วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เจ้าคุณประสารมอง! การเลือกตั้งนายก อบจ.กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา



วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2563 เฟซบุ๊กพระเมธีธรรมาจารย์ - เจ้าคุณประสาร ได้โพสต์ข้อความว่า  

การเลือกตั้งนายกอบจ.กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา         

ประเทศไทยว่างเว้นจากการเลือกตั้งท้องถิ่นมานานกว่าทศวรรษแล้ว คณะทหารได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและอ้างเหตุความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศล๊อคดาวน์ประชาธิปไตย แช่แข็งประชามติของประชาชนไว้เป็นเวลานาน       

20 ธันวาคม 2563 รัฐบาลได้เปิดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นขึ้นทั่วประเทศนัยว่าเป็นการโยนหินถามทางนั่นคือการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ)และสมาชิกสภาจังหวัด (ส.อบจ.) แต่ยังไม่ยอมเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)และเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา (สุขาภิบาล กฎหมายปี2542 ให้ยกขึ้นเป็นเทศบาลแล้วทั่วประเทศ) ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ต่างมีสุขเพราะไม่ต้องอยู่ในวาระคราวละ 4 ปีตามกฎหมายกำหนด แต่ให้เป็นเป็นไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(คสช.)บางคนบางตำแหน่งหัวหน้าคสช.แต่งตั้งขึ้นมาเองโดยไม่ผ่านการเลือกตั้งของประชาชน เช่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา เป็นต้น               

การปกครองท้องถิ่น (Local Government)นั้นเกิดจากแนวคิดของรัฐบาลประชาธิปไตยที่มุ่งหวังให้ชุมชนเข้มแข็ง มีตัวแทนเป็นของตัวเอง มีงบประมาณเฉพาะชุมชน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆ          

การปกครองในรูปแบบนี้ก็เพราะต้องการจำลองภาพใหญ่ของประเทศคือรัฐบาลกลางที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนลงมาสู่ท้องถิ่นในระดับจังหวัด อำเภอและตำบล เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆได้ดูแลปกครองกันเอง ภาษีก็คืนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น และที่สำคัญคือสังคมจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาและประคับประครองระบอบประชาธิปไตยให้เจริญงอกงามโดยฐานเแรกนั้นให้ทุกคนได้รู้จักฟังเสียงของประชาชนเสียก่อน            

การแต่งตั้งผู้นำท้องถิ่นจากปลายปากกาของคนๆเดียวจึงไม่ต้องตามเจตนารมย์ของกฎหมายและเจตจำนงค์ของประชาชนทั้งประเทศ          

การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในวันนี้สะท้อนอะไรหลายอย่าง เช่น อำนาจ(ทั้งส่วนตัวและอำนาจรัฐ)​ บารมี พวกพ้องบริวาร ความรัก ความเสียสละ หรือการเงิน เป็นต้น แต่ฐานเลือกจะมาจากใหน อย่างไรก็ตามเราต้องฝึกหัด เรียนรู้และทำความรู้จักเพื่อเคารพประชามติของประชาชน นี่สำคัญ  อย่าหาเหตุ อย่ากล่าวอ้าง อย่าเบี่ยงเบน เพื่อใส่อำนาจอื่นใดที่ไม่ขอบธรรมเข้ามา ทุกฝ่ายจะต้องอดทนและเรียนรู้ประชาธิปไตยไปพร้อมๆกันใ้ห้ได้        

พระพุทธศาสนานั้นพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มีความเสียสละ อุทิศตนเพื่อสังคม ประเทศชาติ เห็นประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง พึงละเว้นอกุลศลกรรมทั้งปวงมีทุจริตคอรัปชั่น กินสินบาทคาดสินบน กอบโกยผลประโยชน์  เอารัดเอาเปรียบ เป็นต้น ทรงสอนให้ประพฤติสุจริตทั้ง กายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม เพื่อปกครองดูแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี มีความสุข           

นายกอบจ.และส.อบจ.ทั้งหลายพึงสังวรระวังบาปทั้งปวงและเดินตามทางแห่งกุศลกรรม          

วันนี้สังคมไทยยังคงมีความแตกแยก ชิงชัง สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การต่อสู้ห้ำหั่นกัน ประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว มีความศิวิไลซ์ ประชาชนอยู่กันอย่างเป็นสุขล้วนมาจากฐานแห่งสามัคคีธรรมดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้กว่า 2,500 ปีมาแล้วในวัชชีอปริหานิยธรรม        

วันนี้การปกครองท้องถิ่นได้เดินหน้าในระบอบประชาธิปไตยมาบ้างแล้วแม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม  หวังว่าภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาล และส่วนงานที่เกี่ยวข้องคงจะได้ยินเสียงอันแท้จริงของคนไนประเทศ เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วจะได้ช่วยกันกำหนดทิศทางของประเทศให้เป็นไปตามหลักสามัคคีธรรมและระบอบประชาธิปไตยที่สากลที่ทั่วโลกส่วนใหญ่ปฎิบัติกันอยู่ในเวลานี้


             พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร)

                        21 ธันวาคม 2563

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: กลิ่นธรรม

 ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1)   ยามเช้าแสงทองจับขอบฟ้า ไอหมอกบางพัดพาเบา ๆ หอมกลิ่นบุปผา…อาบใจ...