วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562
พระเครื่องของ 'ทนายมาเฟีย-ทนายเทวดา' ทนายสุกิจ-ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม
ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม หรือ “ทนายสุกิจ” มักจะตกเป็นข่าวอยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง และยิ่งถ้าย้อนดูลิสต์รายชื่อลูกความล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมรวมถึงการทำคดีต่างๆ โดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดใดทั้งสิ้น
คดีความที่ทนายสุกิจรับ ส่วนใหญ่เป็นคดีดัง และขึ้นชื่อว่าเป็นคดีของผู้มีอิทธิพลถึงกับได้รับฉายา ‘ทนายมาเฟีย’ แต่อีกมุมหนึ่งทนายสุกิจก็รับว่าความช่วยเหลือพระและวัดต่างๆ จนได้ฉายาที่ตรงกันข้ามกับฉายาแรก คือ ‘ทนายเทวดา’
ทนายสุกิจ สำเร็จการศึกษาปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 9 ปริญาเอกทางกฏหมายมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่น13 และปริญญาเอกด้านรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
“ทนายสุกิจ” เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาก่อน เช่น ลงสมัคร ส.ว.กทม.ปี 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการการศาสนาและศิลปวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร ปี 2545
ที่ปรึกษากรรมาธิการการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ปี 2546 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานด้านวิชาการและสื่อ เขาเคยจัดรายการตอบปัญหาทางกฎหมายบริการประชาชนทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 – 17.30 น. ที่สถานีโทรทัศน์ TNN 24 (ทรูช่อง 24) ช่วงปี 2556
สำหรับที่มาของฉายา ทนายเทวดา นั้น “ทนายสุกิจ” บอกว่า พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง เป็นคนตั้งให้ เพราะไปช่วยว่าความให้วัด 3 แห่ง ว่าความฟ้องร้องกรรมการวัด จนได้เงินกลับคืนวัดหลายสิบล้านบาท โดยปัจจุบันนี้เป็นนิติกรประจำวัด 3 แห่ง คือ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพฯ วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี และวัดถ้ำเขาชะอางค์โอน อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
ส่วนที่มาของฉายา “ทนายมาเฟีย” นั้น “ทนายสุกิจ” บอกว่า ได้มาเพราะไปเป็นทนายแก้ต่างและฟ้องให้กับบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น คดีรื้อโบ๊เบ๊ และบาร์เบียร์ ขณะเดียวกัน ยังเป็นทนายให้แก่ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง
ครั้งหนึ่งชื่อของ “ทนายสุกิจ” หายไป โดยมีชื่อชอง "นายสุกิจยตน์" มาแทน “ทนายสุกิจ” บอกว่า ได้ใช้ชื่อ สุกิจ มา 51 ปี ระหว่างทำคดีสำคัญอยู่มีพระรูปหนึ่งทักว่า
"ถ้าหากเปลี่ยนชื่อแล้ว จะได้ของรักและจะมีบารมีเพิ่มมากขึ้น โดยพระองค์รูปหนึ่งที่อยู่ใน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี รูปดังกล่าวเป็นผู้เปลี่ยนชื่อให้ พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ (ไพรัช พงษ์เจริญ) ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน จึงเปลี่ยนเป็น "นายสุกิจยตน์"
หลังจากเปลี่ยนชื่อได้ประมาณ 2 เดือน ก็มีนายทหารยศพลเอก ซึ่งชื่นชอบวิธีการทำงาน ได้มอบ พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรกมาให้ 1 องค์ จากนั้นไม่นานก็ถูกหวย 548 ได้เงินมาล้านกว่าบาท หลังจากนั้นก็ถูกติดต่อกันมาทุกงวด งวดละ 6-7 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังสอบผ่านเข้าไปเรียนระดับปริญญาเอกทางกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
"ผมเปลี่ยนชื่อครั้งนี้เพราะต้องการสยบนายตำรวจใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งผมทราบด้วยว่านายตำรวจท่านนี้ไปให้ฤาษีตนหนึ่งใน จ.อุดรธานี เป็นผู้เปลี่ยนชื่อให้ แม้ว่านายตำรวจใหญ่ท่านนี้จะมีตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่ผมไม่ได้หวั่นเกรงอะไรมากนัก
การต่อสู้ด้วยทางกฎหมายไม่พอ ต้องพึ่งบารมีของพระด้วย หลายคนอาจจะคิดว่า การเปลี่ยนชื่อเป็นเรื่องเหลวไหล แต่ผมเชื่อว่าเปลี่ยนชื่อแล้วจะเอาชนะคู่กรณีได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผมก็ยังเชื่ออยู่เสมอว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
อย่างไรก็ตามหลังจากใช้ชื่อ "นายสุกิจยตน์" ก็เปลี่ยนมาใช้ “นายสุกิจ” เช่นเดิม ด้วนเหตุผลที่ว่า “ใช้ชื่อนายสุกิจยตน์มักถูกลูกน้อง คนใกล้ชิดทรยศคิดไม่ซื่อบ่อยๆ” ซึ่งเป็นเรื่อแปลกอยู่ไม่น้อย เพราะหลังเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมคนใกล้ชิดทรยศคิดไม่ซื่อไม่เกิดขึ้นอีกเลย
อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยของ “ทนายมาเฟีย-ทนายเทวดา” คือการสะสมพระเครื่อง ชนิดที่เรียกว่า “รังพระ” ก็ว่าได้ โดยเฉพาะพระทองคำที่มีเกือบทุกวัดทุกสำนัก เช่น พระชุดเบญจภาคี พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม เบอร์ 8 เหรียญทองคำ พระพุทธ 25 ศตวรรษ เหรียญหลวงพ่อโสธรทองคำลงยา รุ่น แรก พระหลวงปู่ทวดทองคำ
โดยที่มาของพระนั้น ทนายสุกิจ บอก ส่วนใหญ่ได้จากลูกความที่มอบให้เป็นสินน้ำใจ เมือว่าความชนะ ตอนแรกๆ ที่ได้รับมอบพระนั้นไม่คิดอะไร แต่เมื่อมีคนรู้ว่ามีพระดีจึงนำพระบางองค์ที่ชอบน้อยหน่อยขาย จึงรู้ราคาพระที่แท้จริง
“รู้งี้ผมรับค่าว่าความเป็นพระมาทั้งหมดก็ดี ป่านนี้คงกลายเป็นเสี่ยสุกิจเจ้าของรังพระไปแล้ว พระหลายองค์สูงกว่าค่าว่าความหลายสิบเท่า มันน่าเสียดายยิ่งนัก”
พร้อมกันนี้ทนายสุกิจ พูดอย่างไม่อายว่า “เป็นทนายใช่ว่าจะไม่ถูกหลอกให้ซื้อพระเก๋ ครั้งหนึ่งเคยถูกคนในสมาคมพระเครื่องแห่งหนึ่งมาขายพระ พร้อมใบรับรองของสมาคมฯ ให้ในราคา 800,000 บาท แต่เช็คไปเช็คมากลายเป็นพระปลอม จึงต้องออกแรงนิดหน่อยถึงได้เงินคืนมา
ทุกวันนี้ผมไม่เชื่อเซียนคนในสมาคมพระเครื่องเลยสักคน ผมเชื่อสายตาตัวเองมากกว่า และผมก็ไม่เชื่อถือใบรับรองพระเครื่องของทุกสมาคม คิดดูง่ายๆ พระเครื่องยังปลอมกันได้ ทำใบรับรองของจะปลอมกันไม่ได้ ปลอมง่ายยิ่งกว่าพระเสียอีก”
อย่างไรก็ตาม จากการได้อ่านหนังสือกฎหมายนับเล่มไม่ถ้วน และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับกฎแห่งกรรมก็ไม่น้อย ทั้งนี้ ทนายสุกิจได้เปรียบเทียบการใช้กฎหมายลงโทษคนผิด กับคนทำผิดที่ถูกลงโทษด้วยกฎแห่งกรรมไว้อย่างน่าคิดว่า
"กฎหมายจะลงโทษคนได้เมื่อต้องมีโจทก์และจำเลยรวมทั้งสืบหาพยานหรือผู้กระทำผิดนั้นสารภาพ โทษอาจจะหนักเบาแตกต่างกันไปตามความผิดที่กระทำ
ในขณะที่กฎแห่งกรรมไม่มีโจทก์มีแต่จำเลย บาปกรรมที่ทำจะติดตัวไปตลอดชีวิต และอาจจะส่งผลถึงชาติหน้า"
ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายมีสิ่งหนึ่งที่ทนายนายสุกิจ อยากแนะนำนักเขียน คือ คิดหมิ่นประมาทด้วยการเขียนโฆษณานั้นถือว่าเป็นคดีรกศาล ปัจจุบันนี้มีคดีนับหมื่นๆ คดีที่รอการไต่ส่วนพิจารณา การฟ้องร้องเป็นเพียงแค่ไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทต่อไป เมื่อคดีสู่ในชั้นศาลสุดท้ายศาลตัดสินก็รอลงอาญา เสียค่าปรับความเสียหายตามสมควรที่ศาลพิจารณา แต่ผู้กระทำผิดบางคนไม่กลัวความผิดไม่กลัวศาล ในระยะหลังๆ เราจะเห็นว่าศาลจะตัดสินจำคุกทันที โดยไม่รอลงอาญาเหมือนในอดีต
ทั้งนี้ทนายสุกิจพูดทิ้งท้ายบไว้อย่างน่าคิดว่า "เมื่อเราหลงความดี จึงหลงเกลียดความเชื่อ เมื่อเราหลงความถูก จึงหลงเกลียดความผิด เมื่อเราหลงเรา เราจึงหลงเขา เราจึงเป็นทุกข์ร้อยแปดพันประการ
ทำงานสุจริตมีประโยชน์จนลืมเวลา ผู้นั้นคือผู้กินเวลาอย่างมีความสุข สงบเย็น ทำงานใดหงุดหงิด งานรอเวลา ผู้นั้นกำลังถูกเวลากิน อย่างทรมานใจ"
เข้าดูรายละเอียดได้ที่....https://www.facebook.com/profile.php?id=100004755097279
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: "พอสันติสุข"
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: "พอสันติสุข" บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แน...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น