วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
เอิ่บอิ่มบุญ'ปอยส่างลอง'ประเพณีบวชเณรตามแบบชาวไต
ประเพณีปอยส่างลอง คือ ประเพณีบรรพชาสามเณรตามแบบชาวไต(ไทยใหญ่) ที่ชาวไตเชื่อว่าได้กุศลแรง และเพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน ซึ่งในอดีตนิยมจัดงานกันในช่วงเวลาว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยว
"ปอย" หมายถึง งานหรือพิธี "ส่าง" หมายถึง เจ้าส่าง คือ สามเณร "ลอง" หรือ "อลอง" หมายถึงหน่อกษัตริย์หรือผู้ที่เตรียมจะเป็นส่างลอง คือ ผู้ที่เตรียมจะเป็นสามเณร
วันประกอบพิธี ซึ่งจะแบ่งเป็น ๓ วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็น วันแห่เครื่องไทยทาน และเรียกขวัญส่างลอง (คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค) ซึ่งจะประกอบด้วย ขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ ขบวนมโหรี ขบวนแห่เครื่องไทยทาน เครื่องอัฐบริขาร เทียนเงิน เทียนทอง เป็นต้น ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม และจะขี่คอผู้ช่วย ที่เรียกกันว่า "ตาแปส่างลอง" ตลอดการเดินทาง วันที่สาม เป็นวันบรรพชา ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก
ลูกแก้ว จะได้รับการยกฐานะให้เป็นเสมือนเจ้าชายที่กำลังจะออกบวช เมื่อชาวบ้านทราบข่าวการบวช ก็จะพากันมาแสดงความยินดี และมาช่วยงานบวชกันอย่างเต็มที่
ชาวเมืองอื่นๆ ในละแวกนั้นก็มาด้วย เพราะพวกเขาเห็นว่า การบวช เป็นสิ่งที่ได้บุญมาก และการที่ลูกหลานในเมืองได้บวช ก็ถือเป็นสิริมงคลแก่เมืองอย่างยิ่ง ชาวบ้านจะชวนกันมาทำบุญกับลูกแก้ว ซึ่งที่นี่จะเรียกว่า “การทาน” ทั้งทานของ และทานเงิน
และที่น่าแปลกก็คือ จะมีการขับเพลง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการทำขวัญนาค โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการบวช และการเสด็จออกบวชของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะขับเพลงตั้งแต่สองทุ่มเรื่อยไป จนถึงรุ่งเช้าวันใหม่ โดยที่เนื้อหาของเพลงที่ขับนั้น ไม่ซ้ำกันเลย
หลังจากบวชแล้ว สามเณรลูกแก้ว จะได้รับฉายาจากเจ้าอาวาสทันที สามเณรจะปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนอย่างเคร่งครัด จะมีการสวดมนต์ สวดธรรม และนั่งสมาธิ
เวลาเรียนธรรมะ หลวงพ่อเจ้าอาวาสก็จะเป็นผู้สอนเอง โดยการสอนด้วยปากเปล่า แล้วให้สามเณรลูกแก้วท่องตาม ซึ่งสามเณรก็สามารถท่องจำธรรมะทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว
สามเณรแต่ละองค์ก็จะมีผ้าพาดบ่า (ซึ่งมีลักษณะคล้ายผ้าสังฆาฏิ แต่เป็นสีๆ) โดยมีความเชื่อว่า หากญาติพี่น้องคนใดตกนรก ผ้าผืนนี้จะไปมัด ไปเกี่ยว ช่วยเอาญาติพี่น้องกลับขึ้นมาจากนรกได้
การบวชเรียน นับเป็นประเพณีในพระพุทธศาสนา ที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งอดีต แม้จะดูเหมือนว่า กระแสโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง และได้กลืนเอาประเพณีอันดีงามเหล่านี้ไป
จนผู้คนหลงลืมกันไปว่า การบวชเรียนนั้นเป็นอย่างไร หากพุทธศาสนิกชนร่วมมือกัน การรักษาประเพณีในพระพุทธศาสนาคงไม่ใช่เรื่องยาก
วัดเวฬุวัน หมู่ 1 บ้านเมืองนะ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ประเพณีปอยส่างลอง ของวัดเวฬุวัน จัดขึ้นทุกปีในก่อนเทศกาลวันสงกรานต์
วัดเวฬุวัน เป็นวัดเล็กๆอยู่บริเวณใกล้ชายแดนไทยพม่า ตั้งอยู่ หมู่ ๑ บ้านเมืองนะ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ขอบคุณภาพจาก....https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=409778086518402&id=100024586434206
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น