วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564

"อธิการบดี มจร"แนะนักเผยแผ่พุทธยุควิถีใหม่ ต้องเป็นหลายนักรวมถึงนักทำด้วย


เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ปาฐกถานำเรื่อง พุทธนวัตกรรมการจัดการเรียนศึกษาพระพุทธศาสนาในยุค Next Normal” ในการสัมมนา "พัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาตามแนววิถีใหม่" จัดโดยสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร ภายใต้การนำของพระศรีธรรมภาณี,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร  

พระธรรมวัชรบัณฑิต ระบุว่า จะต้องเน้นคุณสมบัติของผู้สอนผู้เผยแผ่ ปัจจุบันพูดอย่างเดียวไม่มีใครเชื่อแล้ว จะต้องลงมือทำลงมือปฏิบัติด้วย ผู้เผยแผ่จะต้องพัฒนาให้เป็นนักต่างๆ จึงต้องสอนผ่านการลงมือทำเท่านั้น  

"นักเผยแผ่จะต้องเป็นนักฟังนักอ่านนักเขียนจึงสื่อสารออกมาเป็นภาษาพูด สิ่งสำคัญคือต้องเป็นนักออกแบบการจัดการเรียนรู้ สอนเพียงใบไม้ในกำมืออย่ามุ่งเอาใบไม้ในป่ามาสอน จึงต้องเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเข้าใจชีวิต มิใช่เรียนรู้เพื่อรู้เท่านั้น การจัดการการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในยุคนี้จะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตอย่างแท้จริง โดยเน้นการสอนหลักการดั่งเดิมแต่ต้องประยุกต์หลักการให้มีวิธีการที่เหมาะสมในยุคปัจจุบัน ซึ่งทำอย่างไรจะไม่จัดการเรียนการเพียงปริยัติแต่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติด้วยผ่านกิจกรรมไม่เกิดความตึงเครียด เป็นการเสริมสร้างลักษณะนิสัยให้มีเรื่องของทาน ศีล ภาวนาและนำไปสู่ศีล สมาธิ ปัญญา รวมถึงการสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างวัฒนธรรมที่ดีงาม" อธิการบดี มจร กล่าวและว่า

จึงตั้งคำถามว่า การเรามีเข้าใจศาสตร์เดียวจะสามารถบริหารจัดการเรียนการสอนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้หรือไม่ ผู้เผยแผ่จะต้องอาศัยการเรียนรู้ศาสตร์ที่มีความหลากหลายแล้วนำมาบูรณาการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดนวัตกรรมด้วยการหาวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาด้วยการหาแนวทางใหม่ๆ เพราะศาสตร์เดียวเอาไม่อยู่จะต้องอาศัยหลายศาสตร์หลายวิธีการผสมผสาน  โดยการสอนวิชาพระพุทธศาสนาจะต้องสอนไปตามลำดับจากความง่ายไปตามลำดับ เพื่อนำไปสู่พุทธนวัตกรรม โดยการสอนพระพุทะศาสนาจะต้องดี เก่ง มีสันติสุขในชีวิตสามารถบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้ได้ ผ่านกระบวนการของปริยัติ ปฏิบัติ และนำไปสู่ปฏิเวธ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาปัญญาในการดำเนินชีวิต และสิ่งสำคัญจะต้องมีการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะการบูรณาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งพัฒนาตนเองก่อนออกไปพัฒนาคนอื่น

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา  มจร เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ผู้วิจัยรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี  ที่เข้าร่วมสัมมนาด้วย สรุปว่า ดังนั้น จากการได้รับฟังอธิการบดี มจร โดยจากมุมมองส่วนตัวและได้ฟังผู้ใหญ่ท่านหนึ่งสะท้อนว่าในการสื่อสารธรรมะในยุคนี้สามารถแบ่งออกได้ 4 ระดับ ประกอบด้วย 1) ธรรมะสะอาด  2)ฉลาดประยุกต์ 3)สนุกมีสาระ 4)ตลกคาเฟ่ ควรใช้วิธีการที่เหมาะสมกับยุคสถานการณ์บุคคลโดยยึดหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นฐานโดยงานวิจัยรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี หรือ วิทยากรต้นแบบสันติภาพค้นพบว่า ผู้เผยแผ่หรือวิทยากรต้นปบบสันติภาพจะต้องประกอบด้วยรูปแบบ K U M S A N ประกอบด้วย ความรู้ ความเข้าใจ  สติสันติภายใน ทักษะ  ทัศนคติ  และการสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยผู้เผยเผยต้องคำนึงถึงความจริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา  ควรใช้แนวทางที่ 1-3  คือ ธรรมะสะอาด ฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระธรรม

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...