วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

รุกตลาดฮาลาล !"จุรินทร์"จับมือกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย


 

รุกตลาดฮาลาล !"จุรินทร์"จับมือกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เข้มพาณิชย์ 6 มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นสินค้าฮาลาล รุกตลาดโลกเพื่อส่งออกเป็นผล

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 เวลา 8.30 น. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้สนับสนุนโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19นั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการกระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อหารือรายละเอียดโครงการและแนวทางการดำเนินงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับนโยบายช่วยประชาชนทุกส่วนอย่างทั่วถึง ล่าสุดได้ข้อสรุปที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คือ 1.ให้ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นสินค้าฮาลาลของไทยโดยแบ่งเป็นสองกลุ่มเป้าหมาย คือองค์กรศาสนาและหน่วยงานของต่างประเทศกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 

2. จัดสัมมนาผู้ประกอบการไทยด้านสินค้าฮาลาลโดยเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับการเจาะตลาดประเทศมุสลิมอย่างถูกต้อง 3. จัดส่วนแสดงสินค้าฮาลาลในงานแสดงสินค้า THAIFEX-Anuga Asia ในงานปีนี้และปีต่อไปโดยเน้นโซนสินค้าฮาลาลในนิทรรศการออกมาให้ชัดเจนมากขึ้นโดยจะใช้พี่น้องมุสลิมเป็นผู้ให้ข้อมูลรายละเอียดสินค้าในส่วนจัดแสดงดังกล่าวเพื่อความน่าเชื่อถือ 

4.จับคู่ผู้ซื้อ-ผู้ขายเจรจาการค้าสินค้าฮาลาลออนไลน์โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะมีจัดกิจกรรมทั้งประเทศมุสลิมที่เป็นตลาดเป้าหมายและประเทศที่ไม่ใช่แต่มีประชากรมุสลิมเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะให้ทางคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถส่งชื่อสมาชิกและร่วมเชิญผู้ส่งออกเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศจะติดต่อผู้นำเข้ากลุ่มเป้าหมายเจรจาการค้าให้ต่อไป 5.สนับสนุนค่าธรรมเนียมในการรับรองฮาลาลของผู้ประกอบการส่งออกสินค้าร้านไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จะได้มีการประสานข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหลักเกณฑ์และให้การสนับสนุนตามระเบียบต่อไป และ 6.การจัดกิจกรรมเดินทางของคณะผู้บริหารระดับสูงเยือนและเจรจาการค้าต่างประเทศให้มีตัวแทนจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมคณะด้วย

"รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสนใจและใส่ใจนโยบายเป็นอย่างยิ่งจึงให้ติดตามการดูแลประชาชนตามนโยบายให้ครบทุกภาคส่วนและกำชับให้ฝ่ายราชการนั้นใส่ใจกำกับติดตามให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางนโยบาย ดังนั้นในเรื่องความร่วมมือในการส่งเสริมตลาดสินค้าฮาลาลซึ่งเป็นนโยบายส่งออกสำคัญของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว เป็นเป้าหมายการส่งออกที่กำหนดพันธกิจปี 2564 ด้วยหากมีผู้ใดสนใจสามารถประสานงานที่ สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ต่อไป"

สมเด็จธงชัยฉีดวัคซีนโควิดแล้ว พร้อมพระสงฆ์เขตสัมพันธวงศ์รวม 151 รูป



วันที่ 31 มีนาคม 2564 สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช)  เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร  เข้ารับการฉีดวัคซีนของแอสตราเซนเนกา จากทีมแพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลสงฆ์ ที่มาบริการอำนวยความสะดวกที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร  ตามขั้นตอนการตรวจสอบวัดความดันโลหิต และคัดกรองอาการความพร้อมของพระสงฆ์แต่ละรูปด้วย 

โดยพระสงฆ์รวมจำนวน 151 รูป ในเขตสัมพันธวงศ์ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับวัคซีนของแอสตราเซนเนกา ส่วนพระสงฆ์อายุ 18- 59 ปี จะได้ฉีดวัคซีนซิโนแวค โดยเริ่มจากพระสงฆ์สูงอายุ และที่อาพาธในโรงพยาบาลสงฆ์

สำหรับแผนในสัปดาห์หน้า จะเริ่มฉีดวัคซีนให้กับพระสงฆ์ใน 6 เขต กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครต่อไป

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า วันนี้ได้เริ่มที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร โดยมีพระสงฆ์เข้ารับบริการการฉีดวัคซีนโควิด-19 รวม 151  รูป ในจำนวนนี้มีอายุ 18-59 ปี 10 เดือน จำนวน 124 รูป และอายุมากกว่า 59 ปี 10 เดือน จำนวน 27 รูป โดยจัด 8 ขั้นตอนตามมาตรฐาน ตั้งแต่การคัดกรอง ซักประวัติ ไปจนถึงการสังเกตอาการ 30 นาทีหลังฉีด มีทีมแพทย์ดูแลใกล้ชิด พร้อมรถพยาบาลส่งต่อ และจะฉีดให้พระสงฆ์ใน กทม. และจังหวัดอื่นต่อไป ทั้งนี้จากสถิติข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติล่าสุด (ข้อมูล 30 มี.ค.64) มีพระสงฆ์ในกรุงเทพมหานครจำนวน 14,479  รูป และมีวัดทั้งหมด 457 แห่ง

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชภาวนาวิกรมวัดหนองป่าพง เป็น "พระเทพวชิรญาณ"



วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ความว่า 



"มจร"ระดมสมองทำแผนพัฒนาที่13 เล็งปรับให้สอดรับสังคมโลกมากยิ่งขึ้น



"มจร" ระดมสมองทำแผนพัฒนามหวิทยาลัยที่ 13 พระเทพวัชรบัณฑิตอธิการบดีแนะ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์สังคมโลกในปัจจุบัน แล้วปรับให้สอดรับ นำไอทีมาบริหารจัดการ พร้อมปรับการสื่อสารทั้งในและนอกองค์กรให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย

วันที่ 30 มีนาคม 2564 พระเทพวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวในการพัฒนาแผนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสาระสำคัญว่า เราจะสามารถตอบมหาวิทยาลัยระดับโลกได้อย่างไร  ซึ่งเรามองมิติของงานวิสาขบูชาโลกโดยมีคำว่าคุณภาพ และระดับชาติและนานาชาติ  เราต้องการ 4.5 ขึ้นไป ปัจจัยสำคัญที่จะต้องมี คือ สายวิชาการต้องมีตำแหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. ศ. 40 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป สายวิชาการต้องระดับปริญญาเอกขึ้นไป และวารสารบทความทางวิชาการ เราจะต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์สังคมโลกในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทิศทางของประชาคมโลก ดูแผนของกระทรวงที่กำกับ ดูแผนพัฒนาของภาครัฐที่สอดคล้อง เช่น ความสามารถเทคโนโลยี ความต้องการของสังคมในสายที่เรากำลังผลิตบัณฑิต ผลิตบัณฑิตออกไปจะต้องมีทิศทาง ในฐานะอธิการบดี มจร มีทิศทางในการบริหารมหาจุฬาฯ คือ 


1)Mcu IT เป็นการนำไอทีมาบริหารจัดการบริหารและจัดการเรียนการสอน ใครที่เก่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอยากให้มีการเชื่อมเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน ระบบจะต้องมีความเสถียรสามารถใช้งานได้จริง 2) Mcu แอปพลิเคชั่น ถือว่ามีการพัฒนาที่ดีในการบริหารจัดการรวมถึงการเรียนการสอน ส่วนกลางจะเป็นเจ้าภาพหลักให้เป็นเอกภาพ มีการสะสมข้อมูลทางวิชาการ มีการบันทึกข้อมูลจากผู้บริหารและคณาจารย์เพื่อเป็นข้อมูล รวมถึงการบริการวิชาการ คำบรรยายลักษณะ How to มีผู้คนเข้าดูจำนวนมาก เป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และบทสวดมนต์มีการเข้าชม รวมถึงดนตรีบำบัด       

วัดในมหาวิทยาลัยเน้นสีเขียว เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว รวมถึงชุมชนแห่งการเรียนรู้มหาจุฬา จึงต้องพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นให้เกิดหาร Re Skill และ Up Skill โดยมุ่งด้านวิธีคิดและพัฒนาชีวิต โดยเน้นหลักสูตรวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร เป็นการเน้นให้คนเข้ามาในมหาจุฬา หลักสูตรระยะสั้นจึงเป็นการตอบโจทย์ให้คนเข้ามาเรียนรู้มหาจุฬา ทุกหลักสูตรต้องพัฒนาเป็นหลักสูตรระยะสั้น นอกจากนั้นต้องมีทุนทางสังคมสักการะสิ่งเคารพนับถือภายในมหาวิทยาลัย จึงต้องสร้างคุณค่า เราต้องไม่ปล่อยให้มหาจุฬาเงียบเหงา จะต้องมีเสียงสวดมนต์ มีความเป็นวัดมหาวิทยาลัย รวมศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล เราจะต้องมีเอกลักษณ์ที่งดงาม  รวมถึงนิสิตระดับนานาชาติ จะมีการวางแผนอย่างไร       

พระเทพวัชรบัณฑิต กล่าวต่อว่า ขณะที่ปรัชญามหาจุฬาควรจะเป็นอย่างไร  จึงขอเสนอปรัชญาว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ควรจะเป็นปรัชญา  คำถามคือพระพุทธศาสนาระดับโลกควรเป็นอย่างไร ทำอะไร จึงเสนอมหาวิทยาลัยสร้างพุทธนวัตกรรม สิ่งที่ย้ำมากคือ ดูสถานการณ์ของโลกในการทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย  เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยระดับโลก จึงต้องมีแผนพัฒนามหาจุฬาต้องสอดรับกับสถานการณ์สังคมปัจจุบัน ท่านอธิการบดีมหาจุฬาจึงย้ำว่าระบบเทคโนโลยีต้องครอบคลุมทั่วโลก  มีแผนพัฒนามุ่งชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาหลักสูตรวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร เมื่อนึกถึงการสื่อสารพระพุทธศาสนานึกถึงมหาจุฬา     

จากการสรุปของทีมงาน Mcu อธิการบดี มจร คือ สาระในแผนที่ 13  ด้วยการปรับทิศทางชุดความคิดและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ปรับวิธีคิดใหม่ทั้งหมดของแผน 13  วิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน ให้ดูทิศทางของประชาคมโลก ศึกษาจากแผนพัฒนา ศึกษาแผนของกระทรวง อว. 

MCU IT /MCU Network นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ต้องรองรับการใช้ในประเทศและต่างประเทศ Smart University 

MCU Application การบริหารงานบุคคล ประกันคุณภาพการศึกษา การเงินการบัญชี ระบบทะเบียน  หมั่นแลกเปลี่ยนข่าวสารด้านเทคโนโลยี ซึ่งส่วนกลางจะเป็นเจ้าภาพหลักและเป็นเอกภาพ

MCU Boardcasting การเรียนการสอนออนไลน์ทางไกล การสะสมรวบรวมข้อมูลหรือผลงานทางวิชาการ

MCU TV รวบรวมการบรรยายของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย การสอนวิปัสสนากรรมฐานออนไลน์ การบริการวิชาการ การประสัมพันธ์ เล่นการบรรยายธรรมะ บทสวดมนต์ นำเสนอเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม

MCU Learning community มีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพิ่มมากขึ้นมีแหล่งบริการวิชาการรูปแบบต่างๆ

Monastic University วัดมหาวิทยาลัย เป็นสถานที่กราบไหว้บูชาสักการะ และต้องสร้างคุณูปการภายในมหาวิทยาลัย อยู่ที่การบริหารจัดการ มีการสวดมนต์ทุกวันจันทร์ของเดือน เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี โดยเริ่มจากส่วนกลาง และอยากให้ส่วนภูมิภาคปฏิบัติเช่นกัน คงอัตตลักษณ์ เอกลักษณ์เฉพาะ

International Buddhist Studies Center

ศูนย์การเรียนการสอนพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติต้องพัฒนาให้มีหน่วยประสานงานในประเทศเพื่อนบ้าน ที่มาศึกษาอยู่ภายในมหาวิทยาลัยแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับนิสิตต่างประเทศ อาจจะทำ MOU กับวัดในประเทศนั้นๆ ต้องการติดต่อหรือต้องการเอกสารสามารถติดต่อได้ที่หน่วยประสานงานนี้ได้หาแนวทางเหล่านี้ไปใส่ในแผน 13 

โดยแผนกลยุทธ์การพัฒนาองค์กร ซึ่งการทำแผนเป้าหมายจะต้องชัดเจนที่สุด เพื่อสื่อสารในองค์กร องค์กรต่างๆจะใช้การสื่อสารองค์กรเพื่อให้เข้าถึงคนในองค์กร จึงต้องจัดการความรู้ด้วย KM คำว่า KM หมายถึง องค์ความรู้ในสมองคนที่เชี่ยวชาญไปใส่สมองคนที่ยังไม่เชี่ยวชาญ ความรู้จากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจะต้องมีการยืดหยุ่น  ยุทธศาสตร์คือ จุดเน้นในการดำเนินการขององค์กร เน้นจุดใดถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ หัวใจสำคัญต้องเป็น KM มี 2  ประการ คือ 1)มีความรู้ที่ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่ถูกบันทึกมาแล้ว 2)เขียนออกมาเป็นทักษะตนเองออกมา เป็นประสบการณ์ เป็นความรู้ที่ซ่อนในตัวบุคคล  เวลาที่ผู้บริหารพูดต้องฟัง องค์ความรู้เหล่านี้สำคัญ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน โดยมีการทดสอบทุก 6  เดือนใน 20 ข้อ ว่าตอนนี้องค์กรมีทิศทาง มีนโยบายอย่างไร ทำให้คนในองค์กรสนใจ ต่อให้สื่อประชาสัมพันธ์ดีขนาดไหนถ้าพฤติกรรมคนในองค์กรไม่เปลี่ยนก็เกิดผลได้ยาก เป็นประสบการณ์จากกระทรวงแห่งหนึ่ง มีความความชัดว่าการสื่อสารต้องการอะไร  

ในการประชาสัมพันธ์สื่อต้องง่าย สามารถเข้าถึงอย่างง่าย  สื่อสารองค์กรต้องง่ายที่สุด  บุคคลภายนอกเวลาจะศึกษาด้านพระพุทธศาสนาต้องนึกถึงมหาจุฬาที่สามารถนำศาสตร์สมัยใหม่มาประยุกต์กับพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นการพัฒนาระดับโลก งานวิจัยของมหาจุฬาตอบโจทย์สังคม ไม่มีใครจะเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาเท่ากับมหาจุฬา องค์ความรู้ของมหาจุฬาจึงเปลี่ยนสังคมโลก อดีตเรามองว่าแค่พระมาเรียน แต่ปัจจุบันคนมองเป็นมหาวิทยาลัยที่นำศาสตร์สมัยใหม่และพุทธศาสนามาพัฒนาสังคมโลก การพัฒนาครูอาจารย์จึงต้องต่อเนื่อง  เช่น มีบุคลากรได้รับรางวัลต่างๆ เราจะมีการประชาสัมพันธ์อย่างไร       

การสื่อสารในองค์กรถือว่าเป็นงานประชาสัมพันธ์ เราจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรรับทราบข้อมูล ก่อนจะประชาสัมพันธ์ภายนอกต้องเริ่มจากการประชาสัมพันธ์ภายใน เราจะสื่อสารอย่างไรให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี ให้องค์กรอยู่รอด มหาจุฬาฯเรานำศาสตร์สมัยใหม่และพระพุทธศาสนามาบูรณาการในการพัฒนาสังคมและโลก ถือว่าเป็นจุดแข็งของมหาจุฬาฯ ในการสื่อสารองค์กรจะต้องทำบทสรุปด้วยการทำ KM คือการจัดการความรู้ เป็นเอกสารออกมาเป็นชิ้นหรือคู่มือหรืออะนิเมชั่น การสื่อสารในยุคใหม่จะต้องทราบอะไร สื่อสารองค์กรจะต้องศึกษาความเสี่ยงขององค์กรว่าตอนนี้องค์กรมีการความเสี่ยงอะไรบ้าง เราจึงต้องทำวิจัย 3 ประเด็น คือ 

1)สื่อสารภายในองค์กร 2)สื่อสารเพื่อรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้เกิดความงดงาม 3)สื่อสารเพื่อความอยู่รอดขององค์กร เช่น นิสิตปัจจุบันคิดอย่างไรกับมหาจุฬาฯ ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรจะต้องติดตามนโยบายกลยุทธ์ขององค์กรตลอดแล้วมาย่อยให้ง่ายที่สุด วิสัยทัศน์ง่ายคือ ภาพอนาคตขององค์กร  การเรียนศาสนาบางคนติดภาพว่าเรียนจบมาไม่ก้าวหน้า มีโอกาสเจริญเติบโตน้อย  แต่ความจริงเรียนศาสนาจะเป็นคนสำคัญของโลกมีความยิ่งใหญ่ ตัววิสัยทัศน์จึงเป็นภาพอนาคตขององค์กรเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ท้าทายและเป็นไปได้ 

ส่วน พันธกิจคือภาพปัจจุบัน   ยุทธศาสตร์คือจุดเน้นในการบรรลุวิสัยทัศน์  ยุทธศาสตร์เป็นภาพกว้างกลยุทธ์เป็นวิธีทำ เป้าประสงค์เป็นผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์ หน่วยงานมีเป้าหมายที่อยากจะใช้บรรลุยุทธศาสตร์อย่างไร ตัวชี้วัดเป็นการวัดความสำเร็จของเป้าประสงค์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งวัดใคร วัดอย่างไร จะเก็บอย่างไร โดนมีแผนปฏิบัติการเป็น "แผนงาน โครงการ กิจกรรม" มีผู้รับผิดชอบและงบประมาณ คำถามคือ อะไรคือภาพอนาคตของมหาจุฬาถือว่าเป็นโจทย์ท้าทายงานการสื่อสารองค์กรและงานประชาสัมพันธ์      

จุดแข็งของมหาจุฬาคืออะไร  เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของมหาจุฬา อะไรที่ควรทำแต่เรายังไม่ได้ทำนั่นคือจุดอ่อน งานวิสาขบูชาโลกที่มหาจุฬาจัดถือว่าเป็นจุดแข็งถึงระดับโลก เมื่อเจอจุดแข็งเราต้องทำให้แข็งขึ้น ซึ่งการจัดทำแผนจะต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT คือ 1) "สภาพแวดล้อมภายใน" เป็นจุดแข็ง เป็นข้อเด่นที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ส่วนจุดอ่อนเป็นข้อด้อยที่ส่งผลเสียต่อการดำเนินการ  จุดอ่อนจุดแข็งถือว่าควบคุมได้ 2)"สภาพแวดล้อมภายนอก" เป็นโอกาส ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้ประสบความสำเร็จ  และอุปสรรค เป็นข้อจำกัดที่ทำให้กาดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จ โอกาสและอุปสรรคควบคุมไม่ได้  ในสายตาคนภายนอกเชื่อว่ามหาจุฬามีจุดแข็งมาก เราจะประชาสัมพันธ์อย่างไรให้ผู้คนในสังคมเห็นจุดแข็งของเรา จึงมีการแบ่งกลุ่ม 3 ประเด็น คือ 1)การสื่อสารภายในองค์กร 2)การสื่อสารเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กร 3)การสื่อสารเพื่ออยู่รอดขององค์กร

ดังนั้น ในการพัฒนาแผนควรสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใช้กระบวนการแบบ Fa สร้างพื้นที่ปลอดภัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) รุ่นบุกเบิก  ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับทุกระดับ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ทุกส่วนงาน  2) รุ่นริ่เริม  ประกอบด้วย ผู้บริหารรุ่นใหม่ คณาจารย์รุ่นใหม่ เจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ รวมถึงนักการตลาดมองมิติแผนยุคใหม่  3) รุ่นผู้ใช้ ประกอบด้วย นิสิตทุกสาขาวิชารุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ซึ่งมาจากทุกส่วนงานขององค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อสะท้อนแผนพัฒนามหาจุฬาในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหักศอก ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย จึงขอให้กำลังใจผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสงฆ์สู่แผนที่วางไว้ "เขียนแผนไม่ยาก ปฏิบัติตามแผนยากกว่า"  แต่เชื่อมั่นว่าทำได้อย่างแน่นอน      

 

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564

โปรดเกล้าฯ! สถาปนาสมณศักดิ์พระธรรมฐิติญาณ ขึ้นชั้นรองสมเด็จที่"พระพรหมวชิรโสภณ"

 


วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ความว่า 



โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระอธิการอัครเดช ถิรจิตฺโตที่"พระราชพัชรมานิต"

   


วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ความว่า 



ทีมแพทย์รพ.สงฆ์ฉีดวัคซีนโควิด พระธรรมทูตสายต่างประเทศ


 

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564  เพจท่านคมสรณ์ ข่าวสารงานพระธรรมทูตอินเดีย อยู่ที่ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ๙๘๙ ได้โพสต์ข้อความว่า รับการฉีดวัคซีน SINOVAC โควิด 19 เข็มแรก โดยทีมแพทย์โรงพยาบาลสงฆ์  มาบริการอำนวยความสะดวกที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี  พร้อมกับคณะสงฆ์ พระธรรมทูตสายต่างประเทศ ชุดแรกและนัดฉีดเข็มที่สอง 19 เมษายน 2564

พร้อมผ่ายเฝ้าดูอาการหลังฉีด 30 นาทีแรก และเฝ้าดูอาการหลังฉีด 24 ชม.1 เดือน 2 เดือนต่อไป ขออนุโมทนาทีมแพทย์และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทุกท่านที่ดูแลคนไทยด้วยดีในช่วงการระบสดของโรคโควิด19 ซึ่งเข้าสู่ปีที่สองแล้ว 

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564

โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ที่พระเทพวชิรโมลี



เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ความว่า 



ทั้งนี้พระเทพวชิรโมลี  มีนามเดิมว่า ทองใบ พันธุ์ศิริ เกิดเมื่อวันที่ 15  มกราคม พ.ศ. 2473  ณ ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก  อุปสมบท เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2494  ณ วัดเลขธรรมกิตติ์ ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยมี พระครูสัทธาภินันท์ เจ้าอาวาสวัดเลขธรรมกิตติ์ ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชม เจ้าอาวาสวัดท่าทราย ตำบลอาสา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสง่า เจ้าอาวาสวัดทองหลาง ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นพระอนุสาวนาจารย์


ดำรงสมณศักดิ์ดังนี้

พ.ศ. 2506 เป็น "พระครูวิจิตรโฆษา" ฐานานุกรม ในพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

พ.ศ. 2525 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ "พระอุดรคณารักษ์"

พ.ศ. 2546 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ "พระราชธรรมสุนทร บวรศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"


สืบเนื่องจากเนื่องด้วย พระธรรมรัตนากร (สีนวล ปญฺญาวชิโร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  อาพาธเข้ารับรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ด้วยอาการเส้นเลือดเลี้ยงสมองทางด้านซ้ายตีบ และมีเนื้อประสาทที่เส้นเลือดเสื่อมคลาย คณะแพทย์ถวายการรักษา ให้ความเห็นว่า ผู้ป่วยยังไม่สามารถรับรู้ รับทราบในเรื่องต่างๆ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสให้สมบูรณ์ได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 วรรค 1 แหง่กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 19 (พ.ศ.2536)  

ดังนั้นพระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง ในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้มีคำสั่งเจ้าคณะกรุงเทพฯ ลงวันที่ 11 ก.พ.2564  แต่งตั้งพระราชธรรมสุนทร(ขณะนั้น) (ทองใบ) ฉายา ปุณฺโณภาโส  อายุ 91 ปี พรรษา 70 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นต้นมา จนกระทั้งพระธรรมรัตนากรมรณภาพ เมื่อเวลา 03.19 น. วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2564


 

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

"นคร"เผ่นจากพรรคเพื่อไทยเดินหน้าตั้งพรรคใหม่

          


เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2564 นายนคร มาฉิม อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย จากนี้จะเดินหน้าจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างแน่นอน พรรคนี้จะเป็นพรรคฝ่ายประชาธิปไตย ต่อสู้กับเผด็จการทุกรูปแบบ ล้มทรราชให้ได้ ขอเชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ นักวิชาการ นักการเมือง ที่มีหัวใจการต่อสู้อย่างแข็งกล้า หากอยากเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตยแท้จริง ล้างมรดกบาปเผด็จการ ขอเชิญชวนมาร่วมงานกัน

"เหตุที่ทำพรรคการเมืองใหม่ เพราะเห็นว่า การต่อสู้ภายใต้กติกาเผด็จการปัจจุบัน ไม่อาจเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีได้ ประชาชนมีแต่ถูกกดขี่ ยังถูกครอบงำ องคาพยพของเขาก็เป็นเพียงลิ่วล้อ บริวาร จากนี้จะแสวงหาจอมยุทธ์ทั่วหล้า นักสู้ทั่วแผ่นดิน มาร่วมพลังกันมาสร้างบ้านแปงเมืองอีกครั้ง เราจะเดินหน้าสู้ทุกรูปแบบ          

เรื่องนโยบายได้คิดเอาไว้เบื้องต้นแล้ว พรรคนี้ผมจะเป็นหัวหน้าพรรคเอง ช่วงต้นเดือนเม.ย. น่าจะเปิดตัวได้ และจะส่งผู้สมัครครบทุกเขตเลือกตั้ง พรรคนี้ไม่ใช่พรรคคนเสื้อแดง ไมได้เป็นพรรคเพื่อสีเสื้อใดสีเสื้อหนึ่ง แต่เป็นพรรคฝ่ายประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่จะต่อสู้ทั้งในสนามเลือกตั้ง และสนามอื่นทุกรูปแบบ" 

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

"จุรินทร์"จับมือวุฒิสมาชิก หนุนส่งออก"ไม้ยาง-หลังคายาง-อาหารฮาลาล"


วันที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 11.30 น.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ คณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ต้อนรับและหารือ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็น ณ ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์

จากนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำของวุฒิสภา ได้นำคณะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกระทรวงพาณิชย์ การช่วยส่งเสริมสินค้าฮาลาลและช่วยกันแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประเด็นที่มีความเห็นร่วมกัน

1.ยางพาราเห็นตรงกันว่าควรช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนให้ราคายางในประเทศดีขึ้นจากการดำเนินการของรัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯที่ผ่านมาราคายางสูงกว่ารายได้ที่ประกันแล้ว สำหรับราคายาง วันที่ 24 มีนาคม 2564 ยางแผ่นดิบตลาดกลางสงขลา กิโลกรัมละ 61.90 บาท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 กิโลกรัมละ 64.79 บาท ราคาน้ำยางสด กิโลกรัมละ 64 บาท ยางก้อนถ้วย กิโลกรัมละ 24.25 บาท ภาพรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สูงกว่ารายได้ที่ประกันตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางทุกตัว

2.ช่วยกันส่งเสริมตลาดถุงมือยางธรรมชาติ ส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศ ขณะนี้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่สามารถทำถุงมือยางธรรมชาติแบบโปรตีนต่ำ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกได้แล้ว และได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังบริษัทถุงมือยางหลายราย ตรงกับยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” หวังว่าภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์กับคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาจะช่วยทำการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับทราบในตลาดโลกต่อไป

3.เห็นร่วมกันในการส่งเสริมการส่งออกไม้ยางพารา ในตลาดต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลมีหลายโครงการที่ส่งเสริม 1)รัฐบาลจัดวงเงิน 20,000 ล้านบาท ให้ผู้ที่ต้องการส่งออกไม้ยางพาราไปยังต่างประเทศช่วยดอกเบี้ยร้อยละ 3  2)กระทรวงพาณิชย์เคยนำสมาคมไม้ยางไทยไปเปิดตลาดที่อินเดียแล้ว 2 ครั้ง จะเป็นตลาดสำคัญในอนาคต รัฐบาลอินเดียต้องการส่งเสริมให้คนอินเดีย 1,000 กว่าล้านคน มีบ้านจำเป็นต้องใช้เฟอร์นิเจอร์และไม้ยางจะไปแทนไม้สักที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดี 3)กระทรวงพาณิชย์ได้เจรจากับรัฐเตลังกานาและกำลังจะทำ mini FTA คาดว่าจะสามารถลงนามได้เร็วนี้ จะช่วยส่งเสริมให้มีตลาดไม้ยางพาราไทย

และได้มีการแนะนำเอายางไปผลิตเป็นแผ่นมุงหลังคา ตนรับไปที่จะช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชน เช่นบริษัทเอสซีจี เพื่อเพิ่มการใช้ยางในประเทศส่งเสริมการใช้ยางพาราในหลังคาบ้าน

4.ส่งเสริมสินค้าฮาลาล กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายชัดเจนส่งเสริมอาหารไทยอาหารโลกทำให้อาหารไทยเป็นอาหารของโลก ปัจจุบันอาหารไทยอยู่ในลำดับที่ 1 ใน 10 และเชื่อว่าอีกไม่นานจะสามารถผงาดมาเป็น 1 ใน 3 ของโลกได้ อาหารที่เป็นเป้าหมายมี 3 ตัว คืออาหารมังสวิรัติ อาหารแนวใหม่ และอาหารฮาลาล ในการจัดงานเทศกาลอาหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คืองาน THAIFEX จะให้ความสำคัญต่อไปในอนาคต

และประเด็นที่สองจะส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ขายสินค้าฮาลาลได้มีพื้นที่ร่วมส่งเสริมการขายของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเรามีนโยบายเอสเอ็มอีทุกประเภทต้องได้รับโอกาสในการไปแสดงในงานสินค้าระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย

" ประเด็นที่สามวันนี้หารือร่วมกันกับเรื่องการขึ้นทะเบียนจดทะเบียนฮาลาลถือเป็นตราที่มีความสำคัญรับรองคุณภาพกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักศาสนา ได้รับแจ้งว่าขณะนี้การขอตราฮาลาลเปิดระบบออนไลน์สามารถขึ้นทะเบียนได้แล้ว" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว 

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564

ผนึก 3 กระทรวงเปิด WAT "ศรัทธานำทาง เส้นทางนำเที่ยว"



ผนึก 3 กระทรวงเปิดตัวโครงการ WAT "ศรัทธานำทาง เส้นทางนำเที่ยว" กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงศาสนา วัฒนธรรม ตอบโจทย์นักเดินทางสายบุญ 

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นประธานเปิดตัวโครงการ WAT : Worship Activities Traditional "ศรัทธานำทาง เส้นทางนำเที่ยว" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 

สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยผู้ประกอบการหลายรายได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากมีการงดเว้นการเดินทางระหว่างกันตามมาตรการควบคุมโรคระบาด เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย รัฐบาลมีการผ่อนปรนให้หลายพื้นที่มีการเดินทางได้ตามปกติ จึงเกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ WAT : Worship Activities Traditional "ศรัทธานำทาง เส้นทางนำเที่ยว" เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน 

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุ ในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ตั้งเป้าหมายให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้เข้าถึงพระพุทธศาสนา สามารถนำหลักธรรมคำสอนไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้สังคมมีความสุขด้วยหลักพุทธธรรม จึงเกิดความร่วมมือในโครงการ WAT : Worship Activities Traditional "ศรัทธานำทาง เส้นทางนำเที่ยว" โดยได้ประสานวัดทั่วประเทศ 41,654 วัด สนับสนุนข้อมูลและเรื่องราวของพุทธศาสนสถานและศาสนวัตถุ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจที่เดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงวัดและชุมชนในเส้นทางแห่งศรัทธา  

โดยโครงการ WAT : Worship Activities Traditional "ศรัทธานำทาง เส้นทางนำเที่ยว"  ได้จัดทำเส้นทางแห่งศรัทธาเพื่อเสริมสิริมงคล ความรุ่งเรืองแห่งชีวิต เชื่อมโยงชุมชนที่มีศักยภาพและแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ จำนวน 15 เส้นทาง โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tourismthailand/tourismproduct หรือ www.facebook.com/Tousismproducts หรือ โทร. 1672

"อธิการบดี มจร"ชี้มัวแต่ขัดแย้ง ส่งผลเสียโอกาสพัฒนาประเทศ


 

"อธิการบดี มจร"ชี้มัวแต่ขัดแย้ง ส่งผลเสียโอกาสพัฒนาประเทศ  ชมหลักสูตรสันติศึกษาตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนนับเป็นทางรอดพระพุทธศาสนา  

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564  พระเทพวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์,ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ธรรมปฏิสันถารผู้เข้ารับการฝึกอบรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรุ่น 3  ภายใต้หัวข้อ มหาจุฬาความหวังของสังคม : บทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์ กับ การเสริมสร้างสังคมสันติสุข ความว่า บุคคลใดทำให้เกิดความขัดแย้งถือว่าทำกรรมอันหนัก ถึงแม้ไม่ได้เป็นอนันตริยกรรมก็ตาม จึงขออนุโมทนาบุญกับผู้ไกล่เกลี่ยทุกท่านในความมุ่งมั่นพัฒนาตน        

"สถาบันการศึกษาจะอยู่รอดจะต้องปรับตัว เพราะรูปแบบพระพุทธศาสนามี 4  รูปแบบ ประกอบด้วย 4 รูปแบบ 1)รูปแบบพระพุทศาสนาเชิงวิชาการ 2)รูปแบบพระพุทธศาสนาเชิงวิปัสสนากรรมฐาน 3)รูปแบบพระพุทธศาสนาพิธีกรรม  4)รูปแบบพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ซึ่งพระพุทธศาสนาเชิงวิปัสสนากรรมฐานและพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมจะอยู่รอด" อธิการบดี มจร กล่าวและว่า  

ส่วนพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการไม่สามารถรักษาสถานะของตนเองได้ โดยตัวอย่างในประเทศอินเดีย จึงเห็นว่ามหาวิทยาลัยเชิงวิชาการอยู่ลำบาก และไม่สามารถไปรอดในยุคปัจจุบัน จึงต้องเน้นพระพุทธศาสนาเพื่อผลิตบัณฑิตและพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม มหาจุฬาจึงมีความชัดเจนในการบริการสังคม โดยมอบหมายให้หลักสูตรสันติศึกษาพัฒนาเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยภายนอกพยายามมุ่งเอกสารวิชาการเป็นชุดความคิด 

พระเทพวัชรบัณฑิต กล่าวต่อว่า นับว่าสุดยอดของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ที่แท้จริงจริงในการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ถือว่าเป็นไปเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่แท้จริงคือโทสะคือความโกรธ โดยทั้งสองฝ่ายมีความโกรธเป็นที่ตั้ง พระพุทธศาสนามีวิธีการไปลดอารมณ์ให้หายโกรธ ได้ข่าวก็โกรธตามไปด้วย ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์คือ มีความรู้  มีหน้าที่ และมีคุณความดี  เราจึงเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศ ถ้าประเทศนั้นมัวแต่มีความขัดแย้ง 

"หลักพระพุทธศาสนามีหลักในการบรรเทาความโกรธ 10 อย่าง เพราะเมตตากับโทสะจะตรงกันข้ามกัน ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ด้วยการคิดแบบอริยสัจ 4 จึงมีการแลกเปลี่ยนกรณีแก้ปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างสองคน จากเรื่องเล็กๆ นำไปสู่เรื่องใหญ่ ตอนแรกไม่ฟัง แต่ช่วงหลังตั้งใจฟัง ลดอารมณ์ความโกรธ โดยใช้โยนิโสมนสิการ ขึ้นอยู่กับกรณี  ทำงานแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องเผื่อใจไว้บ้าง เพราะเป็นกรรมร่วมกันจึงมามีความขัดแย้งกัน        

พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร  เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  สรุปว่า ดังนั้น  อธิการบดีมหาจุฬาจึงพยายามย้ำมหาวิทยาลัยสงฆ์จะรอดต้องวิปัสสนากรรมฐานและเพื่อสังคม ซึ่งการมุ่งเพียงมหาวิทยาลัยวิชาการไปไม่รอดต้องมุ่งมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ซึ่งหลักสูตรสันติศึกษาตอบโจทย์สังคมขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน    

เผยแห่มาเรียนหลักสูตรไกล่เกลี่ย มจร ล้นห้องเกินจำนวนรับจริงทุกรุ่น

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะประธานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เสริมว่า  ตั้งแต่ มจร ลงนาม MOU กับสำนักงานศาลยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ผู้ใหญ่ที่ทำงานด้านนี้ มักจะถามตลอดว่า เพราะเหตุใดคนจำนวนมากจึงแห่มาสนใจหลักสูตรจนล้นห้อง ทำให้ต้องเปิดต่อเนื่องกันหลายรุ่นต่อจนถึงรุ่น 5 ทั้งที่รุ่นนี้เป็นรุ่น 3

เมื่อได้พบปะพูดคุยกับผู้เรียนจำนวนมาก จึงทำให้พบคำตอบที่น่าสนใจอย่างน้อย 5 ประเด็น ดังนี้

1: ต้องการไกล่เกลี่ยกับกิเลสตัวเอง  บางคนทุกเพราะกิเลสรุมเร้าจิตใจจนขัดแย้งในตัวเอง ทำให้เกิดเกิดสภาวะเน่าในคุกครุ่นเกาะกัดกินจิตใจ เกิดความแปลกแยกและย้อนแย้งต่อการเลือกและตัดสินใจ การเรียนรู้จะทำให้มีสติ สมา ธิปัญญา สามารถริหารจัดการอารมณ์ของตนเอง สื่อสารกับตัวเองได้ดีมากขึ้น


2: ต้องการช่วยไกล่เกลี่ยคนอื่นที่ขัดแย้งกัน เมื่อจัดการความกับขัดแย้งภายในได้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะนำทักษะดังกล่าวที่ผ่านการฝึกไปเสริมการจัดการความขัดแย้งภายนอก เพื่อช่วยคนอื่นที่กำลังเผชิญหน้ากับความทุกข์ รางวัลจึงเป็นความสุขที่เห็นคู่ความมีความสุขจากการค้นพบความต้องการแล้วจับมือสร้างอนาคตใหม่ร่วมกัน

3: ต้องการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคเอกชน ผลจากการผ่านการอบรมจะทำให้ได้รับใบอนุญาต (Licence) ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกลเกลี่ย แล้วจะทำให้สามารถเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน หรือภาคเอกชนได้ หากคนใดคนหนึ่งที่ร่วมจัดตั้งผ่านหลักสูตรนี้แล้วขึ้นทะเบียนได้ ด้านการแพทย์สามารถเปิดคลีนิครักษาคนได้ คนเหล่าก็เปิดคลีนิคทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยได้เช่นกัน

4: ต้องการเสริมงานประจำที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานในบริษัท ชุมชน สังคม หรืออื่นใด ล้วนแต่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความขัดแย้งได้ จึงจำเป็นที่จะเอาแนวคิดหรือทักษะมาใช้ในการบริหารจัดการความต้องการของคนในชุมชนหรือองค์กรนั้นๆ ให้สามารถบริหารได้ผลบริหารคนได้มีประสิทธิภาพ

5: ต้องการเข้าใจ Mindset เกี่ยวกับสันติวิธี คนจำนวนหนึ่งที่มา ก็มุ่งหมายจะเรียนรู้และเข้าใจคนอื่นๆ ในเชิงจิตวิทสาวสังคม หรือความต้องการส่วนลึกที่ซ่อนตัวอยู่ภายในใจว่าทำไมจึงคิดต่างทำต่าง หรือทำไมจึงชอบสร้างความขัดแย้งในชุมชน องค์กรและสังคม ที่สำคัญจะดึงคนเหล่านั้นมาผนึกกำลังหรือพัฒนาความขัดแย้งให้เป็นบวกได้อย่างไร


ทั้งหมดคือเหตุผลเบื้องลึกในใจที่ถูกกระตุ้นจากตัวแปรภายในบ้าง ภายนอกบ้าง จนเปิดทางให้พาตัวเองได้เดินทางเข้ามาศึกษาเรียนรู้และพัฒนาทักษะการไกล่เกลี่ยเกลี่ยข้อพิพาทตลอดเวลาที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่า ชุมชน องค์กรและสังคม จักได้ประโยชน์จากท่านเหล่านี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอน

"อย่างน้อยที่สุด แม้ท่านเหล่านี้อาจจะไม่สามารถสร้างผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการออกไปทำงานไกล่เกลี่ย แต่ก็เชื่อว่า ท่านเหล่านี้จะสามารถไกล่เกลี่ยกับกิเลสภายในใจของตนเอง บริหารจัดการอารมณ์และความรู้อย่างมีสติ รู้เท่านั้นสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่มีความเชื่อต่าง เห็นต่าง อย่างสันติสุขในสภาวการณ์ปัจจุบัน" พระมหาหรรษา ระบุ

 

 

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2564

เชียงรายจัดยิ่งใหญ่! พิธีประกาศปฏิญญาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักประจำจังหวัด


วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2564 พระรัตนมุนี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย นำคณะสงฆ์ ร่วมกับสมาพันธ์ส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาของจังหวัดเชียงราย นำโดย นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ได้จัดกิจกรรมประกาศปฏิญญาให้พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาหลักประจำจังหวัดเชียงราย" เมื่อบ่ายวันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2564 ที่บริเวณพุทธมณฑลสมโภช 750 ปี เมืองเชียงราย ตำบลบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยมีพุทธศาสนิกชนจากกลุ่มพุทธสมาคมแห่งจังหวัดเซียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สมาพันธ์ส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาจังหวัดเซียงราย พุทธสมาคมอำเภอ สภาวัฒนธรรมอำเภอทุกอำเภอ และองค์กรเครือข่าย รวมกว่า 7,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสำรวมอย่างพร้อมเพรียง

สำหรับพิธีพุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาให้พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาหลักประจำจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยกิจกรรมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ กิจกรรมสวดมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กิจกรรมการเสวนาทางวิชาการเรื่อง "พระพุทธศาสนาในประเทศไทยยุคโลกาภิวัตน์" โดยพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) นาวาอากาศเอกคัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ และศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์ รวมทั้ง กิจกรรมการทอดผ้าป้าระดมทุนเพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย และกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาอย่างต่อเนื่องงดงามมากมาย


พระรัตนมุนี เปิดเผยเพิ่มเติมว่า อาตมารู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ ที่จังหวัดเชียงรายได้ตอบแทนและดำรงตามปณิธานของพ่อขุนเม็งราย และบูรพมหากษัตริย์ล้านนา ที่ได้ปักหลักพระพุทธศาสนาให้กับแผ่นดินล้านนา มาตั้งแต่ก่อตั้งเมืองเชียงรายในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.1805 รวมระยะเวลาสถาปนา 759 ปี จนมาถึงทุกวันนี้พระพุทธศาสนาเป็นรากเหง้าของขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของชาวเชียงราย กลายเป็นวิถีชีวิตทำให้ชาวล้านนาเป็นชาวล้านนา มีความสุขด้วยแบบแผนของขนบธรรมเนียม อาตมาขอขอบคุณทุกส่วนงานที่ทำให้งานประสบความสำเร็จในครั้งนี้ โดยเฉพาะการได้มาซึ่งที่ดินของพุทธมณฑลเชียงรายได้การประสานจากคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ สภาฯ โดยมี ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล และ ดร.ณพลเดช มณีลังกา อีกทั้งคณะทำงานที่นำโดยอาจารย์ปรีชา พัวนุกุลนท์ รวมถึงคหบดีผู้สนับสนุนเช่น บริษัททิพยประกันภัย และ โตโยต้าเชียงราย ฯลฯ มีผู้ร่วมทำบุญเป็นหลักล้านให้กับสมาพันธ์ด้วยเห็นการตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง

นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ได้กล่าวว่า ที่มาของการจัดงานครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากปัจจุบัน พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทยและคนล้านนา รวมทั้งคนในจังหวัดเชียงรายกำลังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยคุกคามทั้งหลาย ทั้งจากภัยภายในและภัยภายนอกพื้นที่

ด้วยเหตุนี้ จึงจัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของพุทธบริษัทพลเมืองไทย พุทธศาสนิกชนในจังหวัดเชียงราย อันประกอบด้วยบุคคล คณะบุคคล องค์กรพุทธ และองค์กรเครือข่าย ได้แก่ พุทธสมาคมแห่งจังหวัดเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สมาพันธ์ชาวพุทธจังหวัดเชียงราย พุทธสมาคมอำเภอทุกอำเภอ สภาวัฒนธรรมอำเภอทุกอำเภอ และองค์กรพุทธอื่น ๆ ตลอดถึงองค์กรทางสังคมที่มีแนวคิดในการส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนา จึงได้รวมตัวกันก่อตั้ง "สมาพันธ์ส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย" ขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อจะมีการผลักดันให้พุทธศาสนิกชนในจังหวัดเชียงราย ยึดหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังมีแก่นของศาสนาคือ “ทาน ศีล ภาวนา” อีกทั้ง จะนำวิถีแห่งชาวล้านนาแต่ดั้งเดิมที่หายไปกลับมาอนุรักษ์ให้เป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นเช่นเดิม อันประกอบด้วย ความสะอาดเรียบร้อยความละเอียดลออ ความอ่อนช้อย ความรักในหมู่เหล่า มีความซื่อสัตย์ และความเคารพต่อผู้หลักผู้ใหญ่ผู้อาวุโส ทั้งนี้ จะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลัก ปรัชญาแห่งองค์ในหลวงรัชกาลที่ 9 นำมาปลูกฝังให้ประชาชนชาวพุทธดำเนินชีวิตอยู่อย่างมีความผาสุกสวัสดีต่อไป

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564

นศ.สถาบันพระปกเกล้าเปิดโลกทัศน์ ถามอาเซียนทำอะไรได้บ้าง ปมเผด็จการทหารเมียนมาฆ่าผู้ประท้วง



เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น 5 สถาบันพระปกเกล้า  เปิดเผยว่า บ่ายนี้เรียน "หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี" รุ่น 4 โดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กลุ่มวิชาที่ 4 โดยในภาคบ่ายรับฟังการอภิปรายภายใต้หัวข้อ บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในสถานการณ์ความขัดแย้ง โดย ภาคเอกชน: ท่านอาจารย์ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์  ภาคประชาสังคม: อาจารย์สุนี ไชยรส และภาครัฐ : นางสาวสุนิสา แพรภัทประสิทธ์ ซึ่งผู้ดำเนินรายการโดยดร.ชลัท ประเทืองรัตนา 

โดยมีสาระประเด็นสำคัญว่า จาก นางสาวสุนิสา แพรภัทประสิทธ์ ภาคสมช. ได้มองความมั่นคงในภาพรวม จะต้องมีการรับฟังหลากหลายมิติ ความมั่นคงของชาติ ๑๙ มิติ โดยเฉพาะร่วมมือและประสานความร่วมมือ เน้นการป้องกันและแก้ไข ความขัดแย้งหลีกหนีไม่ได้ อดีตความแตกต่างคือภัย แก้ไขปัญหาจึงต้องทำให้เหมือนกัน แต่ปัจจุบันความแตกต่างคือ โอกาส การแก้ปัญหาจึงต้องแลกเปลี่ยน การมองความขัดแย้งต้องไม่มองที่ภัยแต่มองว่าเป็นความหลากหลาย ซึ่งความแตกต่างทำให้แบ่งเขาแบ่งเรา เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง กระแสสังคมกระเเสโลก ความรุนแรงจึงเรื้อรัง ความต่างต้องนำไปสู่ความร่วมมือกัน อย่านำความแตกต่างไปสู่ความรุนแรง รัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อสารมวลชน กำหนดนโยบายและแผนการแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้อง #ความสมดุลและเกื้อหนุนบนหลากหลาย จะต้องสร้างการเกื้อหนุนให้เกิดขึ้น แผนส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศชาติ คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม จึงต้องใช้สันติวิธี ความขัดแย้งในสังคมไทยมีความลึกมาก ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะต้องมีความอดทนและให้อภัยกัน  ความต่างของ Gen ทำให้เกิดการปะทะกันใหม่กับเก่า จึงเป็นความท้าทายมาก 

อาจารย์ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการหลักสูตรฯ ภาคเอกชน ได้สะท้อนถึงกระบวนการบริหารความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบันสะท้อน 3 ประเด็น คือ 1) สาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน คำถามอะไรสาเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน คำตอบคือ โครงสร้างวัฒนธรรม เรามีโครงสร้างการช่วยเหลือกันซึ่งนำไปสู่การคอรัปชั่น ไม่มีความอดทนที่จะยอมรับฟังเหตุผลอย่างแท้จริง ขาด Dialogue อย่างแท้จริง สร้างคำพูดเป็นหน้าต่างไม่ใช่ประตู และไม่เข้าใจในเรื่องของเสรีภาพ  2 วิกฤตการณ์ทางการเมืองเนื่องจากความขัดแย้ง  มาจากคำว่า ความไม่เสมอภาคในมิติต่างๆ เช่น รายได้ การศึกษา ทางเพศ  เราพยายามจะบอกว่าเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ประเด็นคือ การคอรัปชั่น จึงต้องมีมาตรฐาน มาตรฐานมีแต่คนที่นำไปใช้ จึงขึ้นอยู่ว่า "นำไปใช้กับใคร" รวมถึงการสร้างกลุ่มต่อต้านที่ไม่อยู่บนฐานของกฎหมาย ทุกคนต่างต้องการเสรีภาพ เราจึงเห็นใจทุกฝ่ายเพราะต้องการการเปลี่ยนแปลง จึงต้องตระหนักว่า "สิ่งที่ควรจะเป็น กับ สิ่งที่เป็นไปได้" เราจะตัดปมเชือกหรือค่อยๆแก้ไข พร้อมพึงระวังการใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล 3 ) การแก้ไขความขัดแย้งในลักษณะเฉพาะของสังคมไทย จะต้องสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง #การยอมรับความแตกต่าง สถาบันพระปกเกล้าเน้นการเป็นพลเมือง โดยย้ำว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่การปกครองที่ดีที่สุด เเต่เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุด เราจึงต้องสร้างEmpathy เอาใจเขามาใส่ใจเรา ความรู้สึกร่วม หรือ ร่วมรู้สึก จึงมีคำกล่าวว่า "มนุษย์ง่ายมากที่จะสร้างความเกลียดชัง ยากมากที่จะสร้างความรัก" 

อาจารย์สุนี ไชยรส  ภาคประชาสังคม จากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า คำว่า ภาคประชาสังคม เป็นผู้ลุกขึ้นมาช่วยในนามสมาคม มูลนิธิ เพื่อสังคม ภาคประชาสังคมไม่ใช่รัฐ เป็นองค์กรอิสระ เป็นกลุ่มต่างๆ สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมีโดยเสมอภาคกัน ติดตัวมาแต่เกิดเป็นสากล สิทธิในการมีชีวิตอยู่ มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ มีโอกาสเท่าเทียมกันในเรียนรู้ ต้องไม่ต้องถูกเลือกปฏิบัติ ทุกเพศสภาพ สิทธิชุมชน สิทธิเสรีภาพทางการเมือง จึงต้องการประธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และระบบสวัสดิการ การจะอนุมัติเหมืองแร่จะต้องให้ชุมชนมีสิทธิในการตัดสินใจ รัฐต้องรับฟังและจัดสวัสดิการให้มีความเสมอภาค  จึงสอดรับกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด รัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติชายหญิงมีความเสมอภาคมีสิทธิเท่าเทียมกัน ทุกเพศสภาพ ห้ามเลือกปฏิบัติแม้จะมีถิ่นกำหนด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกาย ศาสนา ต่างกัน รัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติแต่ควรให้ความเสมอภาค ให้สิทธิเท่าเทียมกัน รัฐต้องสร้างความมั่นคงมีความยั่งยืน ภาคประชาสังคมต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและเห็นระบบในทางที่ดี ระบบสวัสดิการทุกถ้วนหน้า เงินอุดหนุนเด็กเล็กควรได้รับถ้วนหน้า เพราะเด็กมีความสำคัญ  ปัจจุบันให้เฉพาะเด็กยากจนตรวจสอบมาก แต่มีความตกหล่น 30 % มองว่าทุกคนเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐจะต้องรายงานต่อองค์การสหประชาชาติ รวมถึงประเทศเมียนม่าร์เป็นบรรยากาศที่เศร้ามาก มีการใช้ความรุนแรง ถามว่าอาเชียนทำอะไรอยู่ อาเชียนควรจะทำอย่างไร ย้ำว่าอย่าเลือกปฏิบัติแม้บุคคลนั้นจะมีความยากจน      

ดังนั้น มิติภาคประชาสังคมสอดรับสังคหธุระตามแนวทางพระพุทธศาสนา ภายใต้การมีจิตอาสาต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงการและระบบ ภาคประชาชนจึงปกป้องคนที่ด้อยโอกาส สังคมไทยเราขาด Dialogue จึงควรหาทางออกแบบสันติวิธี รัฐควรให้เท่าเทียมทุกเพศสภาพ อย่าให้ใครพูดว่า ฉันจนใช่ไหมจึงถูกเลือกปฏิบัติ รัฐควรยอมรับการความแตกต่างไม่แบ่งเขาแบ่งเรา สะท้อนมากในเมียนมามีการใช้ความรุนแรง ถามว่าบทบาทของอาเชียนจะทำอย่างไร  อดีตเรามองความขัดแย้งเป็นภัยร้าย แต่ปัจจุบันเราเริ่มมองความขัดแย้งเป็นความหลากหลาย ภาคประชาสังคมต้องการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมต้องเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและระบบ      

ประเด็นบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในสถานการณ์ความขัดแย้ง สอดรับกับหลักการของพุทธสันติวิธี คือ สาธารณโภคี คือการแบ่งปันประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน เสมอภาค ยุติธรรม สังคมใดที่มีความยุติธรรมเสมอภาคแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมจะนำไปสู่สันติสุข ซึ่งวันใดที่เราช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์วันนั้นเป็นวันที่สวยงาม โดยมิติภาคประชาสังคมสอดรับสังคหธุระมุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ด้วยการมีจิตอาสาลุกขึ้นมาช่วยสังคม เหตุเพราะรัฐไม่สามารถบริหารจัดการได้หรือไม่ 

ทำให้ภาคประชาสังคมเข้ามารับบทบาทนี้ ทำให้มองเห็นระบบวรรณะในอินเดีย แท้จริงการแบ่งระบบวรรณะเป็นการวางแผนของกลุ่มวรรณะชั้นสูงที่ต้องการให้วรรณะชั้นล่างปกครองง่าย โดยใช้หลักศาสนามาเป็นเครื่องมือเพื่อกดทับหรือยับยั้งบุคคลไว้ในระบบวรรณะ ทำให้ ดร. อัมเบดการ์พยายามส่งสัญญาณไปถึงภาครัฐ และนำพาคนกลุ่มหนึ่งหันมานับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ปฏิเสธระบบวรรณะ ดร.อัมเบดการ์ถือว่าเป็นภาคประชาสังคมที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องวิงวอนในมิติของความเท่าเทียมกัน เสมอภาค ลดคการกดขี่ห่มเหงในความเป็นมนุษย์  ภาคประชาสังคมจึงสะท้อนว่า เราไม่ทนที่จะเห็นคนในประเทศของเราไร้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์


 


วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564

รฟม.ยอมถอยไม่ทุบวัดเอี่ยมวรนุชแล้ว หลังเข้าแจงอนุกมธ.พุทธสภาฯ


เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564ที่ผ่านมา ที่รัฐสภาเกียกกาย คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ สภาฯ ได้พิจารณาศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเวนคืนที่ดินวัดเอี่ยมวรนุช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จากการดำเนินโครงการก่อสร้างรถฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โดยได้เชิญนิมนต์/เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย 1) วัดเอี่ยมวรนุช 2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 3) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 4) กรุงเทพมหานคร 5) ผู้เสนอเรื่องโดยประธานชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา (ศาสตราจารย์ ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์) นายบดินทร์ วัชโรบล และประธานชมรมรักษ์ศิลป์พระนคร 

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ชี้แจงว่า หลังจากที่เป็นข่าวแพร่ไปในสังคมโซเชียลทางส่วนของ รฟม. โดยเฉพาะผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นทางรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้ว่า รฟม. ทุกท่านต่างไม่ได้นิ่งนอนใจ ทั้งนี้ได้หารือในกระบวนการหลายวิธีที่จะทำให้ไม่กระทบต่อ วัดเอี่ยมวรนุช ด้วยเพราะจุดทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณวัดเอี่ยมวรนุชพอดี โดยมีอยู่หลายวิธีที่แก้ปัญหาทางขึ้นลงนี้คือ 1) เปลี่ยนเป็นจุดอื่นด้านข้าง จะต้องทำ EIA ใหม่ 2) วิธีรอนสิทธิ์ คือคืนสิทธิ์บนผิวดินให้วัดหลังสร้างเสร็จ 3) ใช้เขตนอกกำแพงวัด แต่จะใช้เพียงตึกแถวที่เช่ากับวัด ซึ่งวิธีที่ 3 จะดีที่สุดโดย รฟม. จะปรับภูมิทัศน์ให้สัมพันธ์กับวัดให้เหมาะสมและสวยงามอันจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายต่อไป

ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล เลขาฯ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ เผยว่า กรณีวัดเอี่ยมวรนุช ถือเป็นวัดที่เก่าแก่โบราณ สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 กว่า 250 ปีมาแล้ว ด้วยกระบวนการเวนคืนมีกฎหมายที่เป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งประชาชนในพื้นที่ไม่สบายใจที่วัดจะถูกเวนคืนที่ดิน อีกทั้งศิลปะที่เห็นในวัดสามารถปรากฎเป็นหลักฐานจะนำไปสู่การให้ความรู้จากบรรพบุรุษของไทยสู่ชนรุ่นหลังผ่าน ศิลปะที่ปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่วัด จึงได้เชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ประชุมตัวแทน รฟม. ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาโดย “จะไม่กระทบกับพื้นที่ที่จะใช้เข้าไปในรั้ววัด” ทางตัวแทนวัดเอี่ยมวรนุช ตัวแทนชุมชน และผู้ร้องต่างเห็นด้วย จึงได้สรุปในที่ประชุม ให้ รฟม. ออกหนังสือให้ชัดเจนแถลงต่อ กมธ. และสื่อมวลชน ต่อไป

พระมหาสร้อย สิทธิเมธี เลขานุการฯ วัดเอี่ยมวรนุช กล่าวว่าอาตมาขออนุโมทนากับ รฟม. และคณะอนุกรรมาธิการฯ พุทธศาสนาฯ ชาวพุทธผู้ที่ร้องกับกรรมาธิการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่หาทางออกให้กับวัดเอี่ยมวรนุช ที่เป็นวัดเล็กๆ ทั้งนี้พระก็ไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย รวมถึงการเข้าถึงผู้มีอำนาจที่จะตัดสินใจก็ไม่มี เมื่อมาที่กรรมาธิการฯ ได้มีทางออกได้เป็นอย่างดี โดย รฟม. จะไม่เวนคืนพื้นที่ในเขตหลังจากกำแพงวัดหรือเรียกง่ายๆ ว่าในเขตวัด ก็ถือเป็นอนุรักษ์และรักษาพระพุทธศาสนาที่บรรพบุรษของไทยได้ฝากฝังไว้ให้กับชาวพุทธรุ่นหลัง

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาฯคิวแน่น! แก้ปัญหาสำนักสงฆ์โคราช


วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2564  เวลา 09.30 น. ที่ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ และคณะกรรมาธิการ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ตัวแทนเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายเมธี กาญจนสุนทร นายอำเภอสีคิ้ว ตัวแทนกรมที่ดิน นายนพดล ประวัติวิลัย  เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 นครราชสีมา ตัวแทนกรมอุทยาน ตัวแทนกรมป่าไม้ และผู้ร้องเรียน ได้เข้าประชุมและชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ ในประเด็นปัญหาข้อร้องเรียน 1) ที่พักสงฆ์เขาโป่งนก ต.หนองน้ำใส อ.สีคิ้ว 2) ที่พักสงฆ์เขาเขื่อนลั่น ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว 3) วัดถ้ำเขาวง ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา


นายนพดล  กล่าวว่า จากการประชุมแก้ปัญหาที่พักสงฆ์เขาโป่งนกได้รับการยื่นเอกสารเพื่อขอใช้พื้นที่จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแล้วจำนวน 2 แปลง ซึ่งคาดว่าจะสามารถขอใช้พื้นที่ได้ในเร็วๆ นี้ และกรณีวัดถ้ำเขาวง ที่ประชุมได้สรุปให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กรมป่าไม้ ที่ดินจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนา และองค์การบริหารส่วนตำบล เข้าไปตรวจสอบพื้นที่เพื่อทำการออกโฉนดต่อไป

ขณะที่ ดร.เพชรวรรต  กล่าวว่า  ตนได้ลงพื้นที่ก่อนที่จะมาเข้าร่วมประชุมแล้ว เห็นถึงความเดือดร้อนของพระภิกษุสงฆ์ในต่างจังหวัด รวมถึงพื้นที่ใช้สอยที่มีจำกัด โดยในอดีตพระสงฆ์กับป่าไม้จะอยู่ด้วยกันได้อย่างดี ที่ไหนมีพระที่นั่นจะมีป่าสมบูรณ์ เพราะพระสงฆ์มีความจำเป็นต้องพึ่งพาป่าในการปฏิบัติธรรม การอนุรักษ์ต้นไม้จึงเป็นวิถีที่พระสงฆ์จะรักษาป่าไปโดยปริยาย สำหรับกรณีเขาโป่งนก ตนเห็นว่าหากได้พื้นที่บนยอดเขาก็จะสามารถเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาได้ สามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีไปในอนาคต สำหรับวัดถ้ำเขาวง ได้มีหนังสือยื่นขอพื้นที่ดินไปที่กรมที่ดินแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2549 จำนวน 20 ไร่ ทั้งนี้ด้วยติดปัญหาจาก 3 ฝ่ายคือ ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และกรมป่าไม้ ตนเห็นว่าก็คุยกันเสียเพื่อหาทางออก จะได้สามารถออกโฉนดได้อย่างถูกต้อง เพราะอย่าลืมเมื่อเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง การพัฒนาก็จะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่นพุทธมณฑลเชียงราย ก่อนออกเอกสารสิทธิ์ไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม แต่พอได้เอกสารสิทธิ์ถูกต้องแล้ว งบประมาณที่มาจากผู้มีจิตศรัทธาต่างหลั่งไหลมาเพื่อพัฒนาพื้นที่ ทางคณะกรรมาธิการที่ทำงานหนักก็เพื่อให้ทุกส่วนสามารถเดินงานได้ด้วยตนเอง ขอให้ช่วยเหลือกันและมีทางออกร่วมกันที่ถูกต้องประเทศชาติก็จะไปได้ และเราจะได้งานที่เคลื่อนได้ด้วยตนเอง เหมือนเอาถ่านใส่นาฬิกา ที่เหลือเป็นหน้าที่ของนาฬิกาที่มันจะเดินเอง ผลก็จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

นายวินัย ปุณยรัชตปรีดา ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีวัดถ้ำเขาวง เป็นวัดที่ก่อตั้งมาก่อนปี พ.ศ.2484 ซึ่งก่อตั้งวัดก่อนที่มี พระราชบัญญัติป่าไม้ ดังนั้นไม่น่าจะมีปัญหาในการออกเอกสารสิทธิ์ สำหรับกรณีที่พักสงฆ์เขาเขื่อนลั่น ซึ่งเป็นที่ของกรมธนารักษ์ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ เบื้องต้นกรมราชทัณฑ์ได้ตัดสัดส่วนที่เป็นวัดจำนวน 10 ไร่ ในที่ประชุมเห็นว่าควรตัดพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมให้เหมาะสมไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน รวมถึงไม่ปิดกั้นทางเดินก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย อีกทั้งกรมราชทัณฑ์มีแผนที่จะทำสกายวอร์คอยู่แล้ว ก็จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดเขื่อนลำตะคอง ที่สวยงาม ทางวัดก็จะได้ผู้แสวงบุญเข้าวัดอีกทั้งตัววัดเองก็จะเป็นที่ทำบุญหลักให้กับกรมราชทัณฑ์ เป็นที่อบรมให้กับผู้ต้องหา โดยเฉพาะเรือนจำคลองไผ่ สิ่งนี้ถือเป็นผลดีกับทุกฝ่าย

ครั้งแรกของโลก! ไทยเตรียมแปลพระไตรปิฏกฉบับบาลีเป็นภาษาอังกฤษครบ 45 เล่ม

 


วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2564 พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.9, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ไทย ประธานศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) ครั้งที่ 1/2564  ที่หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น 3 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอุปถัมภ์ฯดำเนินการแต่งตั้ง 


การจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) วัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย และทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก ที่ดำเนินโครงการโดยรัฐบาล ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม มหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

สำหรับสาระสำคัญของการประชุมครั้งแรกได้มีบทสรุปร่วมกันว่า  จะใช้พระไตรปิฏกภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ เป็นกรอบในการแปลไปเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้แต่งตั้งอนุกรรมการสรรหาผู้แปลทั้งไทยและต่างประเทศ และอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการแปลพระไตรปิฏกภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ

 


พระพรหมบัณฑิตกล่าวว่า การจัดทำพระไตรปิฏกภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษครั้งนี้ ถ้าสำเร็จตามแผนที่วางไว้ ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกของโลกที่แปลพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษครบทั้ง 45 เล่ม นอกจากนี้การแปลครั้งนี้ได้รับการอุปถัมภ์โดยรัฐบาลไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระกียรติเนื่องในโอกาสพระมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย


ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการชุดนี้ มีนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศไทยและต่างประเทศที่มีชื่อเสียง และมีประสบการณ์ในการทำงานพัฒนางานด้านพระพุทธศาสนาจำนวนมาก โดยคณะอนุกรรมการชุดนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ก่อนที่จะเสนอให้รัฐบาลไทยลงนามแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564

"แทนคุณ"รับร่างพ.ร.บ. 5 ฉบับ ชงยกเลิก"ธ.อิสลาม-ฮัจย์" หนุนตรากม.กิจการพุทธ



วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2564 เวลา 10.45 น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายแทนคุณ จิตต์อิสระ เลขานุการคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก น.ส.พาศิกา สุวจันทร์ นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา และคณะ เพื่อนำกราบเรียนประธานรัฐสภา เรื่อง การริเริ่มเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 5 ฉบับ พร้อมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน และบันทึกหลักการเหตุผลประกอบ ดังนี้

1. ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิก พ.ร.บ. ธนาคารอิสลาม พ.ศ. 2545 พ.ศ. .... เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ไม่เป็นไปตามบริบทของสังคมไทยในปัจจุบันที่การธนาคารมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ประกอบกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารที่รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับให้บริการแก่ประชาชนเฉพาะกลุ่ม ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอันเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและสร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นในสังคมไทย จึงควรยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเป็นการลดภาระงบประมาณของรัฐบาลรวมทั้งเป็นการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมของประชาชนทุกกลุ่ม

2. ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิก พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... เนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าวตราขึ้นเพื่อจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและบริหารเงินดังกล่าวในการประกอบกิจการฮัจย์ โดยการให้ผู้ประกอบกิจการฮัจย์กู้ยืมไปสำรองจ่ายค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ค่าที่พัก และค่าอาหารของผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ อันเป็นการนำเงินงบประมาณแผ่นดินไปให้เอกชนใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ โดยรัฐมิได้รับผลกำไรจากธุรกิจดังกล่าว จึงควรยกเลิกกฎหมายฉบับนี้เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคม

3. ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิก พ.ร.บ. ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 พ.ศ. .... เนื่องจากการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์เป็นการประกอบศาสนพิธีของชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม เปรียบได้กับการเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดียของชาวพุทธ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายเฉพาะบังคับใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือทรัพยากรส่วนกลางของแผ่นดินมาอำนวยความสะดวก เพราะประเทศไทยมี พ.ร.บ. ธุรกิจท่องเที่ยวควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอยู่แล้ว และศาสนิกชนที่ประกอบธุรกิจประเภทนี้ต่างใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน จึงควรยกเลิกกฎหมายฉบับนี้

4. ร่าง พ.ร.บ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับมาเป็นเวลานานจึงไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งจุฬาราชมนตรี การดำเนินงานของมัสยิด การปฏิบัติงานของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดฯ ที่ได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลานาน จึงควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การสอนและการเผยแผ่ศาสนาดำเนินการอย่างถูกต้อง รวมทั้งเพิ่มบัญญัติการกำหนดโทษสำหรับกรณีกระทำความผิดเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน

5. ร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการกิจการพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. .... เนื่องจาก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการกิจการพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา

นายแทนคุณ กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนประธานรัฐสภาเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการริเริ่มเสนอกฎหมายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และจะมีหนังสือแจ้งการวินิจฉัยของประธานรัฐสภาไปยังคณะผู้ริเริ่มภายใน 15 วัน เพื่อให้พิจารณาแก้ไขหรือปรับปรุงก่อนรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อไป



 

"สุรชัย"อยากเห็นนำ 5 เสาหลักสร้างปรองดอง ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง



"มจร"เปิดเวทีอารยะสนทนา เสนอ 5 เสาหลักสร้างปรองดอง แนะดึงคนมาคุยอย่าผลักคนออก "สุรชัย"อดีตรองประธาน สนช.อยากเห็นนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง หมอวันชัยประธานอนุกรรมการสมานฉันท์ ชี้ต้องคำว่า "เรา" แทนคำว่า "เขา" 

วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2564 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เข้าร่วมเวทีอารยะสนทนาเพื่อแสวงหาทางรอดต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ภายใต้หัวข้อ" การสร้างความสมานฉันท์ : 5 เสาหลักความปรองดองด้วยการเจรจาสู่สันติธรรม  ร่วมกันคืนความสุขสังคมไทยเพื่อส่งมอบให้ลูกหลานไทยในอนาคต"  ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ซึ่งจัดโดยนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง และศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 

ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ประธานอนุกรรมการสมานฉันท์ และทีมงานขับเคลื่อนงานสมานฉันท์ ภายใต้ห้าเสาหลักความปรองดองด้วยการเจรจาสู่สันติธรรม ร่วมกันคืนความสุขสังคมไทยเพื่อส่งมอบให้ลูกหลานไทยในอนาคต กล่าวเบื้องต้นว่า เรามุ่งมาหาทางออกของประเทศไทยร่วมกันในการขับเคลื่อนกับบุคคลที่เห็นต่าง  เราพยายามจะสร้างเครื่องมือใช้การเจรจานำมากกว่าการใช้กฎหมายนำ ควรจะมุ่งเน้นการออกกฎหมายเจรจาก่อนออกกฎหมายจับ พยายามหาทางออกร่วมกัน เราพยายามจะรับฟังบุคคลที่เห็นต่างมากที่สุด ที่เห็นต่างเพราะอะไร เห็นต่างอย่างไร ควรจะมีทางออกอย่างไร เพื่อให้คณะกรรมการสมานฉันท์ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปล่อยตัวเพื่อนได้หรือไม่ ต่างคนต่างเห็นต่างต่างคนต่างรวมตัวกันเพื่อเอาชนะกัน ประเทศไทยจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เราต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของการเมือง แต่เราจะเรียนรู้เข้าใจการเมืองอย่างไร  เราจึงร่วมกันแสดงถึงพลังแห่งการเสวนา เราทุกคนอยู่ในเครือข่ายสันติวิธี จึงมีการเปิดพื้นที่รับฟังเพื้อเป็นส่วนหนึ่งการสร้างความปรองดอง เพื่อเป็นทางออกของประเทศไทยต่อไป 

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร รวมถึงประธานคณะบริหารศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร บรรยาย  "การสร้างความปรองดองในกรอบของห้าเสาหลักสู่การเจรจาไกล่เกลี่ย"โดยมีสาระสำคัญว่า ขอบคุณคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้ารวมถึงภาคีเครือข่ายทุกภาคีเครือข่าย ถือว่าเรามาสร้างพื้นที่ที่ดีในการสื่อสารทางออกร่วมกัน โดยพระเดชพระคุณ พระเทพวัชรบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ความสำคัญห่วงใยบ้านเมือง จึงมีการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เราห่วงใยบ้านเมืองไม่ว่าเราจะอยู่ฝ่ายใด เราอยากอยู่ในประเทศที่มีความสุข อยากอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ต้องการพื้นที่ปลอดภัย มีคนรับฟังปัญหาเพื่อนำไปแก้อย่างแท้จริง จึงมีการดึงทุกคนทุกกลุ่มมาร่วมกัน ซึ่งประเทศไทยไม่ใช่ของใคร แต่เป็นของทุกคน     

"เราจะต้องดึงคนมาคุยกัน เราต้องไม่ผลักคนออกจากการมีส่วนร่วม เหมือนท่านพลเอกเปรม ดึงคนเห็นต่างมาคุยกัน หาทางออกร่วมกัน รวมถึงเนลสันมันเดล่าดึงทุกคนมมาคุยกัน หาทางออกร่วมกัน คำถามคือ เรามีกระบวนการกับคนที่เห็นต่างอย่างไร  การบังคับใช้กฎหมาย ใช้กฎหมายกับคนเห็นต่าง มันคือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง  โดยหลักสูตรสันติศึกษา มจร เคยออกแถลงการณ์ข้อที่ 4  ว่า เห็นสมควรให้มีการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ วันนี้เรามีการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เรียบร้อย โดยนิสิตหลักสูตรสันติศึกษามีความหลากหลายในอาชีพจึงเป็นผู้แทนในการสะท้อนความเห็นที่ต่างกัน ทำให้มองถึง 5  เสาหลักของการความปรองดอง     

1) เสาความจริง ให้พูดความจริงแม้มันจะเจ็บปวด ความจริงย่อมชนะสรรพสิ่ง มหาตมะคานธีนำไปใช้เป็นสัตยาเคราะห์ เกี่ยวกับความจริง จงพูดความจริง ต้องบอกความจริงของความจริงไม่ใช่ความของความรู้สึก แต่ถ้าความรู้สึกสอดรับกับความจริงควรพูด ใส่ความจริงเข้าไปในความรู้สึก เราต้องการความจริง  เราแยกไม่ออกว่าอะไรคือความจริง      

2) เสาความรัก  ความรักที่มีต่อกัน ไม่มีการด่าทอ บอกความต้องการที่แท้จริง คำพูดต้องไม่บั่นทอนความเป็นมนุษย์ เราอยากคำพูดที่ประกอบด้วยความรัก ความรักจึงสร้างบ้านสร้างเมือง ความโกรธความเกลียดความแค้นสร้างบ้านเมืองไม่ได้ จะพูดอย่างไรคนจะรักเรา พูดแล้วน่าเชื่อได้เพื่อน เมตตาธรรมค้ำจุนโลก การเมืองอยู่ไม่ได้ถ้าเราไม่มีความรัก การเมืองถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประสานประโยชน์ของคน อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การเมืองต้องสานรอยร้าว มิใช่เอาการเมืองมาทำร้ายกัน        

3) เสารับผิดชอบ  จงมีการรับผิดชอบร่วมกันนี่คือประเทศชาติบ้านเมือง รับผิดชอบต่อลูกหลานอนาคตของลูกหลาน เราจะรับผิดชอบร่วมกันอย่างไร      

4) เสาความเป็นกลาง  กลางในกับกลางนอก กลางนอกคือหารสองแบ่งผลประโยชน์ลงตัวถือว่ากลางเทียม อาจจะไม่ยั่งยืน ส่วนกลางใน เป็นกลางที่ไม่ถูกความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำภายในจิตใจ          

5) เสาสามัคคี เป็นพลังของคนในสังคม มันจะไม่อยู่แบบนี้ต่ออีกไปไม่ได้อยู่ จึงมองว่า ประเทศไทยจะเป็นอยู่แบบนี้อีกต่อไปไม่ได้แล้ว เราจึงมีพื้นที่แสดงออกอย่างปลอดภัย เราทุกคนจึงต้องมาร่วมกันเพื่อหาทางออก ถ้าคนไทยไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ศึกษาคำสอนทางศาสนาให้ลึกซึ้งจะนำไปสู่สันติสุข แต่เมียนม่าร์เป็นเมืองพุทธเรายังเห็นการใช้ความรุนแรง อะไรที่ทำให้เราตัดสินใจใช้ความรุนแรงในสังคม เราจึงต้องผลึกกำลังขับเคลื่อนห้าเสาเพื่อเสนอทางรอดของประเทศชาติ  

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา อดีตรองประธาน สนช. เสนอมุมมองของสถาบันการเมืองต่อทางออกด้วยสันติวิธีของสังคมไทย กล่าวว่า เราพูดเรื่องการสมานฉันท์ ในปีพ.ศ.2552 ประเทศไทยเคยตั้งคณะกรรมการ เพื่อบริหารความขัดแย้งในสังคมไทยและสร้างความปรองดอง แต่ผลการศึกษาไม่ได้ถูกนำมาใช้ในสังคมไทยอย่างแท้จริง เหตุผลใดเราจึงไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง เหตุใดสังคมไทยจึงกับมาอยู่ในวาระของความขัดแย้ง สาเหตุคือปัญหาไม่ได้รับแก้ไข ซึ่งปัจจุบันสังคมมีความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น การทำงานของกรรมการสมานฉันท์ในชุดนี้จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริง พัฒนาการของความขัดแย้งยกระดับตามยุคสมัยเพราะความขัดแย้งที่ผ่านมาเราไม่ได้รับความขัดแย้ง  ปัญหาของความขัดแย้งในสังคมไทย คือปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง โดยมีอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้มีมุมมอง รูปแบบการเมืองที่แตกต่างกัน การเข้าสู่อำนาจที่แตกต่างกัน ต้องการอำนาจรัฐมาอยู่กลุ่มของตนเอง จึงสะท้อนในรูปแบบต่างกัน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามามีบทบาทในการเมือง เพื้อขับเคลื่อนในการเมือง การขัดแย้งทางการเมืองจึงมาจาก อุดมการณ์ ผลประโยชน์      

หลักการในแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องแก้ที่รากของความขัดแย้ง ประกอบด้วย 1) อุดมการณ์ทางการเมือง เริ่มต้นจากการยอมรับกติการ่วมกัน มีอุดมการณ์ใกล้เคียงกัน มีความหลอมรวมกัน ถ้าไม่สามารถกลอมรวมอุดมการณ์ทางการเมืองได้ 2) กระบวรการเข้าสู่อำนาจรัฐ ต้องการเข้ามาสู่อำนาจรัฐเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จึงนำไปสู่การเลือกตั้ง ไม่ยอมรับการเลือกตั้งที่มองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย 3) กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง จะต้องเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติถือว่าเป็นผลประโยชน์ทางการเมือง แต่สิ่งที่น่าห่วงมากคือผลประโยชน์ส่วนตัว จึงต้องกำหนดกติกาทางการเมือง      

แนวทางของการสมานฉันท์และการปรองดองจะต้องทำวิธีการให้ชัดเจน โดยมีหลักการเข้าสู่อำนาจรัฐให้เป็นธรรม จะต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม สร้างความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย มีความเท่าเทียมกัน จะต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมให้ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนโดยส่วนรวม เคารพกฎหมาย เคารพรัฐธรรมนูญ เราจะลดความเหลื่อมล้ำทางกฎหมายและลดความเหลื้อมล้ำกระบวนการยุติธรรม รัฐจะต้องเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ทุกท่าน กฎหมายใดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้มีอำนาจจะต้องเคารพทุกคนจะลดความขัดแย้ง กฎหมายอะไรที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนและความเป็นมนุษย์       

"การปรองดองสมานฉันท์จะต้องไปเจอโจทย์สำคัญ คือ การชุมชนสิทธิทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง เช่น รัฐควรแสดงความจริงใจต่อประชาชน การที่ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รัฐมีท่าทีอย่างไร คณะกรรมการสมานฉันท์ต้องทำความเข้าใจ เราจะต้องมองกฎหมายนิรโทษกรรมควรมุ่งที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคล กระบวนการปรองดองเรามีกระบวนการไกล่เกลี่ย เราควรใช้ทฤษฎี Win Win ชนะไปด้วยกัน ให้ทุกฝ่ายรู้สึกว่าเดินไปด้วยกัน ต้องยอมถอยในอุดมกาณ์ทางการเมือง เครื่องมือที่ควรใช้คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะสามารถยุติความขัดแย้งในสังคมไทย" นายสุรชัย  กล่าว           

ศาตราจารย์ นพ.วันชัย กล่าวเสริมว่า เราต้องสร้างประชาธิปไตยแบมีส่วนร่วม ทำให้เราต้อนย้อนไปถึงผู้ใหญ่ลี ในปีพ.ศ.2504  ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมทางการเขาสั่งมาว่า อันหมายถึง ประชาชนไม่มีส่วนร่วมใดๆ  รัฐเพียงสั่งการให้ประชาชนทำเท่านั้น ถือว่าขาดการมีส่วนร่วม เราจึงต้องมีการประชาพิจารณ์ด้วยการเริ่มฟังประชาชน เราขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจึงนำไปสู่ความขัดแย้งระยะยาวฝังรากลึก จึงมีประชาธิปไตยสานเสวนาหาทางออก หรือ ประชาธิปไตยแบบการไตร่ตรอง      

โดยนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้นั่งหัวโต๊ะถกคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อหาทางออกร่วมกัน เราจึงพยายามแก้ปมแทนการตัดลิบบิน โดย ศาสตราจารย์ นพ. ประเวศ วะสี ในการคลายปมปัญหาความขัดแย้ง จึงพยายามสร้างเวทีในการพูดคุยกันในมิติด้านศาสนา เวลาเจอคนเห็นต่างจากเราจงพยายามไม่ใช้ภาพความเป็นศัตรู : Enemy Image ภาพความเป็นพวกเขาพวกเขา จึงควรใช้ Try to Use We not They ใช้คำว่า เรา แทนคำว่า เขา จึงพยายามใช้พวกเรามากกว่าพวกเขาพวกมึง เวลามีผู้ประท้วงจึงใช้คำว่า พวกมึง พวกกู จะนำไปสู่ความขัดแย้ง เวลาคนมาประท้วงจึงต้องมาเยอะเพราะอยากให้คนอื่นได้ยิน จึงมีคำว่า Empathy หมายถึง ความร่วมรู้สึก การจะออกแบบอาคารให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอด เขาควรจะอธิบายอย่างไร ให้ครูนักเรียนที่ตาบอดได้ทราบถึงแบบแปลนที่เปลี่ยนไป  ประกอบด้วย 1)ตาบอดสี หูบอดโทนเสียง 2)ความใจบอด ความไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3)การรู้และเข้าใจหัวจิตหัวใจผู้อื่น ปัจจุบันเราใช้แต่ "คิดและทำ" แต่เราขาดFeeling ความรู้สึก และ Emotion อารมณ์ นี่คือEmpathy ฉันเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นแล้ว        

ศาตราจารย์ นพ.วันชัย กล่าวด้วยว่า การเจรจาไกล่เกลี่ยไม่ใช่ยอมๆ แต่ต้องค้นหาความต้องการที่แท้จริง สอดรับกับนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ แชมเบอร์เลน โบกข้อตกลงที่ฮิตเลอร์ ผู้นำสูงสุดของของเยอรมันลงนามจะไม่ทำสสงคราม แต่ปีรุ่งขึ้น ฮิตเลอร์นำทัพบุกโปแลนด์ จึงมีผู้วิเคราะห์ว่า ข้อตกลงนั้นๆ คือ Appeasement หรือ การยอมตามที่จะเอาใจไม่ใช่ข้อตกลงที่จริงใจ การไกล่เกลี่ยควรเริ่มต้นจากงานยากก่อนงานยาก เราควรทำงานยากๆ ก่อนงานง่ายๆ จึงมีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2563 การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แท้จริงเราควรป้องกันมากกว่ารักษา เพราะถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งต้องไม่สูบบุหรี่ มีโยบายคุยกับตำรวจว่า จึงต้องเจรจาก่อนจับ ออกหมายเจรจาก่อนออกหมายจับ เจรจาก่อนจัดชุมนุม จึงมีการเฝ้าระวัง :Watch doc. จะมีเชิงสัญลักษณ์ด้วยการยุติความรุนแรง เราต้องเน้นการป้องกัน เราจะเน้นมองอนาคตมากกว่าการมองอดีต อาจารย์ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า มีการแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มความจริงมีวิธีการอย่างไร 2)กลุ่มความรักและกลุ่มความสามัคคี มีวิธีการอย่างไร 3)กลุ่มความรักผิดชอบและความเป็นกลาง มีวิธีการอย่างไร       

พระปราโมทย์สรุปว่า รัฐจึงควรรับฟังคนเห็นต่าง ดึงคนมาคุยอย่าผลักคนออก ขับเคลื่อนคนเห็นต่างอย่างสันติ ใช้การเจรจานำการใช้กฎหมายนำ ออกกฎหมายเจรจาก่อนออกกฎหมายจับ ใช้กฎหมายกับคนเห็นต่างคือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ กระบวนการยุติธรรมบังคับใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารสาธารณะ ต่างคนต่างเห็นต่างต่างคนต่างรวมตัวเพื่อเอาชนะกันประเทศไทยจะอยู่อย่างไร 


วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาฯพร้อมดัน แก้กฎหมายปล่อยโคมลอยได้


เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ที่ห้องอาหารภูภิรมย์ สิงห์ปาร์คเชียงราย จ.เชียงราย รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ได้หารือกับตัวแทนหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย ตัวแทน วัฒนธรรมจังหวัด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ ได้เข้าหารือประเด็นของการร้องเรียนกรณีการท่าอากาศยาน มีคำสั่งห้ามปล่อยโคมลอยช่วงเทศกาลลอยกระทงและปีใหม่ 

ทั้งนี้นายวรวิทย์ วดีอินทวงศ์ ผู้ประกอบนำเที่ยวภาคเหนือตอนบน และรองประธานชมรมโคมลอยและบอกไฟล้านลานนา ผู้ร้องเรียนได้กล่าวกับที่ประชุมว่า จากการที่มีกฎหมายและคำสั่งห้ามปล่อยโคมลอยอันเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันสำคัญของชาวล้านนา ส่งผลกระทบให้จารีตประเพณีของชาวล้านนาได้หายไป มีผลกับการท่องเที่ยวที่ชาวต่างพื้นที่รวมถึงชาวต่างชาติที่จะมาชมการปล่อยโคมลอยอันยิ่งใหญ่ จนเป็นสีสันของชาวล้านนาและเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติเห็นแล้วจะต้องมุ่งมาที่ประเทศไทยโดยปักหมุดที่ล้านนาในเทศกาลสำคัญ ที่ผ่านมาตนในฐานะผู้ประกอบการท่องเที่ยวถูกยกเลิกการท่องเที่ยวจากต่างชาติ ด้วยเหตุผลเพียงว่า “ห้ามปล่อยโคมลอย” ตนจึงได้ร้องขอให้ทาง กมธ. ได้หาทางให้ชาวล้านนาได้กลับมาสามารถปล่อยโคมลอยอันเป็นจารีตประเพณีของชาวล้านนาได้ดังเดิม

ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากที่ตนเป็นชาวเชียงใหม่ เป็นชาวล้านนา เคยบวชเรียนมากว่า 19 ปี เป็นอดีตพระธรรมทูต ได้เห็นความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรม ที่ชาวล้านนาเรียกง่ายๆ ว่า จารีตประเพณี สำหรับประเพณีการปล่อยโคมลอย ชาวล้านนาถือปฏิบัติมานับพันปีแต่การบินเพิ่งจะมีไม่กี่สิบปีมานี้ ในอดีตในวันเดือนเพ็ญเดือนสิบสอง หรือวันลอยกระทง ชาวล้านนาจะเข้าวัดทำบุญ ตัดเล็บตัดผม และนำไปห้อยกับโคมลอยที่จะปล่อยสู่ท้องฟ้า ถือว่าเป็นการปล่อยเคราะห์โดยให้โคมลอยนำสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเอง และจะถือว่าได้เริ่มสิ่งใหม่ๆ ภายหลังได้ติดไฟให้สวยงามเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและมีประเพณีปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่และวันเค้าดาวส์เพิ่มเติม 

อีกทั้งการจุดบอกไฟหรือเรียกว่าดอกไม้ไฟทั้งประเภทบนดินและสู่ฟ้า แต่เดิมชาวบ้านจะเตรียมวัตถุดิบที่จะนำไปทำบอกไฟมาตำรวมกันและมีการตระเตรียมก่อนวันลอยกระทงและบางหมู่บ้านอาจมาลงแขกช่วยกันทำบอกไฟ ทำโคมลอย ทำสะตวง (เครื่องบูชาให้ผู้เสียชีวิต) จนเป็นวิถีชีวิตของชาวล้านนามาแต่โบราณ ภายหลังเมื่อมีการประกาศห้ามปล่อยโคมลอย ตนสังเกตเห็นว่าความเชื่อมโยงระหว่างชาวล้านนากับประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมหายไป ประชาชนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่เริ่มมีระยะห่างกันมากขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่หารือที่ประชุมทุกภาคส่วนเห็นด้วยกับการให้ปล่อยโคมลอยให้กลับมาปล่อยได้ดังเดิม แต่ติดที่การที่มีกฎหมายบางข้อยังไม่เอื้อ ซึ่งตนจะนำเสนอสภาเพื่อนำไปสู่การแก้กฎหมาย ให้ชาวล้านนากลับมาปล่อยโคมลอยได้ดังเดิม

ดร.ณพลเดช มณีลังกา อาจารย์พิเศษประจำวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง เผยว่าด้วยตนเองเป็นนักบิน สำหรับข้อความปลอดภัยในการบินถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการบิน โดยปกติจะมีข้อปฏิบัติของนักบินที่จะต้องรับฟัง Air Traffic Control หรือ การควบคุมการจราจรทางอากาศ ซึ่งมีหลายสถานี ภายหลังนอกจากเครื่องบินที่ใช้พื้นที่ทางอากาศในการสัญจรแล้ว ยังมีโดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ ปัจจุบันต่างชาติได้ให้การยอมรับ ว่าสามารถเดินทางในอากาศได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ภายหลังประเทศไทยก็มีการยอมรับที่ให้โดรนสามารถบินสู่อากาศได้ โดยมีทั้งประเภทโดรนที่จะต้องขึ้นทะเบียนและโดรนที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียน สำหรับการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่อากาศ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยและการท่าอากาศยานไทย อาจเข้ามาช่วยหาทางออกที่จะนำไปสู่การยอมรับของ ICAO หรือ FAA รวมถึงการบินนานาชาติ ซึ่งตนเชื่อว่ามีทางออกสำหรับทุกฝ่ายเพียงหันหน้าเข้ามาหารือกันและช่วยกันผลักดันให้วิวัฒนาการสมัยใหม่ยังอยู่คงคู่กับจารีตประเพณีวัฒนธรรมดังเดิมของชาวล้านนา

พระสงฆ์ไม่เว้น! เผด็จการทหารเมียนมายิงบาดเจ็บรายแรก



เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 หลังจากเว็บไซต์ข่าวศาสนา "http://thebuddh.com" เสนอข่าววันนี้ว่าเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ย่าน Mogok ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเขตทำเหมืองทับทิม ทหารบุกเข้าไปจับกุม Yaypu Sayadaw พระภิกษุสงฆ์พม่าชั้นผู้ใหญ่ ที่บริเวณหน้าสมาคมการกุศลแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่หลบซ่อนตัวของผู้ชุมนุมที่หลบหนีการปราบปรามสลายการชุมนุม         

เว็ปไซต์ข่าว “Myanmar Now” อ้างแหล่งข่าวเล่าให้ฟังว่า ทหารบังคับให้พระผู้ใหญ่รูปนี้ถอดจีวร บังคับให้สึกจากความเป็นพระ ตั้งข้อหากระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 505(b) ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปี หลังจากนั้นนำตัวไปคุมขัง โดยไม่อนุญาตให้พบทนายความ นอกจากจับกุม Yaypu Sayadaw พระเถระรูปนี้แล้ว ทหารยังจับกุมพระอีก 2 รูป และประชาชนอีกราว 40 คน ที่สมาคมการกุศลในเมือง Mogok นั้น        

ล่าสุดวันนี้(13มี.ค.) มีภาพพระภิกษุรูปหนึ่งถูกยิงด้วยอาวุธ โดยมีผู้ร่วมชุมนุมหามออกมาและนำไปรักษาในสถานที่แห่งหนึ่ง ประเทศเมียนมาถือว่าเป็นประเทศประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด เวลาเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น การเมือง เศรษฐกิจหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ประชาชนมักออกมาเป็นแกนนำนำประชาชนเรียกร้องอยู่เสมอ ๆ     

การยิงพระภิกษุด้วยอาวุธร้ายแรงในวันนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีพระภิกษุถูกยิงด้วยอาวุธ ตั้งแต่ชุมนุมทางการเมืองมาประมาณเดือนเศษ

ชาวเมียนมาชุมนุมรำลึกเหตุการณ์ "8888"

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาวเมียนมาจำนวนมากรวมตัวกันตามท้องถนนในเมืองย่างกุ้ง และตามเมืองใหญ่ เพื่อร่วมกันรำลึกถึงเหตุการณ์ 8888ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2531 เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเมียนมายิง นายโพน มอว์ นักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้ง เสียชีวิตภายในพื้นที่ของสถานศึกษา และยังมีนักศึกษาอีกคนถูกยิงเสียชีวิต สร้างความโกรธแค้นอย่างหนักให้กับประชาชน ส่งผลให้การประท้วงขับไล่รัฐบาลทหารในเวลานั้นขยายวงกว้างจนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2531 หรือวันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 ซึ่งกองทัพใช้มาตรการกวาดล้างครั้งใหญ่


วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564

ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา"มจร" สลดความรุนแรงในเมียนมา


 

ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา"มจร" สลดความรุนแรงในเมียนมา ระบุมิอาจเรียกคนที่นิยมความรุนแรงว่าเป็นชาวพุทธ 

เมื่อวันที่ 13  มีนาคม  2564 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่าน Hansa Dhammahaso ถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศเมียนมาความว่า " Pray for Myanmar สถานการณ์ต่อสู้ทางการเมืองแบบอหิงสาตามแนวทางการปฏิบัติที่ไร้ความรุนแรง: Non-Violent Action:NVA ในหลายสถานการณ์ทั่วโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มักจะแลกมาด้วยหยาดน้ำตา ชีวิต และเลือดเนื้อของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอ 

สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ กลุ่มที่ "ดื้อความรุนแรง" คือคนที่คุ้นเคยกับการใช้ความรุนแรง มักจะเพิ่มดีกรีของความรุนแรงในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์และความเชื่อตามวิถีการเมืองที่แตกต่าง โดยเฉพาะความเชื่อที่อาจจะเข้าไปบั่นทอนและลดทอนอำนาจของตัวเอง 

ในที่สุด ความสูญเสียก็จะคลืบคลานเข้ามาหากลุ่มคนที่ใช้ชีวิตสันติวิธีตามแนวทางนี้ ภายใต้การควบคุมของกลุ่มคนที่มีความเชื่อที่ว่า สันติภาพสร้างได้ด้วยการใช้กำลังปราบปรามด้วยอาวุธที่ร้ายแรงพร้อมด้วยการข่มขู่และจับกุมคุมขัง 

พระมหาหรรษา  กล่าวด้วยว่า ขอแสดงความไว้อาลัยต่อเด็กน้อยในภาพที่ร้องไห้ถึงพ่อที่จากไปแทบใจจะขาด พร้อมทั้งขอไว้อาลัยผู้ที่ใช้ใช้กำลังเข้าปราบปรามเพื่อนมนุษย์ โดยมุ่งที่จะรักษา "อำนาจ ผลประโยชน์ และความต้องการ" โดยไม่สนว่าจะต้องแลกด้วยชีวิตของคนอีกจำนวนเท่าใด คนเช่นนี้ พระพุทธเจ้าไม่นิยม และไม่สรรเสริฐ ฉะนั้น เรามิอาจเรียกคนที่นิยมความรุนแรงว่าเป็นชาวพุทธ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น  

แนะใช้อ่างปลาเครื่องมือสันติวิธี แก้ปมขัดแข้งการเลือกอาชีพ ระหว่างเด็กรุ่นใหม่กับผู้ปกครอง


วันที่ ๑๓ มีนาคม   ๒๕๖๔ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น ๕ สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า ได้ร่วมเเลกเปลี่ยนสะท้อนในมิติการปะทะกันทางGen ระหว่างพ่อแม่กับเด็กรุ่นใหม่ ในฐานะนักศึกษาหลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีรุ่น ๕ สะท้อนสันติสนทนาผ่านกิจกรรม Help Me Peace แบบ Fishbowl Dialogue กับกลุ่ม Generation Gap ภายใต้หัวข้อ #ผู้ใหญ่หวังดีเลือกอาชีพให้ Vs เด็กรุ่นใหม่ไม่อยากได้ขอทำตาม Passion:ลดช่องว่างระหว่างวัยอย่างไรให้เข้าใจกัน" ผ่านมิติของกระบวนการแบบอ่างปลา โดยเครื่องมืออ่างปลา (Fishbowl) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้เป็นทางเลือกในการประชุมที่ไม่เน้นการ นำเสนอโดยเพาเวอร์พอยต์หรือการอภิปรายแบบ panel discussion 

โดยผู้เข้าร่วมยังคงมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ผ่านการกำกับเวทีโดยวิทยากรกระบวนการ การเน้นความทั่วถึงในการแลกเปลี่ยนและรับฟังซึ่งกันและกัน จะไม่ใช่การมาบรรยายหรือนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียว สิ่งสำคัญคือ บทสนทนาเกิดขึ้นเฉพาะในวงอ่างปลาเท่านั้น คนวงนอกจะนำเสนอ ความเห็นได้ต่อเมื่อเข้ามาในวงอ่างปลา คนที่ต้องการนำเสนอจึงต้อง รอคอยเวลาที่เหมาะสม เมื่อถึงรอบของตนเองจึงจะมีโอกาส คำถามที่ว่า ทำไมคนถึงอยากเข้าไปสนทนาในวงอ่างปลา? สามารถตอบได้ด้วย การตั้งประเด็นเรียนรู้ที่น่าสนใจ ท้าทาย ชวนให้ติดตามแลกเปลี่ยน และการสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม    

อ้างอิงจาก ดร.ชลัท ประเทืองรัตนว่า หลักการสำคัญของเครื่องมืออ่างปลาการประชุมกลุ่มย่อยโดยใช้เครื่องมือหลักการสำคัญที่แตกต่างกันไป หลักการของการประชุมแบบอ่างปลา คือ    

๑)สร้างการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน โดยที่ทุกคนสามารถ แสดงความเห็นได้โดยเข้ามาแสดงความเห็นในวงใน ส่วนคนวงนอกทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ นั่นหมายความว่าทุกคนในวงประชุมกลุ่ม สามารถสลับมาเป็นผู้ให้ข้อมูลและความคิดเห็นได้เมื่ออยู่วงใน และผู้ที่อภิปรายอยู่ในวงในก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นผู้สังเกตการณ์ได้เช่นกันเมื่อนั่งอยู่วงนอก      

๒)เน้นการฟังกันอย่างตั้งใจและอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากผู้ที่จะสามารถแสดงความเห็นได้จะเป็นผู้ที่นั่งอยู่ในวงใน ส่วนคนที่นั่งอยู่วงนอกจะไม่สามารถแสดงความเห็นได้ ถ้าคนวงนอกอยากแสดงความเห็นจะต้องมีเก้าอี้วงในที่ว่างและขยับเข้าไปวงในถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่นั่งอยู่วงในจะตั้งใจแสดงความเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ และคนที่นั่งอยู่วงนอกก็จะตั้งใจฟังเพื่อที่เมื่อถึงเวลาที่สลับวง ตนเองจะได้แสดงความเห็นได้อย่างไหลลื่นเช่นกัน      

๓) สร้างจุดสนใจร่วมกัน ทำให้เกิดสมาธิในวงสนทนา จุดสนใจของการสนทนาจะอยู่ตรงกลางวง อยู่ที่การให้ข้อมูลของคนวงในที่เปรียบได้กับตัวปลา ส่วนคนวงนอกเป็นผู้สังเกตการณ์เปรียบได้กับขอบอ่างปลา ผู้สังเกตการณ์เฝ้ามองการโต้แย้ง อาจเปรียบได้อีกแบบคือ อยู่ในโดมแก้วที่มองเห็นวิวได้ชัดเจนแบบ ๓๖๐ องศา ผู้สังเกตการณ์ จะสังเกตทัศนคติและคุณภาพฃองผลงานที่เกิดขึ้นในการสนทนาวิทยากรกระบวนการมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้การสนทนาดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการเสียสมาธิหรือการรบกวนจากผู้เข้าร่วมสนทนา      

๔)การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นที่ไม่เน้นการนำเสนอแบบบรรยาย การสนทนาด้วยเครื่องมือนี้ ไม่เน้นการมาบรรยายหรือถ่ายทอดโดยวิทยากร วิทยากรที่ใช้เพาเวอร์พอยต์ในการนำเสนอและเน้นการถ่ายทอดหรือสื่อสารทางเดียวจะต้องปรับตัว หรือปรับเปลี่ยนวิธีการเมื่อเข้ามาร่วมสนทนาในวงอ่างปลา เนื่องจากเป็นการสนทนาแบบมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คนอื่นจะมีโอกาสในการให้ข้อมูลเช่นกันเมื่อถึงรอบเวลาของตนเอง      

ในนามกลุ่มสะท้อนว่า ขอแสดงความยินดีมากสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่มีพ่อแม่คอยเลือกอาชีพให้ มีโอกาสได้เข้าถึงระบบการศึกษา ได้เรียนในสถานที่ดีๆมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด เพราะมองว่าการศึกษาดีย่อมจะนำมาซึ่งการงานที่ดี แต่ในสำหรับเด็กบางคนอาจจะไม่มีโอกาสแบบนั้น ได้เรียนที่ไหนก็ต้องไขว้คว้าเรียนไว้ก่อน อาจจะเพราะความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยก็เป็นไปได้  ในมิตินี้เราอาจจะนำไปสู่คำว่า "ความหวังดีของผู้ให้ อาจจะเป็นความหวังร้ายของผู้รับ" จึงขอแบ่งออก  ๓ ประเด็น  ประกอบด้วย      

๑) ผู้ใหญ่หวังดีเลือกอาชีพให้ ปกติชีวิตเรามี ๒ ช. ช้อยส์ และ ช๊อค  ซ้อยส์หมายถึงชีวิตควรมีทางเลือก ทุกชีวิตควรมีทางเลือกด้วยตนเอง ทุกคนย่อมมีทางเลือกของชีวิตที่ดีที่สุด แต่อาจจะมีบางคนพยายามจะเลือกช้อยส์ให้คนอื่น แต่ความหวังดีของผู้ให้ อาจจะเป็นความหวังร้ายของผู้รับ ผู้ใหญ่บางคนอาจจะใช้อำนาจเหนือกับเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งแสดงว่าสามารถควบคุมเด็กได้ ผู้ใหญ่จึงใช้อำนาจร่วมและอำนาจภายใน ด้วยการฟังเด็กรุ่นใหม่ว่า เด็กต้องการอะไร เด็กรู้สึกอย่างไร อย่าเอาความฝันเด็กมาย่ำยี ควรให้เด็กมีช้อยส์ของชีวิตด้วยตัวเขาเอง เพราะถ้าไม่มีช้อยส์จะนำไปสู่คำว่า ช้อค  หมายถึง เมื่อบังคับมากๆ อาจจะเกิดปัญหาเป็นโรคซึมเศร้า เก็บกด คิดสั้น ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต แต่น่าเห็นใจเพราะผู้ใหญ่บางท่านอาจจะถูกกระทำมาก่อน จึงกระทำจากรุ่นสู่รุ่น ความเจ็บปวดเป็นช่วงรุ่นต่อรุ่น จากพ่อแม่สู่ลูก       

แม้เด็กจะมีความฝันอาชีพใด พ่อแม่ควรสนับสนุน ขอให้เป็นสัมมาชีพ เข้าใจว่าพ่อแม่ห่วงอยากให้ลูกมีอาชีพดีๆ อาชีพนั้นควรตอบโจทย์ชีวิตลูกด้วย มิใช่ตอบโจทย์พ่อแม่อย่างเดียว ซึ่งพ่อแม่บางคนอาจจะผิดหวังในสมัยตนเองเป็นเด็ก จึงเอาปม ความคาดหวังเหล่านั้นมาลงใส่ตนเองชนิดที่ว่า ไม่ฟังใครเลย ใช้อัตตาธิปไตยกับลูกสุดกำลัง จึงน่าห่วงมาก เด็กบางกลุ่มต้องเผชิญกับผู้ใหญ่แบบนี้ พ่อแม่ควรใช้อำนาจร่วมคือรับฟังลูกอย่างเข้าใจ โดยพ่อแม่ต้องมีอำนาจภายในคือจิตใจที่ดี ไม่ใช้อารมณ์รุนแรงกับเด็กรุ่นใหม่ พ่อแม่ควรรักษาความสัมพันธ์กับลูกให้ดี     

๒) เด็กรุ่นใหม่ไม่อยากได้ขอทำตามPassion  อะไรที่ไม่อยากได้ให้ไปก็ไร้ความหมาย เพราะคำว่าPassion หมายถึง ชอบ รัก หลงใหล คลั่งไคร้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ความรัก การทำงาน ความฝัน Passionจึงเป็นเชื้อเพลิงไปสู่เป้าหมาย เพราะอิทธิบาท ๔ คือเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จในทุกเรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่เป็นความฝันในชีวิตประกอบด้วย ฉันทะมีแรงปรารถนาอย่างแรงกล้า วิริยะความเพียรพยายามในสิ่งนั้น จิตตะมีจิตใจมั่นคงแน่วแน่จิตไม่หวั่นไหว และวิมังสามีความสม่ำเสมอ ฝึกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เด็กรุ่นใหม่ต้องการทำให้สิ่งที่ตนเองรัก เน้นความสุขในสิ่งที่เป็น แต่ผู้ใหญ่อาจจะมองว่าไม่มั่นคง  ผู้ใหญ่อยากให้เด็กมีความมั่นคงในอาชีพ แต่อย่าลืมว่าความฝันเด็ก เพราะการเดินตามความฝันของตนเองมันอาจจะเหนื่อย แต่มันอาจจะเหนื่อยน้อยกว่าการรับใช้ความฝันของคนอื่น เด็กควรลงทุนกับตนเองเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพและวิชาชีวิต      

๓) ลดช่องว่างระหว่างวัยอย่างไรให้เข้าใจกัน อะไรที่สุดโต่งไม่มีทางมีความสุข ต้องเดินทางสายกลางระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่  จึงต้องใช้แนวทางวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยคือ #ค้นหาความต้องการที่แท้จริง ว่าเด็กรุ่นใหม่ต้องการอะไร ผู้ใหญ่ต้องการอะไร นำความต้องมาคุยกันอย่างเข้าใจ ผู้ใหญ่ควรพัฒนาเป็น #พ่อแม่แบบโค้ช  #พ่อแม่แบบ Fa  เป็นพ่อแม่ที่ใช้ธรรมาธิปไตย สร้างเวทีการพูดคุยในครอบครัว เข้าใจจริต ๖ ทางพระพุทธศาสนา เข้าใจสัตว์ ๔ ทิศ  เน้นการไดอาล็อค มากกว่าโต้วาที เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างมีเหตุมีผล      

แม้พระพุทธเจ้าสมัยยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะยังถูกคาดหวังจากบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พยายามทำทุกวิถีทางเช่น สร้างปราสาทสามฤดู เป็นต้น เพื่อให้เจ้าชายเป็นดั่งที่ตนเองต้องการ คาดหวังสูงมาก แต่แม้จะทำอย่างก็ตาม ยังไม่สามารถปิดกั้นความปรารถนาอย่างแรงกล้า หรือ Passionของเจ้าชายสิทธัตถะไว้ได้ เจ้าชายออกจากพระราชวังเพื่อค้นหาคำตอบของชีวิต ค้นหาความสุขที่แท้จริง ออกไปเรียนรู้ของจริง ฝึกพัฒนาตนด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย จนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทางด้านจิตใจ จนเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาให้เราได้เดินตามถึงทุกวันนี้ ถ้าวันนั้นเจ้าชายสิทธัตถะไม่ค้นพบตนเองคงไม่มีคำสอนที่ดีให้เราได้ปฏิบัติ ภาษาปัจจุบันคือ #อย่าปิดกั้นการมองเห็น เห็นความฝัน สรุปว่าผู้ใหญ่ควรเปิดใจคุยกับเด็กรุ่นใหม่อย่างเข้าใจ เด็กรุ่นใหม่ควรแสดงท่าทีที่นุ่มนวลมีเหตุมีผล ไม่ใช้การสื่อสารที่รุนแรง       

ดังนั้น กิจกรรม Help Me Peace จึงเป็นกิจกรรมที่นักศึกษา พขส ๕ สถาบันพระปกเกล้า นำเครื่องมือมาบูรณการเพื่อแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี ฝึกการใช้เครื่องมือ จงอย่าปิดกั้นการมองความฝันของเด็ก อ่างปลาจึงเป็นเครื่องมือสันติวิธี จงอย่าเอาความฝันใครมาย่ำยี เพราะที่ผ่านมาเรามักใช้วัฒนธรรมใช้อำนาจเพื่อกดทับ ยับยั้งบุคคลอื่น จึงเสนอว่า เราแคร์คนอื่นมามากแล้วแต่เราไม่แคร์หัวใจตนเองเลย จงเดินตามฝันสุดหัวใจ ถึงผู้ใหญ่จะหวังดีแต่เด็กขอเดินตามPassion ขอมีอาชีพที่มีความสุขในสิ่งที่อยากจะเป็น จึงใช้อำนาจร่วมมืออำนาจภายในจิตใจมากกว่าอำนาจเหนือ  เราควรเคารพในความฝันของทุกคน      


โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...