วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564

ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา"มจร" สลดความรุนแรงในเมียนมา


 

ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา"มจร" สลดความรุนแรงในเมียนมา ระบุมิอาจเรียกคนที่นิยมความรุนแรงว่าเป็นชาวพุทธ 

เมื่อวันที่ 13  มีนาคม  2564 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่าน Hansa Dhammahaso ถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศเมียนมาความว่า " Pray for Myanmar สถานการณ์ต่อสู้ทางการเมืองแบบอหิงสาตามแนวทางการปฏิบัติที่ไร้ความรุนแรง: Non-Violent Action:NVA ในหลายสถานการณ์ทั่วโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มักจะแลกมาด้วยหยาดน้ำตา ชีวิต และเลือดเนื้อของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอ 

สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ กลุ่มที่ "ดื้อความรุนแรง" คือคนที่คุ้นเคยกับการใช้ความรุนแรง มักจะเพิ่มดีกรีของความรุนแรงในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์และความเชื่อตามวิถีการเมืองที่แตกต่าง โดยเฉพาะความเชื่อที่อาจจะเข้าไปบั่นทอนและลดทอนอำนาจของตัวเอง 

ในที่สุด ความสูญเสียก็จะคลืบคลานเข้ามาหากลุ่มคนที่ใช้ชีวิตสันติวิธีตามแนวทางนี้ ภายใต้การควบคุมของกลุ่มคนที่มีความเชื่อที่ว่า สันติภาพสร้างได้ด้วยการใช้กำลังปราบปรามด้วยอาวุธที่ร้ายแรงพร้อมด้วยการข่มขู่และจับกุมคุมขัง 

พระมหาหรรษา  กล่าวด้วยว่า ขอแสดงความไว้อาลัยต่อเด็กน้อยในภาพที่ร้องไห้ถึงพ่อที่จากไปแทบใจจะขาด พร้อมทั้งขอไว้อาลัยผู้ที่ใช้ใช้กำลังเข้าปราบปรามเพื่อนมนุษย์ โดยมุ่งที่จะรักษา "อำนาจ ผลประโยชน์ และความต้องการ" โดยไม่สนว่าจะต้องแลกด้วยชีวิตของคนอีกจำนวนเท่าใด คนเช่นนี้ พระพุทธเจ้าไม่นิยม และไม่สรรเสริฐ ฉะนั้น เรามิอาจเรียกคนที่นิยมความรุนแรงว่าเป็นชาวพุทธ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...