วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

คณะผู้แทนรัฐบาลจีนพบพระพรหมบัณฑิต ปรึกษาร่วมงานฉลองวันวิสาขบูชาโลกที่ไทย



วันที่ 26 เมษายน 2562  ที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร  คณะผู้แทนรัฐบาลจีนเข้าพบพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร., กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร  ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) เพื่อปรึกษาการมาร่วมงานฉลองวันวิสาขบูชาโลกประจำปี 2562  วันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร  โดยมีพระราชปริยัติกวี ศ.ดร., อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เข้าร่วมหารือด้วย

อย่างไรก็ตามในงานฉลองวันวิสาขบูชาโลกประจำปี 2562 ที่ประเทศไทยดังกล่าว วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาจุฬาฯ ร่วมกับสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ จัดเวทีประชุมสติโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 08:45 เป็นต้นไป ขอเชิญมาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์การนำสติไปพัฒนาชีวิตและการทำงานในยุคดิจิทัล



ทั้งนี้การจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญของโลก ครั้งที่ 16  ที่ประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพ ทั้งการตั้งกรรมการร่วมนานาชาติ กิจกรรมพิธีการเฉลิมฉลอง และกิจกรรมการด้านวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อภาวะผู้นำโลก และความรับผิดชอบร่วมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน” (Buddhist Approach to Global Leadership and Shared Responsibilities for Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2561 ณ เมืองฮา นัม (Ha Nam)

สำหรับหัวข้อย่อย (Sub-Themes) ในการจัดประชุมนานาชาติครั้งนี้ ประกอบด้วย 1: คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อภาวะผู้นำโลก และความรับผิดชอบร่วมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน(Buddhist Approach to Global Leadership and Shared Responsibilities for Sustainable Development) 2: ภาวะผู้นำสติเพื่อสันติอย่างยั่งยืน (Mindful Leadership for Sustainable Peace) 3: คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการสร้างครอบครัวสันติสุข การดูแลสุขภาพและสังคมที่ยั่งยืน (Buddhist Approach to Harmonious, Healthcare and Sustainable Societies) 4: พุทธจริยศาสตร์ต่อการศึกษาโลก (Buddhist Approach to Global Education in Ethics) 5: การปฏิวัติอุตสาหกรรมกับพระพุทธศาสนา (Industrial Revolution and Buddhism) 6: คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการบริโภคอย่างรับผิดชอบและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Buddhist Approach to Responsible Consumtion and Sustainable Development)

3 ความคิดเห็น: