บทที่๒-๒.๑.๕ ผลกระทบและประโยชน์การใช้สื่อออนไลน์
4. ประโยชน์และข้อจำกัดขอสื่อออนไลน์ 4.1. ประโยชน์ของ Social networks เครือข่ายสังคมออนไลน์ 8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้ 7.คลายเครียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ 1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ 6. ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น 5. ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสาหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า 4.เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น 3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว 2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกันตอบ เอาผลสำรวจใส่ ความนิยมในการใช้สื่อออนไลน์ 4.2. ข้อจำกัดของSocial networks เครือข่ายสังคมออนไลน์ 4.2.1. 1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ 2.เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ 3. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น 4. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้ 5. ผู้ใช้ที่เล่น socialnetwork และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้ 6. ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ socialnetwork มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่ำลงได้ 7. จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์ https://www.mindmeister.com/956786907/_ ยกตัวอย่างประโยชน์และข้อจำกัดการใช้เฟซบุ๊ก เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ในกรณีที่ยกเลิกการเรียนการสอนในห้องเรียนเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ครูผู้สอนสามารถใช้ เฟชบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนโดยการกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับวิชาที่สอนเพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ไม่ควรใช้ข้อความที่รุนแรงในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนและสถานศึกษา หลีกเลี่ยงการแสดงข้อความที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่รุนแรง ควรตั้งค่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนในเชิงบวกเท่านั้น จะเห็นได้ว่า เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้และเป็นห่วงโซ่การศึกษาขนาดใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา ตลอดวันละ24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ฉะนั้น ผู้บริหารการศึกษาจึงควรกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้ เฟซบุ๊กอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านการใช้เฟซบุ๊กไปในทางที่ผิดหรือด้านการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่สถานศึกษา ยิ่งกว่านั้น ผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนานโยบายการใช้ เฟซบุ๊กที่มีอยู่เป็นระยะๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ประโยชน์ของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน 1.สื่อสารถึงนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้อีเมลล์หรืออีเลิร์นนิ่ง 2.ส่งเสริมการกระตุ้นให้นักศึกษาได้แบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว 3.นักศึกษามีความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ข้อจำกัดของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน 1.อาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ 2.อาจารย์หรือนักศึกษาไม่เป็นส่วนตัวในการข้อความหรือรูปภาพต่างๆ ประโยชน์และข้อจำกัด การประยุกต์ใช้งาน Youtubeเพื่อการเรียนการสอน Youtube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของAdobe Flashมาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเองเมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ ใช้จะสามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูด้วยแต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ใส่ไว้ในYoutubeได้แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (youtubeก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2005) Youtubeเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว แต่ด้วยตัวยูทูบเองที่มีเนื้อหามากมายเป็นแสนชิ้น ทั้งสื่อและเครื่องมือการเรียนรู้ดีๆที่สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสื่อประเภทที่สุ่มเสี่ยง และทำให้เด็กและเยาวชนไขว้เขวไปได้ ทั้งจากมิวสิควีดีโอ การ์ตูน และไม่ได้ใช้เป็นช่องทางเพื่อการเรียนรู้สักทีเดียว จึงเป็นที่มาของการเปิดหน้าการศึกษาล่าสุดเของยูทูบขึ้นที่เรียกว่า“ยูทูบสำหรับโรงเรียน”หรือ (Youtube for Schools) เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้น โดยจะมีเนื้อแต่เรื่องการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยได้ร่วมมือกับภาคีด้านการศึกษากว่า600แห่ง เช่น TED,Smithsonian เว็บไซด์ชื่อดังเรื่องที่ได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการต่างๆเอาไว้,Steve Spangler แหล่งผลิตเกมและของเล่นเพื่อการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ หรือNumberphile ที่สอนคณิตศาสตร์ออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ยูทูบได้ทำงานร่วมกับครูในการจัดแบ่งเนื้อหากว่า300ชิ้น ออกเป็นรายวิชา และระดับชั้น โดยสื่อเหล่านี้ยูทูบเชื่อว่าจะช่วยเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ห้องเรียนสนุกสนานขึ้น และเด็กๆก็จะตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น ประโยชน์ของYouTubeสำหรับโรงเรียน 1. กว้างขวางครอบคลุมYouTubeสำหรับโรงเรียนเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวิดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก YouTube EDU วิดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น Stanford,PBS และ TED รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของYouTubeซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน เช่น Khan Academy,Steve Spangler Science และ Numberphile 2. ปรับแก้ได้สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYouTube EDUทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน 3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวิดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และจะดูได้เฉพาะวิดีโอYouTube EDUและวิดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวิดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวิดีโอ YouTube EDU เท่านั้น 4. เป็นมิตรกับครู YouTube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วิดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไป และจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสต์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง ข้อจำกัด 1.อาจมีการละเมิดลิขสิทธิ์ 2.อาจมีการกระทำที่ไม่ดี http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post.html ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์นั้น นอกจากจะมีความเสี่ยงที่เกิดจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การถูก hack ข้อมูล หรือการขโมยตัวตนในสื่อสังคมออนไลน์แล้ว ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นจากตัวผู้ใช้งานสังคมออนไลน์เอง นั่นก็คือความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์หรือส่งต่อข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยจุดเด่นของสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถมีความสะดวกและรวดเร็วในการเผยแพร่และการรับข้อมูลข่าวสาร จึงทำให้สื่อสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั้งของ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ณ ปัจจุบันซึ่งประเทศไทยกำลังประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ประชาชนชาวไทยต่างก็ตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีข่าวสารครอบคลุมตั้งแต่การแจ้งพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ประสบอุทกภัย การแจ้งเส้นทางจราจร การแจ้งให้อพยพ การประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบนาทีต่อนาที โดยที่ประชาชนไม่ต้องรอรับข้อมูลจากสื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุซึ่งอาจจะให้ข้อมูลได้ไม่เร็วทันใจประชาชนผู้กำลังตื่นตัวกับภาวะวิกฤติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในสังคมออนไลน์ของประชาชนชาวไทยในช่วงอุทกภัยนั้นก็มิได้มีเฉพาะข่าวจริงที่เชื่อถือได้เสมอไป แต่กลับระคนไปด้วย ข่าวเท็จ ข่าวมั่ว และข่าวลือ เนื่องจากผู้ใช้งานบางคนเมื่อได้รับข้อมูลที่หลั่งไหลผ่านหน้าเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์แล้วก็ส่งต่อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาถึงแหล่งข่าวหรือความน่าเชื่อถือของข่าวสารนั้น ๆ บางคนก็พยายามกุข่าวลือและสร้างกระแสต่าง ๆ โดยการโพสต์รูปที่มีการตัดต่อและข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำาท่วมที่เกินจริงหรือไม่ชัดเจนในรายละเอียดซึ่งก่อให้เกิด ความสับสนและความตื่นตระหนกต่อประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะด้วยความคึกคะนองหรือด้วยการหวัง ผลประโยชน์ทางธุรกิจก็ตามเช่น ในทวิตเตอร์ของบางคนมีการโพสต์ข้อความว่าพบศพเด็กหรือเจองูพิษหรือจระเข้ลอยมาตามน้าที่นั่นที่นี่ โพสต์ว่าให้รีบกักตุนสินค้าชนิดนั้นชนิดนี้ไว้เนื่องจากสินค้ากำลังจะขาดตลาด หรือโพสต์ว่าสถานที่นั้นสถานที่นี้มีน้ำท่วมสูง ไม่สามารถสัญจรผ่านหรือเข้าไปใช้บริการได้ แล้วมีการ ทวีตกันต่ออย่างแพร่หลาย ซึ่งปรากฏว่าเมื่อมีการตรวจสอบจากประชาชนในพื้นที่และจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ก็พบว่าสถานการณ์ยังปกติและไม่มีเหตุการณ์ตามที่กล่าวอ้าง แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์บางคน ยังขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและความตระหนักถึงความรับผิดตามกฎหมายในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในทางกฎหมาย การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ผิด เช่น การโพสต์รูปภาพหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริงโดยมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือสร้างความปั่นป่วนให้กับสังคมนั้น อาจเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดตาม มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ฐาน (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากความรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์รูปหรือข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวแล้ว การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นที่ระบายความแค้นหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นโดยการโพสต์ข้อความว่าร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยความนึกสนุกหรือเพื่อต้องการให้คนที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้โพสต์ข้อความได้รับรู้ถึงความเลวร้ายหรือข้อมูลใน ด้านที่ไม่พึงประสงค์ของคนที่ถูกกล่าวถึง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน คู่อริสมัยเรียน หรือคนรักเก่าของสามี แม้จะทำให้ผู้โพสต์ข้อความได้รับความสะใจในชั่วขณะหนึ่ง แต่ก็อาจทำให้เกิดทุกข์มหันต์ตามมา เนื่องจาก การโพสต์ข้อความในลักษณะดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทำต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ในทางอาญานั้น ผู้กระทำอาจต้องรับผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาซึ่งต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท หากกระทำ การโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะด้วยข้อความ เอกสาร ภาพ เสียง วิดีโอ ภาพยนตร์ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ ที่เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ในลักษณะที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หรือแม้แต่ในกรณีที่ผู้ที่ถูกใส่ความเป็นผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หากการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชังผู้ที่โพสต์ข้อความก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้ตายโดยการโฆษณาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากการโพสต์ข้อความนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเป็นการติชมบุคคลอื่นหรือสิ่งใดด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ เช่น การแสดงความคิดเห็นหรือติชมบุคคลสาธารณะด้วยความเป็นธรรม หรือแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนเองตาม คลองธรรม ก็อาจไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท นอกจากนี้ ในกรณีที่การกระทำเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหากผู้ถูกหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่ต้องรับโทษ แต่ในกรณีที่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ผู้ที่กระทำความผิดอาจต้องรับโทษแม้เรื่องที่ใส่ความจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม เพราะกรณีการใส่ความในเรื่องส่วนตัวนั้น กฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ว่าเรื่องที่ใส่ความเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงหากการพิสูจน์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ - ๓๓๐ ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น หากข้อความที่โพสต์ไม่เป็นความจริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ถูกกล่าวถึง ผู้โพสต์ข้อความจะต้องรับผิดทางแพ่ง ฐานกระทำละเมิดโดยการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็น ที่เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น โดยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ต้องเสียหายจากการโพสต์ข้อความนั้น นอกเหนือจากโทษทางอาญาฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้โพสต์ข้อความไม่รู้ว่าข้อความที่โพสต์นั้นไม่เป็นความจริงและตนเองหรือผู้รับข้อความมีส่วนได้เสียโดยชอบเกี่ยวกับเรื่องที่โพสต์นั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ ดังนั้น ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์จึงควรจะคิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์รูปภาพ วิดีโอ ข้อความหรือสื่อใด ๆ ลงในหน้าสื่อสังคมออนไลน์นั้น เนื่องจากเมื่อขึ้นชื่อว่า “สังคม” ไม่ว่าจะสังคมในชีวิตจริงหรือในโลกออนไลน์ ก็ย่อมต้องมีกฎ กติกาที่เราต้องรักษาเสมอเพื่อความสงบสุขของสังคม ดังสำนวนกฎหมายของโรมันที่กล่าวไว้ว่า “Ubi societas, ibi jus” “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย” เป็นที่ทราบกันดีว่าสื่อในโลกออนไลน์ปัจจุบัน ได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในหลายมิติ การกระทำต่างๆในกิจวัตรประจำวันของบางคนอาจจำเป็นต้องใช้สื่อเหล่านี้เข้ามาช่วยในทุกขั้นตอนของชีวิต ยิ่งในขณะนี้ที่สื่อสังคม (Social Media) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน เพราะลักษณะเด่นและเสน่ห์ของมันที่ทำให้การมีส่วนร่วมง่ายเพียงการพิมพ์หรือคลิก ผู้รับสารก็จะสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน เว็บไซต์จำพวก Facebook และ Twitter จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการนำเสนอข้อมูลของผู้ใช้ที่มีเนื้อหาความยาวไม่มากนัก ก่อนอื่น เราจำเป็นต้องเข้าใจร่วมกันว่าเว็บไซต์ประเภทเหล่านี้ไม่ใช่พื้นที่สื่อโดยธรรมชาติ แต่มีลักษณะความเป็นสาธารณะโดยส่วนตัว (Personic = Public+Person) ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งแตกต่างเป็นอย่างมากกับพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือบทความตามหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นการเขียนขนาดยาว แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์เหล่านี้ซึ่งไม่ใช่สื่อโดยธรรมชาติจะไม่จำเป็นต้องมีจรรยาบรรณหรือมาตรฐานความเหมาะสมทางสังคมในการใช้งาน เนื่องจากความมีจรรยาบรรณจะนำมาสู่ความน่าเชื่อถือ และความน่าเชื่อถือนั้นก็ต้องวัดจากเนื้อหา มิใช่รูปแบบ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าผลลัพธ์ของสื่อสังคมนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ หากผู้ใช้มีเจตนาที่จะบิดเบือนความจริงเพื่อปลุกปั่นหรือหวังผลทางการเมือง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นด้านลบ แต่หากผู้ใช้เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอย่างเสมอภาคกัน มีความเป็นกลางในการนำเสนอความคิดเห็น และนำเสนอให้เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส ผลลัพธ์ที่เกิดก็จะสร้างสรรค์ในเชิงบวกมากกว่าเป็นแน่ โดยหลักแล้ว สิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่อออนไลน์ของคนเราจะไม่แตกต่างกับสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่ออื่นๆ เพราะถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออกผ่านสื่อ ในปฏิญญาสากลว่าสิทธิมนุษยชนได้มีการรับรองเสรีภาพในลักษณะนี้ไว้ในข้อ 19 ว่า “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออกสิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิดโดยปราศจากความแทรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ก็มีการรับรองการกระทำประเภทนี้เช่นกัน ในมาตรา 45 วรรคแรก ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ดังนั้นการกระทำเช่นนี้จึงถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเช่นกัน แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีเสรีภาพเกิดขึ้น เป็นที่แน่นอนว่าเขตแดนของเสรีภาพแต่ละบุคคลย่อมจะชนและทับซ้อนกัน ในบางกรณีกลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดูเหมือนว่าเขตแดนของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะมีมากจนบางครั้งอาจมีมากเกินไปด้วยซ้ำ ความจำเป็นในการที่ต้องกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานจรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมออนไลน์ปัจจุบัน ในเรื่องเกี่ยวกับการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวนั้น จริงๆแล้วเป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของคนที่ได้รับการคุ้มครองตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ซึ่งคนในสังคมส่วนมากอาจละเลยและไม่ใส่ใจถึงความสำคัญของจุดนี้ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 ในมาตรา 35 มีระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งหากคนในสังคมให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแล้วนั้น ปัญหาของสังคมออนไลน์อาจมีน้อยลงก็เป็นไป แต่ปัจจุบัน เมื่อคนละเลยถึงการเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของคนด้วยกัน รัฐจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน ณ จุดนี้เองที่ปัญหาได้เกิดขึ้น กล่าวคือ ถึงแม้การมีกฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐสามารถกำกับ ดูแลสังคมออนไลน์ให้ไปในทิศทางที่เหมาะสม ไม่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อผู้ใช้ด้วยกัน แต่ก็มีการถกเถียงในสังคมถึงเนื้อหาที่คลุมเคลือของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งสุ่มเสี่ยงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้ในทางละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้ เนื้อหาดังกล่าวอยู่ในมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ความดังนี้ “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)” ความคลุมเคลือของฐานความผิด และโทษบางประการที่มีการทับซ้อนกับโทษที่มีอยู่ตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งอยู่แล้ว ได้ส่งผลให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการต่อต้านและไม่ยอมรับกฎหมายฉบับนี้ ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ผลดีตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ในหลักการ แต่โอกาสที่ผู้ใช้ซึ่งไม่มีเจตนาทำผิดหรือจงใจสร้างความเสียหายต่อสังคมก็มีโอกาสสูงที่จะโดนความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ผู้มีเจตนาแอบแฝงหรือจงใจสร้างความวุ่นวายให้สังคมรวมถึงละเมิดสิทธิผู้อื่นอาจไม่โดนความผิด เพราะในโลกสังคมออนไลน์ ความจริงที่ถูกบิดเบือนมีมากอย่างมหาศาล และความเท็จที่ถูกรับรู้กันว่าเป็นความจริงที่ถูกต้องก็มีมากอย่างมหาศาลเช่นกัน สิ่งที่จะทำให้สังคมออนไลน์อยู่ในทิศทางที่เหมาะที่ควรต่อตัวผู้ใช้ ก็คือมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตัวผู้ใช้เป็นสำคัญ กฎหมายถึงจะมีเนื้อหาที่ดีสักเพียงใดหากแต่ผู้ใช้ไม่มีความสำนึกต่อความรับผิดชอบและจริยธรรมขั้นพื้นฐานในด้านสิทธิและหน้าที่ กฎหมายนั้นก็จะไม่เป็นผล อีกทั้ง หากผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่ดำเนินการตามหน้าที่ในทางที่ถูกที่ควร กฎหมายก็จะไม่สัมฤทธิผลเช่นกัน ในการนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชน จึงได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ.2553 ด้วยเหตุผลความจำเป็นส่วนหนึ่ง คือ ในสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์รวมถึงเว็บไซต์ข่าวสารต่างๆ ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่การทำงานขององค์กรข่าว ซึ่งมีทั้งการใช้ประโยชน์ในระดับองค์กร ตัวบุคคล และผสมผสานเป็นจำนวนมาก แนวปฏิบัตินี้จึงเป็นการกำหนดให้สื่อมวลชนได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ในอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะด้วยการเข้าถึงที่ง่ายของสังคมโลกออนไลน์ ทำให้มีตัวแสดงที่เป็นทั้งสื่อ "ตัวจริง" และ "ตัวปลอม" เข้าไปใช้เครื่องมือที่ว่าเพื่อสื่อสารข้อมูลไปยังสาธารณะ ผลลัพธ์ที่เกิดคือ ข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวที่สร้างความเสียหายจึงเริ่มปรากฏมากยิ่งขึ้น เป็นที่มาให้องค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชนจำเป็นต้องร่างแนวปฏิบัตินี้ เพื่อให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนตัวจริงมีน้ำหนัก มีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยเนื้อหาหลักของแนวปฏิบัตินี้ เป็นการพูดถึงการที่สื่อมวลชนต้องพึงระวังในการหาข้อมูลและนำเสนอ กล่าวคือ ข้อมูลที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การนำเสนอต้องไม่เป็นการสร้างความเกลียดชังระหว่างคนในสังคมรวมถึงไม่ยุยงให้เกิดความรุนแรงจนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นเสียหายอย่างรุนแรงภายในชาติ ที่สำคัญในข้อที่ 7 ของแนวปฏิบัตินี้ได้พูดถึงสิ่งที่น่าสนใจไว้ด้วยว่า “การรายงานข้อมูลข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงแยก ‘ข่าว’ กับ ‘ความเห็น’ ออกจากกันอย่างชัดเจน พึงระวังการย่อความที่ทำให้ข้อความนั้นบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และพึงระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวซ้ำ” อีกทั้งในแนวปฏิบัตินี้ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์นี้ เป็นพื้นที่สื่อสาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการรับรองสถานะของสื่อออนไลน์ไปในตัวเลยว่า พฤติกรรมใดๆที่กระทำบนสื่อสังคมออนไลน์นี้ จะต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของแนวปฏิบัตินี้ คือ ข้อที่ 12 ของแนวปฏิบัติดังกล่าว ความว่า “หากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเกิดความผิดพลาด จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรอื่น ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องดำเนินการแก้ไขข้อความที่มีปัญหาโดยทันที พร้อมทั้งแสดงถ้อยคำขอโทษต่อบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ต้องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีโอกาสชี้แจงข้อมูลข่าวสารในด้านของตนด้วย” นั้น แสดงถึงการแสดงความรับผิดชอบของผู้ใช้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งนับเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่สำคัญยิ่งที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์ควรมี ไม่ใช่เพียงแต่สื่อมวลชนอาชีพเท่านั้น จากทั้งหมดทั้งมวล กฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำกับ ดูแลและตรวจสอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หากเราต้องการให้พื้นที่สังคมออนไลน์เป็นพื้นที่ที่ใครก็ตามสามารถใช้ได้อย่างอิสระโดยตั้งอยู่บนฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน แนวทางและวิธีการที่ดีที่สุด คือ ผู้ใช้ควรมีระบบกำกับ ดูแลและตรวจสอบกันเอง หากผู้ใช้มีมาตรฐานทางจริยธรรม มีจรรยาบรรณาในฐานะที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ดีแล้วนั้น สังคมออนไลน์ก็จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_5817.html วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอนประเภท-แบบต่างๆ วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอนประเภท-แบบต่างๆ Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ที่สามารถนำประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) Blog 2) Social Networking 3) Microblog 4) Media Sharing และ 5) Social News and Bookmaking โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. Blog มาจากคาเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress, blogger เป็นต้น ตัวอย่างการใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอน Learners.in.th เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการระบบบล็อกเพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้เขียนบันทึก เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัวของตน โดยเน้นที่การถ่ายทอดความรู้ด้วยตัวของเยาวชน เพื่อไม่ก่อให้เกิดการโจรกรรมทางวรรณกรรม และเป็นเสมือนแฟ้มสะสมงานของเยาวชนในผลงานทางด้านการเขียน รวมไปถึงครู อาจารย์ สามารถใช้พื้นที่เพื่อพัฒนาทางด้านการศึกษาให้กับเยาวชน และสามารถนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ปัจจุบัน Learners.in.th ได้รับการสนับสนุนหลักจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บล็อกเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนใส่ไปในบทความในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็นกลับ จะประกอบไปด้วยข้อความ รูปภาพ จุดเชื่อมโยงไปยังบล็อกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องนั้นๆ ที่นำเสนอ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเว็บบอร์ด (ห้องสนทนา) แต่จะแตกต่างกันตรงที่เราสามารถจัดการหน้าของบล็อกได้ด้วยเหมือนเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่จะเปลี่ยนแปลงส่วนใด เมื่อใดก็ได้ รูปที่ 2 หน้าแรกของ Learners.in.th ที่มา http://www.learners.in.th/home ในการนำบล็อกมาใช้เพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้ทั้งภาคเรียนแต่อาจเลือกใช้ในบางกรณีเพื่อทำให้การเรียนการสอนมีเทคนิควิธีการที่แปลกออกไป ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ 1. ผู้สอนกำหนดประเด็น การศึกษา โดยการกำหนดประเด็นของเรื่องที่จะให้ผู้เรียนเขียนหรือบันทึกให้ชัดเจนว่าต้องการเขียนหรือบันทึกเรื่องอะไร สื่อสารเกี่ยวกับอะไร เช่น ผู้สอนตั้งโจทย์ให้ผู้เรียนร่วมกันเขียนกิจกรรมเขียนบล็อกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 2. ผู้เรียนเริ่มเขียนบันทึก โดยรูปแบบการเขียนมีหลากหลาย เช่น การเขียนแบบเล่าเรื่อง เขียนบรรยายสิ่งที่รู้ กิจกรรม ความประทับใจหรือประสบการณ์ 3. เมื่อผู้เรียนเขียนบันทึกเสร็จแล้ว อาจมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในห้อง ซึ่งการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งจาเป็น เพราะจะนำไปสู่การต่อยอดความรู้ รูปที่ 3 ตัวอย่างการใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/529629 2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำ เพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์ การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์ เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook, Hi5, Bebo, MySpace และ Google+ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ Facebook ในการจัดการเรียนการสอน Facebook (เฟซบุ๊ค) คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ ติดต่อสื่อสาร ตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก สนทนาแบบโต้ตอบทันที นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งานเฟซบุ๊ค ผู้ใช้จะคอยอัพเดทแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มที่อยู่ในเฟซบุ๊คหรือแม้แต่ผู้ใช้เว็บไซต์อื่นที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค ยังสามารถสื่อสาร ส่งต่อหรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำให้สังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางและเข้มแข็งมาก ในการนำเฟซบุ๊คมาใช้เพื่อกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น สามารถนำเฟซบุ๊คมาใช้การแบ่งปันเรื่องราว ความรู้ แง่คิด ประสบการณ์ ทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้ การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทำได้โดยสร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน และสามารถนำเฟซบุ๊คไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนำเสนอสื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนำเสนองาน ผลงาน ฯลฯ ทำให้เกิดความน่าสนใจ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการพูดคุย แสดง ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บนเฟซบุ๊ก: ที่มา:http://www.facebook.com/media/set/?set=a.519271161422410.140907.289049341111261&type=3 ความคิดเห็น การสอบถาม การให้คาแนะนำและคาปรึกษา ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่มีโอกาสเรียนรู้มากย่อมได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเฟซบุ๊คสามารถสร้างประโยชน์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง นอกจากนี้ เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้หรือ แอพพลิเคชั่น (Applications) เพื่อการศึกษาจำนวนมากที่จะช่วยอานวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น “ไฟลส์ (Files)” สาหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน “เมกอะควิซ (Make a Quiz)” สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน “คาเลนเดอร์ (Calendar)” สาหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ “คอร์ส (Course)” สาหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียน ตัวอย่างเช่น “วีรีด (weRead)” สำหรับจัดการรายชื่อหนังสือให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น และ “คลาสโน้ตส์ (Class Notes)” สำหรับถ่ายภาพในขณะที่ครูผู้สอนเขียนเนื้อหาบนกระดาน หรือคัดลอกเนื้อหาที่เรียน แล้วนำไปโพสต่อเพื่อแบ่งปันผู้อื่นได้ (ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2554) 3. Micro Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความได้สั้นๆ ตัวอย่างของ Micro Blog เช่น Twitter, Pownce, Jaiku และ tumblr เป็นต้น โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด กล่าวคือสามารถเขียนข้อความแต่ละครั้งได้เพียง 140 ตัวอักษร ตัวอย่างการใช้ Twitter ในการจัดการเรียนการสอน Twitter (ทวิตเตอร์) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog สั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Micro-Blog ซึ่งสามารถให้ผู้ใช้ส่งข้อความของตนเองให้ผู้อื่นที่ติดตามทวิตเตอร์ของผู้เขียนอยู่นั้นสามารถอ่านได้ และผู้เขียนเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อน หรือคนที่กำลังติดตามผู้เขียนอยู่ได้ ซึ่งทวิตเตอร์ก็ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท social Media ด้วยเช่นกัน ในรูปแบบของทวิตเตอร์นี้ ที่เรียกว่าเป็น blog สั้นก็เพราะว่าทวิตเตอร์ให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า Profile ของผู้เขียน และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ โดยสามารถใช้ได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือจากโทรศัพท์มือถือ ทวิตเตอร์จัดอยู่ในกลุ่มไมโครบล็อก ซึ่งลักษณะร่วมของไมโครบล็อก มีดังนี้ 1. มีการจำกัดความยาวของข้อความกำหนดไว้ที่ 140 ตัวอักษร 2. มีช่องทางการส่งข้อความและรับข้อความที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์มือถือ/เว็บไซต์ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาพิเศษ (Client) โดยสามารถติดต่อผ่าน API 3. เผยแพร่ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) มีลักษณะคล้ายกับการส่งข้อความสั้น (SMS) แต่ข้อความไม่ได้นำส่งเฉพาะระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพียงสองคนเท่านั้น แต่ยังส่งไปถึงผู้ใช้งานที่ติดตามด้วย 4. มีข้อมูลหลากหลายเนื่องจากมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก 5. ข้อมูลมักถูกล้างออกไปจากระบบเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง (Flooded) เนื่องจากมีการโพสต์ข้อความมาก ข้อความใหม่จะแทนที่ข้อความเก่า 6. มีความง่ายในการใช้งาน ด้วยข้อจำกัดของจำนวนอักขระทำให้ข้อความมีขนาดสั้นไม่เสียเวลาในการพิมพ์ข้อความ จึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ส่งข้อมูลเข้าไปในระบบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ส่งผลให้เกิดการกระจายข้อมูลจากปากต่อปาก (Words of Mouth) ได้ง่าย รูปที่ 7 ตัวอย่างการใช้ทวิตเตอร์ ที่มา : http://conversations.nokia.com/2013/01/14/nokia-helping-put-twitter-in-everyones-hands/ นอกจากนี้ Davis (2008) กล่าวว่า ทวิตเตอร์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน ดังนี้ 1. สามารถใช้ได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนเพื่อการสื่อสารถึงกิจกรรมการเรียนการสอน 2. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการระดมความคิดเห็นและการสื่อสาร ด้วยข้อจำกัดเพียง 140 ตัวอักษร จึงเป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารที่กระชับตรงประเด็น 3. สามารถเป็นช่องทางสาหรับการรับฟังความคิดเห็น โดยผู้เรียนสามารถส่งคำถาม ความคิดเห็นหรือข้อสังเกตเข้าไปเครือข่ายเพื่อเรียนรู้ร่วมกันได้ 4. สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย ประเทศที่ห่างกันได้ 5. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประชุม สัมมนา การนำเสนอความคิดจากคนหมู่มากที่สามารถอัพเดทข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 6. สามารถใช้เป็นห้องเรียนเสมือนสำหรับการอภิปรายแสดงออกทางความคิด 7. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือการเพื่อค้นพบแหล่งความรู้ใหม่ 8. สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มคนที่มีความสนใจร่วมกัน 9. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสะท้อนความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้สอน 10. สามารถให้ผลลัพธ์ทางด้านการอัพเดทข่าวสารได้มีประสิทธิภาพมากกว่า อาร์เอสเอสฟีด (RSSfeed) ง่ายต่อการรับและการส่งข้อมูล เพราะมีช่องทางในการใช้บริการที่หลากหลาย ในการนำทวิตเตอร์มาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม โดยผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ 1. แนะนำให้ผู้เรียนติดตามผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา 2. นำเสนอและติดตามหัวข้อที่สนใจโดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # (hash tag) ซึ่งหากผู้ใช้ทวิตเตอร์คลิกที่แท็กดังกล่าวก็จะเห็นข้อความทวีตที่มีแท็กเหล่านั้น 3. สร้างกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันหรือเข้าร่วมเรียนวิชาเดียวกันหรือกิจกรรมเดียวกัน โดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # ข้อความที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้จะมีแท็กที่ขึ้นต้นด้วย #xmlws นอกจากนี้ได้ใช้ฟังก์ชันรายชื่อ (list) ของทวิตเตอร์เพื่อดูข้อความทวีตของผู้เรียนทุกคนในวิชาที่สอน ซึ่งการใช้ฟังก์ชันรายชื่อนี้เปรียบเสมือนการสร้างกลุ่ม ซึ่งในที่นี้ก็คือกลุ่มของบัญชีทวิตเตอร์ของผู้เรียนที่สอน 4. Media Sharing เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ แฟ้มข้อมูล เพลง หรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิก หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Media Sharing เช่น Youtube, Flickr และ 4shared เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ Youtube ในการจัดการเรียนการสอน Youtube เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเปิดให้ใครก็ได้นาคลิปวิดีโอที่ตนมีอยู่ไปฝากไว้ โดยใช้ระบบการให้บริการโดยใช้โปรแกรม Adobe Flash เรียบเรียงเนื้อหาบนเว็บไซต์รวมไปถึงไฟล์วีดิโอต่างๆ และสามารถนำฟังก์ชันต่างๆ ที่เว็บสร้างขึ้นมาไปช่วยในการเผยแพร่คลิปนั้นๆ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ Embed Code ที่ใช้ สาหรับแพร่กระจายคลิปต่างๆ ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก โดยผู้ใช้สามารถใส่ภาพวีดิโอเข้าไป เปิดดูภาพวีดิโอที่มีอยู่และแบ่งปันภาพวีดิโอให้ผู้อื่นดูได้ ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกลิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอ เป็นส่วนประกอบด้วย โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) โดยไฟล์วีดิโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นเพียงไฟล์คลิปสั้นๆ เท่านั้น ความยาวเพียงไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าชมได้ง่าย โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับไฟล์วีดิโอ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ล่าสุด ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด ไฟล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกชมได้อย่างสะดวก และยังมีบริการที่สามารถดูวีดิโอได้ทีละเฟรม โดยเลือกดูส่วนใดของวีดิโอก็ได้ ในการนำ Youtube มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน สามารถทาได้ดังนี้ 1. ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน เช่น สาธิตวิธีการทำอาหารเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพจริงสามารถนำไปปฏิบัติได้ หรือสอนภาษาอังกฤษ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ได้ 2. ผู้สอนสร้างกลุ่มของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม จากนั้นใช้ Youtube ในการเผยแพร่ผลงานของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนจัดทำผลงานจากนั้นนำเสนอผลงานผ่านทาง Youtube จากนั้นแบ่งปันให้เพื่อนสามารถเข้าไปดูผลงานได้ 3. ผู้เรียนใช้เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร เพิ่มเติมจากในห้องเรียน รูปที่ 10 ตัวอย่างคลิปวีดิโอบน Youtube ที่มา : http://www.youtube.com 5. Social News and Bookmarking เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและสามารถให้คะแนนและเลือกบทความหรือเนื้อหาใดที่น่าสนใจที่สุดได้ ผู้ใช้สามารถ Bookmark เนื้อหาหรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบได้ รวมทั้งยังแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ด้วย ตัวอย่างการใช้ Social News and Bookmarking ในการจัดการเรียนการสอน Social News เป็นเว็บไซต์กลุ่มข่าวสารที่ผู้ใช้สามารถส่งข่าว โดยผสม social bookmarking บล็อก และการเชื่อมโยงเนื้อหาเว็บเข้าด้วยกัน และมีการกรองคัดเลือกเนื้อหาในลักษณะการร่วมลงคะแนนที่ทุกคนเท่าเทียมกัน เนื้อหาข่าวและเว็บไซต์จะถูกส่งเข้ามาโดยผู้ใช้ จากนั้นจะถูกเลื่อนให้ไปแสดงที่หน้าแรกผ่านระบบการจัดอันดับโดยผู้ใช้ ซึ่งข่าวอาจอยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ การกระจายเสียง อินเทอร์เน็ต การบอกเล่าเรื่องราวของบุคคลอื่น หรือกลุ่มคน Social Media ชนิดนี้เป็นเครื่องมือในการบอกต่อและสร้างจำนวนคนเข้ามายังที่เว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น Current TV , หนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นต้น Social Bookmarking เป็นบริการบนเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยการแบ่งปันการคั่นหน้าไว้บนเว็บไซต์ผู้ให้บริการ เพื่อรวบรวม จัดเก็บ แบ่งหมวดหมู่ สืบค้น และโดยเฉพาะเพื่อการแบ่งปันเว็บไซต์หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์แก่คนอื่นๆ ที่สนใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Social News เช่น Digg เป็นต้น ในการนำ Social News และ Social Bookmarking มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ผู้สอนอาจใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเนื้อหา หรือนำเนื้อหาในข่าวมาเป็นประเด็นคำถามในการเรียนเพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ โดยอาจทำได้หลายวิธี เช่น ผู้สอนเป็นผู้นำข่าวมาเป็นประเด็นให้ผู้เรียนตอบ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันหาเนื้อหาแล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน หรือให้ผู้เรียนจัดกลุ่มแล้วช่วยกันเลือกประเด็นแล้วอภิปรายภายในกลุ่ม โดยใช้ Social Bookmarking เป็นแหล่งในการรวบรวมความรู้และจัดเก็บข้อมูลจากการสืบค้นของกลุ่มเพื่อแบ่งปันให้เพื่อนในห้อง เป็นต้น โพสต์เมื่อ 3rd February 2014 โดย สัมนาออนไลน์ หัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอน” http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_802.html ‘สื่อออนไลน์’ ครองใจผู้บริโภค ‘สื่อเก่า’ รอดไม่รอด ? แชร์ 70 70 สื่อเก่าเข้าสู่ยุควิกฤต เมื่อโลกผันเปลี่ยน เทคโนโลยีกำลังก้าวหน้าอย่างไร้ขีดจำกัดในยุคดิจิตอล ทำให้ผู้คนใช้ชีวิตแตกต่างไปจากอดีต ทว่าความก้าวหน้านี้ สะเทือนถึงวงการสื่อ ทำให้สื่อกระแสหลักที่เคยได้รับความนิยมอยู่ในช่วงขาลง และมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อมีสื่อใหม่อย่าง ‘สื่อออนไลน์’ เข้ามาแทนที่ หากย้อนไปในช่วงที่ผ่านมา สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสารหลายค่ายออกมาประกาศปิดตัวเหลือไว้เพียงตำนานกันเป็นทิวแถว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสถานการณ์ที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถรองรับภาวะ ‘ขาดทุน’ ได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งมาจากภาวะ ‘Digital Disruption’ ที่ ‘พ่นพิษ’ ใส่สื่อเก่าอย่างนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ไปจนถึงสื่อโทรทัศน์ เพราะคนรุ่นใหม่หันมาเสพสื่อออนไลน์เป็นหลัก จนทำให้สื่อเก่าเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมเท่าในอดีต แน่นอนว่าในยุคที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วผ่านมือถือ หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ และเสพสื่อสิ่งพิมพ์กันน้อยลง กระทั่งถึงจุดทีหนังสือพิมพ์ นิตยสารเริ่มหมดความสำคัญ ต้องทยอยปิดตัวลงทีละค่าย สองค่าย แม้แต่สื่อโทรทัศน์เองที่ขณะนี้ประชาชนเริ่มมีการเข้าถึงน้อยลงไปเรื่อย ๆ คอลัมน์ ‘วิเคราะห์ เจาะข่าว’ มีโอกาสได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ รองอธิการบดีสายงานสื่อสารแบรนด์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต อดีตนายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสังคมออนไลน์ ที่จะมาพูดถึงอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ ที่ก้าวขึ้นมามีอิทธิพลต่อผู้คนมากที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด รวมถึงคาดการณ์ทิศทางในอนาคตของสื่อกระแสหลัก ว่าจะยังคงอยู่ หรือต้องตายไปอย่างถาวร โลกออนไลน์ ทรงพลัง มีอิทธิพลแซงหน้าสื่อทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ? สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน นับวันยิ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์มากขึ้น ก่อนหน้านี้สื่อสังคมออนไลน์จะไม่มีน้ำหนักเท่าในปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้คนมุ่งเน้น ให้น้ำหนักกับประเด็นต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งประชาชน สถาบันสื่อสารมวลชน ภาครัฐ ต่างหันมาหยิบยกประเด็นบนโลกออนไลน์ไปจุดประเด็นต่อ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องราวเรื่องหนึ่งเท่าไรก็ไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์และเกิดเป็นกระแสโด่งดังขึ้นมา หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องรีบเร่งพากันลงพื้นที่ไปแก้ไขปัญหานั้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อออนไลน์ ที่นับวันยิ่งมีอาณุภาพมากขึ้น ๆ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ รองอธิการบดีสายงานสื่อสารแบรนด์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต อย่างกรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นเรื่องราวที่โด่งดังในต่างประเทศ กรณีที่ Ayu Razak หญิงสาวชาวมาเลเซียวัย 22 ปี ซึ่งทราบว่าตนเองไม่ใช่ลูกที่แท้จริงแต่กลับเป็นลูกที่ถูกรับมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม หลังจากนั้นเธอใช้เวลา 10 ปีในการตามหามารดาบังเกิดเกล้า แต่ไม่มีท่าทีว่าเธอจะได้พบกับแม่ของเธอเลย จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ เธอได้นำภาพของแม่ที่แท้จริง และข้อมูลบางส่วนที่เธอพอจะหาได้มา ‘ทวีต’ ตามหาในโปรแกรม ‘ทวิตเตอร์’ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีชื่อเสียงบนโลกออนไลน์มากที่สุดโปรแกรมหนึ่ง ผลปรากฏว่า เธอพบแม่ของเธอภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอาณุภาพของโลกโซเชียล ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำลายกำแพงของเวลาลงอย่างสิ้นเชิง ทุกวันนี้องค์กรสื่อ แต่ละองค์กร ต้องการทำคอนเทนท์ ดี ๆ ที่รวดเร็วและถูกใจผู้คนจับข้อมูลจากสื่อออนไลน์ ที่ทั้งเข้าถึงรวดเร็ว และง่าย มีให้เลือกมากมาย ในทุก ๆ วินาที มีคอนเทนท์ ข่าวสาร บนสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ออกไป เป็นการเพิ่มอิทธิพลให้สื่อสารออนไลน์มากขึ้น ๆ ซึ่งพลังของสื่อสังคมออนไลน์จะยิ่งทรงอิทธิพลไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมีสิ่งอื่นที่ใหม่กว่าเข้ามาทดแทน โดยพลังของสื่อสังคมออนไลน์อาจเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้แต่ย่อมต้องใช้เวลาเป็นปัจจัยสำคัญ สื่อเก่า มีการปรับเปลี่ยน ข้ามผ่านมาเป็นสื่อ ออนไลน์ ขณะนี้สื่อกระแสหลัก อย่างนิตยสาร หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ อยู่ในภาวะ ‘ขาลง’ บางคนมองว่าสื่อเก่าเหล่านี้อาจจะอยู่ได้อีกไม่นาน แต่กระนั้น ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ มองว่า สื่อเหล่านี้อาจจะมีจุดหมายที่หลายหลาย ซึ่งจำเป็นต้องปรับตัว จึงจะเดินหน้า หยัดยืนต่อไปได้ แต่หากสื่อไหนยังดื้อดึงจะทำสื่อรูปแบบเดิม ๆ อาจจะต้องปิดตัวลงไปในที่สุด “อวสาน โลกนิตยสาร” แผลงฤทธิ์ยุคดิจิตอล นิตยสารปิดตัวกันจ้าละหวั่น ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าสื่อหลายประเภท อาทิ ช่องโทรทัศน์ต่าง ๆ หันมาทำสื่อออนไลน์ที่หลากหลาย เป็นการเพิ่มมูลค่า สร้างสินค้า สร้างพรีเซนเตอร์ขึ้นในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่า ธุรกิจสื่อบันเทิงจะหันมาขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความสวยความงาม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ไปจนถึงการท่องเที่ยว และกลายเป็นว่าสินค้าใหม่ ๆ เหล่านี้ที่บางสื่อผลิตขึ้นมา กลับสร้างรายได้ให้องค์กรมากกว่ารายได้เดิมจากการทำสื่อ รวมถึงทำให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งนี้กลยุทธ์การสร้าง ดารา พิธีกร นักข่าว ให้มีชื่อเสียงเพื่อส่งออกคนเหล่านี้ ไปออกอีเว้นท์ต่าง ๆ และแบ่งสัดส่วนรายได้เข้าสู่ช่อง ตามสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คงไว้ซึ่งความอยู่รอดขององค์กร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ และอาจไปได้ดี ทุกวันนี้สินค้า1ชิ้นที่สร้างขึ้นมา อาจไปได้หลายช่องทาง นอกจากนี้การมีสินค้าใหม่ ๆ ควบคู่กันไป จะเป็นโอกาสให้องค์กรได้พบกับธุรกิจใหม่ ๆ อยู่ที่กล้าที่จะทำสิ่งที่ต่างจากคนอื่น ๆ หรือไม่ ปัจจุบันมีหลายสื่อไม่ยึดกรอบเดิม ฉีกกรอบออกไป หรือแม้แต่นักธุรกิจเข้ามาพัฒนาคอนเทนท์ของไทย ออกสู่คอนเทนท์ของโลก และการนำคอนเทนท์ของโลกกลับเข้าสู่ไทย การนำเข้าคอนเทนท์ที่ราคาไม่แพง จัดสรรปันส่วน กระจายไปสู่สื่อกระแสหลักต่าง ๆ อาทิ โทรทัศน์ บางคนซื้อคอนเทนท์ดี ๆ มาจากต่างประเทศ และมาจำหน่ายส่งให้ช่องต่าง ๆ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จได้ เพราะการลงทุนไม่สูงนักในทางตรงกันข้าม หากผลิตขึ้นมาเองใหม่หมดอาจต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่าวิธีนี้มาก ยังมีช่องทางมีอีกเยอะมากที่จะทำให้สื่อเดิมอยู่รอด สิ่งสำคัญคือ สื่อออนไลน์จะต้องเป็นตัวกระตุ้น เพราะทุกวันนี้ คนทุกเพศทุกวัน หันมาอยู่บนโลกออนไลน์กันมากขึ้น ดังนั้นการที่สื่อกระแสหลักผสานกับสื่อออนไลน์ ดักทางผู้ใช้ให้เข้ามาเสพสื่อได้ทุกทาง เติมความกลมกล่อมให้สื่อออนไลน์ อีเวนท์ พรีเซนเตอร์ กิจกรรมต่าง ๆ ให้ครบถ้วน จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับสิ่งที่สื่อสร้างสรรค์ขึ้นมาได้อย่างมากมาย และแน่นอนว่ากลยุทธ์ที่มีคนนำมาใช้แล้วประสบความสำเร็จ ก็ย่อมมีคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะอาจเกิดการหลงทาง หรือการคาดการณ์อนาคต ผิด วางแผน ผิด เช่นการคิดว่าการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ก็จำเป็นต้องผสานกับความคิดสร้างสรรค์เข้าไปด้วย เพราะจะช่วยดึงคนเข้ามาได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากของวงการสื่อในอนาคต สื่อกระแสหลักช่องทางใด อยู่ได้ สื่อใด ไปไม่รอด ? ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ เผยด้วยว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความนิยมของการเสพสื่อผ่านทางโทรทัศน์น้อยลง แต่โทรทัศน์จะยังคงเป็นสื่อที่อยู่ได้ทั้งในไทยและในโลกได้ เพราะเข้าถึงครอบครัวคนชั้นกลาง และผู้ที่เสพสื่ออยู่ที่บ้าน โทรทัศน์เป็นตัวเสริมภาพให้กับคนทุกระดับการศึกษา และทุกเพศวัย มีความหลายหลาย ต้นทุนในการเข้าถึงถูกมาก หากหายหรือตายไปจริง ๆอาจไม่เป็นผลดีต่อกลุ่มผู้บริโภค แต่ควรจะต้องมีส่วนในการทำให้ตัวเองอยู่ได้ ด้วยการเสริมกำลังในช่องทางอื่น ๆ เพราะหากอาศัยรายได้จากโทรทัศน์เพียงทางเดียวอาจไม่เพียงพอ ในส่วนของนิตยสาร หนังสือพิมพ์ มีความเป็นไปได้ว่าจะลดลงเหลือน้อยมาก แต่จะยังคงยังมีอยู่เช่น นิตยสารที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวสูงและชัดเจนมาก ซึ่งสร้างเกียรติภูมิแก่วงการ และตอบโจทย์คนที่ยังต้องการเสพสื่อช่องทางนี้อยู่ นอกจากนี้ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ ระบุถึงสื่อวิทยุ ที่ยังคงพอเหลืออยู่ แต่จะลดลงจากปัจจุบัน อาจจะเหลือคลื่นวิทยุเฉพาะกลุ่ม ซึ่งหลังจากนี้วิทยุอาจสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น กระนั้นสื่อวิทยุจะยังอยู่ได้ เพราะตลาดของคนขับรถมีมากเท่าไร วิทยุก็ยังคงอยู่รอด แม้ในอนาคตอาจมีเทคโนโลยีที่ใช้ขับรถแทนคนเข้ามา แต่น่าจะยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ทั้งหมดในเวลาอันใกล้ ขณะเดียวกันปัจจัยที่ทำให้วิทยุอยู่รอดคือการออกแบบโฆษณาให้แยบยล วิทยุต้องออกแบบโฆษณาให้ผู้ฟังเสพอย่างมีความสุขและไม่สร้างความรำคาญ ซึ่งวิทยุที่สามารถปรับตัวในเรื่องนี้ได้ จะสามารถอยู่รอด แต่จะต้องออกแบบให้ดี นอกจากนี้วิทยุอาจต้องสร้างกิจกรรมที่แปลกใหม่ ประเทืองปัญญา เข้ากับเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ รวมถึงกิจกรรมร่วมกับสื่อในรูปแบบที่สร้างสรรค์ แหวกแนวไปจากเดิมจะช่วยเสริมพละกำลังได้มาก แม้ในอนาคตโจทย์ของการทำวิทยุจะยากขึ้น แต่คุ้มค่าเพราะต่อไปค่าสัมปทานวิทยุจะถูกลงกว่าทุกวันนี้มาก การทำสื่อแบบไหนที่ตรงใจคนรุ่นใหม่มากที่สุด การทำสื่อให้ประสบความสำเร็จและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ต้องทำให้เหมาะกับคนกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก อย่าทำสื่อที่มัน mass หรือใช้วิธีหว่านแหมากเกินไป แต่การทำสื่อเจาะจงเฉพาะกลุ่มมากขึ้น สร้างกลุ่มเป้าหมายให้เล็กลง ย่อยลงไป เพื่อให้เกิด Brand royalty ให้คนชอบ รู้สึกน่าแชร์ เผยแพร่ต่อ พูดต่อ ทำให้สื่อเหล่านี้อยู่ได้ดี ซึ่งจะนำไปสู่เม็ดเงินจากกการโฆษณาของคนกลุ่มเล็ก ๆ นี้ได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำคอนเทนท์แบบหว่าน ๆ หรือกระจายความสนใจไปยังคนหมู่มาก ที่เคยได้รับความนิยมในสมัยก่อน ไม่ค่อยได้ผลเท่าไรในปัจจุบันแล้ว ยกเว้นโชค และทีมงานการผลิตที่เจ๋งมาก ๆ จริง ๆ จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เมื่อยุคหนึ่งสื่อหนึ่งเคยเรืองอำนาจ กอบโกยรายได้มากมายก็ย่อมมีวันต้องหมดยุค หากต้องการจะยังอยู่รอดในยุคดิจิตอลที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เพราะทุกคนสามารถหยิบจับเครื่องมือสื่อสาร สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นนักข่าว นักเขียน คนหนึ่งได้ จึงเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับคนทำสื่อว่าจะปรับตัวอย่างไรให้ตรงใจ ตอบโจทย์ผู้ใช้และยังเป็นผู้รอดชีวิตในพายุโลกาภิวัฒน์ลูกใหญ่ลูกนี้…. เนื้อหาโดย แก้วตา ปานมงคล จากบทสัมภาษณฺ์ ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ รองอธิการบดีสายงานสื่อสารแบรนด์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต อดีตนายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย Digital Disruptionข่าวสดวันนี้วิเคราะห์เจาะข่าวสื่อสิ่งพิมพ์สื่อออนไลน์สื่อเก่า อาหรับสปริง ถึง ‘วิกฤตซีเรีย’ สู่ความหวาดหวั่น ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ? Home / วิเคราะห์เจาะข่าว / อาหรับสปริง ถึง ‘วิกฤตซีเรีย’ สู่ความหวาดหวั่น ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ? ปาลญ์ ชญา April 18, 2018 25,567 แชร์ ไฟสงครามในประเทศซีเรียยังคงลุกโชนไม่สิ้นสุด ท่ามกลางซากปรักหักพัง และความบอบช้ำในประเทศที่ดูคล้ายว่าจะยากเกินเยียวยา เบื้องหลังความขัดแย้งทางการเมือง ที่ฝังรากลึกมานานกว่า 7 ปี ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่า ชะตากรรมของซีเรียในอนาคตจะจบลงเช่นไร ครั้งหนึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า หากสงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดขึ้นจริง ไฟสงครามจะเริ่มลุกลามมาจากประเทศ ‘ซีเรีย’ ทั้งนี้จากข้อสันนิษฐานดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์ล่าสุดที่ชาติพันธมิตรฝั่งตะวันตก ส่งกองกำลังโจมตีทางอากาศในซีเรีย โดยอ้างว่าต้องการทำลายฐานอาวุธเคมีที่ทางการซีเรียใช้ถล่มกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเมืองดูมา เขตกูตาตะวันออก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย การโจมตีของชาติตะวันตก 3 ชาติเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับช่วงที่มีข่าวใหญ่ แพร่สะพัดออก กรณีพิธีกรสถานีโทรทัศน์ของทางการรัสเซีย ออกมาประกาศเตือนประชาชนให้เตรียมพร้อมรับมือกับ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ เมื่อมีข่าวใหญ่ที่บ่งชี้ถึงความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจหลายชาติในเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ทั่วโลกเกิดความหวั่นวิตก ว่าอาจจะเกิดความรุนแรงลุกลามไปถึงขั้นใช้กำลังความรุนแรงทางทหาร และบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในอนาคต ดร.มาโนชญ์ อารีย์ ดร.มาโนชญ์ อารีย์ คอลัมน์‘วิเคราะห์เจาะข่าว’ ได้พูดคุยกับ ‘ดร.มาโนชญ์ อารีย์‘ หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางและการก่อการร้าย ในประเด็นวิกฤตการณ์สงครามกลางเมืองในซีเรีย และประเด็นเรื่องความหวั่นวิตกจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่เป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เปิดปม ‘สงครามซีเรีย’ พัฒนาจากอาหรับสปริง ที่ยืดเยื้อมานาน 7 ปี เพราะผลประโยชน์ทางอำนาจที่ซับซ้อน ระหว่างสหรัฐฯและรัสเซีย ดร.มาโนชญ์ อารีย์เล่าว่า อาหรับสปริง คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในตะวันออกกลาง ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับในภูมิภาคชาติอื่น ๆ โดยอาหรับสปริง มีจุดเริ่มต้นจากประเทศตูนิเซียจากนั้น การประท้วงก็ได้เริ่มลุกลาม จนขยายเป็นวงกว้างไปทั่ภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงแอฟริกาเหนือ อาหรับสปริง เหตุการณ์ ‘อาหรับสปริง’ ที่ประชาชนในตะวันออกกลางหลายประเทศ ลุกฮือขึ้นมาขับไล่ผู้นำของตนเอง ผลพวงจาก ‘อาหรับสปริง’ พัฒนามาสู่สงครามกลางเมืองใน ‘ซีเรีย’ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้นำและกลุ่มต่อต้าน ซึ่งยืดเยื้อมานาน และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่กระนั้นรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรีย กลับสามารถอยู่ในอำนาจมาได้อย่างยาวนาน กว่า 7 ปีหลังเกิดเหตุการณ์ที่เป็นชนวน ขณะที่ผู้นำตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบีย ถูกโค่นล้มโดยประชาชนได้สำเร็จไปตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้นำของประเทศเหล่านี้ ไม่มีมหาอำนาจหนุนหลัง หรือมหาอำนาจไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้ ต่างจากกรณีซีเรียที่มหาอำนาจทั้งสองเข้ามาหนุนหลังฝ่ายของตัวเองอย่างเต็มที่ กรณีความขัดแย้งในซีเรีย ที่ประชาชนพยายามโค้นล้มอำนาจของประธานาธิบดี อัสซาด แต่ฝ่ายรัฐบาลได้รับการหนุนหลังจากรัสเซียมาโดยตลอด เหตุผลหลักเกิดจากซีเรียเป็นพันธมิตรกับรัสเซียมาอย่างยาวนาน และซีเรียยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีผลประโยชน์กับรัสเซียอย่างมาก นอกจากนี้ สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในตะวันออกกลางทำให้รัสเซียเดินหน้าสนับสนุน ผลักดันให้อัสซาดอยู่ในอำนาจต่อไปอย่างเต็มกำลัง ชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ของชาติมหาอำนาจใหญ่ สหรัฐฯ-รัสเซีย ขณะนี้สถานการณ์ร้อนระอุในซีเรีย เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกให้ความสนใจ และมีจุดเริ่มต้นมาจากข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ที่ระบุว่ารัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาดแห่งซีเรีย ใช้อาวุธเคมีโจมตีฝ่ายกบฏในเมืองดูมา ในเขตกูตาตะวันออก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล แม้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ามีการใช้อาวุธเคมีจริงหรือไม่ เหตุใดรัฐบาลซีเรียที่กำลังจะยึดคืนอำนาจจากฝ่ายกบฏได้สำเร็จเบ็จเสร็จ และยึดคืนพื้นที่คืนมาได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงกำลังจะประกาศชัยชนะในประเทศในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ถึงเลือกใช้อาวุธเคมีในการโจมตีประชาชนตนเอง ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้สหรัฐฯ มีข้ออ้างที่จะเข้ามาแทรกแซงในซีเรียได้อีก ? มีการตั้งข้อสังเกตว่าทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศสที่เข้าปฎิบัติการทางทหารไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภา ทำให้รัสเซียมองว่าปฏิบัติการของตะวันตกและสหรัฐอเมริกามีเจตนาที่ต้องการจะขัดขวางการเข้าไปทำหน้าที่ขององค์การ OPCW หรือ องค์การห้ามอาวุธเคมี ที่เตรียมเข้าไปตรวจสอบการใช้อาวุธเคมี เพื่อยับยั้งการเปิดเผยความจริงทั้งนี้ข้อมูลทางฝั่งตะวันตกต่างกันไป ระบุว่าซีเรียขัดขวางการเข้าไปทำหน้าที่ขององค์กรนี้ ซึ่งมีความขัดแย้งในเรื่องข้อมูลระหว่าง 2 ฝ่าย เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่เพียงการต่อสู้กันในด้านกำลังทางทหารเท่านั้น แต่ทั้ง 2 ฝั่ง ยังต่อสู้กันด้วย ‘สงครามข้อมูลข่าวสาร’ ด้วย รัสเซีย และสหรัฐฯ ช่วงชิงชัยชนะในซีเรียเพราะเหตุใด ? Advertisement ดร.มาโนชญ์ อารีย์ กล่าวถึงประเด็นเรื่องการช่วงชิงอำนาจในซีเรียระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียว่า เป็นการช่วงชิง ค้ำจุนอำนาจใน ตะวันออกกลาง สหรัฐฯ และชาติตะวันตกได้ลงทุนลงแรงทุ่มเทเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีอัสซาดมาตลอด 7 ปี ขณะที่รัสเซียไม่ยอมวางมือจากซีเรียก็เพราะว่าไม่ต้องการให้สหรัฐฯ สามารถโค่นล้มประธานาธิบดีซีเรียได้ นอกเหนือจากนี้ หากสหรัฐฯ พ่ายแพ้รัสเซียในการแย่งอำนาจในซีเรีย ชาติพันธมิตรของสหรัฐฯในตะวันออกกลางอาทิเช่นซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล และอีกหลายหลายประเทศอาจจะเสียความมั่นใจในตัวสหรัฐอเมริกา และอาจจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับรัฐเซียว่า รัสเซียทุ่มเทสนับสนุนซีเรียอย่างเต็มตัว ทั้งเอากองทัพเข้ามา ในขณะที่สหรัฐฯ ยังให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรียผ่านตัวแทนเท่านั้น จึงเกิดการเปรียบเทียบกันได้ว่าบทบาทของรัสเซียที่เข้ามาช่วยซีเรียกับบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาสนับสนุนพันธมิตรของตัวเองยังแตกต่างกันมาก ด้วยเหตุที่สหรัฐฯ ไม่สามารถยอมรับสถานะ ‘พ่ายแพ้’ ในสมรภูมิการช่วงชิงอำนาจในซีเรียได้ ทำให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ ได้ประกาศว่าจะถอนตัวออกจากซีเรีย แต่คราวนี้สหรัฐฯ กลับไม่ยอมวางมือง่าย ๆ เพราะความขัดแย้งที่สะสม และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่แค่เรื่องราวระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียเท่านั้น แต่ยังมีพันธมิตรของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง และชาติพันธมิตรในยุโรปอย่าอังกฤษและฝรั่งเศสที่เข้ามาเกี่ยวโยง ซึ่งหากสหรัฐฯยอมแพ้ ความพ่ายแพ้นั้นจะนำมาสู่ผลประโยชน์ของอเมริกาที่ลดน้อยลงไป อังกฤษ ฝรั่งเศส พันธมิตร (ไม่) แท้ ของ ‘สหรัฐอเมริกา’ อีกสาเหตุหนึ่งที่น่าจับตามอง กรณีความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย กับ อังกฤษและฝรั่งเศส ที่แม้จะเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ แต่ก็ยังต้องพึ่งพาทรัพยากรพลังงานจากรัสเซียเป็นหลัก ทำให้แม้อเมริกาจะต้องการให้อังกฤษ ฝรั่งเศสรวมถึงประเทศอื่น ๆ คว่ำบาตรรัสเซีย แต่ไม่สามารถทำได้เพราะประเทศเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอยู่ ทั้งนี้หากสมรภูมิความขัดแย้งในซีเรีย จบลงที่ชัยชนะของฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะนำไปสู่โครงการวางท่อก๊าซจากซีเรียไปตุรกีแล้วก็ไปเข้าในยุโรป เพื่อที่จะให้ชาติตะวันตก ลดการพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียของยุโรป เมื่อนั้นเองรัสเซียจะสูญเสียอำนาจต่อรองกับยุโรป และอาจถูกคว่ำบาตรได้ง่าย ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้รัสเซียเอง ก็ยอมแพ้ในสมรภูมินี้ไม่ได้เช่นกัน สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ใช้ปฏิบัติการทางทหาร แทรกแซงต่างชาติ เพื่อเบี่ยงเบนปัญหาภายในของตนเอง ? ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือในตอนนี้ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส อาจใช้วิธีแทรกแซงความขัดแย้งในต่างประเทศ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากประชาชนในประเทศตนเอง จากปัญหาภายในให้ไปให้ความสนใจประเด็นร้อนแรงในต่างประเทศแทน รัฐบาลอังกฤษกำลังประสบปัญหาภายในประเทศอยู่ไม่น้อย หลังจากที่มีกรณีเรื่องการสังหารสายลับรัสเซีย จนกระทั่งทางการอังกฤษเริ่มถูกตั้งคำถามว่าอะไรคือหลักฐานหรือข้อเท็จจริงกันแน่ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ส่วนทางฝั่งของฝรั่งเศส ที่นำโดยเอ็มมานูเอล มาครง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งมาสักพัก แต่ประชาชนก็ยังไม่เห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอันของนายมาครง ดังนั้นการมีบทบาทในต่างประเทศก็ถือว่าเป็นผลงานชิ้นหนึ่งของนาย มาครงเช่นกัน ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังเจอมรสุม เพราะกำลังถูกตั้งข้อสังเกตในเรื่องความสัมพันธ์ กับรัสเซียในศึกการเลือกตั้งครั้งล่าสุด หนังสือที่วิจารณ์ทรัมป์ที่กำลังจะวางขาย จึงเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ กำลังใช้วิธีในการเบี่ยงประเด็นให้เป็นเรื่องภายนอกประเทศแทนปัญหาเหล่านี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวกลางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในซีเรีย เมื่อถามถึงประเด็นเรื่องที่จะมีองค์กรไหนเข้ามาไกล่เกลี่ยหรือแก้ไขสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งของ 2 ชาติมหาอำนาจอย่าง รัสเซียและสหรัฐฯ กล่าวได้ว่า คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติไม่ได้ถูกออกแบบมาให้แก้ไขข้อพิพาทระหว่างมหาอำนาจ หรือถูกออกแบบมาให้แก้ไขปัญหาข้อพิพาทของคู่ขัดแย้งที่เป็นมหาอำนาจเพราะท้ายที่สุดแล้วเขาก็จะใช้สิทธิ์ใน ‘วีโต’ (การยับยั้ง) ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ชาติมหาอำนาจได้ไม่มากนักและไม่สามารถคลี่คลายปัญหาที่เกิดได้ ขณะที่องค์การเหล่านี้ออกแบบมาเพียงเพื่อถ่วงดุลชาติมหาอำนาจระหว่างขั้วอำนาจต่าง ๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้นกลไกของเวทีโลกใหญ่ ๆ แทบจะไม่สามารถใช้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ได้เลย วลาดิเมียร์ ปูติน , บาชาร์ อัล-อัสซาด สงครามโลก ‘สงครามการค้า’ การช่วงชิงทาง ‘ภูมิรัฐศาสตร์’ สิ่งที่น่าจับตามองว่าสงครามที่จะเกิดขึ้นนั้น จะมาในรูปแบบ ‘สงครามการค้าโลก’ ที่จะเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐและจีนซึ่งน่าจะตามอง โดยล่าสุดมีการส่งสัญญาณการค้าของทั้งสองฝ่ายขึ้น ขณะที่สหรัฐฯและรัสเซียจะยังคงเป็นการแข่งขันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อช่วงชิงอิทธิพลพื้นที่ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงการหาพันธมิตรของตัวเองให้มากขึ้น ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ในมุมของนักวิเคราะห์หลายคน ให้ความเห็นว่าสหรัฐฯ ไม่เคยเข้าสู่สงครามที่ตนเองต้องอยู่ในภาวะ ‘เสี่ยง’ ในทางตรงกันข้ามหากสหรัฐฯ ตัดสินใจจะเข้าสู่สงคราม จะต้องผ่านการประเมินแล้วว่า ตนจะต้องได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน รวมถึงไม่มีประเทศที่ 3 เข้ามาช่วยฝั่งศัตรู และที่สำคัญสหรัฐฯต้องสามารถเผด็จศึกได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่อเมริกาจะต้องไม่เกิดความสูญเสียมาก เพราะฉะนั้น ‘มหาอำนาจ’ มักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางกำลังทหารให้ได้มากที่สุดอยู่แล้ว ทั้งนี้แม้ความขัดแย้งในซีเรียที่สหรัฐและรัสเซียต่างฝ่ายต่างไม่สามารถพ่ายแพ้ได้ จึงทำให้สถานการณ์ยื้อเยื้อยาวนาน แต่ทั้ง 2 ฝ่าย ย่อมต้องตระหนักได้ว่าอาจเดินมาถึงจุดที่อันตราย และจะพากันลงเหวกันทั้งคู่ เมื่อถึงจุดนั้นทั้งคู่จะหันหน้าเข้ามาพูดคุย หรือเจรจากันเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เพราะไม่ต้องการสูญเสียด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย ดร.มาโนชญ์ ชี้ว่า สิ่งที่น่าจับตามองคือ ความขัดแย้งในซีเรียมีพัฒนาการในตัวเอง ซึ่งในซีเรียมีจุดเริ่มต้นจากสงครามกลางเมือง และพัฒนามาเป็นสงครามตัวแทน หากไม่มีการแก้ไข อาจจะขยับขึ้นมาเป็น ‘สงครามในภูมิภาค’ เพราะมีคู่ขัดแย้งหลายประเทศและแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน มหาอำนาจมีการใช้ประเทศในภูมิภาคเป็นตัวแทนของตัวเองในสมรภูมิต่างๆ ที่น่าจับตามองจากนี้ไปก็คือ ประเทศคู่ขัดแย้งอาจจะยกระดับมาเป็นการเผชิญหน้ากันโดยตรง โดยชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และรัสเซีย อาจมีทางหนีทีไล่ หรือออกไปจากพื้นที่ความขัดแย้ง ก่อนจะเกิดการสู้รบขึ้นด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม สงครามที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เพราะมีฝ่ายฝ่ายหนึ่งที่ได้ผลประโยชน์ หากทุกฝ่ายเสียประโยชน์ สงครามไม่อาจจะเกิดขึ้น เพราะจะต้องมีการประเมินแล้วว่าทุกฝ่ายได้รับผลเสียทั้งหมด แต่หากถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์สงครามอาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องติดตามกับต่อไป ส่วนประเด็นของสงครามโลกโดยเฉพาะสงครามโลกในแบบเก่าเก่าที่เราเคยเห็นในโลกยุคปัจจุบันค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เพราะปัจจุบันมีปัจจัยและความเชื่อมโยงกันที่ซับซ้อน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ มาเป็นตัวแปร https://news.mthai.com/webmaster-talk/news-focus/634180.html . ต่างแพลตฟอร์ม ต่างวิธีการ คอนเทนต์บนโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ต่างกันฉันใด คอนเทนต์บนโลกออนไลน์ก็ต่างกันฉันนั้น นอกจากเรื่องรูปแบบที่ต่างกันแล้ว (วีดีโอ, เสียง, ภาพ หรือตัวหนังสือ) แพลตฟอร์มที่ต่างกันก็มีวิธีการใช้งานที่ต่างกันเช่นเดียวกัน เว็บไซต์ อาจจะเหมาะสำหรับการทำคอนเทนต์ยาวๆ และคอนเทนต์ประเภท Evergreen คอนเทนต์บน Facebook ในช่วงนี้ก็อาจจะเป็นการทำ Live หรือวีดีโอ คอนเทนต์บน Twitter ก็อาจจะเน้น Tweet ข่าวสั้นๆ และใน 1 วันควรจะต้อง Tweet มากกว่า 1 ครั้ง สิ่งที่คุณควรทำคือการเฝ้าดูพฤติกรรมของคนที่อยู่ในแต่ละแพลตฟอร์ม และทำความเข้าใจ เพราะคอนเทนต์ ต่อให้ดีแค่ไหน ถ้าอยู่ผิดที่ผิดทาง มันก็อาจจะไม่สามารถเปล่งพลังได้อย่างที่ควรจะเป็น 3. อย่าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน “Mass is bad” มองเผินๆ การที่คุณพยายามสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ทุกคนอาจจะเป็นเรื่องดี ตลาดยิ่งใหญ่ โอกาสยิ่งมาก แต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ เหรอ? ผมคิดว่าบนโลกออนไลน์มันไม่ใช่แบบนั้น เพราะยิ่งคุณทำคอนเทนต์ใน Topic ที่กว้างมากเท่าไหร่ ตัวตนของคุณก็จะยิ่งไม่ชัดเท่านั้น คำแนะนำของผมคือพยายามที่จะทำให้เรื่อง หรือหัวข้อที่คุณเขียน/รายงานแคบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Niche) เน้นโฟกัสไปเป็นเรื่องๆ ทำเรื่องนั้นให้มีคุณภาพสุดๆ จนใครก็ทำคอนเทนต์สู้คุณไม่ได้ แล้วคุณธุรกิจสื่อของคุณจะไปต่อได้บนโลกออนไลน์ครับ ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ Techcrunch ที่โฟกัสในเรื่องของ Startup โดยเฉพาะ หรืออย่าง Search Engine Land ที่โฟกัสเรื่อง SEO, SEM เป็นหลัก จำไว้ว่า “Niche is bliss” ครับ ?? Shifu แนะนำ คำว่า Niche ของผมในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้คุณโฟกัสในอุตสาหกรรมที่เล็กมากๆ แต่เป็นหัวข้อเล็กๆ ที่คุณสามารถทำให้ดี และแตกต่างได้ และที่สำคัญอยู่ในอุตสาหกรรมที่ “มีคนต้องการ” และ “ทำเงินได้จริง” ถ้าให้คิดเร็วๆ และให้แนะนำ ผมจะแนะนำให้ทำสื่อที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเงิน ธุรกิจ ฟิตเนส การตลาด การพัฒนาตัวเอง อสังหาริมทรัพย์ หรือเกม (ทั้งนี้คุณต้องไปหาข้อมูลต่อว่าควรทำรึเปล่า และคุณมีความสนใจ และมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ จริงๆ รึเปล่า) ไว้ถ้ามีโอกาส เดี๋ยวจะมาเขียนวิธีการเลือก Niche ที่น่าสนใจให้ได้อ่านกันครับ 4. การขายโฆษณาไม่ใช่ทางเลือกเดียวของสื่อออนไลน์ แน่นอนว่าวิธีการหารายได้ด้วยการโฆษณานั้นเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุด แต่บางครั้งมันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ผมขออนุญาตแชร์วิธีการหารายได้ของสื่อออนไลน์ที่ผมคิดว่ามันเวิร์ค เกี่ยวข้อง และน่าสนใจมาให้ได้อ่านกันนะครับ วิธีที่ 1 การทำ Banner / Ad Network การโฆษณาแบบติด Banner หรือติด Ad Network (เช่น Google Adsense) นี้เป็นวิธีการโฆษณาแบบพื้นฐานที่สุดในการหารายได้สำหรับสื่อออนไลน์ สื่ออย่าง Forbes เองก็ใช้วิธีนี้ในการหารายได้เช่นกัน วิธีที่ 2 การทำ Sponsored Post / Advertorial วิธีการนี้คือการที่แบรนด์มาจ้างสื่อออนไลน์ในการโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือ Social Media ก็สามารถทำได้หมด ผมขออนุญาตไม่ยกตัวอย่างแล้วกันนะครับ เชื่อว่าคุณน่าจะเห็นมาบ่อย เพราะวิธีนี้สื่อออนไลน์ในไทยใหญ่ๆ ทำแทบจะทุกเว็บครับ วิธีที่ 3 การทำ Affiliate Marketing การทำ Affiliate Marketing ถือเป็นหนึ่งในการทำ Performance Marketing ความหมายคือถ้าสื่อช่วยให้แบรนด์ขายของได้ สื่อถึงจะได้เงิน แต่ถ้าสื่อช่วยแบรนด์ขายของไม่ได้ (ต่อให้จะหา Traffic หรือ Eyeball ให้กับแบรนด์มากแค่ไหนก็ตาม) สื่อก็จะไม่ได้เงิน ตัวอย่างของสื่อที่นิยมหาเงินด้วยวิธีนี้คือ Smart Passive Income (เว็บไซต์สอนให้คนหาเงินออนไลน์อย่างยั่งยืน) ของ Pat Flynn ครับ Shifu แนะนำ ถ้าสื่อของคุณอยากจะหารายได้ด้วยวิธีนี้ ความรู้แค่เรื่องการสร้างคอนเทนต์ไม่เพียงพอครับ คุณจะต้องเรียนรู้เรื่องอื่นๆ อย่างเช่นวิธีการเลือกสินค้ามาโปรโมต วิธีการสร้างคอนเทนต์ที่ Leads ไปสู่การขาย วิธีการเลือกซอฟต์แวร์?และเทคนิคต่างๆ อีกมากมายครับ ส่วนตัวผมเอง ผมไม่เก่งเรื่องนี้เลย แต่ผมรู้จักคนไทยที่เก่งในการทำ Affiliate Marketing ให้กับแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกอยู่ ไว้ถ้ามีโอกาส ผมจะเชิญเขามาเขียนให้ได้อ่านกันนะครับ : ) วิธีที่ 4 ขายบริการ ไม่ว่าคุณจะเป็นสื่อสายไหน สิ่งที่คุณจะต้องมีในการทำสื่อออนไลน์คือ “ความสามารถในการสื่อสาร” ซึ่งความสามารถแบบนี้นั้นเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ตลอดเวลา นอกเหนือจากการที่คุณทำคอนเทนต์บนช่องทางของคุณเองแล้ว คุณอาจจะขายบริการความเชี่ยวชาญของคุณให้กับแบรนด์ที่กำลังสนใจสิ่งที่คุณมีก็ได้ https://contentshifu.com/transition-online-publishing-guide/ ภัยร้ายออนไลน์ในวัยรุ่นไทย] “เครือข่ายสังคมออนไลน์” กลายเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น โดยวัยรุ่นใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการท่องเที่ยวในโลกออนไลน์ รวมไปถึงการหาคู่ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีการหาคู่ผ่านทางโลกออนไลน์ โดยพฤติกรรมการมีแฟนและเพศสัมพันธ์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (1) มีแฟนและกิ๊ก เป็นการหาแฟนและกิ๊กผ่านทางโซเชียลต่างๆ เพื่อมีเพศสัมพันธ์กับทุกคน (2) มีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องแฟนหรือกิ๊ก โดยจากการสำรวจวัยรุ่นชายจะมีการใช้สื้อออนไลน์หาคู่มากกว่าฝ่ายหญิง ส่วนในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์นั้น จะเกิดจากยินยอมหรือถูกบังคับก็ได้ และนี่คือปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น เด็กทุกวันนี้เสพสื่อต่างๆมากขึ้น จากอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์ แต่สังคมสื่อออนไลน์ก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่คอยจะทำร้ายได้ตลอด หากใช้มันอย่างไม่มีสติ ซึ่งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลเสียเช่น 1.สร้างให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมใหัเกิดขึ้น พฤติกรรมเลียนแบบ เป็นสิ่งที่ทสำคัญอีกอย่าง เช่น การแต่งตัวโป๊ๆ ลงตามสื้อออนไลน์ เช่น facebook instargram เพื่อเรียกยอดไลค์ให้เป็นจุดน่าสนใจ แต่ลืมมองผลเสียที่จะเกิดขึ้น 2.อาจตกเป็นเหยื่อของพวกผู้ร้ายหรือผู้ที่ไม่ประสงค์ดี พวกคนร้ายมีอยู่ทุกๆที่ อาจจะแฝงตัวอยู่ในสังคมออนไลน์ โปรแกรมสนทนาออนไลน์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเป็นช่องทางให้ถูกหลอกลวงได้ 3.ทำใหัละเลยกิจกรรมที่มีประโยชน์ การใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต หรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป ทำให้เด็กไม่ได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่ควรจะทำตามวัย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน พูดคุยกับครอบครัว รวมถึงการทำงานเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม 4.ลักลอบทำสิ่งผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์มากมายที่เป็นช่องทางแห่งอบายมุขและการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้าประเวณี การขายยาเสพติด การพนันออนไลน์ ซึ่งหากลูกเข้าไปดูไปชมเว็บไซต์เหล่านี้ก็อาจถูกชักชวนให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีได้ [ปัญหาเรื่องเพศ] เรื่องเพศออนไลน์ การรู้เรียนรู้เรื่องเพศของวัยรุ่นสมัยนี้ แค่คลิ๊ก! ก็เจอแล้ว อินเทอร์เน็ตเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเรียนรู้เรื่องเพศ แต่วัยรุ่นกลับใช้ในทางที่ผิด เสพเรื่องเพศจากเว็บไซค์ต่างๆ เช่น รูปโป๊ หนังโป๊ จึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ต้องยอมรับเลยว่าการที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตเพียงลำพังนั่นล่อแหลมมาก ซึ่งผู้ปกครองควรมห้คำแนะนำที่ดี เพื่อลดปัญหาที่จะตามมา การสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องเพศ การพูดคุยเรื่องเพศกับเด็กไม่ใช่เรื่องยาก แต่พ่อแม่ต้องให้เวลาและใส่ใจในรายละเอียดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเด็กอยู่ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัว เพื่อนฝูง ที่สำคัญคือต้องเข้าใจในวัยและพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเป็นอย่างดี ต้องพูดคุยสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ เรื่องเพศก็จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในการพูดคุยกับเด็ก ดังนั้น ในฐานะของคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ และให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่เด็กๆ ในการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์อย่าง หรือรู้จักการบล็อกเว็บที่เป็นอันตรายต่อเด็ก นี่แหละถึงจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ของลูกยุคออนไลน์อย่างแท้จริง http://pantae.com/content/466/?สื่อออนไลน์+ประโยชน์เยอะ+ภัยแยะ+ต้องแยกให้ถูก Social Media มีลักษณะดังนี้ 1 เป็นสื่อที่แพร่กระจายด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม ตรงนี้ไม่ต่างจากคนเราสมัยก่อนครับ ที่เกิดเรื่องราวที่น่าสนใจอะไรขึ้นมา ก็พากันมานั่งพูดคุยกันจนเกิดสภาพ Talk of the town แต่เมื่อมาอยู่ในโลกออนไลน์ การแพร่กระจายของสื่อก็ทำได้ง่ายขึ้นโดยเกิดจากการแบ่งปันเนื้อหา (Content Sharing) จากใครก็ได้ อย่างกรณีของป้า Susan Boyle ที่ดังกันข้ามโลกเพียงไม่กี่สัปดาห์จากการลงคลิปที่ประกวดร้องเพลงในรายการ Britain’s Got Talent ผ่านทาง Youtube เป็นต้น ทั้งนี้ Social media อาจจะอยู่ในรูปของ เนื้อหา รูปภาพ เสียงหรือวิดีโอ 2 เป็นสื่อที่เปลี่ยนแปลงสื่อเดิมที่แพร่กระจายข่าวสารแบบทางเดียว (one-to-many) เป็นแบบการสนทนาที่สามารถมีผู้เข้าร่วมได้หลายๆคน (many-to-many) เมื่อมีสภาพของการเป็นสื่อสังคม สิ่งสำคัญก็คือการสนทนาพาทีที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการร่วมกลุ่มคุยในเรื่องที่สนใจร่วมกัน หรือการวิพากษ์วิจารณ์สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยที่ไม่มีใครเข้ามาควบคุมเนื้อหาของการสนทนา แม้กระทั่งตัวผู้ผลิตเนื้อหานั่นเอง เพราะผู้ที่ได้รับสารมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรูปแบบของการเพิ่มเติมความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งเข้าไปแก้ไขเนื้อหานั้นได้ด้วยตัวเอง 3 เป็นสื่อที่เปลี่ยนผู้คนจากผู้บริโภคเนื้อหาเป็นผู้ผลิตเนื้อหา จากคนตัวเล็กๆในสังคมที่แต่เดิมไม่มีปากมีเสียงอะไรมากนัก เพราะเป็นเพียงคนรับสื่อ ขณะที่สื่อ จำพวก โทรทัศน์ วิทยุ หรือ หนังสือพิมพ์จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างมาก สามารถชี้ชะตาใครต่อใครหรือสินค้าหรือบริการใดโดยที่เราแทบจะไม่มีทางอุทธรณ์ แต่เมื่อเป็น Social Media ที่แทบจะไม่มีต้นทุน ทำให้ใครๆก็สามารถผลิตเนื้อหาและกระจายไปยังผู้รับสารได้อย่างเสรี หากใครผลิตเนื้อหาที่โดยใจคนหมู่มาก ก็จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลไป ยิ่งหากเป็นในทางการตลาด ก็สามารถโน้มนำผู้ติดตามในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยง่าย ถ้าอธิบายความหมายเพียงแค่นี้ หลายท่านอาจจะนึกภาพ Social Media ไม่ออก ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆก็คงจะต้องเปิดเว็บไซต์ต่างๆ ที่เผยแพร่กันอยู่บนอินเทอร์เน็ต ขึ้นมาสักเว็บไซต์หนึ่ง จะเห็นว่า บนหน้าเว็บไซต์นั้น เราจะพบตัวหนังสือ ภาพ หรืออื่นๆ เราจะเรียกสิ่งที่นำเสนอผ่านหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวว่า สื่อ (media) แต่เนื่องจากสื่อดังกล่าวที่เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตเหล่านั้น เราจึงเรียกว่า สื่อออนไลน์ (หมายถึงสื่อที่ส่งมาตามสาย (line) ถึงแม้ปัจจุบัน จะเผยแพร่แบบไร้สาย เราก็ยังเรียกว่า ออนไลน์ ก่อนหน้านั้น การเปิดดูสื่อแต่ละเว็บไซต์นั้น ต่างคนก็ต่างเปิดเข้าไปดูสื่อออนไลน์ในเว็บไซต์เหล่านั้น ต่อมาจึงมีผู้คิดว่า ทำอย่างไร จะทำให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์นั้นๆ แทนที่จะมาอ่าน มาดูสื่อเพียงอย่างเดียว ทำอย่างไรให้สามารถมาสร้างสื่อ เช่น พิมพ์ข้อความ หรือใส่ภาพ เสียง วีดิโอ ในเว็บไซต์นั้นได้ด้วย ซึ่งเว็บไซต์ที่พัฒนาในระยะต่อมาจะเป็นเว็บไซต์ที่ผู้คนทั่วๆไป สามารถเข้าไปเพิ่มเติมเนื้อหา หรือเพิ่มเติมสื่อได้ตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งมีผลทำให้เว็บไซต์เหล่านั้น เป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการสร้างสื่อ แทนที่จะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง ก็กลายเป็นเว็บไซต์ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นชุมชน หรือสังคมย่อยๆของผู้ที่ใช้เว็บไซต์นั้นขึ้นมา โดยเนื้อหาหรือสื่อที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์นั้น ก็เป็นสื่อที่คนในสังคมนั้นๆช่วยกันสร้างขึ้นมา แต่การพัฒนายังไม่หยุดยั้ง เพราะมีการคิดกันต่อไปอีกว่าทำอย่างไรที่จะให้คนในชุมชนหรือสังคมของคนใช้เว็บไซต์นั้นๆ นอกจากจะสามารถเพิ่มสื่อของตนเองแล้ว ยังสามารถที่จะสื่อสาร ติดต่อ โต้ตอบกันได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน มีเว็บไซต์จำนวนมากที่สามารถพัฒนาจนกระทั่งสร้างเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากนับเป็นล้านคน สามารถติดต่อสื่อสาร ส่งเรื่องราวต่างๆถึงกันได้อย่างกว้างขวาง ทำให้เรื่องราวที่ส่งถึงกันนั้น เป็นเรื่องราวของคนในสังคมออนไลน์นั้น กลายเป็นสื่อ หรือ media ที่สร้างโดยคนท่อยู่ในสังคมที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของ Social Media มากขึ้น จะขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นสังคมขนาดใหญ่มีสมาชิกเป็นล้านคนทั่วโลก แต่แต่ละคนที่มีเรื่องราวมากมายเผยแพร่บนเว็บไซต์ กลางเป็นแหล่งรวมของเรื่องรวหรือ สื่อออนไลน์ขนาดใหญ่ ซึ่งคนทั่วไปก็รู้จักดีคือเว็บไซต์ของ Facebook http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=718วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2561)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลงแบกฮัก
คลิก ฟังเพลงที่นี่ เพลง: แบกฮัก ศิลปิน: Suno (ท่อนแรก) เอาไปเถอะลูก บ่ต้องซื้อเขากิน ถุงข้าวที่แบกมา เต็มไปด้วยฮักอ้าย บ่แม่นแค่ข้าวสารเม็ดง...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น