วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564

นศ.สถาบันพระปกเกล้าเปิดโลกทัศน์ ถามอาเซียนทำอะไรได้บ้าง ปมเผด็จการทหารเมียนมาฆ่าผู้ประท้วง



เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น 5 สถาบันพระปกเกล้า  เปิดเผยว่า บ่ายนี้เรียน "หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี" รุ่น 4 โดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กลุ่มวิชาที่ 4 โดยในภาคบ่ายรับฟังการอภิปรายภายใต้หัวข้อ บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในสถานการณ์ความขัดแย้ง โดย ภาคเอกชน: ท่านอาจารย์ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์  ภาคประชาสังคม: อาจารย์สุนี ไชยรส และภาครัฐ : นางสาวสุนิสา แพรภัทประสิทธ์ ซึ่งผู้ดำเนินรายการโดยดร.ชลัท ประเทืองรัตนา 

โดยมีสาระประเด็นสำคัญว่า จาก นางสาวสุนิสา แพรภัทประสิทธ์ ภาคสมช. ได้มองความมั่นคงในภาพรวม จะต้องมีการรับฟังหลากหลายมิติ ความมั่นคงของชาติ ๑๙ มิติ โดยเฉพาะร่วมมือและประสานความร่วมมือ เน้นการป้องกันและแก้ไข ความขัดแย้งหลีกหนีไม่ได้ อดีตความแตกต่างคือภัย แก้ไขปัญหาจึงต้องทำให้เหมือนกัน แต่ปัจจุบันความแตกต่างคือ โอกาส การแก้ปัญหาจึงต้องแลกเปลี่ยน การมองความขัดแย้งต้องไม่มองที่ภัยแต่มองว่าเป็นความหลากหลาย ซึ่งความแตกต่างทำให้แบ่งเขาแบ่งเรา เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง กระแสสังคมกระเเสโลก ความรุนแรงจึงเรื้อรัง ความต่างต้องนำไปสู่ความร่วมมือกัน อย่านำความแตกต่างไปสู่ความรุนแรง รัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อสารมวลชน กำหนดนโยบายและแผนการแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้อง #ความสมดุลและเกื้อหนุนบนหลากหลาย จะต้องสร้างการเกื้อหนุนให้เกิดขึ้น แผนส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศชาติ คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม จึงต้องใช้สันติวิธี ความขัดแย้งในสังคมไทยมีความลึกมาก ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะต้องมีความอดทนและให้อภัยกัน  ความต่างของ Gen ทำให้เกิดการปะทะกันใหม่กับเก่า จึงเป็นความท้าทายมาก 

อาจารย์ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการหลักสูตรฯ ภาคเอกชน ได้สะท้อนถึงกระบวนการบริหารความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบันสะท้อน 3 ประเด็น คือ 1) สาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน คำถามอะไรสาเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน คำตอบคือ โครงสร้างวัฒนธรรม เรามีโครงสร้างการช่วยเหลือกันซึ่งนำไปสู่การคอรัปชั่น ไม่มีความอดทนที่จะยอมรับฟังเหตุผลอย่างแท้จริง ขาด Dialogue อย่างแท้จริง สร้างคำพูดเป็นหน้าต่างไม่ใช่ประตู และไม่เข้าใจในเรื่องของเสรีภาพ  2 วิกฤตการณ์ทางการเมืองเนื่องจากความขัดแย้ง  มาจากคำว่า ความไม่เสมอภาคในมิติต่างๆ เช่น รายได้ การศึกษา ทางเพศ  เราพยายามจะบอกว่าเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ประเด็นคือ การคอรัปชั่น จึงต้องมีมาตรฐาน มาตรฐานมีแต่คนที่นำไปใช้ จึงขึ้นอยู่ว่า "นำไปใช้กับใคร" รวมถึงการสร้างกลุ่มต่อต้านที่ไม่อยู่บนฐานของกฎหมาย ทุกคนต่างต้องการเสรีภาพ เราจึงเห็นใจทุกฝ่ายเพราะต้องการการเปลี่ยนแปลง จึงต้องตระหนักว่า "สิ่งที่ควรจะเป็น กับ สิ่งที่เป็นไปได้" เราจะตัดปมเชือกหรือค่อยๆแก้ไข พร้อมพึงระวังการใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล 3 ) การแก้ไขความขัดแย้งในลักษณะเฉพาะของสังคมไทย จะต้องสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง #การยอมรับความแตกต่าง สถาบันพระปกเกล้าเน้นการเป็นพลเมือง โดยย้ำว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่การปกครองที่ดีที่สุด เเต่เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุด เราจึงต้องสร้างEmpathy เอาใจเขามาใส่ใจเรา ความรู้สึกร่วม หรือ ร่วมรู้สึก จึงมีคำกล่าวว่า "มนุษย์ง่ายมากที่จะสร้างความเกลียดชัง ยากมากที่จะสร้างความรัก" 

อาจารย์สุนี ไชยรส  ภาคประชาสังคม จากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า คำว่า ภาคประชาสังคม เป็นผู้ลุกขึ้นมาช่วยในนามสมาคม มูลนิธิ เพื่อสังคม ภาคประชาสังคมไม่ใช่รัฐ เป็นองค์กรอิสระ เป็นกลุ่มต่างๆ สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมีโดยเสมอภาคกัน ติดตัวมาแต่เกิดเป็นสากล สิทธิในการมีชีวิตอยู่ มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ มีโอกาสเท่าเทียมกันในเรียนรู้ ต้องไม่ต้องถูกเลือกปฏิบัติ ทุกเพศสภาพ สิทธิชุมชน สิทธิเสรีภาพทางการเมือง จึงต้องการประธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และระบบสวัสดิการ การจะอนุมัติเหมืองแร่จะต้องให้ชุมชนมีสิทธิในการตัดสินใจ รัฐต้องรับฟังและจัดสวัสดิการให้มีความเสมอภาค  จึงสอดรับกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด รัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติชายหญิงมีความเสมอภาคมีสิทธิเท่าเทียมกัน ทุกเพศสภาพ ห้ามเลือกปฏิบัติแม้จะมีถิ่นกำหนด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกาย ศาสนา ต่างกัน รัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติแต่ควรให้ความเสมอภาค ให้สิทธิเท่าเทียมกัน รัฐต้องสร้างความมั่นคงมีความยั่งยืน ภาคประชาสังคมต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและเห็นระบบในทางที่ดี ระบบสวัสดิการทุกถ้วนหน้า เงินอุดหนุนเด็กเล็กควรได้รับถ้วนหน้า เพราะเด็กมีความสำคัญ  ปัจจุบันให้เฉพาะเด็กยากจนตรวจสอบมาก แต่มีความตกหล่น 30 % มองว่าทุกคนเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐจะต้องรายงานต่อองค์การสหประชาชาติ รวมถึงประเทศเมียนม่าร์เป็นบรรยากาศที่เศร้ามาก มีการใช้ความรุนแรง ถามว่าอาเชียนทำอะไรอยู่ อาเชียนควรจะทำอย่างไร ย้ำว่าอย่าเลือกปฏิบัติแม้บุคคลนั้นจะมีความยากจน      

ดังนั้น มิติภาคประชาสังคมสอดรับสังคหธุระตามแนวทางพระพุทธศาสนา ภายใต้การมีจิตอาสาต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงการและระบบ ภาคประชาชนจึงปกป้องคนที่ด้อยโอกาส สังคมไทยเราขาด Dialogue จึงควรหาทางออกแบบสันติวิธี รัฐควรให้เท่าเทียมทุกเพศสภาพ อย่าให้ใครพูดว่า ฉันจนใช่ไหมจึงถูกเลือกปฏิบัติ รัฐควรยอมรับการความแตกต่างไม่แบ่งเขาแบ่งเรา สะท้อนมากในเมียนมามีการใช้ความรุนแรง ถามว่าบทบาทของอาเชียนจะทำอย่างไร  อดีตเรามองความขัดแย้งเป็นภัยร้าย แต่ปัจจุบันเราเริ่มมองความขัดแย้งเป็นความหลากหลาย ภาคประชาสังคมต้องการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมต้องเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและระบบ      

ประเด็นบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในสถานการณ์ความขัดแย้ง สอดรับกับหลักการของพุทธสันติวิธี คือ สาธารณโภคี คือการแบ่งปันประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน เสมอภาค ยุติธรรม สังคมใดที่มีความยุติธรรมเสมอภาคแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมจะนำไปสู่สันติสุข ซึ่งวันใดที่เราช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์วันนั้นเป็นวันที่สวยงาม โดยมิติภาคประชาสังคมสอดรับสังคหธุระมุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ด้วยการมีจิตอาสาลุกขึ้นมาช่วยสังคม เหตุเพราะรัฐไม่สามารถบริหารจัดการได้หรือไม่ 

ทำให้ภาคประชาสังคมเข้ามารับบทบาทนี้ ทำให้มองเห็นระบบวรรณะในอินเดีย แท้จริงการแบ่งระบบวรรณะเป็นการวางแผนของกลุ่มวรรณะชั้นสูงที่ต้องการให้วรรณะชั้นล่างปกครองง่าย โดยใช้หลักศาสนามาเป็นเครื่องมือเพื่อกดทับหรือยับยั้งบุคคลไว้ในระบบวรรณะ ทำให้ ดร. อัมเบดการ์พยายามส่งสัญญาณไปถึงภาครัฐ และนำพาคนกลุ่มหนึ่งหันมานับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ปฏิเสธระบบวรรณะ ดร.อัมเบดการ์ถือว่าเป็นภาคประชาสังคมที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องวิงวอนในมิติของความเท่าเทียมกัน เสมอภาค ลดคการกดขี่ห่มเหงในความเป็นมนุษย์  ภาคประชาสังคมจึงสะท้อนว่า เราไม่ทนที่จะเห็นคนในประเทศของเราไร้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...