วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2564 หลักสูตรสันติศึกษา และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายด้านสันติภาพ จัดงานวันสันติภาพสากลขึ้นผ่านออนไลน์ โดยมีสมัครเข้าร่วมงาน 3,000 รูป/คน ภายใต้การสัมมนาวิชาการนานาชาติเนื่องในวันสันติภาพสากลหัวข้อ “สันติภาพวิถีใหม่สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมีประธานดำเนินการจัดงานวันสันติภาพสากลคือพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมคณาจารย์เจ้าหน้าที่ของหลักสูตรสันติศึกษาและผู้บริหารคณาจารย์เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ในเบื้องต้นมีการรับชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับการสร้างสันติภาพภายใต้ของกายภาพ พฤติภาพ จิตตภาพ และปัญญาภาพของหลักสูตรสันติศึกษา มจรทั้งภาคภาษาไทยและภาคอินเตอร์ มีการกล่าวถวายรายงานในการจัดงานในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตระหนักถึงมิติของการใช้ความรุนแรงและความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม สันติภาพเป็นส่วนสำคัญการพัฒนาทุกมิติซึ่งเป็นฐานสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้คนในสังคมพึงตระหนักจากภายใน โดยเดินตามแนวทางพระพุทธเจ้าตรัสว่า พึงศึกษาสันติศึกษาเท่านั้น หลักสูตรสันติศึกษาจึงผลึกกำลังเสริมสร้างสังคมสันติสุข
พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวนำหัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” กล่าวประเด็นสำคัญว่า หลักสูตรสันติศึกษาและเครือข่ายได้ร่วมจัดงานสันติภาพสากลเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยพระพุทธศาสนากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเดินตามกรอบของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นฐาน ผ่านการพัฒนาตามหลักของภาวนา 4 ในทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วย กายภาพ พฤติภาพ จิตตภาพ และปัญญา ซึ่งในยุคปัจจุบันจะต้องมีการปรับตัวโดยการพัฒนาจิตใจตนเองอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ปัญญามีความงอกงามเกิดขึ้นไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ เพราะสติมาปัญญาย่อมเกิดขึ้น โดยมหาจุฬามุ่งการสร้างสันติภายในก่อนออกสร้างสันติภาพนอก ค่อยเป็นค่อยไปโดยทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องบำเพ็ญบารมีเหมือนพระโพธิสัตว์
"อิทธิพล"ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอาศัยพลัง"บวร"ช่วยสร้างสังคมสันติสุข
ต่อจากนั้น นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สร้างสันตินวัตกรรมเสริมสร้างสังคมสันติสุข” กล่าวประเด็นสำคัญว่า โดยมุ่งยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งใช้หลักศาสนาในการขับเคลื่อนประเทศเพราะศาสนาเป็นทุนทางวัฒนธรรมอย่างดียิ่งในประเทศไทย โดยมุ่งการพัฒนามนุษย์ ความเสมอภาค สร้างความมั่นคงทางด้านสังคม จึงต้องอาศัยพลังของ บวร ช่วยขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดสันติสุข แต่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สามารถเคารพในความแตกต่าง ยิ่งสำคัญความเท่าเทียมความเสมอของคนในสังคมโดยมุ่งเน้นพัฒนาให้เป็นคนดีและคนเก่งเพื่อการพัฒนาสังคม จึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อผลักดันการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ จึงต้องไม่เบียดเบียนกันมีความเคารพซึ่งกันและกัน จึงต้องสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สร้างความมั่นคงทางวัฒนธรรมด้วยการสืบสาน รักษา ต่อยอด และธรรมาภิบาล บำรุงรักษาศาสนาเพื่อนำไปสู่สังคมสันติสุข จึงขอสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุขต่อไป
มอบรางวัลลมหายใจสันติภาพและศิษย์เก่าดีเด่นหลักสูตรสันติศึกษา
ต่อจากนั้นพระมหาหรรษา ประกาศรายชื่อรางวัล “ลมหายใจแห่งสันติภาพ” ถือว่าเป็นพิธีมอบโล่ลมหายใจแห่งสันติภาพ กล่าวประเด็นสำคัญถึงครอบครัวสันติศึกษาและสังคมว่า วันสันติภาพเป็นการตระหนักรู้ในการไม่ใช้ความรุนแรง ในปี 2524 มีการเคาะระฆังแห่งสันติภาพไปทั่วโลกให้เห็นคุณค่าในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์รวมถึงธรรมชาติส่งแวดล้อม โดยพึงพาอาศัยกันจึงตั้งคำถามว่าทำไมเราจึงต้องรักคนอื่น เพราะอยู่อยู่คนเดียวไม่ได้ในโลกใบนี้ จึงขอให้ช่วยกันกระตุ้นเรื่องสันติภาพมีความดีขึ้นมีความยั่งยืนจะต้องลงไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง เพราะสันติภาพไม่สามารถเกิดขึ้นจากการพูดแต่สันติภาพจะเกิดเมื่อเราลงมือทำเท่านั้น จึงต้องมุ่งพัฒนาสู่การพัฒนาที่มีความยั่งยืน 17 ข้อ สะท้อนแง่มุมในการทำงานเริ่มตั้งขจัดความยากจน ความเท่าเทียมทางเพศ ลดความเหลื่อมล้ำ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สันติภาพในการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น
สอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในทางพระพุทธศาสนาคือ ภาวนา 4 คือ พัฒนากาย พัฒนาพฤติภาพ พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา ทำให้สันติศึกษาสร้างความตระหนักว่าเราพัฒนาชีวิตแล้วนำตนไปพัฒนาสังคมในมิติต่างๆ สันติศึกษาเกิดจากพระพุทธเจ้าซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าพระองค์เป็นพุทธ แต่ผู้คนพยายามบอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นพุทธ แต่พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลของโลกเพราะคำสอนของพระองค์ไปเป็นไปเพื่อสันติภาพ โดยคำสอนของพระองค์ย้ำว่า “พึงศึกษาสันติเท่านั้น” การศึกษาเพื่อสันติภาพเป็นการตระหนักรู้ภายในและออกไปทำงานสันติภาพภายนอก หลักสูตรสันติศึกษาจึงเดินทางแนวทางของพระพุทธเจ้า สันติศึกษาเป็นของคนทั้งโลกใบนี้ไม่ใช่ของมหาจุฬาเท่านั้น ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองยกระดับตนเองให้เกิดสันติภาพใน พระพุทธเจ้าเป็นคนของโลกเท่านั้น “จงพอกพูนสันติวิธีเท่านั้นคือ มรรค ๘ ในทางพระพุทธศาสนา ” จึงนำไปสู่สุขอื่นยิ่งกว่าสันติไม่มี ซึ่งปัญญาของพระพุทธเจ้าเป็นปัญญาของโลก
จึงมีการประกาศรายชื่อบุคคลสำคัญด้วยรางวัล “ลมหายใจแห่งสันติภาพ” เพื่อเป็นพลังกำลังใจ ประกอบด้วย 1)พระเมธีวชิโรดม ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัยไร่เชิญตะวัน เป็นพระสงฆ์ที่ทำงานกับเพื่อนมนุษย์ด้านสันติภาพเป็นพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานำไปสู่สันติภาพ ส่งเสริมการศึกษาด้านสันติภาพ ๒)นายสุทธิพงษ์ สุริยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทขาบสไตส์ จำกัด เจ้าของรางวัลออสก้าร์อาหารโลก ท่านอาจารย์ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมิปัญญาสากล พัฒนาชนบทให้มีพื้นที่ในเวทีโลก กระตุ้นเตือนในคนในชนบทรู้คุณค่าของตนเอง 3)นางสาวกชมน พากเพียร ประธานชมรมจิตอาสาศาสนานำสุข จังหวัดตรัง โดยทำงานร่วมกับคนในสังคมด้วยพลังแห่งจิตอาสา
และมอบราวัลศิษย์เก่าดีเด่นของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ประจำปี 2564 เป็นการให้กำลังใจและพลังของคนทำงานด้านสันติภาพ ประกอบด้วย 1)ด้านยุติธรรมเพื่อสันติภาพคือ ดร.เชวง ชูศิริ อธิบดีศาลอาญาพระโขนง 2)ด้านเยาวชนเพื่อสันติภาพคือ พระมหาธีระยุทธ จิตฺตปุญฺโญ ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดตันตยาภิรม จังหวัดตรัง 3)ด้านสตรีเพื่อสันติภาพคือ ดร.นงลักษณ์ ลักษณะโภคิน กรรมการบริษัทชิงเกอร์ประเทศไทยจำกัด 4)ด้านสังคมสงเคราะห์เพื่อสันติภาพคือพระปลัดวิศรุต ถิรสทฺโธ พระนักเผยแผ่และนักสาธารณสงเคราะห์ วัดถ้ำเขาชะอางค์ 5)ด้านการศึกษาเพื่อสันติภาพคือ ดร.จิตรา แสงวัฒนาฤกษ์ ประธานกรรมการบริหาร Smart Kids Preschool 6)ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพคือ พระธวัชชัย อนามโย ประธานสำนักสงฆ์วัดพระธรรมจาริกป่าพุทธวาส ผู้นำด้านรักษาป่าชุมชน 7)ด้านกฎหมายเพื่อสันติภาพคือ ว่าที่ พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง เจ้าของสำนักกฎหมาย สำนักกฎหมายสมบัติ วงศ์กำแหง 8)ด้านสันติภาพชุมชนคือ ดร.คนึงนิตย์ ศรีรักษ์ เจ้าของกิจการสตรีจิตอาสา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
9)ด้านการสื่อสารเพื่อสันติภาพคือ ดร.สำราญ สมพงษ์ นักข่าวเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ต้นแบบนักสื่อสารงานสันติภาพ 10 )ด้านการเผยแผ่ธรรมเพื่อสันติภาพคือ พระครูวิโรจน์กาญจนเขต ดร. ประธานหลักสูตรวิปัสสนาภาวนา วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี ศรีไพบูรณ์ มจร 11 )ด้านองค์กรสันติสุขคือ ดร.จารุณี สิงหกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารสำนักงานเขต สำนักงานเขตสามยอด บมจ.ธนาคารกรุงไทย นับว่าเป็นคุณค่าอย่างยิ่งในการสนับสนุนส่งเสริมบุคคลที่ทำงานด้านสันติภาพในมิติการพัฒนาต่อไป
"เจ้าคุณว."ชี้มิจฉาทิฐิถือว่ามีความอันตรายที่สุดในโลก
พระเมธีวชิโรดม (พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ไร่เชิญตะวัน แลกเปลี่ยนการบรรยายสันติสนทนาวิชาการสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “วิถีแห่งสันติภาพวัคซีนของสังคมไทย” กล่าวประเด็นสำคัญว่า ขอบคุณสำหรับรางวัลลมหายใจแห่งสันติภาพ เพราะรางวัลเป็นการรับรองและเรียกร้องมาตรฐานว่าจะต้องทำงานด้านสันติภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยเริ่มจากการรับรางวัลสันติภาพในต่างประเทศ มีการนำบุคคลที่รับรางวัลมาอยู่ร่วมกันก่อนรับ ๗ วัน เพื่อให้เป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันโดยให้ผู้รับรางวัลกล่าวท่านละ ๒ นาที สะท้อนว่ารางวัลสร้างความตระหนักว่าเราต้องมุ่งมั่นในการสร้างสันติภาพภายในหรือสันติในเรือนใจให้ตนเองก่อนออกไปสร้างสันติภาพภายนอกคือสังคม อย่าเป็นนักสันติภาพแบบพัดลม เพราะเป่าให้คนอื่นเย็นแต่ตนเองร้อน จะต้องมีสันติในเรือนใจจึงต้องออกไปสร้างสันติภาพ ซึ่งกายสันติ วาจาสันติ ใจสันติจึงเป็นสมณะผู้ดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ จึงต้องพัฒนาสันติภาพภายในตนเองก่อนออกไปสร้างสันติภาพภายนอก จึงมองเสรีภาพแต่ละบุคคลผ่านการทดลองในกระบวนการของสุนทรียสนทนา ผ่านการกระตุ้นโทสะของบุคคลที่อยู่ในวงสนทนา ว่าผู้จะทำงานหรือสร้างสรรค์สันติภาพในการทำงานด้านสันติภาพจะต้องพัฒนาสันติภายใน ซึ่งจุดเด่นของการทำงานสันติภาพคือ การสร้างสันติภาพภายใน สันติภาพคือหนทาง ซึ่งคนที่จะทำงานสันติภาพจะต้องมีสันติในเรือนใจจึงออกไปทำงานด้านสันติภาพ เพราะถ้าไม่มีสันติภาพภายในจะทำให้เกิดโทสะ เกลียด ชิงชัง จึงย้ำเตือนว่า “จงฝึกตนให้มีสันติในเรือนใจจึงก้าวออกไปสู่สังคมโลก”
โดยมีโอกาสไปดูกำแพงเบอร์ลินที่มีการแบ่งแยกคนออกสองฝั่ง รวมถึงไปดูพิพิธภัณฑ์ของนักสันติภาพของโลก แต่มีห้องหนึ่งเป็นห้องมืดอยู่คนเดียวคือ ฮิตเลอร์ เป็นลักษณะของหุ่นขี้ผึ้งมีการขังไว้ ถึงจะตายไปแล้วยังมองว่าเป็นบุคคลที่อันตราย สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือมีผู้ยังยึดแนวทางของฮิตเลอร์เป็นโมเดล มองว่าชาวยิวเป็นยาพิษ มองว่าชาวยิวปล่อยไว้ไม่ได้จึงต้องจำกัด จึงมีข้อความเขียนว่าในหนังสือว่า “ตรงกันข้ามอารยัน คือ ชาวยิว” จึงมีการเบียดเบียนกันอย่างโหดร้ายสุดประมาณ โดยมองว่ามีการเริ่มสร้าง รักษาไว้ ทำลายวัฒนธรรม จึงมีการจำกัดชาวยิวเพราะมองว่าชาวยิวเป็นผู้ทำลายวัฒนธรรม จึงมีโอกาสไปชมค่ายกักกันในโปแลนด์ทำให้จิตตก ยกอย่างไรยังไม่ขึ้นเพราะเห็นพลังแห่งความเจ็บปวด เราจึงต้องระวังระวังระบบความเชื่อที่ผิดมาใส่ในสมองของเรา ฮิตเลอร์ได้รับความคิดความเชื่อที่ผิดๆ ทำให้ทำลายคนจำนวนมาก ในทางพระพุทธศาสนาจึงย้ำว่า มิจฉาทิฐิอันตรายอย่างยิ่งซึ่งเป็นความเชื่อผิดๆ อย่าปล่อยให้ตนเองไปเรียนรู้ระบบความคิดที่ผิดๆ จะทำไปสู่สงครามในโลก แม้แต่ในกัมพูชาเกิดทุ่งสังหารสร้างความเจ็บปวด ในเวียดนามมีการล้มตายจำนวนมาก ในเกาหลี “สงครามเริ่มที่ใจจึงต้องรักษาที่ใจสันติภาพจึงเกิดขึ้นที่ใจ” ถ้าเรามีปืนยิงคนตายแค่จำนวนกระสุนที่มี แต่ถ้าเรามีความคิดที่เป็นมิจฉาทิฐิถือว่ามีความอันตรายที่สุดในโลก ระวังตนเองไม่สมาทานลัทธิมิจฉาทิฐิ ทำบาปโดยทั้งที่รู้มีการทำอย่างต่อเนื่อง เหมือนอังกฤษพยายามจะยิงคนอินเดีย โดยมหาตมคานธีบอกว่าไม่ใช้ความรุนแรงต่อความรุนแรง เพราะความรุนแรงไม่สามารถระงับด้วยความรุนแรง สันติภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงต้องระวังกับความมืดสีขาว จึงเน้นว่าติดดีน่ากลัวเพราะหลงในความดีของตนเอง ซึ่งทำชั่วแต่นึกว่าตนเองกำลังทำดี จึงอย่ารับความรู้ที่ผิดๆ เพราะเป็นมิจฉาทิฐิ หลักสูตรสันติศึกษาจะต้องพัฒนาไปสู่สัมมาทิฐิมองว่าคนทั้งโลกคือพี่น้องกัน เคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เรามีสัญชาติเดียวคือ มนุษยชาติ มองว่าโลกทั้งผองเราคือพี่น้องกัน
จึงต้องมองเนลสัน แมนเดล่าว่าเคยใช้ความรุนแรงในอดีตจากการติดคุยทำให้เนลสันตระหนักคิดทำให้หันมาใช้สันติภาพอย่างจริงแท้ เพราะความแค้นไม่ได้ช่วยอะไรโดยเคารพในทุกคนไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ ต่อเพื่อนมนุษย์มีการให้อภัยทาน ส่งผลให้เนลสันได้รับรางวัลแห่งสันติภาพ ด้วยการหยิบอาวุธขึ้นมาแล้วโยนทิ้งออกไปด้วยการทิ้งอาวุธนำไปสู่การเลือกตั้งเกิดสมานฉันท์ในประเทศ ซึ่งไม่มีใครเกิดมาพร้อมการเกลียดชังคนอื่น เพราะเรียนรู้ที่จะเกลียดชังกันแต่เราสามารถเรียนรู้จะรักกันได้ เพราะล้างสมองให้เกลียดกัน แต่ทำไมเราไม่ทำให้ทุกคนรักกันสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขนำไปสู่วัคซีนแห่งความรักเกิดสันติสุขต่อไป
นางสาวกชมน พากเพียร ประธานชมรมจิตอาสาศาสนานำสุข จังหวัดตรัง แลกเปลี่ยนการบรรยายสันติสนทนาวิชาการสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “ศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก” กล่าวประเด็นสำคัญว่า ยุวชนคือผู้อ่อนจากด้านจิตใจบุคคลใดที่มีความอ่อนทางด้านจิตใจคือยุวชน จึงมีการพัฒนารูปแบบการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาโดยพุทธสันติวิธีโดยมีรูปแบบการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีการพัฒนาผ่านงานวิจัยโดยพระมหาธีระยุทธ จิตฺตปุญฺโญ, ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดตันตยาภิรม จังหวัดตรัง ซึ่งผลักดันการพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสา โดยมีการพัฒนาเยาวชนตามรูปแบบการพัฒนาอย่างดียิ่ง ทำให้ผู้เข้าสู่การพัฒนาเกิดพลังอย่างยิ่งเพราะจิตอาสาเป็นหน้าที่ของทุกคนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะต้องผลึกกำลังในการทำงานด้านจิตอาสา
นายสุทธิพงษ์ สุริยะ (อาจารย์ขาบ) กรรมการผู้จัดการ บริษัทขาบสไตส์ จำกัด เจ้าของรางวัลออสก้าร์อาหารโลก แลกเปลี่ยนการบรรยายสันติสนทนาวิชาการสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “ยกระดับแบรนด์ชุมชนสู่วิถีสันติภาพที่ยั่งยืน” กล่าวประเด็นสำคัญว่า เป็นการนำศิลปะมาจัดการความขัดแย้งในชุมชน คำถามเราจะพัฒนาชุมชนเพื่อนำไปสู่การการท่องเที่ยงอย่างยั่งยืนอย่างไร โดยนำอาหารท้องถิ่นมายกเป็นแบรนด์สร้างคุณค่าและมูลค่าถือว่ามีเสน่ห์จะถูกสื่อสารออกไปให้ถูกจริตของคนเมือง เน้นธรรมะธรรมดาธรรมชาติ สร้างอาหารให้มีอัตลักษณ์อย่างเป็นรูปธรรมเป็นการท่องเที่ยว เราจะทำอย่างไรไม่ให้คนในชุมชนออกนอกพื้นที่เพราะไม่มีความยั่งยืน แต่จะต้องให้คนภายนอกเข้ามาในชุมชน เราจะเห็นว่าคนในชุมชนมีคนสองวัยคือ ผู้สูงอายุและเด็กเท่านั้น ทำอย่างไรให้คนกลับมาหารากฐานของชุมชนตนเองอย่างแท้จริง สินค้าโอท๊อปจะสร้างให้มีราคาจะต้องวิเคราะห์ทุนวัฒนธรรมชุมชน โดยแต่ละหมู่บ้านมีของเลอค่าแต่ต้องสร้างการสื่อสารให้เกิดแบรนด์ สิ่งสำคัญคือ
1) ชุมชนไม่สามารถทำแบรนด์ 2)รสนิยม จึงต้องสร้างความยั่งยืนให้เกิดกับชุใมชนอย่างแท้จริง อดีตในชุมชนไม่มีอะไรเลยแต่ตอนนี้มีทุกอย่างที่ต้องการ ซึ่งจังหวัดบึงกาฬมี 8 ชาติพันธุ์จึงต้องสร้างมรดกทางวัฒนธรรมสร้างเงินสร้างงานก่อให้เกิดเป็นรูปธรรม จึงต้องสร้างศิลปะที่ร่วมสมัยโดยดึงคนรุ่นใหม่มีสร้างการมีส่วนร่วมเราจึงได้รับรางวัลของโลกจำนวนมาก โดยผ่านนวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ในประเภทอาหารเพื่อการท่องเที่ยว เป็นการออกแบบชุมชนต้นแบบถือว่าเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนโดยชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ด้วยการนำบ้านมาพัฒนาพิพิธภัณฑ์เป็นบ้านมีชีวิต ชาวบ้านมีรายได้จากการท่องเที่ยว โดยเราเป็นหมู่บ้านเล็กๆ จำนวน 50 ครัวเรือน มีการนำความเชื่อในมิติของพญานาคมาพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก “ชาวบ้านเป็นนักแสดงไม่ใช่ตัวประกอบในการพัฒนาชุมชนฐานราก” ต้องทำให้ชาวบ้านมีตัวตนมีแสงในตนเอง ทำให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกันจะต้องมองความยั่งยืนมากกว่าศิลปะ อย่าให้นักท่องเที่ยวซื้อเพราะสงสารแต่จงให้ซื้อเพราะมีความเป็นศิลปะ ต้องออกแบบด้วยความเป็นสากลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง โดยวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมที่แท้จริงคือ เงินเน้นปากท้องต้องอิ่ม เพราะเศรษฐกิจฐานรากต้องการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ทุกคนสามารถหาเงินด้วยตนเองอย่างภาคภูมิใจ
ขอบคุณข้อมูลจากยูทูป mcu tv live