วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562
กวนกาละแม'กวันฮะกอ' ขนมที่กวนตามประเพณีของชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น
"....ขนมกะละแม
เชื่อว่ามีต้นกำเนิดที่มาจาก "ขนมกาลาเม็ก" ของฝรั่งเศส หรือ"คาราเมล" ของอังกฤษ หรือ "เกละไม" ของชาวมลายู...."
"สงกรานต์" ในความเข้าใจของหลายๆ คนอาจจะคิดกันว่า เป็นเอกลักษณ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทยเท่านั้น แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเมื่อหันไปดูประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นลาว กัมพูชา พม่า จีนสิบสองปันนา รวมถึงชาวรามัญ หรือชาวมอญ ก็มีประเพณีสงกรานต์เช่นกัน โดยยังคงมีการสืบสานประเพณีสงกรานต์แบบฉบับมอญในอดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับชุมชนมอญที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีไว้อย่างเหนียวแน่น คือ ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ชุมชนมอญคลองสิบสี่ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
ชุมชนมอญบ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ชุมชนมอญพระประแดง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ชุมชนมอญสามโคก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
ชุมชนมอญมหาชัย วัดเกาะบางปลา อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ชุมชนมอญเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นต้น
ชุมชนมอญกระทุ่มมืด อยู่ระหว่าง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี และ อ.บางเลน จ.นครปฐม ชุมชนมอญ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ชุมชนมอญลำพูน ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (วัดหนองดู่และวัดเกาะกลาง) และชุมชนมอญบ้านใหม่ จ.นครสวรรค์
โดยเฉพาะที่วัดสโมสร ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ยังคงประเพณีกสนขนมกาละแม ทำบุญ จ่ายแจกแลกเปลี่ยนกันกินมาเกือบ ๒๐๐ ปี
ขนมกาละแม หรือ ที่ชาวมอญเรียกว่า "กวันฮะกอ" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ขนมกวน” กวัน แปลว่า ขนม ฮะกอ แปลว่า กวน
ขนมกะละแม เชื่อว่ามีต้นกำเนิดที่มาจาก "ขนมกาลาเม็ก" ของฝรั่งเศส หรือ"คาราเมล" ของอังกฤษ หรือ "เกละไม" ของชาวมลายู
ท่านพุทธทาสภิกขุ ตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจาก "ขนมฮูละวะ" ของอินเดีย ที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาล
ปัจจุบันกาละแมมีหลากหลายสีและมีรสชาติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละผู้ผลิต ผู้ผลิตบางรายสรรหาความแปลกใหม่ให้ขนมกาละแมดูเปลี่ยนไปจากเดิมคือมีสีสันที่น่ารับประทานมากขึ้นและเป็นที่ถูกใจของ ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยแต่ก็ยังมีกาละแมสดหลายที่ ที่ผู้ผลิตยังคงอนุรักษ์ความเป็นไทยเอาไว้ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงรุ่นปัจจุบัน
การกวนขนมกาละแมเป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) จะทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น เพื่อนำไปทำบุญ เก็บไว้รับประทานกันในครอบครัวและเป็นของฝากสำหรับญาติผู้ใหญ่ โดยมีความเชื่อว่า เป็นศิริมงคลกับผู้ทาน กาละแมมอญไม่พบปีพ.ศ.ที่ทำขึ้น เพราะเป็นขนมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
การกวนกาละแมรามัญก็เริ่มมากวนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะจะมีการทำบุญอุทิศแก่บรรพชนในช่วงสงกรานต์ก็จะมีการกวนกาละแมขึ้นเพื่อเป็นขนมถวายพระสงฆ์และแจกญาติสนิทมิตรสหาย
ทั้งนี้จะกวนในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์คือประมาณวันที่ ๗ - ๑๑ เมษายน ของทุกปี ญาติพี่น้องก็จะมารวมตัวช่วยกันกวนกาละแม
การกวนกาละแมมอนั้นต้องใช้คนจำนวนมาก ประมาณ ๘-๑๐ คน และกวนกระทะนึงต้องใช้เวลา ๖-๗ ชั่วโมง จึงต้องมีการร่วมใจสามัคคี
อาศัยการเอาแรง ลงแขกช่วยกันกวนแต่ละบ้านๆหมุนเวียนช่วยกันไป
กาละแมสูตรแม่มะลิ ใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูอย่างดี ๑ กก. น้ำตาลมะพร้าว ๒ กก. มะพร้าว ๑๐ ลูก จะได้กาละแมประมาณ ๕ กก.
๑ กระทะ กวนได้ ๔-๖ กก. ใช้เวลากวนประมาณ ๖-๗ ชม. กวนจากข้าวเหนียวเม็ดสีขาว กลายเป็นสีดำ
รสชาติ หอม หวาน มัน เหนียว นุ่ม รับรองได้ว่า รสชาติต่างกับกาละแมที่ขึ่นชือว่าอร่อยที่สุด
ใครสนใจติดต่อทาง https://www.facebook.com/praongkru/posts/2221477711275959?__tn__=K-R
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย
การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น