วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

เจ้าคุณประสารประชุมร่วมสมาคมพุทธ 3 จว.แดนใต้ หวังอยู่ร่วมกันสงบสันติไม่เบียดเบียนกัน



วันที่ 27 กันยายน 2564 พระเมธีธรรมาจารย์ หรือ เจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศสพ.จชต.)  เป็นประธานประชุมร่วมกับสมาคมเพื่อความมั่นคงพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีคณะกรรมการกว่า 30 รูป/คนเข้าร่วมประชุมในแบบออนไลน์ อาทิ  พระครูสุวัฒนาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม ผอ.วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี รองผู้อำนวยการศูนย์ฯพระครูโฆสิตสุตาภรณ์(ท่านขาว)วัดบูรพาราม อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ฝ่ายแผนงาน เป็นต้น ในฝ่ายฆราวาสมีพล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ เลขาธิการศูนย์ฯ และคณะกรรมการบริการเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน         

พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวว่า การประชุมวันนี้เป็นการประชุมร่วมกันทุกฝ่ายที่ทำงานด้านพระพุทธศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวาระสำคัญเรื่องผลสัมฤทธิ์ของงานและปรึกษาหารือในการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น           

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯได้รายงานและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนถึงสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปัญหาความไม่สงบในพิ้นที่ จชต. ความเป็นเอกภาพของชาวพุทธ การทำงานของภาครัฐและชาวพุทธที่ไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้เสนอโครงสร้างการบริหารสำนักงาน ศสพ.จชต.เพื่องานเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยกำหนดให้มีฝ่ายแผนงาน ฝ่ายโครงการและสาธารณสงเคาระห์ มีงานสำคัญ 6 งาน ฝ่ายเผยแผ่และบริการ มีงานในกำกับ 4 งาน ฝ่ายการศึกษา มีงานหลัก 4 งานใหญ่ ฝ่ายบริหารทั่วไป มีงาน 5 ด้าน รวมทั้งมีคณะทำงานแผนยุทธศาสตร์พัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัด         

จากนั้น พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ เลขาธิการ ได้สรุปผลงานของศูนย์ฯตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2564 ดังนี้ 1.ปัญหาของพระพุทธศาสนาและชาวไทยพุทธ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.งานฟื้นฟูวัด สำนักสงฆ์ร้าง จำนวน 5 แห่ง 3.สนับสนุนการบูรณะวัด สำนักสงฆ์ ที่พักสงฆ์ จำนวน 5 แห่ง 4.งานสนับสนุนชุมชนที่มีความพร้อมให้จัดตั้งสำนักสงฆ์ ที่พักสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง 5.งานส่งเสริมอาชีพ จำนวน 10 แห่ง           

6.จัดบรรพชาสามเณรและบวชเนขัมมะจาริณีภาคฤดูร้อน ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 14-30 เมษายน รวมทั้งอบรมให้ความรู้ธรรม สอนปฎิบัติธรรม ให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป 7.การซ่อมแซมบ้านชาวพุทธที่ยากไร้ ได้รับความเดือดร้อน 8.การแก้ใขปัญหาที่ดินและการขออนุญาตใช้ทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ตามพรบ.2484 ให้กับวัด สำนักสงฆ์และที่พักสงฆ์ 9.เปิดรับบริจาคสาธารณะ 10.ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดยะลาและปัตตานี 

11.ถวายข้าวสาร อาหารแห้ง เทียนพรรษาและมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ยากไร้และกลุ่มคนเปราะบาง 12.กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา 13.พัฒนาศักยภาพมนุษย์โดยแนวพุทธศาสตร์เพื่อแก้ใขปัญหายาเสพติด 14.ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณบางอย่างกับ ศอ.บต.,สมศ.กอ.รมน.ภาค4 สน.และผู้แทนเครือข่ายชาวพุทธ 15.เยี่ยมเยือน พบปะ วัดพระสงฆ์และประชาชนในพื้นที่ จชต. 

งานทั้งหมดนี้ได้ดำเนินการเป็นรูปธรรม วัดผลประเมินผลได้พร้อมทั้งมีรูปภาพประกอบในความสำเร็จของงาน          

พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ยังรายงานต่อไปว่า พื้นที่บางแห่งจากการไปดำเนินงานของศูนย์ฯพระได้ออกบิณฑบาตรทุกวัน บางแห่งได้ไปตั้งที่พักสงฆ์และนิมนต์พระไปจำพรรษาทำให้ชุมชนพุทธแห่งนั้นกว่า 70-80 ปีไม่เคยมีพระออกบิณฑบาตรเลยวันนี้ชุมชนได้ใส่บาตรพระสงฆ์ทุกเช้า นับเป็นภาพที่ปลื้มใจและงดงามยิ่ง           

"ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศสพ.จชต) และสมาคมความมั่นคงพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะยังคงยืนหยัด มุ่งมั่นในการรักษาวัด สำนักสงฆ์ที่พักสงฆ์พระสงฆ์สามเณรและชาวพุทธไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้อยู่ในพื้นที่ได้อย่างสงบ สันติ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาด้วย โดยมีสโลแกน​ว่า เราจะผนึกกำลัง​ไปด้วยกัน" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวในตอนท้าย  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...