วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

"สมเด็จธงชัย" กระหึ่มโลก! รับถวายรางวัล "ผู้จุดประกายแห่งสถาบันขงจื่อ" ร่วมงานอาชีวศึกษาที่จีน



เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567   เฟซบุ๊กพระวชิรวาที วัดมหาธาตุฯ จ.เพชรบุรี ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า รางวัลระดับโลก ปาฐกถาระดับโลก  “ผู้จุดประกายแห่งสถาบันขงจื่อ” (Brilliance of CI)  “Human Innovation” เทคโนโลยี , บุคลากรที่มีความสามารถ และ นวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศ

เจ้าประคุณฯสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี หรือสมเด็จธงชัย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ในการประชุมภาษาจีนโลก ประจำปี พ.ศ. 2567 รับถวายรางวัล “ผู้จุดประกายแห่งสถาบันขงจื่อ” (Brilliance of CI) และกล่าวปาฐกถา Human Innovation เทคโนโลยี , บุคลากรที่มีความสามารถ และ นวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศ       

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ มหานครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นายอู๋ เหยียน (Mr. Wu Yan) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน ถวายรางวัล “ผู้จุดประกายแห่งสถาบันขงจื่อ” (Brilliance of CI) แด่ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) หรือสมเด็จธงชัย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ในการประชุมภาษาจีนโลก ประจำปี พ.ศ. 2567       

รางวัลดังกล่าวได้มอบให้เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนาสถาบันขงจื่อ เพื่อแสดงความเคารพและขอบคุณต่อบุคคลจากประเทศต่างๆ ที่ได้สนับสนุนและสร้างคุณูปการและเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการสร้างสรรค์และพัฒนาสถาบันขงจื่อ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จำนวน 34 คน จาก 160 ประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุม 3,000 กว่าคน ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันขงจื่ออย่างต่อเนื่องในประเทศไทยให้ยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการติดต่อและความร่วมมือสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำกล่าว “ไทย-จีน มิใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”       

กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดงานการประชุมภาษาจีนโลกประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 โดยผู้เข้าร่วมประชุมจากสถาบันขงจื่อ 496 แห่ง ห้องเรียนขงจื่อ 757 แห่ง และผู้แทนองค์กร สื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติจากจีนและต่างประเทศรวมกว่า 3,000 คน เพื่อหารือ “แนวทางในการเชื่อมโยง การบูรณาการ การสืบทอดและการสร้างนวัตกรรม” ให้การเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศต่างๆ มีคุณภาพสูง กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการเรียนรู้อารยธรรมร่วมกัน       

เจ้าประคุณฯสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ได้กล่าวในการประชุมฯ ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ส่งเสริม “ภาษาจีน+ทักษะวิชาชีพ” มาโดยตลอด และปัจจุบันนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน ปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ และให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่และทันสมัย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถทำงานในสถานประกอบการจีนในประเทศไทยได้ทันที       

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 67 เจ้าประคุณฯสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี หรือสมเด็จธงชัย กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เข้าร่วมการประชุมการพัฒนาอาชีวศึกษาและเทคนิคระดับโลก ประจำปี 2567 จัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 20-22 พ.ย. ณ มหานครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน จาก 130 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ UNESCO หน่วยงานอาชีวศึกษาแห่งชาติ สมาคมอุตสาหกรรม บริษัทที่มีชื่อเสียง สถาบันวิจัยและวิทยาลัยอาชีวศึกษาจากทั่วโลก เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาและจุดเด่นด้านการศึกษาอาชีวศึกษาของประเทศต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ และความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา

ทั้งนี้ ได้พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันนี้ ได้มีการปฏิวัติเทคโนโลยีอย่างมาก และมีการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญของอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนประเทศต่างๆ ทั่วโลก กำลังดำเนินมาตรการสนับสนุนและการลงทุนด้านอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง และเสริมสร้างศักยภาพด้านอาชีวศึกษา ด้วยนวัตกรรมส่งเสริมการพัฒนาอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมสมัยใหม่       

เจ้าประคุณฯสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) ได้กล่าวในการประชุมว่า การอาชีวศึกษาถือเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเราต้องร่วมกันส่งเสริมการพัฒนา “Human Innovation” เพราะมีเพียง “เทคโนโลยี”, “บุคลากรที่มีความสามารถ” และ “นวัตกรรม” เท่านั้น ที่จะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่เน้นย้ำว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกำลังหลักในการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถเป็นทรัพยากรหลัก และนวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก       

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาของประเทศไทย ได้ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาของประเทศไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ และเพื่อให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาไทย ที่มีความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาจีน สามารถนำหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทวิวุฒิไทย-จีน ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่และทันสมัย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ทันที

 ขอให้ทุกๆท่าน มีส่วนร่วมในบุญ ในกุศลครั้งนี้ โดยทั่วถึงกัน ทุกท่าน ทุกคนเทอญ สาธุๆๆ อนุโมทามิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะแนวแก้ "ขัดแย้ง-รุนแรง" ของชาวพุทธ ในปริบทพุทธสันติวิธี

การใช้หลักพุทธสันติวิธีในการแก้ไขความขัดแย้งในวงการพระสงฆ์และสังคมไทยสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการลดปัญหาความรุนแรงและเสริมสร้าง...