมปัญญา พัฒนาจิตใจ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เกิดความสงบทั้งทางกาย ทางใจ นำมาซึ่งสุขภาวะที่ดี สู่การพัฒนาวัดให้สะอาดร่มรื่น เป็นอาราม เป็นที่รมณียสถานรื่นรมย์ ด้วยหลักความมีระเบียบวินัยทำให้เกิดสันติธรรม และเสริมคุณค่าศาสนสถาน เป็นที่ ที่พุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาแล้วเกิดความสงบทั้งทางกาย ทางใจ นำมาซึ่งสุขภาวะที่ดี มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมของชุมชน สืบต่อไป  

และผนวก  5 ส ได้แก่การ สร้างวินัย (Training) จูงใจด้วยการสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น มีการฝึกอบรม ผ่านกิจกรรม คือ การสวดมนต์และปฏิบัติธรรมในทุกวันเสาร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งทางกายและจิตใจควบคู่กันไปตามหลักไตรสิกขา พัฒนาทางกายเป็นการละปลิโพธความกังวลต่าง ๆ โดยใช้หลักสีลขันธ์ คือ การสำรวมระวัง การรู้จักประมาณ เป็นการสะสาง (Organization) การลดสิ่งที่ไม่จำเป็นให้มีความพอดี ในขณะที่เข้ามาสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ ความตั้งใจมั่น จิตอยู่ในอารมณ์เดียว ที่เกิดจาดความเพียร ชาคริยานุโยค จะมีคุณภาพจิต สมรรถภาพจิต สุขภาพจิตดี ทำให้ใช้ความคิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดแยกแยะ จะคิดทำอะไร แก้ปัญหาอะไรออก ให้เห็นสภาวะและความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย เป็นความสะดวก (Neatness)  เมื่อใจตั้งมั่นแล้วมีสุขภาพจิตดี การทำงานไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัตถุก็จะเรียบร้อย 

สะดวกในการใช้ และด้านจิตใจก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา (Wisdom) รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปัญญาจะชำระจิตให้สะอาด เมื่อจิตสะอาดจะทำ พูด คิด อะไร ก็ไม่เบียนตนและผู้อื่น การกระทำก็จะสะอาด (Cleaning) ทั้งทางด้านทางกาย ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุต่าง ๆ สถานที่ และทางด้านจิตใจมีความพอดี เป็นการดำเนินตามทางสายกลาง โดยใช้หลักธรรมะ สร้างมาตรฐาน (Standardizationing) คือ การสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบ พัฒนาจิตใจให้เกิดความมั่นคงภายใน โดยอาศัยหลักสร้างวินัย (Vinaya) ในการพัฒนา ฝึกฝน อบรม (Training) ให้มีความรู้ความใจกับชีวิต ตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา โดยอยูในหลักธรรมและวินัย พัฒนาจิตใจให้เกิดความมั่นคงภายใน เพื่อการใช้ชีวิตที่ดำเนินตามหลักมัชฌิมาคือทางสายกลาง โดยใช้วัตถุให้เกิดคุณค่าประโยชน์สูงสุด จิตใจมีความสุข สะอาด สว่าง สงบ พุทธศาสนิกชนจะได้เข้าใจว่าวัดเป็นสถานที่ที่สืบทอดพระพุทธศาสนาจะได้เห็นความสำคัญของวัด พัฒนาสังคมให้เกิดความเมตตาตาสามัคคีกันและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความร่มเย็นทั้งทางกายและทางใจ                

โดยอาศัยบทบาทของพุทธศาสนิกชนในชุมชนและพระภิกษุ สามเณร ร่วมกับบุคลากร ส่วนราชการในท้องถิ่น เป็นพลังบวร สู่การพัฒนาวัดให้สะอาดร่มรื่น เป็นอาราม เป็นที่รมณียสถานรื่นรมย์ เป็นศาสนสถานที่พุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาแล้วเกิดความสงบทั้งทางกาย ทางใจ นำมาซึ่งสุขภาวะที่ดี เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข เสริมคุณค่าศาสนสถาน คือวัดในชุมชนให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนและเป็นศูนย์กลางของชุมชนอย่างวัดมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ ดังนี้

1. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนในชุมชนและพระภิกษุ สามเณร ร่วมกับส่วนราชการในท้องถิ่น ได้ปฏิบัติศาสนกิจ ด้วยรูปแบบ HTG MODEL ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ บ้าน (Home) วัด (Temple) และ ราชการ (Government Service ) เป็นพลังบวร สู่การพัฒนาวัดให้สะอาดร่มรื่น เป็นอาราม เป็นที่รมณียสถานรื่นรมย์ เป็นศาสนสถานที่พุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาแล้วเกิดความสงบทั้งทางกาย ทางใจ นำมาซึ่งสุขภาวะที่ดี เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข 

2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพระภิกษุ สามเณร ในวัด บุคลากรส่วนราชการ ในท้องถิ่น ตลอดจนพุทธศาสนิกชนในชุมชนที่มาร่วมโครงการ กิจกรรมในวัด โดยบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรม 5 ส ร่วมกับ 5 ร ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน   

3. เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการฝึกความเสียสละ มีความสามัคคี เป็นรูปแบบการสร้างเครือข่าย(CSR : Corporate Social Responsibility)ด้วยรูปแบบHTG MODEL เป็นพลังบวร ให้เป็นพื้นที่แบบอย่างทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ ในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน โดยทําชุมชนให้เข้มแข็งและวัดพร้อมเป็นศูนย์กลาง ของชุมชนอย่างยั่งยืน             

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดสู่แนวทางการขับเคลื่อน จากนโยบาย สู่การปฏิบัติ ด้วยแนวทาง 5 ร และ 5 ส สู่ความเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการทําชุมชนให้เข้มแข็งและวัดพร้อมเป็นศูนย์กลาง ของชุมชนอย่างยั่งยืน  ในครั้งนี้ ได้รับความข้อคิดเห็นร่วมกันจากวิทยากรประกอบด้วย

1. พระครูศรีปัญญาวิกรม,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ประเด็น : บทบาทหน้าที่ภารกิจของวัดที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา : การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ                                                   

2. พระมหาถนอม อานนฺโท.ดร. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์...ประเด็น : บทบาทหน้าที่ภารกิจของวัดและความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการพัฒนาชุมชนในสังคมไทย”      

3. ผู้แทนเทศบาลตำบลโนนดินแดง  ประเด็นจากส่วนกลาง สู่ท้องถิ่น   : บทบาทกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กับการพัฒนาวัดโดยใช้หลัก ๕ ส. เป็นวัดสร้างสุข   โดย... นายวรากร ฉาไธสง สมาชิกสภาเทศบาลตำบลโนนดินแดง  นางภาวินี ชัยอนันตระกูล สมาชิกสภาเทศบาลตำบลโนนดินแดง   ดร.นรินทร์ ลีกระโทก ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลโนนดินแดง

        

4. ผู้แทนจากที่ทำการปกครอง ที่ว่าการอำเภอ ราชการ โรงเรียน ประเด็น พลังบวร : สู่พลังขับเคลื่อนสู่เป้าหมายวัดส่งเสริมสุขภาพ และสร้างสุข ให้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรม ของชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยนายอนันตชิน  ทศดร    ปลัดอำเภอฝ่ายปกครอง อำเภอโนนดินแดง นายสมัคร นรินทร์รัมย์ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง   น.ส.ฐิตารีย์ ปริกุลพสิษฐ์ ครูชำนาญการพิเศษ คศ.3 โรงเรียนร่มเกล้า บุรีรัมย์ นายรวิศุทธิ์ ใจแก้ว ครูชำนาญการพิเศษ คศ.3 โรงเรียนร่มเกล้า บุรีรัมย์

4. สาธารณสุขอำเภอโนนดินแดง โรงพยาบาลอำเภอ รพ.สต ประเด็น : จากส่วนกลางสู่ภูมิภาค : บทบาทกระทรวงสาธารณสุขกับการพัฒนาวัดโดยใช้หลัก 5 ร. เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ   โดย...นายขาล สอนฤทธิ์     สาธารณสุขอำเภอโนนดินแดงพ.ญ.ภัทรี เลาติเจริญ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโนนดินแดง  นางศรัณรัชต์ สืบสัตย์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลโนนดินแดง นายเทิดศักดิ์  ไขโคกกรวด อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

 

    

6. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนชุมชน ประเด็น : พลังจากชุมชน สู่พลังท้องถิ่น : กับการพัฒนาวัดโดยใช้หลัก 5 ร. และ 5 ส.เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและวัดสร้างสุข   

โดย นายชัยยศ พุฒพวง กำนันตำบลโนนดินแดง  นายสมาน พิมพ์ภา ผู้ใหญ่บ้านโนนดินแดง  นายลำชา สะอิ้งทอง ผู้แทนชุมชนโนนดินแดง  นายทัศ ใยพิมาย มรรคนายกวัดโนนดินแดงเหนือ 

พระมหาประเสริฐ สุเมโธ,ดร.ผู้ดำเนินรายการ ได้กล่าวสรุปว่า จากการระดมความคิดสู่แนวทางการขับเคลื่อน จากนโยบาย สู่การปฏิบัติ  ในครั้งนี้ทำให้มองเห็นภาพ  วัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข  ที่ประกอบด้วยสุขภาวะ 4 มิติ  กล่าวคือ 1) สุขภาวะทางกาย ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงปลอดภัย มีสัมมาชีพ  2) สุขภาวะทางจิต ก่อให้เกิดความดี ความงาม ความสงบและมีสติ  3) สุขภาวะทางสังคม สังคมเข้มแข็ง สังคมยุติธรรม สังคมสันติสุข สังคมสุสัมพันธ์ และ 4)  สุขภาวะทางปัญญา รู้เท่าทัน ทำเป็น อยู่เป็น  เห็นอิสรภาพ


ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพรพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ วิทยากรโครงการนิสิตปฏิบัติศาสนกิจ กล่าวปิดท้ายว่า การดำเนินโครงการ วัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข ด้วย HTG MODEL : พลังบวร นั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่ายิ่ง ๆ  ขึ้นไป 

ก็ต่อเมื่อเกิดกระบวนการ มีระบบบริหารจัดการและพัฒนา มีการขยายและถ่ายทอดความรู้  มีการต่อยอดและขยายเครือข่าย ดังต่อไปนี้           

1. เกิดกระบวนการที่ส่งผลให้เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือ โดยที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ในการฝึกความเสียสละ มีความสามัคคี เป็นรูปแบบการสร้างเครือข่าย (CSR : Corporate Social Responsibility) ให้เป็นพื้นที่แบบอย่างทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ ในการทําชุมชนให้เข้มแข็งและวัดพร้อมเป็นศูนย์กลาง ของชุมชนอย่างยั่งยืนและให้คงอยู่ตลอดไป              

2. มีระบบบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร(วัด) แบบมีส่วนร่วมโดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีการสนับสนุนส่งเสริมให้พระภิกษุ สามเณร ได้ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับชุมชน ด้วยกิจกรรม ๕ ส ร่วมกับ ๕ ร สู่การพัฒนาวัดให้สะอาดร่มรื่น เป็นอาราม เป็นที่รมณียสถานรื่นรมย์ เป็นศาสนสถาน ที่พุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาแล้วเกิดความสงบทั้งทางกาย ทางใจ นำมาซึ่งสุขภาวะที่ดี เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข ด้วยรูปแบบHTG MODEL เป็นพลังบวร ให้เป็นพื้นที่แบบอย่างทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ ในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน โดยทําชุมชนให้เข้มแข็งและวัดพร้อมเป็นศูนย์กลาง ของชุมชนอย่างยั่งยืน ทำให้วัดกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกันของประชาชน เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนอย่างต่อเนื่อง สืบไป                     

3. มีการขยายและถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการอย่างมีสุขภาวะสู่ชุมชน สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนอยู่รวมกันอย่างมีความสุข มีขยายและถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการอย่างมีสุขภาวะสู่ชุมชน สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เกื้อกูลให้การประพฤติปฏิบัติธรรม เป็นไปตามหลักไตรสิกขา โดยมีการบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรม 5 ส ร่วมกับ 5 ร ให้วัดเป็นส่งเสริมสุขภาพและวัดสร้างสุข เป็นพลังบวร อย่างแท้จริงสืบต่อไป                

4. มีการต่อยอดและขยายเครือข่ายการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกัน ขยายมีการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพระภิกษุ สามเณร บุคลากรในวัด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมโครงการ กิจกรรมในวัด โดยบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรม 5 ส ร่วมกับ 5 ร ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานภายใต้บริบทของพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปอีกด้วย             

                




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...