วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จากใจมหาจ่อย ลายพราง

ขอบคุณเพื่อนที่ช่วยผ่านอีกหนึ่งปี
ขอบคุณเจ้าหนี้ที่ยังผ่อนผัน
ขอบคุณอุปสรรคนานาเป็นแรงผักดัน
ขอบคุณสองบุตรีนั้นเป็นธงชัยให้พ่อเดิน

ปีใหม่นี้มหาไม่มีพรใดจะมอบให้
ปรารถนาสิ่งใดจงเร่งขวนขวาย
เศรษฐกิจแย่จะเข้าสู่จุดอันตราย
พอเพียงไซร้เป็นศาสตร์ที่พ่อวางให้ลูกไทยเดิน

หากผองไทยเดินตามมนี้มีสุขแน่
เมื่อมั่งมีจงรู้จักเผื่อแพร่ผู้ขัดสน
เขาก็คือเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ถึงคราวอับจน
นี้คือหนึ่งในพระศาสตร์พระราชา

ขาดเติมให้เต็มพระพรหมบัณฑิตกล่าว
เต็มให้รู้จักพอพระพรหมบัณฑิตไขขาน
พอให้รู้จักแบ่งพระพรหมบัณฑิตได้จาน
แบ่งต้องเป็นธรรมพระพรหมบัณฑิตระบุไว้นี้คือหัวใจพระศาสตร์พระราชา

โลกนี้ผันแปรไม่แน่นอน
เปรียบได้ดังก้อนเมฆบนท้องฟ้า
ห้าสิบปีในชีวิตที่ผ่านมาหาใช่อะไร
หากแต่คือความฝันอันยาวนาน
ค่ำคืนนี้ละอองฝนโปรยแผ่วบาง
ภายในกระท่อมอันเดียวดาย
ฉันกระชับเสื้อคลุมแนบกาย
พิงหน้าต่างที่ว่างเปล่าอยู่คนเดียวเงียบๆ

:เรียวกัน
:สมภาร พรหมทา แปล
มหาจ่อย ลายพรางนำมาแบ่งปัน

ขอบคุณฟ้าเบิกเนตร
ปัดเศษธุลีในตาฉัน
แจ่มกระจ่างโดยพลัน
วันผันผ่านล้วนมายา

ไม่อาฆาตไม่โกรธไม่แค้น
ขอเธอเสพสุขในแดนสรวง
ที่ผ่านมาคือความหลอกลวง
ขอเธอจงหลุดบ่วงแห่งอาย

มองด้วยความว่าง
เดียวมันก็จะสว่าง
หนามที่ขวางทาง
มลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์

ฝุ่นเกาะกาย
เป่าจางหาย
ลูบเกาะกาย
เป่าหรือลูบดี

เศษไม้อาจด้อยค่า
อยู่กับคนอัพปัญญาไร้ความหมาย
ปราชญ์เมธีตาเป็นประกาย
เจียรวิจิตรประดับกาย

รอยเท้าบนพื้นทราย
ใครนะย้ำก็จางหาย
จะย้ำกี่ครั้งก็พลันมลาย
ชั้งน้อยใจใครนะชั้งขยันย้ำจริง

มามามาดื่มกันเพื่อน
มาดื่มภาษีช่วยชาติ
ดื่มมากน้อยมิชังชาติ
มารินรักชาติของจริง

อ้าวชนแก้วหน่อยเพื่อน
จะได้ลืมเลือนสิ่งเก่าเก่า
ไม่นานคงได้เห็นนงเยาว์
ตื่นมาอีกทีอ๋อพี่ฝันไป

จิบนี้ขอลืมเธอให้สนิท
จิบอีกนิดขอลืมเธอให้จางหาย
จิบถี่ถี่หัวใจพี่มันมลาย
จิบไม่ต้องกระดกเลยเพื่อลืมเธอ

จอกสามเริ่มตาเยิ้ม
จอกสี่เริ่มเคลิ้มหนา
จอกห้านึกถึงแก้วตา
จอกหกกระดกหมดไหเลย

วันนี้เมาน้ำชากีฬาวัจน์
เมาให้มันชัดชัดนะวันนี้
มีอะไรก็ได้แถลงเปล่งวจี
ปีใหม่นี้จะเป็นคนดีของใครกัน

จะกินต่อหรือจะพอเท่านี้
นี่ก็หมดขวดที่สี่แล้วหนา
ขวดห้าคงจะสร้างคาตา
ใครหนอจะช่วยจ่ายตงค์

สังคมไทยก็มีประมาณนี้
เทศกาลปีใหม่หากินได้
ตรูจะกินมันหนักหัวใคร
ฟ้าวันใหม่แม่ขอตังค์ค่ารถแน่



วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562

"มจร"วิทยาเขตขอนแก่นขอเชิญร่วมสร้าง"นักปราชญ์"เป็นผู้นำชุมชนเข้มแข็ง



วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2562  พระครูปริยัติธรรมวงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นสืบเปิดเผยว่า เนื่องจากความเข้มแข็งของชุมชน ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของผู้นำ ความเข้มแข็งของผู้นำ ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของศีลธรรม
ผู้นำที่ใช้ศีลธรรมนำชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่จนเป็นแบบอย่างที่ผู้ตามยอมรับและเสียสละตน เรียกผู้นำเช่นนี้ว่า "ปราชญ์"  การผลิตนักปรัชญา ภายใต้ความเชื่อที่ตรงกับพระพุทธศาสนาว่า ผู้เป็นปราชญ์เท่านั้นที่จะเป็นผู้ปกครองสร้างความสุขสงบเย็นให้เกิดขึ้นกับตนและสังคมได้ ปัญหาจึงมีอยู่ว่า จะสร้างหรือเพิ่มปราชญ์ให้กับชุมชนสังคมให้มากขึ้นกว้างขวางขึ้นได้อย่างไร

ชาวพุทธทุกคนล้วนเป็นหนึ่งพลัง ที่จะร่วมภาวนากับหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จึงขอเชิญท่านและครอบครัว มาร่วมกับหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ผลิตปราชญ์ เติมปราชญ์ให้ชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความสุขเข้มแข็ง ผ่านโครงการสร้างศาสนทายาท หล่อพระเดินได้ต่อลมหายใจพระพุทธศาสนา รูปๆละ 6,000 บาท ต่อภาคการศึกษา 12,000 บาทต่อปีการศึกษา และตลอดหลักสูตร 4 ปี/8 ภาคการศึกษา 60,000 บาท หรือจะร่วมภาวนาตามกำลังจิตศรัทธา ก็ได้

"ทั้งนี้สามารถติดต่อร่วมบริจาคได้โดยดูรายละเอียดที่เฟซบุ๊ก Phra Dhammawong ของอาตมา" พระครูปริยัติธรรมวงศ์ระบุ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ใช้AIช่วยรายงานข่าวกึ่งอัตโนมัติ


เว็บไซต์ของสำนักข่าวบีบีซี (BBC) ได้ต่อยอดการใช้งานแพลต ฟอร์มการสร้างภาษาธรรมชาติ (Natural Language Generation หรือ NLG) ของ Arria ในการผลิตข่าวโดยอัตโนมัติเพื่อรายงานผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ของสหราชอาณาจักรภายใต้โครงการ Semi-Automatic Local Content (Salco)
          Arria NLG คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่แปลงข้อมูลเป็นภาษาเขียนหรือภาษาพูดซึ่งบอกรายละเอียดชัดเจนก่อน การเลือกตั้งครั้งนี้นักข่าวของบีบีซีได้สร้าง แม่แบบของข่าวจำนวนมากภายใต้โครงการ Salco โดยใช้ Arria NLG Studio ซึ่งครอบคลุมทุกความเป็นไปได้ของผลการ เลือกตั้งหลังจากปิดคูหาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนจะประมวลผลการเลือกตั้งโดยอัตโนมัติโดยใช้ Arria ในการผลิตเสียงบรรยายและบทความสำหรับทุกเขตการเลือกตั้งซึ่งได้รับการตรวจทานและแก้ไขโดยนักข่าวของบีบีซีก่อนการเผยแพร่
          สำนักข่าวบีบีซีได้ตีพิมพ์ข่าวท้องถิ่นจำนวน 689 บทความ โดยใช้เทคโนโลยี Arria NLG ประกอบด้วยคำทั้งหมด 100,000 คำในเวลาเพียง 10 ชั่วโมง เพื่อรายงานผลการเลือกตั้งแบบเรียลไทม์สำหรับเขตการเลือกตั้งทั้งหมด 690 เขตความรวดเร็วและความแม่นยำของเทคโนโลยีดังกล่าวในการผลิตบทความข่าวของแต่ละท้องถิ่นโดยอัตโนมัตินั้นช่วยให้บรรณาธิการและนักข่าวที่ต้องทำงานให้ทันเดดไลน์สามารถยกระดับขีดความสามารถในการผลิตข่าวและทำให้ผลิตข่าวสู่ตลาดท้องถิ่นต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

          ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 23 ธ.ค. 2562

สเต็ปสู่ “ผู้ช่วยเสมือน” “Thai NLP” AI อัจฉริยะภาษาไทย

          ปัญญาประดิษฐ์ : AI ภาษาไทยที่สามารถประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing : NLP) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อธนาคารกสิกรไทยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) พัฒนา “Thai NLP” นวัตกรรมการประมวลผลภาษาไทย ซึ่งเป็นการสร้างความสามารถให้คอมพิวเตอร์ได้เรียนรู้และวิเคราะห์ภาษาที่ซับซ้อนต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ ตั้งแต่ระดับคำ ระดับประโยค จนถึงระดับข้อความที่ใช้สื่อสารกัน
          “ขัตติยา อินทรวิชัย” กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้นำ Thai NLP มาใช้เพื่อสร้างความสามารถให้คอมพิวเตอร์ทำความเข้าใจข้อความที่ลูกค้าพิมพ์เข้ามาในระบบต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การตอบคำถามลูกค้าด้วยแชตบอตบนช่องทางโซเชียลมีเดียให้มีความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้น ทั้งการประมวลผลเพื่อทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง (customer insight) จากการเก็บความเห็นลูกค้า ซึ่งแต่ก่อนธนาคารต้องจ้างบริษัทภายนอกดำเนินการ และมีค่าใช้จ่ายสูงหลายล้านบาท ทั้งยังได้ความเห็นลูกค้าในปริมาณไม่มาก แต่ปัจจุบันธนาคารสามารถเก็บความเห็นลูกค้าได้ครอบคลุมทุกช่องทางของธนาคารอย่างรวดเร็ว นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงเป้าหมาย
          “Thai NLP ธนาคารได้ทดลองใช้งานระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงได้เห็นความก้าวหน้าของความสามารถในการแปลความหมายของภาษาไทยในเชิงลึกได้แม่นยำมากขึ้น น่าจะเป็นต้นแบบในการนำไปพัฒนาต่อยอดใช้งานสำหรับธุรกิจธนาคารและองค์กรอื่น ๆ ต่อไป”
          ทั้งยังสามารถต่อยอดให้ Thai NLP พัฒนาให้คอมพิวเตอร์ฉลาดได้ จนเป็น virtual assistant ผู้ช่วยเสมือนที่จะคอยช่วยเหลือลูกค้า
          รวมถึงช่วยวิเคราะห์และจัดการเอกสารและองค์ความรู้ของธนาคาร ช่วยคัดกรองผู้สมัครเข้าทำงานกับธนาคาร สรุปเนื้อหาสำคัญที่จำเป็นต่อการอนุมัติสินเชื่อออกมาจากเอกสารประกอบการขอสินเชื่อ รวมถึงยังสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบเอกสารสัญญาและธุรกรรมต่าง ๆ ได้ในอนาคต
          “ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย” ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า กว่า 30 ปีของเนคเทคได้ให้ความสำคัญและพัฒนางานวิจัยด้าน Thai NLP มาตลอด การสร้างความร่วมมือในครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐในการสร้างความเข้มแข็งของ Thai NLP ให้เป็นนวัตกรรมที่ทันต่อยุคสมัย AI ในปัจจุบัน
          ล่าสุดเนคเทค-สวทช.ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มบริการ AI ในชื่อว่า AI FOR THAI รองรับการประมวลผลภาษาไทย เสียง และรูปภาพ อาทิ การวิเคราะห์ความคิดเห็น (sentiment analysis) การสร้างแชตบอต (chatbot) การแปลเสียงพูดให้เป็นข้อความ (speech to text) การแปลข้อความให้เป็นเสียงพูด (text to speech) การวิเคราะห์ภาพ ใบหน้าและวัตถุ (face & object recognition) นักพัฒนาโปรแกรมสามารถเข้ามาทดลองใช้งานและร่วมพัฒนาบริการใหม่ ๆ เพื่อมาวางบนแพลตฟอร์ม AI FOR THAI ต่อไปได้
          “องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่ทาง KBTG วิจัยพัฒนาร่วมกับเนคเทค-สวทช. ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะโดยผ่านแพลตฟอร์ม AI FOR THAI เพื่อให้ AI ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทยต่อไป”

          ที่มา: www.prachachat.net
ไมโครซอฟท์ผนึกทุกภาคส่วน มุ่งสร้างอนาคตไทย ยุคAI


          ไมโครซอฟท์ เดินหน้าสร้างอนาคตยุค AI เพื่อคนไทย จับมือทุกภาคส่วน วางรากฐานการพัฒนา แนวทางการปฏิรูป และการเพิ่มทักษะให้บุคลากรทุกระดับ เปิดโอกาสให้กับทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล
          นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าจากผลสำรวจช่วงต้นปี 2562 ที่ผ่านมา ระบุว่ามีองค์กรในไทยเพียง 26% เท่านั้น ที่ได้นำ AI เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในกลยุทธ์ทางธุรกิจสำหรับอนาคต ไมโครซอฟท์จึงได้ลงนามในความร่วมมือกับหน่วยงานมากมาย เพื่อปูทางไปสู่ก้าวต่อไปที่แข็งแกร่ง สมบูรณ์ และสมดุล ในการพัฒนาเชิงนวัตกรรมดิจิทัลของไทยในปี 2563 ไม่ว่าจะเป็นในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนา การศึกษา หรือสังคม
          ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) เพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา AI ขึ้นในประเทศไทย ภายใต้จุดมุ่งหมายสูงสุดในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยในระยะแรก ศูนย์วิจัยแห่งนี้จะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับภาคการ เกษตรและการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ให้เป็นรูปธรรม
          "การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ให้กลายเป็นองค์ประกอบที่สร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเต็มที่นั้น ต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งในทุกระดับ การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา AI แห่งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางให้ไมโครซอฟท์สามารถนำแนวทางปฏิบัติที่ผ่านบทพิสูจน์ความสำเร็จบนเวทีโลกมาแบ่งปันให้นักคิดไทยได้นำไปปรับใช้เท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีที่เชื่อมโยงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญในวงการเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา หรือแม้แต่นักลงทุน ให้ผสานกันเป็นระบบนิเวศเชิงนวัตกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น"
          ศูนย์วิจัยและพัฒนา AI นี้ จะประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.National AI Platform บนแพลตฟอร์มคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ที่เป็นรากฐานสำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรม บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัพ และสนับสนุนงานวิจัย AI  2. Innovation Hub ศูนย์กลางการพัฒนาโครงการเชิงนวัตกรรมให้ก้าวจากแนวคิดสู่ความเป็นจริง เฟ้นหาจุดตั้งต้นที่เหมาะสมในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถก้าวข้ามความท้าทายที่คนไทยยังต้องเผชิญ และให้การสนับสนุนในการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ 3. Education & Talent Development การวางโครงสร้างแพลตฟอร์ม เครื่องมือ และคอนเทนต์ต่างๆ ที่จะเสริมสร้างความเข้าใจทางธุรกิจและเทคโนโลยีอย่างสอดคล้องกัน จนเกิดเป็นบุคลากรคุณภาพที่พร้อมผลักดันโครงการเชิงนวัตกรรมไปสู่จุดหมาย
          4. National AI Cluster ศูนย์กลางสำหรับนักคิดนักพัฒนาจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ที่เปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันคิด คัดเลือก และต่อยอดนวัตกรรม AI ไปสู่ผลงานที่เป็นรูปธรรม โดยในระยะแรกจะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมภาคการเกษตรด้วยโซลูชัน FarmBeats ซึ่งเป็นการยกระดับศักยภาพของเกษตรกรด้วยข้อมูล และ 5. Incubator พื้นที่สำหรับหน่วยงาน องค์กร และนักลงทุนที่ต้องการสนับสนุนและบ่มเพาะสตาร์ตอัพหน้าใหม่ให้เติบโต
          ในปี 2563 นี้ ไมโครซอฟท์และสถาบันเศรษฐกิจอนาคตและธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จะร่วมกันเสริมสร้างความเข้าใจในนวัตกรรม AI ให้กับกลุ่มผู้นำและผู้บริหารระดับสูงทั่วไทย ผ่านทางโครงการ e-Training ในหลักสูตร AI Business School ซึ่งไมโครซอฟท์ได้พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างพื้นฐานให้ผู้นำยุคใหม่สามารถกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรในโลกยุค AI
          ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
          (อว.) ประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิจัยเชิงเทคโนโลยีให้กับทั้งนักเรียนนักศึกษา นักวิจัยใน 25 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดของกระทรวงอว. โดยนำแพลตฟอร์มคลาวด์ระดับโลกเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ 2 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Microsoft Imagine Academy แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา ที่มีเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับการสอบใบประกาศนียบัตรวิชาชีพไมโครซอฟท์ และ Microsoft Learn แหล่งทรัพยากรเรียนรู้ทักษะเชิงดิจิทัลแบบเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
          นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้สานต่อความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภายใต้โครงการ "การขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล" (Digital Transformation in Education) ซึ่งครอบคลุมถึงการวางกรอบโครงสร้างเพื่อปรับรูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี การยกระดับทักษะความสามารถเชิงดิจิทัลของบุคลากรครู และร่วมจัดทำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา เพื่อจัดหลักสูตรอบรมทักษะเชิงดิจิทัลให้กับครูอาจารย์ 500 ท่านจาก 500 โรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอด ทักษะดังกล่าวจากบุคลากรครูไปสู่นักเรียนระดับมัธยมศึกษากว่า 50,000 คน


          'การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ให้กลายเป็นองค์ประกอบที่สร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเต็มที่นั้น ต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งในทุกระดับ

          ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 - 28 ธ.ค. 2562

ไมโครซอฟท์ผนึกเอ็ตด้าดัน “หลักสูตรเอไอ”


          จะเริ่มเปิดหลักสูตรอบรมแบบอี-เทรนนิ่งตั้งแต่เดือน ม.ค.2563 เป็นต้นไป
          ไมโครซอฟท์ ผนึกสถาบันเศรษฐกิจอนาคตและธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต สังกัดเอ็ตด้า ดันหลักสูตรระดับโลก "เอไอ บิซิเนส สคูล"ปูพื้นฐานเทคโนโลยีเอไอ เจาะกลุ่มผู้นำองค์กรผู้บริหารธุรกิจระดับสูงในไทยเข้าใจกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยเอไออย่างลึกซึ้งผ่านคอร์สอบรมแบบอี-เทรนนิ่ง
          นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า ได้ร่วมกับสถาบันเศรษฐกิจอนาคตและธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต (Future Economy and Internet Governance - FEGO) โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. (ETDA) นำหลักสูตรระดับโลกเอไอ บิซิเนส สคูล (AI Business School) มาปูพื้นฐานเทคโนโลยีเอไอให้ผู้นำองค์กรและผู้บริหารธุรกิจระดับสูงในไทยสามารถทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งเชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเอไอการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับนวัตกรรม และการผลักดันทุกภาคส่วนให้ก้าวสู่ยุคแห่งเอไอบนพื้นฐานของจริยธรรมและความรับผิดชอบ
          โดยปัจจุบันเทคโนโลยีเอไอมีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรมและธุรกิจ แต่ขณะเดียวกัน นวัตกรรมที่เปี่ยมศักยภาพนี้ก็มาพร้อมกับความท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับใช้เอไอในการบริหารจัดการผู้นำองค์กรรุ่นใหม่จึงต้องเข้าใจพลังของเทคโนโลยีพลิกโฉมนี้อย่างแท้จริง และสามารถนำองค์กรก้าวเข้าสู่ยุคแห่งเอไอได้อย่างมั่นใจ
          ไมโครซอฟท์ได้ออกแบบเนื้อหาหลักสูตรอบรมอย่างเข้มข้น เพื่อให้ผู้นำองค์กร หน่วยงาน และธุรกิจสามารถนำองค์ความรู้ ข้อมูลเชิงลึก เครื่องมือ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปต่อยอดในการกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง เนื้อหาหลักสูตร ยังมุ่งผสมผสานการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ (Multi-disciplinary) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละองค์กรและธุรกิจ ตั้งแต่การแพทย์ ธุรกิจค้าปลีก ภาคการผลิต การศึกษา ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบัน FEGOพร้อมให้นำไปต่อยอดสู่ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายที่ดี และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
          ทั้งนี้ เนื้อหาของหลักสูตรครอบคลุม 4 หัวข้อสำคัญ คือ 1. AI Strategy การวางโครงสร้างแนวคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อกำหนดบทบาทของเอไอในการวางกลยุทธ์ขององค์กรแบบองค์รวม ตั้งแต่ด้านความเป็นผู้นำ พฤติกรรม และศักยภาพของบุคลากรในองค์กร2. AI Culture การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เปิดรับเทคโนโลยีเอไอในทุกด้าน และส่งเสริมให้ทุกแผนก ทุกตำแหน่งร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรด้วยเอไอซึ่งรวมไปถึงแผนกอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่นฝ่ายบัญชี การตลาด การจำหน่าย และบริการลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในองค์กรเช่นเดียวกัน
          3.Responsible AI ศึกษาวิเคราะห์บทบาทและผลกระทบที่จะเกิดจากการใช้เอไอในมิติของภาครัฐและองค์กรธุรกิจ ผ่านการศึกษาคู่มือแนะนำ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถกำหนดหลักการด้านจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติด้านการใช้เอไอในองค์กรบนพื้นฐานของธรรมาภิบาล รวมไปถึงเรียนรู้การจัดการทรัพยากร ข้อเสนอแนะ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
          4.Technology of AI การเรียนรู้เทคโนโลยีล่าสุดเกี่ยวกับเครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่เกี่ยวกับเอไอเพื่อนำไปใช้บรรลุเป้าหมายในการทำงานและสร้างผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับองค์กรและธุรกิจ
          โดยเอ็ตด้าและไมโครซอฟท์จะเริ่มเปิดหลักสูตรอบรมแบบอี-เทรนนิ่งตั้งแต่เดือน ม.ค.2563 เป็นต้นไปเริ่มจากกลุ่มธุรกิจการเงิน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 ม.ค.2563 ที่เอ็ตด้าภายใต้หัวข้อ "AI ในภาคธุรกิจการเงิน" และตามมาด้วยกลุ่มสาธารณสุขและการแพทย์ เริ่มเดือน ก.พ. กลุ่มธุรกิจค้าปลีก เริ่มเดือน มี.ค. ภาคการผลิตเริ่มเดือนเม.ย. กลุ่มการศึกษา เริ่มเดือน พ.ค.หน่วยงานภาครัฐ เริ่มเดือน มิ.ย.

          ที่มา: www.bangkokbiznews.com

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เรียนรู้โลกยุค AI ผ่าน 'ไมโครซอฟท์'ที่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำเร็จแล้ว



          ไมโครซอฟท์ ถือว่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบของ Digital Disruption ตั้งแต่ในยุคที่ธุรกิจหลักของไมโครซอฟท์คือการจำหน่ายไลเซนส์ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และชุดเครื่องมือในการทำงานอย่างไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ที่เผชิญปัญหาตลาดพีซีทั่วโลกหดตัวลง
          ในช่วงเวลานั้น หลายๆ คนอาจมองว่าถึงคราวที่จะสิ้นสุดยุคของไมโครซอฟท์แล้ว ทั้งจากคู่แข่งอย่างแอปเปิล และกูเกิล ที่เริ่มนำเสนอเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้ และกินตลาดไอทีเข้ามาเรื่อยๆ ในสภาพของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก
          แต่ในที่สุด ไมโครซอฟท์ สามารถกลับมาเติบโตได้อย่างสวยงาม จากการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำธุรกิจมุ่งไปสู่การให้บริการคลาวด์ ด้วยการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนช่องทางการหารายได้ในธุรกิจที่ไม่เติบโตอย่างการจำหน่ายลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมต่างๆ สู่การให้บริการในรูปแบบของจ่ายตามจริง หรือการนำโมเดลแบบบอกรับสมาชิกมาใช้งาน
          จนทำให้เกิดการให้บริการคลาวด์ และการนำ AI มาใช้เพื่อให้บริการโซลูชันต่างๆ แก่ลูกค้า ทั้งในส่วนของการใช้งานทั่วไป และในภาคธุรกิจที่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งรายได้หลักของไมโครซอฟท์ไปเรียบร้อยแล้ว
          หนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของไมโครซอฟท์ ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล คือบุคลากรที่กลายเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าภายในไมโครซอฟท์ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานให้เข้ากับยุคสมัยเช่นกัน รวมถึงการนำคอนเซ็ปต์ของสำนักงานยุคใหม่มาใช้งาน
          โดยล่าสุดได้ปรับเปลี่ยนสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในสิงคโปร์ ให้เป็นสำนักงานแบบเปิดมากขึ้นเพื่อให้พนักงานได้พูดคุย และทำงานร่วมกัน รวมถึงใช้เพื่อรับรองลูกค้าที่จะกลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในอนาคตด้วย และยังเป็นสถานที่ที่นำเทคโนโลยีต่างๆ ของไมโครซอฟท์ มาใช้งานจริง
          AI เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ไมโครซอฟท์ กลับมาแข็งแกร่ง
          แอนเดรีย เดลลา แมทเทีย ประธานไมโครซอฟท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า จุดเปลี่ยนสำคัญของไมโครซอฟท์ในช่วงที่ผ่านมาคือการนำ AI เข้ามาเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการพัฒนาไป พร้อมๆกับการเรียนรู้จากลูกค้า และองค์กรที่ใช้งานเพื่อให้เกิดการศึกษา และต่อยอดอย่างต่อเนื่อง
          สิ่งที่ไมโครซอฟท์ได้เรียนรู้จากการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน และทำการสรุปออกมาเป็น 5 ประโยชน์สำคัญคือ ช่วยสร้างรายได้ให้เติบโตขึ้น งานที่ทำมีโปรดักทิวิตี้มากขึ้น สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ หรือบริการมาช่วยสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญที่สุดคือช่วยทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
          ไมโครซอฟท์ ได้เปรียบหลายๆ ธุรกิจคือมีฐานลูกค้าที่ใช้งานไมโครซอฟท์อยู่ทั่วโลก ทำให้สามารถนำดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อเรียนรู้ข้อมูลในเชิงลึกได้ทันที ซึ่งปัจจุบันกว่า 95% ของ
          บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 มีการใช้งานคลาวด์ของ
          ไมโครซอฟท์อยู่ด้วย ข้อมูลจาก ไอดีซี ระบุว่า ธุรกิจ
          ในเอเชียแปซิฟิกกว่า 82% ระดับผู้นำมีแผนที่จะ
          ลงทุนพัฒนา AI มาใช้งานภายใน 3 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันจำนวนงานที่เกิดขึ้นจากการทำทรานส ฟอร์เมชันก็จะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว อย่างไรก็ตามกว่า 54% ขององค์กรธุรกิจในเอเชียยังไม่ได้เริ่มลงทุนนำ AI มาใช้งาน
          เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟท์ ที่ต้องการเพิ่มศักยภาพของทั้งบุคคล และองค์กรทั่วโลกให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ จึงเริ่มทยอยนำเคสการประยุกต์ใช้คลาวด์ และ AI ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ และต่อยอดแนวทางการนำ AI ไปใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้
          คำถามที่ตามมาเมื่อมีการนำ AI มาใช้งาน คือคนส่วนใหญ่จะตกงาน หรือถูกหุ่นยนต์แย่งอาชีพไปหรือไม่ ทางไมโครซอฟท์กลับให้มุมมองที่น่าสนใจว่า จากการคาดการณ์ของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัม ระบุว่า ภายในปี 2022 งานกว่า 75 ล้านตำแหน่งจะหายไปจากการแทนที่ของ AI แต่จริงๆแล้วมีตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้นถึง 133 ล้านตำแหน่ง
          แปลว่าจริงๆ แล้ว AI ไม่ได้เข้ามาแทนที่ แต่ช่วยทำให้เกิดงานตำแหน่งใหม่ๆ ที่มนุษย์สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ถ้ามีการเรียนรู้ และที่สำคัญคือไม่ว่าใครก็สามารถเรียนรู้สกิลของ AI ในงานที่เกี่ยวเนื่องได้ ถือเป็นการอัปสกิลของบุคลากรที่ทำให้สร้างโอกาสทางธุรกิจต่อไปในอนาคต
          โชว์เคสเทคโนโลยี
          ด้วยการที่ไมโครซอฟท์ ใช้สำนักงานแห่งใหม่นี้เป็นทั้ง Experience Center Asia เพื่อให้พันธมิตรทางธุรกิจในเอเชียสามารถเข้ามาเรียนรู้ และศึกษาการนำโซลูชันของ
          ไมโครซอฟท์ไปใช้งาน ทำให้
          มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนมา
          จัดแสดงเทคโนโลยีให้แก่
          คู่ค้า โดย Experience
          Center ที่สิงคโปร์
          ถือเป็นแห่งที่ 3 ถัดจากที่สำนักงานใหญ่ในเรดมอนด์ และซิลิคอนวัลเลย์ ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐฯ และถือเป็นแห่งแรกในภูมิภาคนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ของ Microsoft Cybercrime Center ในภูมิภาค
          เอเชียที่ไว้คอยสอดส่องภัยคุกคามทางไซเบอร์
          ภายในภูมิภาคนี้
          สำหรับโชว์เคสที่ไมโครซอฟท์ นำมาจัดแสดงให้ดูจะมีทั้งการนำชุดโปรแกรมไปใช้ในอุตสาหกรรมการเงิน และธนาคาร จากจุดเด่นในเรื่องของความปลอดภัย นำเทคโนโลยี AI ไปช่วยประมวลผลทางการแพทย์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของคนไข้ ระบบการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ในการสำรวจ
          พื้นที่ การนำโซลูชัน AI ไปใช้
          เพื่อควบคุมอาคาร สำนักงาน
          จนถึงโรงงานอุตสาหกรรม
          เพื่อช่วยประหยัดการใช้
          พลังงาน จนถึงเพื่อ
          ความปลอดภัยสาธารณะ
          ในส่วนของค้าปลีกไมโครซอฟท์ ได้มีการพัฒนาโซลูชันสำหรับร้านค้าในอนาคต อย่างป้ายบอกราคาดิจิทัลที่สามารถปรับเปลี่ยนได้จากส่วนกลาง การนำระบบมาช่วยบริหารจัดการคลังสินค้า ร่วมกับกระจกอัจฉริยะในการแสดงข้อมูลสินค้าให้ลูกค้าเลือกซื้อได้ทันที หรือแม้แต่ในโรงงานอุตสาหกรรมที่นำเครื่องจักรมาช่วยในการขนถ่ายสินค้า ซึ่งสามารถนำ AI มาใช้ในการโปรแกรมเส้นทางขนส่ง รวมถึงการป้องกันอันตรายในกรณีที่พบเจอคนเดินผ่านเครื่องจะหยุดทำงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทันที หรือการนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลทางเกษตรกรรมต่างๆ ก็สามารถทำได้
          เรียกได้ว่า ถ้าธุรกิจใดที่สนใจนำ AI มาใช้งานแล้วยังไม่เห็นภาพว่าสามารถนำมาใช้อะไรกับธุรกิจได้บ้าง ก็จะช่วยให้ได้เห็นการนำไปใช้งานจริง เพื่อต่อยอดให้เกิดการนำ AI ไปใช้งานในอนาคตได้ทันที

          ที่มา: นสพ.ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา ฉบับวันที่ 21 - 27 ธ.ค. 2562

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่๒-๒.๑.๓ สภาพปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแผ่ของพระสงฆ์


บทที่๒-๒.๑.๓ สภาพปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแผ่ของพระสงฆ์ 

"บิ๊กตู่" ปลุกคนไทยรู้เท่าทันสื่อ ไม่เป็นเหยื่อ "โลกโซเชียล" http://www.banmuang.co.th/news/crime/82786 วันนี้ (9 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ว่า สำหรับการใช้ “สื่อโซเชียล” เห็นว่าควรสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง สำหรับการใช้ชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์ ใช้สติปัญญา มีวิจารณญาณที่ดีไม่ตกเป็น “เหยื่อ” ของการปลุกระดมความขัดแย้ง ถูกใช้ประโยชน์โดยคนบางกลุ่มที่อาจจะมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นเหยื่อของการหลอกลวง การลงทุนแชร์ลูกโซ่ การซื้อขายของที่ไม่มีคุณภาพ มีการโฆษณาเกินจริง การสร้าง “จุดขาย” ยกให้เป็น “ไอดอล” ของคนบางประเภท ทั้งที่ไม่เหมาะสม และสร้างค่านิยมผิด ๆ ทำให้สังคมไทยมีปัญหา นำไปสู่ “สังคมที่เสื่อมทราม" ส่วนการสื่อสารระดับชาติ ที่มีสื่อมวลชนเป็น “ตัวกลาง” เราต้องยอมรับความจริง และต้องให้ความสำคัญทั้งในเรื่อง “ความเป็นกลาง” และ “ความน่าเชื่อถือ” ของสื่อฯ โดยต้องวิเคราะห์ก่อนเสมอ ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือ “วิจารณญาณ” และ “จรรยาบรรณ” ในการทำหน้าที่ของสื่อ 

เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับ “การสื่อสารสร้างชาติ” ให้มากขึ้น ในทุกระดับ โดยเริ่มจากสถาบันพื้นฐานทางสังคม บ้าน-วัด-โรงเรียน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับสังคม คือ “ความรู้คู่คุณธรรม” ไม่ให้กลายเป็นสังคมที่สื่อสารกันอย่างไร้สาระ ผิดเพี้ยน เกิดความมักง่ายในการใช้ภาษา และการสื่อสาร อีกทั้งในการเสพสื่อนั้น อยากให้คนไทยได้คิดและตัดสินใจด้วยปัญญา หาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมรอบด้าน ใช้ “การคิดวิเคราะห์” พิจารณาให้ครบถ้วน ไม่ใช่เอาผลประเมินเล็กน้อย มาทำให้กระบวนการมีปัญหา เสียรูปขบวน วันนี้เราต้องคิดแบบมีวิสัยทัศน์ ลงรายละเอียดในทุกประเด็นของปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งทุกอย่าง มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็น “ห่วงโซ่” ดังนั้น เราต้องบูรณาการกัน รวมถึงสื่อแขนงต่าง ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่สามารถช่วยให้การแก้ปัญหาของประเทศ ประสบความสำเร็จได้ สื่อมวลชนจะต้องตระหนัก และกำหนดบทบาท สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ว่าจะทำร้ายประเทศ ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือจะสร้างสรรค์สังคม 

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา(คปพ.) เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2561 เพื่อให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาระยะปี 2560-2564 บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งมีโครงการเชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 14โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาสู่สังคม 2.โครงการยกระดับหมู่บ้านรักษาศีล5 3.โครงการวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ 4.โครงการยกระดับการศึกษาพระปริยัติธรรม 5.โครงการส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือ ข่าย 6.โครงการพัฒนาระบบบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 7.โครงการนวัตกรรมเชิงพุทธ 8.โครงการยกระดับขีดความสามารถศาสนบุคคล 9.โครงการศูนย์รวมองค์ ความรู้ด้านพระพุทธ ศาสนา 10.โครงการบริหารศาสนสมบัติระบบการเงิน-บัญชี 11.โครงการสาธารณสงเคราะห์เพื่อสังคม12.โครงการพระพุทธศาสนา4.0ฐานข้อมูลศาสนบุคคล (Smart Card) 13.โครงการวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส และ14.โครงการพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก(มส.เห็นชอบ14 โครงการใหญ่ปฏิรูปกิจการพุทธ https://www.dailynews.co.th/education/600437) นั่นก็แสดงให้เห็นว่ามหาเถรสมาคมให้ความสำคัญกับการสื่อสารออนไลน์ โดยมองเห็นโทษของข้อมูลที่เผยแพร่ทางโลกดิจิตอลนั้นมีลักษณะเป็นมารคือมีทั้งจริงและไม่จริงเป็นภัย จะทำ อย่างไรที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นข้อมูลเชิงบวกที่เป็นประโยชน์ขึ้นไปในกระแสโลกดิจิตอลบ้าง (พระพรหมบัณฑิต - ไป" -เปิด"กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต"ถามหาคำพูดที่ยูเอ็น http://www.banmuang.co.th/news/education/91049) (แนวทางก็คือจะต้องมีการร่วมมือของชาวพุทธเป็นลักษณะเครือข่าย) ด้วยเหตุนี้มหาจุฬาฯจึงได้ลงทุนงบประมาณเป็นจำนวนมากด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการจัดการศึกษา กิจกรรมการเรียนสอน ทั้งสื่อการสอน การสอนและประชุมทางไกล ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีถูกลงมาก มหาจุฬาฯ จึงมุ่งที่จะนำพระไตรปิฏกฉบับสากล (Common Buddhist Text: CBT) มาพัฒนาต่อยอดเป็นสหบรรณานุกรม (Union Catalog of Buddhist Text:UCBT) โดยการสร้าง โปรแกรมดิจิตอล เพื่อแปรข้อมูลพระไตรปิฏกฉบับต่างๆ ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ชาวโลกสามารถ Search Engine เข้าถึงเนื้อหาที่เชื่อมโยงถึง กันเหมือนกัน Google" พระพรหมบัณฑิตระบุ พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวจการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ได้กล่าวว่า ปัญหาที่ตามมาใน ยุคดิจิทัลก็มีมาก มายเช่นกัน เราใช้การสื่อสารเพื่อเชื่อมกัน แต่นับวันความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และสังคมเริ่มเหินห่างกันมากยิ่งคนสนใจดิจิทัลแต่ไม่สนใจชีวิตของกันและกัน คนชอบที่จะเสพ มากกว่าที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ข้อมูลที่ท่วมทันแต่อยากที่จะแยกแยะอันไหนจริงและปลอม คนในสังคมจึงขัดแย้งเพราะข้อมูล และใช้ข้อมูล หรือบิดเบือนข้อมูลใส่ ร้ายด้วยข้อมูลที่ เป็นเท็จ โดยการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกัน ทางออกที่สำคัญคือ คือ การนำข้อมูลที่มากหมายและหลากหลายมาสร้างมูลข้อเพิ่ม Big Data จะไม่มีประโยชน์อันใด หากมนุษย์ไม่สามารถนำมาสร้างมูลค่า "เพิ่มและต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในเชิงบวก ในยุคดิจิตอลที่หมู่คนเห็นแก่ตัว ว้าเหว่ และเปลี่ยวเหงา และแปลกแยกกันในสังคม เราจึงควรใช้จุดเด่นเรื่องจิตใจของพระพุทธศาสนาไป พัฒนา และดูแลจิตใจ โดยการพัฒนาจิตใจให้ทัน และมองดิจิตอลแบบเสริมมูลค่ามนุษย์ แทนที่จะลดทอนคุณค่าของมนุษย์ โดยพัฒนาจาก Digital Mind ไปบูรณาการเชื่อมสมานโลก ในยุคดิจิตอล (Digital World) โดยใช้ทั้งสติกับสมาธิเข้ามาช่วยเติมจิตใจที่แปลกแยก ขาดชีวิตชีวาเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกัน แบ่งปัน (Caring&Sharing) ความสุขและความทุกข์ของกัน และกันตลอดไป" พระมหาหรรษา กล่าว (มส.หวั่นโพสต์มารว่อนสร้างเครือข่ายพุทธต้าน http://www.banmuang.co.th/news/politic/90892) ทั้งนี้พระพรหมบัณฑิต ได้กล่าวในทีประชุมว่า ในโลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร ? จากเทคโนโลยี จะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแผ่ธรรมะอย่าง ไร? ให้เกิดสติและปัญญา(มส.แนะชาวพุทธใช้ไอทีช่วยแผ่ธรรมะให้เกิดปัญญา http://www.banmuang.co.th/news/education/91126) ศีลข้อที่ 4 "เป็นหลักประกันสังคม" การพูดการสื่อสารที่สร้างความสามัคคี เพราะอาวุธที่ร้ายแรงที่สุด คือ วาจา พูดที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกัน ต่างคนต่างพูดในสิ่งที่ ไม่ดีของคนอื่น ก็ เกลียดชังกัน แม้แต่ระดับบ้านเมือง ก็มีการทำร้ายกันด้วยคำพูด วาจาสร้างความเกลียดกัน พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องการสื่อสารเพื่อสันติ คือ " จริง ไพเราะเหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา พระราชวรเมธี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย( มจร ) ("มจร-สอศ."ใส่ใจวัยใส ชูศีล 5 สร้างภูมิป้องเฮดสปีด http://www.banmuang.co.th/news/education/89082) พระพรหมบัณฑิต ครู มจร 4.0 พุทธคุณ ๓ เก่งปัญญาคุณ ดี กรุณาคุณ มีสุข วิสุทธิคุณ ด้วย ๔ ส "แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง เพื่อพัฒนาแบบ "พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา" มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พันธกิจของครู คือ สอนให้รู้ (ปริยัติ) ทำให้ดู (ปฏิบัติ) อยู่ให้เห็น ( ปฏิเวธ) (มส.ปลื้ม!ผลผลิตครู"มจร"ครบ"เก่ง ดี มีสุข" http://www.banmuang.co.th/news/education/86471) พระโสภณธรรมวาที ต้นแบบพระธรรมกถึก พระนักเทศน์ต้อง " ฝืน ฝึก ฝน " เราต้องค้น ต้องคิด ต้องเขียน ต้องพากพียร ต้องปฏิบัติ และต้องมี 5 บ. คือ " บริเวณ บริวาร บริขารบริกรรม บริการ และอย่าตัด 7 ต้น คือ " ต้นแบบ ต้นบุญ ต้นทุน ต้นคิด ต้นน้ำ ต้นไม้ ต้นตระกูล (มส.ยันหน้าที่ชาวพุทธชี้แจงคนโจมตีว่าร้าย http://www.banmuang.co.th/news/education/85751 แนะสร้างบทบาท"วัด-พระ"ใหม่สอดรับสังคมยุคดิจิทัล ลดบทบาท "เสก เป่า เงินทอน โพนทนา" http://www.banmuang.co.th/news/education/83371 สมเด็จฯประยุทธ์แนะเร่งทำพระไตรปิฏกดิจิทัลช่วยโลก http://www.banmuang.co.th/news/education/82802 วิจัย'มจร'ปลื้มเณร!ใช้มือถือถูกที่ถูกเวลา http://www.banmuang.co.th/news/education/82768 พระมหาหรรษา ธัมมหาโส (นิธิบุณยากร) ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา,วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC) ,สำนักงาน เลขานุการ(IABU) บรรยายถวายความรู้เรื่อง "ประสบการณ์ในการอยู่ต่างประเทศ" วิกฤตของโลก คือโอกาสของเรา(1) โลกดิจิทัล มนุษย์สมัยใหม่ โลกแห่งการแชร์ ไม่ต้องการครอบครอง หรือเป็นเจ้าของ แต่ต้องการใช้ของที่ดีที่สุด พระพุทธศาสนาคือของที่ดีที่สุด สอนให้ไม่ต้องการให้ครอบครองหรือไม่ต้องการให้เป็นเจ้าของ(2) โลกสมัยใหม่ โลกของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุล้น โลก เกิดน้อยกว่าตาย ผู้สูงอายุโดดเดี๋ยว ต้องการที่พึ่งพิง ต้องการโลกหน้า สนใจการความสงบ ความการเรื่องของภาพกายใจ (3) โลกกำลังเข้าสู่สงครามและความรุนแรง เป็นยุคมิคสัญญี ใช้ความรุนแรงในการจัดการความขัดแย้ง ขาดความอดทน ไม่สนใจเพื่อนรอบข้าง (4) โลกพึ่งพาเทคโนโลยี สนใจโทรศัพท์มากกว่าคนใกล้ตัว และพึ่งพาปัจจัยภายนอก เปลี่ยวเหงา เข้าไม่ถึงความสุขภายใน (5) โลกวัตถุนิยม เสพจนเซ เสพจนสำลัก เสพจนหัวปักหัวปำ กามสุขัลลิกานุโยค จนหนีไปปีนเขา ปฏิเสธวัตถุ ปล่อยวางวัตถุ หันไปหาความหมายของชีวิต (6) ผู้นับถือศาสนาเทวนิยมในโลก กำลังเผชิญหน้ากัน กลุ่มหนึ่งตีความศาสนาไปรับใช้วัตถุนิยม กลุ่มหนึ่งตีความศาสนาไปสนองตอบต่อสงครามและความรุนแรงศาสนาพุทธคือทางสายกลาง โอกาสของเราคืออะไร?? โลกต้องการสติ โลกต้องการสมาธิ โลกต้องการสันติ เรียนรู้กรรมฐาน ฝึกสมาธิ พัฒนาสติ ให้พอเพียง แล้วหยิบยื่นสิ่งที่เขาต้องการ สิ่งที่เขาโหยหา สิ่งที่เสริมสร้างคุณค่าภายใน เราจึงพัฒนาหลักสูตรพวกนี้ จับมือกับยุโรปอเมริกา ทำเรื่องพวกนี้ ฮังการี อังกฤษ นาโรปะหัวใจสำคัญในการทำงานพระธรรมทูตคือ "ปริยัติยอด ปฏิบัติเยี่ยม เปี่ยมกรุณา หยิบยื่นพุทธปัญญาแก่ชาวโลก" โดยการส่งสารแห่งสันติสุขแก่ชาวโลก ตามพุทธปณิธานที่ว่า "เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไป เพื่อความเกื้อกูน เพื่อความสุข เพื่อ อนุเคราะห์ชาวโลก" - แนะพระธรรมทูตยุคดิจิทัลร่วมสร้างโลกสันติhttp://www.banmuang.co.th/news/education/81688 มีผลงานวิจัยระบุชัดเจนว่า หากพระสงฆ์ล้าหลังเรื่องเทคโนโลยีหรือไม่มีการปรับตัวนำเทคโนโลยีไปใช้ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพระพุทธศาสนามีโอกาสที่จะค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมสมัย ใหม่ที่ผู้คนส่วนใหญ่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต หากปรับตัวอย่างเช่นพระนักเผยแผ่ธรรมะรูปหนึ่ง มีรูปแบบและวิธีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันไป เพราะได้แสดง บทบาทในฐานะนักสื่อสารมวลชน มีการบูรณาการเนื้อหาสาระให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันและใช้สื่อออนไลน์ให้เกิดประโยชน์(กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย https://info.rdi.ku.ac.th/ThailandResearch/?itemID=819903 พระอักขราภิศุทธิ์ ลูนละวัน [หัวหน้าโครงการ] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) ยังมีผลการวิจัยระบุด้วยว่า พฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊กของพระสงฆ์นั้นพบว่า การใช้ที่ไม่เหมาะกับกาลเทศะและไม่สอดคล้องกับสถานภาพและบทบาท ถือว่าเป็น พฤติกรรมการใช้ที่น่า กังวลมากที่สุด อย่างไรก็ตามสังคมต้องการเห็นการใช้ด้วยความสำรวม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบพระวินัยและตระหนักรู้ถึงความคาดหวังทางสังคมอยู่ตลอด เวลา(พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กของพระสงฆ์ไทย https://www.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/…/view/93422) การเขียนวิทยานิพนธ์ล้อตามโมเดลโดยเอาพุทธขึ้นก่อนตามด้วยแนวคิดอื่นตามด้วยกรณศึกษาคือสงฆ์ถามข้อมูลจากปิยวัฒน์มีการเผยแพร่หรือไม่ดูหนังสือพระสงฆ์ กับการเมืองหรรษามีองค์ประกอบอื่นๆค่อยใส่เข้าไป พุทธเริ่มด้วยมรรค๘สัมมาวาจา โอวาทปาฏิโมกข์ อนูปวาโท ศีล ๕ มุสา ปิสุณ ผรุส สัมพัปลาปะก็คือวาจาสุภาษิต จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานผลประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตาเป็น สาราณียธรรม เมตตาวจีกรรม เป็นสิ่งที่ก่อนให้เกิดความเจริญในอปริยหานียธรรม เป็นสิ่งที่เป็นมงคลสูตร๓๘ เป็นอุปกรณ์ในการผูกมิตร ขณะเดี่ยวกันหากใช้วาจาไม่ชอบก็จะเป็นมิจฉาวาจา เป็นสิ่งที่พุทธเจ้าทั้งหลายไม่แนะนำ เป็นการละเมิดศีลข้อ๔สำหรับสามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกา สำหรับพระภิกษุถ้าใช้วาจาอวดอุตรต้องอาบัติปาราชิก สังฆาธิเสส เป็นพุทธสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงและสงครามทั้งแนวทูตสันติและกระบวนการยุติธรรมเชิงสันติต่างก็ใช้วาจาแทบทั้งสิ้น การสร้างมูลค่ายุค๔.๐เป็นการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์สันติภาพ ประโยชน์ทั่วไปและสร้าสันติภาพ คุณธรรมหลักและเสริม ธรรมชาติของข่าว Smcmr Sมีคุณธรรมคือปัญญาจินตามยและภาวนามย เมตตากรุณา สติ โลกวิธู จักขุมา Mเนื้อหา 5w1h วาจาสุภาษิต Cช่องทางอายตนในนอก Mวจีสุจริต สัมมาวาวา พุทธลีลา เทศน์ โค้ช แหล่ อบรมเชิงปฏิบัติการ สอน Rสติ ขันติ สุตมย โยนิโส ๑๐ ปฏิจจ การสื่อสารเพื่อสันติ สุ จิ ติปุ ลิ bpscinewsmodel เมื่อการสื่อสารไม่เข้าถึง แล้วจะสร้างความเข้าใจแล้วนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ก็ต้องดูว่าการสื่อสารของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบันได้เข้าถึงกลุ่ม เป้าหมายในยุคดิจิตอลได้มากน้อยเพียงใด และจะเป็นการสื่อสารมวลชนที่เป็นการสื่อสารที่ทรงพลังหรือไม่ แล้วเป็นไปตามพระพุทธพจน์ที่ว่าพหุชนหิตายหรือไม่ มส.เห็นชอบ14 โครงการใหญ่ปฏิรูปกิจการพุทธ https://www.dailynews.co.th/education/600437 วันนี้(25 ก.ย.)นายประดับ โพธิกาญจนวัตร โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้ เห็นชอบตามที่คณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา(คปพ.) เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2561 เพื่อให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาระยะปี 2560-2564 บรรลุวัต20:40 14/2/2562ถุประสงค์ ซึ่งมีโครงการเชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 14โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาสู่สังคม 2.โครงการยกระดับหมู่บ้านรักษาศีล5 3.โครงการวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ 4.โครงการยกระดับการศึกษา พระปริยัติธรรม 5.โครงการส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือข่าย 6.โครงการพัฒนาระบบบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 7.โครงการนวัตกรรมเชิงพุทธ 8.โครงการยก ระดับขีดความสามารถศาสนบุคคล 9.โครงการศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา 10.โครงการบริหารศาสนสมบัติระบบการเงิน-บัญชี 11.โครงการสาธารณ สงเคราะห์เพื่อสังคม12.โครงการพระพุทธศาสนา4.0ฐานข้อมูลศาสนบุคคล (Smart Card) 13.โครงการวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส และ14.โครงการพุทธ มณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก รูปแบบการบริหารสื่อของคณะสงฆ์เฟซบุ๊ก พระปราโมทย์ ละเอียดประเด็นดี เนื้อหาเยี่ยมโปรยใช้ได้ พัฒนาด้านการดึงประเด็นมาพาดหัว พระมหาหรรษา กระชับ พาดหัวได้ เพิ่มโปรย Post news มจร ฮิ้นข่าวได้ เพิ่มเนื้อหาและลักษณะของข่าวรายละเอียด พระธรรมทูต อินเดียเยี่ยมเนื้อหาประเด็นใช้ได้ พาดหัวดี แต่เพิ่มโปรย ยุโรปยังมุ่งสร้างภาพ อเมริกาฮิ้นข่าวได้ แต่ยังมุ่งสร้างภาพ สำนักพระธรรมทูต่างประเทศวัดสระเกศทำได้ดีมีลักษณะเป็นเว็บข่าว สำนักพระสังฆราชรายละเอียดดี เพิ่มพาดหัวโปรย กลุ่มประชาสัมพันธ์พศ.เนื้อเป็นการรายงาน ไม่ลักษณะของการเขียนข่าว ควรปรับปรุงตั้งตั้งพาดหัวโปรยโดยดึงประเด็นมาชู ธรรมจาริกภาคเหนือ วัดยานนาวา ควรเรียบเรียงใหม่ พาดหัวโปรย ตามลักษณะของการเขียนข่าว พระเมธีธรรมาจารย์ เนื้อหาพาดหัวมี แต่เพิ่มโปรย และเพิ่มความถี่ตามกาลของข่าว พระว.เนื้อหายังใช้งานด้านข่าวไม่ได้ เพราะมุ่งแจ้งเพื่อทราบเตือนสติ พระไพศาลเนื้อหากระชับมุ่งเตือนสติ เพิ่มพาดหัวโปรยเชิงข่าวในประเด็นที่เป็นข่าวจะดีมาก พระพุทธทาสเน้นหมายข่าว เมื่อมีงานควรเขียนเป็นข่าเผยแพร่ ศิษย์ธรรมกาย มีลักษณะของข่าว แต่ควรจะเพิ่มความหลากหลายในกิจกรรมที่เป็นประเด็นข่าวอย่างเช่นการสัมมนา พระครูวิมลธรรมแสง เนื้อหาเฉพาะด้านโซล่าเซล ถ้าได้ทักษะเขียนข่าวจะดีมาก วัดประยูร เป็นลักษณะแจ้งกิจกรรมที่เกิดขึ้น ควรเพิ่มเนื้อหาของการบรรยายและเขียนเป็นลักษณะของข่าวจะดีมาก ดังนั้นลักษณะของการเขียนข่าวที่ดีคือ ประเด็นดี เนื้อหาเยี่ยมพาดหัวโดน เครือข่ายอื้อ รูปแบบการบริหารสื่อของคณะสงฆ์ การบริหารแบบเอกเทศ มจร มมร. วัด รวมศูนย์ มส.ฝ่ายเผยแผ่ กระจายอำนาจ ภูมิภาค ส่วนกลาง ผสมผสาน รวมศูนย์กับกระจายอำนาจ ช่วยเหลืออุปถัมภ์ มีแผนปฏิบัติการชัดเจนไม่ชัดเจน มีบอร์ดคุม งบประมาณ รัฐ ศรัทธา คน อุปกรณ์จัดหาเอง ตัวอย่าง ทีวีดาวเทียม มจร วัดยานนาวา เว็บ มจร มมร พระว. ไพศาล พระพยอม สมเด็จพระสังฆราช รูปแบบที่สำเร็จและล้มเหลว รูปแบบการส่งเสริม ภาครัฐ งบประมาณ คน งาน ความคิด เอกชน สำนักข่าวรับข่าวไปเผยแพร่ต่อ ส่วนบุคคลงบประมาณ คุยสั้นๆ กับ ‘ชัยวัฒน์ สถาอานันท์’ ขัดกันฉันมิตร การอยู่ร่วมที่เราต่าง (ต้องเรียนรู้) ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทักษะวัฒนธรรมคืออะไร? ศ.ดร.ชัยวัฒน์ : ทักษะวัฒนธรรม คือความพยายามที่จะนำเอาอคติที่เรามีอยู่ซ่อนอยู่ไม่รู้ตัวเนี่ยออกมาวางให้เห็น โลกของความขัดแย้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งนำไปสู่ความเกลียดชังและความรุนแรง ท่ามกลางสังคมที่ประกอบไปด้วยคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่ต้องอยู่ร่วมกันภายใต้ความคิด ความเชื่อ ความทรงจำที่แตกต่างกัน การเผชิญหน้าและปะทะสังสรรค์ในทางความความคิดนั่นคือ “ความขัดแย้ง” ของ “การอยู่ร่วม” ที่จะขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า โดยไม่จำเป็นต้องอยู่กับความเงียบสงบ หรือสยบยอม และไม่จำเป็นต้องไม่ใช่ความรุนแรง นั่นคือ “ทักษะวัฒนธรรม” ที่เราทุกคนจะต้องเรียนรู้ https://www.citizenthaipbs.net/node/18618 มส.แนะธรรมนิเทศต้องผลิตสื่อมวลชนของสงฆ์ http://www.banmuang.co.th/news/education/89815 วันที่ 4 ก.ย.2560 พระพรหมบัณฑิต, พระพระพุทธเจ้าเป็นผู้ก่อตั้งถือว่าเป็นการประดิษฐกรรม Invention เราอย่าคิดคำสอนใหม่ที่ไม่พื้นฐาน มีการตีความผิด ๆ เราไม่ต้องประดิษญ์คำสอนใหม่ แต่เราสามารถเป็นนวัตกรรม ใครก็ตามที่นำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเหมาะสมกับสังคมด้วยการประยุกต์บูรณาการ ทำให้น่าสนใจ มากขึ้น เรียกว่า นวัตกรรม วิปัสสนากรรมฐานเป็นนวัตกรรม ท่านติช นัท ฮันห์ นำเสนอการภาวนาให้เหมาะกับคนในสังคมปัจจุบัน ถือว่าเป็นนวัตกรรม นิสิตบัณฑิตทุกสาขามกาจุฬาจะทำวิจัยเรื่องใดก็ตามจะต้องเป็นมีนวัตกรรม ถือว่าเป็นบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ เราต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ สาขาธรรมนิเทศมีคนเรียนน้อยเพราะขาดนวัตกรรม ต้องเป็นไปเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ จะต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแผ่ นำศาสตร์นิเทศ เป็นนิเทศศาสตร์เพื่อการเผยแผ่ สงฆ์เราอ่อนแอ่เพราะเราขาดนิเทศศาสตร์ ต้องมีการเชื่อมธรรมะกับนิเทศศาสตร์เป็นการบูรณาการ เรียนจบต้องสามารถเป็น สื่อมวลชนของสงฆ์ มิใช่มาเรียนเรื่องเทศน์เท่านั้น ส่วนสันติศึกษาเรียนแล้วต้องใจกว้าง ทุกมิติทางศาสนา พูดคุยกับบุคคลที่มีความต่าง รับฟังกันและกัน ไม่คลั่งศาสนาของตน สันติศึกษากับปรัชญาจึงไปด้วยกัน สิ่งสำคัญทุกหลักสูตรต้องมีนวัตกรรม งานวิจัยต้องมี 4 นวัตกรรม คือ " ด้านผลผลิต ด้านการบริการ ด้านกระบวนการ ด้านการจัดการ " งานวิจัยต้องสอดคล้องกับด้านใดด้านหนึ่งให้ได้ 1)นวัตกรรมด้าน การผลผลิต คือ การนำเอาองค์ความรู้ในอภิธรรมปิฏกและวิธีปฏิบัติกรรมฐานมาบูรณาการเข้ากับจิตวิทยาตะวันตกจนเกิดสาขาพุทธจิตวิทยาและชีวิตและความตาย รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของโลกที่ผลิตนวัตกรรม ทำหนังสือพระไตรปิฏกเล่มแรกของโลกด้วนการใช้เทคโนโลยี ในพ.ศ. 2436 ถือว่าเป็นการนวัต กรรมด้านผลผลิต รัชกาลที่ 5 จึงมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและมหาจุฬาเป็นอย่างยิ่ง บัณฑิตวิทยาลัยต้องสร้างนิเทศศาสตร์ทางธรรมะให้ได้ ด้วยการนำเทคโนโลยี มาช่วย ต้องพัฒนาไปสู่อนุสาสนียปาฎิหาริย์ 2) นวัตกรรมด้านกระบวนการ คือ การแสวงหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดขั้นตอนในการผลิต เช่น วิธีการสอนภาษาอังกฤษแก่มหาเปรียญโดยเทียบเคียงกับภาษาบาลี วิธีการ สอนเชิงพุทธบูรณาการ 3) นวัตกรรมด้านการบริการ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์มาใช้ในการเรียนการสอนและเผยแผ่ธรรม บริการด้านวิชาการเพื่อให้ เข้าถึงคนในยุคสมัยใหม่ 4) นวัตกรรมด้านการบริหาร คือ การนำหลักธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการจนได้ผลจริง (Paperless Office) บัณฑิตวิทยาลัยจึงต้องคุมคุณภาพการศึกษา ................................. (หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก pramote od pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร) แม้นแต่สามเณรถ่ายภาพแล้วมีการโพสต์ผ่านทางสื่ออนไลน์ยังถูกวิจารณ์ไม่เหมาะสมแม้ว่าจะไม่มีความผิดก็ ตามhttp://www.amarintv.com/news-update/news-2934/84372/ คณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา(คปพ.) เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2561 เพื่อให้การดำเนินการตามแผน ยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาระยะปี 2560-2564 14โครงการ มีโครงการนวัตกรรมเชิงพุทธ มส.เห็นชอบ14 โครงการใหญ่ปฏิรูปกิจการพุทธ... อ่านต่อที่ : มส.เห็นชอบ14 โครงการใหญ่ปฏิรูปกิจการพุทธ ประดับ โพธิกาญจนวัตร โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) https://www.dailynews.co.th/education/600437 การใช้สื่อ และ คนรุ่นใหม่’ พลเมืองแบบไหนในโลกดิจิทัล https://www.citizenthaipbs.net/node/22026 อินเทอร์เน็ต เป็นหนึ่งช่องทางการสื่อสารในยุคดิจิทัล ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย “การรู้เท่าทันสื่อ” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ประชาชนสามารถทำ ความเข้าใจ รู้เท่าทัน ข้อมูลข่าวสารที่ตนเองรับมาได้ 6 พ.ย. 2560 วงเสวนา “พลเมืองแบบไหนในโลกดิจิทัล” ในสัปดาห์ รู้เท่าทันสื่อ “MIDL Week 2017 : พลังพลเมืองดิจิทัล” จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส), ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, Documentary Club และWarehouse 30 ระหว่างวันที่ 6-10 พ.ย. 2560 ที่ warehouse 30 กรุงเทพฯ โดยวิทยากร 1.ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ : โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(iLaw) 2.วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง : หัวหน้าโครงการอินเทอร์เน็ตศึกษา(สกว.) ดำเนินรายการโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ : โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) “ผิด” ดูสื่อแล้วคิดว่า สื่อรอบด้าน จริงทั้งหมด แสดงว่าเราไม่รู้เท่าทัน ต้องทำการบ้าน และทำความเข้าใจ หาข้อมูลต่อให้มากขึ้น น่าเป็นห่วงน่าจะเป็นผู้ใหญ่มากกว่า เพราะเราไม่ได้โตกับมากับเทคโนโลยี อาจจะยังไม่กล้าที่จะลอง ที่จะใช้เทคโนโลยี แต่อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนแปลงโลกได้นั่น ผมว่าฝัน เพราะเอาเข้าจริงการใช้สื่อสื่อสารข้อมูลนั้นก็แค่สร้างความเข้มแข็งในชุมชนเดียวกัน ในกลุ่มที่คิดเหมือนกันกับเรา ไม่เชื่อว่าพลังดิจิทัลเปลี่ยนแปลงได้ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง : หัวหน้าโครงการอินเทอร์เน็ตศึกษา (สกว.) สื่อถูกประกอบสร้างทางสังคม ซึ่งไม่ใช่ความจริงที่ประกอบจากความจริงทั้งหมด คัดกรอง สื่อใหม่สำคัญ แต่สื่อเก่าที่เป็นวิชาชีพก็มีความสำคัญมากขึ้นด้วย คนต้องการสื่อที่เชื่อถือได้ การศึกษาสร้างสำนึกของความเป็นพลเมือง สร้างความรู้ให้เท่าทันสื่อดิจิทัลเป็นมิติทางเทคโนโลยีและอีกด้านหนึ่งมันก็เป็นมิติทางวัฒนธรรม ศิโรจน์ คล้ามไพบูรณ์ : นักวิชาการและสื่อมวลชน ไม่คิดว่าอินเทอร์เน็ตจะสร้างสังคมประชาธิปไตย สังคมที่เป็นธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ อินเทอร์เน็ตสำหรับคนจำนวนมากมันคือ อุตสาหกรรมของข้อมูลข่าวสาร ขึ้นอยู่กับว่าคนที่ผลิตข้อมูลข่าวสาร ผลิตอะไรเข้าไป ความน่าสนใจคือ ทุกคนสามารถผลิตคอนเทนต์ แต่จะทำยังไงให้คนผลิตคอนเทนต์ลงไปบนอินเตอร์เน็ตเท่ากันๆ คอนเทนต์ที่ผู้รับนั่นรับฟังเท่ากัน ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ โจทย์ใหญ่กว่าคือ ทำอย่างไรให้คนผลิตคอนเทนต์เข้าไปสู่อินเตอร์เน็ตได้เท่าๆ กัน หลังจากนั้นคือ สกิลของแต่ละคนว่า ทำอย่างไรให้คอนเทนต์ของแต่ละคน ถูกรับฟัง และเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ แนวคิดผู้ใช้สื่อสร้างสันติสุข พระอัจฉริยภาพด้านการสื่อสารของในหลวงร.9 “พระอัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสารในฐานะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ดั่งพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2526 ที่ว่า “การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบันที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุดควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกซึ้งและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่ม ให้พอเหมาะสมกับฐานะและสภาพของบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติมีโอกาสได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์” เป็นต้นแบบของการใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ดี ทั้งวิทยุสื่อสาร สายอากาศและโทรพิมพ์ เพื่อรับฟังข่าวรายงานเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ของการทรงงานทางการแพทย์และสาธารณสุข ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณ ซึ่งเชื่อมต่อวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น) ให้มูลนิธิแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) นำไปใช้ในการช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกลอีกด้วย ทรงใช้การสื่อสารเพื่อประโยชน์ของการทรงงานทางการเกษตรและการพัฒนา ด้วยการทำฝนหลวง ให้พิจารณาติดตั้งวิทยุสื่อสารแก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งอากาศและที่ภาคพื้นดิน ทรงเป็นนักประดิษฐ์ด้วยตัวพระองค์เอง ตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อปี พ.ศ.2494 จัดรายการ “บอกบุญ” ไปยังผู้มีจิตศรัทธา ให้ร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์และสิ่งของ “โดยเสด็จพระราชกุศล” ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากในเหตุการณ์ภัยพิบัติหลายครั้ง อาทิ อหิวาตกโรคระบาดในปี พ.ศ.2501 และเหตุการณ์วาตภัยรุนแรงที่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2505 “ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยในการคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญๆ ของประเทศจนเป็นผลสำเร็จในหลายกรณี โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ทางการเมือง 2 กรณี คือ เหตุการณ์ “วันมหาวิปโยค” 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 และเหตุการณ์วันเมษาฮาวาย 1 เมษายน พ.ศ.2524 ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดตามความคืบหน้าของเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆ ทุกระยะผ่านการสื่อสารทางวิทยุของทหารและตำรวจ จนเมื่้อเหตุการณ์ทวีความรุนแรงจนมีการเสียชีวิตของนักศึกษาและประชาชน ก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการใช้มาตรการระงับเหตุด้วยการผ่อนผันโดยละมุนละม่อม หลังจากนั้นก็ทรงเฝ้าฟังการติดต่อทางวิทยุอยู่ในห้องทรงงานทั้งคืน จนในที่สุดทรงตัดสินพระราชหฤทัยเข้ายุติเหตุการณ์ด้วยพระองค์เอง โดยปรากฏพระองค์และพระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางโทรทัศน์ เหตุการณ์จึงสงบลงในเวลาต่อมา “ร.9-กษัตริย์นักการสื่อสาร” ทรงใช้ช่วยคนไทยทุกด้าน,รายงานผลการวิจัยเรื่องพระมหากษัตริย์กับการสื่อสารโทรคมนาคม,มติชนออนไลน์, https://www.matichon.co.th/news/698486 การสื่อสาร มีลักษณะทั้งสามแบบ คือแบบที่จรรโลงใจ จรรโลงปัญญา และลักษณะที่ยุยงบ่อนทำลาย สติยับยั้งชั่งใจ คัดกรองข่าวสาร ใคร่ครวญหาเหตุหาผลที่ถูกต้อง กลับด้อยคุณภาพน้อยลง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงจำแนกบุคคลผู้มีจริตนิสัยต่างๆ กันไว้ 6 จำพวก คนบางคนชอบสวยงาม เรียกว่าพวกราคจริต คนบางคนชอบใช้อารมณ์ หุนหันพลันแล่น มักโกรธ เรียกว่าพวกโทสจริต คนบางคนก็ปกติลุ่มหลงเร็ว ขาดความรู้ เชื่ออะไรผิดๆ โดยง่าย เรียกว่าพวกโมหจริต คนบางคนก็มีความเชื่อความศรัทธาโดยขาดปัญญา เรียกว่าพวกศรัทธาจริต คนบางคนก็มีปกติใช้วิจารณญาณ ก่อนรับฟัง เรียกว่าพวกพุทธิจริต และคนบางคนก็จัดอยู่ในพวกคิดมาก กังวลมาก หาข้อยุติได้ยาก เรียกว่าพวกวิตกจริต ทรงแนะนำวิธีเจริญพระกรรมฐานต่างๆ กัน เป็นคู่ปรับกับแต่ละจริต เพื่อการดำเนินชีวิตไปบนวิถีทางที่เหมาะสม บรรลุถึงปัญญาได้โดยง่าย มีแนวทางที่จะพยากรณ์ และควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับบุคคลและหน่วยงานเช่น กสทช.” มส.แนะธรรมนิเทศต้องผลิตสื่อมวลชนของสงฆ์ http://www.banmuang.co.th/news/education/89815 วันที่ 4 ก.ย.2560 พระพรหมบัณฑิต, พระพระพุทธเจ้าเป็นผู้ก่อตั้งถือว่าเป็นการประดิษฐกรรม Invention เราอย่าคิดคำสอนใหม่ที่ไม่พื้นฐาน มีการตีความผิด ๆ เราไม่ต้องประดิษญ์คำสอนใหม่ แต่เราสามารถเป็นนวัตกรรม ใครก็ตามที่นำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเหมาะสมกับสังคมด้วยการประยุกต์บูรณาการ ทำให้น่าสนใจ มากขึ้น เรียกว่า นวัตกรรม วิปัสสนากรรมฐานเป็นนวัตกรรม ท่านติช นัท ฮันห์ นำเสนอการภาวนาให้เหมาะกับคนในสังคมปัจจุบัน ถือว่าเป็นนวัตกรรม นิสิตบัณฑิตทุกสาขามกาจุฬาจะทำวิจัยเรื่องใดก็ตามจะต้องเป็นมีนวัตกรรม ถือว่าเป็นบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ เราต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ สาขาธรรมนิเทศมีคนเรียนน้อยเพราะขาดนวัตกรรม ต้องเป็นไปเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ จะต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแผ่ นำศาสตร์นิเทศ เป็นนิเทศศาสตร์เพื่อการเผยแผ่ สงฆ์เราอ่อนแอ่เพราะเราขาดนิเทศศาสตร์ ต้องมีการเชื่อมธรรมะกับนิเทศศาสตร์เป็นการบูรณาการ เรียนจบต้องสามารถเป็น สื่อมวลชนของสงฆ์ มิใช่มาเรียนเรื่องเทศน์เท่านั้น ส่วนสันติศึกษาเรียนแล้วต้องใจกว้าง ทุกมิติทางศาสนา พูดคุยกับบุคคลที่มีความต่าง รับฟังกันและกัน ไม่คลั่งศาสนาของตน สันติศึกษากับปรัชญาจึงไปด้วยกัน สิ่งสำคัญทุกหลักสูตรต้องมีนวัตกรรม งานวิจัยต้องมี 4 นวัตกรรม คือ " ด้านผลผลิต ด้านการบริการ ด้านกระบวนการ ด้านการจัดการ " งานวิจัยต้องสอดคล้องกับด้านใดด้านหนึ่งให้ได้ 1)นวัตกรรมด้าน การผลผลิต คือ การนำเอาองค์ความรู้ในอภิธรรมปิฏกและวิธีปฏิบัติกรรมฐานมาบูรณาการเข้ากับจิตวิทยาตะวันตกจนเกิดสาขาพุทธจิตวิทยาและชีวิตและความตาย รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของโลกที่ผลิตนวัตกรรม ทำหนังสือพระไตรปิฏกเล่มแรกของโลกด้วนการใช้เทคโนโลยี ในพ.ศ. 2436 ถือว่าเป็นการนวัต กรรมด้านผลผลิต รัชกาลที่ 5 จึงมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและมหาจุฬาเป็นอย่างยิ่ง บัณฑิตวิทยาลัยต้องสร้างนิเทศศาสตร์ทางธรรมะให้ได้ ด้วยการนำเทคโนโลยี มาช่วย ต้องพัฒนาไปสู่อนุสาสนียปาฎิหาริย์ 2) นวัตกรรมด้านกระบวนการ คือ การแสวงหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดขั้นตอนในการผลิต เช่น วิธีการสอนภาษาอังกฤษแก่มหาเปรียญโดยเทียบเคียงกับภาษาบาลี วิธีการ สอนเชิงพุทธบูรณาการ 3) นวัตกรรมด้านการบริการ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์มาใช้ในการเรียนการสอนและเผยแผ่ธรรม บริการด้านวิชาการเพื่อให้ เข้าถึงคนในยุคสมัยใหม่ 4) นวัตกรรมด้านการบริหาร คือ การนำหลักธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการจนได้ผลจริง (Paperless Office) บัณฑิตวิทยาลัยจึงต้องคุมคุณภาพการศึกษา ................................. (หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก pramote od pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร) แม้นแต่สามเณรถ่ายภาพแล้วมีการโพสต์ผ่านทางสื่ออนไลน์ยังถูกวิจารณ์ไม่เหมาะสมแม้ว่าจะไม่มีความผิดก็ ตามhttp://www.amarintv.com/news-update/news-2934/84372/ คณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา(คปพ.) เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2561 เพื่อให้การดำเนินการตามแผน ยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาระยะปี 2560-2564 14โครงการ มีโครงการนวัตกรรมเชิงพุทธ มส.เห็นชอบ14 โครงการใหญ่ปฏิรูปกิจการพุทธ... อ่านต่อที่ : มส.เห็นชอบ14 โครงการใหญ่ปฏิรูปกิจการพุทธ ประดับ โพธิกาญจนวัตร โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) https://www.dailynews.co.th/education/600437 การใช้สื่อ และ คนรุ่นใหม่’ พลเมืองแบบไหนในโลกดิจิทัล https://www.citizenthaipbs.net/node/22026 อินเทอร์เน็ต เป็นหนึ่งช่องทางการสื่อสารในยุคดิจิทัล ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย “การรู้เท่าทันสื่อ” จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ประชาชนสามารถทำ ความเข้าใจ รู้เท่าทัน ข้อมูลข่าวสารที่ตนเองรับมาได้ 6 พ.ย. 2560 วงเสวนา “พลเมืองแบบไหนในโลกดิจิทัล” ในสัปดาห์ รู้เท่าทันสื่อ “MIDL Week 2017 : พลังพลเมืองดิจิทัล” จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส), ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, Documentary Club และWarehouse 30 ระหว่างวันที่ 6-10 พ.ย. 2560 ที่ warehouse 30 กรุงเทพฯ โดยวิทยากร 1.ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ : โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(iLaw) 2.วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง : หัวหน้าโครงการอินเทอร์เน็ตศึกษา(สกว.) ดำเนินรายการโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ : โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) “ผิด” ดูสื่อแล้วคิดว่า สื่อรอบด้าน จริงทั้งหมด แสดงว่าเราไม่รู้เท่าทัน ต้องทำการบ้าน และทำความเข้าใจ หาข้อมูลต่อให้มากขึ้น น่าเป็นห่วงน่าจะเป็นผู้ใหญ่มากกว่า เพราะเราไม่ได้โตกับมากับเทคโนโลยี อาจจะยังไม่กล้าที่จะลอง ที่จะใช้เทคโนโลยี แต่อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนแปลงโลกได้นั่น ผมว่าฝัน เพราะเอาเข้าจริงการใช้สื่อสื่อสารข้อมูลนั้นก็แค่สร้างความเข้มแข็งในชุมชนเดียวกัน ในกลุ่มที่คิดเหมือนกันกับเรา ไม่เชื่อว่าพลังดิจิทัลเปลี่ยนแปลงได้ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง : หัวหน้าโครงการอินเทอร์เน็ตศึกษา (สกว.) สื่อถูกประกอบสร้างทางสังคม ซึ่งไม่ใช่ความจริงที่ประกอบจากความจริงทั้งหมด คัดกรอง สื่อใหม่สำคัญ แต่สื่อเก่าที่เป็นวิชาชีพก็มีความสำคัญมากขึ้นด้วย คนต้องการสื่อที่เชื่อถือได้ การศึกษาสร้างสำนึกของความเป็นพลเมือง สร้างความรู้ให้เท่าทันสื่อดิจิทัลเป็นมิติทางเทคโนโลยีและอีกด้านหนึ่งมันก็เป็นมิติทางวัฒนธรรม ศิโรจน์ คล้ามไพบูรณ์ : นักวิชาการและสื่อมวลชน ไม่คิดว่าอินเทอร์เน็ตจะสร้างสังคมประชาธิปไตย สังคมที่เป็นธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ อินเทอร์เน็ตสำหรับคนจำนวนมากมันคือ อุตสาหกรรมของข้อมูลข่าวสาร ขึ้นอยู่กับว่าคนที่ผลิตข้อมูลข่าวสาร ผลิตอะไรเข้าไป ความน่าสนใจคือ ทุกคนสามารถผลิตคอนเทนต์ แต่จะทำยังไงให้คนผลิตคอนเทนต์ลงไปบนอินเตอร์เน็ตเท่ากันๆ คอนเทนต์ที่ผู้รับนั่นรับฟังเท่ากัน ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ โจทย์ใหญ่กว่าคือ ทำอย่างไรให้คนผลิตคอนเทนต์เข้าไปสู่อินเตอร์เน็ตได้เท่าๆ กัน หลังจากนั้นคือ สกิลของแต่ละคนว่า ทำอย่างไรให้คอนเทนต์ของแต่ละคน ถูกรับฟัง และเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ แนวคิดผู้ใช้สื่อสร้างสันติสุข พระอัจฉริยภาพด้านการสื่อสารของในหลวงร.9 “พระอัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสารในฐานะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ดั่งพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2526 ที่ว่า “การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบันที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุดควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกซึ้งและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่ม ให้พอเหมาะสมกับฐานะและสภาพของบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติมีโอกาสได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์” เป็นต้นแบบของการใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ดี ทั้งวิทยุสื่อสาร สายอากาศและโทรพิมพ์ เพื่อรับฟังข่าวรายงานเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ของการทรงงานทางการแพทย์และสาธารณสุข ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณ ซึ่งเชื่อมต่อวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น) ให้มูลนิธิแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) นำไปใช้ในการช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกลอีกด้วย ทรงใช้การสื่อสารเพื่อประโยชน์ของการทรงงานทางการเกษตรและการพัฒนา ด้วยการทำฝนหลวง ให้พิจารณาติดตั้งวิทยุสื่อสารแก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งอากาศและที่ภาคพื้นดิน ทรงเป็นนักประดิษฐ์ด้วยตัวพระองค์เอง ตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อปี พ.ศ.2494 จัดรายการ “บอกบุญ” ไปยังผู้มีจิตศรัทธา ให้ร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์และสิ่งของ “โดยเสด็จพระราชกุศล” ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากในเหตุการณ์ภัยพิบัติหลายครั้ง อาทิ อหิวาตกโรคระบาดในปี พ.ศ.2501 และเหตุการณ์วาตภัยรุนแรงที่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2505 “ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยในการคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญๆ ของประเทศจนเป็นผลสำเร็จในหลายกรณี โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ทางการเมือง 2 กรณี คือ เหตุการณ์ “วันมหาวิปโยค” 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 และเหตุการณ์วันเมษาฮาวาย 1 เมษายน พ.ศ.2524 ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดตามความคืบหน้าของเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆ ทุกระยะผ่านการสื่อสารทางวิทยุของทหารและตำรวจ จนเมื่้อเหตุการณ์ทวีความรุนแรงจนมีการเสียชีวิตของนักศึกษาและประชาชน ก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการใช้มาตรการระงับเหตุด้วยการผ่อนผันโดยละมุนละม่อม หลังจากนั้นก็ทรงเฝ้าฟังการติดต่อทางวิทยุอยู่ในห้องทรงงานทั้งคืน จนในที่สุดทรงตัดสินพระราชหฤทัยเข้ายุติเหตุการณ์ด้วยพระองค์เอง โดยปรากฏพระองค์และพระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางโทรทัศน์ เหตุการณ์จึงสงบลงในเวลาต่อมา “ร.9-กษัตริย์นักการสื่อสาร” ทรงใช้ช่วยคนไทยทุกด้าน,รายงานผลการวิจัยเรื่องพระมหากษัตริย์กับการสื่อสารโทรคมนาคม,มติชนออนไลน์, https://www.matichon.co.th/news/698486 การสื่อสาร มีลักษณะทั้งสามแบบ คือแบบที่จรรโลงใจ จรรโลงปัญญา และลักษณะที่ยุยงบ่อนทำลาย สติยับยั้งชั่งใจ คัดกรองข่าวสาร ใคร่ครวญหาเหตุหาผลที่ถูกต้อง กลับด้อยคุณภาพน้อยลง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงจำแนกบุคคลผู้มีจริตนิสัยต่างๆ กันไว้ 6 จำพวก คนบางคนชอบสวยงาม เรียกว่าพวกราคจริต คนบางคนชอบใช้อารมณ์ หุนหันพลันแล่น มักโกรธ เรียกว่าพวกโทสจริต คนบางคนก็ปกติลุ่มหลงเร็ว ขาดความรู้ เชื่ออะไรผิดๆ โดยง่าย เรียกว่าพวกโมหจริต คนบางคนก็มีความเชื่อความศรัทธาโดยขาดปัญญา เรียกว่าพวกศรัทธาจริต คนบางคนก็มีปกติใช้วิจารณญาณ ก่อนรับฟัง เรียกว่าพวกพุทธิจริต และคนบางคนก็จัดอยู่ในพวกคิดมาก กังวลมาก หาข้อยุติได้ยาก เรียกว่าพวกวิตกจริต ทรงแนะนำวิธีเจริญพระกรรมฐานต่างๆ กัน เป็นคู่ปรับกับแต่ละจริต เพื่อการดำเนินชีวิตไปบนวิถีทางที่เหมาะสม บรรลุถึงปัญญาได้โดยง่าย มีแนวทางที่จะพยากรณ์ และควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับบุคคลและหน่วยงานเช่น กสทช.” ๒.๓ สรุป 

บทที่๒-๒.๒.๑ บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน

๒.๒ การใช้สื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 

๒.๒.๑ บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน 

-ข้อมูลเฟซบุ๊กเล็งผุดfaceAIเซ็นเตอร์แห่งชาติ 


-ญี่ปุ่นAI 

-ประกอบแนวคิดทฤษฎีtheory 

-นักข่าวJournalism มีข้อมูลเกี่ยวกับทักษะ ข้อมูลเฟซบุ๊กเล็งผุดfaceAIเซ็นเตอร์แห่งชาติ Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)Wednesday, November 14, 2018 06:09 40874 XTHAI XCORP XITBUS XECON XFINMKT XBANK DAS V%PAPERL P%TSK 'เอทีเอสไอ'เตรียมดึงรัฐ-สถาบันศึกษาร่วม เอทีเอสไอ ชี้เอไอมาแน่ เล็งผนึกภาครัฐ-สถาบันการศึกษา จัดตั้ง "เอไอ เซ็นเตอร์แห่งชาติ" ขึ้นมาให้เอสเอ็มอี นาไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ล่าสุดเตรียมจัดงาน "ไทยแลนด์ ซอฟต์แวร์ แฟร์ 2018" แสดงศักยภาพซอฟต์แวร์ไทย หนุนเอสเอ็มอีใช้งานเทคโนโลยี นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ เอทีเอสไอ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าเทคโนโลยีที่มองว่าจะเข้ามาต่อยอดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตต่อไปข้างหน้าคือ "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ เอไอ (AI) ที่สามารถ นำมาต่อยอดให้บริการเชิงธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจได้ โดยสมาคม มีแนวคิดร่วมกับภาครัฐ และสถาบันการศึกษา ในการจัดสร้าง AI เซ็นเตอร์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ได้มีโอกาสนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ ทั้งการวิเคราะห์วางแผนธุรกิจ และการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ทั้งนี้สมาคม อยู่ระหว่างการจัด ทำแผนร่วมภาครัฐ เพื่อของบประมาณเข้ามาจัดซื้อฮาร์ดแวร์ ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ส่วนสถาบันการศึกษา เข้ามาสนับสนุนข้อมูล อาทิ งานวิจัยต่างๆ หรือ ข้อมูลเชิงวิชาการ ขณะที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ จะเข้ามาสนับสนุนข้อมูล อาทิ ข้อมูลร้านของชาร่วย เช่นเดียวกับภาคธุรกิจต่างๆ ที่เข้ามาใช้งาน ก็จะนาข้อมูลรายงานยอดขายต่างๆ เข้ามารวมเพื่อให้เอไอ ทาการวิเคราะห์ และคาดการณ์ โดยเอไอ จะมีความฉลาดมากขึ้นหากมีการใส่ข้อมูลหลากหลายมิติเข้าไปเพื่อให้ระบบทำการเรียนรู้ วิเคราะห์ และคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต "เทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นขณะนี้มีทั้ง AI บล็อกเชน และ IoT แต่เรามองว่า AI น่าสนใจมากสุด และน่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ และผู้ประกอบการได้รับประโยชน์มากสุด ส่วนบล็อกเชน เป็นเรื่องของระบบปิดที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกลุ่มเฉพาะ ไม่ได้ประโยชน์กับธุรกิจวงกว้าง ขณะที่ IoT เป็นเรื่องของฮาร์ดแวร์ หรือ ดีไวซ์ต่างๆ" นายทินกร กล่าวต่อไปว่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในบางกลุ่มมีการแข่งขันรุนแรง ทั้งจากผู้ประกอบการภายในประเทศด้วยกันเอง หรือ การเข้ามาของซอฟต์แวร์ต่างประเทศ โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงเป็นตลาดซอฟต์แวร์ทางด้านการนาข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลาดซอฟต์แวร์ AI และ IoT เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ อาทิ พอยต์ออฟเซล (Pos) ซีอาร์เอ็ม และบริหารทรัพยากรบุคคล หรือ เอชอาร์ ที่ตลาดยังมีการเติบโต ตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมหาศาล โดยกลุ่มเอส เอ็มอี ยังมีการใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ไม่มาก ประเมินว่าขณะนี้น่าจะมีสัดส่วนเอสเอ็มอีใช้งานซอฟต์แวร์ราว 30% ขณะที่มาเลเซีย มีสัดส่วนเอสเอ็มอี ใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่า 50% และกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีสัดส่วนเอสเอ็มอีใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่า 80% ทั้งนี้สมาคมยังคงมุ่งเป็นศูนย์รวมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ภายในประเทศที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และมุ่งการสร้างกลุ่มตลาดใหม่ๆ ผ่านกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ทั้งจาก ภาครัฐ และเอกชน โดยล่าสุดได้เตรียมจัดงาน "ไทยแลนด์ ซอฟต์แวร์ แฟร์ 2018" ขึ้นมา ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ที่ C asean, Cyber World ภายใต้แนวคิด พลังซอฟต์แวร์ไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในยุคดิจิตอล เพื่อแสดงศักยภาพซอฟต์แวร์ไทย และเปิดให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เลือกลงทุนซอฟต์แวร์หรือระบบที่เหมาะกับธุรกิจ และได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยในงานดังกล่าวได้รวบรวมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย มานำเสนอโซลูชัน และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายภายในงาน 50 ราย พร้อมกันนั้นในปีนี้ยังได้ดึงภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมการจัดงานดังกล่าวทั้ง เอไอเอส และบริษัทอินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จากัด (มหาชน) หรือ ไอเน็ต เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มขึ้นมาผลักดันโซลูชันซอฟต์แวร์ลงไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นอกจากนี้ยังจัดงานสัมมนาให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถนามาประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางธุรกิจกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสิทธิประโยชน์ต่างๆ กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาทิ รับสิทธิส่วนลดสาหรับการซื้อซอฟต์แวร์ มูลค่าสูงสุด 10,000 บาท (ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในโครงการ depa Mini-Transformation Voucher จานวน 400 ทุน มูลค่ารวม 4 ล้านบาท--จบ-- ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 - 17 พ.ย. 2561-- ทีมนักพัฒนาไทยคว้ารางวัล LINE BOOT AWARDS Source - เว็บไซต์เดลินิวส์ (Th)Tuesday, November 13, 2018 11:33 43651 XTHAI XITBUS IT V%NETNEWS P%WDN ทีม NILA ตัวแทนจากประเทศไทย ผู้ชนะจาก LINE HACK 2018 โชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัลชนะเลิศในหมวด Business / Work จากงาน LINE BOOT AWARDS ในปีนี้มาครองได้สำเร็จพร้อมเงินรางวัล 5 แสนเยน รายงานข่าวจาก ไลน์ประเทศไทย แจ้งว่า ไลน์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้จัด โครงการ LINE BOOT AWARDS 2018 ซึ่งเป็นการแข่งขันผลงาน Chatbot ครั้งยิ่งใหญ่ของ ไลน์ ในระดับนานาชาติ ที่จัดขึ้น ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยในการแข่งขันปรากฎว่า ทีม NILA หรือทีม And Yet, It Compiles ทีมผู้ชนะจาก LINE HACK 2018 ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 คนโชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัลชนะเลิศในหมวด Business / Work จากงาน LINE BOOT AWARDS ในปีนี้มาครองได้สำเร็จพร้อมเงินรางวัล 5 แสนเยน โดยทีม NILA ได้สร้างผลงาน Chatbot ช่วยจัดการกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบ Agile ผ่านการสื่อสารกันตามปกติของสมาชิกในกลุ่ม LINE โดย NILA จะฟังและวิเคราะห์บทสนทนาต่าง ๆ ที่ถูกพูดคุยกันผ่าน LINE แล้วใช้ AI ช่วยในการสร้าง แก้ไข มอบหมาย หรือติดตามงาน และเชื่อมต่อข้อมูลงานต่างๆ เข้ากับบริการของ JIRA ให้แบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงรายงานต่างๆ ตามที่ต้องการได้อีกด้วย ทั้งนี้ LINE BOOT AWARDS การแข่งขัน Chatbot จาก LINE ในระดับนานาชาติ ด้วยคอนเซปต์ “HACK CONNECT TOMORROW” เปิดโอกาสให้นักพัฒนาจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสโชว์ฝีมือการพัฒนา Chatbot ของ LINE ทั้งแบบทีมและแบบเดี่ยว ชิงเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ล้านเยนและรางวัลอื่นๆ อีกมากมายตามหมวดหมู่ต่างๆ โดยในปีนี้ มีโปรเจคเข้าร่วมกว่า 1,125 โปรเจคจากนักพัฒนากว่า 4,000 คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ไทย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ทาง ไลน์ ประเทศไทยได้ทำการคัดเลือกทีมนักพัฒนาตัวแทนจากประเทศไทยซึ่งก็คือทีม NILA จากเวที LINE HACK 2018 เมื่อเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมานั่นเอง สำหรับ รายนามผู้ชนะ LINE BOOT AWARDS 2018 รางวัลชนะเลิศ: โปรเจค Toubans! จากทีม Yui Nishimura โปรเจค Ica Ica จากทีม Ferdays รางวัลชนะเลิศตามหมวดต่างๆ หมวด Family: โปรเจค Family chores list จากทีม Family Love หมวด Business / Work: โปรเจค InLINE Agile (NILA) จากทีม NILA หมวด Casual: โปรเจค Zombie City: Audio Horror Mystery Game จากทีม VoiceApp Lab หมวด Group: โปรเจค Memory Roll จากทีม Making Lab หมวด Engineer (2 รางวัล): โปรเจค Move! Friends Robot System จากทีม rino products และโปรเจค Clova Camera and Home Skill & Bot จากทีม Kenichi Yoshida หมวด Student: Toubans! จากทีม Yui Nishimura ที่มา: www.dailynews.co.th เฟซบุ๊กกับการเลือกตั้ง Source - เว็บไซต์ไทยรัฐ (Th)Tuesday, November 13, 2018 05:01 21365 XTHAI XECON ECO V%NETNEWS P%WTR หลายปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กได้พยายามอย่างหนัก ที่จะยกมาตรฐานเนื้อหาที่พรั่งพรูอยู่บนแพลตฟอร์ม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 2,200 ล้านคนทั่วโลก เฟซบุ๊กถูกวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงขึ้น หลังการเลือกตั้งทั่วไปในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2559 ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะเหนือนางฮิลลารี คลินตัน นอกจากข่าวหลอก ข่าวลวง ซึ่งแพร่กระจายผ่านเฟซบุ๊ก สร้างความสับสนให้กับผู้ลงคะแนนเสียง รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครรายใดรายหนึ่งแล้ว ที่ฉาวโฉ่ที่สุดเป็นกรณีของบริษัทแคมบริดจ์ อนาไลติกา บริษัทที่ปรึกษาทางการเมือง ที่ได้นำข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 50 ล้านบัญชี ไปแสวงหาประโยชน์ในการเลือกตั้ง จนทำให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้นายมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเฟซบุ๊ก ต้องเข้าไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตรวจ สอบของวุฒิสภา สหรัฐอเมริกา เขายอมรับว่าเฟซบุ๊กยังขาดมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและคัดกรองข้อมูล ส่งผลให้แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กเต็มไปด้วยข้อมูลเท็จ ข้อความจงเกลียดจงชัง เหยียดเชื้อชาติ และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาและหลายๆประเทศ ซัคเกอร์เบิร์ก ตอกย้ำว่า เฟซบุ๊กต้องปรับเปลี่ยนการทำงานครั้งใหญ่ ลงทุนเพิ่มเพื่อปกป้องระบบให้มีศักยภาพมากขึ้น จนในที่สุด นำไปสู่การกำหนดนโยบายมาตรฐานชุมชนหรือ Community Standards ซึ่งเปรียบเหมือนคัมภีร์ชี้ทาง ว่าเนื้อหาใดสามารถหรือไม่สามารถ แบ่งปันและเผยแพร่บนเฟซบุ๊กได้ เมื่อกระบวนการมีความคืบหน้า สัปดาห์ก่อนเฟซบุ๊กจึงได้เปิดแถลงข่าวกลุ่มเล็กๆขึ้นในกรุงเทพฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายมาตรฐานชุมชน ซึ่งละเอียดยิ่งขึ้นและเผยแพร่ในหลากหลายภาษา รวมภาษาไทย เนื้อหาที่เฟซบุ๊กไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ได้แก่ การทำร้ายตัวเอง (Self-Injury) การใช้วาจาสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech), การกลั่นแกล้งและการคุกคาม (Bullying & Harassment), ภาพโป๊เปลือยและกิจกรรมทางเพศ (Nudity & Sexual Activity), ภาพความรุนแรง (Violent & Graphic Content), การใช้ความรุนแรงและการชักชวนทางเพศ (Sexual Violence & Exploitation), การโจมตีบุคคลสาธารณะ (Attacks on Public Figures), องค์กรอันตราย (Dan gerous Organiza tions), สินค้าควบคุม (Regulated Goods) เช่น ยา กัญชา ยาเสพติด, การบิดเบือนความจริง ข่าวเท็จและสแปม (Fraud & Spam) เป็นต้น ปัจจุบันเฟซบุ๊กมีผู้ตรวจสอบเนื้อหาทั่วโลกทั้งสิ้น 20,000 คน ทำงานครอบคลุมทุกเขตเวลาและพูดกว่า 50 ภาษา รวมภาษาไทย ผู้ตรวจสอบจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ นอกจากนั้นเฟซบุ๊กยังลงทุนหนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Arti ficial Intelligence) ให้เข้ามาตรวจจับเนื้อหาที่ฝ่าฝืนกฎในแบบเชิงรุกด้วย จากรายงานล่าสุดเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานชุมชน (Community Stan dards Enforcement Report) ของเฟซบุ๊ก ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. 2561 พบว่า 1.เฟซบุ๊กสามารถยกเลิกบัญชีปลอมได้ 583 ล้านบัญชี โดยเป็นการยกเลิกภายในไม่กี่นาทีที่มีการลงทะเบียนเข้าใช้ เพราะเช็กได้ทันทีว่าเป็นบัญชีปลอมและ 99% ตรวจสอบโดย AI 2.กำจัดสแปม 837 ล้านชิ้นหรือเกือบ 100% ของสแปมทั้งหมด โดยใช้ AI ทำงาน 100% 3.ลบภาพโป๊เปลือยและกิจกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ 21 ล้านชิ้น โดย 96% ของ 21 ล้านชิ้นเป็นผลงานของ AI ที่ตรวจจับภาพได้ก่อนที่จะมีผู้ใช้รายงาน 4.ลบคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความรุนแรงจำนวน 3.5 ล้านชิ้น ซึ่ง 86% เป็นการทำงานโดย AI 5.ลบข้อความโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มก่อการร้าย 1.9 ล้านชิ้น และ 99.5% เป็นผลงานของ AI 6.ลบข้อความที่สร้างความเกลียดชัง 2.5 ล้านชิ้น โดย 38% ตรวจพบโดย AI ข้อมูลข้างต้นบ่งชี้ว่า AI ทำให้เฟซบุ๊กร่นเวลาจัดการกับเนื้อหาที่ฝ่าฝืนกฎได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอรายงานจากผู้ใช้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง ซึ่งมีความซับซ้อนและต้องใช้ทักษะมนุษย์ เฟซบุ๊กยังแสดงความเห็นต่อการเลือกตั้งในไทยที่อาจเกิดขึ้นว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กทำงานอย่างหนักเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่าจะทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม พอเพียง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำงานร่วมกับหน่วยงานในประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระมัดระวังภายใต้บริบทของการเลือกตั้ง ประกอบด้วยคอนเทนต์ประเภทคลิกเบต (Clickbait) หรือลิงก์ที่หลอกให้คลิก โดยพาดหัวล่อด้วยเรื่องน่าสนใจ แต่เนื้อหาจริงกลับไม่มีอะไรหรือมีแต่โฆษณา, ข้อความที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ความขัดแย้ง รวมทั้งข่าวปลอม (Fake News) และบัญชีปลอม ตลอดจนข้อมูลที่ปลุกระดมไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือหลอกให้ไปผิดที่ ศุภิกา ยิ้มละมัย ที่มา: www.thairath.co.th 6 ทักษะดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในกลุ่มเทคโนโลยี จากมุมมองดีแทค Source - MGR Online (Th)Friday, March 08, 2019 19:14 36524 XTHAI XITBUS IT V%WIREL P%ASMO ดีแทคเผย 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พร้อมชูนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในองค์กร สร้างวัฒนธรรมเคารพซึ่งกันและกัน-ออฟฟิศปลอดภัย หนุนความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ความเท่าเทียมทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคมเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงเป็นวงกว้างในระดับโลก เนื่องจากจำนวนเพศหญิงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยียังมีสัดส่วนที่น้อย เพราะอัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีของเพศหญิง ขาดการสนับสนุนของภาครัฐ การขาดแบบอย่าง (Role model) ในตลาดแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศที่เกิดขึ้น รัฐบาล มหาวิทยาลัยและเอกชนจึงควรสนับสนุน 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศในภาคเทคโนโลยี ได้แก่ 1. ความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer literacy) เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดทักษะทางดิจิทัลแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นบันไดก้าวแรกในการก้าวสู่สายอาชีพทางเทคโนโลยีชั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนยังก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้หญิง ดังนั้น การมีความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ไอทีและความสามารถในการจำแนกความแตกต่างของเทคโนโลยีต่างๆ ได้ 2. โปรแกรมมิ่ง (Programming) เป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัลที่มีความต้องการสูงในตลาดแรงงาน ซึ่งในสหรัฐอเมริกา รายได้ของโปรแกรมเมอร์สูงถึงปีละ 62,860-106,580 ดอลลาร์ต่อปี และที่สำคัญทักษะโปรแกรมมิ่งสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้จากคอร์สออนไลน์ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีปริญญาในระดับมหาวิทยาลับรับรอง 3. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีความต้องการอย่างมากในตลาด เนื่องจากเทคโนโลยี Smart Home ต่างๆ รวมถึงยานยนต์ไร้คนขับกำลังได้รับการพัฒนาอย่างก้าวหน้าในทุกปีๆ ซึ่งทักษะที่เกี่ยวเนื่องกับปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ Machine learning, Deep learningและระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP) 4. เทคโนโลยีเสมือน (Virtual Reality: VR) กำลังเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมบันเทิงและการแพทย์ การเข้าใจเทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยพัฒนากลยุทธ์และโมเดลทางธุรกิจ ตลอดจนโซลูชั่นใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งผู้หญิงสามารถร่วมกำหนดทิศทางไม่ว่าจะเป็นด้านโปรแกรมมิ่ง กลยุทธ์ทางธุรกิจ และการตลาด 5. วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นศาสตร์ที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการทราบความต้องการของลูกค้าและตลาด นอกจากนี้ ยังมีการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมอีกด้วย 6. การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ถือเป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัล เนื่องจากการทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัลมีปริมาณมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคหันไปใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เช่น SEO Content marketing Video search Video content Conversion optimization เป็นต้น “เพื่อลดช่องว่างทางเพศที่เกิดขึ้นในภาคเทคโนโลยี องค์กรต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการอบรมและให้คำปรึกษา (Mentorship) และการให้โอกาสที่เท่าเทียม เพื่อให้ผู้หญิงสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาทางเทคโนโลยีในอนาคต” นางอเล็กซานดรา กล่าวเสริมว่า เพื่อตอกย้ำจุดยืนของดีแทคในการสนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างไม่เพียงเรื่องเพศ แต่ยังรวมไปถึงชาติพันธุ์ ศาสนา ดีแทคจึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ ที่สนับสนุนความหลากหลายในองค์กร (Diverse workplace) ต่างๆ เช่น นโยบายลาคลอด 6 เดือน สิ่งอำนวยความสะดวก การสร้างวัฒนธรรมเคารพในความแตกต่าง และนโยบายออฟฟิศปลอดภัย “ความแตกต่างทางเพศนั้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ตลอดจนการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งดีแทคได้มุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศชายและหญิงผ่านนโยบายต่างๆ ที่สร้างสมดุลและเอื้อให้เกิดสภาวะการทำงานที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ตัวอย่างเช่น นโยบายลาคลอด 6เดือน ซึ่งดีแทคถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้พนักงานที่มีบุตรสามารถลาคลอดได้ 6เดือน โดยยังรับเงินเดือนเต็มอัตรา การอำนวยความสะดวกของคุณแม่ผ่านห้องให้นมบุตร ห้องเด็กเล่น เป็นต้น” นอกจากนี้ ดีแทคยังมีแนวนโยบายในการสร้างออฟฟิศปลอดภัย ผ่านการให้ความรู้และขั้นตอนการรายงานเมื่อเกิดเหตุ เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน (Prevention to Sexual Harassment)ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งขององค์กร “การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันจะเป็นกุญแจสำคัญของการความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในองค์กร และก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า”--จบ-- ที่มา: https://mgronline.com ทักษะ 21 6 ทักษะดิจิทัล ทักษะเอไอ ทักษะพุทธ 26 ทักษะ 4.0 

บทที่ ๒-ข้อมูลสื่อออนไลน์

สถิติคนไทยใช้สื่อออนไลน์ วันที่ 18 ก.ค.2561 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในปาฐกถาหัวข้อ”มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อสุขภาพคนไทย”ว่า คนไทยใช้โทรศัพท์ประมาณ 90 ล้านเครื่อง บางคนใช้ 2-3 เครื่อง และใช้ เฟสบุ๊ก กว่า70ล้านไอดี ถือมีสถิติการใช้ที่สูงที่สุดไปอาเซียน นับได้ว่าโซเชียลมีเดียมีบทบาทสูงต่อสังคมปัจจุบันและสังคมโลกและไม่สามารถควบคุมได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ขอให้ระมัดระวังการเขียนข่าวจะเขียนเสนอข่าวหรือสัมภาษณ์ - "บิ๊กตู่"เตือนสื่อถามทีมหมูป่าอย่างระวังรับคุมโซเชียลไม่ได้, http://www.banmuang.co.th/news/politic/118544,วันที่ 7 มี.ค.2562 พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้ทันโลกของดิจิทัล - สนช.จัดเสวนา"กระตุกต่อมเทคโนฯรับมือดิจิทัลพลิกโลก" http://click.senate.go.th/?p=60883),วันที่ 7 มี.ค.2562 ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า-NIDA) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสื่อสารมวลชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและ สร้างสรรค์ กล่าวในงานเสวนา "ถอดบทเรียนการทำข่าวถ้ำหลวง" ณ สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อธิบายปรากฏการณ์ครั้งนี้ ที่สื่อมวลชนโดยเฉพาะสื่อไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ไว้ 5 ข้อ คือ 1.ขาดความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของ ผู้บริโภค 2.ขาดความใส่ใจจริยธรรม 3.ขาดความสร้างสรรค์ 4.ขาดการยอมรับผิด สื่อบางสำนักยังคงเชื่อว่าตนเองไม่ผิดแล้วก็ก่อประเด็นตอบโต้ต่อไป และ 5.ขาดการควบคุมกันเองสมาคมวิชาชีพมีการทำอะไรมากกว่าการออกประกาศบ้างหรือไม่ ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการ สำนักข่าว ThaiPBS ต้องการข่าว ดีที่สุด เร็วที่สุด ลึกที่สุด และครอบคลุมที่สุด นันทสิทธิ์ นิตย์เมธา อุปนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ให้มุมมองว่า เหตุการณ์ถ้ำหลวงพบว่าสื่อออนไลน์มาแรงมาก ทั้งการถ่ายทอดสดผ่าน "เฟซบุ๊ค ไลฟ์" (Facebook Live) หรือรายงาน ข้อความสั้นๆ ผ่าน "ทวิตเตอร์" (Twitter) ไม่ว่าสื่อดั้งเดิมที่เพิ่มเติมช่องทางนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ หรือสำนักข่าวออนไลน์ที่ตั้งขึ้นใหม่ แต่ท่ามกลางความนิยมนี้เอง "ข่าวปลอม" (Fake News) เป็นปัญหาที่สื่อออนไลน์พบบ่อยๆ ประเภทเอาภาพเหตุการณ์ที่หนึ่งมาเขียนบรรยายเรื่องราวอีกเรื่องหนึ่งให้เข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน นอกจากนี้ "สื่อออนไลน์เองก็มี 2 กลุ่ม" กลุ่มหนึ่งมีการส่ง นักข่าวลงไปทำงานในพื้นที่จริง กลุ่มนี้จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนรายงาน กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำแต่เพียงรวบรวมข่าวอยู่กับที่อย่างเดียว โดยกลุ่มนี้อาจเกิดข้อผิดพลาดได้หรือไม่? สุภิญญา กลางณรงค์ อดีต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า อาจจะมีสื่อบางส่วนล้ำเส้นไปบ้าง เช่น การใช้โดรนบินถ่ายภาพ เรื่องนี้เข้าใจว่าที่ผ่านมายังมีความสับสนกันอยู่ http://www.banmuang.co.th/news/region/118659) -ภารกิจวันแรกทีมหมูป่า!ญาติพาทำบุญสืบชะตาอุทิศส่วนกุศลให้"จ่าแซม" วันที่ 30 ก.ค.2561 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จับมือสหภาพแรงงานกลางสื่ิอมวลชนไทย และหลายองค์กร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรงและภัยพิบัติ” หรือ Safety Training รุ่นที่ 9 ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 26 – วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เนื้อหาหลักสูตรของการอบรมครั้งนี้ประกอบด้วย 1.การเตรียมตัวและวางแผนก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานข่าว 2.การเข้าทำข่าวในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติและพื้นที่ความขัดแย้ง 3. การเอาตัวรอด ช่วยชีวิต และการปฐมพยาบาลเชิงยุทธวิธีในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ 4.ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งและภัยพิบัติ ไม่ให้เป็นผู้ขยายข้อความเพิ่มความขัดแย้ง หรือ Hate speech รวมทั้งเป็นผู้ตรวจสอบข่าวลือ ข่าวลวง หรือ Fake news ที่กำลังเป็นปัญหาของโลกออนไลน์ในปัจจุบัน -อบรมนักข่าวเพิ่มทักษะทำข่าวยามขัดแย้ง-ภัยมา https://siampongsnews.blogspot.com/2018/07/blog-post_270.html สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย PRThailand เปิดการอบรมหลักสูตร EXCOMM - PRThailand 8 : การบริหารงานสื่อสารเพื่อพัฒนาธุรกิจ ในประเด็น “กลยุทธ์การสร้างแบรนด์องค์กรและการสื่อสารการตลาดเพื่อรับมือแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 : Corporate and Brand Communication Strategies 4.0 ” ทุกวันเสาร์ ระหว่าง 1 กันยายน - 6 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมอโนมา ราชดำริ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย กล่าวว่า เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาแบบ 4.0 ดังนั้น องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ การตลาด ภาพลักษณ์ แบรนด์ การสื่อสารที่หลากหลาย ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างมีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อวางระบบ ปรับทิศทางการสื่อสารขององค์กร ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารประเด็น ให้ตอบสนองเป้าหมาย ได้อย่างตรงจุด ก้าวทันต่อกระแสการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับกระบวนทัศน์ การบริหารภาพลักษณ์องค์กร การสื่อสารทางการตลาด Brand และ CSR ควบคู่ไปกับการใช้นวัตกรรมทางสื่อสารบนโลกดิจิทัล ด้วย เทคนิค วิธีการ เครื่องมือการสื่อสารทุกรูปแบบ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโลกและประเทศไทยในอนาคต ดังนั้น สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จึงได้เปิดหลักสูตร EXCOMM - PRThailand (Executive Communication Program : การบริหารงานสื่อสารเพื่อพัฒนาธุรกิจ ) ซึ่งเป็นหลักสูตรของสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ที่ปรับปรุงขึ้นล่าสุดของวงการบริหารงานสื่อสาร ที่เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและปฏิบัติงานสื่อสารขององค์กร โดยกำหนดเนื้อหาหลักให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทั้งด้านการบริหารงานสื่อสารและเทคโนโลยี ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยปีนี้ ได้กำหนดให้มีการจัดอบรมในหัวข้อ “กลยุทธ์การสร้างแบรนด์องค์กรและการสื่อสารการตลาดเพื่อรับมือแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 : Corporate and Brand Communication Strategies 4.0 ” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทั้งด้านสื่อสารองค์กรและสื่อสารการตลาด ที่สามารถรับมือกับผู้บริโภคปัจจุบันและอนาคต ด้วยนำกลยุทธ์การสื่อสารใหม่ๆ การวางตำแหน่ง Brand / จุดยืน กำหนดประเด็นสื่อสารให้ชัดเจนมากขึ้น หลักสุตรดังกล่าว เหมาะสำหรับ ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้บริหารงานสื่อสารองค์กร – ประชาสัมพันธ์ - Brand นักการตลาด นักโฆษณา นักสื่อสารกลยุทธ์แบบบูรณาการ ผู้บริหารสื่อสารมวลชน สื่อดิจิทัล สื่อโทรคมนาคม ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านวางแผน กำหนดกลยุทธ์ สื่อสารการตลาด การส่งเสริมการขาย ภาพลักษณ์องค์กรและกิจการองค์กรเพื่อสังคม ตลอดจนงานที่เกี่ยวข้องจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมนอกจากจะได้รับแนวคิด ประสบการณ์ และกระบวนการเรียนรู้ทางการสื่อสารเพื่อนำไปวางแผน ปรับปรุง แก้ไข ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินงานด้านสื่อสารขององค์กรแล้ว ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดกับวิทยากรชั้นนำ ร่วมวิเคราะห์ วางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสารในประเด็นที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่มีศักยภาพทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ท่านละ 32,000 บาท ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย โทรศัพท์ 081 - 939 - 9964 / www.prthailand.com / e-mail tpra.prthailand@gmail.com- สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย เปิดหลักสูตร “กลยุทธ์การสร้างองค์กรและการสื่อสารการตลาด 4.0”-https://siampongsnews.blogspot.com/2018/08/40.html รูปแบบหรือเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญ อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คน ทำให้ผู้คนสามารถสื่อสารถึงกันได้หลากหลายวิธีแต่ไม่ใช่หนึ่งต่อหนึ่งดังเก่าก่อน เช่นส่งจดหมายถึงกันหรือโทรศัพท์ถึงกัน หากสื่อสารจากคนหนึ่งถึงหลายคนได้ เช่น การโพสต์ลงFacebook / Instagram / Line Group ฯลฯ โลกที่เปลี่ยนแปลงใหม่เช่นนี้มีบางแง่มุมให้ขบคิด ในค.ศ. 1967 นักวิชาการด้านสื่อสารชาวคานาดา ชื่อ Marshall McLuhan ได้กล่าวไว้สั้นๆ เมื่อตอนเกิดการปฏิวัติสื่อครั้งสำคัญของยุคนั้น คือเปลี่ยนจากจากสิ่งพิมพ์สู่โทรทัศน์ว่า“(รูปแบบ) สื่อนั่นแหละ คือข้อความ(สิ่งสำคัญ)” (The medium is the message.) ที่น่าแปลกใจก็คือ ข้อความดังกล่าวก็ยังคงเป็นจริงอยู่ในวันนี้ ข้อความนี้มิได้หมายความว่าสื่อ(บอร์ดติดข่าวแบบจีนสมัยก่อนการแจกใบปลิว วิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ)มีความสำคัญมากกว่าข้อความ หากหมายความว่า ข้อความมิได้มีความสำคัญเพราะสื่อสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา ตลอดจนวิธีคิดและการดำเนินชีวิตด้วย พูดอีกอย่างก็คือ สื่อมีความสำคัญไม่ใช่เพราะเนื้อหา แต่เพราะมันเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน ตัวอย่างเช่นโทรทัศน์มีเนื้อหาเข้มข้นรายงานสดอย่างรวดเร็ว แต่โทรทัศน์มิได้มีความสำคัญเพราะคุณภาพหรือปริมาณของเนื้อหา หากแต่ว่าเพราะโทรทัศน์เปลี่ยนวิถีชีวิตให้แตกต่างไปจากการเคยนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ เมื่อมีโทรทัศน์ก็เสพข่าวสารโดยเป็นนักวิ่งจากเก้าอี้ถึงตู้เย็นระหว่างโฆษณา ซึ่งต่างไปจากการอ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งมิได้ทำให้เป็นนักกีฬาวิ่งแข่งเวลา McLuhan ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจมาก เมื่อข้อความเปลี่ยนเราอาจเปลี่ยนใจได้ แต่ถ้าสื่อเปลี่ยนรูปแบบมันเปลี่ยนพฤติกรรมของเราไปเลย การโฆษณาหรือข่าวอาจทำให้เราเปลี่ยนความรู้สึกที่มีต่อบางสิ่ง แต่ถ้าสื่อเปลี่ยนรูปแบบแล้วมันเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งหมดเลยทีเดียวดังเช่นตัวอย่างหนังสือพิมพ์สู่โทรทัศน์ เมื่อหันมามองปัจจุบัน คำกล่าวของ McLuhan ก็ก้องหู การใช้สมาร์ทโฟนผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เราไม่นั่งดูโทรทัศน์ร่วมกันเป็นครอบครัวดังที่เคยเป็นมา อย่างน้อยก็ 1 ถึง 2 ชั่วคน แต่กลายเป็นต่างคนต่างดูจอสมาร์ทโฟนของแต่ละคน ดูรายการและรับข่าวสารตามรสนิยมของตน เมื่อครอบครัวหรือคู่หนุ่มสาวไปรับประทานอาหารกันนอกบ้าน ต่างคนก็ต่างมี คนละจอ ต่างคนต่างดู ต่างคนต่างกดส่งข้อความถึงคนอื่นที่อยู่ไกลออกไป โดยพูดจากับคนนั่งโต๊ะเดียวกันน้อยลงจนเหมือนคนแปลกหน้ามานั่งร่วมโต๊ะกัน นี่แหละ“(รูปแบบ)สื่อคือคำตอบ” ในโลกปัจจุบันเราพูดได้ว่าไม่ใช่สิ่งที่เราอ่านในสมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนพฤติกรรมของเรา หากการอ่านสมาร์ทโฟน(ทุกๆ 15นาที)ต่างหากคือตัวการของการเปลี่ยนพฤติกรรมของเราตัวอย่างเช่นการอ่านพบว่าการบริโภคใบมะกรูดมีผลดีต่อสุขภาพ อาจเปลี่ยนพฤติกรรมของเราบ้าง แต่นิสัยการอ่านสมาร์ท โฟนคือตัวเปลี่ยนที่สำคัญยิ่ง ขอกลับมาเรื่องการสื่อสารออนไลน์สมัยใหม่ที่เป็น“หนึ่งไปถึงหลายคน” ลักษณะหนึ่งที่สำคัญก็คือเป็น “การนำเสนอตนเอง” (self-presentation) กล่าวคือต้องการให้คนอื่นเห็นด้านดีของเรา คนจำนวนมากโพสต์รูปตัวเองที่งดงาม(มักแตกต่างจากความจริงไปมากในเกือบทุกกรณี) อาหารที่เห็นแล้วน้ำลายไหลการท่องเที่ยวในต่างประเทศที่สมบูรณ์แบบ งานเลี้ยงเลิศหรู รถยนต์ราคาแพง ฯลฯ สิ่งที่เขาเหล่านี้ต้องการก็คือ การให้คนอื่นเห็นเขา(หลักฐานก็คือ“like” “share”) แต่ในขณะเดียวกันตัวเองก็เห็นชีวิตที่แสนสมบูรณ์แบบของเพื่อนๆ อีกเช่นกัน(มีคนกด“like”และ“share”มากมาย) โดยเราไม่ได้“ไปถึง”อย่างเขา จึงมักเกิดปรากฏการณ์ดังที่นักจิตวิทยาเรียกว่าFear of Mission Out (FoMo) ซึ่งเป็นความรู้สึกไม่สบายใจที่คนอื่นๆ มีมากกว่าหรือทำอย่างอื่นมากกว่าโดยที่ตนเอง “หลุดโอกาส” ความรู้สึกเช่นนี้ ไม่ทำให้เกิดความสุขจะเรียกว่า ริษยาก็ไม่เชิง มันเป็นความรู้สึกกลัวเกรงลึกๆว่าตนเองจะ“หลุดโอกาส”ไม่ได้มีหรือเป็นเช่นเขาอื่นๆ(มันไม่ใช่การ“หลุดไป”จริงๆ หากเป็นความรู้สึกของความกลัว“การหลุด” ดังนั้น สมาร์ทโฟนจึงไม่ใช่เพื่อนที่ดีที่สุด เพราะมันเป็นตัวเร่ง FoMo และทำให้ทุกข์ใจในบางครั้งเมื่อเช็คสมาร์ทโฟนแล้วคนอื่นไม่เห็นตนเองมากดังที่ต้องการ แถมยังรู้สึกว่าตนเอง“หลุดโอกาส”ไปอีกด้วย จากการสำรวจพบว่าคนอายุต่ำกว่า35ปีรู้สึกทนทุกข์กับFoMoมากว่าคนวัยอื่นและผู้ชายทนทุกข์มากกว่าผู้หญิง วัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่ คนมีความทุกข์มากกว่าคนที่มีความสุข เวลาผ่านไป 50 ปี ข้อสังเกตของ McLuhan ก็ยังเป็นจริง “(รูปแบบ)สื่อนั่นแหละคือข้อความ(สิ่งสำคัญ)” ใครที่มีพฤติกรรมหลงใหลสมาร์ทโฟนชนิดที่เช็คทุก 15 นาที โดยแท้จริงแล้วกำลังวุ่นวายกับการนำเสนอตัวเองว่า จะมีใครเห็นมากน้อยเพียงใดและมีความกังวลในเรื่อง“การหลุด” Rene Descartes (ค.ศ. 1596-1650) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสโด่งดังด้วยประโยคภาษาละตินที่ว่าCogito ergo sum (I think, therefore I am) แต่ว่าในปัจจุบันได้กลายเป็น Others are thinking of me, therefore I am. (อ้างคำพูดของPeter Sloterdijk นักปรัชญาชาวเยอรมัน วัย 71 ปี(ค.ศ.1947-ปัจจุบัน)) (รูปแบบหรือเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญ), ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ, รูปแบบสื่อคือคำตอบ, คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "อาหารสมอง", http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645240 วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2561.-https://siampongsnews.blogspot.com/2018/08/blog-post_89.html วิวัฒนาการสู่ความเป็นดิจิทัล- https://siampongsnews.blogspot.com/2018/08/blog-post_7.html สมเด็จฯอาจพระเถระต้นแบบสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารกิจการคณะสงฆ์เชิงรุกสื่อวิทยานิพนธ์ องค์กร(คณะสงฆ์)พร้อมนำDataมาใช้แค่ไหนสื่อวิทยานิพนธ์ โลกชู!"โคฟี่ อันนัน"รัฐบุรุษพหุภาคีนิยมอย่างแท้จริงสื่อวิทยานิพนธ์ เฟซบุ๊กขนปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอป้องโรฮีนจาในเมียนมาสื่อวิทยานิพนธ์ "บิ๊กตู่"เมินหุ่นยนต์เอไองานมหกรรมวิทย์และเทค61สื่อวิทยานิพนธ์ พระมหาไพรวัลย์ไม่รู้ว่าจะฟังใครดี"โยมเสก-สีกาลีน่า-ปู่มหามุนี"๔.๐สื่อวิทยานิพนธ์ ดีแทคเปิดตัว AI Lab มธ.แหล่งเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์สื่อวิทยานิพนธ์ ดร.สุวิทย์ชมม.บูรพาร่วมขับเคลื่อนEECสู่Thailand4.0สื่อวิทยานิพนธ์ จริงกว่าดิจิทัล!เมื่อ AI เปลี่ยนโฉมหน้าวงการการศึกษาสื่อวิทยานิพนธ์ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์รมว.วิทย์แพร่คลิปฝึกสมาธิสัมพันธ์วิทย์สื่อวิทยานิพนธ์ การทบทวนวรรณกรรม มีหลัก 5Cสื่อวิทยานิพนธ์ กองทัพในบท"สื่อ"ตั้ง"เพจทหาร"ปรับตัวรุกโซเชียลสื่อวิทยานิพนธ์ สัมมนาครั้งใหญ่ผนึกกำลังดิจิทัลไทยก้าวไกลระดับโลกสื่อวิทยานิพนธ์ บทเรียนยูทูบเบอร์จุดประทัดลูกบอล สะท้อนขาดหลักการสื่อสารสันติภาพเชิงพุทธสื่อวิทยานิพนธ์ สุดยอด!สมาร์ท"โฮม-ฟาร์ม"นวัตกรรมเริ่มต้นที่วัดแข่งได้เหรียญทองสื่อวิทยานิพนธ์ "Fake Newsปัญหาข่าวปลอม"สื่อไทยเตรียมถกแก้สื่อวิทยานิพนธ์ Buddhism in digital era"พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล"อย่างไรสื่อวิทยานิพนธ์ "พิเชฐ"เผยยุทธศาสตร์เทคโนโลยีรับ"ไทยแลนด์ 4.0"สื่อวิทยานิพนธ์ นั่งสมาธิทุกวัน!'สุทธิชัย หยุ่น'คนข่าวยุคดิจิทัลวัย72ปีสื่อวิทยานิพนธ์ อธิการมทร.ธัญบุรีแนะ"4ป.1ร."ทางรอดมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัลสื่อวิทยานิพนธ์ (๕W+๑H)เครื่องมือหาความจำเป็นในการฝึกอบรมของวิทยากรต้นแบบสื่อวิทยานิพนธ์ งานวิจัยแห่งชาติ61! "ม.สงฆ์มจร"โชว์พุทธนวัตกรรม เครื่องถ่ายคัมภีร์ใบลานเครื่องแรกของโลกสื่อวิทยานิพนธ์ ตั้งวงถกสื่อปรับตัวก้าวกระโดดรับสังคมดิจิทัล สื่อเดนมาร์กเสนอ 9 ทางออกสื่อวิทยานิพนธ์ พระพรหมบัณฑิตพระผู้เป็นต้นคิดสื่อมวลชนของสงฆ์(๑)สื่อวิทยานิพนธ์ พัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมภาคพื้นดินไทย-ลาว-จีน-ฮ่องกงสื่อวิทยานิพนธ์ ธุรกิจไทยพึ่งAIแทน!พนักงานส่งผล 13 อาชีพเสี่ยงตกงานสื่อวิทยานิพนธ์ "เฟซบุ๊ก-ยูทูบ-แอปเปิล"แบนสื่อขวาจัดจุดเกลียดชัง"InfoWars"สื่อวิทยานิพนธ์ โลกเปลี่ยน! “สมาคมนักข่าวฯ”จัดอบรม 5 หลักสูตรพัฒนาศักยภาพคนข่าวสื่อวิทยานิพนธ์ ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์คืออะไรอย่างไรสื่อวิทยานิพนธ์ นักข่าวมีหน้าที่รู้คุณค่าข่าวแต่ต้องคำนึงหลักการสื่อวิทยานิพนธ์ "นิธิ เอียวศรีวงศ์"ชี้พระใช้เทคโนโลยีล้ำหน้าแต่เนื้อหาเดิมๆสื่อวิทยานิพนธ์ ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานเสริมสร้างสันติภาพโลกสื่อวิทยานิพนธ์ ทักษะ Convergent Journalismสื่อวิทยานิพนธ์ ประวัติเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคโบราณถึงยุคโทรคมนาการควอนตัมความเป็นมา, สื่อวิทยานิพนธ์ พระสงฆ์ควรพัฒนาทักษะการสื่อสารทางการเมืองสื่อวิทยานิพนธ์ พระพุทธเจ้าทรงใช้สื่อสอนธรรมสื่อวิทยานิพนธ์ วิเคราะห์แนวทางการสื่อสารเพื่อสันติภาพขององค์ทะไลมะที่ 14 ตามหลักพุทธสันติวิธีสื่อวิทยานิพนธ์ ''การุณยสาร : หนทางสู่สันติภาพ''สื่อวิทยานิพนธ์ การสื่อสารระหว่างบุคคลในฐานะสามีภรรยาตามหลักพระพุทธศาสนาสื่อวิทยานิพนธ์ ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธีสื่อวิทยานิพนธ์ รัฐบาลสิงคโปร์เริ่ม'AI Singapore'Thailand4.0ไม่พอแล้วสื่อวิทยานิพนธ์ 'สมคิด'สั่งกระทรวงดีอีลุยเศรษฐกิจดิจิทัลสื่อวิทยานิพนธ์ ดิจิทัลสร้างสรรค์สังคมยั่งยืน ถ้าผู้นำเลือกใช้งานอย่างมีสติสื่อวิทยานิพนธ์ ตำนานนักข่าวผียุคดิจิทัลไทยแลนด์4.0สื่อวิทยานิพนธ์ สกว.ระดมสมองโจทย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์สมองสื่อวิทยานิพนธ์ Customer Service ยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี AI, AR, VR และ Chatbotสื่อวิทยานิพนธ์ นวัตกรรมทางปัญญาในยุคดิจิทัล4ฐานปฎิรูปการศึกษาไทยสื่อวิทยานิพนธ์ แถลงข่าวการมีสติในยุคดิจิทัล(Digital Consciousness)สื่อวิทยานิพนธ์ “9 โมเดล” ทางรอด! ของ “สำนักข่าว” ยุคใหม่สื่อวิทยานิพนธ์ เผยคนไทยใช้เน็ต 10.5 ชั่วโมง/วัน Facebook-IG-Twitter-Pantip ครอง 3 ชม. 30 นาที/วัน เบบี้บูมใช้ไลน์เยอะสุดสื่อวิทยานิพนธ์ บทเรียน“ถ้ำหลวง”โอกาสยกระดับวงการสื่อไทยสื่อวิทยานิพนธ์ คนดูหลายล้านแล้ว!เด็กสร้างนวัตกรรมพับจรวดกระดาษ แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดบังคับร่อนไม่ตกสื่อวิทยานิพนธ์ ดูยัง!สุทธิชัย Live ว. วชิรเมธี : พุทธศาสนา กับ ปัญญาประดิษฐ์(AI) !!!สื่อวิทยานิพนธ์ การพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาระให้พระสงฆ์ในสังคมไทยสื่อวิทยานิพนธ์ ตะวันตกวันนี้!สื่อออนไลน์ดึงคนเข้าวัตรปฏิบัติธรรมสื่อวิทยานิพนธ์ รู้ยัง!มหาจุฬาฯมีพระไตรปิฏกออนไลน์ 45 เล่มสื่อวิทยานิพนธ์ Develop Buddhist monks to be Buddhist Journalism for world peace.สื่อวิทยานิพนธ์ องค์กรธุรกิจ 4.0 ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกปรับตัวอย่างไรสื่อวิทยานิพนธ์ รัฐบาลเล็งตั้งสถาบันวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ตั้งคณะทำงานร่วมติดตามและประเมิน“เน็ตประชารัฐ”สื่อวิทยานิพนธ์ AIบุก!ศธ.ตื่น-ทปอ.รับมหา’ลัยปรับตัวช้า-ไม่ทันโลกสื่อวิทยานิพนธ์ จัดเวทีระดมสมองทำสื่อออนไลน์รณรงค์4คุณธรรมแห่งชาติสื่อวิทยานิพนธ์ "มจร"ร่วมถกขับเคลื่อนสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เร่งทำสปอตรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์มุ่งเป้าคนเจนวายสื่อวิทยานิพนธ์ ความเหมือนต่างนักข่าวพุทธสันติวิธีสื่อวิทยานิพนธ์ พระพรหมบัณฑิตแนะคณะสงฆ์ปรับตัว ใช้สื่อออนไลน์เผยแพร่พุทธธรรมสื่อวิทยานิพนธ์ "บิ๊กตู่"ชมโชว์!แอพฯมวยไทย ชูวัฒนาธรรมบนโลกดิจิทัลสื่อวิทยานิพนธ์ เถียงกันอย่างไรให้สร้างสรรค์สื่อวิทยานิพนธ์ รู้ยัง!เหตุใด Google หนุนผู้บริหารและพนักงานฝึกเจริญสติ (Mindfulness)สื่อวิทยานิพนธ์ แนะนักการสื่อสารเชิงพุทธไม่ถูกเชิญก็ต้องทำหน้าที่ให้เป็นวิถีชีวิตสื่อวิทยานิพนธ์ "บิ๊กตู่"ขอสื่อสังคมออนไลน์ไม่สร้างขัดแย้งสื่อวิทยานิพนธ์ AIกับพระพุทธศาสนาจะมาบรรจบกันอย่างสันติอย่างไร? ?: สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงานสื่อวิทยานิพนธ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ ชูพุทธนวัตกรรมของมหาจุฬาฯแก้ปัญหาสังคมสื่อวิทยานิพนธ์ กูเกิล(Google)บทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อสันติภาพสื่อวิทยานิพนธ์ เปิดนวัตกรรม"Smart Living"บริการแพทย์ฉุกเฉินผู้สูงวัยสื่อวิทยานิพนธ์ "มมร-มจร"จับมือพัฒนาคณาจารย์ด้านพุทธ บริการสังคมภาวะโลก"disruption"สื่อวิทยานิพนธ์ บีบีซีสุดล้ำ!ใช้ AIตรวจสอบข่าวจริง-โปร่งใสสื่อวิทยานิพนธ์ สร้างวัฒนธรรมการรู้จักใช้สื่อออนไลน์อย่างมีสติมีปัญญาอย่างไรถึงมีอำนาจสื่อวิทยานิพนธ์ สื่อทางเลือกในสมรภูมิ”ข่าวอาวุธ”สื่อวิทยานิพนธ์ CMMU เปิดวิจัย“การตลาดผู้สูงวัย”เผย“ไลน์”ขึ้นแท่นสื่อทรงอิทธิพลและใช้งานสูงสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 65? 6/9/61 มหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไร!เมื่อกระทรวงอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรมคลอดสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 212? 6/9/61 จริยธรรมสื่อกับการรายงานข่าว “ถ้ำหลวงฯ”สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 17? 5/9/61 สรุป 12 เรื่องต้องรู้ ทิศทางการใช้สื่อดิจิทัลในไทยปี 2018 โดย DAATสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 21? 5/9/61 เสนอราชบัณฑิตยสภาบัญญัติคำ "Mindful Journalism" ในพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 92? 5/9/61 การเขียนบทสรุปงานวิจัยดุษฏีนิพนธ์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 18? 5/9/61 เผยเคล็ดลับ 5 เทคนิค “บริหารสมองดีชีวิตมีสุข”สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 8? 5/9/61 ยอดคุณพ่อAIไอเดียเจ๋ง!ประดิษฐ์หุ่นยนต์กล่องกระดาษให้ลูกใส่เล่นสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 58? 5/9/61 'สังคมก้มหน้า' ระเบิดเวลา พรากครอบครัว กลายเป็น 'มนุษย์ต่างดาว' ระหว่างกันสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 28? 4/9/61 "ศูนย์อาเซียนศึกษามจร"ทำBig Dataพุทธและพหุสังคมวัฒนธรรมอาเซียนสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 173? 4/9/61 "พิชัย"โชว์กึ๋น!สอนนิสิตจุฬาฯใช้AIให้เป็นรู้ทันEECสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 39? 4/9/61 ดุษฎีนิพนธ์พระวิทยากรธรรมะโอดี4.0 สุดยอดสันตินวัตกรรมเล่มแรกสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 1? 565? 2/9/61 "สุวิทย์"ชี้เทคโนโลยี"AI"อเมริกา จีน"ใครเหนือกว่าใครสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 36? 2/9/61 ไชโยพบแล้ว!สร้างรหัส"โง่ประดิษฐ์"ขัดขวาง AI ครองโลกสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 132? 2/9/61 "บิ๊กตู่"ปลื้ม"ดารา"ทำเรตติ้งกระฉูด หรือแค่ใช้ทฤษฎีเข็มฉีดยา?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 229? 1/9/61 วัดดังสุราษฎร์พาเด็กเข้าค่ายคุณธรรม ป้องกันเด็กติดโซเชียลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 47? 31/8/61 "พระว.วชิรเมธี"ชี้พัฒนาAIต้องตอบสนองด้านสันติภาพสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 218? 31/8/61 คุณค่าการใช้สื่อออนไลน์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 13? 30/8/61 เกษตรกร-ประมง-ฟาร์มโคนมเวียดนามนำ AI เพิ่มผลผลิตสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 31? 30/8/61 Streamingนวัตกรรมทางเลือกใหม่สื่อออนไลน์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 14? 30/8/61 ดร.ศักดิ์เผยโซเชียลมีเดียคือถังข้อมูล Big Data ที่แท้จริงสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 33? 30/8/61 กทปส.ให้ทุนหนุน4โครงการตระหนักตื่นรู้เท่าทันสื่อสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 16? 29/8/61 มธ.รุกตลาดวิชายุค4.0ผลิตสื่อออนไลน์ มุ่งเป้าวัย"โจ๋-ทำงาน-เกษียณ"สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 124? 29/8/61 บ.กูเกิ้ลสหรัฐใผ่ธรรม!นิมนต์"พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์"อบรมสมาธิภาวนาสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 569? 29/8/61 อินเดียจัดประชุมเครือข่ายสื่อพุทธเอเชีย ยกสติกระบวนการพัฒนายั่งยืนลดขัดแย้งสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 167? 28/8/61 เน็ตประชารัฐยังอืด"บิ๊กตู่"สั่งตรวจสอบด่วน ย้อนรอยแนวสื่อสารไทยแลนด์ 4.0 สู่ประชาชนสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 447? 28/8/61 โลกมืดสร้างปัญญาประดิษฐ์!รบ.ไทย-ฮังการีหนุนม.พุทธสร้างพุทธปัญญาส่องสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 279? 27/8/61 ใหญ่แค่ไหนก็ไม่รอด!ถ้าไม่"ซิกมันด์ ฟรอยด์-ไตรลักษณ์"สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 115? 27/8/61 "เอไอ-สื่อออนไลน์"บุก!มหาวิทยาลัยปรับตัวรับสถานการณ์อย่างไรสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 2? 256? 27/8/61 อัศจรรย์!"สื่อออนไลน์-สติ" จากเอเซียสู่ยุโรปกาลเวลาที่ตรงกันสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 178? 27/8/61 "อสม.ออนไลน์"นวัตกรรมการสื่อสารสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 21? 27/8/61 เพราะอะไร!"คนยุโรป-อเมริกา"สบายด้วย AI ยังใส่ใจฝึกสติสมาธิ?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 2? 451? 26/8/61 ม.พุทธฮังการีเปิดตลาดนัดนักสติโลกกว่า300ชีวิต หาสูตรยาอัดฉีดจิตอาสา"เยียวยาโรค-รู้เท่าทันโลก"สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 261? 26/8/61 AIบุก!ย้อนรอย"บิ๊กตู่"เบรกหัวทิ่มแผนขับเคลื่อนรบ.ดิจิทัลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 249? 25/8/61 "AI"บุก! ส่องท่าที"รัฐบาล-คณะสงฆ์"ยุคไทยแลนด์๔.๐สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 277? 25/8/61 รัฐบาลญี่ปุ่น พลิกผันหันมาลงทุนวิจัย AI มากกว่าหุ่นยนต์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 21? 24/8/61 มุมมองประกันคุณภาพการเทศน์ของพระพรหมบัณฑิตกับทฤษฎีการสื่อสารSMCRสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 938? 24/8/61 บีบีซีไทยรายงาน!ป.โทวิปัสสนาดีกรีดับทุกข์อดีตปาร์ตี้เกิร์ลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 1735? 24/8/61 ศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีความต้องการ5ด้านของมาสโลว์กับพุทธรรมสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 55? 24/8/61 13 ประเด็นชวนคิด อนาคตของ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ทุกคนควรรู้สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 58? 23/8/61 รมว.ดิจิทัลฯประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 4/2561สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 12? 23/8/61 "ไทย-ฮังการี"ทำหลักสูตรสติกับสมาธิแบบออนไลน์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 147? 23/8/61 แนะสถาบันพระปกเกล้าจัดทำหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อยุคโซเชียลมีเดียสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 13? 23/8/61 เสพสื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน ต้อง 3 ส. "ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง"สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 21? 23/8/61 ไทยแลนด์๔.๐! พุทธศาสนา"ก้าว ทัน ข้าม"อย่างไร?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 316? 23/8/61 บูรณาการทฤษฎีการสื่อสารSMCRเข้ากับหลักอริยสัจโมเดลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 164? 22/8/61 เมื่อสื่อออนไลน์ทะลุกำแพงวัด!ทักษะสื่อสารตามSMCRจำเป็นที่พระต้องมี?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 271? 22/8/61 ผู้ว่าฯสมุทรสงครามนำธรรมสร้างเยาวชนมีภูมิรู้เท่าทันสื่อสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 19? 22/8/61 "กระบวนการ-สภาวะ-ขอบเขต-จุดเริ่มต้น"สันติภาพมุมมองพระพรหมบัณฑิตสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 571? 21/8/61 นักเทศน์ตกงานแน่!AIทำหน้าที่อาจารย์"เสมือนจริง"ได้แล้วสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 617? 20/8/61 องค์กรสื่อไทย-เทศจับมือ!ฆ่าข่าวปลอมไม่พอกำจัดข่าวอกุศลด้วยสื่อวิทยานิพนธ์ แก้ไข | ดู | ลบ อธิการ มจร'แนะครูวิถีพุทธยุคดิจิทัลต้องมี'3A' ชี้สร้างคนด้วยไอทียังไม่สมบูรณ์หากขาดพัฒนาจิตวิญญาณ ชี้หุ่นยนต์เป็นเพียงตัวช่วยครูสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 8? 2/3/62 แห่ให้กำลังใจ'อรวรรณ ชูดี' ถูกปลดพิธีกรดีเบตกระทบ'บิ๊กตู่'สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 686? 1/3/62 แนะนำ ทักษะ 6 อย่างที่ผู้นำรุ่นใหม่ต้องมีสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 6? 28/2/62 แนะบูรณาการปัญญาประดิษฐ์กับปัญญาจากธรรมชาติสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 10? 28/2/62 นิเวศน์สื่อใหม่เรื่อง#การพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 6? 26/2/62 ด่า'ปวิน'ถ่อยทราม!'พระมหาไพรวัลย์'โต้เดือด'มึงต้องการอะไรจากกู'สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 10? 4/2/62 หนุนพระสงฆ์ศึกษาทักษะการสื่อสารการโค้ชแนวพุทธสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 28? 30/1/62 พระมหาไพรวัลย์โต้เดือน'ปวิน'ปมพระเล่นเฟซบุ๊ก(เป็นข้อมูล)การเมืองออนไลน์, สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 8? 20/1/62 ดร.เจ้าคณะตำบลแนะวิธีพระสงฆ์รู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 14? 5/1/62 'ซึมแทรก ซึมทรุด'! ส.สื่อรายงานสถานการณ์สื่อปี2561สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 19? 30/12/61 พระพรหมบัณฑิตแนะพระธรรมทูตยุค๔.๐ต้องใช้สื่อออนไลน์เป็นสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 29? 25/12/61 เปิดใจ!พระส.ส.ดาวสภาศรีลังกา ทำหน้าที่ไม่แพ้ฆราวาส ชื่นชอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 32? 24/12/61 'อธิการบดี มจร'ชี้ชีวิตไม่มีสติเป็นฐานสร้างความขัดแย้งสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 31? 24/12/61 ซึ้งในรสพระทำ!อีสปอร์ต : 'อี' ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาวะเด็กสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 21? 21/12/61 สติศึกษาเป็นฐานพัฒนาทักษะศตวรรษที่21สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 43? 19/12/61 'อธิการบดี มจร' แนะนิสิตปฏิบัติธรรม นำสามไตรเสริมวิชาชีวิต ผ่าวิกฤติยุคDisruptionสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 27? 18/12/61 'เศรษฐพงค์'แนะสื่อเตรียมรับมือปีหน้า'แลนด์สไลด์'แน่สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 8? 15/12/61 ความจริงที่วงการศึกษาต้องตระหนัก !!!+++สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 4? 12/12/61 สุดล้ำ!'มจร'จัดถกปัญญาประดิษฐ์(AI) ช่วยป้องแฮ็กสอนธรรมของพระสงฆ์ไทยสื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 18? 12/12/61 'บิ๊กตู่'โพสต์เตือน!'แชร์-เสพข่าว'อย่างมีสติสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 1? 38? 8/12/61 แจกซิมแก้จน...คิดได้แต่ล้าหลัง?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 32? 6/12/61 ปฏิวัติ!'นักข่าวอีสาน' ก้าวสู่โลกใหม่บนมือถือ เป็น'นักข่าวมืออาชีพ'สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 14? 27/11/61 'พระว.วชิรเมธี'ชี้แนะ! 'โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน : แนวคิดและพลังในการสร้างสันติภาพโลก'สันติภาพ, สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 2? 170? 19/11/61 คนรุ่นใหม่บอกตามข่าวเลือกตั้งจากสื่อออนไลน์ประโยชน์สื่อออนไลน์, สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 11? 16/11/61 'พระว.วชิรเมธี' วอน'สื่อมวลชนไทย ควรหาความรู้ให้แน่ ใช่แค่มโน' ปมสอนเรื่องการฆ่าเวลาแปลงสารเป็นเรื่องฆ่าคนสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 113? 16/11/61 พระวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่นที่1สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 18? 16/11/61 อานันท์ ปันยารชุน:คุณค่าสื่อสาธารณะในศตวรรษที่ 21สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 20? 15/11/61 สื่อยักษ์จีนโตสวนกระแสออนไลน์ รับนำ AI มาใช้แล้วสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 36? 14/11/61 นวคุณสมบัติวิศวกรสันติภาพทัศนะของหลวงพ่อพุทธทาสสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 5? 14/11/61 เฟซบุ๊กจับตาการเลือกตั้งไทยที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้สื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 4? 13/11/61 เตรียมถวายตำแหน่ง'ผู้อุปถัมภ์ UNHCR ด้านสันติภาพและเมตตาธรรมแก่พระว.วชิรเมธีสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 97? 13/11/61 "AI กับงานข่าว"ทำได้มากกว่าที่คุณจะคิด?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 7? 12/11/61 กรุงปารีสมีห้องสมุดสันติภาพ ไทยสุดยอดกว่ามีร้านกาแฟนาฬิกาสันติภาพสื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 77? 11/11/61 พระธัมมเจดีย์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 7? 11/11/61 พุทธทาสในโลกดิจิทัล กับ ดร.เสนาะ อูนากูลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 15? 10/11/61 ชูสติศึกษาบนเวทีพุทธเมืองปารีส เป็นฐานใช้ AI สร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 142? 4/11/61 MIDL Weekรู้เท่าทันสื่อกับแนวคิดเรื่องพลเมืองประชาธิปไตยสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 11? 3/11/61 รายรับ - รายจ่าย สื่อในยุคดิจิทัล (2) เข้ากระเป๋าซ้าย - ออกกระเป๋าขวา x นิวบิสเนสโมเดลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 6? 3/11/61 มองและฟัง ‘ประเทศกูมี’ ผ่านมานุษยวิทยาสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 5? 1/11/61 รวมหนังสือปรัชญาสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 58? 29/10/61 พระมหาสมปองหวั่น! ไร้ทายาทสืบธรรมะเดลิเวอรี่ มอบพระวิทยากรต้นแบบสันติภาพปั้นสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 137? 29/10/61 5 เทรนด์ วิศวกรยุคใหม่รับไทยแลนด์ 4.0สื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 5? 28/10/61 แบบสัมภาษณ์ (Interview Guide) เพื่อการศึกษาวิจัยเรื่อง พุทธนวัตกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมสันติภาพโดยพระสงฆ์สู่สังคมไทยสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 9? 27/10/61 วัดกึ๋นนักเลือกตั้งปี62!ดูที่นโยบายรองรับไทยแลนด์ยุค'5G-AI' :สื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 30? 26/10/61 พลังสื่อตู่ดิจิทัล! ประเทศมีสติAIถึงจะยังยืนปฏิรูปสอนพุทธ, สติศึกษา, สื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 27? 26/10/61 หวังเด็กรู้ทันสื่อดิจิทัล! ระดมสมองยกสติศึกษาเป็นฐาน ปรับหลักสูตรสอนพุทธในโรงเรียนสพฐ.ปฏิรูปสอนพุทธ, สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 63? 26/10/61 'บวรศักดิ์'แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปสอนพุทธในร.ร.สพฐ.สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 52? 25/10/61 ภาพเปรียบเทียบ Big Data Architecture โดยใช้ Hadoop กับการใช้ Public Cloud ของ Google, AWS หรือ Azureสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 8? 25/10/61 ผู้บริหารธนาคารไทยใฝ่คุณธรรมฝึกสติรองรับAIสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 83? 25/10/61 จะเอาอะไรไปสู้! 1 วันของ เทวดา AI เท่ากับ 180 ปีของมนุษย์สื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 206? 25/10/61 Idea'5.0-4Ts-LAsRaiW'สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 3? 24/10/61 ปัญญาประดิษฐ์(AI) สมเด็จป.อ.ปยุตฺโต พูดไว้นานแล้วหนอสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 164? 24/10/61 เฟซบุ๊กเผยผลศึกษาเทคโนโลยี(AI)ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสูงสื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 10? 23/10/61 ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Library Press Display)มธ.สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 6? 23/10/61 Data Monetization Strategy Frameworkสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 11? 23/10/61 'รมต.แก้จน-ศิลปิน-ตร.-นักวิจัย-นักข่าว' AIเป็นหมดมนุษย์จะทำอะไรสื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 117? 22/10/61 'อธิการบดีมจร'แนะโลกพัฒนาถึงAIอย่าลืมพัฒนาด้านจิตใจสื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 162? 22/10/61 นักข่าวต้องเขียนโค้ดเป็นสั่งAIเขียนรายงานข่าวแทนสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 67? 22/10/61 เข้าใจ"สติปัญญา"แบบไทยๆทำให้ระบบการศึกษาไทยติดหล่ม?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 126? 22/10/61 พุทโธเดียปรัชญากับปัญญาประดิษฐ์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 15? 22/10/61 สติศึกษาตัวกำกับปัญญาประดิษฐ์ให้เป็นสัมมาปัญญาประดิษฐ์(AI)สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 241? 22/10/61 AIมา7เทรนด์การศึกษาแห่งโลกอนาคตสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 60? 21/10/61 ลักษณะของสติสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 11? 20/10/61 ทฤษฎีการสื่อสารSMCRเชิงพุทธสันติวิธีบูรณาการสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 15? 20/10/61 ปลัดวิทย์แนะมหาวิทยาลัยต้องปรับมีสติอยู่กับAIให้ได้สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 69? 20/10/61 นักวิจัยAIกำลังพัฒนาไอทีเทียบชั้นพระวังคีสเถระ สนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าในโลกดิจิทัลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 4109? 20/10/61 ศึกษาวิเคราะห์การสื่อสารของชาวพุทธ4.0พบยังไม่เป็นระบบสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 17? 19/10/61 นักข่าวสติ(mindful journalism)สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 6? 19/10/61 ติดกัณฑ์เทศน์ด่วน!หลวงพี่AI(ปัญญาประดิษฐ์)มาแล้วสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 182? 19/10/61 AIบุกงานข่าวแน่!เสวนาส.สื่อแนะใช้จริยธรรมนำแนะคนไทยทำบุญด้วยการส่งเสริมนักข่าวสร้างสรรค์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 64? 19/10/61 AIกำหนดในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์ไม่รู้ไม่ได้แล้วสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 33? 18/10/61 ทางเลือกฝ่าวิกฤตวารสารศาสตร์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 25? 18/10/61 ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์ปัญญาอนาคตใหม่สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 261? 18/10/61 the Third NIDA Business Analytics and Data Science Conferenceสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 43? 17/10/61 'มจร4.0'สร้างห้องเรียนออนไลน์ เชื่อมการศึกษาพุทธทั่วโลกสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 82? 17/10/61 ยุค4.0โซเชียลมีเดียสึนามิยุคของแชนเนลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 17? 17/10/61 ปัญญาอนาคตปัญญาประดิษฐ์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 17? 17/10/61 จังหวัดยโสธรเปิดศูนย์ขานรับพรบ.รัฐบาลดิจิทัลสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 51? 16/10/61 บทวิเคราะห์การตัดสินใจเลือกตัวแทนทางการเมืองสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 2? 111? 16/10/61 ทักษะงานของมนุษย์ ในโลกอนาคตสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 13? 15/10/61 ICon:พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีพระต้นแบบสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนของสงฆ์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 40? 13/10/61 Big Data Analysisมนุษย์โซเชียลมีเดียสมบูรณ์แบบสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 18? 11/10/61 'เศรษฐพงค์'แนะปรับระบบการศึกษารับAIมาแล้วสื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 43? 11/10/61 สื่อคุณภาพ!! ผลงานประกาศรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2561สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 11? 11/10/61 ความสำคัญของนิเทศศาสตร์ในยุค Social Mediaสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 4? 11/10/61 การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลต้อง5Tสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 22? 10/10/61 “การพัฒนาความพร้อมสู่การเป็นผู้นำ (Drive Bankable Leadership)สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 6? 9/10/61 My life is Buddhist Journalist for Peace.สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 46? 9/10/61 โครงการสร้างความเข้าใจและกิจกรรมเรียนรู้ “พุทธนวัตกรรมการใช้สื่อออนไล์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของพระสงฆ์สู่สังคมไทยสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 12? 9/10/61 วิจัยต้อง ง่าย ระบบสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 6? 8/10/61 ทำอย่างไรให้สังคมไทยอุดมปัญญาประดิษฐ์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 5? 8/10/61 โทษของการ "พูดมาก" ?สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 52? 2/10/61 วงการหนังสือปรับตัวรุกช่องทางขายออนไลน์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 7? 2/10/61 ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมาย'รัฐบาลดิจิทัล'แผน5ปีใช้งบกว่า3หมื่นล้านสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 47? 2/10/61 ‘บิ๊กดาต้า’มหาอำนาจยุคดิจิทัล ขับเคลื่อนความสำเร็จธุรกิจสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 7? 1/10/61 บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคที่ใครๆ ก็ (อยาก) เป็นสื่อได้สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 18? 30/9/61 มุมมองพระสงฆ์ต่อปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์?สื่อวิทยานิพนธ์, AI mhanationnet 0? 18? 29/9/61 ใครพูดถึง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์(AI)ว่าอย่างไรสื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 213? 29/9/61 ทำไมต้อง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์สื่อวิทยานิพนธ์ mhanationnet 0? 221? 28/9/61 หลักการวินิจฉัยคำสอนว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่?สื่อวิทยานิพนธ์ 4. ประโยชน์และข้อจำกัดขอสื่อออนไลน์ 4.1. ประโยชน์ของ Social networks เครือข่ายสังคมออนไลน์ 8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้ 7.คลายเครียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ 1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ 6. ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น 5. ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสาหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า 4.เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น 3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว 2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกันตอบ เอาผลสำรวจใส่ ความนิยมในการใช้สื่อออนไลน์ 4.2. ข้อจำกัดของSocial networks เครือข่ายสังคมออนไลน์ 4.2.1. 1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ 2.เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ 3. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น 4. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้ 5. ผู้ใช้ที่เล่น socialnetwork และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้ 6. ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ socialnetwork มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่ำลงได้ 7. จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์ https://www.mindmeister.com/956786907/_ ยกตัวอย่างประโยชน์และข้อจำกัดการใช้เฟซบุ๊ก เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ในกรณีที่ยกเลิกการเรียนการสอนในห้องเรียนเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ครูผู้สอนสามารถใช้ เฟชบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนโดยการกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับวิชาที่สอนเพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ไม่ควรใช้ข้อความที่รุนแรงในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนและสถานศึกษา หลีกเลี่ยงการแสดงข้อความที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่รุนแรง ควรตั้งค่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนในเชิงบวกเท่านั้น จะเห็นได้ว่า เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้และเป็นห่วงโซ่การศึกษาขนาดใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา ตลอดวันละ24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ฉะนั้น ผู้บริหารการศึกษาจึงควรกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้ เฟซบุ๊กอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านการใช้เฟซบุ๊กไปในทางที่ผิดหรือด้านการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่สถานศึกษา ยิ่งกว่านั้น ผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนานโยบายการใช้ เฟซบุ๊กที่มีอยู่เป็นระยะๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ประโยชน์ของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน 1.สื่อสารถึงนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้อีเมลล์หรืออีเลิร์นนิ่ง 2.ส่งเสริมการกระตุ้นให้นักศึกษาได้แบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว 3.นักศึกษามีความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ข้อจำกัดของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน 1.อาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ 2.อาจารย์หรือนักศึกษาไม่เป็นส่วนตัวในการข้อความหรือรูปภาพต่างๆ ประโยชน์และข้อจำกัด การประยุกต์ใช้งาน Youtubeเพื่อการเรียนการสอน Youtube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของAdobe Flashมาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเองเมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ ใช้จะสามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูด้วยแต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ใส่ไว้ในYoutubeได้แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (youtubeก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2005) Youtubeเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว แต่ด้วยตัวยูทูบเองที่มีเนื้อหามากมายเป็นแสนชิ้น ทั้งสื่อและเครื่องมือการเรียนรู้ดีๆที่สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสื่อประเภทที่สุ่มเสี่ยง และทำให้เด็กและเยาวชนไขว้เขวไปได้ ทั้งจากมิวสิควีดีโอ การ์ตูน และไม่ได้ใช้เป็นช่องทางเพื่อการเรียนรู้สักทีเดียว จึงเป็นที่มาของการเปิดหน้าการศึกษาล่าสุดเของยูทูบขึ้นที่เรียกว่า“ยูทูบสำหรับโรงเรียน”หรือ (Youtube for Schools) เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้น โดยจะมีเนื้อแต่เรื่องการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยได้ร่วมมือกับภาคีด้านการศึกษากว่า600แห่ง เช่น TED,Smithsonian เว็บไซด์ชื่อดังเรื่องที่ได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการต่างๆเอาไว้,Steve Spangler แหล่งผลิตเกมและของเล่นเพื่อการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ หรือNumberphile ที่สอนคณิตศาสตร์ออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ยูทูบได้ทำงานร่วมกับครูในการจัดแบ่งเนื้อหากว่า300ชิ้น ออกเป็นรายวิชา และระดับชั้น โดยสื่อเหล่านี้ยูทูบเชื่อว่าจะช่วยเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ห้องเรียนสนุกสนานขึ้น และเด็กๆก็จะตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น ประโยชน์ของYouTubeสำหรับโรงเรียน 1. กว้างขวางครอบคลุมYouTubeสำหรับโรงเรียนเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวิดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก YouTube EDU วิดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น Stanford,PBS และ TED รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของYouTubeซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน เช่น Khan Academy,Steve Spangler Science และ Numberphile 2. ปรับแก้ได้สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYouTube EDUทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน 3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวิดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และจะดูได้เฉพาะวิดีโอYouTube EDUและวิดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวิดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวิดีโอ YouTube EDU เท่านั้น 4. เป็นมิตรกับครู YouTube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วิดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไป และจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสต์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง ข้อจำกัด 1.อาจมีการละเมิดลิขสิทธิ์ 2.อาจมีการกระทำที่ไม่ดี http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post.html จรรยาบรรณและกฏหมายเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จรรยาบรรณ จรรยาบรรณ คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ จรรยาบรรณการใช้งาน อินเทอร์เน็ต จรรยาบรรณการใช้งาน อินเทอร์เน็ต คือ ข้อกำหนดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต พึ่งกระทำ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสงบ ไม่ขัดต่อกฎหมาย (เฉลิมพล เหล่าเที่ยง : บ.สายสุพรรณ จำกัด) 1. ผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรม ตั้งหมั่นอยู่บน กฎหมายบ้านเมือง 2. ไม่นำผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน ในกรณีที่ต้องนำมาใช้งานต้องอ้างถึงบุคคล หรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ 3. พึ่งระลึกเสมอว่าสิ่งที่นำเสนอบนอินเทอร์เน็ต อาจจะมีเด็กหรือผู้ที่ขาดประสบการณ์เข้ามาดูได้ตลอดเวลา ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลควรที่จะเป็นไปในทางที่ดี มีคุณธรรม 4. ไม่ควรใส่ร้ายป้ายสี หรือสิ่งอื่นสิ่งใดอันจะทำให้บุคคลที่สามเกิดความเสียหายได้ 5. การใช้คำพูดควรคำนึงถึงบุคคลอื่นๆ ที่อาจจะเข้ามาสืบค้นข้อมูลที่มีหลากหลาย จึงควรใช้คำที่สุภาพ6. ไม่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่นให้หลงผิด หลงเชื่อในทางที่ผิด 7. พึงระลึกเสมอว่า การกระทำผิดทางอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะติดตามหาบุคคลที่กระทำได้ โดยง่าย 8. การกระทำความผิดทางอินเทอร์เน็ต บางกรณีเป็นอาชญากรรม ที่มีความผิดทางกฎหมาย 9. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 10. ต้องไม่รบกวน สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 11. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 12. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 13. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 14. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 15. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน 16. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์นั้น นอกจากจะมีความเสี่ยงที่เกิดจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การถูก hack ข้อมูล หรือการขโมยตัวตนในสื่อสังคมออนไลน์แล้ว ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นจากตัวผู้ใช้งานสังคมออนไลน์เอง นั่นก็คือความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์หรือส่งต่อข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยจุดเด่นของสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถมีความสะดวกและรวดเร็วในการเผยแพร่และการรับข้อมูลข่าวสาร จึงทำให้สื่อสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั้งของ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ณ ปัจจุบันซึ่งประเทศไทยกำลังประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ประชาชนชาวไทยต่างก็ตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีข่าวสารครอบคลุมตั้งแต่การแจ้งพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ประสบอุทกภัย การแจ้งเส้นทางจราจร การแจ้งให้อพยพ การประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบนาทีต่อนาที โดยที่ประชาชนไม่ต้องรอรับข้อมูลจากสื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุซึ่งอาจจะให้ข้อมูลได้ไม่เร็วทันใจประชาชนผู้กำลังตื่นตัวกับภาวะวิกฤติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในสังคมออนไลน์ของประชาชนชาวไทยในช่วงอุทกภัยนั้นก็มิได้มีเฉพาะข่าวจริงที่เชื่อถือได้เสมอไป แต่กลับระคนไปด้วย ข่าวเท็จ ข่าวมั่ว และข่าวลือ เนื่องจากผู้ใช้งานบางคนเมื่อได้รับข้อมูลที่หลั่งไหลผ่านหน้าเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์แล้วก็ส่งต่อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาถึงแหล่งข่าวหรือความน่าเชื่อถือของข่าวสารนั้น ๆ บางคนก็พยายามกุข่าวลือและสร้างกระแสต่าง ๆ โดยการโพสต์รูปที่มีการตัดต่อและข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำาท่วมที่เกินจริงหรือไม่ชัดเจนในรายละเอียดซึ่งก่อให้เกิด ความสับสนและความตื่นตระหนกต่อประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะด้วยความคึกคะนองหรือด้วยการหวัง ผลประโยชน์ทางธุรกิจก็ตามเช่น ในทวิตเตอร์ของบางคนมีการโพสต์ข้อความว่าพบศพเด็กหรือเจองูพิษหรือจระเข้ลอยมาตามน้าที่นั่นที่นี่ โพสต์ว่าให้รีบกักตุนสินค้าชนิดนั้นชนิดนี้ไว้เนื่องจากสินค้ากำลังจะขาดตลาด หรือโพสต์ว่าสถานที่นั้นสถานที่นี้มีน้ำท่วมสูง ไม่สามารถสัญจรผ่านหรือเข้าไปใช้บริการได้ แล้วมีการ ทวีตกันต่ออย่างแพร่หลาย ซึ่งปรากฏว่าเมื่อมีการตรวจสอบจากประชาชนในพื้นที่และจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ก็พบว่าสถานการณ์ยังปกติและไม่มีเหตุการณ์ตามที่กล่าวอ้าง แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์บางคน ยังขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและความตระหนักถึงความรับผิดตามกฎหมายในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในทางกฎหมาย การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ผิด เช่น การโพสต์รูปภาพหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริงโดยมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือสร้างความปั่นป่วนให้กับสังคมนั้น อาจเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดตาม มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ฐาน (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากความรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์รูปหรือข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวแล้ว การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นที่ระบายความแค้นหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นโดยการโพสต์ข้อความว่าร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยความนึกสนุกหรือเพื่อต้องการให้คนที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้โพสต์ข้อความได้รับรู้ถึงความเลวร้ายหรือข้อมูลใน ด้านที่ไม่พึงประสงค์ของคนที่ถูกกล่าวถึง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน คู่อริสมัยเรียน หรือคนรักเก่าของสามี แม้จะทำให้ผู้โพสต์ข้อความได้รับความสะใจในชั่วขณะหนึ่ง แต่ก็อาจทำให้เกิดทุกข์มหันต์ตามมา เนื่องจาก การโพสต์ข้อความในลักษณะดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทำต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ในทางอาญานั้น ผู้กระทำอาจต้องรับผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาซึ่งต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท หากกระทำ การโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะด้วยข้อความ เอกสาร ภาพ เสียง วิดีโอ ภาพยนตร์ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ ที่เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ในลักษณะที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หรือแม้แต่ในกรณีที่ผู้ที่ถูกใส่ความเป็นผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หากการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชังผู้ที่โพสต์ข้อความก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้ตายโดยการโฆษณาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากการโพสต์ข้อความนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเป็นการติชมบุคคลอื่นหรือสิ่งใดด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ เช่น การแสดงความคิดเห็นหรือติชมบุคคลสาธารณะด้วยความเป็นธรรม หรือแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนเองตาม คลองธรรม ก็อาจไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท นอกจากนี้ ในกรณีที่การกระทำเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหากผู้ถูกหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่ต้องรับโทษ แต่ในกรณีที่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ผู้ที่กระทำความผิดอาจต้องรับโทษแม้เรื่องที่ใส่ความจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม เพราะกรณีการใส่ความในเรื่องส่วนตัวนั้น กฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ว่าเรื่องที่ใส่ความเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงหากการพิสูจน์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ - ๓๓๐ ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น หากข้อความที่โพสต์ไม่เป็นความจริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ถูกกล่าวถึง ผู้โพสต์ข้อความจะต้องรับผิดทางแพ่ง ฐานกระทำละเมิดโดยการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็น ที่เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น โดยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ต้องเสียหายจากการโพสต์ข้อความนั้น นอกเหนือจากโทษทางอาญาฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้โพสต์ข้อความไม่รู้ว่าข้อความที่โพสต์นั้นไม่เป็นความจริงและตนเองหรือผู้รับข้อความมีส่วนได้เสียโดยชอบเกี่ยวกับเรื่องที่โพสต์นั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ ดังนั้น ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์จึงควรจะคิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์รูปภาพ วิดีโอ ข้อความหรือสื่อใด ๆ ลงในหน้าสื่อสังคมออนไลน์นั้น เนื่องจากเมื่อขึ้นชื่อว่า “สังคม” ไม่ว่าจะสังคมในชีวิตจริงหรือในโลกออนไลน์ ก็ย่อมต้องมีกฎ กติกาที่เราต้องรักษาเสมอเพื่อความสงบสุขของสังคม ดังสำนวนกฎหมายของโรมันที่กล่าวไว้ว่า “Ubi societas, ibi jus” “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย” เป็นที่ทราบกันดีว่าสื่อในโลกออนไลน์ปัจจุบัน ได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในหลายมิติ การกระทำต่างๆในกิจวัตรประจำวันของบางคนอาจจำเป็นต้องใช้สื่อเหล่านี้เข้ามาช่วยในทุกขั้นตอนของชีวิต ยิ่งในขณะนี้ที่สื่อสังคม (Social Media) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน เพราะลักษณะเด่นและเสน่ห์ของมันที่ทำให้การมีส่วนร่วมง่ายเพียงการพิมพ์หรือคลิก ผู้รับสารก็จะสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน เว็บไซต์จำพวก Facebook และ Twitter จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการนำเสนอข้อมูลของผู้ใช้ที่มีเนื้อหาความยาวไม่มากนัก ก่อนอื่น เราจำเป็นต้องเข้าใจร่วมกันว่าเว็บไซต์ประเภทเหล่านี้ไม่ใช่พื้นที่สื่อโดยธรรมชาติ แต่มีลักษณะความเป็นสาธารณะโดยส่วนตัว (Personic = Public+Person) ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งแตกต่างเป็นอย่างมากกับพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือบทความตามหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นการเขียนขนาดยาว แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์เหล่านี้ซึ่งไม่ใช่สื่อโดยธรรมชาติจะไม่จำเป็นต้องมีจรรยาบรรณหรือมาตรฐานความเหมาะสมทางสังคมในการใช้งาน เนื่องจากความมีจรรยาบรรณจะนำมาสู่ความน่าเชื่อถือ และความน่าเชื่อถือนั้นก็ต้องวัดจากเนื้อหา มิใช่รูปแบบ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าผลลัพธ์ของสื่อสังคมนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ หากผู้ใช้มีเจตนาที่จะบิดเบือนความจริงเพื่อปลุกปั่นหรือหวังผลทางการเมือง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นด้านลบ แต่หากผู้ใช้เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอย่างเสมอภาคกัน มีความเป็นกลางในการนำเสนอความคิดเห็น และนำเสนอให้เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส ผลลัพธ์ที่เกิดก็จะสร้างสรรค์ในเชิงบวกมากกว่าเป็นแน่ โดยหลักแล้ว สิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่อออนไลน์ของคนเราจะไม่แตกต่างกับสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่ออื่นๆ เพราะถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออกผ่านสื่อ ในปฏิญญาสากลว่าสิทธิมนุษยชนได้มีการรับรองเสรีภาพในลักษณะนี้ไว้ในข้อ 19 ว่า “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออกสิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิดโดยปราศจากความแทรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ก็มีการรับรองการกระทำประเภทนี้เช่นกัน ในมาตรา 45 วรรคแรก ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ดังนั้นการกระทำเช่นนี้จึงถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเช่นกัน แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีเสรีภาพเกิดขึ้น เป็นที่แน่นอนว่าเขตแดนของเสรีภาพแต่ละบุคคลย่อมจะชนและทับซ้อนกัน ในบางกรณีกลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดูเหมือนว่าเขตแดนของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะมีมากจนบางครั้งอาจมีมากเกินไปด้วยซ้ำ ความจำเป็นในการที่ต้องกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานจรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมออนไลน์ปัจจุบัน ในเรื่องเกี่ยวกับการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวนั้น จริงๆแล้วเป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของคนที่ได้รับการคุ้มครองตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ซึ่งคนในสังคมส่วนมากอาจละเลยและไม่ใส่ใจถึงความสำคัญของจุดนี้ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 ในมาตรา 35 มีระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งหากคนในสังคมให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแล้วนั้น ปัญหาของสังคมออนไลน์อาจมีน้อยลงก็เป็นไป แต่ปัจจุบัน เมื่อคนละเลยถึงการเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของคนด้วยกัน รัฐจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน ณ จุดนี้เองที่ปัญหาได้เกิดขึ้น กล่าวคือ ถึงแม้การมีกฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐสามารถกำกับ ดูแลสังคมออนไลน์ให้ไปในทิศทางที่เหมาะสม ไม่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อผู้ใช้ด้วยกัน แต่ก็มีการถกเถียงในสังคมถึงเนื้อหาที่คลุมเคลือของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งสุ่มเสี่ยงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้ในทางละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้ เนื้อหาดังกล่าวอยู่ในมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ความดังนี้ “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)” ความคลุมเคลือของฐานความผิด และโทษบางประการที่มีการทับซ้อนกับโทษที่มีอยู่ตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งอยู่แล้ว ได้ส่งผลให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการต่อต้านและไม่ยอมรับกฎหมายฉบับนี้ ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ผลดีตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ในหลักการ แต่โอกาสที่ผู้ใช้ซึ่งไม่มีเจตนาทำผิดหรือจงใจสร้างความเสียหายต่อสังคมก็มีโอกาสสูงที่จะโดนความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ผู้มีเจตนาแอบแฝงหรือจงใจสร้างความวุ่นวายให้สังคมรวมถึงละเมิดสิทธิผู้อื่นอาจไม่โดนความผิด เพราะในโลกสังคมออนไลน์ ความจริงที่ถูกบิดเบือนมีมากอย่างมหาศาล และความเท็จที่ถูกรับรู้กันว่าเป็นความจริงที่ถูกต้องก็มีมากอย่างมหาศาลเช่นกัน สิ่งที่จะทำให้สังคมออนไลน์อยู่ในทิศทางที่เหมาะที่ควรต่อตัวผู้ใช้ ก็คือมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตัวผู้ใช้เป็นสำคัญ กฎหมายถึงจะมีเนื้อหาที่ดีสักเพียงใดหากแต่ผู้ใช้ไม่มีความสำนึกต่อความรับผิดชอบและจริยธรรมขั้นพื้นฐานในด้านสิทธิและหน้าที่ กฎหมายนั้นก็จะไม่เป็นผล อีกทั้ง หากผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่ดำเนินการตามหน้าที่ในทางที่ถูกที่ควร กฎหมายก็จะไม่สัมฤทธิผลเช่นกัน ในการนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชน จึงได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ.2553 ด้วยเหตุผลความจำเป็นส่วนหนึ่ง คือ ในสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์รวมถึงเว็บไซต์ข่าวสารต่างๆ ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่การทำงานขององค์กรข่าว ซึ่งมีทั้งการใช้ประโยชน์ในระดับองค์กร ตัวบุคคล และผสมผสานเป็นจำนวนมาก แนวปฏิบัตินี้จึงเป็นการกำหนดให้สื่อมวลชนได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ในอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะด้วยการเข้าถึงที่ง่ายของสังคมโลกออนไลน์ ทำให้มีตัวแสดงที่เป็นทั้งสื่อ "ตัวจริง" และ "ตัวปลอม" เข้าไปใช้เครื่องมือที่ว่าเพื่อสื่อสารข้อมูลไปยังสาธารณะ ผลลัพธ์ที่เกิดคือ ข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวที่สร้างความเสียหายจึงเริ่มปรากฏมากยิ่งขึ้น เป็นที่มาให้องค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชนจำเป็นต้องร่างแนวปฏิบัตินี้ เพื่อให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนตัวจริงมีน้ำหนัก มีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยเนื้อหาหลักของแนวปฏิบัตินี้ เป็นการพูดถึงการที่สื่อมวลชนต้องพึงระวังในการหาข้อมูลและนำเสนอ กล่าวคือ ข้อมูลที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การนำเสนอต้องไม่เป็นการสร้างความเกลียดชังระหว่างคนในสังคมรวมถึงไม่ยุยงให้เกิดความรุนแรงจนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นเสียหายอย่างรุนแรงภายในชาติ ที่สำคัญในข้อที่ 7 ของแนวปฏิบัตินี้ได้พูดถึงสิ่งที่น่าสนใจไว้ด้วยว่า “การรายงานข้อมูลข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงแยก ‘ข่าว’ กับ ‘ความเห็น’ ออกจากกันอย่างชัดเจน พึงระวังการย่อความที่ทำให้ข้อความนั้นบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และพึงระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวซ้ำ” อีกทั้งในแนวปฏิบัตินี้ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์นี้ เป็นพื้นที่สื่อสาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการรับรองสถานะของสื่อออนไลน์ไปในตัวเลยว่า พฤติกรรมใดๆที่กระทำบนสื่อสังคมออนไลน์นี้ จะต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของแนวปฏิบัตินี้ คือ ข้อที่ 12 ของแนวปฏิบัติดังกล่าว ความว่า “หากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเกิดความผิดพลาด จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรอื่น ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องดำเนินการแก้ไขข้อความที่มีปัญหาโดยทันที พร้อมทั้งแสดงถ้อยคำขอโทษต่อบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ต้องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีโอกาสชี้แจงข้อมูลข่าวสารในด้านของตนด้วย” นั้น แสดงถึงการแสดงความรับผิดชอบของผู้ใช้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งนับเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่สำคัญยิ่งที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์ควรมี ไม่ใช่เพียงแต่สื่อมวลชนอาชีพเท่านั้น จากทั้งหมดทั้งมวล กฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำกับ ดูแลและตรวจสอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หากเราต้องการให้พื้นที่สังคมออนไลน์เป็นพื้นที่ที่ใครก็ตามสามารถใช้ได้อย่างอิสระโดยตั้งอยู่บนฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน แนวทางและวิธีการที่ดีที่สุด คือ ผู้ใช้ควรมีระบบกำกับ ดูแลและตรวจสอบกันเอง หากผู้ใช้มีมาตรฐานทางจริยธรรม มีจรรยาบรรณาในฐานะที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ดีแล้วนั้น สังคมออนไลน์ก็จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_5817.html วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอนประเภท-แบบต่างๆ วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอนประเภท-แบบต่างๆ Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ที่สามารถนำประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) Blog 2) Social Networking 3) Microblog 4) Media Sharing และ 5) Social News and Bookmaking โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. Blog มาจากคาเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress, blogger เป็นต้น ตัวอย่างการใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอน Learners.in.th เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการระบบบล็อกเพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้เขียนบันทึก เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัวของตน โดยเน้นที่การถ่ายทอดความรู้ด้วยตัวของเยาวชน เพื่อไม่ก่อให้เกิดการโจรกรรมทางวรรณกรรม และเป็นเสมือนแฟ้มสะสมงานของเยาวชนในผลงานทางด้านการเขียน รวมไปถึงครู อาจารย์ สามารถใช้พื้นที่เพื่อพัฒนาทางด้านการศึกษาให้กับเยาวชน และสามารถนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ปัจจุบัน Learners.in.th ได้รับการสนับสนุนหลักจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บล็อกเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนใส่ไปในบทความในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็นกลับ จะประกอบไปด้วยข้อความ รูปภาพ จุดเชื่อมโยงไปยังบล็อกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องนั้นๆ ที่นำเสนอ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเว็บบอร์ด (ห้องสนทนา) แต่จะแตกต่างกันตรงที่เราสามารถจัดการหน้าของบล็อกได้ด้วยเหมือนเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่จะเปลี่ยนแปลงส่วนใด เมื่อใดก็ได้ รูปที่ 2 หน้าแรกของ Learners.in.th ที่มา http://www.learners.in.th/home ในการนำบล็อกมาใช้เพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้ทั้งภาคเรียนแต่อาจเลือกใช้ในบางกรณีเพื่อทำให้การเรียนการสอนมีเทคนิควิธีการที่แปลกออกไป ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ 1. ผู้สอนกำหนดประเด็น การศึกษา โดยการกำหนดประเด็นของเรื่องที่จะให้ผู้เรียนเขียนหรือบันทึกให้ชัดเจนว่าต้องการเขียนหรือบันทึกเรื่องอะไร สื่อสารเกี่ยวกับอะไร เช่น ผู้สอนตั้งโจทย์ให้ผู้เรียนร่วมกันเขียนกิจกรรมเขียนบล็อกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 2. ผู้เรียนเริ่มเขียนบันทึก โดยรูปแบบการเขียนมีหลากหลาย เช่น การเขียนแบบเล่าเรื่อง เขียนบรรยายสิ่งที่รู้ กิจกรรม ความประทับใจหรือประสบการณ์ 3. เมื่อผู้เรียนเขียนบันทึกเสร็จแล้ว อาจมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในห้อง ซึ่งการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งจาเป็น เพราะจะนำไปสู่การต่อยอดความรู้ รูปที่ 3 ตัวอย่างการใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/529629 2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำ เพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์ การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์ เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook, Hi5, Bebo, MySpace และ Google+ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ Facebook ในการจัดการเรียนการสอน Facebook (เฟซบุ๊ค) คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ ติดต่อสื่อสาร ตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก สนทนาแบบโต้ตอบทันที นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งานเฟซบุ๊ค ผู้ใช้จะคอยอัพเดทแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มที่อยู่ในเฟซบุ๊คหรือแม้แต่ผู้ใช้เว็บไซต์อื่นที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค ยังสามารถสื่อสาร ส่งต่อหรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำให้สังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางและเข้มแข็งมาก ในการนำเฟซบุ๊คมาใช้เพื่อกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น สามารถนำเฟซบุ๊คมาใช้การแบ่งปันเรื่องราว ความรู้ แง่คิด ประสบการณ์ ทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้ การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทำได้โดยสร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน และสามารถนำเฟซบุ๊คไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนำเสนอสื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนำเสนองาน ผลงาน ฯลฯ ทำให้เกิดความน่าสนใจ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการพูดคุย แสดง ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บนเฟซบุ๊ก: ที่มา:http://www.facebook.com/media/set/?set=a.519271161422410.140907.289049341111261&type=3 ความคิดเห็น การสอบถาม การให้คาแนะนำและคาปรึกษา ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่มีโอกาสเรียนรู้มากย่อมได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเฟซบุ๊คสามารถสร้างประโยชน์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง นอกจากนี้ เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้หรือ แอพพลิเคชั่น (Applications) เพื่อการศึกษาจำนวนมากที่จะช่วยอานวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น “ไฟลส์ (Files)” สาหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน “เมกอะควิซ (Make a Quiz)” สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน “คาเลนเดอร์ (Calendar)” สาหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ “คอร์ส (Course)” สาหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียน ตัวอย่างเช่น “วีรีด (weRead)” สำหรับจัดการรายชื่อหนังสือให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น และ “คลาสโน้ตส์ (Class Notes)” สำหรับถ่ายภาพในขณะที่ครูผู้สอนเขียนเนื้อหาบนกระดาน หรือคัดลอกเนื้อหาที่เรียน แล้วนำไปโพสต่อเพื่อแบ่งปันผู้อื่นได้ (ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2554) 3. Micro Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความได้สั้นๆ ตัวอย่างของ Micro Blog เช่น Twitter, Pownce, Jaiku และ tumblr เป็นต้น โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด กล่าวคือสามารถเขียนข้อความแต่ละครั้งได้เพียง 140 ตัวอักษร ตัวอย่างการใช้ Twitter ในการจัดการเรียนการสอน Twitter (ทวิตเตอร์) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog สั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Micro-Blog ซึ่งสามารถให้ผู้ใช้ส่งข้อความของตนเองให้ผู้อื่นที่ติดตามทวิตเตอร์ของผู้เขียนอยู่นั้นสามารถอ่านได้ และผู้เขียนเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อน หรือคนที่กำลังติดตามผู้เขียนอยู่ได้ ซึ่งทวิตเตอร์ก็ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท social Media ด้วยเช่นกัน ในรูปแบบของทวิตเตอร์นี้ ที่เรียกว่าเป็น blog สั้นก็เพราะว่าทวิตเตอร์ให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า Profile ของผู้เขียน และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ โดยสามารถใช้ได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือจากโทรศัพท์มือถือ ทวิตเตอร์จัดอยู่ในกลุ่มไมโครบล็อก ซึ่งลักษณะร่วมของไมโครบล็อก มีดังนี้ 1. มีการจำกัดความยาวของข้อความกำหนดไว้ที่ 140 ตัวอักษร 2. มีช่องทางการส่งข้อความและรับข้อความที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์มือถือ/เว็บไซต์ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาพิเศษ (Client) โดยสามารถติดต่อผ่าน API 3. เผยแพร่ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) มีลักษณะคล้ายกับการส่งข้อความสั้น (SMS) แต่ข้อความไม่ได้นำส่งเฉพาะระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพียงสองคนเท่านั้น แต่ยังส่งไปถึงผู้ใช้งานที่ติดตามด้วย 4. มีข้อมูลหลากหลายเนื่องจากมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก 5. ข้อมูลมักถูกล้างออกไปจากระบบเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง (Flooded) เนื่องจากมีการโพสต์ข้อความมาก ข้อความใหม่จะแทนที่ข้อความเก่า 6. มีความง่ายในการใช้งาน ด้วยข้อจำกัดของจำนวนอักขระทำให้ข้อความมีขนาดสั้นไม่เสียเวลาในการพิมพ์ข้อความ จึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ส่งข้อมูลเข้าไปในระบบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ส่งผลให้เกิดการกระจายข้อมูลจากปากต่อปาก (Words of Mouth) ได้ง่าย รูปที่ 7 ตัวอย่างการใช้ทวิตเตอร์ ที่มา : http://conversations.nokia.com/2013/01/14/nokia-helping-put-twitter-in-everyones-hands/ นอกจากนี้ Davis (2008) กล่าวว่า ทวิตเตอร์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน ดังนี้ 1. สามารถใช้ได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนเพื่อการสื่อสารถึงกิจกรรมการเรียนการสอน 2. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการระดมความคิดเห็นและการสื่อสาร ด้วยข้อจำกัดเพียง 140 ตัวอักษร จึงเป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารที่กระชับตรงประเด็น 3. สามารถเป็นช่องทางสาหรับการรับฟังความคิดเห็น โดยผู้เรียนสามารถส่งคำถาม ความคิดเห็นหรือข้อสังเกตเข้าไปเครือข่ายเพื่อเรียนรู้ร่วมกันได้ 4. สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย ประเทศที่ห่างกันได้ 5. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประชุม สัมมนา การนำเสนอความคิดจากคนหมู่มากที่สามารถอัพเดทข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 6. สามารถใช้เป็นห้องเรียนเสมือนสำหรับการอภิปรายแสดงออกทางความคิด 7. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือการเพื่อค้นพบแหล่งความรู้ใหม่ 8. สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มคนที่มีความสนใจร่วมกัน 9. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสะท้อนความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้สอน 10. สามารถให้ผลลัพธ์ทางด้านการอัพเดทข่าวสารได้มีประสิทธิภาพมากกว่า อาร์เอสเอสฟีด (RSSfeed) ง่ายต่อการรับและการส่งข้อมูล เพราะมีช่องทางในการใช้บริการที่หลากหลาย ในการนำทวิตเตอร์มาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม โดยผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ 1. แนะนำให้ผู้เรียนติดตามผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา 2. นำเสนอและติดตามหัวข้อที่สนใจโดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # (hash tag) ซึ่งหากผู้ใช้ทวิตเตอร์คลิกที่แท็กดังกล่าวก็จะเห็นข้อความทวีตที่มีแท็กเหล่านั้น 3. สร้างกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันหรือเข้าร่วมเรียนวิชาเดียวกันหรือกิจกรรมเดียวกัน โดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # ข้อความที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้จะมีแท็กที่ขึ้นต้นด้วย #xmlws นอกจากนี้ได้ใช้ฟังก์ชันรายชื่อ (list) ของทวิตเตอร์เพื่อดูข้อความทวีตของผู้เรียนทุกคนในวิชาที่สอน ซึ่งการใช้ฟังก์ชันรายชื่อนี้เปรียบเสมือนการสร้างกลุ่ม ซึ่งในที่นี้ก็คือกลุ่มของบัญชีทวิตเตอร์ของผู้เรียนที่สอน 4. Media Sharing เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ แฟ้มข้อมูล เพลง หรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิก หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Media Sharing เช่น Youtube, Flickr และ 4shared เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ Youtube ในการจัดการเรียนการสอน Youtube เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเปิดให้ใครก็ได้นาคลิปวิดีโอที่ตนมีอยู่ไปฝากไว้ โดยใช้ระบบการให้บริการโดยใช้โปรแกรม Adobe Flash เรียบเรียงเนื้อหาบนเว็บไซต์รวมไปถึงไฟล์วีดิโอต่างๆ และสามารถนำฟังก์ชันต่างๆ ที่เว็บสร้างขึ้นมาไปช่วยในการเผยแพร่คลิปนั้นๆ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ Embed Code ที่ใช้ สาหรับแพร่กระจายคลิปต่างๆ ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก โดยผู้ใช้สามารถใส่ภาพวีดิโอเข้าไป เปิดดูภาพวีดิโอที่มีอยู่และแบ่งปันภาพวีดิโอให้ผู้อื่นดูได้ ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกลิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอ เป็นส่วนประกอบด้วย โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) โดยไฟล์วีดิโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นเพียงไฟล์คลิปสั้นๆ เท่านั้น ความยาวเพียงไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าชมได้ง่าย โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับไฟล์วีดิโอ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ล่าสุด ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด ไฟล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกชมได้อย่างสะดวก และยังมีบริการที่สามารถดูวีดิโอได้ทีละเฟรม โดยเลือกดูส่วนใดของวีดิโอก็ได้ ในการนำ Youtube มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน สามารถทาได้ดังนี้ 1. ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน เช่น สาธิตวิธีการทำอาหารเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพจริงสามารถนำไปปฏิบัติได้ หรือสอนภาษาอังกฤษ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ได้ 2. ผู้สอนสร้างกลุ่มของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม จากนั้นใช้ Youtube ในการเผยแพร่ผลงานของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนจัดทำผลงานจากนั้นนำเสนอผลงานผ่านทาง Youtube จากนั้นแบ่งปันให้เพื่อนสามารถเข้าไปดูผลงานได้ 3. ผู้เรียนใช้เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร เพิ่มเติมจากในห้องเรียน รูปที่ 10 ตัวอย่างคลิปวีดิโอบน Youtube ที่มา : http://www.youtube.com 5. Social News and Bookmarking เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและสามารถให้คะแนนและเลือกบทความหรือเนื้อหาใดที่น่าสนใจที่สุดได้ ผู้ใช้สามารถ Bookmark เนื้อหาหรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบได้ รวมทั้งยังแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ด้วย ตัวอย่างการใช้ Social News and Bookmarking ในการจัดการเรียนการสอน Social News เป็นเว็บไซต์กลุ่มข่าวสารที่ผู้ใช้สามารถส่งข่าว โดยผสม social bookmarking บล็อก และการเชื่อมโยงเนื้อหาเว็บเข้าด้วยกัน และมีการกรองคัดเลือกเนื้อหาในลักษณะการร่วมลงคะแนนที่ทุกคนเท่าเทียมกัน เนื้อหาข่าวและเว็บไซต์จะถูกส่งเข้ามาโดยผู้ใช้ จากนั้นจะถูกเลื่อนให้ไปแสดงที่หน้าแรกผ่านระบบการจัดอันดับโดยผู้ใช้ ซึ่งข่าวอาจอยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ การกระจายเสียง อินเทอร์เน็ต การบอกเล่าเรื่องราวของบุคคลอื่น หรือกลุ่มคน Social Media ชนิดนี้เป็นเครื่องมือในการบอกต่อและสร้างจำนวนคนเข้ามายังที่เว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น Current TV , หนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นต้น Social Bookmarking เป็นบริการบนเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยการแบ่งปันการคั่นหน้าไว้บนเว็บไซต์ผู้ให้บริการ เพื่อรวบรวม จัดเก็บ แบ่งหมวดหมู่ สืบค้น และโดยเฉพาะเพื่อการแบ่งปันเว็บไซต์หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์แก่คนอื่นๆ ที่สนใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Social News เช่น Digg เป็นต้น ในการนำ Social News และ Social Bookmarking มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ผู้สอนอาจใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเนื้อหา หรือนำเนื้อหาในข่าวมาเป็นประเด็นคำถามในการเรียนเพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ โดยอาจทำได้หลายวิธี เช่น ผู้สอนเป็นผู้นำข่าวมาเป็นประเด็นให้ผู้เรียนตอบ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันหาเนื้อหาแล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน หรือให้ผู้เรียนจัดกลุ่มแล้วช่วยกันเลือกประเด็นแล้วอภิปรายภายในกลุ่ม โดยใช้ Social Bookmarking เป็นแหล่งในการรวบรวมความรู้และจัดเก็บข้อมูลจากการสืบค้นของกลุ่มเพื่อแบ่งปันให้เพื่อนในห้อง เป็นต้น โพสต์เมื่อ 3rd February 2014 โดย สัมนาออนไลน์ หัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอน” http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_802.html ‘สื่อออนไลน์’ ครองใจผู้บริโภค ‘สื่อเก่า’ รอดไม่รอด ? แชร์ 70 70 สื่อเก่าเข้าสู่ยุควิกฤต เมื่อโลกผันเปลี่ยน เทคโนโลยีกำลังก้าวหน้าอย่างไร้ขีดจำกัดในยุคดิจิตอล ทำให้ผู้คนใช้ชีวิตแตกต่างไปจากอดีต ทว่าความก้าวหน้านี้ สะเทือนถึงวงการสื่อ ทำให้สื่อกระแสหลักที่เคยได้รับความนิยมอยู่ในช่วงขาลง และมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อมีสื่อใหม่อย่าง ‘สื่อออนไลน์’ เข้ามาแทนที่ หากย้อนไปในช่วงที่ผ่านมา สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสารหลายค่ายออกมาประกาศปิดตัวเหลือไว้เพียงตำนานกันเป็นทิวแถว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสถานการณ์ที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถรองรับภาวะ ‘ขาดทุน’ ได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งมาจากภาวะ ‘Digital Disruption’ ที่ ‘พ่นพิษ’ ใส่สื่อเก่าอย่างนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ไปจนถึงสื่อโทรทัศน์ เพราะคนรุ่นใหม่หันมาเสพสื่อออนไลน์เป็นหลัก จนทำให้สื่อเก่าเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมเท่าในอดีต แน่นอนว่าในยุคที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วผ่านมือถือ หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ และเสพสื่อสิ่งพิมพ์กันน้อยลง กระทั่งถึงจุดทีหนังสือพิมพ์ นิตยสารเริ่มหมดความสำคัญ ต้องทยอยปิดตัวลงทีละค่าย สองค่าย แม้แต่สื่อโทรทัศน์เองที่ขณะนี้ประชาชนเริ่มมีการเข้าถึงน้อยลงไปเรื่อย ๆ คอลัมน์ ‘วิเคราะห์ เจาะข่าว’ มีโอกาสได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ รองอธิการบดีสายงานสื่อสารแบรนด์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต อดีตนายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสังคมออนไลน์ ที่จะมาพูดถึงอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ ที่ก้าวขึ้นมามีอิทธิพลต่อผู้คนมากที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด รวมถึงคาดการณ์ทิศทางในอนาคตของสื่อกระแสหลัก ว่าจะยังคงอยู่ หรือต้องตายไปอย่างถาวร โลกออนไลน์ ทรงพลัง มีอิทธิพลแซงหน้าสื่อทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ? สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน นับวันยิ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์มากขึ้น ก่อนหน้านี้สื่อสังคมออนไลน์จะไม่มีน้ำหนักเท่าในปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้คนมุ่งเน้น ให้น้ำหนักกับประเด็นต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งประชาชน สถาบันสื่อสารมวลชน ภาครัฐ ต่างหันมาหยิบยกประเด็นบนโลกออนไลน์ไปจุดประเด็นต่อ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องราวเรื่องหนึ่งเท่าไรก็ไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์และเกิดเป็นกระแสโด่งดังขึ้นมา หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องรีบเร่งพากันลงพื้นที่ไปแก้ไขปัญหานั้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อออนไลน์ ที่นับวันยิ่งมีอาณุภาพมากขึ้น ๆ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ รองอธิการบดีสายงานสื่อสารแบรนด์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต อย่างกรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นเรื่องราวที่โด่งดังในต่างประเทศ กรณีที่ Ayu Razak หญิงสาวชาวมาเลเซียวัย 22 ปี ซึ่งทราบว่าตนเองไม่ใช่ลูกที่แท้จริงแต่กลับเป็นลูกที่ถูกรับมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม หลังจากนั้นเธอใช้เวลา 10 ปีในการตามหามารดาบังเกิดเกล้า แต่ไม่มีท่าทีว่าเธอจะได้พบกับแม่ของเธอเลย จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ เธอได้นำภาพของแม่ที่แท้จริง และข้อมูลบางส่วนที่เธอพอจะหาได้มา ‘ทวีต’ ตามหาในโปรแกรม ‘ทวิตเตอร์’ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีชื่อเสียงบนโลกออนไลน์มากที่สุดโปรแกรมหนึ่ง ผลปรากฏว่า เธอพบแม่ของเธอภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอาณุภาพของโลกโซเชียล ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำลายกำแพงของเวลาลงอย่างสิ้นเชิง ทุกวันนี้องค์กรสื่อ แต่ละองค์กร ต้องการทำคอนเทนท์ ดี ๆ ที่รวดเร็วและถูกใจผู้คนจับข้อมูลจากสื่อออนไลน์ ที่ทั้งเข้าถึงรวดเร็ว และง่าย มีให้เลือกมากมาย ในทุก ๆ วินาที มีคอนเทนท์ ข่าวสาร บนสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ออกไป เป็นการเพิ่มอิทธิพลให้สื่อสารออนไลน์มากขึ้น ๆ ซึ่งพลังของสื่อสังคมออนไลน์จะยิ่งทรงอิทธิพลไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมีสิ่งอื่นที่ใหม่กว่าเข้ามาทดแทน โดยพลังของสื่อสังคมออนไลน์อาจเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้แต่ย่อมต้องใช้เวลาเป็นปัจจัยสำคัญ สื่อเก่า มีการปรับเปลี่ยน ข้ามผ่านมาเป็นสื่อ ออนไลน์ ขณะนี้สื่อกระแสหลัก อย่างนิตยสาร หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ อยู่ในภาวะ ‘ขาลง’ บางคนมองว่าสื่อเก่าเหล่านี้อาจจะอยู่ได้อีกไม่นาน แต่กระนั้น ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ มองว่า สื่อเหล่านี้อาจจะมีจุดหมายที่หลายหลาย ซึ่งจำเป็นต้องปรับตัว จึงจะเดินหน้า หยัดยืนต่อไปได้ แต่หากสื่อไหนยังดื้อดึงจะทำสื่อรูปแบบเดิม ๆ อาจจะต้องปิดตัวลงไปในที่สุด “อวสาน โลกนิตยสาร” แผลงฤทธิ์ยุคดิจิตอล นิตยสารปิดตัวกันจ้าละหวั่น ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าสื่อหลายประเภท อาทิ ช่องโทรทัศน์ต่าง ๆ หันมาทำสื่อออนไลน์ที่หลากหลาย เป็นการเพิ่มมูลค่า สร้างสินค้า สร้างพรีเซนเตอร์ขึ้นในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่า ธุรกิจสื่อบันเทิงจะหันมาขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความสวยความงาม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ไปจนถึงการท่องเที่ยว และกลายเป็นว่าสินค้าใหม่ ๆ เหล่านี้ที่บางสื่อผลิตขึ้นมา กลับสร้างรายได้ให้องค์กรมากกว่ารายได้เดิมจากการทำสื่อ รวมถึงทำให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งนี้กลยุทธ์การสร้าง ดารา พิธีกร นักข่าว ให้มีชื่อเสียงเพื่อส่งออกคนเหล่านี้ ไปออกอีเว้นท์ต่าง ๆ และแบ่งสัดส่วนรายได้เข้าสู่ช่อง ตามสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คงไว้ซึ่งความอยู่รอดขององค์กร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ และอาจไปได้ดี ทุกวันนี้สินค้า1ชิ้นที่สร้างขึ้นมา อาจไปได้หลายช่องทาง นอกจากนี้การมีสินค้าใหม่ ๆ ควบคู่กันไป จะเป็นโอกาสให้องค์กรได้พบกับธุรกิจใหม่ ๆ อยู่ที่กล้าที่จะทำสิ่งที่ต่างจากคนอื่น ๆ หรือไม่ ปัจจุบันมีหลายสื่อไม่ยึดกรอบเดิม ฉีกกรอบออกไป หรือแม้แต่นักธุรกิจเข้ามาพัฒนาคอนเทนท์ของไทย ออกสู่คอนเทนท์ของโลก และการนำคอนเทนท์ของโลกกลับเข้าสู่ไทย การนำเข้าคอนเทนท์ที่ราคาไม่แพง จัดสรรปันส่วน กระจายไปสู่สื่อกระแสหลักต่าง ๆ อาทิ โทรทัศน์ บางคนซื้อคอนเทนท์ดี ๆ มาจากต่างประเทศ และมาจำหน่ายส่งให้ช่องต่าง ๆ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จได้ เพราะการลงทุนไม่สูงนักในทางตรงกันข้าม หากผลิตขึ้นมาเองใหม่หมดอาจต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่าวิธีนี้มาก ยังมีช่องทางมีอีกเยอะมากที่จะทำให้สื่อเดิมอยู่รอด สิ่งสำคัญคือ สื่อออนไลน์จะต้องเป็นตัวกระตุ้น เพราะทุกวันนี้ คนทุกเพศทุกวัน หันมาอยู่บนโลกออนไลน์กันมากขึ้น ดังนั้นการที่สื่อกระแสหลักผสานกับสื่อออนไลน์ ดักทางผู้ใช้ให้เข้ามาเสพสื่อได้ทุกทาง เติมความกลมกล่อมให้สื่อออนไลน์ อีเวนท์ พรีเซนเตอร์ กิจกรรมต่าง ๆ ให้ครบถ้วน จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับสิ่งที่สื่อสร้างสรรค์ขึ้นมาได้อย่างมากมาย และแน่นอนว่ากลยุทธ์ที่มีคนนำมาใช้แล้วประสบความสำเร็จ ก็ย่อมมีคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะอาจเกิดการหลงทาง หรือการคาดการณ์อนาคต ผิด วางแผน ผิด เช่นการคิดว่าการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ก็จำเป็นต้องผสานกับความคิดสร้างสรรค์เข้าไปด้วย เพราะจะช่วยดึงคนเข้ามาได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากของวงการสื่อในอนาคต สื่อกระแสหลักช่องทางใด อยู่ได้ สื่อใด ไปไม่รอด ? ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ เผยด้วยว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความนิยมของการเสพสื่อผ่านทางโทรทัศน์น้อยลง แต่โทรทัศน์จะยังคงเป็นสื่อที่อยู่ได้ทั้งในไทยและในโลกได้ เพราะเข้าถึงครอบครัวคนชั้นกลาง และผู้ที่เสพสื่ออยู่ที่บ้าน โทรทัศน์เป็นตัวเสริมภาพให้กับคนทุกระดับการศึกษา และทุกเพศวัย มีความหลายหลาย ต้นทุนในการเข้าถึงถูกมาก หากหายหรือตายไปจริง ๆอาจไม่เป็นผลดีต่อกลุ่มผู้บริโภค แต่ควรจะต้องมีส่วนในการทำให้ตัวเองอยู่ได้ ด้วยการเสริมกำลังในช่องทางอื่น ๆ เพราะหากอาศัยรายได้จากโทรทัศน์เพียงทางเดียวอาจไม่เพียงพอ ในส่วนของนิตยสาร หนังสือพิมพ์ มีความเป็นไปได้ว่าจะลดลงเหลือน้อยมาก แต่จะยังคงยังมีอยู่เช่น นิตยสารที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวสูงและชัดเจนมาก ซึ่งสร้างเกียรติภูมิแก่วงการ และตอบโจทย์คนที่ยังต้องการเสพสื่อช่องทางนี้อยู่ นอกจากนี้ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ ระบุถึงสื่อวิทยุ ที่ยังคงพอเหลืออยู่ แต่จะลดลงจากปัจจุบัน อาจจะเหลือคลื่นวิทยุเฉพาะกลุ่ม ซึ่งหลังจากนี้วิทยุอาจสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น กระนั้นสื่อวิทยุจะยังอยู่ได้ เพราะตลาดของคนขับรถมีมากเท่าไร วิทยุก็ยังคงอยู่รอด แม้ในอนาคตอาจมีเทคโนโลยีที่ใช้ขับรถแทนคนเข้ามา แต่น่าจะยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ทั้งหมดในเวลาอันใกล้ ขณะเดียวกันปัจจัยที่ทำให้วิทยุอยู่รอดคือการออกแบบโฆษณาให้แยบยล วิทยุต้องออกแบบโฆษณาให้ผู้ฟังเสพอย่างมีความสุขและไม่สร้างความรำคาญ ซึ่งวิทยุที่สามารถปรับตัวในเรื่องนี้ได้ จะสามารถอยู่รอด แต่จะต้องออกแบบให้ดี นอกจากนี้วิทยุอาจต้องสร้างกิจกรรมที่แปลกใหม่ ประเทืองปัญญา เข้ากับเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ รวมถึงกิจกรรมร่วมกับสื่อในรูปแบบที่สร้างสรรค์ แหวกแนวไปจากเดิมจะช่วยเสริมพละกำลังได้มาก แม้ในอนาคตโจทย์ของการทำวิทยุจะยากขึ้น แต่คุ้มค่าเพราะต่อไปค่าสัมปทานวิทยุจะถูกลงกว่าทุกวันนี้มาก การทำสื่อแบบไหนที่ตรงใจคนรุ่นใหม่มากที่สุด การทำสื่อให้ประสบความสำเร็จและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ต้องทำให้เหมาะกับคนกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก อย่าทำสื่อที่มัน mass หรือใช้วิธีหว่านแหมากเกินไป แต่การทำสื่อเจาะจงเฉพาะกลุ่มมากขึ้น สร้างกลุ่มเป้าหมายให้เล็กลง ย่อยลงไป เพื่อให้เกิด Brand royalty ให้คนชอบ รู้สึกน่าแชร์ เผยแพร่ต่อ พูดต่อ ทำให้สื่อเหล่านี้อยู่ได้ดี ซึ่งจะนำไปสู่เม็ดเงินจากกการโฆษณาของคนกลุ่มเล็ก ๆ นี้ได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำคอนเทนท์แบบหว่าน ๆ หรือกระจายความสนใจไปยังคนหมู่มาก ที่เคยได้รับความนิยมในสมัยก่อน ไม่ค่อยได้ผลเท่าไรในปัจจุบันแล้ว ยกเว้นโชค และทีมงานการผลิตที่เจ๋งมาก ๆ จริง ๆ จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เมื่อยุคหนึ่งสื่อหนึ่งเคยเรืองอำนาจ กอบโกยรายได้มากมายก็ย่อมมีวันต้องหมดยุค หากต้องการจะยังอยู่รอดในยุคดิจิตอลที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เพราะทุกคนสามารถหยิบจับเครื่องมือสื่อสาร สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นนักข่าว นักเขียน คนหนึ่งได้ จึงเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับคนทำสื่อว่าจะปรับตัวอย่างไรให้ตรงใจ ตอบโจทย์ผู้ใช้และยังเป็นผู้รอดชีวิตในพายุโลกาภิวัฒน์ลูกใหญ่ลูกนี้…. เนื้อหาโดย แก้วตา ปานมงคล จากบทสัมภาษณฺ์ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ รองอธิการบดีสายงานสื่อสารแบรนด์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต อดีตนายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย Digital Disruptionข่าวสดวันนี้วิเคราะห์เจาะข่าวสื่อสิ่งพิมพ์สื่อออนไลน์สื่อเก่า อาหรับสปริง ถึง ‘วิกฤตซีเรีย’ สู่ความหวาดหวั่น ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ? Home / วิเคราะห์เจาะข่าว / อาหรับสปริง ถึง ‘วิกฤตซีเรีย’ สู่ความหวาดหวั่น ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ? ปาลญ์ ชญา April 18, 2018 25,567 แชร์ ไฟสงครามในประเทศซีเรียยังคงลุกโชนไม่สิ้นสุด ท่ามกลางซากปรักหักพัง และความบอบช้ำในประเทศที่ดูคล้ายว่าจะยากเกินเยียวยา เบื้องหลังความขัดแย้งทางการเมือง ที่ฝังรากลึกมานานกว่า 7 ปี ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่า ชะตากรรมของซีเรียในอนาคตจะจบลงเช่นไร ครั้งหนึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า หากสงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดขึ้นจริง ไฟสงครามจะเริ่มลุกลามมาจากประเทศ ‘ซีเรีย’ ทั้งนี้จากข้อสันนิษฐานดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์ล่าสุดที่ชาติพันธมิตรฝั่งตะวันตก ส่งกองกำลังโจมตีทางอากาศในซีเรีย โดยอ้างว่าต้องการทำลายฐานอาวุธเคมีที่ทางการซีเรียใช้ถล่มกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเมืองดูมา เขตกูตาตะวันออก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย การโจมตีของชาติตะวันตก 3 ชาติเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับช่วงที่มีข่าวใหญ่ แพร่สะพัดออก กรณีพิธีกรสถานีโทรทัศน์ของทางการรัสเซีย ออกมาประกาศเตือนประชาชนให้เตรียมพร้อมรับมือกับ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ เมื่อมีข่าวใหญ่ที่บ่งชี้ถึงความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจหลายชาติในเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ทั่วโลกเกิดความหวั่นวิตก ว่าอาจจะเกิดความรุนแรงลุกลามไปถึงขั้นใช้กำลังความรุนแรงทางทหาร และบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในอนาคต ดร.มาโนชญ์ อารีย์ ดร.มาโนชญ์ อารีย์ คอลัมน์‘วิเคราะห์เจาะข่าว’ ได้พูดคุยกับ ‘ดร.มาโนชญ์ อารีย์‘ หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางและการก่อการร้าย ในประเด็นวิกฤตการณ์สงครามกลางเมืองในซีเรีย และประเด็นเรื่องความหวั่นวิตกจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่เป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เปิดปม ‘สงครามซีเรีย’ พัฒนาจากอาหรับสปริง ที่ยืดเยื้อมานาน 7 ปี เพราะผลประโยชน์ทางอำนาจที่ซับซ้อน ระหว่างสหรัฐฯและรัสเซีย ดร.มาโนชญ์ อารีย์เล่าว่า อาหรับสปริง คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในตะวันออกกลาง ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับในภูมิภาคชาติอื่น ๆ โดยอาหรับสปริง มีจุดเริ่มต้นจากประเทศตูนิเซียจากนั้น การประท้วงก็ได้เริ่มลุกลาม จนขยายเป็นวงกว้างไปทั่ภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงแอฟริกาเหนือ อาหรับสปริง เหตุการณ์ ‘อาหรับสปริง’ ที่ประชาชนในตะวันออกกลางหลายประเทศ ลุกฮือขึ้นมาขับไล่ผู้นำของตนเอง ผลพวงจาก ‘อาหรับสปริง’ พัฒนามาสู่สงครามกลางเมืองใน ‘ซีเรีย’ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้นำและกลุ่มต่อต้าน ซึ่งยืดเยื้อมานาน และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่กระนั้นรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรีย กลับสามารถอยู่ในอำนาจมาได้อย่างยาวนาน กว่า 7 ปีหลังเกิดเหตุการณ์ที่เป็นชนวน ขณะที่ผู้นำตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบีย ถูกโค่นล้มโดยประชาชนได้สำเร็จไปตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้นำของประเทศเหล่านี้ ไม่มีมหาอำนาจหนุนหลัง หรือมหาอำนาจไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้ ต่างจากกรณีซีเรียที่มหาอำนาจทั้งสองเข้ามาหนุนหลังฝ่ายของตัวเองอย่างเต็มที่ กรณีความขัดแย้งในซีเรีย ที่ประชาชนพยายามโค้นล้มอำนาจของประธานาธิบดี อัสซาด แต่ฝ่ายรัฐบาลได้รับการหนุนหลังจากรัสเซียมาโดยตลอด เหตุผลหลักเกิดจากซีเรียเป็นพันธมิตรกับรัสเซียมาอย่างยาวนาน และซีเรียยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีผลประโยชน์กับรัสเซียอย่างมาก นอกจากนี้ สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในตะวันออกกลางทำให้รัสเซียเดินหน้าสนับสนุน ผลักดันให้อัสซาดอยู่ในอำนาจต่อไปอย่างเต็มกำลัง ชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ของชาติมหาอำนาจใหญ่ สหรัฐฯ-รัสเซีย ขณะนี้สถานการณ์ร้อนระอุในซีเรีย เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกให้ความสนใจ และมีจุดเริ่มต้นมาจากข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ที่ระบุว่ารัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาดแห่งซีเรีย ใช้อาวุธเคมีโจมตีฝ่ายกบฏในเมืองดูมา ในเขตกูตาตะวันออก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล แม้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ามีการใช้อาวุธเคมีจริงหรือไม่ เหตุใดรัฐบาลซีเรียที่กำลังจะยึดคืนอำนาจจากฝ่ายกบฏได้สำเร็จเบ็จเสร็จ และยึดคืนพื้นที่คืนมาได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงกำลังจะประกาศชัยชนะในประเทศในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ถึงเลือกใช้อาวุธเคมีในการโจมตีประชาชนตนเอง ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้สหรัฐฯ มีข้ออ้างที่จะเข้ามาแทรกแซงในซีเรียได้อีก ? มีการตั้งข้อสังเกตว่าทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศสที่เข้าปฎิบัติการทางทหารไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภา ทำให้รัสเซียมองว่าปฏิบัติการของตะวันตกและสหรัฐอเมริกามีเจตนาที่ต้องการจะขัดขวางการเข้าไปทำหน้าที่ขององค์การ OPCW หรือ องค์การห้ามอาวุธเคมี ที่เตรียมเข้าไปตรวจสอบการใช้อาวุธเคมี เพื่อยับยั้งการเปิดเผยความจริงทั้งนี้ข้อมูลทางฝั่งตะวันตกต่างกันไป ระบุว่าซีเรียขัดขวางการเข้าไปทำหน้าที่ขององค์กรนี้ ซึ่งมีความขัดแย้งในเรื่องข้อมูลระหว่าง 2 ฝ่าย เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่เพียงการต่อสู้กันในด้านกำลังทางทหารเท่านั้น แต่ทั้ง 2 ฝั่ง ยังต่อสู้กันด้วย ‘สงครามข้อมูลข่าวสาร’ ด้วย รัสเซีย และสหรัฐฯ ช่วงชิงชัยชนะในซีเรียเพราะเหตุใด ? Advertisement ดร.มาโนชญ์ อารีย์ กล่าวถึงประเด็นเรื่องการช่วงชิงอำนาจในซีเรียระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียว่า เป็นการช่วงชิง ค้ำจุนอำนาจใน ตะวันออกกลาง สหรัฐฯ และชาติตะวันตกได้ลงทุนลงแรงทุ่มเทเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีอัสซาดมาตลอด 7 ปี ขณะที่รัสเซียไม่ยอมวางมือจากซีเรียก็เพราะว่าไม่ต้องการให้สหรัฐฯ สามารถโค่นล้มประธานาธิบดีซีเรียได้ นอกเหนือจากนี้ หากสหรัฐฯ พ่ายแพ้รัสเซียในการแย่งอำนาจในซีเรีย ชาติพันธมิตรของสหรัฐฯในตะวันออกกลางอาทิเช่นซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล และอีกหลายหลายประเทศอาจจะเสียความมั่นใจในตัวสหรัฐอเมริกา และอาจจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับรัฐเซียว่า รัสเซียทุ่มเทสนับสนุนซีเรียอย่างเต็มตัว ทั้งเอากองทัพเข้ามา ในขณะที่สหรัฐฯ ยังให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรียผ่านตัวแทนเท่านั้น จึงเกิดการเปรียบเทียบกันได้ว่าบทบาทของรัสเซียที่เข้ามาช่วยซีเรียกับบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาสนับสนุนพันธมิตรของตัวเองยังแตกต่างกันมาก ด้วยเหตุที่สหรัฐฯ ไม่สามารถยอมรับสถานะ ‘พ่ายแพ้’ ในสมรภูมิการช่วงชิงอำนาจในซีเรียได้ ทำให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ ได้ประกาศว่าจะถอนตัวออกจากซีเรีย แต่คราวนี้สหรัฐฯ กลับไม่ยอมวางมือง่าย ๆ เพราะความขัดแย้งที่สะสม และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่แค่เรื่องราวระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียเท่านั้น แต่ยังมีพันธมิตรของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง และชาติพันธมิตรในยุโรปอย่าอังกฤษและฝรั่งเศสที่เข้ามาเกี่ยวโยง ซึ่งหากสหรัฐฯยอมแพ้ ความพ่ายแพ้นั้นจะนำมาสู่ผลประโยชน์ของอเมริกาที่ลดน้อยลงไป อังกฤษ ฝรั่งเศส พันธมิตร (ไม่) แท้ ของ ‘สหรัฐอเมริกา’ อีกสาเหตุหนึ่งที่น่าจับตามอง กรณีความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย กับ อังกฤษและฝรั่งเศส ที่แม้จะเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ แต่ก็ยังต้องพึ่งพาทรัพยากรพลังงานจากรัสเซียเป็นหลัก ทำให้แม้อเมริกาจะต้องการให้อังกฤษ ฝรั่งเศสรวมถึงประเทศอื่น ๆ คว่ำบาตรรัสเซีย แต่ไม่สามารถทำได้เพราะประเทศเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอยู่ ทั้งนี้หากสมรภูมิความขัดแย้งในซีเรีย จบลงที่ชัยชนะของฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะนำไปสู่โครงการวางท่อก๊าซจากซีเรียไปตุรกีแล้วก็ไปเข้าในยุโรป เพื่อที่จะให้ชาติตะวันตก ลดการพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียของยุโรป เมื่อนั้นเองรัสเซียจะสูญเสียอำนาจต่อรองกับยุโรป และอาจถูกคว่ำบาตรได้ง่าย ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้รัสเซียเอง ก็ยอมแพ้ในสมรภูมินี้ไม่ได้เช่นกัน สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ใช้ปฏิบัติการทางทหาร แทรกแซงต่างชาติ เพื่อเบี่ยงเบนปัญหาภายในของตนเอง ? ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือในตอนนี้ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส อาจใช้วิธีแทรกแซงความขัดแย้งในต่างประเทศ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากประชาชนในประเทศตนเอง จากปัญหาภายในให้ไปให้ความสนใจประเด็นร้อนแรงในต่างประเทศแทน รัฐบาลอังกฤษกำลังประสบปัญหาภายในประเทศอยู่ไม่น้อย หลังจากที่มีกรณีเรื่องการสังหารสายลับรัสเซีย จนกระทั่งทางการอังกฤษเริ่มถูกตั้งคำถามว่าอะไรคือหลักฐานหรือข้อเท็จจริงกันแน่ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ส่วนทางฝั่งของฝรั่งเศส ที่นำโดยเอ็มมานูเอล มาครง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งมาสักพัก แต่ประชาชนก็ยังไม่เห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอันของนายมาครง ดังนั้นการมีบทบาทในต่างประเทศก็ถือว่าเป็นผลงานชิ้นหนึ่งของนาย มาครงเช่นกัน ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังเจอมรสุม เพราะกำลังถูกตั้งข้อสังเกตในเรื่องความสัมพันธ์ กับรัสเซียในศึกการเลือกตั้งครั้งล่าสุด หนังสือที่วิจารณ์ทรัมป์ที่กำลังจะวางขาย จึงเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ กำลังใช้วิธีในการเบี่ยงประเด็นให้เป็นเรื่องภายนอกประเทศแทนปัญหาเหล่านี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวกลางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในซีเรีย เมื่อถามถึงประเด็นเรื่องที่จะมีองค์กรไหนเข้ามาไกล่เกลี่ยหรือแก้ไขสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งของ 2 ชาติมหาอำนาจอย่าง รัสเซียและสหรัฐฯ กล่าวได้ว่า คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติไม่ได้ถูกออกแบบมาให้แก้ไขข้อพิพาทระหว่างมหาอำนาจ หรือถูกออกแบบมาให้แก้ไขปัญหาข้อพิพาทของคู่ขัดแย้งที่เป็นมหาอำนาจเพราะท้ายที่สุดแล้วเขาก็จะใช้สิทธิ์ใน ‘วีโต’ (การยับยั้ง) ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ชาติมหาอำนาจได้ไม่มากนักและไม่สามารถคลี่คลายปัญหาที่เกิดได้ ขณะที่องค์การเหล่านี้ออกแบบมาเพียงเพื่อถ่วงดุลชาติมหาอำนาจระหว่างขั้วอำนาจต่าง ๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้นกลไกของเวทีโลกใหญ่ ๆ แทบจะไม่สามารถใช้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ได้เลย วลาดิเมียร์ ปูติน , บาชาร์ อัล-อัสซาด สงครามโลก ‘สงครามการค้า’ การช่วงชิงทาง ‘ภูมิรัฐศาสตร์’ สิ่งที่น่าจับตามองว่าสงครามที่จะเกิดขึ้นนั้น จะมาในรูปแบบ ‘สงครามการค้าโลก’ ที่จะเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐและจีนซึ่งน่าจะตามอง โดยล่าสุดมีการส่งสัญญาณการค้าของทั้งสองฝ่ายขึ้น ขณะที่สหรัฐฯและรัสเซียจะยังคงเป็นการแข่งขันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อช่วงชิงอิทธิพลพื้นที่ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงการหาพันธมิตรของตัวเองให้มากขึ้น ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ในมุมของนักวิเคราะห์หลายคน ให้ความเห็นว่าสหรัฐฯ ไม่เคยเข้าสู่สงครามที่ตนเองต้องอยู่ในภาวะ ‘เสี่ยง’ ในทางตรงกันข้ามหากสหรัฐฯ ตัดสินใจจะเข้าสู่สงคราม จะต้องผ่านการประเมินแล้วว่า ตนจะต้องได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน รวมถึงไม่มีประเทศที่ 3 เข้ามาช่วยฝั่งศัตรู และที่สำคัญสหรัฐฯต้องสามารถเผด็จศึกได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่อเมริกาจะต้องไม่เกิดความสูญเสียมาก เพราะฉะนั้น ‘มหาอำนาจ’ มักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางกำลังทหารให้ได้มากที่สุดอยู่แล้ว ทั้งนี้แม้ความขัดแย้งในซีเรียที่สหรัฐและรัสเซียต่างฝ่ายต่างไม่สามารถพ่ายแพ้ได้ จึงทำให้สถานการณ์ยื้อเยื้อยาวนาน แต่ทั้ง 2 ฝ่าย ย่อมต้องตระหนักได้ว่าอาจเดินมาถึงจุดที่อันตราย และจะพากันลงเหวกันทั้งคู่ เมื่อถึงจุดนั้นทั้งคู่จะหันหน้าเข้ามาพูดคุย หรือเจรจากันเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เพราะไม่ต้องการสูญเสียด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย ดร.มาโนชญ์ ชี้ว่า สิ่งที่น่าจับตามองคือ ความขัดแย้งในซีเรียมีพัฒนาการในตัวเอง ซึ่งในซีเรียมีจุดเริ่มต้นจากสงครามกลางเมือง และพัฒนามาเป็นสงครามตัวแทน หากไม่มีการแก้ไข อาจจะขยับขึ้นมาเป็น ‘สงครามในภูมิภาค’ เพราะมีคู่ขัดแย้งหลายประเทศและแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน มหาอำนาจมีการใช้ประเทศในภูมิภาคเป็นตัวแทนของตัวเองในสมรภูมิต่างๆ ที่น่าจับตามองจากนี้ไปก็คือ ประเทศคู่ขัดแย้งอาจจะยกระดับมาเป็นการเผชิญหน้ากันโดยตรง โดยชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และรัสเซีย อาจมีทางหนีทีไล่ หรือออกไปจากพื้นที่ความขัดแย้ง ก่อนจะเกิดการสู้รบขึ้นด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม สงครามที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เพราะมีฝ่ายฝ่ายหนึ่งที่ได้ผลประโยชน์ หากทุกฝ่ายเสียประโยชน์ สงครามไม่อาจจะเกิดขึ้น เพราะจะต้องมีการประเมินแล้วว่าทุกฝ่ายได้รับผลเสียทั้งหมด แต่หากถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์สงครามอาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องติดตามกับต่อไป ส่วนประเด็นของสงครามโลกโดยเฉพาะสงครามโลกในแบบเก่าเก่าที่เราเคยเห็นในโลกยุคปัจจุบันค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เพราะปัจจุบันมีปัจจัยและความเชื่อมโยงกันที่ซับซ้อน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ มาเป็นตัวแปร https://news.mthai.com/webmaster-talk/news-focus/634180.html . ต่างแพลตฟอร์ม ต่างวิธีการ คอนเทนต์บนโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ต่างกันฉันใด คอนเทนต์บนโลกออนไลน์ก็ต่างกันฉันนั้น นอกจากเรื่องรูปแบบที่ต่างกันแล้ว (วีดีโอ, เสียง, ภาพ หรือตัวหนังสือ) แพลตฟอร์มที่ต่างกันก็มีวิธีการใช้งานที่ต่างกันเช่นเดียวกัน เว็บไซต์ อาจจะเหมาะสำหรับการทำคอนเทนต์ยาวๆ และคอนเทนต์ประเภท Evergreen คอนเทนต์บน Facebook ในช่วงนี้ก็อาจจะเป็นการทำ Live หรือวีดีโอ คอนเทนต์บน Twitter ก็อาจจะเน้น Tweet ข่าวสั้นๆ และใน 1 วันควรจะต้อง Tweet มากกว่า 1 ครั้ง สิ่งที่คุณควรทำคือการเฝ้าดูพฤติกรรมของคนที่อยู่ในแต่ละแพลตฟอร์ม และทำความเข้าใจ เพราะคอนเทนต์ ต่อให้ดีแค่ไหน ถ้าอยู่ผิดที่ผิดทาง มันก็อาจจะไม่สามารถเปล่งพลังได้อย่างที่ควรจะเป็น 3. อย่าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน “Mass is bad” มองเผินๆ การที่คุณพยายามสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ทุกคนอาจจะเป็นเรื่องดี ตลาดยิ่งใหญ่ โอกาสยิ่งมาก แต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ เหรอ? ผมคิดว่าบนโลกออนไลน์มันไม่ใช่แบบนั้น เพราะยิ่งคุณทำคอนเทนต์ใน Topic ที่กว้างมากเท่าไหร่ ตัวตนของคุณก็จะยิ่งไม่ชัดเท่านั้น คำแนะนำของผมคือพยายามที่จะทำให้เรื่อง หรือหัวข้อที่คุณเขียน/รายงานแคบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Niche) เน้นโฟกัสไปเป็นเรื่องๆ ทำเรื่องนั้นให้มีคุณภาพสุดๆ จนใครก็ทำคอนเทนต์สู้คุณไม่ได้ แล้วคุณธุรกิจสื่อของคุณจะไปต่อได้บนโลกออนไลน์ครับ ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ Techcrunch ที่โฟกัสในเรื่องของ Startup โดยเฉพาะ หรืออย่าง Search Engine Land ที่โฟกัสเรื่อง SEO, SEM เป็นหลัก จำไว้ว่า “Niche is bliss” ครับ ?? Shifu แนะนำ คำว่า Niche ของผมในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้คุณโฟกัสในอุตสาหกรรมที่เล็กมากๆ แต่เป็นหัวข้อเล็กๆ ที่คุณสามารถทำให้ดี และแตกต่างได้ และที่สำคัญอยู่ในอุตสาหกรรมที่ “มีคนต้องการ” และ “ทำเงินได้จริง” ถ้าให้คิดเร็วๆ และให้แนะนำ ผมจะแนะนำให้ทำสื่อที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเงิน ธุรกิจ ฟิตเนส การตลาด การพัฒนาตัวเอง อสังหาริมทรัพย์ หรือเกม (ทั้งนี้คุณต้องไปหาข้อมูลต่อว่าควรทำรึเปล่า และคุณมีความสนใจ และมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ จริงๆ รึเปล่า) ไว้ถ้ามีโอกาส เดี๋ยวจะมาเขียนวิธีการเลือก Niche ที่น่าสนใจให้ได้อ่านกันครับ 4. การขายโฆษณาไม่ใช่ทางเลือกเดียวของสื่อออนไลน์ แน่นอนว่าวิธีการหารายได้ด้วยการโฆษณานั้นเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุด แต่บางครั้งมันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ผมขออนุญาตแชร์วิธีการหารายได้ของสื่อออนไลน์ที่ผมคิดว่ามันเวิร์ค เกี่ยวข้อง และน่าสนใจมาให้ได้อ่านกันนะครับ วิธีที่ 1 การทำ Banner / Ad Network การโฆษณาแบบติด Banner หรือติด Ad Network (เช่น Google Adsense) นี้เป็นวิธีการโฆษณาแบบพื้นฐานที่สุดในการหารายได้สำหรับสื่อออนไลน์ สื่ออย่าง Forbes เองก็ใช้วิธีนี้ในการหารายได้เช่นกัน วิธีที่ 2 การทำ Sponsored Post / Advertorial วิธีการนี้คือการที่แบรนด์มาจ้างสื่อออนไลน์ในการโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือ Social Media ก็สามารถทำได้หมด ผมขออนุญาตไม่ยกตัวอย่างแล้วกันนะครับ เชื่อว่าคุณน่าจะเห็นมาบ่อย เพราะวิธีนี้สื่อออนไลน์ในไทยใหญ่ๆ ทำแทบจะทุกเว็บครับ วิธีที่ 3 การทำ Affiliate Marketing การทำ Affiliate Marketing ถือเป็นหนึ่งในการทำ Performance Marketing ความหมายคือถ้าสื่อช่วยให้แบรนด์ขายของได้ สื่อถึงจะได้เงิน แต่ถ้าสื่อช่วยแบรนด์ขายของไม่ได้ (ต่อให้จะหา Traffic หรือ Eyeball ให้กับแบรนด์มากแค่ไหนก็ตาม) สื่อก็จะไม่ได้เงิน ตัวอย่างของสื่อที่นิยมหาเงินด้วยวิธีนี้คือ Smart Passive Income (เว็บไซต์สอนให้คนหาเงินออนไลน์อย่างยั่งยืน) ของ Pat Flynn ครับ Shifu แนะนำ ถ้าสื่อของคุณอยากจะหารายได้ด้วยวิธีนี้ ความรู้แค่เรื่องการสร้างคอนเทนต์ไม่เพียงพอครับ คุณจะต้องเรียนรู้เรื่องอื่นๆ อย่างเช่นวิธีการเลือกสินค้ามาโปรโมต วิธีการสร้างคอนเทนต์ที่ Leads ไปสู่การขาย วิธีการเลือกซอฟต์แวร์?และเทคนิคต่างๆ อีกมากมายครับ ส่วนตัวผมเอง ผมไม่เก่งเรื่องนี้เลย แต่ผมรู้จักคนไทยที่เก่งในการทำ Affiliate Marketing ให้กับแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกอยู่ ไว้ถ้ามีโอกาส ผมจะเชิญเขามาเขียนให้ได้อ่านกันนะครับ : ) วิธีที่ 4 ขายบริการ ไม่ว่าคุณจะเป็นสื่อสายไหน สิ่งที่คุณจะต้องมีในการทำสื่อออนไลน์คือ “ความสามารถในการสื่อสาร” ซึ่งความสามารถแบบนี้นั้นเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ตลอดเวลา นอกเหนือจากการที่คุณทำคอนเทนต์บนช่องทางของคุณเองแล้ว คุณอาจจะขายบริการความเชี่ยวชาญของคุณให้กับแบรนด์ที่กำลังสนใจสิ่งที่คุณมีก็ได้ https://contentshifu.com/transition-online-publishing-guide/ ภัยร้ายออนไลน์ในวัยรุ่นไทย] “เครือข่ายสังคมออนไลน์” กลายเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น โดยวัยรุ่นใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการท่องเที่ยวในโลกออนไลน์ รวมไปถึงการหาคู่ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีการหาคู่ผ่านทางโลกออนไลน์ โดยพฤติกรรมการมีแฟนและเพศสัมพันธ์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (1) มีแฟนและกิ๊ก เป็นการหาแฟนและกิ๊กผ่านทางโซเชียลต่างๆ เพื่อมีเพศสัมพันธ์กับทุกคน (2) มีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องแฟนหรือกิ๊ก โดยจากการสำรวจวัยรุ่นชายจะมีการใช้สื้อออนไลน์หาคู่มากกว่าฝ่ายหญิง ส่วนในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์นั้น จะเกิดจากยินยอมหรือถูกบังคับก็ได้ และนี่คือปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น เด็กทุกวันนี้เสพสื่อต่างๆมากขึ้น จากอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์ แต่สังคมสื่อออนไลน์ก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่คอยจะทำร้ายได้ตลอด หากใช้มันอย่างไม่มีสติ ซึ่งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลเสียเช่น 1.สร้างให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมใหัเกิดขึ้น พฤติกรรมเลียนแบบ เป็นสิ่งที่ทสำคัญอีกอย่าง เช่น การแต่งตัวโป๊ๆ ลงตามสื้อออนไลน์ เช่น facebook instargram เพื่อเรียกยอดไลค์ให้เป็นจุดน่าสนใจ แต่ลืมมองผลเสียที่จะเกิดขึ้น 2.อาจตกเป็นเหยื่อของพวกผู้ร้ายหรือผู้ที่ไม่ประสงค์ดี พวกคนร้ายมีอยู่ทุกๆที่ อาจจะแฝงตัวอยู่ในสังคมออนไลน์ โปรแกรมสนทนาออนไลน์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเป็นช่องทางให้ถูกหลอกลวงได้ 3.ทำใหัละเลยกิจกรรมที่มีประโยชน์ การใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต หรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป ทำให้เด็กไม่ได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่ควรจะทำตามวัย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน พูดคุยกับครอบครัว รวมถึงการทำงานเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม 4.ลักลอบทำสิ่งผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์มากมายที่เป็นช่องทางแห่งอบายมุขและการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้าประเวณี การขายยาเสพติด การพนันออนไลน์ ซึ่งหากลูกเข้าไปดูไปชมเว็บไซต์เหล่านี้ก็อาจถูกชักชวนให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีได้ [ปัญหาเรื่องเพศ] เรื่องเพศออนไลน์ การรู้เรียนรู้เรื่องเพศของวัยรุ่นสมัยนี้ แค่คลิ๊ก! ก็เจอแล้ว อินเทอร์เน็ตเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเรียนรู้เรื่องเพศ แต่วัยรุ่นกลับใช้ในทางที่ผิด เสพเรื่องเพศจากเว็บไซค์ต่างๆ เช่น รูปโป๊ หนังโป๊ จึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ต้องยอมรับเลยว่าการที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตเพียงลำพังนั่นล่อแหลมมาก ซึ่งผู้ปกครองควรมห้คำแนะนำที่ดี เพื่อลดปัญหาที่จะตามมา การสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องเพศ การพูดคุยเรื่องเพศกับเด็กไม่ใช่เรื่องยาก แต่พ่อแม่ต้องให้เวลาและใส่ใจในรายละเอียดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเด็กอยู่ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัว เพื่อนฝูง ที่สำคัญคือต้องเข้าใจในวัยและพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเป็นอย่างดี ต้องพูดคุยสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ เรื่องเพศก็จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในการพูดคุยกับเด็ก ดังนั้น ในฐานะของคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ และให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่เด็กๆ ในการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์อย่าง หรือรู้จักการบล็อกเว็บที่เป็นอันตรายต่อเด็ก นี่แหละถึงจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ของลูกยุคออนไลน์อย่างแท้จริง http://pantae.com/content/466/?สื่อออนไลน์+ประโยชน์เยอะ+ภัยแยะ+ต้องแยกให้ถูก Social Media มีลักษณะดังนี้ 1 เป็นสื่อที่แพร่กระจายด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม ตรงนี้ไม่ต่างจากคนเราสมัยก่อนครับ ที่เกิดเรื่องราวที่น่าสนใจอะไรขึ้นมา ก็พากันมานั่งพูดคุยกันจนเกิดสภาพ Talk of the town แต่เมื่อมาอยู่ในโลกออนไลน์ การแพร่กระจายของสื่อก็ทำได้ง่ายขึ้นโดยเกิดจากการแบ่งปันเนื้อหา (Content Sharing) จากใครก็ได้ อย่างกรณีของป้า Susan Boyle ที่ดังกันข้ามโลกเพียงไม่กี่สัปดาห์จากการลงคลิปที่ประกวดร้องเพลงในรายการ Britain’s Got Talent ผ่านทาง Youtube เป็นต้น ทั้งนี้ Social media อาจจะอยู่ในรูปของ เนื้อหา รูปภาพ เสียงหรือวิดีโอ 2 เป็นสื่อที่เปลี่ยนแปลงสื่อเดิมที่แพร่กระจายข่าวสารแบบทางเดียว (one-to-many) เป็นแบบการสนทนาที่สามารถมีผู้เข้าร่วมได้หลายๆคน (many-to-many) เมื่อมีสภาพของการเป็นสื่อสังคม สิ่งสำคัญก็คือการสนทนาพาทีที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการร่วมกลุ่มคุยในเรื่องที่สนใจร่วมกัน หรือการวิพากษ์วิจารณ์สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยที่ไม่มีใครเข้ามาควบคุมเนื้อหาของการสนทนา แม้กระทั่งตัวผู้ผลิตเนื้อหานั่นเอง เพราะผู้ที่ได้รับสารมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรูปแบบของการเพิ่มเติมความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งเข้าไปแก้ไขเนื้อหานั้นได้ด้วยตัวเอง 3 เป็นสื่อที่เปลี่ยนผู้คนจากผู้บริโภคเนื้อหาเป็นผู้ผลิตเนื้อหา จากคนตัวเล็กๆในสังคมที่แต่เดิมไม่มีปากมีเสียงอะไรมากนัก เพราะเป็นเพียงคนรับสื่อ ขณะที่สื่อ จำพวก โทรทัศน์ วิทยุ หรือ หนังสือพิมพ์จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างมาก สามารถชี้ชะตาใครต่อใครหรือสินค้าหรือบริการใดโดยที่เราแทบจะไม่มีทางอุทธรณ์ แต่เมื่อเป็น Social Media ที่แทบจะไม่มีต้นทุน ทำให้ใครๆก็สามารถผลิตเนื้อหาและกระจายไปยังผู้รับสารได้อย่างเสรี หากใครผลิตเนื้อหาที่โดยใจคนหมู่มาก ก็จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลไป ยิ่งหากเป็นในทางการตลาด ก็สามารถโน้มนำผู้ติดตามในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยง่าย ถ้าอธิบายความหมายเพียงแค่นี้ หลายท่านอาจจะนึกภาพ Social Media ไม่ออก ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆก็คงจะต้องเปิดเว็บไซต์ต่างๆ ที่เผยแพร่กันอยู่บนอินเทอร์เน็ต ขึ้นมาสักเว็บไซต์หนึ่ง จะเห็นว่า บนหน้าเว็บไซต์นั้น เราจะพบตัวหนังสือ ภาพ หรืออื่นๆ เราจะเรียกสิ่งที่นำเสนอผ่านหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวว่า สื่อ (media) แต่เนื่องจากสื่อดังกล่าวที่เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตเหล่านั้น เราจึงเรียกว่า สื่อออนไลน์ (หมายถึงสื่อที่ส่งมาตามสาย (line) ถึงแม้ปัจจุบัน จะเผยแพร่แบบไร้สาย เราก็ยังเรียกว่า ออนไลน์ ก่อนหน้านั้น การเปิดดูสื่อแต่ละเว็บไซต์นั้น ต่างคนก็ต่างเปิดเข้าไปดูสื่อออนไลน์ในเว็บไซต์เหล่านั้น ต่อมาจึงมีผู้คิดว่า ทำอย่างไร จะทำให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์นั้นๆ แทนที่จะมาอ่าน มาดูสื่อเพียงอย่างเดียว ทำอย่างไรให้สามารถมาสร้างสื่อ เช่น พิมพ์ข้อความ หรือใส่ภาพ เสียง วีดิโอ ในเว็บไซต์นั้นได้ด้วย ซึ่งเว็บไซต์ที่พัฒนาในระยะต่อมาจะเป็นเว็บไซต์ที่ผู้คนทั่วๆไป สามารถเข้าไปเพิ่มเติมเนื้อหา หรือเพิ่มเติมสื่อได้ตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งมีผลทำให้เว็บไซต์เหล่านั้น เป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการสร้างสื่อ แทนที่จะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง ก็กลายเป็นเว็บไซต์ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นชุมชน หรือสังคมย่อยๆของผู้ที่ใช้เว็บไซต์นั้นขึ้นมา โดยเนื้อหาหรือสื่อที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์นั้น ก็เป็นสื่อที่คนในสังคมนั้นๆช่วยกันสร้างขึ้นมา แต่การพัฒนายังไม่หยุดยั้ง เพราะมีการคิดกันต่อไปอีกว่าทำอย่างไรที่จะให้คนในชุมชนหรือสังคมของคนใช้เว็บไซต์นั้นๆ นอกจากจะสามารถเพิ่มสื่อของตนเองแล้ว ยังสามารถที่จะสื่อสาร ติดต่อ โต้ตอบกันได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน มีเว็บไซต์จำนวนมากที่สามารถพัฒนาจนกระทั่งสร้างเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากนับเป็นล้านคน สามารถติดต่อสื่อสาร ส่งเรื่องราวต่างๆถึงกันได้อย่างกว้างขวาง ทำให้เรื่องราวที่ส่งถึงกันนั้น เป็นเรื่องราวของคนในสังคมออนไลน์นั้น กลายเป็นสื่อ หรือ media ที่สร้างโดยคนท่อยู่ในสังคมที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของ Social Media มากขึ้น จะขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นสังคมขนาดใหญ่มีสมาชิกเป็นล้านคนทั่วโลก แต่แต่ละคนที่มีเรื่องราวมากมายเผยแพร่บนเว็บไซต์ กลางเป็นแหล่งรวมของเรื่องรวหรือ สื่อออนไลน์ขนาดใหญ่ ซึ่งคนทั่วไปก็รู้จักดีคือเว็บไซต์ของ Facebook http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=718วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2561) 
................... 

ขณะเดียวกันอุปกรณ์เครื่องมือทางสื่อสังคมออนไลน์ 

๑) คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณ อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล 

๒) สมาร์ทโฟน (SmartPhone) คือ โทรศัพท์มือถือที่นอกเหนือจากใช้โทรออก-รับสายแล้วยังมีแอพพลิเคชั่นให้ใช้งานมากมาย สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G, Wi-Fi และสามารถใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คและแอพพลิเคชั่นสนทนาชั้นนำ เช่น LINE, Youtube, Facebook, Twitter ฯลฯ โดยที่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งลูกเล่นการใช้งานสมาร์ทโฟนให้ตรงกับความต้องการได้มากกว่ามือถือธรรมดา ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ นิยมผลิตสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอระบบสัมผัส, ใส่กล้องถ่ายรูปที่มีความละเอียดสูง, ออกแบบดีไซน์ให้สวยงามทันสมัย, มีแอพพลิเคชั่นและลูกเล่นที่น่าสนใจ 

๓) แท็บเล็ต (Tablet) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอระบบสัมผัสขนาดใหญ่ มีขนาดหน้าจอตั้งแต่ 7 นิ้วขึ้นไป พกพาได้สะดวก สามารถใช้งานหน้าจอผ่านการสัมผัสผ่านปลายนิ้วได้โดยตรง มีแอพพลิเคชั่นมากมายให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะรับ-ส่งอีเมล์, เล่นอินเทอร์เน็ต, ดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกม หรือแม้กระทั่งใช้ทำงานเอกสารออฟฟิต ข้อดีของแท็บเล็ตคือมีหน้าจอที่กว้าง ทำให้มีพื้นที่การใช้งานเยอะ มีน้ำหนักเบา พกพาได้สะดวกกว่าโน๊ตบุ๊คหรือ คอมพิวเตอร์ สามารถจดบันทึกหรือใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี 

๔) เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย 

๕) ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย 

๖) ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง 

๗) เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล 

๘) เราต์เตอร์ (Router) เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ้ล(Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

๙) บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternetกับ Token Ring เป็นต้น บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อยๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆได้ 

๑๐) เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น ................................. 

สื่อออนไลน์ (Online Journatitsm) ประกอบด้วยเว็บไซต์ (Website) ที่ยอดฮิตที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก(สถิติ) เช่น เฟซบุ๊ก(facebook) ทวิตเตอร์(Twitter) ไลน์(Line) อินสตาร์แกรมหรือไอจี (Instagram - Ig) ยูทูป(YouTube) แอพพลิเคชั่น(Application) จนกระทั้งมีการลอมรวมเป็น (Online Muti Journatitsm) พัฒนาเป็น อินเตอร์เน็ต ออฟ ทิ้งค์ หรือ ไอโอที (Internet of Thinking =IOT) หรือมีการหลอมรวมรูปแบบ (Muti Platform)พัฒนาเป็นสังคมด้วยมีเดีย(Social Media) เพราะสร้างเป็นเครือข่ายทางสังคม (social network)ขณะเดียวกันทางด้านเทศโนโยลีได้(Technology) ที่มีการพัฒนาเริ่มตั้งแต่ กราฟิกเสมือนจริง(Augument Reality=AR) กราฟิก (VR) มีการผสมระหว่าง AR และ VR เป็น MR อย่างเช่น รวมถึง VTR คือ สื่อวีดีทัศน์หรือวิดีโอซึ่งใช้สำหรับบันทึกภาพและเสียง ส่วนมากมัก หมายถึงวิดีโอแนะนำบุคคล องค์กร หรือสถานที่โดยย่อเพื่อให้ผู้ชมเกิดความคุ้นเคยและได้รับข้อมูลที่สำคัญเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคคล หรือสิ่งที่จะได้สัมผัสหลังจากที่ได้ชม VTR แล้ว เช่น VTR แนะนำองค์กรจะทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรว่าทำอะไร มีใครเป็นผู้บริหารบ้าง และอื่น ๆ ก่อนที่จะได้ฟังการบรรยายจากตัวแทนขององค์กร เป็นต้น(http://www.xn--12c0ecxsex2q.com/)จนกระทั้งมีการพัฒนามาระดับปัญญาประดิษย์หรือหุ่นยนต์ (AI=Artificial Intelligence) หุ่นยนต์ อย่างเช่นโรบอต(robotics) ใช้ในสื่อออนไลน์สามารถสร้างข่าวได้ ๓๐,๐๐๐ ชิ้นต่อเดือน สร้างวิวสูงพร้อมกันนี้ยังนำมาใช้ในการสร้างข่าวปลอด(Fake News) ส่งผลให้เกิดผู้ส่งสารเสมือนจริง (VSR) 

หลังจากนั้นมีการประยุกต์ดิจิทอลในรูปแบบต่างๆ เช่น Digital Communications Digital Entrepreneurship Digital Learnings Digital Politics Digital Commerce Digital Innovations Digital Communications Digital Entrepreneurship Digital Learnings Digital Politics Digital Commerce Digital Innovations Digital City Digital Cafe Digital Sciene Digital Transformation หมายถึง ข่าวสร้างราคาได้บนฐานของการทำสิ่งที่คนอยากรู้ ขยายข้อมูลข่าว ต่อยอดประเด็นข่าว แตกต่างจากคนอื่น สื่อต้องทำ Big Data เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้รับสาร Digital Nomad สัมภเวสี "การดำเนินชีวิตประจำวันไม่ติดอยู่กับที่ อาศัยเทคโนโลยีและสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยสามารถนั่งทำงานตามร้านกาแฟ สวนสาธารณะ ชายทะเล ผาน้ำตก ริมขอบเหว ซึ่งสามารถทำงานได้" (https://thematter.co/sponsor/digital-nomad/47134) Digital City Digital Cafe Digital Sciene Digital Transformation หมายถึง ข่าวสร้างราคาได้บนฐานของการทำสิ่งที่คนอยากรู้ ขยายข้อมูลข่าว ต่อยอดประเด็นข่าว แตกต่างจากคนอื่น สื่อต้องทำ Big Data เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้รับสาร Digital Nomad สัมภเวสี "การดำเนินชีวิตประจำวันไม่ติดอยู่กับที่ อาศัยเทคโนโลยีและสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยสามารถนั่งทำ งานตามร้านกาแฟ สวนสาธารณะ ชายทะเล ผาน้ำตก ริมขอบเหว ซึ่งสามารถทำงานได้" (https://thematter.co/sponsor/digital-nomad/47134) ขณะที่ IBSC ก็มีแผนพัฒนาสอดรับ Digital Library MCU ประกอบด้วย Organization World MCU Classroom Contant Big Data Application Mind Sharing Caring Digital Literacy is for Social Enterprise Algorithm Platform Transformation ความเข้าใจ รู้เท่าทัน 

การพัฒนาการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าขึ้นดังกล่าว รัฐบาลายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(พ.ศ.๒๕๕๗-ปัจจุบัน) ได้มีเป้าหมายพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือที่เรียกว่าไทยแลนด์ ๔.๐ (Thailand๔.๐) โดยมีเป้าพัฒนาผ่าน ๓ แพลตฟอร์มหลัก คือ 

๑) Bio-Digital Platform ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทึ่มีฐานจากรหัสพันธุ กรรมและชีวโมเลกุล และดิจิทัลเดต้า ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมโครงการสำคัญรองรับหลายโครงการ อาทิ Bio Bank, Gene Bank, PlantFactory และ Bioinformatics เป็นต้น 

๒) Cyber-Physical Platform เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมีทั้งระบบการผลิตที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทางกายภาพรวมถึงแพลตฟอร์มการทำงาน การซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการที่อยู่ในโลกไซเบอร์ควบคู่กันไป โดยมีเทคโนโลยีในที่สำคัญ อาทิ High Performance Computing, Smart Business, Internet of Value and Blockchain และ Data Analytics เป็นต้น 

๓) Earth-Space Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะครอบคลุมทั้งด้าน Food for the Future, Biomedical, Renewable Energy, Climate Technology, Geo Engineering, การจัดการน้ำและทรัพยากร และภัยพิบัติต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการที่เกี่ยวกับดาวเทียมและอวกาศ และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นต้น และมีเป้าพัฒนาเป็นสตาร์ทอัพ(Startup) 6 กลุ่ม ดังนี้ 

๑) E-commerce : การค้าขายผ่านสื่อออนไลน์ทั้งในรูปแบบของสินค้าและบริการ 

๒) Fintech : ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีกับการเงิน เช่น การลงทุน การทำบัญชี เป็นต้น 

๓) Agritech : เทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นกลุ่มที่ช่วยผลักดันให้งานด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นทรัพยากรที่เรามีอยู่แล้วเพิ่มมูลค่ามากขึ้น 

๔) Edtech : ธุรกิจเกี่ยวกับการเรียนรู้ เน้นกระจายองค์ความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย และเป็นวงกว้างมากขึ้น 

๕) E-service : บริการต่างๆ ที่ถูกนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เช่น ชำระค่าบริการออนไลน์ เป็นต้น 

๖) IOT : การเชื่อมโยงอุปกรณ์ทั้งหมดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ แต่เพื่อรองรับยุคดิจิทอลดังกล่าวรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประชากรยุคศวรรษที่ ๒๑ ที่จะต้องมีการพัฒนาทักษะ ๓ ด้าน (3 Types of 21st Century SkillS ) คือ 

๑.Learning skills ๔ C 

๑.๑ Critical thinking ทักษะเชิงวิเคราะห์(จิ) โดยรู้จักวิเคราะห์ด้วย Swot Analysis 

๑.๑.๑ S=Strength (จุดแข็ง) 

๑.๑.๒ W=Weakness (จุดอ่อน) 

๑.๑.๓. Opportunity (โอกาส) 

๑.๑.๔ T=Threat (สิ่งคุกคาม) 

รู้จักตั้งคำถาม (ปุ) 

รู้จักประเมิน (จิ) 

รู้จักสรุป(ลิ)(เขียน) 

๑.๒ Creative,Creativity ทักษะการคิดสร้างสรรค์ สร้างความแตกต่าง สร้างคุณค่า มีประโยชน์ สังเคราะห์ทางออกใหม่(นวัตกรรม) Innovation of Thought นวัตกรรมทางความคิด Attituce ทัศนคติ Concept แนวคิด segmentation การจำแนกแจกแจง 

๑.๓ Communication ทักษะการสื่อสาระ เข้าถึง เข้าใจ (Knowledge) ทฤษฎี SMCR Sender มีอะไรบ้าง พัฒนา ได้ผลดี Tele communication Online Muti Journatitsm Convergent Journatitsm Peace Journalism Online Journalism แบ่งเป็น Tachnical และ Production Convergence , Convergent Journalism Peace Journalism Mobie Journalism Big Journalism ทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนข้อมูลมาก หรือวารสารศาสตร์ บิ๊กสื่อ นิยามจากพิจิตรา หนังสือวารสารสมาคม ทำหน้าที่ประสาน 5G และ IOT Backpack Journalism Robo Journalism (โรบอต) Cross-media journalism Peace Journalism Inovation of Communication 

๑.๔ Collaborating, Collaborative ทักษะการทำงานร่วมกัน(สังฆะ) ใจกว้าง เคารพความแตกต่าง (ขันติ) ทำงานเป็นทีม prosperity ความรุ่งเรืองร่วมกัน Mutual Benefit การมีผลประโยชน์ร่วมกัน 

๒. Literacy Skills ทักษะการรู้เท่าทัน 

๒.๑ Information Literacy การรู้เท่าทันข่าวสาร Share แบ่งปัน 

๒.๒ Media Literacy การรู้เท่าทันสื่อ 

๒.๓ Technology Literacy การรู้เท่าทันเทคโนโลยี Machine Learning E Electronic 

๓. Life Skills ทักษะชีวิต 

๓.๑ Flexibility การยืดยื่น ปรับตัว Positioning การจัดวางตัวตน Mutual Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ Mutual Respect การเคารพซึ่งกันและกัน 

๓.๒ Initiative ความคิดริเริ่ม ต้นคิด 

๓.๓ Social Skills ทักษะทางสังคม เป็นคนมีผลิตภาพ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล Responsibility ความรับผิดชอบ 

๓.๔ Produclivily คุณภาพ คุณธรรม Buddist Digital marketing Mindset Mindfulness MindmapBuddist Mindset is not I go to AI for All of us 

๓.๕ Leadership มีภาวะผู้นำ (ศาสตร์พระราชา) 

พร้อมกันนี้รัฐบาลยังได้มีการพัฒนาศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data Goverment) ซึ่งมีองค์ประกอบ ๖ ด้านคือ ๑. Open Data ๒. Base Analytics Data ๓. Cloud Services Data อย่างเช่น Amazon และ Alibaba or MCU ๔. Hard ware,Soff Ware Data ๕.Data Analytic และ ๖. Data center 

๒.๑.๓ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 

ในบริบทนี้ได้นำทฤษฎี SMCR ของ “เดวิด เค. เบอร์โล” (David K.Berlo) มาสังเคราะห์เพื่อที่เป็นเพื่อฐานในการวิเคราะห์การใช้สื่อออนไลน์ของพระสงค์ในลำดับต่อไป 

ทฤษฎี SMCR เป็นแนวคิดของของเดวิด เบอโล ซึ่งเป็นประกวนการของการสื่อสารซึ่งประกอบด้วย SMCR ภายใต้เงื่อนไข KASN คือ ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และการสร้างเครือข่าย ดังนี้ 

๑. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญใน “การเข้ารหัส” (Encode) เนื้อหาข่าวสาร และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย 

๒. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร 

๓. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น หรืออุปกรณ์ต่างๆ 

๔. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญใน “การถอดรหัส” (Decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม เช่นเดียวหรือคล้ายคลังกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อสารความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล 

อย่างไรก็ตามทฤษฏี S M C R จะทำให้ขีดความสามารถของผู้ส่งสารและผู้รับสารประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นตั้งอยู่ภายใต้เงื่อนไขคือ KASN ได้แก่ (๑) ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไป 

(๒) ทัศนคติ (Attitudes) ผู้ส่งและผู้รับต้องมีมีทัศนคติที่ดีต่อกันจะทำให้การสื่อสารได้ผลดี 

(๓) ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) มีความชำนาญหรือมีความสามารถในการถอดรหัสในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่าง 

(๔) เครือข่ายสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติมีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในประเทศนั้น ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน รวมถึงมีการศึกษาถึงกฎข้อบังคับทางศาสนาของแต่ละศาสนาประกอด้วยด้วย 

ทั้งนี้สามารถนำทักษะของประชากรในศตวรรษที่ ๒๑ มาสังเคราะห์ในทฤษฏี S M C R ภายใต้เงื่อนไข KASN ถือได้ว่ามีความสอดคล้องกัน โดยผู้ส่ง (Source) และผู้รับ (Receiver) จะต้องมีทักษะครบทั้ง 3 ด้าน ส่วนเนื้อหาของสารนั้นเป็นไปตามทักษะการสื่อสาร(Communication ทักษะการสื่อสาระ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีทักษะด้านการเขียนข่าว M 

๑.๑ ความหมายของข่าว ข่าว ๓๐คือ การรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดจนความคิดเห็นของบุคคลสาคัญ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งประชาชนให้ความสาคัญและสนใจ รวมทั้งมีผลกระทบต่อผู้คนจานวนมาก Mass มวลชน Content แนวเนื้อหา Context แนวบริบท 

๑.๒ ลักษณะของข่าวมีองค์ประกอบที่สาคัญของเหตุการณ์ที่จะเป็นข่าวมีดังนี้ 

(๗) Suspense (ความมีเงื่อนงา) เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ยุติ เพราะมีเบื้องหลังที่ซับซ้อน 

(๘) Oddity or Unusualness (ความแปลกประหลาด) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยผิดปกติวิสัย หรืออิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ 

(๒) Human Interest (ประชาชนสนใจ) เหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้ผู้รับทราบเกิดความสนใจอย่างมาก Satisfaction ความพึงพอใจ motivation แรงจูงใจ 

(๙) Sex (องค์ประกอบทางเพศ) หมายถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง เพศชาย หรือผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ 

(๑)Timeliness (ความสดใหม่) หรือ Immediacy (ความรวดเร็ว) เหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นๆ เพิ่งจะเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ หรือเพิ่งจะค้นพบ แล้วมีการรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างรวดเร็วทันที Situations คือสะท้อนสถานการณ์ ที่ปรากฎในขณะนั้น เทรนในปัจจุบัน 

(๓) Proximity of Nearness (ความใกล้ชิด) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวสารกับผู้ที่รับรู้เรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางร่างกายหรือจิตใจ 

(๔)Prominence (ความมีชื่อเสียงหรือความสาคัญ) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นมีชื่อเสียง เช่น นักการเมือง นักแสดง หรือบุคคลในสังคมชั้นสูงหรือสถานที่สาคัญ เช่น สถานที่สาคัญทางประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนา ตลอดจนวัตถุสิ่งของอันล้าค่า และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป 

(๑๐) Progress (ความก้าวหน้า) เรื่องราวที่เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิชาการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ตลอดจนความก้าวหน้าของบุคคลที่ประสบความสาเร็จอย่างสูงในชีวิตทาให้คนทั่วไปสนใจใคร่รู้ 

(๕) Consequence (ผลกระทบ) เหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลมากน้อยเพียงใด 

(๖)Conflict (ความขัดแย้ง) เรื่องราวนั้นแสดงถึงความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัวขนาดเล็ก หรือระหว่างประเทศ 

หรือประกอบด้วย 

(๒) Neutral ความเป็นธรรมชาติ 

(๑) Native ความเป็นกลาง 

(๔) New ใหม่ เสมอ ซ้ำไม่เอา 

(๕) Now ปัจจุบันขณะ 

(๓) North การช่วยหาช่องทาง(ในวิทยานิพนธ์) 

(๖) Near เข้ามาร่วมแก้ปัญหา 

๑.๓ คุณสมบัติของข่าว ในการพิจารณาคัดเลือกเรื่องราวที่จะนามาตีพิมพ์เป็น ข่าวนั้นนอกจากจะต้องพิจารณาเรื่ององค์ประกอบของข่าวแล้ว ยังต้องพิจารณาด้านคุณภาพของข่าวด้วย ข่าวที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้ 

(๑) Accuracy (มีความถูกต้องครบถ้วน) ทุกรายละเอียดของข่าวเป็นข้อเท็จจริงไม่ถูกบิดเบือน Fack สร้างข่าวปลอม วิวปลอม เร็ตติ้งปลอม เพื่อการจูงใจ Fake News Fake online reviews 

(๒) Balance and Fairness (มีความสมดุลและเป็นธรรม ) นาเสนอความคิดเห็นของทั้งสองฝุายที่โต้แย้งกันอย่างสมดุลและเป็นธรรม (๓) Objectivity (ความเที่ยงตรง) ดูเพิ่มเติมใน, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=148023 [๓๐ ส.ค.๒๕๕๗]. 

(๖) องค์ประกอบของการเขียน 5W 1Hได้แก่ Who What Where When Why และ How เพื่ออธิบายว่าใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทาไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น และเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร 

๑.๔ ประเภทของข่าว การแบ่งประเภทของข่าวสามารถพิจารณาได้หลายแง่มุมด้วยกัน ได้แก่ 

๑) ประเภทของข่าวซึ่งพิจารณาในแง่ระดับข่าว ซึ่งแบ่งเป็น “ข่าวหนัก” ซึ่งเน้นเนื้อหาสาระความรู้มากกว่าความบันเทิง และ “ข่าวเบา” ซึ่งเน้นความบันเทิง หรือผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่านเป็นหลัก 

๒) ประเภทของข่าวซึ่งพิจารณาในแง่ระดับความรู้สึกตอบสนองของผู้อ่านได้แก่ ข่าวที่ผู้อ่านรู้สึกตอบสนองได้ทันที แต่เป็นการตอบสนองในระยะสั้นๆ ได้แก่ ข่าวบันเทิง อาชญากรรม อุบัติเหตุ และข่าวที่ผู้อ่านรู้สึกตอบสนองช้า เพราะต้องใช้ความคิดพิจารณาเนื้อหาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ได้แก่ ข่าวการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา 

๓) ประเภทของข่าวซึ่งพิจารณาจากวิธีการนาเสนอข่าว ซึ่งแบ่งเป็น ข่าวที่เสนอโดยเน้นเหตุการณ์ คือ เสนอเฉพาะข้อเท็จจริง และข่าวที่เสนอโดยเน้นที่กระบวนเกี่ยวเนื่องของข่าว คือเน้นการอธิบาย ตีความ ใช้ลีลาการเขียนแบบสารคดี เพื่อให้รายละเอียดที่เร้าใจ ดึงดูดความสนใจผู้อ่าน ดังจะเห็นได้ว่า ข่าวที่เกิดจากการเผยแพร่ของสื่อมวลชนจะมีคุณลักษณะประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่เกิดจากความรับผิดชอบต่อสังคม ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ได้เกิดการไหลของข้อมูล ซึ่งไม่ใช่คุณลักษณะที่เป็นข่าวสาร แต่เป็นข้อมูลจานวนมหาศาลซึ่งประกอบด้วย จินตนาการจากทัศนคติของแต่ละบุคคล รวมถึง ข้อความเท็จ ข้อความส่อเสียด ข้อความหยาบคาย และข้อความ เพ้อเจ้อ ไร้สาระ เป็นต้น 

ขณะเดียวกันหากเป็นพระสงฆ์แล้วมีความจำเป็อย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะในการเขียนข่าวเชิงพุทธหรือพระสื่อข่าว โดยต้องรู้ว่า ใคร คือ แหล่งข่าว ซึ่งมีทั้้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย หากเปิดเผยก็จะระบุชื่อ นามสกุล ตำแหน่งชัดเจน หากไม่เปิดเผยก็จะใช้คำว่ารายงานข่าวกล่าวว่า แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ซึ่งก็จะตรงกับหลักธรรมคือปุริสัญญุตา และปุคคโลปลัญญุตา นั่นก็คือบุคคลเป็นข่าว คือบุคคลที่สังคมส่วนใหญ่สนใจ หากทำเรื่องอะไรที่เป็นผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างทั้งทางบวกและลบย่อมเป็นข่าวอย่างแน่นอน(อนัตตา) แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคคลทำเรื่องที่น่าสนใจ ก็ต้องมีเครื่องมือ(Tool) ในการวัด ซึ่งก็ดูจากสื่อออนไลน์ตัววัดจำนวนข่าวที่คนเข้าชมแต่ละวันหรือแต่ละชั่วโมง หากเราสังเกตบ่อยๆจะทำให้เรารู้ว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่คนสนใจ พอมีเรื่องใหม่เกิดขึ้นจะทำให้เราอนุมานได้ว่าเรื่องนี้นะคนสนใจ 

ส่วนบุคคลสำคัญแต่ทำเรื่องไม่น่าสนใจแต่อยากเป็นข่าวนี้คือปัญหาซึ่งเขาไม่เรียกข่าวเขาเรียกประชาสัมพันธ์หรือพีอาร์(อัตตา) ซึ่งข่าวดีแต่เสียเงินมันอยู่ตรงนี้คือทำเรื่องไม่เป็นเรื่องหรือทำเรื่องไม่น่าสนใจ หรือทำเรื่องน่าสนใจแต่ไม่เข้าใจถึงจุดที่น่าสนใจออกมาโชว์หรือเอาไว้หลังร้านใครจะเห็น หรือไม่ก็ข้อมูลไม่ครบส่วนใหญ่แล้วจะมีใคร ทำอะไร ที่ไหน แต่อย่างไรนี้ไม่ค่อยมีซึ่งตัว"อย่างไร"นี้แหละตัวปัญญาที่จะทำให้คนอ่านข่าวหรื่อรับสารเกิดความรู้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสร้างแต่ภาพที่ไม่ค่อยเป็นข่าวเพราะข้อมูลไม่ครบนี้เอง ทั้งๆที่ทำเรื่องที่ดีแล้วก็มีจะบ่นว่าทำไมไม่แชร์ก็เพราะข้อมูลมันไม่ครบ เพราะมันเป็นภาพพีอาร์หน้าตรงอธิบายความไม่ได้ ภาพที่เป็นข่าวจะต้องภาพหนึ่งภาพแทนคำได้พันคำ 

ที่นี่จะหาแหล่งข่าวจากไหนส่วนหนึ่งคือความสัมพันธ์ อีกส่วนหนึ่งก็หาจากสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งก็จะต้องมีการสำรวจเป็นระยะ (พุทธจริยา) ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่เฟซบุ๊ก หากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วแต่เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจะอยู่ที่ทวิตเตอร์ ผู้สื่อข่าวเชิงพุทธ การฝึกเป็นพระสื่อข่าวหากเป็นพระหรือสามเณรที่ผ่านการสอบนักธรรมมาแล้วคิดว่าคงพัฒนาในการเขียนข่าวได้เร็วนั้นก็คือการแต่งกระทู้ จะเริ่มด้วยสุภาษิตภาษาบาลี แล้วก็คำแปล ตามด้วยเนื้อหาที่แต่ง แล้วก็สรุป โครงสร้างการเขียนข่าวก็ลักษณะเดียวกัน ตรงสุภาษิตภาษาบาลีก็คือพาดหัวข่าว จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าได้พาดหัวข่าวให้เราเรียบร้อย ถ้าคนศึกษาภาษาบาลีประโยคสูงๆเรียนการแต่งฉันท์แล้วจะเข้าใจ โดยจะนำคำสำคัญของประเด็นของเนื้อหาหรือเรียกว่าคีย์เวิร์ดมาใช้ในการพาดซึ่งเป็นภาษาที่กระซับยิ่งสั้นยิ่งดีถ้าเป็นหนังสือพิมพ์ หากเห็นเว็บไซต์ก็จะมีแบบฟอร์มอยู่แต่ก็ไม่ยาวมาก ส่วนของคำแปลภาษาไทยนี้ตัดออกหรือให้คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาดหัวข่าว 

ส่วนคำโปรยมาจากไหนก็มาจากคำสรุปท้ายกระทู้ เราก็ยกมาเป็นคำโปรยของข่าวสรูปให้ได้ใจความสั้นประมาณสองบรรทัด ถ้ดจากพาดหัวข่าว 

หลังจากนั้นก็จะเป็นส่วนของเนื้อหา ก็จะมีองค์ประกอบคือใคร ทำอะไรที่ไหน เมื่อใด อย่างไร ก็จะเรียงใหม่เป็นเมื่อใดคือวันเดือนปี ที่ไหนก็คือสถานที่ของเนื้อหา ใคร บอกชื่อนามสกุลตำแหน่งให้ครบและต้องสะกดให้ถูกต้อง อะไร อย่างไร ซึ่งช่วงเนื้อหานี้เราก็เอาข้อมูลต่างๆมาใส่ที่เป็นส่วนที่สำคัญเรียงตามลำดับ หรือจะยึดหลักอริยสัจสี่ หลักการทำวิจัยหรือการเขียนบทความ 

เมื่อเอาเนื้อเพิ่มหรือเอาสุุภาษิตมาเชื่อทำเป็นพาดัวเรื่องใหม่ หรือเรียกว่าซับเฮดเป็นตอนๆ เมื่อความเข้าใจของเนื้อหาและไม่ติดกันยาวมากเกิ่นไป สวนความยาวของข่าวนั้นแล้วแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ถ้าเป็นเว็บไซต์ควรที่กระซับไม่น่าจะเกินหนึ่งกระดาษเอสี่ ลองเขียนดูนะครับ เบื้องต้นเอาแบบฟอร์มในการเขียนให้ได้ก่อน เรื่อยมาจนถึง ใคร ส่วนอะไร กับอย่างไรนี้ค่อยๆ ใส่เพิ่มเข้าไป ฝึกไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ชำนาญ เกิดทักษะพอผมรู้ว่ามีข่าวและประเด็นอะไรที่น่าสนใจผมจะคิดพาดหัวเป็นอันดับแรกจะพาดหัวอย่างไรให้คนสนใจ ส่วนโปรย เนื้อหาว่ากันทีหลัง เขาถึงว่าเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง 

เคยถามว่าข่าวกับพีอาร์ต่างกันตรงไหนตอบก็คือตรงอัตตาและอนัตตา การสื่อข่าวเชิงพุทธพัฒนาพระสื่อข่าว ข่าวดีแต่ไม่มีประเด็นหรือประเด็นซ้ำจะทำอย่างไรเพราะลงไปก็ไม่มีคนอ่านเชยแล้วจะอย่างไรตอบก็ต้องทำประเด็นเพิ่มที่เรียกว่าทำข่าวหรือไม่ก็เอาไปต่อข่าวลักษณะ เดี่ยวกัน การสื่อสารเชิงพุทธพัฒนาพระสื่อข่าวต้องรู้จักสร้างภาพแทนพันคำก็ลองคิดดูว่าหน้าตรงจะแทนคำได้กี่คำ จัดอบรมสัมมนาอย่างไรให้เป็นข่าวถ้าไม่ต้องการให้มวลชนรู้ก็ไม่ต้องตอบจัดไปแต่ถ้าต้องๆคิดตั้งแต่คิดจัดจะมีประเด็นอะไรที่เป็นข่าวแล้วต้องการคนอ่านกี่คน พุทธสันติวิธี 4.0 สร้างสรรค์สังคมไทย การสื่อข่าวเชิงพุทธจะต้องมีความเป็นอนัตตาสูง อีกหลายด่านการจะเป็นจอหงวน ยอมรับที่ผ่านมาได้ เพราะการวางแผนการเรียนตั้งแต่ระดับปริญญาโท โดยเขียนงานในลักษณะของการเขียนบทความทางวิชาการทุกครั้ง ทำให้ความคิดเป็นระบบ ไม่ออกนอกกรอบหรือฟุ้งไปมาก บวกกับทักษะของการเขียนงานทุกวันจึงทำให้ผ่านมาได้ด่านแรก 

ถามว่าเรียนแล้วได้อะไรอายุมากแล้ว สิ่งที่ได้คือการฝึกทักษะหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ สุคือฝึกเป็นคนฝึกอย่างตั้งใจรู้จักฟังคนอื่นเขาบ้าง จิ คือ ฝึกคิดคือคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะไม่เหมารวม หรือหากจะเหมารวมก็ผ่านกระบวนการของการคิดแบบแยบคายหรือโยนิโสมนสิการหรือตามหลักกาลามสูตร และที่สำคัญหรือฝึกที่จะไม่คิดคือฝึกที่จะรู้หรืออยู่กับอารมณ์ปัจจุบันหรือปัจจุบันขณะด้วยการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปุ คือ คือฝึกการถามรู้จักถามไม่ใช่สักว่าแต่ถามหรืออยากถาม พร้อมกันนี้ยังฝึกการพูดตามหลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธคือศีลข้อสี่ วาจาสุภาษิต ไม่พูดให้เกิดการเกลียดชัง เสียดสี ลิ คือการเขียนโดยฝึกการหาประเด็นที่จะนำมาเขียนในหน้าที่การงาน และเขียนบทความทางวิชาการและเขียนวิทยานิพนธ์ว่ามีลักษณะในการเขียนอย่างไรถึงจะมียอดคนอ่านมากๆๆ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือฝึกทดลองปฏิบัติจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบฟาร์มสันติวิถีพอเพียง ไม่ใช่สักว่าแต่เรียนแบบความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ไปขึ้นทะเบียนคนจนก็ถูกตำหนิทั้งๆ ที่รัฐเปิดสิทธิก็ได้รักษาสิทธิก็เท่านั้น เพราะเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือรายได้ แต่ถ้าตั้งเกณฑ์อย่างอื่นเช่นความสุข เขาอาจะไม่ไปลงก็ได้ 

พร้อมกันนี้ต้องเข้าใจ โพสต์ดราม่าหรือโพสต์คุณค่ายุคไทยแลนด์4.0 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงานว่า 

ในโลกออนไลน์มีเรื่องราวมากมายทั้งเชิงลบและเชิงบวก ถ้าเราโพสต์ แชร์ คอมเมนต์ ด้วยภาวะอันขาดสติและมีอคติเพียงครั้งเดียวอาจจะนำไปสู่การใช้ชีวิตหรือการทำงานเพียงชั่วข้ามคืน อาจจะดังแบบบวกหรือดังแบบลบก็ได้ จากการศึกษาและการตกผลึกการโพสต์ในปัจจุบันนั้นสามารถแบ่งออก 3 ประเภท ในสื่อออนไลน์ โดยมีเฟชบุคเป็นสำคัญ คือ 

1)"การโพสต์ธรรมดา" หมายถึง การโพสต์ทั่วไป เป็นอัตเดทชีวิตประจำ หรือการไปเที่ยวที่ใดก็โพสต์ วิวทิวทัศน์ เป็นการบอกเรื่องราว การโพสต์ธรรมดา" อ่านแล้วจิตใจอยู่ในระดับเท่าเดิม " ชีวิตผู้อ่านผู้โพสต์ไม่แย่ลงแต่ก็ไม่ดีขึ้น 

2)"การโพสต์ดราม่า "หมายถึง การโพสต์ไปแล้วทำให้ตนเองและคนอื่นมีจิตใจแย่ลง เช่น การด่าทุกประเภท การบ่นชีวิต บ่นรถติด บ่นทุกรูปแบบ การประชดอะไรบางอย่าง มีการแชร์ในทางลบ ในการโพสต์ดราม่า "อ่านแล้วจิตใจต่ำลง" 

3)"การโพสต์คุณค่า" หมายถึง การโพสต์แล้วทำให้จิตใจสูงขึ้น โพสต์แล้วกลับมาอ่านก็ยังทำให้รู้สึกจิตใจสูงขึ้น เช่น ประสบความผิดหวังในชีวิตแทนที่จะโพสต์ดราม่ากลับโพสต์คุณค่า ที่ทำให้เราเข้าใจชีวิตมากขึ้น ทำให้เราได้ข้อคิดจากความผิดหวัง เป็นการโพสต์คำคม ข้อคิด หรือแชร์ข้อความดีๆ ที่ช่วยให้สังคมได้ข้อคิด แบ่งความรู้เพื่อให้สังคมดีขึ้น หรือ การโพสต์ข่าวสารทางบวกช่วยจรรโลงจิตใจ ถือว่าเป็นการโพสต์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่นสังคม 

ประเด็นการโพสต์แบบดราม่า "เราต้องหาคุณค่าในดราม่าให้เจอก่อน " แล้วค่อยโพสต์ หมายถึง การหาคุณค่าในเรื่องดราม่าให้เจอก่อนโพสต์ เราเห็นใครทำอะไร ผิด เห็นใครทำอะไรพลาด อย่าเพิ่งแชร์หรือด่า เราต้องหาคุณค่าจากดราม่าให้เจอค่อยโพสต์ เราจะต้องฝึก หรือเวลามีเรื่องแย่ๆ กับเรา จงหาคุณค่าก่อนโพสต์ เพราะ " ในเรื่องดราม่ามีคุณค่าซ่อนอยู่เสมอ " คนทำผิดสอนเราว่าอย่าทำแบบนั้น คนทำพลาดสอนเราว่าอย่าทำแบบนั้น เราเจอเรื่องแย่ๆ ต้องกลับสอนตนเองว่าเราจะพัฒนาเองไม่แย่อีกอย่างไร เรื่องราวดราม่าที่เกิดขึ้นจะมีคุณค่าเสมอ หาให้เจอค่อยแชร์ค่อยโพสต์ เพราะสิ่งเราโพสต์ไปไม่สามารถย้อนคืนได้ 

บางครั้งจะกลับไปลบไม่ทันแล้ว เพราะเข้าไปอยู่ในกระทู้หรือความทรงจำของผู้คนเรียบร้อยแล้ว คิดก่อนโพสต์ พอมีเรื่องดราม่าเกิดขึ้น บอกตนเองว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้เรียนรู้เรื่องอะไร ทุกครั้งที่จะโพสต์เรื่องดราม่าต้องคิดเสมอว่า " นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า " เราเห็นใครกำลังมีความทุกข์ เราอย่าไปแบ่งความทุกข์คนอื่นมาเป็นความทุกข์ของเรา ดราม่าได้แต่ต้องบอกว่า " นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า " ยิ่งเราโพสต์ แชร์ คอมเมนต์ ดราม่ามากๆ ชีวิตเราจะมีแต่เรื่องดราม่า เพราะเราให้ความสนใจสิ่งใด ใจจะดึงดูดสิ่งนั้น แต่ถ้าเราให้ความสนใจโพสต์ แชร์ คอมเมนต์ แบ่งปัน กดไลท์ เรื่องราวที่มีคุณค่า ชีวิตเราก็จะเจอแต่เรื่องดีๆ มีคุณค่ามีความสุขประสบความสำเร็จ 

ในชีวิต " จงเป็นมนุษย์ที่มุ่ง มอบคุณค่า ไม่เป็นมนุษย์ที่มุ่ง สร้างดราม่า " เป็นการสร้างสังคมที่งดงามจากปลายนิ้วของเราเอง โดยเราทุกคนช่วยกันแชร์คุณค่ามากกว่าแชร์ดราม่า สังคมเรามีดราม่าเยอะมาก เป็นพลังลบ เราต้องช่วยกันแชร์พลังบวก คือ โพสต์คุณค่า ฝึกพลิกใจจากลบมาเป็นบวก เทคโลโลยี 4.0 แต่บางครั้งจิตใจเรายัง 0.4 เทคโนโลยีเป็นของกลางๆ ใช้ให้เกิดคุณค่าหรือดราม่าก็ได้ เราต้องใช้เทคโนโลยีให้มีสติและปัญญา การสร้างสังคมของเราให้น่าอยู่เมื่อเราช่วยกันโพสต์คุณค่ามากกว่าดราม่า 

ฉะนั้น การโพสต์จึงมี 3 ประการ คือ โพสต์ธรรมดา โพสต์ดราม่า โพสต์คุณค่า สังคมจะน่าอยู่ถ้าเราช่วนกันโพสต์สิ่งที่เป็นคุณค่า แต่ถ้ามีเหตุต้องโพสต์ดราม่าจึงบอกว่า " เรื่องราวนี้สอนให้เรารู้ว่า " จึงมีคำสอนเรื่องการสื่อสารในโลกออนไลน์เตือนเราว่า "อย่าใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยภูมิปัญญาขั้นต่ำ" แม้จะทำความดีแล้วยังมีเรื่องราวดราม่าจงมองคุณค่าให้เจอให้เรื่องราวนั้น เพราะตาที่สวยที่สุด คือ ดวงตาที่มองความดีคุณค่าของคนอื่น http://www.banmuang.co.th/news/education/95050 

ขณะที่ช่องทางนั้นในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคดิจิทัลมีลักษณะหลอมรวมเป็นเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางสื่อออนไลน์ บวกกับมีนวัตกรรม(การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ จากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้พัฒนาขึ้นในด้านต่างๆ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ การใช้ คุณภาพ ฯลฯ ได้ทั้งสิ่งของ) ด้านการสื่อสาร(Inovation of Communication) ความหมายของ "นวัตกรรม" ที่ได้นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้คือปัญญาประดิษฐ์ AI ทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารสูงทั้งด้านบวกและลบ ทั้ง Internet of Thinng = IOT (การเชื่อมโยงอุปกรณ์ทั้งหมดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ) Innovation of Goods นวัตกรรมทางเศรษฐกิจ Innovation Hubs Intographic International 

ดังนั้นทำให้สื่อออนไลน์มีลักษณะหลอมรวม (Online Muti Journatitsm) และมีการหลอมรวมรูปแบบที่หลากหลาย (Muti Platform) โดยการรใช้สื่อออนไลน์ยุคไทยแลนด์๔.๐ นั้น ด้านเนื้อหาไม่ใช่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี ๕W๑H เท่านั้นแต่ต้องมากกว่า (เขมทัต) ซึ่งเนื้อหาต้องประกอบด้วย AR VR MR รวมถึง AI ด้านผู้ส่งสารนั้นสามารถพัฒนาโดยเป็นตัว J ต่างๆ ด้านช่องทางพัฒนาถึงขั้นสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ มีการหลอมรวมเป็นเครือข่าย ที่มีลักษณะ ๓ ร คือ รวดเร็ว ไร้พรมแดน และการเป็นเครือข่าย เช่น Website YouTube facebook Instagram - Ig Line Application IOT AI (Artificial Intelligence คือ หุ่นยนต์ ใช้ธุรกิจออนไลน์สู้ สร้างวิวสูงสร้างข่าวได้ ๓ หมื่นชิ้นต่อเดือน robotics AR Augument Reality เสมือนจริง กราฟิก VR Virtual Reality เสมือนจริง VTR หมายถึง สื่อวีดีทัศน์หรือวิดีโอซึ่งใช้สำหรับบันทึกภาพและเสียง ส่วนมากมักหมายถึงวิดีโอแนะนำบุคคล องค์กร หรือสถานที่โดยย่อเพื่อให้ผู้ชมเกิดความคุ้นเคยและได้รับข้อมูลที่สำคัญเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคคล หรือสิ่งที่จะได้สัมผัสหลังจากที่ได้ชม VTR แล้ว เช่น VTR แนะนำองค์กรจะทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรว่าทำอะไร มีใครเป็นผู้บริหารบ้าง และอื่น ๆ ก่อนที่จะได้ฟังการบรรยายจากตัวแทนขององค์กร เป็นต้น http://www.xn--12c0ecxsex2q.com/ 

บวกกับรัฐบาลกำลังพัฒนา Data - Big Data Goverment ประกอบด้วย Data Analytic Open Data Base Analytics Cloud Services อย่างเช่น Amazon และ Alibaba or MCU Hard ware Soff Ware and Data center พร้อมกับประสิทธิภาพของยุคดิจิทัลที่ประกอบด้วย Digital Communications Digital Entrepreneurship Digital Learnings Digital Politics Digital Commerce Digital Innovations Digital City Digital Cafe Digital Sciene Digital Transformation หมายถึง ข่าวสร้างราคาได้บนฐานของการทำสิ่งที่คนอยากรู้ ขยายข้อมูลข่าว ต่อยอดประเด็นข่าว แตกต่างจากคนอื่น สื่อต้องทำ Big Data เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้รับสาร Digital Nomad สัมภเวสี "การดำเนินชีวิตประจำวันไม่ติดอยู่กับที่ อาศัยเทคโนโลยีและสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยสามารถนั่งทำงานตามร้านกาแฟ สวนสาธารณะ ชายทะเล ผาน้ำตก ริมขอบเหว ซึ่งสามารถทำงานได้" (https://thematter.co/sponsor/digital-nomad/47134) รวมถึง IBSC MCU มีการพัฒนา Digital Library MCU ประกอบด้วย Organization World MCU Classroom Contant Big Data Application Mind Sharing Caring Digital Literacy is for Social Enterprise Algorithm Platform Transformation ความเข้าใจ รู้เท่าทัน เพราะเห็นประสิทธิภาพของการสื่อสารดังกล่าว 

อย่างไรก็ตาม เฟซบ๊ิก (facebook)นั้นมีประวัติคือ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 Mark Zuckerburgได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebookซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ที่ตอนนั้น เปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพราะแค่เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebookเพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebookบ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อนของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitzและ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebookและเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้น facebookจึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก 30 กว่าแห่ง ไอเดียเริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebookนั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์เอ็กเซเตอร์อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้ จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อ ๆ กันไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ซึ่ง face book นี้จริง ๆ แล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่ง มาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต เมื่อประสบความสำเร็จขนาดนี้ ทั้งมาร์ค ดัสติน และ ฮิวจ์ ได้ย้ายออกไปที่ Palo Alto ในช่วงฤดูร้อนและไปขอแบ่งเช่าอพาร์ทเมนท์ แห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ มาร์คได้เข้าไปคุยกับ ชอน ปาร์คเกอร์ (Sean Parker) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Napster จากนั้นไม่นาน ปาร์คเกอร์ก็ย้ายเข้ามาร่วมทำงานกับมาร์คในอพาร์ตเมนท์ โดยปาร์คเกอร์ได้ช่วยแนะนำให้รู้จักกับนักลงทุนรายแรก ซึ่งก็คือ ปีเตอร์ธีล (Peter Thiel) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Paypalและผู้บริหารของ The Founders Fund โดยปีเตอร์ได้ลงทุนใน facebookเป็นจำนวนเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ ด้วยจำนวนสมาชิกหลายล้านคน ทำให้บริษัทหลายแห่งสนใจในตัว facebookโดย friendsterพยายามที่จะขอซื้อ facebookเป็นเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกลางปีพ.ศ. 2548 แต่ facebookปฎิเสธข้อเสนอไป และได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจาก Accel Partners เป็นจำนวนอีก 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตอนนั้น facebookมีมูลค่าจากการประเมินอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ facebookยังเติบโตต่อไป จนถึงเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2549 ก็ได้เปิดในโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย เข้าร่วมใช้งานได้ และในเดือนถัดมา facebookได้เพิ่มฟังค์ชั่นใหม่ โดยสามารถให้สมาชิก เอารูปภาพมาแบ่งปันกันได้ ซึ่งฟังชั่นนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ในฤถูใบไม้ผลิ facebookได้รับเงินจากการลงทุนเพิ่มอีกของ Greylock Partners, Meritech Capitalพร้อมกับนักลงทุนชุดแรกคือ Accel Partners และ ปีเตอร์ธีล เป็นจำนวนเงินถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการประเมินมูลค่าในตอนนั้นเป็น 525 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น facebookได้เปิดให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใช้งาน facebookและสร้าง network ต่าง ๆ ได้ ซึ่งในที่สุดก็องค์กรธุรกิจกว่า 20,000 แห่งได้เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายในปีพ.ศ. 2550 facebookก็ได้เปิดให้ทุกคนที่มีอีเมล์ ได้เข้าใช้งาน ซึ่งเป็นยุคที่คนทั่วไป ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้าไปใช้งาน facebookได้เพียงแค่คุณมีอีเมล์เท่านั้น ในช่วงฤดูร้อนปี 2550 ครั้งนั้น Yahoo พยายามที่จะขอซื้อ facebookด้วยวงเงินจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายงานว่ามาร์คได้ทำการตกลงกันด้วยวาจาไปแล้วด้วยว่า จะยอมขาย facebookให้กับ Yahoo และเพียงแค่สองสามวันถัดมา หุ้นของ Yahoo ก็ได้พุ่งขึ้นสูงเลยทีเดียว แต่ว่าข้อเสนอซื้อได้ถูกต่อรองเหลือเพียงแค่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มาร์คปฎิเสธข้อเสนอนั้นทันที ภายหลังต่อมา ทาง Yahoo ได้ลองเสนอขึ้นไปที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกครั้ง คราวนี้มาร์คปฎิเสธYahoo ทันที และได้รับชื่อเสียงในทางไม่ดีว่า ทำธุรกิจเป็นเด็กฯ ไปในทันที นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มาร์คปฎิเสธขอเสนอซื้อบริษัท เพราะเคยมีบริษัท Viacom ได้เคยลองเสนอซื้อ facebookด้วยวงเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถูกปฎิเสธไปแล้วในเดือนมีนาคมปี 2550 มีข่าวอีกกระแสหนึ่งที่ไม่ค่อยดีสำหรับ facebookที่ได้มีการโต้เถียงกันอย่างหนัก กับ Social Network ที่ชื่อ ConnectUโดยผู้ก่อตั้ง ConnectUซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กที่ฮาเวิร์ด ได้กล่าวหาว่ามาร์คได้ขโมยตัว source code สำหรับ facebookไปจากตน โดยกรณีนี้ได้มีเรื่องมีราวไปถึงชั้นศาล และตอนนี้ได้แก้ไขข้อพิพาทกันไปเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีข้อพิพาทอย่างนี้เกิดขึ้น การเติบโตของ facebookก็ยังขับเคลื่อนต่อไป ในฤดูใบไม่ร่วงปี 2551 facebookมีสมาชิกที่มาสมัครใหม่มากกว่า 1 ล้านคนต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่วันละ 200,000 คน ซึ่งรวมกันแล้วทำให้ facebookมีสมาชิกมากถึง 50 ล้านคน โดย facebookมียอดผู้เข้าชมเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 ล้านเพจวิวต่อเดือน จากวันแรกที่ facebookเป็น social network ของนักศึกษามหาวิทยาลัย จนวันนี้ สมาชิกของ facebook 11% มีอายุมากกว่า 35 ปี และสมาชิกที่มีอายุมากกว่า 30 ปีก็เข้ามาสมัครใช้ facebookกันเยอะมาก นอกเหนือจากนี้ facebookยังเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในตลาดต่างประเทศอีกด้วย โดย 15% ของสมาชิก เป็นคนที่อยู่ในประเทศแคนาดา ซึ่งมีรายงานออกมาด้วยว่า ค่าเฉลี่ยของสมาชิกที่มาใช้งาน facebookนั้นอยู่ที่ 19 นาทีต่อวันต่อคน โดย facebookถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกาและเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้อัพโหลดรูปภาพสูงที่สุดด้วยจำนวน 4 หมื่นหนึ่งพันล้านรูป จากจำนวนสถิติเหล่านี้ ไมโครซอฟต์ได้ร่วมลงทุนใน facebookเป็นจำนวนเงิน 240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกกับหุ้นจำนวน 1.6 % ในเดือนตุลาคม 2551 ทำให้มูลค่ารวมของ facebookมีมากกว่า 15,000 ล้านบาท และทำให้ facebookเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 ในหมู่บริษัทอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่ารายรับต่อปีเพียงแค่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลายฝ่ายได้อธิบายว่า การตัดสินใจของไมโครซอฟต์ในครั้งนี้ทำเพียงเพื่อที่จะเอาชนะ Google ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่จะขอซื้อ facebookในครั้งเดียวกันนั้น 

๒.๑.๔ หลักการ ลักษณะ ประเภท และวิธีการ 

๒.๑.๕ อิทธิพล ประโยชน์และคุณค่า ยุคข่าวปลอมว่าเหนื่อยแล้ว..อนาคต “ปัญญาประดิษฐ์”ยังสร้าง “รีวิวปลอม”ให้อ่านเคลิ้มได้อีก https://www.prachachat.net/spin…/spinoff-featured/news-67023 ในยุคที่ผู้คนเสพคอนเทนต์ข่าว เนื้อหา เรื่องราว ผ่านโซเชียลมีเดีย และโลกออนไลน์ ทำให้วาระของโลก เรื่อง “ข่าวปลอม” หรือ Fake News ปรากฎเป็นประเด็นใหญ่ระดับโลก โดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่ทำให้ประเด็น “ข่าวปลอม” ถูกจุดให้ต้องมีการหาวิธีรับมือ เพราะการแพร่ข่าวปลอมที่ไปเกาะเกี่ยวกับประเทศอื่นที่ทำตัวเป็น “ขบวนการ” ในการแทรกแซงการเลือกตั้ง ประเด็น “ข่าวปลอม” โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดียยักษ์อย่างใน “เฟซบุ๊ค” ทำให้เฟซบุ๊คเองออกมาตรการวางกฎ และเขียนอัลกอริธึ่ม “กรองข่าว” ให้ละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์ใหญ่ๆทางการเมืองในหลายประเทศ แต่ล่าสุด “ข่าวปลอม” อาจต้องชิดซ้าย เมื่อต่อไปเราอาจต้องเผชิญสิ่งที่เรียกว่า “รีวิวปลอม” หรือการบรรยายสรรพคุณสินค้าและบริการปลอม คำว่า Fake online reviews หรือการแสดงความเห็นปลอมนี้ ต่างกับการเขียนโฆษณาชวนเชื่อทางอินเทอร์เน็ตแล้วโพสต์เชิงขายของ หรือเชียร์ ตรงที่ วิธีนี้จะไม่ใช่ฝีมือ “มนุษย์อวย” แต่เป็นปรากฎการณ์ “ปัญญาประดิษฐ์อวย” หรือ เอไอ ที่ถูกพัฒนาซอร์ฟแวร์ให้ฉลาดขึ้นจนสามารถเขียน “รีวิวออนไลน์” ได้แบบสุดโต่ง “รีวิวปลอม”นี้ จะมีผลกระทบกับบรรดาเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ที่ทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เช่น อเมซอน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าออนไลน์หลงเชื่อในสรรพคุณของการรีวิวปลอมของสินค้า ซึ่งเขียนโดย “เอไอ” นั่นเอง ความเป็นห่วงถึงอนาคตนี้ เพราะเชื่อว่า “เอไอ” จะสามารถเขียนข้อความที่ชวนซาบซึ้ง และทำให้สาธารณชน ผู้อ่านทั่วไปเกิดความเชื่อ และแพร่กระจายรีวิว หรือการแสดงความเห็นปลอมนี้ออกไป ไม่ต่างจาก “ข่าวปลอม” เพราะผู้คนยุคนี้นิยมอ่านรีวิวออนไลน์เพื่อมองหาร้านอาหาร หรือหาที่พักโรงแรมที่ถูกใจผ่านการรีวิวจากผู้อื่น กังวลกันว่า “รีวิวปลอม” ที่เกิดขึ้นจากระบบปัญญาประดิษฐ์ อาจมีผลต่อธุรกิจหลายประเภทที่พึ่งพาการรีวิวจากคนอ่านในการทำการตลาด และสร้างลูกค้า ถึงตรงนี้การแยกแยะว่า เป็นรีวิวจากมนุษย์ หรือเอไอ ก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก และอย่าคิดประมาท “เอไอ” เพราะงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยชิคาโก ที่นำเสนอในงานประชุมด้านคอมพิวเตอร์และความมั่นคงด้านการสื่อสารที่จัดขึ้นปีนี้ แสดงให้ผู้ร่วมประชุม ได้อ่านเนื้อหา ที่ทำให้เห็นศักยภาพว่า “เอไอ” ทำหน้าที่อย่างดีในพัฒนาการเขียนรีวิวขั้นสูง และสามารถจะจูงใจ “คนอ่าน” บางกลุ่มได้ กระทั่งต้องมีการนำตัวอย่าง รีวิวจริงและปลอม หลายประโยค มานั่งวัดผลให้คนอ่านดูว่า คุณคิดว่าอันไหนจริง หรือปลอม โลกมาถึงขนาดที่ “รีวิวออนไลน์” เป็นเรื่อง “ธุรกิจ” ในอนาคต เพราะรีวิวปลอมจากเอไอทำได้ทั้งแบบเขียนเชิงลบ กับ เชิงบวก สามารถสร้างกระแสความไม่พอใจในตัวสินค้า บริการ หรือผลิตภัณฑ์ ได้พอๆ กับการอวยชื่นชม และแน่นอนว่า มีการคาดการณ์ว่า บางธุรกิจจะมีการยอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับ “รีวิวปลอม” ใต้สินค้า-บริการ ที่จะชมหรือด่าก็ย่อมได้ และที่สุดในฐานะคนอ่านอย่างเรา จะบอกได้หรือไม่ว่า รีวิวที่เราอ่านเป็น “ของจริง” หรือ “ 

วิเคราะห์เปยยาลวรรคมาตุคามสังยุตต์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 18: บทบาทในพุทธสันติวิธี

  วิเคราะห์เปยยาลวรรค มาตุคามสังยุตต์  ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 18: บทบาทในพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 18 ในหมวดสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ...