วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ ๒ - ๒.๑.๑ ความหมายของสื่อออนไลน์



  • บทที่ ๒ สภาพปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน
    ๒.๑ ความหมายและความสำคัญของสื่อออนไลน์
    ๒.๑.๑ ความหมายของสื่อออนไลน์
    คำว่า "สื่อออนไลน์" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Online media" โดยมีคำที่สอดคล้องกันหรือใช้แทนกันคือ "สื่อสังคม" หรือ "สื่อสังคมออนไลน์" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "social media" หรือ "social network" สามารถประมวลดังนี้
    คำว่า "สื่อออนไลน์" เป็นคำประสมระหว่างคำ 2 คือ "สื่อ" กับ "ออนไลน์" คำว่า "สื่อ" เป็นคำไทย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "media" หมายถึง สื่อคือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือแม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
    ขณะที่ สำนักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้ Heinich และคณะ (1996) Heinich ศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร" A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)" ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ขณะที่คำว่า "ออนไลน์" วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า "ออฟไลน์" โดยอธิบายว่า โดยนิยามมาตรฐาน(อภิธานศัพท์โทรคมนาคม) ของสหรัฐอเมริกา ได้นิยามความหมายของออนไลน์และออฟไลน์ว่า เป็นสถานะหรือเงื่อนไขของ "อุปกรณ์หรือเครื่องมือ" หรือ "หน่วยกระทำการ" (execution unit) อย่างหนึ่ง (ต่อไปนี้จะเรียกรวมทุกอย่างว่า อุปกรณ์) การพิจารณาว่าอุปกรณ์ใดออนไลน์หรือไม่ จะต้องตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อคืออุปกรณ์นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปกรณ์อื่น อุปกรณ์นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบที่มันเกี่ยวข้องอยู่ด้วย อุปกรณ์นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันทีตามความต้องการของระบบ โดยไม่มีมนุษย์แทรกแซง อุปกรณ์นั้นเชื่อมต่ออยู่กับระบบและสามารถดำเนินการได้ อุปกรณ์นั้นมีการทำงานเฉพาะตัวและพร้อมที่จะให้บริการซึ่งในทางตรงข้าม อุปกรณ์ที่ออฟไลน์จะไม่ตรงกับเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดเลย (ตัวอย่างเช่นแหล่งพลังงานหลักถูกตัดหรือถูกปิด หรืออุปกรณ์นั้นปิด) ด้านพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์ได้ให้ความหมายของคำว่า "ออนไลน์" ว่า ตรงกับคำว่า "On-line" ตรงกับภาษาไทยว่า "ในสาย เชื่อมตรง" ความหมายหมายถึง "การเชื่อมอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง (terminal) เข้า กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ผ่านทางสายเคเบิลหรือด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม เพื่อให้มีการทำงานร่วมกัน เป็นต้นว่า เครื่องถอนเงินด่วน (ATM) จะต้อง "เชื่อมตรง" กับคอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่ธนาคารสำนักงานใหญ่ จึงสามารถประมวลผลให้ได้ว่า บัญชีของเรามีเงินเท่าใด ถอนแล้วเหลือเงินอีกเท่าใด ดู off line เปรียบเทียบ"
    เมื่อนำมาผสมกันเป็นคำว่า "สื่อออนไลน์" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Online media" แต่ก็มีคำที่ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ "สื่อสังคมออนไลน์" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "social media" ซี่งคำว่า "social" ตรงกับคำในภาษาไทยว่า "สังคม" ในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน ซึ่งคำว่า "social media" นี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า สื่อสังคม หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า สื่อออนไลน์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในทางเทคนิค สื่อสังคม จะหมายถึง โปรแกรมกลุ่มหนึ่งที่ทำงานโดยใช้พื้นฐานและเทคโนโลยีของเว็บตั้งแต่รุ่น ๒.๐ เช่น บีโบ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ วิกิพีเดีย ไฮไฟฟ์ และบล็อกต่าง ๆ ในทางธุรกิจเรียกสื่อสังคมว่า สื่อที่ผู้บริโภคสร้างขึ้น (consumer-generated media หรือ CGM) สำหรับกลุ่มบุคคลผู้ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคม ซึ่งนอกจากจะส่งข่าวสารข้อมูลแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังอาจทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันด้วย กลุ่มบุคคลที่ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคมดังกล่าว คือ social network ซึ่งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ บัญญัติศัพท์ social network ว่า เครือข่ายสังคม ในเครือข่ายสังคม กลุ่ม “เพื่อน” หรือ “ผู้ติดต่อกัน” จะต้องแนะนำตนเองอย่างสั้น ๆ โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมจะเปิดโอกาสให้กลุ่มเพื่อน ๆ วิพากษ์วิจารณ์กันเองได้ ส่งข้อความส่วนตัว และเข้าไปอ่านข้อความของเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้ ซอฟต์แวร์บางประเภทจะสามารถให้เพื่อน ๆ เพิ่มเสียงและภาพเคลื่อนไหวลงในประวัติของตนได้ด้วย นอกจากนี้ เพื่อนบางคนก็อาจจะสร้างโปรแกรมย่อย ๆ ขึ้นมาให้ใช้ร่วมกันได้ เช่น เล่นเกม ถามปัญหา หรือปรับแต่งรูปภาพ ทำให้บางคนมีผู้สมัครเข้ามาเป็นเพื่อนด้วยมากมาย ราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้ให้ความหมายของคำว่า "สื่อสังคมออนไลน์" หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้าง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ สื่อเหล่านี้เป็นของบริษัทต่างๆ ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2556) ได้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง รูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตเขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคม มักจะประกอบไปด้วย การแชท การส่งข้อความ อีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก อย่างไรก็ตาม คำว่า "สื่อออนไลน์" นี้มีการความหมายที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ทั่วไปคือ "สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใดๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีส่วนร่วม (Collaborative) อย่างสร้างสรรค์ ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง (User-GenerateContent: UGC) ในรูปของข้อมูล ภาพ และเสียง
    หมายถึง สื่อที่ผู้ส่งสารแบ่งปันสารซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆไปยังผู้รับสารผ่านเครือข่ายออนไลน์โดยสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารหรือผู้รับสารด้วยกันเอง เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทำหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกันเป็นการสื่อสารสองทาง และสื่อยังทำหน้าที่ส่งสารได้หลายอย่างรวมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความไปพร้อมกัน โดยรวมเอาเทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทำให้สื่อสามารถสื่อสารได้สองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia) โดยมีคำที่ใช้แทนกันเช่น “สื่อใหม่” (New media) “สื่อสังคมออนไลน์)
    ขณะเดียวกัน คำว่า “Social Media” มีการใช้ซ้ำซ้อนกับคำว่า “Social Network” ซึ่งความจริงแล้ว 2 คำนี้ มีความแตกต่างกันในแง่การใช้งานอยู่เล็กน้อย คือคำหนึ่งใช้เรียกในเชิงคอนเซ็ปต์ อีกคำหนึ่งใช้เรียกภาพรวมของตัวบริการ โดยคำว่า "Social network " เป็นคำที่ใช้เรียกคอนเซ็ปต์ “โครงสร้างทางสังคม” แบบหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันของคน ส่วนคำว่า "Social Network" หมายถึงการพูดถึงตัวโครงสร้างความสัมพันธ์ในแบบ Social หรือพูดกันในเชิงวิชาการที่เรียกว่า ทฤษฎีเครือข่าย (Network theory) โดยรวมแล้วคำว่า Social Network หนึ่งๆ การพูดถึงความสัมพันธ์ในเชิงคอนเซ็ปต์ มันคือแผนที่ที่ระบุว่า Nodes แต่ละ Nodes มีความสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น คนที่เป็นเพื่อนกัน โดยคนที่สัมพันธ์กันใน Social Network ก็จะถูกเรียกว่าเป็น Social contacts ของกันและกัน นอกจากนี้เมื่อพูดกันไปลึกๆ แล้วยังมีเรื่องที่ว่าเมื่อเราเข้าไปอยู่ใน Social Network แล้ว เราแต่ละคนมี Social capital กันแค่ไหนอย่างไรอีกด้วย ส่วนคำว่า Social Media หมายถึงการใช้บริการ web-based และเทคโนโลยีทางด้าน mobile ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารไปสู่การปฎิสัมพันธ์โต้ตอบกันมากขึ้น? นักวิชาการอย่าง Andreas Kaplan และ Michael Haenlein ได้นิยาม Social Media ว่า “กลุ่มของแอพพลิเคชั่นบนอินเทอร์เน็ตที่สร้างบนระบบความคิดอันเป็นรากฐานของสังคม และทางเทคโนโลยี ด้วยแนวความคิดของ Web 2.0 และเปิดให้คนแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เกิดจากผู้ใช้” ความหมายของมันจึงเป็นการพูดถึงบริการต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้ว เช่น Facebook, Twitter, Google+, LinkedIn ฯลฯ"
    "Social Network คือเว็บไซต์ที่ให้บริการสร้างสังคมเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ส่วน Social Media Network นั้น คือสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บทความ รูปภาพ วีดีโอ ที่มีผู้คนนำมาแบ่งปันอยู่บนเว็บไซต์ทีเป็น Social Network โดยเลือกได้ว่าต้องการรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร ก็ได้ ตัวอย่าง Social Network เช่น Facebook, MySpace.com, twitter เป็นต้น" Social Media และ Social Network สังคมออนไลน์ (Online Community) ได้ชมได้ ดังนั้นการเผยแพร่สือในรูปแบบต่างๆดังกล่าวเข้าไปในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงเป็นที่มาของคำว่า Social Media และ Social Netwok Social Media หมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ตามความต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน เว็บในยุค 1.0 คือยุคเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียวบุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ที่มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ อย่างเช่น สังคมออนไลน์ของสมาชิกผู้ใช้งาน Facebook แต่ละคนจะสามารถ นำเอาสื่อต่างๆ เช่น เรื่องราวของตังเองหรือเรื่องราวต่างๆ ภาพ วีดิโอ เผยแพร่ไปยังสมาชิกทุกคนในเครือข่ายได้ ขณะที่สมาชิกคนอื่นก็สามารถ เสนอสื่อของตนเองขึ้นมาแลกเปลี่ยนได้ ดังนั้นสื่อต่างๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนกับสมาชิกในสังคมออนไลน์นั้น จะเรียนว่า Social Media
    ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มุ่งเน้นในการสร้างและสะท้อนให้เห็นถึงเครือข่าย หรือความสัมพันธ์ทางสังคม ในกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จะให้บริการผ่านหน้าเว็บ และให้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต
    สื่อสังคม (อังกฤษ: social media) หมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สื่อเหล่านี้เป็นของบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน เช่น เฟซบุ๊ก ไฮไฟฟ์ ทวิตเตอร์ วิกิพีเดีย เป็นต้น ในทางเทคนิค สื่อสังคมจะหมายถึงโปรแกรมกลุ่มหนึ่งที่ทำงานโดยใช้พื้นฐานและเทคโนโลยีของเว็บ 2.0 เช่น บีโบ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ฯลฯในทางธุรกิจเรียกสื่อสังคมว่า สื่อที่ผู้บริโภคสร้างขึ้น (อังกฤษ: consumer-generated media หรือ CGM) สำหรับกลุ่มบุคคลผู้ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคม ซึ่งนอกจากจะส่งข่าวสารข้อมูลแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังอาจทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันได้ด้วย
    อย่างไรก็ตามมีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง (2553) ได้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media หมายถึง สื่อดิจิตอลที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม ที่มีผู้สื่อสารจัดทำขึ้น โดยที่ผู้เขียนจัดทำขึ้นเอง แล้วนำมาแบ่งปันเนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์ และพูดคุยให้ผู้ใช้ในโลกออนไลน์กับคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกัน กานดา รุณพงศา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ความหมายของ สื่อ หมายถึง สื่อหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสื่อสารและโซเชียล ( Social ) หมายถึง สังคมและในบริบทของโซเชียลมีเดีย โซเชียล หมายถึง การแบ่งปันในสังคม ซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งปันเนื้อหาหรือปฏิสัมพันธ์ในสังคม เพราะฉะนั้น “ โซเชียลมีเดีย ” ในที่นี้หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ผู้ใช้แสดงความเป็นตัวตนของตนเอง เพื่อที่จะมีปฏิสัมพันธ์กัน หรือแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่น
    SEO (2554) ได้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อในสังคมออนไลน์ที่ในปัจจุบันนิยมใช้งานกันมากและมีการใช้งานในรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Interactive) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Social Media ประเภทต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยผู้ใช้งานสามารถเข้ามาแบ่งปันความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ให้แก่กันได้อย่างอิสระและสามารถโต้ตอบแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างทันทีทันใด
    มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ (2552) ได้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อสังคมออนไลน์นี้เป็นสื่อดิจิทัลที่เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการทางสังคม ผ่านทางรูปแบบของการสื่อสาร มีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยน และแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ หรือเสียงระหว่างกันและกัน และยังสามารถเรียกสื่อสังคมออนไลน์นี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “สื่อทางสังคม” ซึ่งสอดคล้องกับคาที่ ชูชัย สมิทธิไกร (2553) ใช้เรียกสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ ชูชัย ยังได้กล่าวเพิ่มเติมไว้อีกว่า สื่อทางสังคมเหล่านี้เป็นสื่อที่บุคคลแต่ละคนสามารถมีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสมาชิกในกลุ่มนั้นๆ ได้
    ส่วน Kaplan และ Haenlein (2010) ได้นิยามสื่อสังคมออนไลน์ไว้ว่า เป็นกลุ่มแอพพลิเคชั่นที่มีพื้นฐานอยู่บนสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีการสร้างบนระบบความคิดในเชิงอุดมคติ ที่มีการเปิดให้ผู้บริโภคทุกคนมีโอกาสได้ทำการสร้างสรรค์และมีการแลกเปลี่ยนเนื้อหากันโดยการเกิดขึ้นของสื่อสังคมออนไลน์นี้ส่งผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ทำให้รูปแบบของการปฏิสัมพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็นระดับหลายๆ ระดับตามความใกล้ชิดของบุคคล เพราะสื่อสังคมออนไลน์มีลักษณะของการเป็นเครือข่าย (Network) ที่มีการเชื่อมโยงบุคคลที่มีความเหมือน หรือความสนใจคล้ายกันไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้บางคนเรียกสื่อสังคมออนไลน์ว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ที่มีการเน้นการมีส่วนร่วม (Collaborative) ในการผลิตเนื้อหาจากผู้บริโภค (อ้างใน ปัญญพนต์ พูลสวัสดิ์, 2555)
    ภิเษก ชัยนิรันดร์ (2553) ได้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทางโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ เว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้ สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บหรือสื่อต่างๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตคนที่อยู่ในสังคมออนไลน์ (สังคมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต) ซึ่งสื่อเหล่าแต่ละคนสามารถเข้าไปดูได้เข้าไปสร้างได้และสามารถแลกเปลี่ยนสื่อกันได้เป็นสื่อของสังคมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น สังคมออนไลน์ของผู้ใช้งาน Facebook สมาชิกแต่ละคนจะสามารถนําเอาสื่อ ต่างๆ เช่น เรื่องราวของตนเองหรือเรื่องราวต่างๆ ภาพ และวิดิโอเผยแพร่ไปยังสมาชิกทุกคนใน เครือข่ายได้ขณะที่สมาชิกคนอื่นๆ สามารถเสนอสื่อของตนเองขึ้นมาแลกเปลี่ยนได้โดยการสนทนาที่ เกิดขึ้น อาจจะเป็นการร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องที่สนใจร่วมกัน หรือการวิพากษ์วิจารณ์ สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยที่ไม่มีใครเข้ามาควบคุมเนื้อหาของการสนทนาแม้กระทั้งตัวผู้ผลิตเนื้อหาด้วย เพราะผู้ที่ได้รับสารมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรูปแบบของการเพิ่มเติมความคิดเห็นหรือแม้กระทั่งเข้า ไปแก้ไขเนื้อหานั้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถือเป็นสื่อที่เปลี่ยนผู้คนจากผู้บริโภคเนื้อหา เป็นผู้ผลิตเนื้อหาได้
    พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์ (2554 : 99-100) ได้กล่าวถึงในบทความวิชาการ สื่อสังคมออนไลน์คืออะไร โดยมีเนื้อหาว่ามนุษย์เป็นสังคมที่ต้องมีการสื่อสารข้อมูลถึงกันและกันซึ่งในสมัยโบราณมนุษย์สื่อสารข้อมูลด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน เช่นปากเปล่า มาเร็วและนกพิราบสื่อสาร ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนการสื่อสารข้อมูลเป็นจดหมาย โทรเลขโทรศัพท์ วิทยุจากนั้น เมื่อเข้าสู่ยุคที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนเป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น บริการ IRC (Internet Relay Chat) โปรแกรมพูดคุย (Chatprograms) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronicmail หรือ Email) และเว็บบอร์ด(Webboard) จวบจนถึงปัจจุบันมนุษย์เริ่มมีการสื่อสารข้อมูลในชีวิตประจำวันถึงกันและกันด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์จากความหมายที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง ช่องทางที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต เช่น เฟซบุ๊ค (facebook)ไลน์ (line) ยูทูป (youtube) เป็นต้น( อ้างใน http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=269
    คำว่า “สื่อออนไลน์” หมายถึง สื่อที่ผู้ส่งสารแบ่งปันสารซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆไปยังผู้รับสารผ่านเครือข่ายออนไลน์โดยสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารหรือผู้รับสารด้วยกันเอง เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทำหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกันเป็นการสื่อสารสองทาง และสื่อยังทำหน้าที่ส่งสารได้หลายอย่างรวมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความไปพร้อมกัน โดยรวมเอาเทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทำให้สื่อสามารถสื่อสารได้สองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia) โดยมีคำที่ใช้แทนกันเช่น “สื่อใหม่” (New media) “สื่อสังคมออนไลน์)
    จากความหมายของคำว่า สื่อออนไลน์" สามารถประมวลลักษณะสำคัญซึ่งมีเนื้อหาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วย “อิสระ ๕ ประการ” (๕ Freedoms) ได้แก่
    ๑) อิสระจากข้อจำกัดด้านเวลา (Freedom from Scheduling) เนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับและส่งข่าวสารได้ในเวลาที่ตนต้องการ และไม่จำเป็นต้องชมเนื้อหาต่างๆ ตามเวลาที่กำหนด
    ๒) อิสระจากข้อจำกัดด้านพรมแดน (Freedom from Geological Boundaries) เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลเป็นเนื้อหาที่รับข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็วทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับ หรือค้นหาข้อมูลข่าวสารจากประเทศใดก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของบุคคลแต่ละคน
    ๓) อิสระจากข้อจำกัดด้านขนาด (Freedom to Scale) มีเนื้อหาที่สามารถย่อหรือปรับขยายขนาดหรือเครือข่ายได้ เช่น การปรับเนื้อหาให้เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ทั่วโลก หรือปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงก็ได้
    ๔) อิสระจากข้อจำกัดด้านรูปแบบ (Freedom from Formats) เนื้อหาแบบดิจิทัลไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ หรือลักษณะที่ตายตัว สื่อดั้งเดิม เช่น สปอร์ตโฆษณามาตรฐานทางโทรทัศน์ถูกกำหนดว่าต้องมีความยาว ๓๐ วินาที สื่อสิ่งพิมพ์ต้องมีครึ่งหน้าหรือเต็มหน้าเป็นต้น แต่สื่อดิจิตอล เช่น ไฟล์วิดีโอภาพที่ถ่ายจากกล้องในโทรศัพท์มือถือแล้วนำลงไปไว้ในเว็บไซต์จะต้องมีความยาวกี่วินาที หรือมีความละเอียดของไฟล์เป็นเท่าไหร่ก็ได้ เป็นต้น
    ๕) อิสระจากยุคนักการตลาดสร้างเนื้อหามาสู่ยุคนักบริโภคริเริ่มสร้าง และควบคุมเนื้อหาเอง (From Marketer-Driven to Consumer-Initiated, Created and Controlled) ด้วยพัฒนาการเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เจ้าของสื่อไม่อาจควบคุมการแพร่กระจายของสื่อได้เหมือนอดีต เนื้อหาที่พบในบล็อก (Blog) หรือคลิปวิดีโอในเว็บไซต์ของ YouTube และสื่อผสมใหม่ๆ อาจสร้างสรรค์จากผู้บริโภคคนใดก็ได้ เกิดเป็นเนื้อหาที่สร้างจากผู้บริโภค (Consumer-Created Content) หรือเป็นคำพูดแบบปากต่อปากฉบับออนไลน์ (Online Word-of-Mouth)ที่แพร่ กระจายไปอย่างรวดเร็ว  
      • ไม่มีความคิดเห็น:

        แสดงความคิดเห็น

        เพลงแบกฮัก

        คลิก ฟังเพลงที่นี่ เพลง: แบกฮัก ศิลปิน: Suno (ท่อนแรก) เอาไปเถอะลูก บ่ต้องซื้อเขากิน ถุงข้าวที่แบกมา เต็มไปด้วยฮักอ้าย บ่แม่นแค่ข้าวสารเม็ดง...