"อธิการบดี มจร"ชี้มัวแต่ขัดแย้ง ส่งผลเสียโอกาสพัฒนาประเทศ ชมหลักสูตรสันติศึกษาตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนนับเป็นทางรอดพระพุทธศาสนา
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 พระเทพวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์,ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ธรรมปฏิสันถารผู้เข้ารับการฝึกอบรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรุ่น 3 ภายใต้หัวข้อ มหาจุฬาความหวังของสังคม : บทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์ กับ การเสริมสร้างสังคมสันติสุข ความว่า บุคคลใดทำให้เกิดความขัดแย้งถือว่าทำกรรมอันหนัก ถึงแม้ไม่ได้เป็นอนันตริยกรรมก็ตาม จึงขออนุโมทนาบุญกับผู้ไกล่เกลี่ยทุกท่านในความมุ่งมั่นพัฒนาตน
"สถาบันการศึกษาจะอยู่รอดจะต้องปรับตัว เพราะรูปแบบพระพุทธศาสนามี 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 4 รูปแบบ 1)รูปแบบพระพุทศาสนาเชิงวิชาการ 2)รูปแบบพระพุทธศาสนาเชิงวิปัสสนากรรมฐาน 3)รูปแบบพระพุทธศาสนาพิธีกรรม 4)รูปแบบพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ซึ่งพระพุทธศาสนาเชิงวิปัสสนากรรมฐานและพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมจะอยู่รอด" อธิการบดี มจร กล่าวและว่า
ส่วนพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการไม่สามารถรักษาสถานะของตนเองได้ โดยตัวอย่างในประเทศอินเดีย จึงเห็นว่ามหาวิทยาลัยเชิงวิชาการอยู่ลำบาก และไม่สามารถไปรอดในยุคปัจจุบัน จึงต้องเน้นพระพุทธศาสนาเพื่อผลิตบัณฑิตและพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม มหาจุฬาจึงมีความชัดเจนในการบริการสังคม โดยมอบหมายให้หลักสูตรสันติศึกษาพัฒนาเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยภายนอกพยายามมุ่งเอกสารวิชาการเป็นชุดความคิด
พระเทพวัชรบัณฑิต กล่าวต่อว่า นับว่าสุดยอดของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ที่แท้จริงจริงในการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ถือว่าเป็นไปเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่แท้จริงคือโทสะคือความโกรธ โดยทั้งสองฝ่ายมีความโกรธเป็นที่ตั้ง พระพุทธศาสนามีวิธีการไปลดอารมณ์ให้หายโกรธ ได้ข่าวก็โกรธตามไปด้วย ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์คือ มีความรู้ มีหน้าที่ และมีคุณความดี เราจึงเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศ ถ้าประเทศนั้นมัวแต่มีความขัดแย้ง
"หลักพระพุทธศาสนามีหลักในการบรรเทาความโกรธ 10 อย่าง เพราะเมตตากับโทสะจะตรงกันข้ามกัน ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ด้วยการคิดแบบอริยสัจ 4 จึงมีการแลกเปลี่ยนกรณีแก้ปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างสองคน จากเรื่องเล็กๆ นำไปสู่เรื่องใหญ่ ตอนแรกไม่ฟัง แต่ช่วงหลังตั้งใจฟัง ลดอารมณ์ความโกรธ โดยใช้โยนิโสมนสิการ ขึ้นอยู่กับกรณี ทำงานแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องเผื่อใจไว้บ้าง เพราะเป็นกรรมร่วมกันจึงมามีความขัดแย้งกัน
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร สรุปว่า ดังนั้น อธิการบดีมหาจุฬาจึงพยายามย้ำมหาวิทยาลัยสงฆ์จะรอดต้องวิปัสสนากรรมฐานและเพื่อสังคม ซึ่งการมุ่งเพียงมหาวิทยาลัยวิชาการไปไม่รอดต้องมุ่งมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ซึ่งหลักสูตรสันติศึกษาตอบโจทย์สังคมขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน
เผยแห่มาเรียนหลักสูตรไกล่เกลี่ย มจร ล้นห้องเกินจำนวนรับจริงทุกรุ่น
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะประธานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เสริมว่า ตั้งแต่ มจร ลงนาม MOU กับสำนักงานศาลยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ผู้ใหญ่ที่ทำงานด้านนี้ มักจะถามตลอดว่า เพราะเหตุใดคนจำนวนมากจึงแห่มาสนใจหลักสูตรจนล้นห้อง ทำให้ต้องเปิดต่อเนื่องกันหลายรุ่นต่อจนถึงรุ่น 5 ทั้งที่รุ่นนี้เป็นรุ่น 3
เมื่อได้พบปะพูดคุยกับผู้เรียนจำนวนมาก จึงทำให้พบคำตอบที่น่าสนใจอย่างน้อย 5 ประเด็น ดังนี้
1: ต้องการไกล่เกลี่ยกับกิเลสตัวเอง บางคนทุกเพราะกิเลสรุมเร้าจิตใจจนขัดแย้งในตัวเอง ทำให้เกิดเกิดสภาวะเน่าในคุกครุ่นเกาะกัดกินจิตใจ เกิดความแปลกแยกและย้อนแย้งต่อการเลือกและตัดสินใจ การเรียนรู้จะทำให้มีสติ สมา ธิปัญญา สามารถริหารจัดการอารมณ์ของตนเอง สื่อสารกับตัวเองได้ดีมากขึ้น
2: ต้องการช่วยไกล่เกลี่ยคนอื่นที่ขัดแย้งกัน เมื่อจัดการความกับขัดแย้งภายในได้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะนำทักษะดังกล่าวที่ผ่านการฝึกไปเสริมการจัดการความขัดแย้งภายนอก เพื่อช่วยคนอื่นที่กำลังเผชิญหน้ากับความทุกข์ รางวัลจึงเป็นความสุขที่เห็นคู่ความมีความสุขจากการค้นพบความต้องการแล้วจับมือสร้างอนาคตใหม่ร่วมกัน
3: ต้องการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคเอกชน ผลจากการผ่านการอบรมจะทำให้ได้รับใบอนุญาต (Licence) ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกลเกลี่ย แล้วจะทำให้สามารถเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน หรือภาคเอกชนได้ หากคนใดคนหนึ่งที่ร่วมจัดตั้งผ่านหลักสูตรนี้แล้วขึ้นทะเบียนได้ ด้านการแพทย์สามารถเปิดคลีนิครักษาคนได้ คนเหล่าก็เปิดคลีนิคทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยได้เช่นกัน
4: ต้องการเสริมงานประจำที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานในบริษัท ชุมชน สังคม หรืออื่นใด ล้วนแต่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความขัดแย้งได้ จึงจำเป็นที่จะเอาแนวคิดหรือทักษะมาใช้ในการบริหารจัดการความต้องการของคนในชุมชนหรือองค์กรนั้นๆ ให้สามารถบริหารได้ผลบริหารคนได้มีประสิทธิภาพ
5: ต้องการเข้าใจ Mindset เกี่ยวกับสันติวิธี คนจำนวนหนึ่งที่มา ก็มุ่งหมายจะเรียนรู้และเข้าใจคนอื่นๆ ในเชิงจิตวิทสาวสังคม หรือความต้องการส่วนลึกที่ซ่อนตัวอยู่ภายในใจว่าทำไมจึงคิดต่างทำต่าง หรือทำไมจึงชอบสร้างความขัดแย้งในชุมชน องค์กรและสังคม ที่สำคัญจะดึงคนเหล่านั้นมาผนึกกำลังหรือพัฒนาความขัดแย้งให้เป็นบวกได้อย่างไร
ทั้งหมดคือเหตุผลเบื้องลึกในใจที่ถูกกระตุ้นจากตัวแปรภายในบ้าง ภายนอกบ้าง จนเปิดทางให้พาตัวเองได้เดินทางเข้ามาศึกษาเรียนรู้และพัฒนาทักษะการไกล่เกลี่ยเกลี่ยข้อพิพาทตลอดเวลาที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่า ชุมชน องค์กรและสังคม จักได้ประโยชน์จากท่านเหล่านี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอน
"อย่างน้อยที่สุด แม้ท่านเหล่านี้อาจจะไม่สามารถสร้างผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการออกไปทำงานไกล่เกลี่ย แต่ก็เชื่อว่า ท่านเหล่านี้จะสามารถไกล่เกลี่ยกับกิเลสภายในใจของตนเอง บริหารจัดการอารมณ์และความรู้อย่างมีสติ รู้เท่านั้นสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่มีความเชื่อต่าง เห็นต่าง อย่างสันติสุขในสภาวการณ์ปัจจุบัน" พระมหาหรรษา ระบุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น