วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาฯถวายความรู้ "ข้อกฎหมาย-ทำบัญชีวัด" พระสังฆาธิการเพชรบุรี


เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนาโครงการบริหารจัดการวัดยุคใหม่กับการพัฒนาศักยภาพประชาชนภายได้หลักศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ณ ห้องนพรัตน์ โรงแรมรอยัลใดมอน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 23-26 ก.ย. โดยมีนายสุชาติ อุสาหะ ประธานกรรมาธิการฯ เป็นผู้เปิดงาน ในการนี้ได้มีวิทยากรที่ถวายความรู้กับพระสังฆาธิการ ได้แก่ พระพิพิธพัชโรดม (อำนวย อินฺทวณฺโณ) รองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี นายกฤษณ์ แก้วอยู่ เลขานุการกรรมาธิการ นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายธานินท์ ชื่นใจ ที่ปรึกษากรรมาธิการฯ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ โดยวิทยากรได้มุ่งถวายความรู้ในแง่มุมต่างๆ ในแง่ข้อกฎหมายที่พระสงฆ์อาจยังไม่ทราบ การจัดทำบัญชีวัด 

รวมถึงมุมมองการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของสถาบันหลักของชาติ โดยให้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ดังในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พระองค์ใช้การเผยแผ่ศาสนาโดยประสานงานคู่กับฝ่ายการเมือง นำเอาความรู้ของพระพุทธศาสนาไปถึงวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ทำให้พระสงฆ์เป็นพระตัวอย่างและต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นครูผู้มีความรู้ เด็กเยาวชนผู้ปกครองก็พร้อมที่จะเข้าวัด ทำให้เกิดการผสมผสานทั้ง ความรู้ พระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ผสมผสานกันอย่างกลมกลืนในแต่ละวิถีแห่งท้องถิ่น 

ส่งผลให้ลดปัญหาการก่อคดีที่จะส่งผลให้มีคดีขึ้นสู่ศาล ทำให้บ้านเมืองเป็นสุข ลดงบประมาณด้านตุลาการ ด้านตำรวจ ด้านการสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ทำให้สังคมและประเทศชาติพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในการนี้พระพิพิธพัชโรดม กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้พระสงฆ์อย่าทิ้งประชาชน การเป็นเจ้าอาวาสให้เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ต้องทำให้วัดอยู่คู่กับชาวบ้านได้อย่างเป็นสุข

ด้านนายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการฯ ได้กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่คณะกรรมาธิการ นอกจากจะรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่รัฐสภาฯ ยังให้ความสำคัญในการลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ และสามารถเข้าถึงปัญหาที่บางครั้งการนั่งประชุมแต่ในห้องไม่สามารถเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงได้ การที่ผู้มีอำนาจอยู่แต่ในเมืองหลวงโดยถือว่าเป็นผู้วางนโยบายและไม่ลงพื้นที่เลยนั้นตนเห็นว่าจะไม่นำมาซึ่งการแก้ปัญหาอย่างถูกจุดและยั่งยืน ดังนั้นคณะกรรมาธิการศาสนาฯ ที่ผ่านมาจะลงพื้นที่ตลอดจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในการแก้ปัญหารวมถึงการผลักดันกฎหมายต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...