วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564

"สุรชัย"อยากเห็นนำ 5 เสาหลักสร้างปรองดอง ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง



"มจร"เปิดเวทีอารยะสนทนา เสนอ 5 เสาหลักสร้างปรองดอง แนะดึงคนมาคุยอย่าผลักคนออก "สุรชัย"อดีตรองประธาน สนช.อยากเห็นนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง หมอวันชัยประธานอนุกรรมการสมานฉันท์ ชี้ต้องคำว่า "เรา" แทนคำว่า "เขา" 

วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2564 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เข้าร่วมเวทีอารยะสนทนาเพื่อแสวงหาทางรอดต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ภายใต้หัวข้อ" การสร้างความสมานฉันท์ : 5 เสาหลักความปรองดองด้วยการเจรจาสู่สันติธรรม  ร่วมกันคืนความสุขสังคมไทยเพื่อส่งมอบให้ลูกหลานไทยในอนาคต"  ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ซึ่งจัดโดยนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง และศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 

ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ประธานอนุกรรมการสมานฉันท์ และทีมงานขับเคลื่อนงานสมานฉันท์ ภายใต้ห้าเสาหลักความปรองดองด้วยการเจรจาสู่สันติธรรม ร่วมกันคืนความสุขสังคมไทยเพื่อส่งมอบให้ลูกหลานไทยในอนาคต กล่าวเบื้องต้นว่า เรามุ่งมาหาทางออกของประเทศไทยร่วมกันในการขับเคลื่อนกับบุคคลที่เห็นต่าง  เราพยายามจะสร้างเครื่องมือใช้การเจรจานำมากกว่าการใช้กฎหมายนำ ควรจะมุ่งเน้นการออกกฎหมายเจรจาก่อนออกกฎหมายจับ พยายามหาทางออกร่วมกัน เราพยายามจะรับฟังบุคคลที่เห็นต่างมากที่สุด ที่เห็นต่างเพราะอะไร เห็นต่างอย่างไร ควรจะมีทางออกอย่างไร เพื่อให้คณะกรรมการสมานฉันท์ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปล่อยตัวเพื่อนได้หรือไม่ ต่างคนต่างเห็นต่างต่างคนต่างรวมตัวกันเพื่อเอาชนะกัน ประเทศไทยจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เราต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของการเมือง แต่เราจะเรียนรู้เข้าใจการเมืองอย่างไร  เราจึงร่วมกันแสดงถึงพลังแห่งการเสวนา เราทุกคนอยู่ในเครือข่ายสันติวิธี จึงมีการเปิดพื้นที่รับฟังเพื้อเป็นส่วนหนึ่งการสร้างความปรองดอง เพื่อเป็นทางออกของประเทศไทยต่อไป 

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร รวมถึงประธานคณะบริหารศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร บรรยาย  "การสร้างความปรองดองในกรอบของห้าเสาหลักสู่การเจรจาไกล่เกลี่ย"โดยมีสาระสำคัญว่า ขอบคุณคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้ารวมถึงภาคีเครือข่ายทุกภาคีเครือข่าย ถือว่าเรามาสร้างพื้นที่ที่ดีในการสื่อสารทางออกร่วมกัน โดยพระเดชพระคุณ พระเทพวัชรบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ความสำคัญห่วงใยบ้านเมือง จึงมีการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เราห่วงใยบ้านเมืองไม่ว่าเราจะอยู่ฝ่ายใด เราอยากอยู่ในประเทศที่มีความสุข อยากอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ต้องการพื้นที่ปลอดภัย มีคนรับฟังปัญหาเพื่อนำไปแก้อย่างแท้จริง จึงมีการดึงทุกคนทุกกลุ่มมาร่วมกัน ซึ่งประเทศไทยไม่ใช่ของใคร แต่เป็นของทุกคน     

"เราจะต้องดึงคนมาคุยกัน เราต้องไม่ผลักคนออกจากการมีส่วนร่วม เหมือนท่านพลเอกเปรม ดึงคนเห็นต่างมาคุยกัน หาทางออกร่วมกัน รวมถึงเนลสันมันเดล่าดึงทุกคนมมาคุยกัน หาทางออกร่วมกัน คำถามคือ เรามีกระบวนการกับคนที่เห็นต่างอย่างไร  การบังคับใช้กฎหมาย ใช้กฎหมายกับคนเห็นต่าง มันคือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง  โดยหลักสูตรสันติศึกษา มจร เคยออกแถลงการณ์ข้อที่ 4  ว่า เห็นสมควรให้มีการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ วันนี้เรามีการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เรียบร้อย โดยนิสิตหลักสูตรสันติศึกษามีความหลากหลายในอาชีพจึงเป็นผู้แทนในการสะท้อนความเห็นที่ต่างกัน ทำให้มองถึง 5  เสาหลักของการความปรองดอง     

1) เสาความจริง ให้พูดความจริงแม้มันจะเจ็บปวด ความจริงย่อมชนะสรรพสิ่ง มหาตมะคานธีนำไปใช้เป็นสัตยาเคราะห์ เกี่ยวกับความจริง จงพูดความจริง ต้องบอกความจริงของความจริงไม่ใช่ความของความรู้สึก แต่ถ้าความรู้สึกสอดรับกับความจริงควรพูด ใส่ความจริงเข้าไปในความรู้สึก เราต้องการความจริง  เราแยกไม่ออกว่าอะไรคือความจริง      

2) เสาความรัก  ความรักที่มีต่อกัน ไม่มีการด่าทอ บอกความต้องการที่แท้จริง คำพูดต้องไม่บั่นทอนความเป็นมนุษย์ เราอยากคำพูดที่ประกอบด้วยความรัก ความรักจึงสร้างบ้านสร้างเมือง ความโกรธความเกลียดความแค้นสร้างบ้านเมืองไม่ได้ จะพูดอย่างไรคนจะรักเรา พูดแล้วน่าเชื่อได้เพื่อน เมตตาธรรมค้ำจุนโลก การเมืองอยู่ไม่ได้ถ้าเราไม่มีความรัก การเมืองถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประสานประโยชน์ของคน อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การเมืองต้องสานรอยร้าว มิใช่เอาการเมืองมาทำร้ายกัน        

3) เสารับผิดชอบ  จงมีการรับผิดชอบร่วมกันนี่คือประเทศชาติบ้านเมือง รับผิดชอบต่อลูกหลานอนาคตของลูกหลาน เราจะรับผิดชอบร่วมกันอย่างไร      

4) เสาความเป็นกลาง  กลางในกับกลางนอก กลางนอกคือหารสองแบ่งผลประโยชน์ลงตัวถือว่ากลางเทียม อาจจะไม่ยั่งยืน ส่วนกลางใน เป็นกลางที่ไม่ถูกความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำภายในจิตใจ          

5) เสาสามัคคี เป็นพลังของคนในสังคม มันจะไม่อยู่แบบนี้ต่ออีกไปไม่ได้อยู่ จึงมองว่า ประเทศไทยจะเป็นอยู่แบบนี้อีกต่อไปไม่ได้แล้ว เราจึงมีพื้นที่แสดงออกอย่างปลอดภัย เราทุกคนจึงต้องมาร่วมกันเพื่อหาทางออก ถ้าคนไทยไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ศึกษาคำสอนทางศาสนาให้ลึกซึ้งจะนำไปสู่สันติสุข แต่เมียนม่าร์เป็นเมืองพุทธเรายังเห็นการใช้ความรุนแรง อะไรที่ทำให้เราตัดสินใจใช้ความรุนแรงในสังคม เราจึงต้องผลึกกำลังขับเคลื่อนห้าเสาเพื่อเสนอทางรอดของประเทศชาติ  

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา อดีตรองประธาน สนช. เสนอมุมมองของสถาบันการเมืองต่อทางออกด้วยสันติวิธีของสังคมไทย กล่าวว่า เราพูดเรื่องการสมานฉันท์ ในปีพ.ศ.2552 ประเทศไทยเคยตั้งคณะกรรมการ เพื่อบริหารความขัดแย้งในสังคมไทยและสร้างความปรองดอง แต่ผลการศึกษาไม่ได้ถูกนำมาใช้ในสังคมไทยอย่างแท้จริง เหตุผลใดเราจึงไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง เหตุใดสังคมไทยจึงกับมาอยู่ในวาระของความขัดแย้ง สาเหตุคือปัญหาไม่ได้รับแก้ไข ซึ่งปัจจุบันสังคมมีความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น การทำงานของกรรมการสมานฉันท์ในชุดนี้จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริง พัฒนาการของความขัดแย้งยกระดับตามยุคสมัยเพราะความขัดแย้งที่ผ่านมาเราไม่ได้รับความขัดแย้ง  ปัญหาของความขัดแย้งในสังคมไทย คือปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง โดยมีอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้มีมุมมอง รูปแบบการเมืองที่แตกต่างกัน การเข้าสู่อำนาจที่แตกต่างกัน ต้องการอำนาจรัฐมาอยู่กลุ่มของตนเอง จึงสะท้อนในรูปแบบต่างกัน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามามีบทบาทในการเมือง เพื้อขับเคลื่อนในการเมือง การขัดแย้งทางการเมืองจึงมาจาก อุดมการณ์ ผลประโยชน์      

หลักการในแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องแก้ที่รากของความขัดแย้ง ประกอบด้วย 1) อุดมการณ์ทางการเมือง เริ่มต้นจากการยอมรับกติการ่วมกัน มีอุดมการณ์ใกล้เคียงกัน มีความหลอมรวมกัน ถ้าไม่สามารถกลอมรวมอุดมการณ์ทางการเมืองได้ 2) กระบวรการเข้าสู่อำนาจรัฐ ต้องการเข้ามาสู่อำนาจรัฐเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จึงนำไปสู่การเลือกตั้ง ไม่ยอมรับการเลือกตั้งที่มองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย 3) กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง จะต้องเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติถือว่าเป็นผลประโยชน์ทางการเมือง แต่สิ่งที่น่าห่วงมากคือผลประโยชน์ส่วนตัว จึงต้องกำหนดกติกาทางการเมือง      

แนวทางของการสมานฉันท์และการปรองดองจะต้องทำวิธีการให้ชัดเจน โดยมีหลักการเข้าสู่อำนาจรัฐให้เป็นธรรม จะต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม สร้างความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย มีความเท่าเทียมกัน จะต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมให้ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนโดยส่วนรวม เคารพกฎหมาย เคารพรัฐธรรมนูญ เราจะลดความเหลื่อมล้ำทางกฎหมายและลดความเหลื้อมล้ำกระบวนการยุติธรรม รัฐจะต้องเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ทุกท่าน กฎหมายใดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้มีอำนาจจะต้องเคารพทุกคนจะลดความขัดแย้ง กฎหมายอะไรที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนและความเป็นมนุษย์       

"การปรองดองสมานฉันท์จะต้องไปเจอโจทย์สำคัญ คือ การชุมชนสิทธิทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง เช่น รัฐควรแสดงความจริงใจต่อประชาชน การที่ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รัฐมีท่าทีอย่างไร คณะกรรมการสมานฉันท์ต้องทำความเข้าใจ เราจะต้องมองกฎหมายนิรโทษกรรมควรมุ่งที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคล กระบวนการปรองดองเรามีกระบวนการไกล่เกลี่ย เราควรใช้ทฤษฎี Win Win ชนะไปด้วยกัน ให้ทุกฝ่ายรู้สึกว่าเดินไปด้วยกัน ต้องยอมถอยในอุดมกาณ์ทางการเมือง เครื่องมือที่ควรใช้คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะสามารถยุติความขัดแย้งในสังคมไทย" นายสุรชัย  กล่าว           

ศาตราจารย์ นพ.วันชัย กล่าวเสริมว่า เราต้องสร้างประชาธิปไตยแบมีส่วนร่วม ทำให้เราต้อนย้อนไปถึงผู้ใหญ่ลี ในปีพ.ศ.2504  ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมทางการเขาสั่งมาว่า อันหมายถึง ประชาชนไม่มีส่วนร่วมใดๆ  รัฐเพียงสั่งการให้ประชาชนทำเท่านั้น ถือว่าขาดการมีส่วนร่วม เราจึงต้องมีการประชาพิจารณ์ด้วยการเริ่มฟังประชาชน เราขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจึงนำไปสู่ความขัดแย้งระยะยาวฝังรากลึก จึงมีประชาธิปไตยสานเสวนาหาทางออก หรือ ประชาธิปไตยแบบการไตร่ตรอง      

โดยนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้นั่งหัวโต๊ะถกคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อหาทางออกร่วมกัน เราจึงพยายามแก้ปมแทนการตัดลิบบิน โดย ศาสตราจารย์ นพ. ประเวศ วะสี ในการคลายปมปัญหาความขัดแย้ง จึงพยายามสร้างเวทีในการพูดคุยกันในมิติด้านศาสนา เวลาเจอคนเห็นต่างจากเราจงพยายามไม่ใช้ภาพความเป็นศัตรู : Enemy Image ภาพความเป็นพวกเขาพวกเขา จึงควรใช้ Try to Use We not They ใช้คำว่า เรา แทนคำว่า เขา จึงพยายามใช้พวกเรามากกว่าพวกเขาพวกมึง เวลามีผู้ประท้วงจึงใช้คำว่า พวกมึง พวกกู จะนำไปสู่ความขัดแย้ง เวลาคนมาประท้วงจึงต้องมาเยอะเพราะอยากให้คนอื่นได้ยิน จึงมีคำว่า Empathy หมายถึง ความร่วมรู้สึก การจะออกแบบอาคารให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอด เขาควรจะอธิบายอย่างไร ให้ครูนักเรียนที่ตาบอดได้ทราบถึงแบบแปลนที่เปลี่ยนไป  ประกอบด้วย 1)ตาบอดสี หูบอดโทนเสียง 2)ความใจบอด ความไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3)การรู้และเข้าใจหัวจิตหัวใจผู้อื่น ปัจจุบันเราใช้แต่ "คิดและทำ" แต่เราขาดFeeling ความรู้สึก และ Emotion อารมณ์ นี่คือEmpathy ฉันเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นแล้ว        

ศาตราจารย์ นพ.วันชัย กล่าวด้วยว่า การเจรจาไกล่เกลี่ยไม่ใช่ยอมๆ แต่ต้องค้นหาความต้องการที่แท้จริง สอดรับกับนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ แชมเบอร์เลน โบกข้อตกลงที่ฮิตเลอร์ ผู้นำสูงสุดของของเยอรมันลงนามจะไม่ทำสสงคราม แต่ปีรุ่งขึ้น ฮิตเลอร์นำทัพบุกโปแลนด์ จึงมีผู้วิเคราะห์ว่า ข้อตกลงนั้นๆ คือ Appeasement หรือ การยอมตามที่จะเอาใจไม่ใช่ข้อตกลงที่จริงใจ การไกล่เกลี่ยควรเริ่มต้นจากงานยากก่อนงานยาก เราควรทำงานยากๆ ก่อนงานง่ายๆ จึงมีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2563 การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แท้จริงเราควรป้องกันมากกว่ารักษา เพราะถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งต้องไม่สูบบุหรี่ มีโยบายคุยกับตำรวจว่า จึงต้องเจรจาก่อนจับ ออกหมายเจรจาก่อนออกหมายจับ เจรจาก่อนจัดชุมนุม จึงมีการเฝ้าระวัง :Watch doc. จะมีเชิงสัญลักษณ์ด้วยการยุติความรุนแรง เราต้องเน้นการป้องกัน เราจะเน้นมองอนาคตมากกว่าการมองอดีต อาจารย์ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า มีการแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มความจริงมีวิธีการอย่างไร 2)กลุ่มความรักและกลุ่มความสามัคคี มีวิธีการอย่างไร 3)กลุ่มความรักผิดชอบและความเป็นกลาง มีวิธีการอย่างไร       

พระปราโมทย์สรุปว่า รัฐจึงควรรับฟังคนเห็นต่าง ดึงคนมาคุยอย่าผลักคนออก ขับเคลื่อนคนเห็นต่างอย่างสันติ ใช้การเจรจานำการใช้กฎหมายนำ ออกกฎหมายเจรจาก่อนออกกฎหมายจับ ใช้กฎหมายกับคนเห็นต่างคือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ กระบวนการยุติธรรมบังคับใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารสาธารณะ ต่างคนต่างเห็นต่างต่างคนต่างรวมตัวเพื่อเอาชนะกันประเทศไทยจะอยู่อย่างไร 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...