วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ ๒-๒.๑.๓ คุณค่าและความสำคัญของสื่อออนไลน์


  • บทที่ ๒ สภาพปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน
    ๒.๑.๓ คุณค่าและความสำคัญของสื่อออนไลน์
    คุณค่าและความสำคัญของสื่อออนไลน์สามารถสรุปได้นี้
    ๑) สามารถทำให้ค้นหาคำตอบในเรื่องบางอย่างได้ โดยการเปิดหัวข้อไว้ ก็จะมีผู้สนใจและมีความรู้แสดงความคิดเห็นไว้มากมาย
    ๒) ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบริหารข้อมูล
    ๓) ช่วยสนับสนุนในการทำ E-Commerce เป็นรูปแบบการค้าบนอินเทอร์เน็ตที่สั่งซื้อสินค้าได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ catalog อีกต่อไป
    ๔) สามารถให้ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายกลุ่มเป้าหมาย เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากได้ในระยะเวลาพร้อมๆ กัน
    ๕) สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วประเทศและทั่วโลก
    ๖) ไม่ต้องเสียค่าเวลา สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ ไม่ต้องจ่ายค่าเนื้อที่ให้นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เพราะเมื่อเทียบค่าใช้จ่ายกับสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์และภาพยนตร์แล้วมีอัตราค่อนข้างจะถูกกว่า
    ๗) สื่อออนไลน์ยังเป็นสื่อที่มีความสามารถในการติดต่อ ๒ ทาง จึงทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบได้ทันที
    อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในด้านคุณค่ามีทั้งด้านบวกและลบ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิลงความเห็นตรงกันว่า“สื่อออนไลน์”มีอิทธพลและส่งผลกระทบต่อสังคมสูงมากเนื่องจากโลกปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การติดต่อสื่อสารต่างๆ ได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแทบทั้งสิ้นเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของคนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เกือบจะเท่าเทียมกันทั้งหมด แต่อินเทอร์เน็ตอาจจะกลายเป็นการแยกผู้ใช้ออกเป็นส่วนย่อยๆ หรือทำให้ผู้ใช้ต้องเบียดเสียดแย่งกันใช้ก็ได นีลเส็นประเทศไทยทำวิจัยพบว่า อีกไม่นานทุกคนจะเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอัตราการเป็นเจ้าของติบโตขึ้นอย่างมีมีนัยสำคัญจากปี ๒๕๕๗ ที่ ๔๙9% เป็น ๕๘% ในปี ๒๕๕๘ โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุ ๑๖-๓๔ ปี และอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปอยู่ที่ ๔๒% ดังนั้นสมาร์ทโฟนจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปเสียแล้ว ขณะที่ แท็บเล็ต ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน บวกกับการเปิด ๔ จี จะทำให้การสื่อสารออนไลน์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเกิดปรากฏการณ์ใหม่ของสื่อมีการวิจารณ์สื่อกระแสหลักมากขึ้น มีการวิเคราะห์เนื้อหา หลายคนในพื้นที่ต้องการทำตัวเป็นนักข่าวเองเช่นมีการเรียกตัวเองว่า “นักข่าวพลเมือง” ต้องการนำเสนอข่าวเองเพื่อหักล้างสื่อกระแสหลัก “สื่อออนไลน์”อย่างเช่น เฟซบุ๊กจะมีลักษณะของการปฏิสัมพันธ์และการเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางความคิด แต่ก็ไม่ค่อยพบการปรึกษาหารือด้วยเหตุผลเพื่อหาข้อสรุปหรือทางออกในการคลี่คลายปัญหาเท่าใดนัก แทนที่จะหาแนวทางสู่อารยธรรมของการทะเลาะกันอย่างสันติ ขณะที่สื่อกระแสหลักพึ่งนักข่าวในพื้นที่ (stringers) มากขึ้นทำให้ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมทั้งนักข่าวพื้นที่ไม่ได้ผ่านการอบรมการทำข่าว พร้อมกันนี้ “สื่อออนไลน์”เป็นเครื่องมือทั้งสร้างความขัดแย้ง ความรุนแรงและสงครามรวมถึงสร้างสันติภาพอย่างเช่น ความวุ่นวายภายหลังจากการเลือกตั้งในประเทศอิหร่านเมื่อ ก.ค. ๒๕๕๒ประเทศไทยที่มีการใช้ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ในช่วงความขัดแย้งตั้งแต่ปี๒๕๕๓ “การปฏิวัติดอกมะลิ”ที่ตูนีเซียปี๒๕๕๔
    หากเปรียบเทียบกับสื่อกระแสหลักหรือสื่อดั่งเดิมทั้งหลาย“สื่อออนไลน์” ทำให้ข้อมูลเข้าถึงคนได้เร็วและขยายผลได้กว้างขวางได้ตลอดเวลาไม่มีขอบเขต อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อความรู้สึกต่ออารมณ์และต่อทัศนคติต่อเรื่องต่างๆ ของคนมีสูงมากเป็นสัญญาณที่ทำให้สังคมต้องตื่นตัว แต่สื่อออนไลน์ก็เป็นเพียงสื่อรูปแบบหนึ่งเท่านั้นหลายครั้งก็กระจายข้อมูลที่ไม่มีที่มาที่ไปเป็นการกระจายความรู้สึกมากกว่าการเผยแพร่ข้อเท็จจริงหากตั้งบนพื้นฐานของอคติทางด้านสังคมและการเมืองคิดว่าเป็นสิ่งอันตราย แต่ถ้าเป็นการเผยแพร่ข้อเท็จจริงและมีการตรวจสอบก็จะเป็นประโยชน์ได้มาก ซึ่งสภาพของสื่อออนไลน์ดังกล่าวคงเกิดจากเรื่อง “สิทธิเสรีภาพ” ของการข่าวในประเทศไทยมากเกินไปจนทำให้คนแยกแยะไม่ได้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด โดยเฉพาะสื่อออนไลน์มีข้อมูลที่หลากหลายเกินเหตุไม่มีการควบคุมจนทำให้เกิดปัญหาสร้างความแตกแยกแทนที่จะสร้างความปรองดองสร้างความสมานฉันท์
    ดังนั้น คนที่เสพสื่อออนไลน์ต้องใช้วิจารณญาณมากพอสมควร ไม่ใช่เห็นอะไรหรือเห็นข้อความอะไรที่ส่งมาถึงตัวเองหรือตัวเองเข้าไปเห็นก็ดีนี้ ก็จะมีอารมณ์ที่เห็นด้วยอย่างนั้นหรือว่ามีการฟันธงหรือว่าพิพากษาไปแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูกใครดีใครเลวอย่างไร ควรมีการรณรงค์ให้ผู้ใช้เข้าใจบทบาทของ “สื่อออนไลน์” ที่ถูกต้องทั้งในระดับองค์กรและชุมชน โดยมีหลักการระวังเบื้องต้นใช้งานอินเทอร์เน็ต คือ ๑.การละเมิดลิขสิทธิ์สิทธิส่วนบุคคล ๒.เรื่องเพศออนไลน์ ๓.ความน่าเชื่อถือเรื่องที่ได้รับ ๔.อาชญากรรมที่แอบแฝงมา และ ๕.ระวังอันตรายอย่าแห่ตามเทรนด์นิยม ถ้ามีหลักยึดไว้ย่อมไม่ผิดพลาดได้ง่ายผู้เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล ควรมีจริยธรรม ยึดความถูกต้อง ชัดเจน และต้องคำนึงว่า จะไม่นำไปเติมความขัดแย้งให้เพิ่มขึ้นโดยมีเป้าหมายที่สร้างสันติภาพ ทั้งนี้ควรสร้างสปิริตให้สังคมคำนึงความสงบเป็นหลัก พร้อมกันนี้ผู้รับสารหรือผู้บริโภคต้องเข้าใจถึงหลักการและเป้าหมายของสื่อและพื้นที่ของการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ก่อน ผู้บริหารประเทศต้องสร้างภูมิคุ้มกันสร้างการการรู้เท่าทันสื่ออย่างมีสติเริ่มตั้งแต่เด็กพยายามให้เขาตั้งคำถามเป็นมีความสงสัยไม่เชื่ออย่างง่ายๆ เพราะพูดอย่างเดียวไม่พอต้องลงไปจัดการอย่างจริงจังด้วยเพื่อให้เกิดการสื่อสารเพื่อสันติภาพ ซึ่งแนวนโยบายของแต่ละสื่อก็ต้องมีความชัดเจนต้องไม่ขยายความขัดแย้งทำให้เกิดสันติสุข แต่จะทำอย่างไรนั้นก็คงไม่มีวิถีทางหนึ่งสองสามสี่ห้า ต้องหารือพูดคุยกันผลักดันด้วยวิธีการที่หลากหลายมากที่สุดและให้เป็นระบบ
    อย่างไรก็ตาม ถ้าคนมีวุฒิภาวะเลือกเสพสื่อก็จะไม่มีพิษภัยอะไร และสื่อออนไลน์ที่อิงอยู่กับสื่อหลักเดิมที่มีส่วนในการจรรโลงสังคมไทยที่เข้ามาเสริมก็คือการเกิด “สื่อออนไลน์” ใหม่ๆ ซึ่งได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ วิพากษ์วิจารณ์ กลั่นกรองจากสังคมจะเป็นตัวหลักหรือเป็นตัวเสริมก็ตาม ก็จะเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้นและจะเข้ามาแทนสื่อเก่าทั้งหลาย โดยไม่จำเป็นต้องมีองค์กรใดขึ้นมากำกับดูแลเป็นพิเศษให้เป็นการกำกับดูแลกันเองเหมือนสื่อกระแสหลักเมื่อผ่านไประยะหนึ่งผู้เสพสื่อออนไลน์ก็จะควบคลุมดูสื่อออนไลน์ได้เอง
    อิทธิพล ประโยชน์และคุณค่า ยุคข่าวปลอมว่าเหนื่อยแล้ว..อนาคต “ปัญญาประดิษฐ์”ยังสร้าง “รีวิวปลอม”ให้อ่านเคลิ้มได้อีก https://www.prachachat.net/spin…/spinoff-featured/news-67023 ในยุคที่ผู้คนเสพคอนเทนต์ข่าว เนื้อหา เรื่องราว ผ่านโซเชียลมีเดีย และโลกออนไลน์ ทำให้วาระของโลก เรื่อง “ข่าวปลอม” หรือ Fake News ปรากฎเป็นประเด็นใหญ่ระดับโลก โดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่ทำให้ประเด็น “ข่าวปลอม” ถูกจุดให้ต้องมีการหาวิธีรับมือ เพราะการแพร่ข่าวปลอมที่ไปเกาะเกี่ยวกับประเทศอื่นที่ทำตัวเป็น “ขบวนการ” ในการแทรกแซงการเลือกตั้ง ประเด็น “ข่าวปลอม” โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดียยักษ์อย่างใน “เฟซบุ๊ค” ทำให้เฟซบุ๊คเองออกมาตรการวางกฎ และเขียนอัลกอริธึ่ม “กรองข่าว” ให้ละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์ใหญ่ๆทางการเมืองในหลายประเทศ แต่ล่าสุด “ข่าวปลอม” อาจต้องชิดซ้าย เมื่อต่อไปเราอาจต้องเผชิญสิ่งที่เรียกว่า “รีวิวปลอม” หรือการบรรยายสรรพคุณสินค้าและบริการปลอม คำว่า Fake online reviews หรือการแสดงความเห็นปลอมนี้ ต่างกับการเขียนโฆษณาชวนเชื่อทางอินเทอร์เน็ตแล้วโพสต์เชิงขายของ หรือเชียร์ ตรงที่ วิธีนี้จะไม่ใช่ฝีมือ “มนุษย์อวย” แต่เป็นปรากฎการณ์ “ปัญญาประดิษฐ์อวย” หรือ เอไอ ที่ถูกพัฒนาซอร์ฟแวร์ให้ฉลาดขึ้นจนสามารถเขียน “รีวิวออนไลน์” ได้แบบสุดโต่ง “รีวิวปลอม”นี้ จะมีผลกระทบกับบรรดาเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ที่ทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เช่น อเมซอน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าออนไลน์หลงเชื่อในสรรพคุณของการรีวิวปลอมของสินค้า ซึ่งเขียนโดย “เอไอ” นั่นเอง ความเป็นห่วงถึงอนาคตนี้ เพราะเชื่อว่า “เอไอ” จะสามารถเขียนข้อความที่ชวนซาบซึ้ง และทำให้สาธารณชน ผู้อ่านทั่วไปเกิดความเชื่อ และแพร่กระจายรีวิว หรือการแสดงความเห็นปลอมนี้ออกไป ไม่ต่างจาก “ข่าวปลอม” เพราะผู้คนยุคนี้นิยมอ่านรีวิวออนไลน์เพื่อมองหาร้านอาหาร หรือหาที่พักโรงแรมที่ถูกใจผ่านการรีวิวจากผู้อื่น กังวลกันว่า “รีวิวปลอม” ที่เกิดขึ้นจากระบบปัญญาประดิษฐ์ อาจมีผลต่อธุรกิจหลายประเภทที่พึ่งพาการรีวิวจากคนอ่านในการทำการตลาด และสร้างลูกค้า ถึงตรงนี้การแยกแยะว่า เป็นรีวิวจากมนุษย์ หรือเอไอ ก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก และอย่าคิดประมาท “เอไอ” เพราะงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยชิคาโก ที่นำเสนอในงานประชุมด้านคอมพิวเตอร์และความมั่นคงด้านการสื่อสารที่จัดขึ้นปีนี้ แสดงให้ผู้ร่วมประชุม ได้อ่านเนื้อหา ที่ทำให้เห็นศักยภาพว่า “เอไอ” ทำหน้าที่อย่างดีในพัฒนาการเขียนรีวิวขั้นสูง และสามารถจะจูงใจ “คนอ่าน” บางกลุ่มได้ กระทั่งต้องมีการนำตัวอย่าง รีวิวจริงและปลอม หลายประโยค มานั่งวัดผลให้คนอ่านดูว่า คุณคิดว่าอันไหนจริง หรือปลอม โลกมาถึงขนาดที่ “รีวิวออนไลน์” เป็นเรื่อง “ธุรกิจ” ในอนาคต เพราะรีวิวปลอมจากเอไอทำได้ทั้งแบบเขียนเชิงลบ กับ เชิงบวก สามารถสร้างกระแสความไม่พอใจในตัวสินค้า บริการ หรือผลิตภัณฑ์ ได้พอๆ กับการอวยชื่นชม และแน่นอนว่า มีการคาดการณ์ว่า บางธุรกิจจะมีการยอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับ “รีวิวปลอม” ใต้สินค้า-บริการ ที่จะชมหรือด่าก็ย่อมได้ และที่สุดในฐานะคนอ่านอย่างเรา จะบอกได้หรือไม่ว่า รีวิวที่เราอ่านเป็น “ของจริง” หรือ “ของปลอม” ? ๒.๑.๕ แนวทางปฏิบัติการใช้สื่อออนไลน์ของสื่อมวลชน
    ลักษณะสำคัญของสื่อออนไลน์ซึ่งมีเนื้อหาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วย “อิสระ ๕ ประการ” (๕ Freedoms) ได้แก่ ๑) อิสระจากข้อจำกัดด้านเวลา (Freedom from Scheduling) เนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับและส่งข่าวสารได้ในเวลาที่ตนต้องการ และไม่จำเป็นต้องชมเนื้อหาต่างๆ ตามเวลาที่กำหนด ๒) อิสระจากข้อจำกัดด้านพรมแดน (Freedom from Geological Boundaries) เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลเป็นเนื้อหาที่รับข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็วทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับ หรือค้นหาข้อมูลข่าวสารจากประเทศใดก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของบุคคลแต่ละคน ๓) อิสระจากข้อจำกัดด้านขนาด (Freedom to Scale) มีเนื้อหาที่สามารถย่อหรือปรับขยายขนาดหรือเครือข่ายได้ เช่น การปรับเนื้อหาให้เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ทั่วโลก หรือปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงก็ได้ ๔) อิสระจากข้อจำกัดด้านรูปแบบ (Freedom from Formats) เนื้อหาแบบดิจิทัลไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ หรือลักษณะที่ตายตัว สื่อดั้งเดิม เช่น สปอร์ตโฆษณามาตรฐานทางโทรทัศน์ถูกกำหนดว่าต้องมีความยาว ๓๐ วินาที สื่อสิ่งพิมพ์ต้องมีครึ่งหน้าหรือเต็มหน้าเป็นต้น แต่สื่อดิจิตอล เช่น ไฟล์วิดีโอภาพที่ถ่ายจากกล้องในโทรศัพท์มือถือแล้วนำลงไปไว้ในเว็บไซต์จะต้องมีความยาวกี่วินาที หรือมีความละเอียดของไฟล์เป็นเท่าไหร่ก็ได้ เป็นต้น ๕) อิสระจากยุคนักการตลาดสร้างเนื้อหามาสู่ยุคนักบริโภคริเริ่มสร้าง และควบคุมเนื้อหาเอง (From Marketer-Driven to Consumer-Initiated, Created and Controlled) ด้วยพัฒนาการเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เจ้าของสื่อไม่อาจควบคุมการแพร่กระจายของสื่อได้เหมือนอดีต เนื้อหาที่พบในบล็อก (Blog) หรือคลิปวิดีโอในเว็บไซต์ของ YouTube และสื่อผสมใหม่ๆ อาจสร้างสรรค์จากผู้บริโภคคนใดก็ได้ เกิดเป็นเนื้อหาที่สร้างจากผู้บริโภค (Consumer-Created Content) หรือเป็นคำพูดแบบปากต่อปากฉบับออนไลน์ (Online Word-of-Mouth)ที่แพร่ กระจายไปอย่างรวดเร็ว 2.ความเป็นมาของเครือข่ายสังคมออนไลน์ การเกิดขึ้นและเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากเว็บ 1.0 (เว็บเนื้อหา) มาสู่เว็บ 2.0 (เว็บเชิงสังคม) ซึ่งจุดเด่นของเว็บ 2.0 คือ การที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้เอง โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นทีมงานหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งเรียกว่า User Generate Content ข้อดีของการที่ผู้ใช้เข้ามาสร้างเนื้อหาได้เอง ทำให้มีการผลิตเนื้อหาเข้ามาเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของมุมมองความคิด เพราะจากเดิมผู้ดูแลจะเป็นคนคิดและหาเนื้อหามาลงแต่เพียงกลุ่มเดียว http://phutthawan.blogspot.com/ สื่อออนไลน์ในสังคมปัจจุบัน โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเราก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแส เทคโนโลยี และภาวะแวดล้อมของเรา ซึ่งปัจจุบันเราคงไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงกระแสของธุรกิจออนไลน์ หรือสื่อออนไลน์ได้ กว่า 10 ปีที่อินเทอร์เน็ตค่อยๆ เข้ามามีความสำคัญในการดำรงชีวิตของทุกคน จากความสะดวกสบาย และง่ายต่อการส่งหรือรับข้อมูลข่าวสาร ที่ทุกคนไม่ต้องคอยแต่เป็นเพียงผู้รับสารแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่สามารถเป็นผู้สร้าง หรือพัฒนาข้อมูลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้คำว่า สื่อออนไลน์ เกิดเป็นกระแสที่ใครๆ ก็ต้องพุ่งประเด็นสนใจไปหา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา เจ้าของกิจการ หรือแม้แต่นักการตลาดเอง คำจำกัดคำง่าย ๆ ของคำว่า สื่อออนไลน์ ก็คือสื่อของสังคม ที่เปิดโอกาสให้ไม่ว่าใครก็สามารถนำเสนอข่าวสารและข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆ ได้รับรู้ ซึ่งมีอยู่ในหลากหลายรูปแบบเช่น เว็บบล็อค เว็บบอร์ด YouTube, Hi5, Facebook, Twister, My Space วิทยุออนไลน์ ทีวีออนไลน์ etc. โดยอาจจะมีทั้งการนำเอาเรื่องราวของตัวเอง หรือประสบการณ์สิ่งที่ได้พบ การสอนความรู้ต่าง ๆ หรือแม้กระทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ตัวเองมีความรู้หรือมีความถนัด และแน่นอนว่าเมื่อคนได้เจอ "คนคอเดียวกัน" ความสนุกที่ได้รู้จัก แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน หรือได้ขยายวงเพื่อนฝูงที่ชอบเหมือนๆ กันออกไป และยังสามารถรับชม รับฟังวิทยุออนไลน์และทีวีออนไลน์ ได้ทางอินเตอร์เนตที่สะดวกสบาย โดยไม่ต้องเปิดทีวีหรือเปิดวิทยุ สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ สื่อออนไลน์ ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามตลอดหลายปีที่ผ่านมา สื่อออนไลน์ ไม่เพียงแต่จะใช้ในการนำเสนอข่าวสารและข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆ ได้รับรู้เท่านั้น ปัจจุบันยังมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ธุรกิจโฆษณา ที่ธุรกิจโฆษณานิยมใช้สื่อออนไลน์ เพราะว่าใช้งบน้อย ไม่สิ้นเปลือง และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี ซึ่งตอนนี้ตลาดสื่อออนไลน์กำลังเติบโต สื่อออนไลน์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นักโฆษณาเลือกใช้ ทำไมต้องสื่อออนไลน์ คิดกันง่ายๆ ว่าเวลาเราจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นที่เราไม่คุ้นเคย สิ่งแรกที่คุณจะทำคืออะไร “หาข้อมูล” ใช่หรือไม่ ในยุคที่เงินทองหายาก เศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ด้วยแล้ว จะซื้อหาอะไรก็ต้องคิดแล้วคิดอีก ว่าสิ่งที่เราซื้อมันคุ้ม มันทน มันได้ใช้จริงๆ ซึ่งในปัจจุบันที่เราไม่มีเวลาพบปะสังสรรค์กันตามตลาด หรือว่าบ้านเพื่อน เราก็มักจะเข้าเน็ตเพื่อหาข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้มีผลการวิจัยล่าสุดออกมาว่า สื่อออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคกว่า 70% และผู้บริโภคเกือบครึ่ง ( 49%) จะตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้จาก สื่อออนไลน์ นอกจากนั้นแล้วจากรายงานของ The Wave 3 Report ของ Universal MaCann ได้กล่าวอ้างว่า สื่อออนไลน์ เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์ และภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจอย่างมาก เพระผู้ใช้สื่อออนไลน์นิยมโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และแบรนด์ผ่านบล็อก หรือในกลุ่มสังคมออนไลน์ของตน ถ้าคุณเป็นคนหัวเก่าที่คิดว่าสื่อสาธารณะอย่างโทรทัศน์หรือวิทยุสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้มากกว่าคงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เมื่อเห็นตัวเลขยืนยันจาก ComScore ( www.comscore.com) เกี่ยวกับอันดับของ สื่อออนไลน์ ยอดฮิตของโลก ที่เป็นระดับโลกเพราะสื่อออกไลน์ไม่ได้จำกัดเฉพาะในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนคุณก็เพียงแค่คลิ๊กและสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ 1.Blogger – เป็นเว็บยอดฮิตที่มีผู้เข้าใช้กว่า 222 ล้านรายทั่วโลกในปีที่ผ่านมา 2.Facebook – 200 ล้านรายทั่วโลก (กำลังสร้างกระแสในประเทศไทยในช่วงนี้) 3.MySpace – 126 ล้านรายทั่วโลก 4.Wordpress – 114 ล้านราย 5.Window Live Space – 87 ล้านราย (ปี 2009) ปัจจัยพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์ก็คือความต้องการการยอมรับในสังคม ทำให้สัมคมออนไลน์จึงกลายเป็นสังคมที่น่าหลงใหลสำหรับใครหลาย ๆ คนที่อาจจะเสาะหาช่องทางในการแสดงความเป็นตัวเองออกมา แต่ใช่ว่าบุคคลแต่ละบุคคลเท่านั้น ที่ต้องการจะแสดงความเป็นตัวเองออกมา ธุรกิจ การเมือง ก็ต้องการการยอมรับจากสังคมด้วยเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยที่ปัจจุบันธุรกิจขนาดเล็กหลายๆ แห่งเริ่มสร้าง "ตัวตน" หรือ Identity ของตัวเองในโลกออนไลน์ อ้างอิงจาก Click Magazine เขียนโดย sirikan rabuetham ชื่อจริง นางสาว สิริกานต์ ระบือธรรม http://sirikan2rabuetham.blogspot.com/ ดูข้อมูลเพิ่มเติม “การสื่อสาร”, แหล่งที่มา : [๕ มกราคม ๒๕๖๐], ณภัทร ธนเตชาภัทร์, “ความส?ำคัญของการสื่อสาร”, แหล่งที่มา ttp://learners.in.th/blog/thenut/151118> [๕ มกราคม ๒๕๖๐] 2.ความเป็นมาของเครือข่ายสังคมออนไลน์ การเกิดขึ้นและเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากเว็บ 1.0 (เว็บเนื้อหา) มาสู่เว็บ 2.0 (เว็บเชิงสังคม) ซึ่งจุดเด่นของเว็บ 2.0 คือ การที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้เอง โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นทีมงานหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งเรียกว่า User Generate Content ข้อดีของการที่ผู้ใช้เข้ามาสร้างเนื้อหาได้เอง ทำให้มีการผลิตเนื้อหาเข้ามาเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของมุมมองความคิด เพราะจากเดิมผู้ดูแลจะเป็นคนคิดและหาเนื้อหามาลงแต่เพียงกลุ่มเดียว http://phutthawan.blogspot.com/ สื่อออนไลน์ในสังคมปัจจุบัน โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเราก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแส เทคโนโลยี และภาวะแวดล้อมของเรา ซึ่งปัจจุบันเราคงไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงกระแสของธุรกิจออนไลน์ หรือสื่อออนไลน์ได้ กว่า 10 ปีที่อินเทอร์เน็ตค่อยๆ เข้ามามีความสำคัญในการดำรงชีวิตของทุกคน จากความสะดวกสบาย และง่ายต่อการส่งหรือรับข้อมูลข่าวสาร ที่ทุกคนไม่ต้องคอยแต่เป็นเพียงผู้รับสารแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่สามารถเป็นผู้สร้าง หรือพัฒนาข้อมูลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้คำว่า สื่อออนไลน์ เกิดเป็นกระแสที่ใครๆ ก็ต้องพุ่งประเด็นสนใจไปหา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา เจ้าของกิจการ หรือแม้แต่นักการตลาดเอง คำจำกัดคำง่าย ๆ ของคำว่า สื่อออนไลน์ ก็คือสื่อของสังคม ที่เปิดโอกาสให้ไม่ว่าใครก็สามารถนำเสนอข่าวสารและข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆ ได้รับรู้ ซึ่งมีอยู่ในหลากหลายรูปแบบเช่น เว็บบล็อค เว็บบอร์ด YouTube, Hi5, Facebook, Twister, My Space วิทยุออนไลน์ ทีวีออนไลน์ etc. โดยอาจจะมีทั้งการนำเอาเรื่องราวของตัวเอง หรือประสบการณ์สิ่งที่ได้พบ การสอนความรู้ต่าง ๆ หรือแม้กระทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ตัวเองมีความรู้หรือมีความถนัด และแน่นอนว่าเมื่อคนได้เจอ "คนคอเดียวกัน" ความสนุกที่ได้รู้จัก แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน หรือได้ขยายวงเพื่อนฝูงที่ชอบเหมือนๆ กันออกไป และยังสามารถรับชม รับฟังวิทยุออนไลน์และทีวีออนไลน์ ได้ทางอินเตอร์เนตที่สะดวกสบาย โดยไม่ต้องเปิดทีวีหรือเปิดวิทยุ สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ สื่อออนไลน์ ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามตลอดหลายปีที่ผ่านมา สื่อออนไลน์ ไม่เพียงแต่จะใช้ในการนำเสนอข่าวสารและข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆ ได้รับรู้เท่านั้น ปัจจุบันยังมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ธุรกิจโฆษณา ที่ธุรกิจโฆษณานิยมใช้สื่อออนไลน์ เพราะว่าใช้งบน้อย ไม่สิ้นเปลือง และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี ซึ่งตอนนี้ตลาดสื่อออนไลน์กำลังเติบโต สื่อออนไลน์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นักโฆษณาเลือกใช้ ทำไมต้องสื่อออนไลน์ คิดกันง่ายๆ ว่าเวลาเราจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นที่เราไม่คุ้นเคย สิ่งแรกที่คุณจะทำคืออะไร “หาข้อมูล” ใช่หรือไม่ ในยุคที่เงินทองหายาก เศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ด้วยแล้ว จะซื้อหาอะไรก็ต้องคิดแล้วคิดอีก ว่าสิ่งที่เราซื้อมันคุ้ม มันทน มันได้ใช้จริงๆ ซึ่งในปัจจุบันที่เราไม่มีเวลาพบปะสังสรรค์กันตามตลาด หรือว่าบ้านเพื่อน เราก็มักจะเข้าเน็ตเพื่อหาข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้มีผลการวิจัยล่าสุดออกมาว่า สื่อออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคกว่า 70% และผู้บริโภคเกือบครึ่ง ( 49%) จะตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้จาก สื่อออนไลน์ นอกจากนั้นแล้วจากรายงานของ The Wave 3 Report ของ Universal MaCann ได้กล่าวอ้างว่า สื่อออนไลน์ เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์ และภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจอย่างมาก เพระผู้ใช้สื่อออนไลน์นิยมโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และแบรนด์ผ่านบล็อก หรือในกลุ่มสังคมออนไลน์ของตน ถ้าคุณเป็นคนหัวเก่าที่คิดว่าสื่อสาธารณะอย่างโทรทัศน์หรือวิทยุสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้มากกว่าคงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เมื่อเห็นตัวเลขยืนยันจาก ComScore ( www.comscore.com) เกี่ยวกับอันดับของ สื่อออนไลน์ ยอดฮิตของโลก ที่เป็นระดับโลกเพราะสื่อออกไลน์ไม่ได้จำกัดเฉพาะในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนคุณก็เพียงแค่คลิ๊กและสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ 1.Blogger – เป็นเว็บยอดฮิตที่มีผู้เข้าใช้กว่า 222 ล้านรายทั่วโลกในปีที่ผ่านมา 2.Facebook – 200 ล้านรายทั่วโลก (กำลังสร้างกระแสในประเทศไทยในช่วงนี้) 3.MySpace – 126 ล้านรายทั่วโลก 4.Wordpress – 114 ล้านราย 5.Window Live Space – 87 ล้านราย (ปี 2009) ปัจจัยพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์ก็คือความต้องการการยอมรับในสังคม ทำให้สัมคมออนไลน์จึงกลายเป็นสังคมที่น่าหลงใหลสำหรับใครหลาย ๆ คนที่อาจจะเสาะหาช่องทางในการแสดงความเป็นตัวเองออกมา แต่ใช่ว่าบุคคลแต่ละบุคคลเท่านั้น ที่ต้องการจะแสดงความเป็นตัวเองออกมา ธุรกิจ การเมือง ก็ต้องการการยอมรับจากสังคมด้วยเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยที่ปัจจุบันธุรกิจขนาดเล็กหลายๆ แห่งเริ่มสร้าง "ตัวตน" หรือ Identity ของตัวเองในโลกออนไลน์ อ้างอิงจาก Click Magazine เขียนโดย sirikan rabuetham ชื่อจริง นางสาว สิริกานต์ ระบือธรรม http://sirikan2rabuetham.blogspot.com/ ดูข้อมูลเพิ่มเติม “การสื่อสาร”, แหล่งที่มา : [๕ มกราคม ๒๕๖๐], ณภัทร ธนเตชาภัทร์, “ความส?ำคัญของการสื่อสาร”, แหล่งที่มา ttp://learners.in.th/blog/thenut/151118> [๕ มกราคม ๒๕๖๐]. ของปลอม” ? ๒.๑.๕ แนวทางปฏิบัติการใช้สื่อออนไลน์ของสื่อมวลชน  
      • ไม่มีความคิดเห็น:

        แสดงความคิดเห็น

        เพลงแบกฮัก

        คลิก ฟังเพลงที่นี่ เพลง: แบกฮัก ศิลปิน: Suno (ท่อนแรก) เอาไปเถอะลูก บ่ต้องซื้อเขากิน ถุงข้าวที่แบกมา เต็มไปด้วยฮักอ้าย บ่แม่นแค่ข้าวสารเม็ดง...