วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่๒-๒.๑.๔ วิธีการใช้สื่อออนไลน์


วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ กับการเรียนการสอนประเภท-แบบต่างๆ วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอนประเภท-แบบต่างๆ Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ที่สามารถนำประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) Blog 2) Social Networking 3) Microblog 4) Media Sharing และ 5) Social News and Bookmaking โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. Blog มาจากคาเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress, blogger เป็นต้น ตัวอย่างการใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอน Learners.in.th เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการระบบบล็อกเพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้เขียนบันทึก เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัวของตน โดยเน้นที่การถ่ายทอดความรู้ด้วยตัวของเยาวชน เพื่อไม่ก่อให้เกิดการโจรกรรมทางวรรณกรรม และเป็นเสมือนแฟ้มสะสมงานของเยาวชนในผลงานทางด้านการเขียน รวมไปถึงครู อาจารย์ สามารถใช้พื้นที่เพื่อพัฒนาทางด้านการศึกษาให้กับเยาวชน และสามารถนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ปัจจุบัน Learners.in.th ได้รับการสนับสนุนหลักจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บล็อกเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนใส่ไปในบทความในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็นกลับ จะประกอบไปด้วยข้อความ รูปภาพ จุดเชื่อมโยงไปยังบล็อกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องนั้นๆ ที่นำเสนอ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเว็บบอร์ด (ห้องสนทนา) แต่จะแตกต่างกันตรงที่เราสามารถจัดการหน้าของบล็อกได้ด้วยเหมือนเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่จะเปลี่ยนแปลงส่วนใด เมื่อใดก็ได้ รูปที่ 2 หน้าแรกของ Learners.in.th ที่มา http://www.learners.in.th/home ในการนำบล็อกมาใช้เพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้ทั้งภาคเรียนแต่อาจเลือกใช้ในบางกรณีเพื่อทำให้การเรียนการสอนมีเทคนิควิธีการที่แปลกออกไป ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ 1. ผู้สอนกำหนดประเด็น การศึกษา โดยการกำหนดประเด็นของเรื่องที่จะให้ผู้เรียนเขียนหรือบันทึกให้ชัดเจนว่าต้องการเขียนหรือบันทึกเรื่องอะไร สื่อสารเกี่ยวกับอะไร เช่น ผู้สอนตั้งโจทย์ให้ผู้เรียนร่วมกันเขียนกิจกรรมเขียนบล็อกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 2. ผู้เรียนเริ่มเขียนบันทึก โดยรูปแบบการเขียนมีหลากหลาย เช่น การเขียนแบบเล่าเรื่อง เขียนบรรยายสิ่งที่รู้ กิจกรรม ความประทับใจหรือประสบการณ์ 3. เมื่อผู้เรียนเขียนบันทึกเสร็จแล้ว อาจมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในห้อง ซึ่งการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งจาเป็น เพราะจะนำไปสู่การต่อยอดความรู้ รูปที่ 3 ตัวอย่างการใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/529629 2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำ เพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์ การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์ เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook, Hi5, Bebo, MySpace และ Google+ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ Facebook ในการจัดการเรียนการสอน Facebook (เฟซบุ๊ค) คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ ติดต่อสื่อสาร ตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก สนทนาแบบโต้ตอบทันที นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งานเฟซบุ๊ค ผู้ใช้จะคอยอัพเดทแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มที่อยู่ในเฟซบุ๊คหรือแม้แต่ผู้ใช้เว็บไซต์อื่นที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค ยังสามารถสื่อสาร ส่งต่อหรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำให้สังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางและเข้มแข็งมาก ในการนำเฟซบุ๊คมาใช้เพื่อกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น สามารถนำเฟซบุ๊คมาใช้การแบ่งปันเรื่องราว ความรู้ แง่คิด ประสบการณ์ ทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้ การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทำได้โดยสร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน และสามารถนำเฟซบุ๊คไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนำเสนอสื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนำเสนองาน ผลงาน ฯลฯ ทำให้เกิดความน่าสนใจ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการพูดคุย แสดง ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บนเฟซบุ๊ก: ที่มา:http://www.facebook.com/media/set/?set=a.519271161422410.140907.289049341111261&type=3 ความคิดเห็น การสอบถาม การให้คาแนะนำและคาปรึกษา ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่มีโอกาสเรียนรู้มากย่อมได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเฟซบุ๊คสามารถสร้างประโยชน์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง นอกจากนี้ เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้หรือ แอพพลิเคชั่น (Applications) เพื่อการศึกษาจำนวนมากที่จะช่วยอานวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น “ไฟลส์ (Files)” สาหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน “เมกอะควิซ (Make a Quiz)” สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน “คาเลนเดอร์ (Calendar)” สาหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ “คอร์ส (Course)” สาหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียน ตัวอย่างเช่น “วีรีด (weRead)” สำหรับจัดการรายชื่อหนังสือให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น และ “คลาสโน้ตส์ (Class Notes)” สำหรับถ่ายภาพในขณะที่ครูผู้สอนเขียนเนื้อหาบนกระดาน หรือคัดลอกเนื้อหาที่เรียน แล้วนำไปโพสต่อเพื่อแบ่งปันผู้อื่นได้ (ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2554) 3. Micro Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความได้สั้นๆ ตัวอย่างของ Micro Blog เช่น Twitter, Pownce, Jaiku และ tumblr เป็นต้น โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด กล่าวคือสามารถเขียนข้อความแต่ละครั้งได้เพียง 140 ตัวอักษร ตัวอย่างการใช้ Twitter ในการจัดการเรียนการสอน Twitter (ทวิตเตอร์) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog สั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Micro-Blog ซึ่งสามารถให้ผู้ใช้ส่งข้อความของตนเองให้ผู้อื่นที่ติดตามทวิตเตอร์ของผู้เขียนอยู่นั้นสามารถอ่านได้ และผู้เขียนเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อน หรือคนที่กำลังติดตามผู้เขียนอยู่ได้ ซึ่งทวิตเตอร์ก็ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท social Media ด้วยเช่นกัน ในรูปแบบของทวิตเตอร์นี้ ที่เรียกว่าเป็น blog สั้นก็เพราะว่าทวิตเตอร์ให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า Profile ของผู้เขียน และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ โดยสามารถใช้ได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือจากโทรศัพท์มือถือ ทวิตเตอร์จัดอยู่ในกลุ่มไมโครบล็อก ซึ่งลักษณะร่วมของไมโครบล็อก มีดังนี้ 1. มีการจำกัดความยาวของข้อความกำหนดไว้ที่ 140 ตัวอักษร 2. มีช่องทางการส่งข้อความและรับข้อความที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์มือถือ/เว็บไซต์ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาพิเศษ (Client) โดยสามารถติดต่อผ่าน API 3. เผยแพร่ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) มีลักษณะคล้ายกับการส่งข้อความสั้น (SMS) แต่ข้อความไม่ได้นำส่งเฉพาะระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพียงสองคนเท่านั้น แต่ยังส่งไปถึงผู้ใช้งานที่ติดตามด้วย 4. มีข้อมูลหลากหลายเนื่องจากมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก 5. ข้อมูลมักถูกล้างออกไปจากระบบเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง (Flooded) เนื่องจากมีการโพสต์ข้อความมาก ข้อความใหม่จะแทนที่ข้อความเก่า 6. มีความง่ายในการใช้งาน ด้วยข้อจำกัดของจำนวนอักขระทำให้ข้อความมีขนาดสั้นไม่เสียเวลาในการพิมพ์ข้อความ จึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ส่งข้อมูลเข้าไปในระบบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ส่งผลให้เกิดการกระจายข้อมูลจากปากต่อปาก (Words of Mouth) ได้ง่าย รูปที่ 7 ตัวอย่างการใช้ทวิตเตอร์ ที่มา : http://conversations.nokia.com/2013/01/14/nokia-helping-put-twitter-in-everyones-hands/ นอกจากนี้ Davis (2008) กล่าวว่า ทวิตเตอร์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน ดังนี้ 1. สามารถใช้ได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนเพื่อการสื่อสารถึงกิจกรรมการเรียนการสอน 2. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการระดมความคิดเห็นและการสื่อสาร ด้วยข้อจำกัดเพียง 140 ตัวอักษร จึงเป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารที่กระชับตรงประเด็น 3. สามารถเป็นช่องทางสาหรับการรับฟังความคิดเห็น โดยผู้เรียนสามารถส่งคำถาม ความคิดเห็นหรือข้อสังเกตเข้าไปเครือข่ายเพื่อเรียนรู้ร่วมกันได้ 4. สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย ประเทศที่ห่างกันได้ 5. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประชุม สัมมนา การนำเสนอความคิดจากคนหมู่มากที่สามารถอัพเดทข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 6. สามารถใช้เป็นห้องเรียนเสมือนสำหรับการอภิปรายแสดงออกทางความคิด 7. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือการเพื่อค้นพบแหล่งความรู้ใหม่ 8. สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มคนที่มีความสนใจร่วมกัน 9. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสะท้อนความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้สอน 10. สามารถให้ผลลัพธ์ทางด้านการอัพเดทข่าวสารได้มีประสิทธิภาพมากกว่า อาร์เอสเอสฟีด (RSSfeed) ง่ายต่อการรับและการส่งข้อมูล เพราะมีช่องทางในการใช้บริการที่หลากหลาย ในการนำทวิตเตอร์มาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม โดยผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ 1. แนะนำให้ผู้เรียนติดตามผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา 2. นำเสนอและติดตามหัวข้อที่สนใจโดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # (hash tag) ซึ่งหากผู้ใช้ทวิตเตอร์คลิกที่แท็กดังกล่าวก็จะเห็นข้อความทวีตที่มีแท็กเหล่านั้น 3. สร้างกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันหรือเข้าร่วมเรียนวิชาเดียวกันหรือกิจกรรมเดียวกัน โดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # ข้อความที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้จะมีแท็กที่ขึ้นต้นด้วย #xmlws นอกจากนี้ได้ใช้ฟังก์ชันรายชื่อ (list) ของทวิตเตอร์เพื่อดูข้อความทวีตของผู้เรียนทุกคนในวิชาที่สอน ซึ่งการใช้ฟังก์ชันรายชื่อนี้เปรียบเสมือนการสร้างกลุ่ม ซึ่งในที่นี้ก็คือกลุ่มของบัญชีทวิตเตอร์ของผู้เรียนที่สอน 4. Media Sharing เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ แฟ้มข้อมูล เพลง หรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิก หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Media Sharing เช่น Youtube, Flickr และ 4shared เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ Youtube ในการจัดการเรียนการสอน Youtube เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเปิดให้ใครก็ได้นาคลิปวิดีโอที่ตนมีอยู่ไปฝากไว้ โดยใช้ระบบการให้บริการโดยใช้โปรแกรม Adobe Flash เรียบเรียงเนื้อหาบนเว็บไซต์รวมไปถึงไฟล์วีดิโอต่างๆ และสามารถนำฟังก์ชันต่างๆ ที่เว็บสร้างขึ้นมาไปช่วยในการเผยแพร่คลิปนั้นๆ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ Embed Code ที่ใช้ สาหรับแพร่กระจายคลิปต่างๆ ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก โดยผู้ใช้สามารถใส่ภาพวีดิโอเข้าไป เปิดดูภาพวีดิโอที่มีอยู่และแบ่งปันภาพวีดิโอให้ผู้อื่นดูได้ ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกลิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอ เป็นส่วนประกอบด้วย โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) โดยไฟล์วีดิโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นเพียงไฟล์คลิปสั้นๆ เท่านั้น ความยาวเพียงไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าชมได้ง่าย โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับไฟล์วีดิโอ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ล่าสุด ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด ไฟล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกชมได้อย่างสะดวก และยังมีบริการที่สามารถดูวีดิโอได้ทีละเฟรม โดยเลือกดูส่วนใดของวีดิโอก็ได้ ในการนำ Youtube มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน สามารถทาได้ดังนี้ 1. ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน เช่น สาธิตวิธีการทำอาหารเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพจริงสามารถนำไปปฏิบัติได้ หรือสอนภาษาอังกฤษ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ได้ 2. ผู้สอนสร้างกลุ่มของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม จากนั้นใช้ Youtube ในการเผยแพร่ผลงานของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนจัดทำผลงานจากนั้นนำเสนอผลงานผ่านทาง Youtube จากนั้นแบ่งปันให้เพื่อนสามารถเข้าไปดูผลงานได้ 3. ผู้เรียนใช้เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร เพิ่มเติมจากในห้องเรียน รูปที่ 10 ตัวอย่างคลิปวีดิโอบน Youtube ที่มา : http://www.youtube.com 5. Social News and Bookmarking เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและสามารถให้คะแนนและเลือกบทความหรือเนื้อหาใดที่น่าสนใจที่สุดได้ ผู้ใช้สามารถ Bookmark เนื้อหาหรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบได้ รวมทั้งยังแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ด้วย ตัวอย่างการใช้ Social News and Bookmarking ในการจัดการเรียนการสอน Social News เป็นเว็บไซต์กลุ่มข่าวสารที่ผู้ใช้สามารถส่งข่าว โดยผสม social bookmarking บล็อก และการเชื่อมโยงเนื้อหาเว็บเข้าด้วยกัน และมีการกรองคัดเลือกเนื้อหาในลักษณะการร่วมลงคะแนนที่ทุกคนเท่าเทียมกัน เนื้อหาข่าวและเว็บไซต์จะถูกส่งเข้ามาโดยผู้ใช้ จากนั้นจะถูกเลื่อนให้ไปแสดงที่หน้าแรกผ่านระบบการจัดอันดับโดยผู้ใช้ ซึ่งข่าวอาจอยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ การกระจายเสียง อินเทอร์เน็ต การบอกเล่าเรื่องราวของบุคคลอื่น หรือกลุ่มคน Social Media ชนิดนี้เป็นเครื่องมือในการบอกต่อและสร้างจำนวนคนเข้ามายังที่เว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น Current TV , หนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นต้น Social Bookmarking เป็นบริการบนเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยการแบ่งปันการคั่นหน้าไว้บนเว็บไซต์ผู้ให้บริการ เพื่อรวบรวม จัดเก็บ แบ่งหมวดหมู่ สืบค้น และโดยเฉพาะเพื่อการแบ่งปันเว็บไซต์หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์แก่คนอื่นๆ ที่สนใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Social News เช่น Digg เป็นต้น ในการนำ Social News และ Social Bookmarking มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ผู้สอนอาจใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเนื้อหา หรือนำเนื้อหาในข่าวมาเป็นประเด็นคำถามในการเรียนเพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ โดยอาจทำได้หลายวิธี เช่น ผู้สอนเป็นผู้นำข่าวมาเป็นประเด็นให้ผู้เรียนตอบ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันหาเนื้อหาแล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน หรือให้ผู้เรียนจัดกลุ่มแล้วช่วยกันเลือกประเด็นแล้วอภิปรายภายในกลุ่ม โดยใช้ Social Bookmarking เป็นแหล่งในการรวบรวมความรู้และจัดเก็บข้อมูลจากการสืบค้นของกลุ่มเพื่อแบ่งปันให้เพื่อนในห้อง เป็นต้น โพสต์เมื่อ 3rd February 2014 โดย สัมนาออนไลน์ หัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอน” http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_802.html Bloomberg ทำยังไงให้มียอดดูวิดิโอบน IG สองล้านวิวต่อเดือน สรุปจากบทความเดียวกันที่รายงานยอดด้านบน คุณ Kevin Young เป็น Instagram Editor ของ Bloomberg ก็ได้ให้แนวทางที่น่าสนใจดังนี้ มี template ที่แน่นอนชัดเจน เห็นแล้วรู้ว่ามาจาก bloomberg คนจำได้ explain the stories behind the headlines หรือตั้งหัวข้อเป็นแนว ๆ ชวนคิดหรือตั้งคำถาม หรือมาเปิดประเด็นไว้ แล้วให้วิดีโอเป็นตัวอธิบาย เช่น This woman is betting on balloons in space หรือ This coal mine is devouring a 12,000-year-old forest ทำให้คนอยากดูต่อว่า ทำไม เพราะอะไร หรือว่าจริงหรือเปล่าด้วยการจั่วหัวแบบนี้ ช่วยให้คนสามารดูวิดีโอได้นานขึ้นด้วย โดยที่ไม่เลื่อนผ่านไปเฉย ๆ ในเรื่องการทำให้คนดูนานขึ้นนั้น ก็เป็นสิ่งที่ Bloomberg ทำได้โดดเด่นมาก คลิปส่วนมากจะใช้เวลาเกือบจะถึง 1 นาทีพอดี ซึ่งถือว่ายาวพอสมควรสำหรับวิดีโอบน Instagram แต่ก็ทำให้คนสามารถดูต่อจนจบได้ -https://www.rainmaker.in.th/bloomberg-how-to-get-2m-views-montly/?fbclid=IwAR0XFrwsRSyVZSIg6avRSTlsWj0IyuOLa1aXC_oJBPJULIHC-k24_mE_RY4 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลงแบกฮัก

คลิก ฟังเพลงที่นี่ เพลง: แบกฮัก ศิลปิน: Suno (ท่อนแรก) เอาไปเถอะลูก บ่ต้องซื้อเขากิน ถุงข้าวที่แบกมา เต็มไปด้วยฮักอ้าย บ่แม่นแค่ข้าวสารเม็ดง...