วันที่ 19 พ.ย. 67 ที่วัดศรีสุดารามวรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ดร.นิยม เวชกามา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เข้ากราบสักการะ พระธรรมวชิรคุณาธาร เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร เนื่องในโอกาสรับตำแหน่งใหม่ พร้อมกับปรึกษาเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายพระพุทธศาสนาและสนองกิจการงานคณะสงฆ์
ดร.นิยม เวชกามา กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบมหายให้กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ต้องสนองงานคณะสงฆ์ ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนาไว้ 8 ข้อ ไว้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งเรื่องปกป้องพระพุทธศาสนา แก้ปัญหาที่ดินวัดเป็นวาระแห่งชาติ ปรับโครงสร้างสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น
“หลังจากได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้เข้ากราบสักการะ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และพระเถระอีกหลายรูป เพื่อฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสนองงานคณะสงฆ์ที่รัฐบาลควรทำว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งนำนโยบายที่รัฐบาลอยากจะทำทั้ง 8 ข้อไปเล่าให้ฟัง ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลและท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้มอบไว้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ การบูรณะปรับภูมิทัศน์พระประธานประจำพุทธมณฑล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ซึ่งทุกรูปทั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เห็นด้วยและอนุโมทนากับสิ่งที่รัฐบาลคิดทำ ตอนนี้จึงมอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อมาสำรวจอยู่คาดว่าใช้งบประมาณตัวเลขกลม ๆ 20 -30 ล้านบาท ซึ่งจะทำในนามของรัฐบาล ร่วมกับคณะสงฆ์..”
ด้านพระธรรมวชิรคุณาธาร กล่าว่า ขออนุโมทนากับรัฐบาล คิดในสิ่งที่เป็นมหามงคล เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 6 รอบ 72 พรรษา ที่ผ่านมาคณะสงฆ์เคยทำแผนร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะพัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก ตามแผนปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 6+1 ใช้งบประมาณ 6,000 ล้านบาท แผนตัวนี้ที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติน่าจะยังคงเก็บไว้อยู่ ที่พุทธมณฑล อาตมาบูรณะทั้งหอประชุมใหญ่หมดงบไปประมาณ 40 ล้านบาท บูรณะหอพิพิธภัณฑ์หมดไปประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนเรื่องการปรับภูมิทัศน์รอบพระประธานประจำพุทธมณฑล อาตมาอยากทำมานานแล้ว เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยและคณะสงฆ์ไทย ยิ่งปีนี้เป็นปีมหามงคลด้วย เราทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาตมายินดีเป็นอย่างยิ่ง หากรัฐบาลทำหนังสือมาขอให้ช่วย อาตมาพร้อมลงมือทำได้เลย
“สำหรับองค์พระ อันดับแรกต้องล้างคราบต่าง ๆ ออกก่อน ส่วนเรื่องอื่นเราไม่ต้องไปแตะ เพราะกรมศิลป์อยากอนุรักษ์ไว้ก็ต้องปล่อยไปตามนั่น แต่ลานองค์พระที่กรมโยธาธิการเคยมาสำรวจ แล้วตีราคาไว้ประมาณ 12 ล้าน อันนี้ทำได้เลย รวมทั้งฐานพระประธานอีก คาดว่างบประมาณไม่น่าเกิน 30 ล้านบาท อาตมายินดีรับเป็นประธานทำให้ ขอให้ท่านชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลทำหนังสือมา อย่างเป็นทางการแล้วมาตั้งคณะกรรมการทำร่วมกัน ความจริงพุทธมณฑล มันต้องมีพิพิธภัณฑ์ด้วย อาคารที่เคยซ่อมไว้หมดไปประมาณ 100 ล้านบาท วันก่อนเดินไปดูทรุดโทรมอีกแล้ว มันต้องซ่อมใหม่แล้วทำเป็นพิพิธภัณฑ์ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว มาไหว้พระ มีสินค้าโอทอปจากทุกจังหวัดมาขาย นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยววัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดอรุณเสร็จ ต้องแวะมาพุทธมณฑล มารับประทานอาหารที่นี่ แบบนี้พุทธมณฑลจึงจะมีรายได้ เลี้ยงตัวเองได้ พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางได้..”
แนะใช้ AI ออกแบบบูรณะ องค์พระประธานพุทธมณฑล ดุจสร้างวิหารเซนต์ปีเตอร์
อย่างไรก็ตามการบูรณะฐานองค์พระประธานพุทธมณฑลหากใช้เทคโนโลยี AI จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ ประหยัดเวลา และโปร่งใส อีกทั้งยังส่งเสริมความศรัทธาและการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นแนวทางที่สำคัญต่อการอนุรักษ์ศาสนสถานในยุคดิจิทัล
การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการสร้างและบูรณะมรดกทางวัฒนธรรมกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็วและแม่นยำ การสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในนครรัฐวาติกันโดยใช้ AI ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง The Vatican, Microsoft และ Iconem แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี AI ในการอนุรักษ์ศิลปะและสถาปัตยกรรม ขณะที่ประเทศไทยสามารถนำแนวทางนี้มาประยุกต์ใช้กับการบูรณะฐานองค์พระประธานพุทธมณฑล เพื่ออนุรักษ์ศาสนวัตถุที่สำคัญและเสริมสร้างศรัทธาในพุทธศาสนา
1. การวิเคราะห์การใช้ AI สร้างวิหารเซนต์ปีเตอร์
วิหารเซนต์ปีเตอร์ในนครรัฐวาติกันถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมยุคเรอเนซองส์ที่สำคัญ การใช้ AI ในการสร้างแบบจำลองดิจิทัลของวิหารนี้เริ่มจากการรวบรวมภาพถ่ายความละเอียดสูงกว่า 400,000 ภาพผ่านโดรน กล้อง และระบบเลเซอร์ จากนั้น AI ได้ทำการประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลเพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติที่แม่นยำสูง โดยสามารถแสดงให้เห็นสภาพความเสียหายที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนอนุรักษ์ในอนาคต การเปิดตัวโครงการนี้ก่อนงานยูบีลี 2025 ช่วยเพิ่มความเข้าถึงของนักท่องเที่ยวและผู้แสวงบุญได้ทั่วโลก
2. แนวทางการบูรณะฐานองค์พระประธานพุทธมณฑลโดยใช้ AI
วิสัยทัศน์
การบูรณะฐานองค์พระประธานพุทธมณฑลจะต้องเป็นการอนุรักษ์สถานที่ทางศาสนาที่สะท้อนถึงคุณค่าทางจิตใจและวัฒนธรรมของคนไทย การใช้ AI จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ ประหยัดเวลา และโปร่งใสในกระบวนการบูรณะ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความศรัทธาและความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับสังคมไทย
ยุทธศาสตร์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในการบูรณะควรครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบสภาพโครงสร้างเดิม การวางแผนซ่อมแซม ไปจนถึงการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม การจัดการงบประมาณควรมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจจากประชาชน
ยุทธวิธี
ใช้ AI ในการตรวจสอบสภาพโครงสร้างเพื่อระบุจุดที่ต้องซ่อมแซม
วางแผนงบประมาณอย่างโปร่งใสและเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม
เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับโครงสร้างเดิม
แผนงานและโครงการ
โครงการตรวจสอบสภาพฐานองค์พระด้วย AI
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินสภาพและความเสี่ยงของฐานองค์พระ
กิจกรรม: ใช้เครื่องสแกน AI และระบบวิเคราะห์ภาพ
โครงการจัดการงบประมาณและความโปร่งใส
วัตถุประสงค์: เพื่อจัดสรรงบประมาณที่โปร่งใส
กิจกรรม: วางแผนและเผยแพร่ข้อมูลการใช้งบ
โครงการบูรณะด้วยวัสดุคุณภาพสูง
วัตถุประสงค์: เพื่อความยั่งยืนในการบูรณะ
กิจกรรม: เลือกวัสดุที่มีคุณภาพและใช้ AI ในการประเมิน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
จัดสรรงบประมาณเพียงพอและโปร่งใสในการบูรณะ
ส่งเสริมการใช้ AI ในการตรวจสอบและบูรณะ
วางแผนการบูรณะอย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น