วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

"สันติศึกษา มจร" ขึ้นดอยช้าง ดึงพลังชาติพันธุ์สร้างชุมชนสันติสุข


"สันติศึกษา มจร" ขึ้นดอยช้าง เปิดเวทีดึงพลังชุมชนสร้างสันติสุขสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 ที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงบ้านดอยช้าง จังหวัดเชียงราย  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  นำคณาจารย์ และนิสิตลงพื้นที่ดอยช้าง  จังหวัดเชียงราย เพื่อดึงพลังชุมชนต่างๆ มาร่วมสร้างสันติสุขสัมพันธ์ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อส่งเสริมแนวทางการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางความเชื่อ ศาสนา ประเพณี และชาติพันธุ์ ภายใต้งานวิจัยปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา เรื่อง "กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย  ของนางชนาภา ศรีวิสรณ์



พระมหาหรรษากล่าวว่า "ชุมชนดอยช้างมีกลุ่มคนอยู่อาศัย 5 ชาติพันธุ์ นับถือศาสนา 3 ศาสนา คือ พุทธ คริสต์ อิสลาม และอีกหนึ่งความเชื่อผีบรรพบุรุษ ถอยกลับไป 40 ปีก่อน ประชาชนมีความยากจน จึงเผาป่า ปลูกฝิ่น จึงทำให้เกิดโครงการพระราชดำริ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้กระตุ้นให้ปลูกกาแฟ และพืชต่างๆ จนบัดนี้ ทำให้ชนเผ่าต่างๆ มีความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น"

"อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถเชื่อมสมานความต่างทางชาติพันธุ์ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา และประเพณี รวมถึงสภาวะการดำเนินเศรษฐกิจระหว่างชนเผ่าเป็นไปอย่างประสมกลมกลืน นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา จึงได้ทำวิจัยเพื่อนำหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการเข้าไปช่วยพัฒนาสันติสุขสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าต่างๆ บนชุมชนดอยช้าง ฉะนั้น การสร้างเวทีในวันนี้ จึงเป็นการสร้างความไว้วางใจระหว่างกันและกัน อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขอย่างยั่งยืนต่อไป" พระมหาหรรษากล่าวเสริม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...