วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

IBSC จับมือศูนย์สิทธิมนุษยชน "ม.ออสโล นอร์เว" ผนึกกำลังร่วมกันปั้นนักพุทธสิทธิมนุษยชนต้นแบบ


โครงการพัฒนานักพุทธสิทธิมนุษยชนต้นแบบนี้สามารถเป็นต้นแบบการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีศักยภาพและสอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมไทย และควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน.

 15-17 พฤศจิกายน 2567 ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาจุฬาฯ วังน้อย ภายใต้  MoU ระหว่างสองสถาบัน IBSC ร่วมกับศูนย์สิทธิมนุษยชน ม.ออสโล ประเทศนอร์เว ทั้ง พระธรรมหรรษา ศ.ดร.อิสริน ดร.อีกิล และ ดร.เจนนี ศ.ดร.โสรัจ ดร.ศรีประภา ดร.สานุ ดร.บุญช่วย ได้ร่วมมือกันถอดบทเรียนองค์ความรู้แลัฝะประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อพัฒนาและฝึกอบรมนักพุทธสิทธิมนุษยชนต้นแบบในกลุ่มประเทศเอเชีย เพื่อออกไปทำงานรับใช้สังคม

 ตลอดระยะเวลาทั้ง 3 วันของการฝึกอบรมในหลักสูตร Co-Pilot Certificate on  Buddhism and Human Right นั้น จะเน้นทั้งภาคทฤษฏีที่เป็นองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนจากชุดความคิดหลักในพระพุทธศาสนา และ Universal Declaration of Human Right หรือกรอบคิดของปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ ทั้งการถอดบทเรียนการทำงานของวิทยาลัยในยุโรปและไทย รวมถึงการลงพื้นที่ศึกษาดูงานด้านพหุวัฒนธรรมสามความเชื่อทางศาสนาในจังหวัดอยุธยา 

 สิ่งที่น่าสนใจคือ เงื่อนไขการรับวุฒิบัตรจากสองมหาวิทยาลัยนั้น ผู้เรียนจะต้อง #นำธรรมไปทำ โดยการลงพื้นที่นำองค์ความรู้ไปทำงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วถอดบทเรียนออกมาเป็นบทความทางวิชาการผ่านการปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ มานำเสนอบนเวทีระดับนานาชาติอีกครั้ง ถ้าผลงานเป็นไปตามเกณฑ์ก็จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และรับวุฒิบัตรผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในหลักสูตรนี้

 ข้อสังเกตประการหนึ่งจากการประเมินผู้สนใจ๋านการคัดเลือก จำนวน 30 รูปคน  คือ ส่วนใหญ่จะมาจากประเทศจีน รองลงมาคือพม่า และเวียดนาม ส่วนประเทศไทยผ่านการคัดเลือกมาเรียนเพียงพระรูปเดียวเท่านั้น เหตุผลที่สอบถามพบว่าสอดรับกันคือ ประเทศจีนนั้น คนรุ่นใหม่ ทั้งพระและฆราวาสตื่นตัวสนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนค่อนข้างมาก อึกทั้งเทศพม่าเองก็กำลังเผชิญหน้ากับการตั้งคำถามว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน หนึ่งในผู้เรียนมาจากรัฐยะไข่ด้วย

 สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย แม้จะมีองค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จัดการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งมหิดล ธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์ รวมถึงหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ ที่ทุ่มเททำงานด้านนี้ และสนใจศึกษาพัฒนาต่อยอดนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติ 

 อย่างไรก็ตาม นักวิชาการจากนอร์เวที่เติบโตในประเทศที่ใส่ใจด้านสิทธิมนุษยชนมายาวนานก็ยังมองว่า การ Implement กรอบคิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยังมีน้อย และหลายเรื่องยังต้องกระตุ้นให้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นจริงเป็นจังให้เป็นรูปธรรมต่อไป 

 ถึงกระนั้น สิ่งที่นักวิชาการและนักปฏิบัติจากนอร์เวก็ยังมองอย่างเข้าใจเช่นกันว่า ด้วยเหตุที่บริบท และประวัติศาสตร์ที่ต่างกันของสองประเทศ ก็เป็นเหตุให้เข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดสิทธิมนุษยชนในไทยจึงมีพัฒนาการเช่นนั้น แต่ท่านเหล่านี้ก็ย้ำว่า บริบทเหล่านี้ไม่ควรเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้สังคมไทยละเลยการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมกับเพื่อนร่วมสังคม และควรนำประเด็นสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมไทย



วิเคราะห์ปั้นนักพุทธสิทธิมนุษยชนต้นแบบ 

1. ความเป็นมาและสภาพปัญหา

การฝึกอบรมและพัฒนานักพุทธสิทธิมนุษยชนต้นแบบเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง IBSC (International Buddhist Studies College) และศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เว โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในบริบททางพุทธศาสนา การสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้มนุษยชาติดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข ทว่า ปัจจุบันในสังคมไทยและภูมิภาคเอเชียยังประสบกับปัญหาความเข้าใจที่จำกัดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในแง่ของการปฏิบัติจริง หลายประเด็นยังไม่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน

2. หลักการและอุดมการณ์

หลักการของการพัฒนานักพุทธสิทธิมนุษยชนต้นแบบ คือการนำหลักพุทธธรรม อาทิ เมตตา กรุณา และสติ มาประยุกต์ใช้ร่วมกับกรอบคิดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากล เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่เป็นธรรม อุดมการณ์ของโครงการนี้มุ่งเน้นการปั้นผู้นำที่สามารถเชื่อมโยงและถ่ายทอดคุณค่าด้านสิทธิมนุษยชนผ่านมุมมองพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่อยู่ร่วมกันด้วยความเคารพในสิทธิและเสรีภาพของทุกคน



3. วิธีการและแผนยุทธศาสตร์

การอบรมในหลักสูตร Co-Pilot Certificate on Buddhism and Human Rights เน้นทั้งการให้ความรู้เชิงทฤษฎี การฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการลงพื้นที่ โดยผู้เข้าอบรมต้องนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ยังมีแผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ยั่งยืน

4. โครงการและผลกระทบต่อสังคมไทย

การอบรมนี้ส่งผลให้เกิดนักพุทธสิทธิมนุษยชนรุ่นใหม่ที่สามารถถ่ายทอดและใช้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในทางปฏิบัติ การลงพื้นที่เพื่อศึกษาพหุวัฒนธรรมและการเผชิญหน้ากับความหลากหลายทางศาสนาช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขและลดการเลือกปฏิบัติ โครงการนี้มีศักยภาพในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมความเข้าใจสิทธิมนุษยชนที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและศาสนาของไทย

5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา - ควรขยายความร่วมมือในระดับสากลเพื่อเพิ่มความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในบริบทพุทธศาสนาให้กว้างขวางขึ้น

ปรับใช้หลักพุทธธรรมในสังคมไทย - นโยบายควรมุ่งเน้นการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและปราศจากการเลือกปฏิบัติ

กระตุ้นความสนใจและพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่ - ควรจัดให้มีการฝึกอบรมและเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างนักพุทธสิทธิมนุษยชนที่มีคุณภาพและสามารถปฏิบัติงานในสังคมได้จริง

สร้างแผนยุทธศาสตร์ที่ยั่งยืน - ควรกำหนดเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่เคารพในสิทธิมนุษยชน โดยอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นแนวทางสำคัญ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยวางกรอบโครงสร้างหนังสือนิยายอิงธรรมะเรื่อง "เขียนธรรม"

ช่วยเขียนเนื้อเรื่องจำนวน 3 หน้ากระดาษA4 " บทที่ 8: การลงพื้นที่เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจ สันติสุขและมะปรางร่วมทำโครงการเกษตรอินทรีย์ การทด...