วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562
สมเด็จหนกลางจัดทำสัททานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัยฉบับบาลี-ไทย เสร็จแล้วเล่มที่ 5 ถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระเทพฯ
วันที่ 4 เมษายน 2562 รศ.ดร.เวทย์ บรรณกรกุล อาจารย์ผู้ออกแบบพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ภาษาบาลี มหวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย( มจร) วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม คณะกรรมการจัดทำสัททานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัย ฉบับบาลี-ไทย เปิดเผยว่า เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ขอพระราชทานพระราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลแด่ใต้ฝ่าละอองพระบาท น้อมพระบารมีแผ่ไพศาล “โครงการสัททานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัย ฉบับบาลี-ไทย” ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอทรงพระเกษมสำราญ พระบารมีแผ่ไพศาล พระพลานามัย สมบูรณ์แข็งแรง ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
รศ.ดร.เวทย์ กล่าวต่อว่า สืบเนื่องจากช่วงระหว่างวันที่ 5 กันยายน 2558 - วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเผยแผ่ระดับนานาชาติ โดยเดินทางไปอยู่เมือง Chester ประเทศอังกฤษ เมื่อมีหมายกำหนดการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร (อาคารเรียนนิสิต มจร วข บาฬีศึกษาพุทธโฆส) ในวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2559
"สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม มีบัญชาวัดให้ตนกลับมาทำหน้าที่เป็นผู้เข้าเฝ้ากราบทูลถวายรายงานหลักสูตรบาลีพุทธศาสตร์ และโครงการจัดทำสัททานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัยฉบับบาลี - ไทย ตลอดถึงกิจกรรมนิทรรศการในงานดังกล่าว ผมจึงบินกลับประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่ตามบัญชามอบหมาย" รศ.ดร.เวทย์ กล่าวและว่า
ช่วงการเข้าเฝ้ากราบทูลรายงาน ณ บริเวณอาคารชั้น 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปุจฉาตรัสถามทุกที่ ทุกจุด ที่คณะทำงานจัดนิทรรศการเพื่อทอดพระเนตร ใช้เวลาในการทอดพระเนตรนิทรรศการวันนั้น น่าจะมากถึง 45 นาที ตนได้บันทึกเป็นความทรงจำไว้ว่า จุดนิทรรศการที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ ประทับยืนตรัสถามนานกว่าทุกจุดแสดงมี 2 ที่ คือ จุดแสดงการเรียนการสอนคัมภีร์บาลีสัททาวิเสส ที่นำเสนอโดยโครงการเตปิฏกสุเตสี และจุดแสดงโครงการสัททานุกรมพระไตรปิฎก
จุดแสดงนิทรรศการการศึกษาคัมภีร์สัททาวิเสสนี้ พระองค์ทรงสนพระทัยการอธิบายบาลีอ้างสูตร ผมต้องสาธยายกัจจายนสูตรในการสร้างคำ “ปุริโส” มีพระราชปุจฉาตรัสถามเกี่ยวกับคัมภีร์ที่นำเสนอ คือ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แปลโดยอาจารย์จำรูญ ธรรมดา แม้กระทั่งคัมภีร์สันสกฤตกาตันตรไวยากรณ์อักษรเทวนาครี เป็นรูปเล่มเก่ามากๆ ระดับฝุ่นจับ จัดวางไว้ชั้นล่างของบอร์ดนิทรรศการ พระองค์ทรงสนพระทัย ก้มพระวรกายลงหยิบ
พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเรียนการสอนคัมภีร์บาลีสัททาวิเสส โดยเฉพาะคัมภีร์กัจจายนะ ปทรูปสิทธิ โมคคัลลานะ และสัททนีติ พระราชปุจฉา ถามวิธีการเรียนการสอน และตรัสถามถึงความแตกต่างการเรียนการสอนที่พระเณรเรียนกันในปัจจุบันเป็นต้น ที่พระองค์เสด็จฯที่ มจร วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2547 เพื่อให้สาธุชนผู้เรียนภาษาบาลีได้เกิดโสมนัส เกิดอุตสาหะว่า “ภาษาบาลี เป็นภาษาพระพุทธเจ้า เป็นภาษาเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน จริงๆ”
รศ.ดร.เวทย์ กล่าวด้วยว่า วันที่ 2 เมษายน 2562 ตนได้ปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นหลายอย่าง คือ ตรวจการจัดอาร์ทเวิร์คสัททานุกรมพระไตรปิฎก เล่ม 5 และวันที่ 3 เมษายน 2562 ส่งมอบไฟล์งานให้โรงพิมพ์ เพื่อจัดเตรียมพิมพ์เผยแผ่ และได้นึกน้อมนำกุศลอุทิศแก่อาจารย์นิมิตร โพธิพัฒน์ ผู้จัดทำเล่มที่ 1, 2 เสร็จสมบูรณ์ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จฯวัดพิชยญาติการาม ทรงเจิมเล่มปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556) เล่มที่ 3 อาจารย์นิมิตรทำเสร็จร้อยละ 80 ปรากฏว่าอาจารย์นิมิตรเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557 ตนจึงเร่งทำต้นฉบับเสร็จก่อนเดินทางไปประเทศอังกฤษ โรงพิมพ์ประยูรสาส์นไทยส่งไฟล์อาร์ททาง E-mail อ่านตรวจไปด้วยขณะที่อยู่ประเทศอังกฤษจนพิมพ์เผยแผ่ได้เมื่อกุมภาพันธ์ 2559 เล่มที่ 4 พิมพ์เผยแผ่ 2560 และเล่มที่ 5 ที่ส่งไฟล์งานสมบูรณ์ในวันนี้ 3 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นผลงานของพระอาจารย์พระศรีคัมภีรญาณ (มานิต ป.ธ.9,ดร.) ทุกเล่มตรวจวิเคราะห์โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์
รศ.ดร.เวทย์ กล่าวอีกว่า ความรู้สึกของตน คือเป็นบุญบารมีที่ได้เรียนภาษาบาลี น้อมนึกถึงพระราชดำรัสที่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ตรัสในวันที่ 29 มีนาคม 2559 เมื่อสิ้นสุดการเข้าเฝ้ากราบทูลถวายรายงาน “มีบุญมากที่ได้ช่วยท่านทำงานนี้” ตนจึงต้องการให้สามเณรน้อยได้เห็นว่า ได้ดีเพราะเรียนบาลีแท้ ๆ
Cr.เฟซบุ๊ก Wate Bunnakornkul https://www.facebook.com/100004489845162/posts/1213495948810055?sfns=mo
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย
การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น