วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

"ธรรมกาย"จัดสวดมนต์ เพื่อสันติภาพแด่เมียนมา ขณะที่โลกกังวลกองทัพเมียนมาใช้แท็กติกบุกจับตอนกลางคืน



วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2564  เพจ Pornchai Pinyapong ของพระนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ หนึ่งในลูกศิษย์คนสำคัญของวัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี อดีตประธานองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.) World Fellowship of Buddhist Youth หรือ WFBY ได้โพสต์ข้อความว่า "สวดมนต์เพื่อสันติภาพ & ความเจริญรุ่งเรืองในพม่า เริ่ม 10 มีนาคม 2021 เวลา 1-2 น. (เวลาพม่า)  dmc.tv/2564/wab/8 #PrayForMyanmar  เวลา: 13-14 น. พม่า เวลา: 13:30-14:30 น. ประเทศไทย  กัมพูชา  ลาว  เวียดนาม อินโดนีเซีย เวลา: 12:00 น. อินเดีย  ศรีลังกา เวลา: 12:15 น. เนปาล เวลา: 12:30 น. บังคลาเทศ ภูฏาน

โลกกังวลกองทัพเมียนมาใช้แท็กติกบุกจับตอนกลางคืน

ขณะที่สถานทูตจากหลายประเทศประกาศเตือนกองทัพเมียนมาปิดล้อมย่างกุ้งบุกจับประชาชนยามวิกาล โดยเมื่อคืนวันจันทร์ (8 มี.ค.) ที่ผ่านมาทางการเมียนมาปิดล้อมบางส่วนของเมืองย่างกุ้งเพื่อบุกจับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ท่ามกลางเสียงประณามจากนานาชาติ ขณะที่ฝูงชนยังคงออกมาชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่อง ท้าทายมาตรการเคอร์ฟิว โดยมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอบนโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่เมียนมาเข้าจับกุมประชาชนในเวลากลางคืน รวมถึงมีการใช้ระเบิดมือขมขู่ประชาชน นอกจากนี้ทางการเมียนมาดำเนินการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นประจำในช่วงเช้าทำให้ยากต่อการเข้าถึงข้อมูล          

ด้านสถานทูตจากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, แคนาดา และเยอรมนี ประกาศเตือนผ่านทางทวิตเตอร์ในช่วงคืนวันจันทร์ที่ผ่านมาว่ากองกำลังรักษาความปลอดภัยของเมียนมากำลังเข้าปิดล้อมส่วนหนึ่งในย่างกุ้งโดยสถานทูตเยอรมันในย่างกุ้งกล่าวว่าทางสถานทูตมีความกังวลอย่างยิ่งต่อการจับกุมผู้ประท้วงจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาว พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เมียนมายุติการใช้ความรุนแรงและปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม          

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ารัฐบาลทหารเมียนมาเพิกถอนใบอนุญาตสื่อท้องถิ่น 5 แห่งที่รายงานสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ได้แก่ Mizzima, DVB, 7Day News, Myanmar Now และ Khit Thit Media โดยสั่งห้ามไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาใดๆ พร้อมให้เหตุผลว่าสื่อดังกล่าวสร้างความเข้าใจผิด อันที่จริงเจ้าหน้าที่ใช้กำลังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 34 รายซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของตัวเลขที่รายงานโดยสื่อท้องถิ่น

ยูเอ็นเรียกร้องให้เมียนมาปล่อยผู้ประท้วง 200 คน 

นายสเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยว่า นายกูเตอร์เรส ขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของเมียนมาใช้ความอดกลั้นให้มากที่สุด พร้อมทั้งเปิดทางให้ผู้ประท้วง 200 คนในอำเภอซานชอง นครย่างกุ้ง ออกมาโดยปลอดภัย โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงหรือจับกุม หลังจากเมื่อวานนี้ ผู้ประท้วงกลุ่มดังกล่าวถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของเมียนมาปิดถนน4 เส้นทางที่เป็นเส้นทางเข้า-ออกจากพื้นที่ชุมนุม และผลักดันจนถอยร่นเข้าไปยังมุมอับใกล้กับอพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่งไม่ห่างจากพื้นที่ชุมนุม          

นายดูจาร์ริก กล่าวว่า หลายคนที่ติดค้างอยู่ในพื้นที่ชุมนุมดังกล่าวเป็นผู้หญิงที่ออกมาเดินขบวนอย่างสันติเพื่อรำลึกในโอกาสวันสตรีสากลเมื่อวานนี้ 8 มีนาคม 2564          

ด้านสถานทูตอังกฤษประจำเมียนมา เรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาปล่อยตัวผู้ประท้วง          

เช่นเดียวกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOHCHR) ระบุว่า ผู้ประท้วงกลุ่มดังกล่าวชุมนุมอย่างสงบ คณะรัฐประหารเมียนมา ควรอนุญาตให้พวกเขาออกจากพื้นที่ชุมนุมอย่างปลอดภัย

          

 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...