วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565

"ปลัด มท." พร้อมพระที่ปรึกษา ลงพื้นที่เมืองสองแคว ยกอำเภอมืองต้นแบบแก้จนตามแนวพอเพียง สอดรับ UN SDGsและBCGโมเดล



วันที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. ที่ศูนย์เรียนรู้พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน บ้านวังส้มซ่า อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิด “ศูนย์เรียนรู้พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน บ้านวังส้มซ่า” และตรวจเยี่ยมประเมินผลเชิงประจักษ์อำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม ซึ่งอำเภอเมืองพิษณุโลกได้นำเสนอ “โครงการปลุกพลังความคิด ปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนเมืองพิษณุโลกสู่ความยั่งยืน (SDGs) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” (โครงการ 3 ป. สู่ความพอเพียง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก)” โดยได้รับเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัด มท. ร่วมลงพื้นที่ 


โครงการ 3 ป. สู่ความพอเพียง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ (UN SDGs)  


 บูรณาการการทำงานด้วย “กลไก 357” คือ 3 ระดับ : ระดับชุมชน/หมู่บ้าน ระดับจังหวัด และระดับประเทศ 5 กลไก : การประสานงานภาคีเครือข่าย การบูรณาการแผนงานและยุทธศาสตร์ การติดตามหนุนเสริมและประเมินผล การจัดการความรู้ และการสื่อสารสังคม 7 ภาคีเครือข่าย : ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคผู้นำศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน  มี B SEP  BCG เป็นฐาน เกิดส้มซ่าโมเดล


โดยสรุปว่า “ทีมอำเภอนำร่องฯ สร้าง "ผู้นำทำก่อน” อบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างนักขับเคลื่อนระดับตำบล (D-CAST)” จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 100 คน รวม 300 คน  และจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นและสร้างการรับรู้ในระดับตำบล ตำบลละ 100 คน รวม 2,000 คน และนำกิจกรรมปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงผ่าน 6 กิจกรรม คือ 1) น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร “บ้าน” โดยใช้ครัวเรือนต้นแบบ 19 ตำบล 173 หมู่บ้าน ๆ ละ 20 ครัวเรือน รวม 3,460 ครัวเรือน “วัด” ตำบลละ 1 วัด รวม 19 แห่ง “โรงเรียน” ตำบลละ 1 แห่ง รวม 19 แห่ง ซึ่งทุกคนในหมู่บ้านมีการปลูกพืชผัก ผลไม้ สมุนไพร อย่างน้อย 15 ชนิด ไว้บริโภคเพื่อลดรายจ่ายหลายแสนบาทและจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในเวลา 3 เดือนจำนวนกว่า 3 ล้านบาท มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ทราบผลการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้มากขึ้น และยังมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน และขยายผลครบทุกครัวเรือน ควบคู่กับ 1 ตำบล 1 ถนนกินได้ เป็นแหล่งอาหารชุมชนสร้างความมั่นคงทางอาหารอีก 19 แห่ง ในระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร 


2) ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ผ่านกิจกรรมหว่านวันแม่ เกี่ยววันพ่อ ห้องเรียนหัวคันนา ครูพาทำ สร้างฐานสอนลูกดำนา ส.ว. เอามื้อสามัคคี ทำให้ยกระดับ บริหารพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้สู่ประชาชนได้ 


3) ชุมชนสวัสดิการสร้างงาน สร้างรายได้ โดยนำกลุ่มเป้าหมายใน TPMAP และ ThaiQM จำนวน 370 ครัวเรือน มาอบรมให้ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ อบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่น ลูกประคบสมุนไพร ยาดม มีการทำกองทุนสวัสดิการเป็นรายได้เพื่อปันน้ำใจช่วยเหลือสังคม และไปพัฒนากลุ่มเปราะบางและผู้ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ 


4) ธนาคารพันธุกรรมพืชสร้างเครือข่าย โดยสามารถจัดตั้งธนาคารพันธุกรรมพืชในทุกตำบล และแหล่งรวบรวมอนุรักษ์ใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืช สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน 5) ตลาดประชารัฐ โดยจัดตลาดหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) เชื่อมโยงกิจกรรม “ชินะราชา เบิกฟ้าเสริมบุญ ตักบาตรรับอรุณ หน้าวิหารเสริมพลังศรัทธา @ เมืองสองแคว” ทุกเช้าวันเสาร์ ตั้งแต่ 5:00 – 10:00 น โดยนำผลผลิตจากกิจกรรมบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง โคก หนอง นา ชุมชนสวัสดิการ และพื้นที่การเรียนรู้ชุมชนพัฒนา มาจำหน่ายสร้างรายได้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวนกว่า 50,000 บาทต่อครั้ง นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลตลาดวัฒนธรรมตลาดชุมชนประจำหมู่บ้าน/ตำบลให้เป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิตสร้างรายได้ และ 6) พื้นที่การเรียนรู้ชุมชน เป็นแปลงสาธิตต้นแบบบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง แหล่งขยายพันธุ์ข้าวหลากสี ข้าวพันธุ์พื้นถิ่นกว่า 50 สายพันธุ์ เป็นที่เก็บเกี่ยว/จำหน่ายผลผลิต เป็นตลาดประชารัฐ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และส่งเสริมขยายพื้นที่ต้นแบบให้มีมากขึ้น”


จากนั้น ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้นำเสนอความก้าวหน้าการขับเคลื่อน ได้แก่ 1. โครงการถนนกินได้ ถนนแห่งความสามัคคี ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวตลอดแนวถนน 800 เมตร เพื่อให้เป็นถนนแห่งความสามัคคี เป็นถนนกินได้ 2. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลไผ่ขอดอน ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงหมูป่า โดยเอามูลหมูทำปุ๋ยบำรุงดิน เลี้ยงกบ ปลาเลี้ยงไก่ เพาะเห็ด พร้อมนำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย 3. โคก หนอง นา สาธิตฐานเรียนรู้ โดยมีหลุมพอเพียง ทำให้เราได้พืชผักสวนครัวไว้กินตลอดทั้งปี มีพืชประธานไว้กลางหลุม พืชเลี้ยงไว้บังแดด เพื่อลดและประหยัดการใช้น้ำ และทำแซนวิชปลา ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 4. บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ไม่ใช้สารเคมี แบ่งปันกันกิน พอเหลือกินก็จะขาย 5. วิชชาลัยชาวนา มีแปลงผัก 28 ชนิด บ่อปลา แปลงสาธิตนาข้าวกว่า 50 สายพันธุ์ โดยความร่วมมือกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6. สวนแปลงผักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักขั้นบันไดเพื่อชะลอน้ำมาหล่อเลี้ยงพืชผักสวนครัว ขั้นที่ 1 ถั่วฝักยาว ขั้นที่ 2 พริก ขั้นที่ 3 มะเขือแป้น มะเขือยาว มะเขือเปราะ ขั้นที่ 4 กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผลผลิตทุกอย่างไม่ขาย แต่จะให้ลูกบ้านนำไปแจกจ่ายให้กับคนยากไร้ เด็กนักเรียน และวัด 7. กิจกรรมบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง เอื้อต่อวิถีชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัว ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และ 8. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การบริการจัดการน้ำ การป้องกันการพังทลายหน้าดินด้วยการปลูกหญ้าแฝก สาธิตการปลูกนาข้าวในรูปแบบนาโยน และปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักในกระถาง ในยางรถยนต์ และจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน


น.ส.วรัญญา หอมธูป และ อ.ศรัณย์พร เกิดเกาะ กล่าวว่า ทีม อ.เมืองพิษณุโลก มุ่งพัฒนาโดยยึด”คน” เป็นฐาน สิ่งที่เป็นกลยุทธ์ที่แยบยลที่สุด คือ “การสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนและการลุกขึ้นมาเข้าใจในสิ่งที่เป็นหลักการ” ให้รู้ว่าการพัฒนาพื้นที่และการพัฒนาคนให้มีความสุขที่แท้จริง มีกระบวนการ คือ “ความพอเพียงที่จะทำให้เกิดความพอดี” และแม้ว่าโครงการอำเภอนำร่องฯ จะหมดไป แต่กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้จะถูกสานต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยความเข้าใจของคน เพราะคนเป็นองค์ความรู้ที่ยั่งยืนที่สุด เมื่อเขาเรียนรู้แล้วก็จะบอกต่อความรู้ไปยังคนอื่น ๆ จนกลายเป็นวิถีชีวิต และส่งต่อจากคนสู่คน ทำให้เกิดผลสำเร็จมากที่สุด และเกิดความสุขมวลรวมชุมชน (Gross Village Happiness : GVH ) โดยเติมเต็มด้วยงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะคน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้น


“นายอำเภอเมืองพิษณุโลกเป็นต้นแบบ ” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วม...