"อ.เกรียงศักดิ์"แนะองค์กรยุคใหม่ต้องมีแผนสร้างทายาท ยกพระพุทธเจ้าต้นแบบสร้างธรรมทายาททางจิตตภาพมุ่งอุดมการณ์ เสนอโมเดลปั้นศาสนาทายาท
วันพุธที่ 22 กันยายน 2564 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)
เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร นักศึกษาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ รุ่น 12 ประธานด้านการประชาสัมพันธ์กลุ่มสโลวาเกีย หลักสูตรนักบริหารระดับสูง เปิดเผยว่า ได้เรียนออนไลน์หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ รุ่นที่ 12 โดยสถาบันการสร้างชาติ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รวมพลังคนดี คนเก่ง คนมีคุณภาพสู่การพัฒนาที่เกิดความยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “การสร้างทายาทผ่านวิกฤต” บรรยายแบบบูรณาการโดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI) และนักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวประเด็นสำคัญว่า ผู้นำที่ดีจะต้องมองอนาคต มิใช่ทำเพียงในยุคตนเองเท่านั้น โดยใช้ชีวิตให้มีคุณค่าในฐานะผู้นำ ผู้นำจะมองทะลุไปถึงความมั่นคง ยั่งยืน ที่ห่วงใยอย่างมากอนาคตจะต้องสร้างทายาท ซึ่งถ้าไม่สามารถสร้างทายาทไว้ได้จะมีการเหยียดหยามกันในบางกลุ่มจึงจำเป็นต้องสร้างทายาท ในปัจจุบันคนไม่ค่อยสร้างทายาทเพราะมองว่าเป็นความยุ่งยากรวมถึงภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ แต่ถ้าไม่สร้างทายาทเผ่าพันธุ์มนุษย์จะสูญสิ้นไป ถือว่าเป็นทายาททางกายภาพเกี่ยวข้องกับชุมชนสังคม แต่ต้องพัฒนาไปสู่ทายาททางจิตตภาพไปสู่ทายาท ซึ่งคำว่าทายาทหมายถึง บุคคลสำคัญที่ทำให้องค์กรยั่งยืน หรือ ล่มสลาย โดยการสร้างทายาทเป็นปัจจัยอยู่รอดขององค์กร จึงต้องถ่ายทอดทางจิตตภาพสู่ททายาท เพราะมนุษย์มีกายภาพที่สิ้นสลาย จึงต้องสืบสัญชาติญาณทางกายและทางใจ จึงต้องพัฒนาตนเองเป็นต้นแบบในทางทายาท ไม่สร้างพันธุกรรมที่อ่อนแอ จึงต้องพัฒนาตนเองทั้งกายภาพและจิตตภาพ โดยพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบในการสร้างธรรมทายาททางด้านจิตใจสามารถสืบทอดคำสอนให้เกิดความยั่งยืน เพราะผู้นำที่ดีต้องทายาทที่ดี ซึ่งผู้เป็นผู้นำองค์กรถ้าคิดเฉพาะตนเองไม่สร้างทายาทถือว่าเป็นผู้นำที่ขาดความผิดชอบอย่างยิ่ง
จึงจำเป็นต้องทายาทให้มีอุดมการณ์ทางด้านกายภาพและจิตตภาพ ทำให้สอดรับกับการสร้างทายาทในองค์กรธุรกิจต่างๆ จึงต้องรักษาค่านิยมในองค์กร ภายในองค์กรจะต้องสร้างคนของตนเองให้ได้ จึงต้องเลือกทายาทที่มีคุณภาพเพราะเลือกทายาทผิดทำให้องค์กรล้มสลาย จะต้องมี “ลมหายแห่งการสร้างทายาท”จะเป็นการสืบทอดอุดมการณ์ เจตนารมณ์ รักษามาตรฐานขององค์กร ผลักดันองค์กรให้มีการเติบโต โดยผู้ที่ก้าวขึ้นเป็นผู้นำองค์กรจะต้องสร้างทายาท มีความเกี่ยวข้องทางอุดมการณ์มีจิตเสมอกันทางอุดมการณ์ แต่ถ้ามาอยู่ด้วยการแอบแฝงไร้อุดมการณ์จะทำให้องค์กรล้มสลายอย่างอันตราย ผู้นำจะต้องไม่นำแค่ฉาบฉวยทำให้ทายาทไม่มีอุดมการณ์ ทำให้เราเห็นศาสนาที่มีความยั่งยืนมาหลายพันปีแสดงว่าต้องมีดีอย่างแน่นอน จงขอฝากทุกท่านว่า “อย่าไปย่ำยีศาสนาใดๆ” เช่น ศาสนาพุทธมีการทำนายว่าจะอยู่ยาวนานถึง 5,000 ปี เพราะเหตุใดจึงทำนายว่าเช่นนั้นเพราะทายาทไม่ปฏิบัติตามแนวทางของพระศาสดา จึงจำเป็นต้องสร้างทายาทด้านจิตตภาพและกายภาพให้มีความมั่นคงเพื่อรักษา สืบสาน ต่อยอด ทายาทเป็นบุคคลที่เห็นผู้นำเป็นแรงบันดาลใจ จิตเสมอกัน เห็นคุณค่าอุดมการณ์เท่ากับผู้นำ ยินดีดำเนินรอยตามอย่างสุดใจไม่สงสัย ไม่หวั่นไหวแม้ต้องเผชิญอุปสรรคและไม่ทิ้งอุดมการณ์ ทำให้เห็นว่า
"อำนาจก่อเกิดลูกน้องเป็นการสั่งการเลย อิทธิพลก่อเกิดลูกศิษย์เป็นการจูงใจ ศรัทธาก่อเกิดสาวกผู้เดินตามในคำสอน บารมีก่อเกิดทายาทยึดมั่นอุดมการณ์” ซึ่งใช้อำนาจอย่างเดียวไม่สามารถก่อเกิดทายาทได้แต่ต้องใช้ศรัทธาและบารมีนำไปสู่เชื่อถือเชื่อมั่นเชื่อใจ แต่การกดไล้ผ่านออนไลน์ต่างๆ ไม่ใช่ศรัทธา เราจึงต้องมีสาวกเพราะถ้าไม่มีสาวกแสดงว่าเราไม่ลงลึกซึ้งจากสิ่งนั้น ซึ่งสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนมาจากศรัทธาของบุคคลทั้งนั้น เช่น พีระมิด กำแพงเมืองจีน ถามว่าเรามีศรัทธาในเรื่องใด จึงต้องสร้างทายาทองค์กร “อย่าเป็นเพียงซากเดินดินเท่านั้น” จึงต้องสร้างทายาทจิตตภาพและทายาทกายภาพผ่านศรัทธา ปัญญา บารมี องค์กรต้องมีแผนการสืบแทนหรือสร้างทายาท การสร้างทายาทเป็น KPI หนึ่งของผู้นำจึงสะท้อนว่า พ่อแม่คือกายภาพ ปฏิมัตต์ทายาทคือจิตตภาพ ทำนายชีวิตลูกให้ดูชีวิตพ่อ ประเมินชีวิตพ่อให้ดูชีวิตลูก ทำนายชีวิตทายาทให้ดูปฏิมัตต์ และประเมินชีวิตปฏิมัตต์ให้ดูทายาท การสร้างทายาทคือการเอาชนะกาละและเทศะเพราะมรดกชีวิต มรดกชีวิตยืนยาว และเวลาชีวิตแสนสั้น ซึ่งเวลาเราสั้นจึงต้องสร้างทายาททำให้องค์กรเจริญรุ่งเรือง
องค์กรขาดการวางแผนการสร้างทายาทมีความล่าช้าในการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ส่งผลกระทบต่อองค์กร ทายาทจึงกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรในช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น ริคาร์โด เซมเลอร์ มีการบริหารบริษัทจากพ่อขณะเพียงอายุ 24 ปีเท่านั้น ซึ่งองค์กรที่ขาดการวางแผนสร้างทายาทที่ดีเพราะผลประโยชน์ หรือ ขัดแย้งในครอบครัว การเลือกทายาทจะต้องมองอุดมการณ์จึงต้องมองระดับความสัมพันธ์สูงสุดของมนุษย์ “บุคคลที่ทรยศมากที่สุดคือคนที่อยู่ใกล้ที่สุด” แต่ถ้าไม่เกิดความไว้วางใจจะไม่สามารถหาทายาทได้เลย
แนวทางในการเลือกทายาทหรือสร้างทายาทจะต้องมอง 3 ประการคือ 1)รักสูงสุด มีความรักในผู้นำและองค์กร 2)ไว้ใจสูงสุด ไว้ใจให้สุดใจมีความเชื่อ 3)อภัยสูงสุด เพราะมนุษย์ทุกคนสามารถทำผิดได้ต้องสามารถให้อภัยคนอื่นได้ การนับถือคนจงอย่านับถือสิ่งห่อหุ้มเพราะตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่คือผู้ทำหน้าที่ของตนเองดีที่สุด จึงแสดงว่าไอดอลของคุณคือผู้มีบารมีที่คุณนับถือสูงสุด ผู้นำจะต้องสามารถรวมใจคนในองค์กรมิใช่มองสั้นจะต้องมองยาว ผู้นำจะต้องสามารถนำ บริหารเก่ง ยินดีและอุทิศตัว สิ่งที่น่าห่วงมากคือไม่มีการเตรียมผู้นำขึ้นสู่อนาคตเน้นเอาพวกตนเองขึ้นมานำ ซึ่งทายาทที่มีทักษะที่จำเป็นในการนำองค์กรยามวิกฤต จะต้องมีบารมีทำให้คนในองค์กร สงบ เชื่อมั้น พาองค์กรผ่านวิกฤต ตัดสินใจในเรื่องยากๆได้ สื่อสารดีเยี่ยม รวมใจคนได้ บริหารเงินช่วงยากลำบากได้ดี มีความรู้สึกเร่งด่วน มีประสบการณ์ลึกซึ้งในการดำเนินงาน เก่งในการจัดการสถานการณ์ที่คลุมเครือฉุกเฉิน และสามารถปรับตัวเก่งยืดหยุ่น โดยคนที่ผ่านการพิสูจน์ตัวแล้วซึ่งผู้จะเป็นทายาทจะต้องผ่านการร่วมงานร่วมสำนึกคิด ร่วมอุดมการณ์ “ผู้ร่วมสืบทอดงาน ผู้ร่วมอุดมการณ์ ผู้ร่วมสำนักคิด และผู้ร่วมงาน” ซึ่ง IBM เน้นระบบการไต่เต้า การเลือกคนมาเป็นทายาทผิดอาจทำให้แผนการไม่สำเร็จ
การเลือกทายาทของนายลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ ถือว่าเป็นต้นแบบของการเลือกทายาทมุ่งมั่นพัฒนาทำให้สิงคโปร์มีการพัฒนาในระดับโลก มีแนวทางในการปั้นทายาทอย่างดียิ่ง ในการเลือกทายาทของสิงคโปร์ในการยกระดับมาเป็นผู้นำประกอบด้วย 1)บริหารตน เป็นนักเรียนทุนสามารถบริหารตน จบมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 2)บริหารคน เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคน 3)บริหารงาน เป็นผู้บริหารองค์กรใหญ่สำเร็จ 4)บริหารเงิน เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง ถือว่าเป็นโมเดลของการเลือกทายาทผู้นำของสิงคโปร์
โดยวิธีการเลือกทายาทเพื่อสืบทอดธุรกิจครอบครัวประกอบด้วย 1)ไม่บังคับถ้าอยากได้ต้องซื้อเอง 2)ไม่บังคับแต่ปลูกฝังสนับสนุน 3)ลูกหลานต้องสืบทอดธุรกิจตระกูล และวิธีการเลือกทายาทตามแนวทางของอาจารย์เกรียงศักดิ์ ใช้แนวทางเลือกคนหลากหลายประเภท เลือกเป็นกลุ่ม เลือกเป็นระดับชั้น เลือกโดยผู้นำเอง เลือกแบบปกป้องไม่ให้หลุดหายระหว่างทาง อย่าทดลองมากเกินไป
จึงเสนอการเลือกทายาท 3 ท. คือ โมเดลทายาทคือ สร้างทายาท โมเดลทายาทที่แท้คือสร้างทายาทของทายาท โมเดลทายาทที่สมบูรณ์คือสร้างทายาทของทายาทของทายาท ทายาทจะต้องมีหลักหมุดชีวิตและงานคือ หลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชา หลักการ หลักปฏิบัติ ผ่านการมอบหมายงาน สอนงาน ตรวจงานและถ่ายโอนงาน มีการมอบหมายงานฝึกหัด โดยสตีปจ๊อบมีการวางทายาทเป็นอย่างดียิ่ง จึงต้องเดินทางกรอบของโมเดล AIMMI ประกอบด้วย เป้าหมายทะยานใจ แรงบันดาบใจ แรงจูงใจ มูลเหตุจูงใจ และสิ่งประสงค์ล่อใจ
การสร้างทายาทด้วยภาวะไตรภาวะด้วย 3 ประการคือ 1)สร้างภาวะการนำ ด้วยวิสัยทัศน์ ชั่งน้ำหนักยุทธศาสตร์ แก้วิกฤต 2)สร้างภาวะบริหาร ด้วยการบริหารตน บริหารคน บริหารงาน บริหารเงิน 3) สร้างภาวะคุณธรรม ผ่านการสอนเป็นแบบอย่างสามารถตัดเตือนแก้ไข รวมไปถึงทำงานอย่างสมานฉันท์ในกลุ่มทายาท จึงสรุปว่าองค์กรจะต้องสร้างทายาทอย่างเป็นระบบ อย่าให้จบเพียงของรุ่นจะต้องสร้างทายาท อย่าให้จบเพียงรุ่นเราเท่านั้น แม้แต่กระบวนการเลือกอธิการบดีของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ได้มีการเตรียมการหรือกระบวนการเตรียมเลย แต่อาศัยพรรคพวกในการดึงขึ้นมาเป็นผู้นำองค์กร เรามองเพียงประโยชน์เฉพาะตนไม่ได้มองถึงอนาคต ขอบอกว่าผู้นำสำคัญที่สุดจะต้องมีผู้นำดี ไม่ใช่ใครก็ได้เป็นผู้นำ ส่วนใหญ่เลือกคนถูกใจได้เลือกคนที่ถูกต้อง เลือกบุคคลที่มีคุณภาพคนดี คนเก่งและคนกล้าในการนำองค์กรและประเทศ
ดังนั้น องค์กรไม่ล้มสลายอย่างแน่อน ถ้าเราเดินตามโมเดลปั้นทายาท โดยการยกย่องผู้นำทุกศาสนาในการสร้างทายาทาหลายพันปียาวนาน จงอย่าไปย่ำยีศาสนาใดๆ เลย อย่าให้จบเพียงรุ่นของเราเท่านั้นจงสร้างทายาท ซึ่งองค์กรยุคใหม่ต้องมีแผนในการสร้างทายาทอย่างเป็นระบบ เราต้องไม่เป็นผู้นำที่ขาดความรับผิดชอบต่อองค์กร โดยการเลือกทายาทจะต้องมองอุดมการณ์มองระดับความสัมพันธ์สูงสุด โดยยกพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบในการสร้างธรรมทายาททางจิตตภาพมุ่งอุดมการณ์ เพราะอำนาจก่อเกิดลูกน้องแต่บารมีก่อเกิดทายาททางจิตตภาพและกายภาพ โดยผู้นำจะต้องสร้างภาวะการนำภาวะการบริหารภาวะของคุณธรรม แต่สิ่งที่พึงตระหนักมากคือ
การสร้างศาสนทายาทของพระพุทธศาสนาจะต้องมีรูปแบบการพัฒนาศาสนาทายาทให้มีความเข้มแข็ง ให้พระสงฆ์มีตัวเลือกในการสร้างศาสนาทายาทถือว่าเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทในการสร้างศาสนทายาท มีกระบวนการในการคัดเลือกศาสนทายาทจึงมุ่งพัฒนาวัดสร้างชาติเป็นต้นแบบในการพัฒนาตั้งแต่ศาสนบุคคลให้เป็นบุคคลต้นแบบ มีการพัฒนาสามเณรสร้างชาติเพราะพระสงฆ์สามเณรมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น การไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาอย่าแท้จริง ทำให้ส่วนหนึ่งพยายามหาโอกาสในการเข้าถึงการระบบศึกษาผ่านพระพุทธศาสนา
ทำให้ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI) ปวารณาตนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสนับพระพุทธศาสนาในการสร้างศาสนาทายาทและยินดีให้การสนับสนุนการสร้างศาสนาทายาทของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพราะมีความเคารพต่อพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี มจร รูปอดีตและรูปปัจจุบัน อันเป็นมหาวิทยาสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทยอันเป็นฐานของการพัฒนาบุคคล ชุมชน สังคมและประเทศต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น