วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564

"ชาวฟิตเนส"ร้อง"ชวน"จี้รัฐบาล เปิดพื้นที่สถานออกกำลังกายปลอดโควิด


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564  เวลา 11.00 น. ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายราเมศ รัตนะเชวง เลขานุการประธานรัฐสภา พร้อมด้วย น.ส.รังสิมา รอดรัศมี และนายธีรภัทร พริ้งศุลกะ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ รับยื่นหนังสือจาก นายธันย์ปวัฒน์ เตชภูวดลวิทิต ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการสถานออกกำลังกายและผู้ฝึกสอนการออกกำลังกายและคณะ  เพื่อยื่นข้อเสนอในการดำเนินการเปิดพื้นที่สถานออกกำลังกายและมาตรการรักษาความปลอดภัยในการประกอบกิจการ สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่กำหนดให้มีการปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค การพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการและการตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ 


ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบอาชีพธุรกิจสถานออกกำลังกายและฟิตเนส รวมทั้งผู้ฝึกสอนกีฬา คนออกกำลังกาย ลูกจ้างในระบบประกันสังคม และกลุ่มอาชีพอิสระที่รับค่าจ้างแบบรายวัน  ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลามากกว่า 300 วัน ที่ผ่านมา รัฐบาลเริ่มมีประกาศคำสั่งปิดสถานออกกำลังกายและฟิตเนส รวมทั้งยกเลิกการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันจำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค. 63 ซึ่งทุกครั้งที่มีการประกาศ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวจะเป็นลำดับแรกที่ถูกสั่งปิด และเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้กลับมาเปิดให้บริการ จึงขอเสนอมาตรการเพื่อช่วยเหลือและเยียวยา ดังนี้

 

1. ยกเลิกคำสั่งปิดสถานออกกำลังกายและฟิตเนสแบบเหมารวม โดยให้ปิดเฉพาะสถานประกอบการที่พบผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

 

2. ขอให้มีคำสั่งปลดล็อกเพื่อให้สถานออกกำลังกายและฟิตเนสได้กลับมาเปิดให้บริการ และสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้เต็มรูปแบบ ภายในวันที่ 1 ต.ค. 64 โดยให้คงการปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค. เพื่อรักษามาตรฐานการควบคุมโรค

    

3. จัดสรรฉีดวัคซีนให้กับผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด

    

4. ออกนโยบายที่ชัดเจนเรื่องการเยียวยา การพักชำระหนี้ และ/หรือการกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อรักษาสภาพคล่องทางธุรกิจและรักษาการจ้างงานพนักงาน

    

5. เปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนที่เดือดร้อน เพื่อให้ทราบถึงมุมมอง ผลกระทบ และความยากลำบากของผู้มีอาชีพในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ก่อนที่รัฐจะออกคำสั่งที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจนั้น ๆ 


ด้าน นายราเมศ รัตนะเชวง กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนประธานรัฐสภา เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...