วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา ร้อง กมธ.ศาสนาสภาฯ แก้ปมพื้นที่"นสล."ทับที่"วัด"



เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. ที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ศ.ดร.ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์ ประธานชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา ได้ยื่นหนังสือต่อ นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร เรื่องการแก้ไขปัญหาวัดที่สร้างในเขตพื้นที่ นสล. 

ศ.ดร.ดุษฎีวัฒน์ กล่าวว่า กรณีวัดสร้างอยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ (นสล.) ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันบางกรณีวัดสร้างอยู่ก่อนแต่ออกโฉนด นสล. ภายหลังทับที่วัด บางกรณี นสล. ออกโฉนดก่อนวัดสร้างที่หลัง จึงเกิดข้อพิพาทระหว่างวัดกับหน่วยงานของรัฐ มีคดีความข้าสู่กระบวนการยุติธรรม บางคดีพิพาทกันถึงศาลฎีกา เป็นเหตุให้พระสงฆ์ ถูกดำเนินคดีศาลพิพากษาสั่งปรับ,สั่งให้พ้นออกจากวัด,จำคุก,วัดถูกศาลสั่งรื้อ เป็นตันด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนาจึงได้ร้องเรียนมายังคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมรัฐสภา ได้โปรดพิจารณา

ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯจะนำเข้าสู่การประชุมในคราวต่อไป โดย ดร.ณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ กล่าว่า ในประเด็นพื้นที่ นสล. มีประเด็นที่ถกเถียงกันมาก ในหลายเขตพื้นที่ ทั้งนี้การตีความในแง่กฎหมายมีความเห็นต่าง โดยเฉพาะกรณีพื้นที่ "ป่าช้า"  ซึ่งวัดหลายๆ แห่งจะเกิดในพื้นที่ป่าช้า และมีการตีความหมายว่า พื้นที่ป่าช้าเป็นพื้นที่ นสล. หรือไม่ ซึ่งแต่ละวัดก็มีระยะเวลาที่ก่อตั้งมานาน การขีดเส้นพื้นที่ นสล. กับ วัด อาจจะนำเข้าพิจารณาและหารือกันในหลายฝ่าย ซึ่งมีกฎหมายในหลายส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณากันอย่างละเอียดและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อหาทางออกร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...