เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้ แถลงผล การตรวจสอบกรณีพื้นที่ ที่กรมป่าไม้อนุญาตให้มูลนิธิวิมุตตยาลัยและศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย อ.เมืองจ.เชียงราย กรมป่าไม้ได้ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและมูลนิธิวิมุตตยาลัยให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 3 แปลง ได้แก่
แปลงที่ 1 เนื้อที่ 113 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา โดยมูลนิธิวิมุตตยาลัยได้รับการอนุญาตจากกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 จนถึงวันที่ 12 มีนาคม 2596 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ธรรมสมโภช 750 ปี รัตนบุรีเชียงราย โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ และเพื่อใช้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน
แปลงที่ 2 เนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 97 ตารางวา โดยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 ถึง วันที่ 22 พฤศจิกายน 2596 เพื่อเป็นสถานที่จัดตั้งวัดไร่เชิญตะวัน
แปลงที่ 3 เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 01 ตารางวา อนุญาตให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อสร้างศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน มีการขออนุญาต เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 ถึง 22 พฤศจิกายน 2596
ภายหลังการเข้าตรวจสอบพื้นที่ของคณะทำงาน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ /เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย /เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง /องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น /และเจ้าหน้าที่มูลนิธิวิมุตตยาลัย ผลตรวจสอบพบว่า มูลนิธิวิมุตตยาลัยและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงรายได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีอยู่ในขอบเขตตามหนังสือที่ได้รับอนุญาต และยังไม่พบการกระทำผิดเงื่อนไขของการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่า
โดยเงื่อนไขการอนุญาตเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่เขตป่าเสื่อมโทรม ผู้ได้รับอนุญาตต้องคงรักษาประเดิมไว้และฟื้นฟูให้เกิดพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ใหม่รวมถึงมีสิ่งปลูกสร้างได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ซึ่งได้รับอนุญาต โดยกรณีการขออนุญาตเพื่อสร้างสร้างวัดกรมป่าไม้จะพิจารณาอนุญาตให้ใช้พื้นที่ไม่เกิน 15 ไร่ต่อ 1 วัด แต่ทั้งนี้ ส่วนของมูลนิธิวิมุตตยาลัยซึ่งได้รับอนุญาตถึง 113 ไร่เศษ เป็นการยื่นเจตจำนงขอใช้พื้นที่เข้ามา โดยมีความเห็นชอบของประชาชนข้างเคียงแล้ว และ หากมองเรื่องการอนุรักษ์ป่าเรื่องดี เพราะเชื่อว่าหลักทางพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยให้เกิดการอนุรักษ์ป่าได้มากกว่า การจัดสรร พื้นที่ให้ประชาชนทำกินซึ่งอาจจะยากต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีอาชีพ
อย่างไรก็ตาม ในทุกปีกรมป่าไม้ได้มีการตรวจสอบการใช้ประโยชน์พื้นที่เขตป่าทุกแปลงที่ได้รับอนุญาตว่ายังเป็นไปตามเงื่อนไขที่มีการขอใช้ประโยชน์หรือไม่ หากพบพื้นที่ใดกระทำผิดเงื่อนไขจะดำเนินการว่ากล่าวตักเตือน จนไปถึงการยกเลิกการอนุญาต ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขเรื่องการฟื้นฟูป่า ทางผู้ที่ขออนุญาตสามารถชดเชยเป็นเงินแทนได้ โดยมีอัตราเรียกเก็บ 12,090 บาทต่อไร่ โดยในส่วนของ มูลนิธิวิมุตตยาลัย จะเริ่มตรวจสอบและ จ่ายเงินบำรุงค่าฟื้นฟูป่าในปีหน้าโดยโดยจะเริ่มคิดประมาณ ร้อยละ 25 ของเงินทั้งหมดก่อน เพราะ เพิ่งได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์พื้นที่เมื่อปี 2566 ซึ่งการฟื้นฟูป่านั้นต้องใช้ระยะเวลามากกว่าห้าปีจึงจะสามารถประเมินความอุดมสมบูรณ์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น