วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ ๒-๒.๑.๗ จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์-จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ethics


บทที่ ๒-๒.๑.๗ จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ 

-จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ethics 

-สถานการณ์สื่อออนไลน์ในสังคมไทยยุึคดิจิทัล 

-ข้อมูลสื่อออนไลน์ 

-ข้อมูลสื่อเอไอ (๒.๑.๒.๑ ประเภทของสื่อออนไลน์(ลักษณ์ที่เป็นช่องทาง) 
(๒.๑.๒.๒ ประเภทของสื่อออนไลน์(ลักษณะที่เป็นตัวช่วยเทคโนโลยี)  

-จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ethics  
จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ethics เอากรอบอะไรวิเคราะห์ จรรยาบรรณ กฎหมาย ศีลธรรม กรณีศึกษาด้านจริยธรรมสื่อมวลชน สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของไม่เพียงความรับผิดชอบด้านกฎหมายเท่านั้น หาก การปฏิบัตหน้าที่ของสื่อมวลชนทั่วไปต้องมีความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณและกฎหมายแล้วยังต้องรับผิดชอบทางด้านจริยธรรมด้วย เพราะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ(ศรัทธา)ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่นี้ แต่ภาวการณ์หลายครั้งสื่อมวลชนยังประพฤติผิดหลักจริยธรรม ส่งผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวม และถูกวิพากษ์วิจารณ์ตามมาโดยเรียกร้องสื่อมวลชนใช้จิตสานึกชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล โดยจึงต้องใช้วิจารณญาณในการคัดเลือก และรายงานข่าว(piyanuch Samree,mediainsideout.net,http://noopiyanuch.blogspot.com/2013/08/blog-post_21.htmlวันที่ 14 สิ.หคม พ.ศ.2561) จรรยาบรรณ คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ขณะที่จรรยาบรรณการใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือจรรยาบรรณการใช้สื่อออนไลน์ คือ ข้อกำหนดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต พึ่งกระทำ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสงบ ไม่ขัดต่อกฎหมาย (เฉลิมพล เหล่าเที่ยง : บ.สายสุพรรณ จำกัด) 9. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 10. ต้องไม่รบกวน สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 2. ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ในกรณีที่ต้องนำมาใช้งานต้องอ้างถึงบุคคล หรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ 11. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 13. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 14. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 3. พึ่งระลึกเสมอว่าสิ่งที่นำเสนอบนอินเทอร์เน็ต อาจจะมีเด็กหรือผู้ที่ขาดประสบการณ์เข้ามาดูได้ตลอดเวลา ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลควรที่จะเป็นไปในทางที่ดี มีคุณธรรม 12. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 5. การใช้คำพูดควรคำนึงถึงบุคคลอื่นๆ ที่อาจจะเข้ามาสืบค้นข้อมูลที่มีหลากหลาย จึงควรใช้คำที่สุภาพ 4. ไม่ควรใส่ร้ายป้ายสี หรือสิ่งอื่นสิ่งใดอันจะทำให้บุคคลที่สามเกิดความเสียหายได้ 6. ไม่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่นให้หลงผิด หลงเชื่อในทางที่ผิด 1. ผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้อง ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ตั้งหมั่นอยู่บนกฎหมายบ้านเมือง 8. การกระทำความผิดทางอินเทอร์เน็ต บางกรณีเป็นอาชญากรรม ที่มีความผิดทางกฎหมาย 7. พึงระลึกเสมอว่า การกระทำผิดทางอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะติดตามหาบุคคลที่กระทำได้ โดยง่าย 15. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน 16. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_5817.html มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ความดังนี้ “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)” http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_5817.html พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ในประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความหมายของคำว่า "ลิขสิทธิ์" ว่า หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆ *การละเมิดลิขสิทธิ์ - การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง คือ การทำซว้ำดัดแปลง - การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม คือ การกระทำทางการค้า คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้สำเร็จการศึกษาตามระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา 1. รับผิดชอบ 2. ขยัน 3. ประหยัด 4. ซื่อสัตย์ 5. จิตอาสา 6. สามัคคี 7. มีวินัย 8. สะอาด 9. สุภาพ 10. ละเว้นอาบายมุข https://sites.google.com/site/internetjamesji/na-senx-neuxha-cak-kar-reiyn-ru-dwy-tnxeng/hnwy-thi-9-criythrrm-laea-kdhmay-thi-keiywkhxng-kab-kar-chi-xinthexrnetวันที่ 14 สิ.หคม พ.ศ.2561 จุดเด่นของสื่อสังคมออนไลน์ สะดวกและรวดเร็วในการเผยแพร่และการรับข้อมูลข่าวสาร จึงทำให้สื่อสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั้งของ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน แต่ก็มีทั้งข่าวจริงและข่าวเท็จ ข่าวมั่ว และข่าวลือ คนโพสต์ขาดการตรวจสอบ รับผิดชอบ และความตระหนักถึงความรับผิดตามกฎหมายในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในทางกฎหมาย การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ผิด มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ฐาน (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โพสต์ระบายความแค้นหรือกลั่นแกล้งผู้อื่น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ - ๓๓๐ ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น หากข้อความที่โพสต์ไม่เป็นความจริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ถูกกล่าวถึง ผู้โพสต์ข้อความจะต้องรับผิดทางแพ่ง ฐานกระทำละเมิดโดยการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็น ที่เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น โดยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ต้องเสียหายจากการโพสต์ข้อความนั้น นอกเหนือจากโทษทางอาญาฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้โพสต์ข้อความไม่รู้ว่าข้อความที่โพสต์นั้นไม่เป็นความจริงและตนเองหรือผู้รับข้อความมีส่วนได้เสียโดยชอบเกี่ยวกับเรื่องที่โพสต์นั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ สื่อในโลกออนไลน์ปัจจุบัน มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในหลายมิติ การกระทำต่างๆในกิจวัตรประจำวันของบางคนอาจจำเป็นต้องใช้สื่อเหล่านี้เข้ามาช่วยในทุกขั้นตอนของชีวิต ยิ่งในขณะนี้ที่สื่อสังคม (Social Media) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน เพราะลักษณะเด่นและเสน่ห์ของมันที่ทำให้การมีส่วนร่วมง่ายเพียงการพิมพ์หรือคลิก ผู้รับสารก็จะสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน เว็บไซต์จำพวก Facebook และ Twitter จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการนำเสนอข้อมูลของผู้ใช้ที่มีเนื้อหาความยาวไม่มากนัก ในปฏิญญาสากลว่าสิทธิมนุษยชนได้มีการรับรองเสรีภาพในลักษณะนี้ไว้ในข้อ 19 ว่า “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออกสิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิดโดยปราศจากความแทรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ก็มีการรับรองการกระทำประเภทนี้เช่นกัน ในมาตรา 45 วรรคแรก ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 ในมาตรา 35 มีระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชน จึงได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ.2553 ด้วยเหตุผลความจำเป็นส่วนหนึ่ง คือ ในสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์รวมถึงเว็บไซต์ข่าวสารต่างๆ ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่การทำงานขององค์กรข่าว ซึ่งมีทั้งการใช้ประโยชน์ในระดับองค์กร ตัวบุคคล และผสมผสานเป็นจำนวนมาก แนวปฏิบัตินี้จึงเป็นการกำหนดให้สื่อมวลชนได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ในอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะด้วยการเข้าถึงที่ง่ายของสังคมโลกออนไลน์ ทำให้มีตัวแสดงที่เป็นทั้งสื่อ "ตัวจริง" และ "ตัวปลอม" เข้าไปใช้เครื่องมือที่ว่าเพื่อสื่อสารข้อมูลไปยังสาธารณะ ผลลัพธ์ที่เกิดคือ ข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวที่สร้างความเสียหายจึงเริ่มปรากฏมากยิ่งขึ้น เป็นที่มาให้องค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชนจำเป็นต้องร่างแนวปฏิบัตินี้ เพื่อให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนตัวจริงมีน้ำหนัก มีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยเนื้อหาหลักของแนวปฏิบัตินี้ เป็นการพูดถึงการที่สื่อมวลชนต้องพึงระวังในการหาข้อมูลและนำเสนอ กล่าวคือ ข้อมูลที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การนำเสนอต้องไม่เป็นการสร้างความเกลียดชังระหว่างคนในสังคมรวมถึงไม่ยุยงให้เกิดความรุนแรงจนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นเสียหายอย่างรุนแรงภายในชาติ ที่สำคัญในข้อที่ 7 ของแนวปฏิบัตินี้ได้พูดถึงสิ่งที่น่าสนใจไว้ด้วยว่า “การรายงานข้อมูลข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงแยก ‘ข่าว’ กับ ‘ความเห็น’ ออกจากกันอย่างชัดเจน พึงระวังการย่อความที่ทำให้ข้อความนั้นบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และพึงระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวซ้ำ” อีกทั้งในแนวปฏิบัตินี้ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์นี้ เป็นพื้นที่สื่อสาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการรับรองสถานะของสื่อออนไลน์ไปในตัวเลยว่า พฤติกรรมใดๆที่กระทำบนสื่อสังคมออนไลน์นี้ จะต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของแนวปฏิบัตินี้ คือ ข้อที่ 12 ของแนวปฏิบัติดังกล่าว ความว่า “หากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเกิดความผิดพลาด จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรอื่น ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องดำเนินการแก้ไขข้อความที่มีปัญหาโดยทันที พร้อมทั้งแสดงถ้อยคำขอโทษต่อบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ต้องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีโอกาสชี้แจงข้อมูลข่าวสารในด้านของตนด้วย” นั้น แสดงถึงการแสดงความรับผิดชอบของผู้ใช้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งนับเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่สำคัญยิ่งที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์ควรมี ไม่ใช่เพียงแต่สื่อมวลชนอาชีพเท่านั้น จากทั้งหมดทั้งมวล กฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำกับ ดูแลและตรวจสอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หากเราต้องการให้พื้นที่สังคมออนไลน์เป็นพื้นที่ที่ใครก็ตามสามารถใช้ได้อย่างอิสระโดยตั้งอยู่บนฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน แนวทางและวิธีการที่ดีที่สุด คือ ผู้ใช้ควรมีระบบกำกับ ดูแลและตรวจสอบกันเอง หากผู้ใช้มีมาตรฐานทางจริยธรรม มีจรรยาบรรณาในฐานะที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ดีแล้วนั้น สังคมออนไลน์ก็จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post_5817.html จรรยาบรรณของสื่อที่ควรพึงมี! หลังจากมีเสียงวิพากวิจารณ์ต่างๆในความไม่เหมาะสม เมื่อมีสำนักข่าวแห่งหนึ่งของประเทศไทย ใช้โดรนบินตามฮอลิคอปเตอร์ MI - 17 เพื่อเก็บภาพขณะลำเลียงทีมหมูป่าชุดแรกไปยังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการทบทวนและตั้งคำถามว่า จรรยาบรรณของสื่ออยู่ตรงไหน? ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใด สื่อควรมีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณดังนี้ 1.ความเที่ยงธรรมและการนำเสนอข้อเท็จจริงในการรายงานข่าว - นักข่าวจะต้องปราศจากอคติและความรู้สึกส่วนตัว เสนอข่าวที่เป็นจริง มีความเที่ยงธรรม สมดุล ไม่บิดเบี้ยว 2.ควรให้สิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในการรับรู้ข่าวสาร - นักข่าวมักถูกท้วงติงจากสังคมว่า ปฏิบัติหน้าที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นซึ่งนักข่าวควรมีวิจารณญาณในการไตร่ตรอง ชั่งน้ำหนักในความเหมาะควรขณะปฏิบัติงานอยู่เสมอ 3.การใช้แหล่งข่าวปิดและควรปิดบังแหล่งข่าว - บางครั้งนักข่าวอาจต้องใช้แหล่งข่าวปิด หากเป็นกรณีข่าวเชิงสืบสวน จะไม่สามารถเปิดเผยแหล่งข่าวได้ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้แหล่งข่าวปิดมากจนเกินไปอาจถูกตั้งข้อสังเกตหรือวิพากษ์วิจารณ์จากคนอ่านได้ ว่าอาจนำไปสู่การบิดเบือน การเปิดเผยชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าว ในบางกรณี อาจมีผลถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเขาได้ เช่น เขาเป็นพยานสำคัญในคดี การเปิดเผยชื่อ อาจทำให้จำเลยหรือฝ่ายตรงข้ามถูกปองร้ายได้ 4.ไม่ควรรับของขวัญจากแหล่งข่าว - การรับของขวัญจากแหล่งข่าว เป็นการทำผิดจริยธรรม แต่หากเป็นของเล็กๆน้อยๆเช่น พวงกุญแจ ดินสอ ฯลฯ สามารถรับได้ แต่ถ้าเป็นของขวัญราคาสูงควรส่งคืนทันที 5. ควรแสดงตัวว่าเป็นนักข่าว และไม่ควรใช้อภิสิทธิ์การเป็นนักข่าวเพื่อเลี่ยงความผิด- แม้ว่าการไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวจะทำได้ในบางกรณี เช่น ข่าวสืบสวนสอบสวน เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อตัวนักข่าวได้ แต่ตามหลักจริยธรรมในการทำข่าวแล้วไม่ว่านักข่าวจะกำลังทำข่าวลักษณะใดก็ตาม นักข่าวต้องแนะนำตัวเองและแจ้งถึงวัตถุประสงค์ ของการสัมภาษณ์ให้แหล่งข่าวทราบ ในอีกกรณีหนึ่ง การแสดงตัวเป็นนักข่าว เพื่อใช้อภิสิทธิ์ในการได้รับบริการสาธารณะก่อนบุคคลอื่นๆ หรือการใช้ความเป็นนักข่าวอวดอ้างหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่ชอบธรรม ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักจริยธรรมด้วย 6.ไม่ควรแอบแฝงผลประโยชน์ใดๆในการรายงานข่าว- ปัญหาการทำข่าวโดยมีการแอบแฝงในเรื่องผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือเรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน มักจะถูกท้วงติงจากสังคมเรื่องความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวของนักข่าวอยู่บ่อยครั้ง แนวทางในการปฏิบัติของนักข่าวในเรื่องนี้ คือ ในการรายงานข่าวหรือบทความอันสืบเนื่องจากการที่ได้รับเชิญจากแหล่งข่าว ในการรายงานข่าวควรมีการระบุให้ชัดเจนไว้ท้ายบทความ หรือรายงานชิ้นนั้นว่า ข้อมูลมาจากที่ใด และใครเป็นผู้จัดการในการเดินทางครั้งนั้น หรือกรณีที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำข่าวที่นักข่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย บรรณาธิการอาจเปลี่ยนให้นักข่าวคนอื่นไปทำข่าวแทน 7.หากเห็นใจแหล่งข่าว ควรปรึกษาบรรณาธิการ หรือให้คนอื่นมาทำแทน - ปัญหาอีกประการหนึ่งที่กระทบต่อจริยธรรมในการสื่อข่าวและเขียนข่าว คือ ความอึดอัดใจของนักข่าวกับแหล่งข่าวที่สนิทสนมหรือใกล้ชิด และนักข่าวถูกขอร้องให้ปกปิดหรือไม่ให้ระบุชื่อแหล่งข่าว ญาติมิตร หรือเพื่อนพ้องที่ตกเป็นข่าวเนื่องจากตายโดยผิดธรรมชาติ หรือมีการกระทำที่น่าละอายในการเสนอข่าว หรือขอให้ปิดข่าว เพราะกลัวว่าจะทำให้ตนเองเสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออับอาย โดยนักข่าวเองก็รู้สึกอึดอัด และเกิดความขัดแย้งต่อภาระหน้าที่ของตน ขณะเดียวกันก็กลัวว่าหากไม่กระทำตามที่แหล่งข่าวขอร้อง ต่อไปอาจจะไม่ได้รับความร่วมมือในครั้งต่อไปอีก แนวทางแก้ไขคือ นักข่าวควรปรึกษากับบรรณาธิการ เพื่อให้นักข่าวคนอื่นทำข่าวนั้นแทน 8.ไม่ควรนำเสนอข้อมูลที่กระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ - พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.๒๕๔๐ เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าตรวจสอบเอกสารราชการได้ แต่ข้อมูลความลับของราชการ หากเปิดเผยอาจมีผลต่อความมั่นคงของชาติได้ หรือการรู้ข้อมูลการลดค่าเงินบาท และนำไปเผยแพร่ก่อนประกาศกระทรวงการคลัง ทำให้มีการใช้ข้อมูลภายในไปเป็นประโยชน์ในการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน 9.ไม่ควรเสนอข่าวที่พาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ - สถาบันกษัตริย์สำหรับประเทศไทยเป็นสถาบันสูงสุดที่ผู้คนให้การเคารพเทิดทูน การเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเรื่องที่อ่อนไหวอย่างยิ่ง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนในวงกว้าง การเสนอข่าวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ไม่ระมัดระวัง ไม่เพียงมีผลให้ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งความแตกแยกของคนในชาติด้วย หากสื่อยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ ก็จะทำให้สื่อมวลชนในประเทศไทยยกระดับและเป็นที่ยอมรับแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น -------------------------------------- Infographic Thailand รับผลิต Infographic / Motion graphic / Presentation / อบรม Infographic และ ผลิต Infographic ด้วยเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น AR VR 360 กรอกรายละเอียดบอกเราได้ที่ http://bit.do/goodreporter ที่มา: www.komchadluek.net จริยธรรมการใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคม ในกระ - สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ http://www.presscouncil.or.th/wp-content/uploads/2014/06/sakulsri.pdf วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2561 จากการศึกษาในงานวิจัยนี้พบว่า หลักจริยธรรมที่ควรมีการทบทวนบทบาทในการปฏิบัติงานข่าวบนสื่อออนไลน์และ สื่อสังคมได้แก่ประเด็นเรื่องความถูกต้อง ความเป็นกลาง การรักษาสมดุล ความโปร่งใส จุดยืนเรื่องการแสดงออกทางความคิด บทบาทในการคัดกรองข่าวสาร และการประสานสังคมไม่สร้างความขัดแย้ง นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์กรอบปฏิบัติที่มีอยู่ควบคู่ กับการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าการพัฒนากรอบจริยธรรมหรือแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมและสื่อออนไลน์ควรมีการก าหน กรอบภาพกว้าง ควบคู่กับการให้ค าอธิบายเชิงเทคนิคในการใช้งานเพื่อตอบโจทย์จริยธรรมภาพกว้าง เป็นคู่มือประกบเพื่อให้ผู้ ปฏิบัติน าไปปรับใช้งานได้จริง โดยการร่างกรอบจริยธรรมแนวปฏิบัติสื่อสังคมและสื่อออนไลน์ควรใช้กรอบในการพิจาร 5 เรื่อง คือ กรอบความรับผิดชอบของคนเองต่อสังคม, กรอบทางวิชาชีพ, กรอบข้อบังคับทางกฎหมาย, กรอบการใช้งานประสิทธิภาพ ของสื่อออนไลน์และสื่อสังคม , กรอบเรื่องการตลาดและโมเดลทางธุรกิจขององค์กร และความเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง องค์กรข่าว องค์กรวิชาชีพ และนักข่าวพลเมืองภาคประชาชนเพื่อสร้างมาตรฐานเดียวกันในการใช้สื่อสังคมและสื่อออนไลน์ เพื่อการรายงานข่าว ค าส าคัญ จริยธรรม, สื่อสังคม, ส าราญ สมพงษ์ รักษาการณ์ หัวหน้าโต๊ะข่าว เว็บไซต์คมชัดลึก อธิบายว่า สิ่งส าคัญของ การรักษาจริยธรรมในการใช้สื่อสังคมและข่าวเว็บไซต์คือการตรวจสอบข้อมูล หลักในการคิดปฏิบัติก็ เหมือนกับที่ท าสื่อดั้งเดิม แต่ต้องท าอย่างละเอียดในการตรวจสอบข้อมูล และระวังการน าเสนอข้อมูล มากขึ้น ทั้งนี้หลักที่ใช้ในการตัดสินใจต่อสิ่งที่จะท าให้รักษาจรรยาบรรณการท าข่าวไว้คือ “หลัก ผลกระทบ” ดูว่าข้อมูลนั้นมีผลกระทบอย่างไร มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน เป็นหน้าที่ที่ต้องรักษา ประโยชน์นั้นไว้ แม้ว่าต้องพิจารณาเรื่องยอดคนเข้าดูควบคู่ไปด้วย คือถ้าวันไหนยอดวิวไม่ถึงเป้าก็ต้อง มีการหาข่าว ท าข่าวเพิ่มขึ้น อาจต้องเล่นข่าวที่สุ่มเสี่ยงบ้าง แต่ถ้ายอดวิวถึงเป้าแล้ว ข่าวที่สุ่มเสี่ยงก็ไม่ จ าเป็น หน่วยที่ 9 จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต ความหมายของจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต หมายถึง หลักการที่มนุษย์ในสังคมยึดถือปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม สรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้ 1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) 3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต 1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - ตรวจสอบจดหมายให้บ่อยครั้ง - ลบข้อความที่ไม่ต้องการออกจากระบบกล่องจดหมาย 2. จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา - ควรสนทนากับผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย - ควรใช้วาจาสุภาพ 3. จรรณาบรรณสำหรับผุ้ใช้กระดานข่าว เว็บบอร์ด หรือสื่อทางข่าวสาร - เขียนเรื่องให้กระชับ - ไม่ควรคัดลอกจากที่อื่น 4. บัญญัติ 10 ประการ อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย ผลกระทบทางบวก - ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน - ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลกระทบทางลบ - ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม - เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต - ลิขสิทธิ์ (Copyright) - งานอันมีลิขสิทธิ์ - การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ - การคุ้มครองลิขสิทธิ์ - ประโยชน์ต่อผู้บริโภค จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้ จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เป็นบทการปฏิบัติเพื่อเตือนความจำ 1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ 10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท จรรยาบรรณ เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน กฎหมายและศีลธรรม (Motal) เป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสังคมมาช้านานเราพอเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า รัฐเป็นผู้ตรากฏหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับพลเมืองในอาณาเขตของรัฐ ขณะศีลธรรมเป็นข้อบัญญัติทางศาสนาซึ่งเป็นหลักความเชื่อของประชาชน จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน ลินดา เฮอร์นดอน ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้ 1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น 2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น 3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย 5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ 6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์ 7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ 8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน 10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ (Association of ComputerMachinery ACM Code of Conduct) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งมีดังนี้ 1. กฎข้อบังคับทางศีลธรรมทั่วไป 1.1 ทำประโยชน์ให้สังคมและความผาสุกของมนุษย์ ข้อนี้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนคุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน เคารพความหลากหลายของวัฒนธรรมทั้งหมด ลดผลด้านลบของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม 1.2 ไม่ทำอันตรายแก่ผู้อื่น อันตรายหมายรวมถึง การบาดเจ็บหรือผลต่อเนื่องด้านลบ เช่น การสูญเสียข้อมูลอันเป็นที่ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงปรารถนา หลักการข้อนี้ห้ามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปทำอันตรายต่อผู้ใช้สาธารณชน พนักงานและนายจ้างอันตรายนี้รวมถึงการจงใจทำลายหรือแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมที่ทำให้สูญเสีย หรือเสียเวลาและความพยายามของบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ทำลายไวรัสคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องรายงานสัญญาณอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลต่อความเสียหายของสังคมและบุคคล แม้ว่าหัวหน้างานจะไม่ลงมือแก้ไขหรือลดทอนอันตรายนั้น ก็อาจจำเป็นต้องแจ้งให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องทราบโดยอาจอาศัยผู้ร่วมวิชาชีพเป็นผู้ให้คำปรึกษา 1.3 ซื่อสัตย์และไว้วางใจได้ นักคอมพิวเตอร์ที่ซื่อสัตย์นอกจากจะไม่จงใจแอบอ้างระบบหรือการออกแบบที่หลอกลวงอันเป็นเท็จแล้ว ยังจะต้องเปิดเผยอย่างเต็มที่ให้เห็นข้อจำกัดและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมดอีกด้วย 1.4 ยุติธรรมและการกระทำที่ไม่แบ่งแยกกีดกัน ข้อบังคับข้อนี้ใช้คุณค่าของความเสมอภาค ความใจกว้างให้อภัย เคารพในผู้อื่น ความเที่ยงธรรม การแบ่งแยกกีดกันโดยเชื้อชาติ เพศ ศาสนา อายุ ความพิการ สัญชาติ หรือปัจจัยอื่นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ 1.5 ให้เกียรติสิทธิในทรัพย์สิน รวมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิ์บัตร แม้ว่าสิ่งซึ่งมีลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า การละเมิดข้อตกลงการใช้สิทธิ จะได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอยู่แล้ว แม้แต่ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง การละเมิดก็ถือว่าเป็นการขัดต่อการประพฤติทางวิชาชีพ การลอกหรือทำสำเนาซอฟต์แวร์จะต้องทำโดยมีอำนาจหน้าที่เท่านั้น การทำสำเนาวัสดุใด ๆ เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้ 1.6 ให้เกียรติแก่ทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องป้องกันหลักคุณธรรมของทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่างานนั้นจะไม่ได้รับการป้องกันอย่างเปิดเผยก็ตาม เช่น งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร 1.7 เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หลักการนี้ยังหมายถึง การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบเท่าที่จำเป็น มีระยะเวลากำหนดการเก็บรักษาและทิ้งอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง ข้อมูลนั้นจะถูกนำไปใช้ เพื่อการอื่นโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นมิได้ 1.8 ให้เกียรติในการรักษาความลับ หลักแห่งความซื่อสัตย์ข้อนี้ขยายไปถึงความลับของข้อมูลที่ไม่ว่าจะแจ้งโดยเปิดเผยหรือสัญญว่าจะปกปิดเป็นความลับ หรือโดยนัยเมื่อข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของผู้นั้นปรากฏขึ้น จริยธรรมข้อนี้เกี่ยวข้องกับการเคารพข้อบังคับทั้งหลายที่เกี่ยวกับความลับของขายจ้าง ลูกค้า ผู้ใช้ เว้นเสียแต่เปิดเผยโดยกฏหมายบังคับหรือตามหลักแห่งจรรยาบรรณนี้ 2. ความรับผิดชอบในวิชาชีพ 2.1 มุ่งมั่นเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด และให้ตระหนักถึงผลเสียหายที่สืบเนื่องจากระบบที่ด้อยคุณภาพ 2.2 ได้มาและรักษาไว้ซึ่งความเชี่ยวชาญแห่งวิชาชีพ 2.3 รับรู้และเคารพกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายแห่งรัฐ และกฎหมายระหว่างประเทศ 2.4 ยอมรับและจัดให้มีการสอบทานทางวิชาชีพ (Professional Review) 2.5 ให้ความเห็นประเมินระบบคอมพิวเตอร์และผลกระทบอย่างละเอียดครบถ้วน รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นไปได้ 2.6 ให้เกียรติ รักษาสัญญา ข้อตกลง และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย 2.7 ปรับปรุงความเข้าใจของสาธารณชนต่อคอมพิวเตอร์และผลสืบเนื่อง 2.8 เข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์และสื่อสารเฉพาะเมื่อได้รับมอบอำนาจตามหน้าที่เท่านั้นไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ซอฟต์แวร์ แฟ้มข้อมูลใด ๆ โดยไม่ได้ขออนุญาต 3. จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 3.1 ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า 3.2 รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร 3.3 ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง 3.4 คิดก่อนเขียน 3.5 อย่าใช้อารมณ์ 3.6 พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ 3.7 ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่ 3.8 ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ 3.9 ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า 3.10 รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก 3.11 ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน 3.12 อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง 3.13 ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง อ้างอิงข้อมูล http://tps610-13natthawut.blogspot.com/2014/03/1.html https://sites.google.com/site/supachok571031243/criythrrm-ni-kar-chi-thekhnoloyi-sarsnthes วันที่ 14 สิ.หคม พ.ศ.2561 จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อในการน าเสนอข่าวยุคดิจิทัล http://gscm.nida.ac.th/public-action/Journal/Vol.2-59/8.pdf วันที่ 14 สิ.หคม พ.ศ.2561 จริยธรรมในการใช้สื่อสังคงออนไลน์ จริยธรรมในการใช้สื่อสังคงออนไลน์ การใช้งานสังคมออนไลน์อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าใช้สังคมออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง ทุกเพศทุกวัย ดังนั้นทุกคนที่ใช้งานต้องมีวิจารณญาณในการเข้าใช้งาน มีจรรยาบรรณ มีคุณธรรมจริยธรรม ควบคู่กับการใช้ ลินดา เฮอร์นดอน (Linda Herndon) ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ ดังนั้นสามารถนาประยุกต์ใช้กับการใช้งานสังคมออนไลน์อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม 7 ประการ ดังนี้ 1. ไม่ใช้สังคมออนไลน์ทาร้ายผู้อื่น 2. ไม่ใช้สังคมออนไลน์รบกวนผู้อื่น 3. ไม่ใช้สังคมออนไลน์เพื่อการลักขโมย 4. ไม่ใช้สังคมออนไลน์เพื่อเป็นการเท็จหรือพยานเท็จ 5. ไม่ใช้สังคมออนไลน์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต 6. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของการใช้สังคมออนไลน์ 7. ใช้สังคมออนไลน์ด้วยความใคร่ครวญและเคารพต่อผู้อื่น อ้างอิง www.km.mut.ac.th ................................ กรณีศึกษาด้านจริยธรรมสื่อมวลชน ไม่เพียงความรับผิดชอบด้านกฎหมายเท่านั้น หากสื่อมวลชนยังมีความรับผิดชอบในด้านจริยธรรม ซึ่งนับเป็นหัวใจสาคัญของการทางานด้วย ความรับผิดชอบเป็นตัวกาหนด ความน่าเชื่อถือของสื่อ ทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดสาหรับสื่อมวลชน ก็คือ ความเชื่อถือ แต่ในความเป็นจริงหลายครั้งสื่อก็ประพฤติผิดหลักจริยธรรม ส่งผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวม และในที่สุดส่งผลต่อความเชื่อถือขององค์กรสื่อทั้งระบบ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และมีเสียงเรียกร้องให้ใช้จิตสานึกชั่งน้าหนักระหว่างสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล นักข่าวจึงต้องใช้วิจารณญาณในการคัดเลือก และรายงานข่าว อย่างเช่นกรณี อ้างอิง mediainsideout.net เขียนโดย piyanuch Samree ที่ 00:50 http://noopiyanuch.blogspot.com/2013/08/blog-post_21.htmlวันที่ 14 สิ.หคม พ.ศ.2561 ถ้ำหลวง กับสิ่งที่ผู้นำควรเรียนรู้จากอดีตผู้ว่าฯ เชียงราย https://thestandard.co/editors-desk-chiangrai-governor-lesson-learned/ การรายงานข่าว‘หมูป่า’ บทบาทสื่อและ‘กรอบ’จากรัฐ-สังคม Source - มติชนออนไลน์ (Th)Friday, August 03, 2018 12:00 47231 XTHAI XPOL POL V%WIREL P%MTCO การเสนอข่าว 13 หมูป่าติดถ้ำหลวง ถือเป็นอีกเหตุการณ์ที่มีการสะท้อนการทำงาน และวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อมากที่สุด มีการกำหนดกรอบและขอบเขตการทำงานของสื่อ โดยเฉพาะหลังช่วย 13 หมู่ป่าพ้นถ้ำ ซึ่งรัฐบาล ให้สื่องดเว้นการติดตามสัมภาษณ์ 13 หมูป่า การติดตามถึงบ้านเพื่อสัมภาษณ์หมูป่าโดยสำนักข่าวต่างประเทศ 2-3 แห่ง ถูกวิจารณ์โจมตีอย่างหนัก ในสื่อต่างประเทศ ซึ่งมีสภาพการทำงานในอีกเงื่อนไขหนึ่ง มีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการกู้ภัยจากประเทศตะวันตก และจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นข้อเท็จจริงในการกู้ภัยทั้งกระบวนการ ซึ่งหลายเรื่องไม่เป็นที่เปิดเผยมาก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความเป็นมืออาชีพ การเสียสละแม้กระทั่งชีวิตของตนเองของคณะกู้ภัย รวมถึงความกล้าหาญของเยาวชนหมูป่าและผู้ฝึกสอน ที่ทำให้คณะกู้ภัยประสบความสำเร็จในการนำทุกคนออกจากถ้ำกรอบการทำงานและวิธีการทำงานของสื่อในสถานการณ์พิเศษ คงจะยังเป็นที่ถกเถียงต่อไป โดยความลงตัวน่าจะอยู่ที่การนำเอาข้อเท็จจริงที่ประชาชนมีสิทธิรู้ออกมาตีแผ่ โดยเคารพในสิทธิของผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ไปพร้อมๆ กันต่อจากนี้เป็น “ความเห็น” ส่วนหนึ่งจากงานเสวนา “หมูป่าอะคาเดมี่กับแนวทางการรายงานข่าวในสถานการณ์กู้ภัย” จัดโดยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ศิปปชัย กุลนุวงศ์ ผู้สื่อข่าวประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักข่าวเอเอฟพี หาข้อมูลยากมาก ต้องรอแถลงข่าวการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ก็อาจไม่อยากเปิดเผยข้อมูล ช่วงแรกข้อมูลจึงมาจากการแถลงข่าวเป็นหลัก นอกจากนั้นต้องหาข้อมูลอื่นจากครอบครัวเด็กและโค้ช เอเอฟพีส่งนักข่าวเข้าไป 10 คน มาจากสำนักงานในหลายประเทศแถบเอเชีย การใช้นักข่าวเยอะขนาดนี้ ต้องเป็นข่าวใหญ่มาก การตัดสินว่าพฤติกรรมในการรายงานข่าวใดอยู่ในพื้นที่สีเทาหรือไม่ อยู่ที่ว่าเป็นมุมมองจากภาครัฐหรือมุมมองเสรีภาพสื่อ แต่คิดว่าควรมีตรงกลาง และไม่กระทบต่อการทำงานของภาครัฐ ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงสิทธิเด็ก เช่น การเผยแพร่ภาพเด็กที่มีสายระโยงระยางที่ผิดจริยธรรมสื่อชัดเจน ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้ช่วย บก.รายการข่าวสามมิติ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 การปกปิดข้อมูลภาครัฐบางจุดมากเกินไปจริงๆ ต้องเข้าใจสภาพสื่อที่อยู่ในรัฐบาล คสช. มีการควบคุมเข้มข้น แต่เราปฏิบัติตามกฎได้ เพราะเป็นเรื่องช่วยชีวิตคน เรื่องการใช้ยา ทางการไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกระจ่างชัด เพราะอาจมีขั้นตอนที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ครั้งนี้มีการปกปิดข้อมูลน้อย เพราะมีการเปิดเผยมากพอสมควร ต้องเข้าใจว่าสถานการณ์ลำบาก ดำรงเกียรติ มาลา ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ในทีมไปทำข่าวในพื้นที่เพียง 4 คน คือ นักข่าว ช่างภาพ 2 คน และผู้ช่วย โดยปกติบางกอกโพสต์ใช้ข่าวจากนักข่าวท้องถิ่น นักข่าวจากส่วนกลางจึงตามไปทีหลัง ผมเริ่มไปที่โรงเรียนของเด็กแต่ละคน เพื่อหาช่องทางติดต่อครอบครัวเด็กจากครูประจำชั้น โดยให้ถามพ่อแม่ก่อนว่ายินดีหรือไม่ บางครอบครัวก็เชิญไปที่บ้านเลย เพราะคิดว่าหากเจอเด็กแล้วทุกสื่อจะต้องมุ่งไปที่บ้านเด็ก และครอบครัวเด็กต้องตอบคำถามซ้ำๆ คนที่ไปแรกๆ จะได้ข้อมูลที่สุด สื่อส่วนใหญ่เคารพกติกาที่ภาครัฐตั้งไว้ อาจมีส่วนเล็กน้อยเท่านั้น ไม่อยากให้เหมารวมว่าสื่อแตกแถวทั้งหมด คิดว่าส่วนใหญ่ยังเป็นสื่อน้ำดี ช่วงที่เริ่มมีกระแสโจมตีสื่อเวลาไปสัมภาษณ์ชาวบ้านหรือเจ้าหน้าที่ ก็เตรียมใจล่วงหน้าแล้ว แต่พบว่าชาวบ้านเข้าใจและให้กำลังใจสื่อ เพราะคงเห็นการทำงานจริงที่เจอสถานการณ์ที่บีบคั้นทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ระหว่างการทำงานก็มีสื่อแอบเข้าไปในพื้นที่บริเวณ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพชัดที่สุด หรือแฝงตัวเข้าไปในโรงพยาบาล สุดท้ายคนที่ฝ่าฝืนก็ไม่สามารถเผยแพร่ผลงานออกมาได้ด้วยกระแสสังคม กรณีการฟังวิทยุสื่อสารของเจ้าหน้าที่นั้น ด้วยความที่สื่อต้องอัพเดตข้อมูลตลอดจากข้อมูลแต่ละจุด แต่เรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนว่า เป็นสีดำหรือสีเทา ส่วนเรื่องญาติเด็กผมเองก็ได้สัมภาษณ์ แต่เลือกไม่นำเสนอในบางมุม เมื่อภาครัฐขอความร่วมมือไม่ให้เข้าไปยุ่งกับชีวิตประจำวันเด็ก เราเห็นบทเรียนว่ากระแสสังคมไม่ได้อยากรู้ลึกขนาดนั้น สื่อที่นำเสนอแง่มุมนั้นก็โดนตีกลับเช่นกัน เหตุการณ์ถ้ำหลวงสะท้อนให้เห็นว่าพลังผู้รับสารมีมากขนาดไหน สื่อต้องปรับตัวตามทุกกระแสที่ออกมา ความเร็วอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง การขายดราม่าหรือได้ข้อมูลที่อาจกระทบความรู้สึกประชาชนส่วนใหญ่ ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด ฝากให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบสื่อต่อไป จะเป็นส่วนช่วยพัฒนาการทำงานของสื่อได้ เบญจพจน์ ทิพย์แสงกมล ผู้สื่อข่าวอาชญากรรม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไทยพีบีเอสเรามีจริยธรรมองค์กร ต้องคำนึงถึงหลายอย่าง ต้องระมัดระวังมาก ทุกคนต้องรู้ตัวเอง เรื่องสีเทา ไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่ เพราะการรายงานข่าวด้วยอารมณ์ความรู้สึกเป็นสถานการณ์ที่เร่งเร้าความรู้สึกคน บางช่วงบางตอนอาจมีใส่ไปบ้าง เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นตอนนั้น เห็นด้วยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และเรามีจริยธรรมครอบอยู่ ส่วนการปกปิดเรื่องยานอนหลับ คิดว่าครอบครัวรอฟังอยู่ อาจกระทบความรู้สึก แต่ก็เปิดเผยเป็นกรณีศึกษาในครั้งต่อไป ถ้าหมอไม่พูด ความรู้ตายตามหมอไปก็จะไม่มีความรู้มาใช้ในอนาคต นงนุช สิงหเดชะ, กรณี 'สื่อฝรั่ง' กับข่าว 13 หมูป่ามองหลายๆ มุมอย่า 'โอเวอร์รีแอ็กต์', บทความพิเศษ, มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 ส.ค. 2561 ที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_1069526 อบรมนักข่าวเพิ่มทักษะทำข่าวยามขัดแย้ง-ภัยมา http://www.banmuang.co.th/news/politic/119931 ส.นักข่าวอบรม"เซฟตี้เทรนนิ่ง"ปีที่9 เพิ่มทักษะทำข่าว Source - เว็บไซต์เดลินิวส์ (Th)Monday, July 30, 2018 09:38 3698 XTHAI XLOCAL XGEN RGN V%NETNEWS P%WDN สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรงและภัยพิบัติ” หรือ Safety Training รุ่นที่ 9 ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 26 – วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี เมื่อวันที่ 30 ก.ค.นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดการสัมมนา เชิงปฏิบัติการเรื่อง “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรงและภัยพิบัติ” หรือ Safety Training รุ่นที่ 9 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 ก.ค. เนื้อหาหลักสูตรเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งและภัยพิบัติ ไม่ให้เป็นผู้ขยายข้อความเพิ่มความขัดแย้ง หรือ Hate speech รวมทั้งเป็นผู้ตรวจสอบข่าวลือ ข่าวลวง หรือ Fake news ที่กำลังเป็นปัญหาของโลกออนไลน์ในปัจจุบัน จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง รองเลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า สำหรับการอบรม Safety Training เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ความรุนแรง จากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 เริ่มมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ Safety Training รุ่น 1 ในปี 2553 และจัดต่อเนื่องทุกปี มาจนถึงปัจจุบัน เป็นรุ่นที่ 9 แล้ว มีสื่อมวลชนที่ผ่านการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ Safety Training แล้ว รวมกว่า 300 คน ที่มา: www.dailynews.co.th แนวทางการสื่อสารพุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/387-25600830171031.pdf ชื่นชมจากใจจริง สามัคคีคือพลังจริงๆ จักร์กฤษ เพิ่มพูล 7 นาที ? JK สอนน้อง ข่าวการค้นพบ 13 ชีวิตเจ้าหมูป่า เป็นข่าวที่มี News Values หรือคุณค่าข่าว ครบองค์ประกอบเกือบทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องความสำคัญ ความสดใหม่ ความใกล้ชิด ความต่อเนื่อง ความมีเงื่อนงำ ความผิดปกติ และสำคัญสุดคือ Human Interest Paskorn Jumlongrach อยู่กับ Norravit Boom และอีก 3 คน 12 นาที ? บางแง่บางมุมจากตัวจริงเสียงจริง นักข่าวสนามหน้าถ้ำหลวง --------- การหายตัวไปของทีมหมูป่าตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 พร้อมกับการปรากฎตัวของกองทัพสื่อมวลชนซึ่งลงทะเบียนไว้กับศูนย์อำนวยการไม่น้อยกว่า 600 คนทั้งไทยและเทศ ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์คับขัน สื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ กลายเป็นความสับสนชุลมุนจนทำให้ความไร้ระเบียบในบางครั้งขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่เพราะฉะนั้นจึงเกิดคำถามดังๆขึ้นว่าสื่อมวลชนไทยมีกรอบกติกาในการทำข่าวสถานการณ์คับขันกันอย่างไร ปัจจุบันเรามีสื่อทีวีมากมาย ไหนจะสื่อออนไลน์อีก แต่ยังยึดติดกับการแข่งขันในรูปแบบเก่าๆ บางคนมุ่งเน้นเจาะข่าวโดยติดตามเจ้าหน้าที่ไปทุกแห่งกลายเป็นการ เรื่องการปฎิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนก็เช่นกัน ยังไม่มีกติกาใดๆ มากำหนด เพราะฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของตัวสื่อมวลชนเอง จริงๆแล้วควรมีคู่มือให้นักข่าวใหม่ๆที่ทำข่าวสถานการณ์เช่นนี้ด้วย” เสกสม แจ้งจิต จากกรมประชาสัมพันธ์มองว่า หากเป็นนักข่าวที่มีประสบการณ์ก็จะรู้ว่าควรมีระยะห่างแค่ไหน บางครั้งไม่จำเป็นที่เราต้องกรูกันเข้าไป เพราะทำให้กลายเป็นการเพิ่มความติดขัดให้กับเจ้าหน้าที่ “จิมมี่”รัชพล งามกระบวน ซึ่งอยู่ในทีมสำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย และทำให้เพจ “PR.Chiangrai ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย” มียอดเข้าชมถล่มทลายจากเริ่มต้นเพียง 7 พันครั้ง เพิ่มสูงสุดเป็น 11 ล้านครั้งเมื่อคืนวันที่ 2 กรกฎาคม ซึ่งเป็นโพสต์รายงานสดข่าวดีที่พบทั้ง 13 ชีวิตยังปลอดภัยอยู่ในถ้ำ “ผมคิดว่าที่คนเข้ามาดูกันมากเพราะเราต่างมีลูก ข่าวการหายไปกระทบใจคนมาก ในฐานะที่เราเป็นสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ เราจึงต้องนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ ซึ่งจากการสังเกตผมคิดว่าสื่อมวลชนที่มาทำหน้าที่ครั้งนี้ต่างให้ความร่วมมือกันดี แต่ละคนต่างมีแนวคิดที่ดี ข่าวที่สับสนในบางช่วงอาจเป็นเพราะว่าคนข้างนอกพวกนักเลงคีย์บอร์ดที่ไม่ได้ลงพื้นที่มากกว่า” ขณะที่ “นก”ปิติพร เพรามธุรส จากพีพีทีวี ซึ่งลงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน โดยขณะนั้นยังมีสื่อมวลชนไม่มาก เป้าหมายในการทำข่าวหน้าถ้ำหลวงครั้งนี้ว่าเพราะอยากให้คนในสังคมได้เรียนรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะผู้ใหญ่ควรคิดได้แล้วว่าในสถานการณ์คับขันเช่นนี้ การกู้ชีพหรือกู้ภัยควรเป็นอย่างไร สังคมไทยมีคนเก่ง มีผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆอยู่มากมาย แต่พอถึงเวลาคับขันสามารถ เราชักชวนเขามาร่วมแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ด้านสำนักข่าวต่างชาตินั้น ธัญญารัตน์ ดอกสน นักข่าวบีบีซี มองว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ และครั้งนี้ถือว่ามีสื่อต่างๆมากมาย โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่รายงานข่าวกันอย่างรวดเร็วเหมือนกับผู้ชมอยู่ในพื้นที่ด้วย จากเดิมเมื่อได้ข่าวมาก็ต้องไปกองไว้ก่อนนำเสนอ แต่เดี๋ยวนี้เหมือนผู้ชมได้ฟังสดๆจากพื้นที่ในทันที “สำนักข่าวต่างประเทศเขาจะซีเรียสในเรื่องเด็กมาก หากจะเอาภาพเด็กออกต้องขออนุญาตพ่อแม่หรือผู้ปกครองก่อน อยู่ๆจะเอาภาพเด็กไปออกอากาศเลยไม่ได้” ทางออกแก้ปัญหากำลังคนยุคใหม่ 4.0 รัฐ-เอกชนต้องร่วมใจ เร่งอัพสกิลคนดิจิทัล เร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรจะสามารถทำให้การขับเคลื่อนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเร่งด่วน เกิดเป็นแนวคิดและที่มาในการจัดการแข่งขัน ICDL Digital Challenge 2018 เพื่อยกระดับทักษะความรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) สู่มาตรฐานสากล, ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงค้นหาตัวแทนของประเทศไทยไปแสดงศักยภาพในการแข่งขันเวทีระดับนานาชาติ โดยมี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลและนางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการแข่งขัน นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวย้ำในพิธีเปิดการแข่งขัน ICDL Digital Challenge 2018 ว่า "การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการช่วยยกระดับและเดินหน้าพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาติไปสู่เป้าหมาย ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างรวดเร็วตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee 2 ชม. ? Thai School Lunch : AI เพื่อโภชนาการอาหารกลางวันเด็กไทย เมื่อวานนี้ (4 ก.ค 61) ตามที่ผมได้เรียนให้ทราบในโพสต์ที่แล้วว่าผมได้มีโอกาสร่วมคณะกับท่านนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา เพื่อลงพื้นที่ โรงเรียนวัดเกาะ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง นายกรัฐมนตรียังได้รับฟังสรุปแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนมีชัยพัฒนาของมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ และได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนักเรียนโรงเรียนวัดเกาะ ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยทางโรงเรียนได้จัดเตรียมเมนูเป็นข้าวกล้อง ต้มยำไก่ ไข่เจียว และผลไม้เป็นสับปะรด ท่านนายกรัฐมนตรีได้พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับเด็กนักเรียน และรับฟังรายงานการใช้ โปรแกรม Thai school lunch ซึ่งเป็นระบบโปรแกรมออนไลน์ที่มีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นตัวช่วยคำนวณอยู่เบื้องหลัง สำหรับจัดอาหารกลางวันของโรงเรียน ที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือในด้านวิชาการกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การใช้ระบบ Thai School Lunch นี้จะทำให้เกิดฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ที่จะได้รับจากการใช้งานระบบของโรงเรียนและหน่วยงานกว่า 50,000 แห่ง ทำให้หน่วยงานต้นสังกัดสามารถดูรายการอาหารกลางวันที่แต่ละโรงเรียนจัดให้เด็กนักเรียนของตนรับประทานได้ ในอนาคตระบบนี้จะยังเชื่อมโยงไปกับระบบติดตามพัฒนาการของนักเรียนที่เรียกว่า KidDiary ที่สามารถบันทึกนำ้หนักและส่วนสูงของเด็กนักเรียนควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ ระบบ Thai School Lunch จะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนงบประมาณการใช้จ่ายเงินในการซื้อวัตถุดิบได้อย่างครบวงจร โดยเมื่อคุณครูได้วางแผนเมนูของโรงเรียนล่วงหน้า ระบบจะแสดงวัตถุดิบที่ต้องใช้ในแต่ละวัน ดังนั้น โรงเรียนสามารถเชื่อมโยงกับชุมชนโดยรอบในการวางแผนเพาะปลูกและผลิตวัตถุดิบป้อนให้กับโรงเรียน เช่น ผัก เนื้อและไข่ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ พร้อมทั้งสนับสนุนเศรษฐกิจของชุมชนโดยรอบของโรงเรียนได้อีกด้วยครับ ผมเชื่อว่าสุขภาพของเด็กไทยเป็นเรื่องสำคัญครับ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบคุณค่าจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก การใช้ระบบออนไลน์แบบ Thai School Lunch จึงเป็นเรื่องที่ผมเห็นว่าควรสนับสนุนต่อไปครับเพราะจะทำให้เราคำนวนคุณค่า ปริมาณและราคาในการจัดอาหารกลางวันให้เด็กๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมครับ จุฬาฯถอดปรากฎการณ์ถ้ำหลวงเสนอทางรอด -หน้าที่สื่อไทย-รู้จักข้อมูล จี้สื่อไทยทบทวนหน้าที่ตนเอง นางพิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า สำหรับข่าวถ้ำหลวง เป็นข่าวร้อนที่พยายามเกาะสถานการณ์ ว่าเด็กหายไป และการเข้าไปติดตามสถานการณ์ต่างๆ จนกระทั่งพบเด็ก ซึ่งจากการวิเคราะห์ ทีมหมู่ป่า ติดถ้ำหลวง 24มิ.ย.-6 ก.ค. ข้อความรวม 559,810 ข้อความ Engagement รวม 165 ล้านกระแสสูงสุดเมื่อวันที่ 2-3 ก.ค. คือวันที่ค้นพบทีมหมูป่าทั้ง 13 คน และ ทวิตเตอร์ มีจำนวนข้อมูลสูงสุด 266,875 ข้อความ และตามมาด้วยเฟตบุ๊ค คือ 181,299 ข้อความ และถ้าดูในส่วนของเว็บข่าว ทำการวิเคราะห์ต่างๆ พบว่ามีข้อมูล 7,800 ข้อความโดยข่าวที่ได้การแชร์ในเฟสบุ๊คมากที่สุด คือ การเสียสละของโค้ช ข่าวพระครูบาบุญชุ่ม เด็กเขียนพื้นที่ละเอียด ฝรั่งที่เข้าไปช่วยชีวิต การพบตัวเด็ก และข่าวดีคนไทยมีน้ำใจ สังคมไทยว่าแสวงหาฮีโร่ “สังคมเป็นอย่างไรสื่อเป็นอย่างนั้น และสื่อเป็นอย่างไรสังคมเป็นอย่างนั้น โดยจากการวิเคราะห์การนำเสนอข่าวของสื่อไทย สะท้อนให้เห็นถึงสังคมไทยว่าแสวงหาฮีโร่ ซึ่งแสดงถึงความไม่เชื่อมั่นในตนเองของคน , การหาแพะ หรือการหาคนผิด, ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ และความมีน้ำใจของคนไทย ซึ่งส่วนตัว มีคำถามว่า สื่อจะเป็นกระจกที่สะท้อนสังคม หรือเป็นตะเกียงที่ส่องทางให้แก่สังคม ทั้งที่ในช่วงวิกฤต สื่อต้องทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจแก่สังคม ไม่ใช่เป็นเพียงการเล่าเรื่อง เพราะขณะนี้ทั่วโลกจับตาเรื่องดังกล่าวอยู่ ควรสร้างวิกฤตให้เหนือวิกฤต” นางพิจิตรา กล่าว นอกจากนั้น ขณะนี้ข่าวนี้เป็นข่าวดังระดับโลก ทั่วโลกช่วยกันจับตามอง และให้กำลังใจคนที่ปฎิบัติหน้าที่ ขณะเดียวกันแสดงให้เห็นว่าคนทั่วโลก อยากรู้ข่าว กระหายข่าว และต้องการข่าวสารรอบด้าน ดังนั้น การนำเสนอข่าวของสื่อไทย ไม่จำเป็นต้องด่วน และเร็วที่สุด แนะถอด4 บทเรียนสำคัญ นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถถอดบทเรียนได้ 4 เรื่องสำคัญ คือ 1.เรื่องความเชื่อของสังคมไทย โดยเฉพาะในเรื่องไสยศาสตร์ ซึ่งถ้าไสยศาสตร์ หรือร่างทรงมาให้กำลังใจก็จะทำให้ทุกคนรู้สึกดี แต่ในความจริงร่างทรงเข้ามาในพื้นที่และมาพูดจาว่าเด็กแย่ ก็จะเกิดผลเสีย 2.การเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี ขณะนี้ทุกคนนำเสนอข่าวโดยรอเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา และก่อนที่จะนำเสนอข่าวต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจน ไม่งั้นจะเกิดผลกระทบ เช่น เรื่องมีนำเสนอข่าว ดาวเทียมบนฟ้าที่ช่วยค้นหาเด็กในพื้นที่ลึกๆ ได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีเทคโนโลยีนี้ โดยเทคโนโลยีที่ดี น่าเชื่อถือ และสำคัญมาที่สุด คือเทคโนโลยีพญานาค หรือเครื่องสูบน้ำ อย่าคาดหวังกับเทคโนโลยีไฮเทค ควรวางแผนในสิ่งที่มีอยู่และใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 3.การให้ข้อมูลในการช่วยเหลือเด็ก ซึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อไทย ควรที่จะต้องนำเสนอในเรื่องของการช่วยเหลือเด็กที่ถูกต้อง เพราะหลังจากที่ทุกคนรู้ว่าพบเด็ก ก็พร้อมที่จะส่งอาหารไปให้ ทั้งที่ร่างกายของคนเรา หากขาดสารอาหาร 4-5 วัน การจะให้อาหารปกติ ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4749:2018-07-06-10-42-46&catid=168:2018-05-09-12-47-39 อ.นิเทศ จุฬาฯ ชี้สื่อไทยแสวงหาแพะ-ฮีโร่-ไสยศาสตร์ ย้ำข่าวไวสุดไม่ใช่ผู้ชนะ แนะดูญี่ปุ่นเป็นตย. Source - มติชนออนไลน์ (Th)Friday, July 06, 2018 17:43 14716 XTHAI XEDU EDU V%WIREL P%MTCO เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 กรกฎาคม ที่ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 14 เรื่อง “วิเคราะห์ปรากฏการณ์ถ้ำหลวงจากหลากมิติ” เพื่อนำเสนอองค์ความรู้จากนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อถอดบทเรียนจากการช่วยชีวิตผู้ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวม 13 ชีวิต ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน วิทยากรผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภูมิสารนสนเทศเพื่อประเทศไทย ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย อ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ (อ่านข่าว จุฬาฯ ถกปม ‘ถ้ำหลวง’ วิเคราะห์ปรากฏการณ์หลากมิติ ถอดบทเรียนช่วย 13 ชีวิต ชี้เพิ่งผ่านมาครึ่งทาง) ในตอนหนึ่ง ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หลายครั้งข่าวถ้ำหลวงออกมาในลักษณะเบรคกิ้งนิวส์ ถ้าพูดตรงๆ ก็เน้นเป็นข่าวที่ขายได้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้เป็นข่าวที่ทั่วโลกจับตามอง ในส่วนของการทำเบรคกิ้งนิวส์ ในทวิตเตอร์จะเห็นค่อนข้างมาก จากวันที่เกิดเหตุการณ์ ทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง 24 มิ.ย.- 6 ก.ค. 61 สร้างให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์รวมทั้งสิ้น 559,810 ข้อความ และสร้างการ เอ็นเกจเม้นท์ รวมทั้งสิ้นกว่า165 ล้านเอ็นเกจเม้นท์ โดยกระแสมีความพีคสูงสุดในวันที่ 2-3 ก.ค. 61 ซึ่งเป็นวันที่ทีมสำรวจจากประเทศอังกฤษและหน่วยซีลของไทยพบตัวผู้ศูนย์หายทั้ง 13 คน และวันที่ 3 ก.ค.61 เป็นวันที่มีเอ็นเกจเม้นท์ สูงสุดถึง 23 ล้าน เอ็นเกจเม้นท์ “อีกด้านหนึ่งสื่อต่างประเทศได้หยิบยกไปนำเสนอตามรูปแบบวัฒนธรรมของการเสพข่าวในประเทศของตนซึ่งนำมาถูกเปรียบเทียบระหว่างการทำข่าวของนักข่าวไทย ที่มุ่งเน้นไปด้านการแสวงหา แพะ, ฮีโร่ และเรื่องทางไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์เหนือธรรมชาติต่างๆ ซึ่งแตกต่างกับนักข่าวต่างประเทศที่ไม่เน้นการทำข่าวร้อน เน้นเป็นการเล่าเรื่องและคลี่คลายสถานการณ์และเก็บข้อมูลครบถ้วน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนในประเทศเขาได้ครบถ้วนมากขึ้น ตอนนี้อยู่ในช่วงที่ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รวมถึงพิบัติภัยในครั้งนี้ หลายประเทศต่างให้ความสนใจและได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่มาอย่างล้นหลาม หากพูดในฐานะสื่อ คิดว่าอยากให้ดูสื่อญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง ประชาชนล้วนแต่อยากได้ข่าวที่ครบและเข้าใจง่าย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้อยากบอกว่า ข่าวที่เร็วที่สุดไม่ได้เป็นผู้ชนะในเหตุการณ์นี้” ผศ.พิจิตรา กล่าว ด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า อีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้สื่อได้นำเสนอ ในเรื่องของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้ง 13 คน หลายกระแสบอกว่าจะส่งข้าวเหนียวหมู หรือบางแหล่งบอกว่าจะส่งอาหารอวกาศเข้าไปให้ทั้ง 13 คน ทาน แต่รู้หรือไม่ว่า หากทำเช่นนั้น จะทำให้เกิดอาการถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย แต่เนื่องจากได้มีผู้เชี่ยวชาญได้เข้าไปช่วยเหลือทั้ง 13 คน โดยการปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการให้น้ำเกลือก่อน ถึงจะค่อยๆ ให้กินอาหารอ่อนๆ เพื่อเป็นการปรับสมดุลในร่างการ จึงทำให้พวกเขาเริ่มมีอาการที่ดีขึ้น ที่มา: www.matichon.co.th ถก 3 บทเรียน เด็กติดถ้ำหลวง สื่อ-คนทำงาน-ข้อมูลทันสมัย Source - เว็บไซต์คมชัดลึก (Th)Friday, July 06, 2018 21:13 57705 XTHAI XLOCAL RGNL ECO V%NETNEWS P%WKC นางพิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน พบว่าประชาชนจะติดตามและสนใจเนื้อหาข่าวมากที่สุด คือ ด้านความเชื่อ ความรู้สึก สิ่งเร้นลับมากกว่าติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงทางวิชาการ สะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรมของสังคมไทย คือ แสวงหาฮีโร่ เพราะไม่มีความเชื่อมั่นใจตัวเอง, ค้นหาแพะ ในสถาการณ์วิกฤต และเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องเหนือธรรมชาติ ทำให้การเลือกนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนไทย จึงเลือกนำเสนอแบบติดตามสถานการณ์ เหตุการณ์เฉพาะหน้า ทำให้กลายเป็นคำถามต่อบทบาทดังกล่าวจะทำหน้าที่เพียงกระจกสะท้อนสังคม หรือ ตะเกียงส่องทางให้ ความรู้กับสังคม "เข้าใจว่าการทำงานของสื่อมวลชนมีความยาก เพราะต้องแข่งกับสื่อโซเชียลมีเดีย ที่เผยแพร่และส่งต่ออย่างรวดเร็ว ดังนั้นการรายงานข่าวช่วงวิกฤต สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ มีหน้าที่สร้างความเข้าใจให้กับสังคม รวมถึงให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน เมื่อเทียบกับการทำงานของสื่อต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่นำเสนอข่าวเยาวชนติดถ้ำที่เป็นแบบร้อยเรื่อง และนำเสนอข้อความที่ย้ำถึงการขอบคุณ และความเข้มแข็ง เพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ รวมถึงเล่าเรื่องอย่างรอบด้าน จากข้อมูลด้านความนิยมประชาชนพบว่ามียอดรับชมมีจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นว่าการนำเสนอข่าวเร็วที่สุดไม่ใช่ผู้ชนะในเกมนี้ แต่คือการนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน" นางพิจิตรา กล่าว ขณะที่นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมถอดบทเรียนที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวว่า อย่านำเสนอข่าวสาร โดยมุ่งไปที่ความคาดหวังกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งที่การช่วยผู้ประสบภัยดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากเทคโนโลยีที่มีร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่วางแผนปฏิบัติการ และ 3. ต้องปรับปรุงข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือนที่ทันสมัย และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จากกรณีที่สังคมออนไลน์เผยแพร่ป้ายหน้าถ้ำหลวง ระบุช่วงเวลาห้ามเข้า คือ เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน แต่เยาวชนที่เข้าไปในถ้ำ คือ เดือนมิถุนายน ดังนั้นสิ่งที่ต้องร่วมเรียนรู้คือ การพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ ทำให้ระดับน้ำในถ้ำท่วมสูงก่อนที่จะประกาศงดเข้าพื้นที่ "ในสังคมโซเชียลมีเดีย พยายามเสนอแนะต่อการให้ความช่วยเหลือเยาวชนที่ติดในถ้ำ หลากหลาย ทั้ง นำควันจุดในถ้ำ เพื่อรอดูควันที่ลอยออกสู่ทางปล่อง หรือโพรงของถ้ำ เพื่อใช้เป็นจุดขุดเจาะ นำตัวเยาวชนออกจากพื้นที่ หรือ ใช้เปลลำเลียง เพื่อให้หน่วยซีลนำตัวเด็กออกมา ซึ่งบางครั้งเป็นข้อเสนอแนะที่ดี แต่ต้องพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วย" นายเจษฎา กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงท้ายของเวทีเสวนา มีผู้เสนอความเห็น โดยกล่าวตำหนิไปถึงรัฐบาล ว่า จุดบกพร่องของรัฐบาลคือการไม่ตั้งศูนย์บัญชาการที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเป็นแหล่งและศูนย์ข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหาร่วมกับฝ่ายปฏิบัติงานในพื้นที่. ที่มา: www.komchadluek.net .คุณภาพสื่อฯ... ..ช่างแตกต่างกันเหลือเกินระหว่างให้สติคนด้วยปัญญา กับให้สติคนด้วยเรื่องไสยศาสตร์...ในวิธีการนำเสนอข่าวการกู้ภัยช่วยเหลือเด็กๆออกจากถ้ำ... ...ทีวีญี่ปุ่น...เสนอละเอียดยิบด้วย Model จำลองผ่าครึ่งภูเขาให้เห็นระบบโพรงในถ้ำว่าคดเคี้ยวแค่ไหน....พร้อมวิเคราะห์ความขุ่น~ ความใสของน้ำในถ้ำ เป็นฉาก เป็นขั้นเป็นตอน คนดูแล้วเข้าใจทันที ด้านสำนักข่าวเมืองฝรั่งทั้ง CNN BBC FOXNEWS และ ALJAZEERAH เสนอเป็นกราฟฟิค มีผู้เชียวชาญชอาทิ..แพทย์~นักจิตวิทยาเด็กมาให้ความรู้ว่า ในสถานการณ์แบบนี้ว่าควรมีคำแนะเด็กๆอย่างไร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดำน้ำในถ้ำ นักธรณีวิทยา เชิญผู้มีประสบการณ์การเจาะภูเขาช่วยชีวิตชาวเหมืองที่ชิลี มาให้ความเห็นกรณีถ้านำเด็กดำน้ำออกมาไม่ได้ ฯลฯ สื่อต่างชาติล้วนนำเสนอสาระ ยึดหลักวิชาการ และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้คนดูติดตามมีสติในการส่งกำลังใจช่วยเด็กๆ ด้านทีวีไทยหลายช่อง เสนอข่าวครูบา กับเหรียญครูบาที่ราคาพุ่งสูง... ....ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเฟสบุ๊ค.... Sakulsri Srisaracam 47 นาที ? Simple answer... Thesis นี้ ได้ข้อสรุปและข้อเสนอเพื่อเติม knowledge ใน field convergence & cross media อยู่ 2 เรื่องหลักๆ คือ - การสร้าง co-operative culture ให้เกิดขึ้นในกระบวนการทำข่าว #เพื่อsynergy พลังของทุกแพลตฟอร์ม สร้าง long-tail journalism โดย workflow จะตอบโจทย์ 3 steps คือ speed (ความเร็ว) - context (บริบท) - in-depth (ความลึก) ... หัวใจคือ process การทำงานร่วมกันในแบบที่แต่ละองค์กรจะทำได้ ตามธรรมชาติและข้อจำกัดของแค่ละองค์กร ... multi-skilled ถ้าทำได้คือดีมาก ถ้าไม่ได้ต้องใช้ new media team ให้เป็นประโยชน์ในการสร้าง long-tail journalism ร่วมกับทีม platform tradiotional media - เรื่องการเล่าเรื่อง เพิ่มเติมการศึกษาอื่นๆ โดยนอกจากจะดูวิธีการเล่าเรื่อง ลงรายละเอียดที่ #หน้าที่ของแต่ละเนื้อหา ที่จะปล่อยออกมาในแต่ละช่องทาง เพื่อเป็น entry point ให้คนที่แตกต่างเข้าไปสู่หัวใจของเรื่องได้ และแต่ละชิ้นต่อรวมกันเป็น jigsaw ให้ภาพของข้อมูลสมบูรณ์ที่สุด เพื่อตอบสนองกระบวนการ long-tail ในข้อแรก สองสิ่งนี้ สามารถ ตอบโจทย์คำว่า quality ได้ คือ 1. การเข้าถึงคนที่หลากหลาย ทำให้คนมีส่วนร่วม ตอบสนองพฤติกรรมรับข้อมูลเป็นส่วนๆ แต่ช่วยให้คนเจาะลึกเก็บข้อมูลได้ต่อเนื่อง 2. ให้คำอธิบาย ความเข้าใจรอบด้านต่อเรื่อง ผลักดันประเด็นให้มี impact ได้ 3. ใช้ความชำนาญของทีมแต่ละช่องทางให้เป็นประโยชน์ ไม่มีสื่อไหนต้องตาย เพราะแต่ละอันจะยังสร้าง impact ได้ 4.ไม่ต้องกลัวว่า crossmedia จะทำให้งานเยอะจนทำไม่ได้ เพราะ การวางแผนในการ cross และรู้ function ของเนื้อหา ทำให้ plan การทำข่าวได้ชัดกว่าเดิม 5 ความหลากหลายของเนื้อหา ตลอดการนำเสนอ long-tail journalism จาก thesis ทำได้จริง เมื่อกระบวนการ synergy เกิดขึ้น ข่าวมี impact มีพลังเปลี่ยนแปลง ความเป็นจริงคือ ทำไม่ได้ทุกข่าว แต่กระบวนการจะทำได้มากขึ้นตามโมเดลนี้ และถ้าใช้กับ big story มี impact ได้ แน่นอน That’s my note for VIVA นั่งรถไกล ควรอ่านหนังสือ Chairith Yonpiam 39 นาที ? เขียนเมื่อวันพุธ ก่อน "จ่าแซม" พลีชีพ เรื่องถ้ำหลวง มีหลายมุมน่าศึกษามาก สามทุ่มคืนนี้ลุ้น 13 ชีวิต ให้ออกสู่โลกกว้างได้อย่างปลอดภัย ---- ศาสตร์จากถ้ำหลวง เรื่อง... ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม วินาทีที่เห็นคลิปภาพ 13 หนูๆ เยาวชนยังมีชีวิตนั่งรอคอยที่เนินในถ้ำ มันเป็นความดีใจใหญ่หลวง เป็นอารมณ์ร่วมของคนไทยทั้งชาติ 0 นิเทศศาสตร์ - การนำเสนอข่าวของสื่อจำนวนมาก ทั้งสื่อกระแสหลัก สื่อของภาครัฐ หน่วยงาน รวมถึงสื่อบุคคล เพจต่างๆ แข่งกันด้วยความเร็ว ไลฟ์สด ก่อนที่จะพบเด็กมีทั้งข่าวจริง ข่าวลือ ข่าวปลอมในเฟซมากมาย สร้างความอลหม่าน สับสน จำนวนหนึ่งเป็นอุปสรรคภาระใหักับทีมค้นหา อย่างไรก็ตามสังคมได้เห็นการนำเสนอข่าวที่แข่งกันด้วยเนื้อหา กราฟฟิกการค้นหาในถ้ำ ทำให้ประชาชนได้เข้าใจภาพเรื่องที่เกิดขึ้นจากสื่อมืออาชีพ ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ จะเรียกร้องสื่ออย่างไรถึงจะเป็นผล กรณีถ้ำหลวง เขียนวันที่ วันอาทิตย์ ที่ 08 กรกฎาคม 2561 เวลา 15:27 น.เขียนโดยWarat Karuchitหมวดหมู่เวทีทัศน์Tagsบรรณาธิการ | ข่าว | สื่อมวลชน | จริยธรรม | นักข่าว 222 Shares Share Tweet Share เหมือนว่าตอนนี้ทุกๆคนจะพุ่งเป้าไปที่ "นักข่าว" ให้ระมัดระวัง อย่าไปยุ่งกับเด็กๆ แล้วก็มีเสียงด่า เสียงวิจารณ์ กันมากมาย 080718 picc "นักข่าว" อยู่หน้างาน จากการได้รับ "หมาย" ให้มา "ทำข่าว" ดังนั้นผมจึงขอเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับ "นักข่าวหน้างาน" สักนิด เพราะบางคนอาจจะไม่มีทางเลือก แต่ยังมีกลุ่มบุคคลภาคอื่นๆอีกอย่างน้อย 3 กลุ่ม ที่ภาคประชาชนอย่างเราควรพุ่งเป้าไปกดดัน นั่นคือ 1. "บรรณาธิการ" และ "ผู้บริหาร" องค์กรสื่อ ว่า "เราไม่ต้องการให้ทำข่าวโดยเป็นอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ และไปละเมิดสิทธิเด็กๆและโค้ชแม้แต่น้อย" ถ้าสื่อไหนทำ เราจะประท้วงด้วยการบอยคอตต์ ไม่ดู ไม่แชร์ และวิพากษ์วิจารณ์ ดั้งนั้นคุณต้องสั่งด้วยลายลักษณ์อักษร หรือเป็นทางการ ว่าจะไม่มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมเด็ดขาด "ตกข่าว" ได้ แต่ห้าม "ตกจริยธรรมสื่อ" ถ้าห้ามแล้วยังทำ แสดงว่าคุณทำเองนะ ไม่เกี่ยวกับต้นสังกัด 2. สมาคมและองค์กรวิชาชีพสื่อ ที่จะต้องประกาศ เตือน แนะนำแนวทาง และสนับสนุนองค์กรสื่อที่ทำดี ปกป้องนักข่าวที่ทำดี ผู้ใช้สื่อภาคประชาชนต้องกดดัน เรียกร้องให้สมาคมวิชาชีพสื่อ มีบทบาทเป็นตัวกลางประสานงานระหว่างนักข่าวให้มากกว่านี้ จัดระเบียบให้จริงจัง มีการ pool ข่าวยังไงได้บ้างที่ไม่ต้องแย่งกัน ใครทำผิดจรรยาบรรณจะทำยังไง จุดยืนของสมาคมคืออะไรที่ไม่ใช่แค่ "ขอความร่วมมือ" ที่ไม่เกิดผลอะไร ไม่เช่นนั้นประชาชนจะถามว่า "มีสมาคมวิชาชีพสื่อไว้ทำอะไร?" 3. "เจ้าของแบรนด์ต่างๆ" โดยเราต้องเรียกร้องให้ดังจนแบรนด์ต่างๆได้ยิน ว่าเรื่องนี้สำคัญต่อเรามาก ถ้าสื่อไหนทำไม่เหมาะสม เราจะบอยคอตต์ ไม่สนับสนุนสินค้าที่ลงโฆษณากับสื่อนั้น และแบรนด์ต่างๆ ควรจะต้องออกมาแสดงจุดยืนเช่นกัน ว่าเราจะสนับสนุนสื่อที่ดีเท่านั้น ถ้าคุณทำผิด จะมีผลต่อการพิจารณาการเป็นสปอนเซอร์ ซึ่งจะไปกดดันข้อ 1 ได้อย่างมาก ข้อนี้สำคัญมากนะครับ แม้แต่นักเล่าข่าวผู้โด่งดังก็ต้องยอมหยุดปฎิบัติงานด้วยสาเหตุนี้ หลังจากที่แบรนด์ต่างๆเริ่มออกมาขู่ว่าจะถอนโฆษณาออกจากรายการ นักข่าวในพื้นที่ เป็นเพียงผู้รับผลจากนโยบายแย่งเรตติ้งขององค์กรสื่อ เหมือนเซลล์ขายประกันที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการโทรมารบกวนเรา หรือจะว่าไป ก็เป็น "เหยื่อ" จากการพยายามเอาตัวรอดของสื่อเช่นกัน ถูกด่าก็ถูกเอง เจ้านาย บก. คนสั่งงานในห้องแอร์ แบรนด์ที่จ่ายโฆษณาให้ไปละเมิดสิทธิแหล่งข่าวไม่ได้โดยด่าด้วยเลย ดังนั้นประชาชนอย่างพวกเราต้องเรียกร้องไปยังผู้ที่ออกนโยบาย ถึงจะเห็นผล เริ่มกันเลยมั้ยครับ! https://www.isranews.org/isranews-article/67582-warat.html วิกฤตถ้ำเขานางนอน ตอน ๑ ทีมหมูป่าติดถ้ำ ครูบาบุญชุ่มช่วยได้ แต่ไม่พ้นถูกตั้งคำถาม ใช่หน้าที่ของพระหรือ ? -------------- @ พระศักดา สุนฺทโร 3 ชม. ? “ ทำไมเราต้องเกิดมาเพื่อช่วยแต่คนอื่น” เป็นคำถามที่ดี มีคำตอบในอิทธิบาท ๔ ลองฟังดูเพื่อสร้างกำลังใจ (วันนี้ถ้าจะคอมเม้นว่า โยมได้อะไรจากธรรมะทุกวันที่อาตมานำเสนอไป จะเป็นการดีมากๆ .... มีเหตุ ๆ... ) ...... (วันนี้ได้ยินว่ามีผู้ใหญ่ท่านนึงตำหนิการทำงาน ที่อาตมาใช้เฟสบุ๊คในการนำเสนอข้อคิดทางธรรม ไม่ทราบว่าท่านตำหนิในมุมไหน แต่ก็ทราบว่าเป็นการเสี่ยงในการใช้ช่องทางนี้กระจายธรรม ทราบดีมานานแล้ว และก็คิดมานานกว่า12ปี ว่าจะไม่มีเฟสบุ๊ค เพราะเสี่ยงต่อการถูกวิจารณ์อาจทำให้เราหมดกำลังใจ แต่ในที่สุดเมื่อ 3ปีที่แล้วก็เริ่มใช้โซเชียลช่วยงานด้านนี้เพราะเห็นว่ารวดเร็วและทันสมัย แต่เราต้องเรียบร้อยพอ ดีพอ ธรรมะต้องเข้ากับสังคมปัจจุบันพออย่างไม่ทิ้งหลักธรรมแท้ของพระพุทธเจ้า วันนี้มีผู้ใหญ่ตำหนิยิ่งทำให้ฮึกเหิมที่จะทำต่อ และจะอธิบายกับท่านอย่างให้กระจ่าง ว่าโยมรอดูธรรมในเพจพระศักดา วันหนึ่งมากเท่าไร และคอมเม้นตำหนิ หรือด่าทอ เท่าที่ดูๆยังไม่พบที่ด่ามา และอาตมาไม่โต้ตอบในคอมเม้นหรือช่องทางอื่นกับใครๆ อาจมีบ้าง ๓ ราย ๕ รายเท่าที่จำเป็น ตรงนี้น่าจะตอบได้ดีว่าแบบนี้ไม่ได้เรียกว่าเล่นเฟสบุ๊ค เพียงใช้สื่อโซเชียลทำงานให้ศาสนา ไม่เรี่ยไรบอกบุญใดๆ แม้แต่วันๆที่ไปบรรยายธรรมทั่วไทย เราไปบริจาคร่วมสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล หรือสงเคราะห์สังคมในด้านต่างๆ วันละเท่าไร ยังไม่ถ่ายภาพมาลงในเพจ ไม่ต้องการเอาตรงนั้นมาโปรโมทด้วยซ้ำ หรืออาจฟังหรือดูเพียงบางเรื่องที่อาจคิดไปในทางที่ไม่ดีได้ หรือปรัชญาธรรมที่นำเสนอไปลึกเกินกว่าจะเข้าใจได้ หรืออย่างไร ..? วันนี้ยังยืนยันว่าบริสุทธิ์ใจนำเสนอธรรมรูปแบบนี้ อาจดูแปลกๆในบางมุมกล้องเพื่อต้องการให้ธรรมดูแปลกตาเพื่อความน่าฟังและเข้าใจง่ายขึ้น .... ยังอธิบายไม่จบ พอดีตอนนี้มีกิจสงฆ์ต้องไปทำก่อน เดี๋ยวจะมาอธิบายต่อ เพื่อบอกเจตนาเพื่องานพระศาสนาในยุคนี้ ที่ไม่เสียหลักธรรมแท้ๆของพระพุทธองค์..วงเล็บยังไม่ปิด การรับด้วยปัญญาหรือโทสะ เวลาเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อนหรือคู่กรณีของเราได้พูดจา หรือกระทำผิดต่อเรา เราจะรับด้วยอารมณ์แห่งโทสะหรือปัญญาขึ้นอยู่กับเรา วิธีรับทั้ง ๒ อย่าง มีดังนี้ ๑. รับด้วยปัญญา ๑.๑ ควบคุมตนเองได้ คือ เราต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ปล่อยไปตามอารมณ์ ให้เรานึกถึงผลดี ผลเสียของการใช้อารมณ์ไปในทางที่ผิดจะก่อให้เกิดโทษแก่เรา ณ ปัจจุบันและส่งผลถึงอนาคต ฉะนั้น เราต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้อย่าให้เกินเลย อารมณ์ที่ว่านี้ อารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง แล้วแต่เหตุการณ์จะเป็นเหตุการณ์ใด (พิจารณากรรม ๕ (ทำ ทำไม ทำไมถึงทำ ผลขณะกระทำ ผลที่ตามมา ผลที่แท้จริง) พิจารณาวิบาก ๗ (ชอบธรรม สมควร เหมาะสม บุคคล สถานที่ กาล และเหตุการณ์)แล้วค่อยกระทำในการรับ หรือบริหารกรรมนั้นๆ ๑.๒ ชี้ว่าผู้กระทำผิดตรงไหน คือ ระหว่างที่เราสนทนากับคู่กรณี เราต้องรู้จักสังเกตสีหน้าของผู้ที่เราพูดคุยด้วย หากเราเห็นคู่สนทนาของเราคับข้องใจ เราต้องหยุดสิ่งที่เราจะพูดสิ่งต่อไป แล้วพิจารณาถึงคำพูดของเรา พิจารณาถึงบุคคลคู่สนทนาว่าเรามีสิทธิ์ในการชี้แนะมากน้อยเพียงใด ถ้าเรามีสิทธิ์ในการชี้แนะ เราต้องชี้แนะเขาว่า ขณะนี้จิตใจของเรามีจิตดำ จิตมารตัวไหนเกิดขึ้น แล้วชี้แนะให้แก่เขา เพื่อเขาจะได้เข้าใจและแก้ไขได้ถูกในครั้งถัดไป แต่หากว่าบุคคลนั้นเราไม่มีสิทธิ์ในการชี้แนะเขาได้ ก็ให้เราหลีกเลี่ยงคำพูดนั้นที่จะทำให้เขาเกิดโทสะ และรีบแก้ไขคำพูดนั้นใหม่ ๑.๓ หาวิธีแก้ไข คือ ชี้แนะนำให้เขาเกิดปัญญาในการที่เขาจะไปใช้แก้ไข รับด้วยปัญญาจะเกิดความสันติ ๒. รับด้วยโทสะ คือ รับด้วยความไม่พอใจ ขุ่นข้องหมองใจ ไม่ได้ดั่งใจที่ตนคิดไว้ ในการับ เช่น จะเกิด ฉุนเฉียว หงุดหงิด ด่าทอ กล่าวโทษ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเลวร้ายลง ถ้าเราหรือคู่สนทนารับอารมณ์ด้วยโทสะ โดยทั่วไปมักจะแสดงอาการเช่นนี้ ๒.๑ เงียบ คือ เขาพูดมาแล้วเราไม่พึงพอใจ เราจะเงียบและไม่อยากสนทนาต่อ หรือจะคอยรับฟังว่าเขาจะต่อว่าสิ่งใดกับเราอีก ๒.๒ วางแต้มให้เขาทำมากขึ้น คือ จะมีการยกย่องเพื่อให้เขาเกิดความลืมตัว ยั่วให้เขาเกิดอารมณ์ ยุแหย่ให้เขาทำมากขึ้น ๒.๓ ฝากคำเยาะเย้ยไว้ก่อน คือ มีการพูดจาถากถาง เยาะเย้ย เย้ยหยัน ๒.๔ มุ่งร้าย ๒.๕ จองเวร ๒.๖ พยาบาท อาฆาต ๒.๗ ทำร้าย สังเวยกัน ถ้ารับด้วยโทสะก็จะนำไปสู่ความสังเวย ปล. ขอบคุณภาพจากเน็ต อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์ เหตุใดคนทั่วโลกไม่สามารถเลิกติดตามภารกิจช่วยหมูป่า Source - เว็บไซต์คมชัดลึก (Th)Tuesday, July 10, 2018 07:47 53118 XTHAI XINTER INTL V%NETNEWS P%WKC สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ลงข้อเขียนของ เจย์ พารินี ( Jay Parini ) นักกวี-นักเขียน และอาจารย์ผู้สอนที่วิทยาลัยมิดเดิลบิวรี สหรัฐอเมริกา ที่ใช้หัวเรื่องว่า "ทำไมเราถึงไม่สามารถเลิกติดตามการภู้ภัยที่ถ้ำในไทยได้" ( Why we can't stop watching the Thai cave rescue ) โดยบทความชิ้นนี้ถูกแชร์กันอย่างมากมายในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งอาจเป็นเพราะหลายคนก็กำลังพยายามเรียบเรียงคำตอบอยู่เช่นกัน บทความระบุว่า ขณะนี้ ทุกสายตาเพ่งมาที่ประเทศไทย เราห็นนักดำน้ำผู้กล้าหาญ เสี่ยงชีวิตเข้าไปนำเด็กชายและโค้ชทีมฟุตบอลที่ติดอยู่ข้างในออกมาอย่างปลอดภัย พวกเราส่งใจไปให้นักดำน้ำที่ไม่เพียงกล้าหาญ แต่ยังมีความชำนาญอันเหลือเชื่อ ภารกิจกู้ภัยยาก ปราศจากความเห็นแก่ตัว ภายในถ้ำ ไม่มีสีผิว ความแตกต่างทางศาสนา หรืออัตลักษณ์ทางเพศ ไม่มีใครห่อหุ้มตัวเองในผืนธง หรือตั้งคำถามเรื่องวิทยาศาสตร์ นี่เป็นช่วงเวลาหาได้ยากสำหรับการได้เห็นว่าเราสามารถรับมือภารกิจที่น่ากลัวได้ เมื่อทุกคนร่วมมือเป็นหนึ่งเดียว ปราศจากความเห็นแก่ตัว เพื่อทำบางอย่างที่สำคัญ การยกสวัสดิภาพเด็กเหนือสิ่งอื่นใด มีความเป็นดรามาสูงมาก และสวดภาวนาให้กับเด็กชายเหล่านั้นในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของดรามาที่ว่านี้ ทุกคนรู้ว่าเด็กทุกคนและโค้ช สำคัญกับครอบครัวที่กำลังกระวนกระวายใจแค่ไหน ตัวผู้เขียนมีลูกชาย 3 คน จึงจินตนาการได้ไม่ยากถึงความกลัว และความอกสั่นขวัญแขวนในบ้าน พ่อแม่และคนในครอบครัวจดจ่อฟังข่าว ความเจ็บปวดของการพลัดพรากระหว่างพ่อแม่กับลูก เป็นความเจ็บปวดที่ยากจะทานทน เหล่านี้เป็นสิ่งที่คนทุกคนที่มีมนุษยธรรมในหัวใจแม้เล็กน้อย จะเข้าถึง ( เจย์ พารินี ผู้เขียนบทความ /ภาพ greensboro ) ตอนท้าย ผู้เขียนหวังว่า การประสานความพยายามนานาชาติเพื่อช่วยชีวิตเด็กชายทั้ง 12 คน และโค้ชออกมาจากถ้ำห่างไกลในประเทศไทย จะช่วยนำพาพวกเรากลับสู่แสงสว่างที่พวกเราสามารถยืนด้วยกัน และขอบคุณทุกคนที่สอนให้เรารู้จักใส่ใจดูแลกันอย่างลึกซึ้งเช่นนี้ Infographic Thailandถูกใจเพจ 21 ชม. ? ถ้ำหลวง ปรากฏการณ์ปราบเซียนงานข่าวไทย กลายไปเป็นข่าวระดับโลกที่ทุกสำนักข่าวทั่วโลกให้ความสนใจด้วยลักษณะข่าวที่คล้ายกับ Reality TV มีความลุ้นระทึก แต่เร็วที่สุดและเข้าถึงข้อมูลในพื้นที่มากที่สุด อาจจะไม่ใช่ผู้ชนะในเกมนี้ เพราะไม่เข้าถึง (Reach) ผู้ชมคนอ่าน คนเขาก็ไม่เห็นข่าวของคุณอยู่ดี เนื่องจากในสื่อสังคมออนไลน์การส่งข่าวสารไม่ได้เป็นเส้นตรงตามเวลาการออกอากาศ (Linear program) แต่มันส่งข่าวเป็นใยแมงมุม ซึ่งจะมีศูนย์รวม (Hub) ที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารนั้นๆ ที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูลอยู่ และเพราะเมื่อมีข้อมูลล้นหลามแต่เต็มไปด้วยข่าวปลอม (Fake news) จึงต้องมีการตรวจสอบ นอกจากนี้ จากการสืบค้นของ Thoth zocial ที่ชี้ให้เห็นว่าในการทำข่าวร้อนที่เป็น Breaking news เช่นนี้ Twitter คือผู้ชนะในฐานะแพลตฟอร์มที่กระจายข่าวได้เร็วและกว้างที่สุด ปรากฏการณ์นี้ก็บอกเราเช่นกันว่า ผู้ชมคนอ่านก็ยังต้องการงานข่าวมืออาชีพมาเล่าเรื่องเชิงลึก แบบเก็บรายละเอียดที่ครบจบกระบวนความ ซึ่งสื่อโทรทัศน์สามารถทำงานนี้ได้โดยไม่ต้องไปแข่งกับข่าวในทวิตเตอร์หรือกลุ่มคนทั่วไปที่เป็น UGC ในการเล่าเรื่องแบบเป็นช่วงๆ อัปเดตสถานการณ์ตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากการเล่าเรื่องของรายการทอล์กในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใส่ซับและโพสต์โดยเพจ ‘ญี่ปุ่นเบาเบา’ จนกลายเป็นเพจเฟซบุ๊กยอดนิยมอันดับ 2 หลังจากการพบตัว 13 คนแล้ว ซึ่งสื่อญี่ปุ่นที่เพจนี้เอามาแชร์ได้วิเคราะห์สถานการณ์ถ้ำหลวงกันครึ่งค่อนชั่วโมง ด้วยรายละเอียดที่ถี่ยิบ แบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมบทวิเคราะห์ถึงทางเลือกในการนำทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำ ด้วยกรณีศึกษาของภัยพิบัติในอดีตและความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องถ้ำ ซึ่งนอกจากจะให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ไม่ทำให้สังคมสับสนแล้ว ยังสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้ชมไปในตัวอีกด้วย ดังนั้นถ้ำหลวงจึงไม่ใช่แค่บทพิสูจน์ความแข็งแกร่งของผู้ประสบภัยทั้ง 13 คนเท่านั้น แต่มันคือเครื่องพิสูจน์ความมืออาชีพของงานข่าวในประเทศว่าจะนำเสนอข่าวนี้อย่างไรให้ต่างจากไทยมุงทั่วๆ ไป https://thestandard.co/tham-luang-cave-rescue-report-show-potential-press/ จักร์กฤษ เพิ่มพูล 2 ชม. ? ทำข่าวเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ : กฎหมายสื่อมวลชน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ซึ่งรวมความถึง 12 หมูป่า ที่ได้รับการช่วยเหลือ จนอยู่รอดปลอดภัย และนอนพักรักษาตัวในเงื่อนไขห้ามถ่ายภาพ รายงาน ที่โรงพยาบาลเชียงรายเวลานี้ อย่างน้อย 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ฉบับหนึ่งคือพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กฎหมายทั้งสองฉบับนี้ มุ่งหมายให้การคุ้มครองเฉพาะเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปี) และเยาวชน (อายุเกิน 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี) ในกรณีที่เด็กและเยาวชนเป็นจำเลยในกระบวนการพิจารณาชั้นศาล ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการด้วย และคุ้มครองเป็นการทั่วไป เฉพาะกรณีหมูป่า เป็นการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 แตกต่างจาก พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 คือกฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อการคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วไป เป็นการตรากฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก มิให้ถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม การทำทารุณกรรมต่อเด็กและเยาวชน เป็นสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ โดยได้นิยามความหมายของคำว่า “ทารุณกรรม” ว่า หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เช่น ดาราสาวรายหนึ่ง นำเด็กทารกน้อยมาเรียกร้องความเห็นใจจากสื่อมวลชน โดยอ้างว่าดาราหนุ่มคนหนึ่งเป็นพ่อของเด็ก ทำให้เธอได้รับความเห็นใจและได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีผลพิสูจน์ในที่สุดว่าดาราหนุ่มคนดังกล่าวไม่ใช่พ่อของเด็ก สื่อมวลชนที่สัมภาษณ์ดาราสาวผู้นี้ ถ่ายภาพเสนอเรื่องราวของเธอ ก็คือการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เป็นความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ การละเมิดเสรีภาพของเด็ก หรือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น แอบถ่าย การสัมภาษณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ไม่ว่าจะสัมภาษณ์เด็กหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ก็อาจตีความได้ว่า เป็นการละเมิดสิทธิเด็กตามกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้น ภาพข่าวที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก หรือเกี่ยวกับการทำทารุณกรรม หน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้สูญเสียอิสรภาพ บุกรุกเข้าไปในเขตหวงห้ามที่เด็กพักรักษาตัวอยู่ อาจเป็นความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ความว่า ‘ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใด หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับ ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นเดียวกัน’ การรายงานข่าวเด็ก จึงมิใช่ประเด็นปัญหาเรื่องจริยธรรมเท่านั้น หากยังมีเรื่องความรับผิดตามกฎหมายที่ต้องระมัดระวังด้วย ----------------------------------------------------------- Uthit Siriwan ได้แชร์โพสต์ 6 ชม. ? เบื้องหลังวีรกรรม Mission impossible ที่ผมอ่านแล้วชื่นชอบ นึกถึงทฤษฎี ๔ ท ของผม ทีม ทุน ทำเล เทคโนโลยี ส.สื่อถอดบทเรียน13ทีมหมูป่าติดถ้ำหลวงบทบาทนักข่าวต้องทบทวน https://siampongsnews.blogspot.com/2018/07/13_4.html วันที่ 13 ก.ค.2561 ตามที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดงานเสวนาการถอดบทเรียนการทำข่าวถ้ำหลวง เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2561 ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยนั้น น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า มีอยู่ 3 เรื่องที่สื่อมวลชนถูกตั้งคำถามจากสังคมและผู้บริโภคต่อการทำหน้าที่รายงานข่าวที่ถ้ำหลวง คือ 1.การรายงานข่าวเป็นการล้ำเส้นหรือไม่ 2.การละเมิดจริยธรรมของสื่อมวลชน และ 3.ความเป็นมืออาชีพของสื่อไทยว่ามีฝีมือถึงพอหรือไม่ และถูกเปรียบเทียบกับการทำงานของสื่อต่างประเทศ น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและทำให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการใหม่ครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ โมเดลการจัดโซนนิ่งสำหรับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นการแยกระหว่างนักข่าวกับพื้นที่เกิดเหตุ โดยที่ผ่านมาเราเห็นเหตุการณ์ละเมิดของนักข่าวมักจะเกิดขึ้นในพื้นที่เกิดเหตุแทบทั้งสิ้น ทั้งพื้นที่ก่อเหตุอาชญากรรม อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ อีกพื้นที่คือโรงพยาบาล เพราะได้รับเรื่องร้องเรียนเยอะมากเกี่ยวกับการถ่ายภาพผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ เหยื่อที่เป็นเด็กเยาวชน หรือแม้แต่คนที่กำลังจะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย และสังคมมีคำถามตามมาตลอดว่า ทำไมถึงไม่กั้นสื่อมวลชนออกจากที่เกิดเหตุ “เหตุการณ์จัดโซนนิ่งสื่อฯ ที่ถ้ำหลวงก็ถือเป็นครั้งแรก ทำให้เราไม่เห็นภาพว่าสื่อไปละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือทำข่าวไปกระทบกับความเป็นส่วนตัว กระทบการทำงานของเจ้าหน้าที่ และนักข่าวเองก็เริ่มเข้าใจแม้ช่วงแรกจะมีการบ่นมาบ้างว่าทำงานลำบากก็ตาม แต่ผู้บริโภคมองว่าเป็นมาตรการใหม่ที่ดีอย่างมาก ที่สำคัญคือหน่วยงานอื่นๆ น่าจะนำไปใช้เป็นแบบอย่างได้ เพราะจะได้ไม่มีปัญหาละเมิดสิทธิกันตามมา” น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า อีกโมเดลที่เกิดขึ้นคือการรายงานด้วยข้อความสั้นผ่านทวิตเตอร์ ซึ่งได้ผลอย่างมากในแง่การรับสารของผู้บริโภค เพราะความเร็วกระชับ อย่างเห็นเว็บไซต์ MTHAI ที่เข้ามารายงานเหตุการณ์ถ้ำหลวงผ่านทวิตเตอร์ ก็ได้รับการติดตามอย่างล้นหลามจากผู้บริโภค สื่อกระแสหลักต้องหันมาสนใจกับช่องทางนี้ เพราะไม่จำเป็นจะต้องไลฟ์สดตลอดเวลา แต่ข้อความสั้นๆ ที่แม่นยำก็ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคได้เช่นกัน เธอ กล่าวว่า อีกเรื่องที่ต้องศึกษา คือการที่สื่อมวลชนจากต่างประเทศเข้ามารายงานข่าวนี้อย่างคับคั่ง ทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างสื่อไทยกับสื่อนอก ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ต้องการให้เกิดความน้อยใจ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจจะศึกษาการทำงาน “นี่คือสิ่งที่ผู้บริโภคสะท้อน สื่อก็ต้องมาดูตัวเองว่าจะปรับตัวได้อย่างไร เช่นที่ถ้ำหลวง หากเราเอามาเป็นบทเรียน ทั้งการให้ข้อมูล การเสนอข้อมูล บทบาทสื่อจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เร็วได้แต่ต้องแม่นยำ” น.ส.สุภิญญา ย้ำอีกว่า การล้ำเส้นที่พบเจออย่างเห็นได้ชัด คือการบินโดรนที่อาจกระทบกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ เรื่องนี้เข้าใจว่าเกิดความสับสนของสื่อเองว่าทำได้หรือไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วกสทช.ควรจะเข้ามามีบทบาทในการเป็นตัวกลางระหว่างภาครัฐกับสื่อโทรทัศน์ เพราะสื่อโทรทัศน์ถูกเพ่งเล็งอย่างมากกับเหตุการณ์ถ้ำหลวง กสทช.ต้องทำงานเชิงรุก เพื่อช่วยให้สื่อมวลชนทำอย่างถูกต้อง อยู่ในกรอบกติกา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจับตามมอง คือ จากนี้ 13 ชีวิตของทีมหมูป่าจะออกจากโรงพยาบาลกลับไปใช้ชีวิตปกติ นักข่าวก็ต้องเข้าใจว่าทั้งหมดคือเยาวชน แม้แต่โค้ชเอกที่อายุ 25 ก็ยังถือว่าเป็นเยาวชน ดังนั้นจะต้องเข้าใจว่าการทำข่าวกับเยาวชนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก การเจาะข่าวจากนี้คาดว่าจะลงไปในระดับครอบครัว ซึ่งภาพเนื้อหาที่ดราม่าเราไม่อยากให้เกิดขึ้น และจะเป็นอีกครั้งในการพิสูจน์จริยธรรมของสื่อ อีกหนึ่งความเห็นจาก มุมมองของผู้ที่ติดตามการทำงานของสื่อ อย่าง ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสื่อสารมวลชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้ความเห็นกับวงเสวนาว่า มี 5 สิ่งที่ต้องชื่นชมสื่อมวลชนในเหตุการณ์ถ้ำหลวงจากการรายงานข่าว คือ 1.นักข่าวทุ่มเท เสียสละ เข้าถึงพื้นที่ และพยายามอย่างมากในการรายงานข่าวด้วยความรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยกันตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ 2.การให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งช่วงระยะหลังดีขึ้นอย่างมากเมื่อได้รับการร้องขอ ยินยอมที่จะทำไม่เกเร 3.การเป็นที่พึ่งของประชาชนทำได้อย่างดี 4.การเสนอข่าวทำในแง่มุมบวก ให้กำลังใจให้แรงบรรดาลใจ เป็นที่พึ่งและจุดเริ่มต้นของการรวมใจกันทั้งประเทศ กระทั่งนำไปสู่ข้อที่ 5.ทำให้ทุกประเทศอยากจะเข้ามาช่วย ส่งคนและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เห็นภาพความน่าสนใจในการทำข่าวจากต่างประเทศอย่างชัดเจน ถึงกับสำนักข่าวเมืองนอกพาดหัวว่า Today The World Win ในวันที่ช่วยเหลือ 13 ชีวิตออกจากถ้ำ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเสียรวม 5 ข้อที่เรียกว่า “ขาด” ด้วยเช่นกัน คือ 1.ขาดการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะการบริโภคสื่อออนไลน์ ที่มีการจับผิดและคนบริโภคอ่อนไหวอย่างมาก 2.ขาดการใส่ใจถึงประเด็นจริยธรรม ไม่ว่าจะตระหนักหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อไม่ใส่ใจ จริยธรรมจะถูกมองข้ามไปในทันที เช่น การนำเสียงวิทยุสื่อสารมาออกอากาศ บินโดรนกระทบการทำงาน ถามครอบครัวว่าเด็กๆ มาเข้าฝันบ้างหรือไม่ หรือการเปิดเผยชื่อเหยื่อ และยังมีการอธิบายขณะที่ทั้ง 13 ชีวิตรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาลว่าอยู่ห้องไหน ชั้นอะไร 3.ขาดการทำข่าวที่สร้างสรรค์ นักข่าวไม่ได้ทำข่าวเชิงรุกหรือทำการบ้านมาก่อน จนทำให้ถูกตั้งแง่ว่าเป็นการทำข่าวตามรถพยาบาล หรือตามเฮลิคอปเตอร์ 4.ขาดการยอมรับผิด บางสำนักข่าวทำผิดและยอมรับผิดพร้อมรับการลงโทษ แต่บางสำนักข่าวก็ยังไม่ยอมรับจนถึงขณะนี้ ยังเถียงและพยายามเฉไฉไปเรื่องอื่น และ 5.ขาดการควบคุมกันเอง เพราะมีการตั้งคำถามถึงองค์กรวิชาชีพว่า นอกจากออกประกาศแล้วมีอะไรบ้างที่ทำงานเชิงรุก มีตัวแทนเข้าไปจัดระเบียบในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะนักข่าวบางคนยังทะเลาะกันเองเพื่อแย่งแหล่งข่าว “เมื่อเราขาด 5 อย่างก็ต้องเติมให้สมบูรณ์ ต้องอบรมให้ความรู้ อบรมด้านจริยธรรม อบรมว่ารายางานข่าวอย่างไร ให้โดนใจผู้บริโภค เติมเต็มกันเข้าไป หรือให้ดีก็ต้องเรียนรู้การทำงานของสื่อต่างประเทศที่ทำข่าวเรื่องภัยพิบัติ จะเชิญเขามาบรรยาย หรือไปดูงานก็ได้ อีกอย่างคือองค์กรวิชาชีพจะต้องมีกลไกที่กำกับดูแลและควบคุมพร้อมทำงานเชิงรุกที่ชัดเจน ทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ทุกปัญหาในการรายงานข่าวเกิดตั้งแต่ต้น” ผศ.ดร.วรัชญ์ กล่าว องค์กรวิชาชีพ พร้อมรับบทเรียน นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยอมรับว่าที่ผ่านมาสื่อมวลชนมักจะถูกวิจารณ์ในแง่ลบต่อการรายงานข่าวสถานการณ์หรือเหตุการณ์มาโดยตลอด แม้นักข่าวเพียงคนเดียวทำเสียเรื่องก็จะถูกเหมารวมทั้งหมด แต่ในยุคปัจจุบันอาจจะเรียกว่าจุด “พีค” ของการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะอยู่ในยุคโซเชี่ยลมีเดีย “ผมจำได้ดีกับเหตุการณ์คนงานติดเหมืองที่ประเทศชิลี เมื่อเกิดเหตุผู้บัญชาการเหตุการณ์ออกคำสั่งห้ามนักข่าวเข้าพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาด แต่อนุญาตให้สำนักข่าวของภาครัฐเข้าไปได้ที่เดียว และห้ามรายงานสด เขาทำก็เพื่อลดการดราม่า ไม่ให้กระทบกับครอบครัวของเหยื่อ และเมื่อลำเลียงช่วยเหลือคนงานออกมาได้ การแถลงข่าวให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนก็มีนักจิตวิทยามาให้คำแนะนำด้วย ซึ่งเราสามารถเอามาเทียบเคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้” นายปราเมศ ย้ำอีกว่า องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนจำต้องสมควรที่ต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ให้มีการรายงานข่าวที่ดราม่า ไม่ให้มี Fake news หรือข่าวปลอมออกมาสร้างความสับสน ซึ่งเราต้องป้องกันและต้องอบมรมนักข่าวในประเทศให้เกิดการพัฒนา เหมือนกับนักข่าวต่างประเทศที่รายงานข่าวสถานการณ์หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรง หากไม่ผ่านการอบรมที่เข้มข้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะไม่มีสิทธิ์ไปภาคสนามเพื่อทำข่าวได้ “นักข่าวต่างประเทศทำการบ้านมาอย่างดีก่อนลงพื้นที่ ขณะที่กองบรรณาธิการก็พร้อมสนับสนุนข้อมูล ทำให้เขาสามารถทำข่าวเชิงสร้างสรรค์ได้ตลอด ของเราก็ต้องพัฒนาไปถึงจุดนั้นให้ได้ และอยากให้ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่จะถอดบทเรียนกัน เพราะเราจะเอาบทเรียนคร้ังนี้ไปทำเป็นหนังสือคู่มือ เพื่อเป็นคัมภีร์ให้กับสำนักข่าว นักข่าวใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ควบคู่ไปกับการทำเวิร์คช็อป” นายปราเมศ มองถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ขณะที่ความเห็นของ นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าว ไทยพีบีเอส ฉายภาพในเวทีเสวนาครั้งนี้ไว้อย่างน่าสนใจเช่นกันว่า สื่อมวลชนที่รายงานข่าวในพื้นที่คิดว่าถูกคาดหวังจากผู้บริโภคว่าจะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วที่สุด ดีที่สุด ลึกที่สุด หากแต่ความเป็นจริงผู้บริโภคคาดหวังจะเห็นความสำเร็จ คาดหวังว่า 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำจะได้ออกมาเจอครอบครัว เมื่อเป็นเช่นนั้น การรายงานข่าวต่างๆ ที่ไปกระทบกับความคาดหวังจะถูกต่อต้านอย่างทันที “มันทำให้เห็นภาพว่า จริงๆ แล้วสิ่งที่สะท้อนกลับมาจากผู้บริโภค สื่อต้องมาถามตัวเองว่า การรายงานข่าวของเรานั้นขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่หรือไม่ และผลจากการรายงานข่าวนั้นมีผลกระทบกับใครบ้างหรือเปล่า” นายก่อเขต ตั้งคำถาม อย่างไรก็ตาม นักข่าวที่อยู่ในพื้นที่ภาคสนามพยายามอย่างเป็นที่สุดในการหาแหล่งข่าวเพื่อให้มาบอกเล่าสถานการณ์ แต่คำถามบางครั้งกลับสร้างความอึดอัดใจให้กับแหล่งข่าวหรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งจากที่ได้สัมผัสมาก็ได้รับเสียงสะท้อนว่า ในบางคร้ังการตั้งคำถามของนักข่าวก็ทำให้การทำงานหมดกำลังใจลงได้ง่ายๆ แม้การรุกไล่แหล่งข่าวจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะต้องการความชัดเจน แต่บางครั้งก็ละเอียดอ่อนด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องตระหนักให้มากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เราไม่เคยสัมผัสกับความรู้สึกนี้มาก่อน นายก่อเขต สะท้อนอีกว่า การวิพากษ์วิจารณ์สื่อแบบเหมารวมก็ทำให้คนรายงานข่าวเสียกำลังใจไปเหมือนกัน บางคนทำอย่างถูกต้อง เล่นตามกติกา แต่กลับถูกเหมารวมว่าเป็นสื่อที่ไม่ดี ผลที่ว่ามันก็สร้างความบั่นทอนให้กับสื่อดีๆ ด้วยเหมือนกัน หากมองในมุมกลับเราอยู่ในยุคที่ทุกวันนี้ทุกคนเป็นสื่อได้เหมือนกัน นำเสนอข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้เหมือนกัน เราจะทำอย่างไรกับคนกลุ่มนี้ได้บ้าง อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ยังมีข้อดีที่ได้เห็น คือภาคสังคมกำกับดูแลการทำงานของสื่อมวลชนได้อยู่หมัด รัฐบาลไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง หรือรูปแบบไหนก็ตามทำแบบภาคสังคมไม่ได้เลย เป็นสิ่งที่ดีมากเพราะสื่อมวลชนจะต้องระมัดระวังการรายงานข่าวมากขึ้น ทำแบบนี้ไม่ดีนะมีคนคอยดูอยู่ หากภาคสังคมเข้มแข็งแบบนี้ และรู้ว่าควรบริโภคสื่อที่ดีจากที่ไหน ก็จะทำให้สื่อมวลชนดีๆ เกิดขึ้นอีกมากมายแน่นอน ด้าน นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ให้มุมมองว่า ทุกวันนี้หนังสือพิมพ์ไม่ใช่พระเอกในการายงานข่าวแล้ว แต่ก็พร้อมจะเป็นผู้ร้ายได้ทุกเมื่อหากมีการรายงานข่าวผิดพลาด แต่กระนั้น ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า กลุ่มผู้บริโภคหนังสือพิมพ์เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่คุ้นชินกับการบริโภคข่าวสารออนไลน์ แต่แน่นอนว่าถึงแม้เราจะมีเวลาในการตรวจทาน หาความจริงให้รอบด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดเช่นกันในเรื่องเนื้อหาการนำเสนอข่าว เพราะเนื้อหาในหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้ต่างจากในสื่อออนไลน์ บทเรียนจากถ้ำหลวงคนทำหนังสือพิมพ์ก็เห็นหลายอย่างที่ผิดพลาด และได้เห็นหลายอย่างในเรื่องที่ไม่ทราบมาก่อน เช่นภาพของหน่วยซีลที่มีการเผยแพร่ออกไปแล้ว กระทั่ง 2 วันให้หลัง หน่วยงานภาครัฐถึงมาขอความร่วมมือไม่ให้เปิดเผยใบหน้า ขณะที่สื่อต่างประเทศเผยใบหน้ากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมันคือความแตกต่าง นายชวรงค์ ให้ภาพอีกว่า หนังสือพิมพ์เองก็มีข้อผิดพลาดจากความไม่ชัดเจนเช่นกัน ไม่เพียงแค่หนังสือพิมพ์ไทยเท่านั้น หากแต่ต่างประเทศก็ผิดด้วย เช่น ................ (หมายเหตุ : ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก เปี๊ยก สวิช) Thanchanok Micky Jongyotying 15 ชม. สรุปบทเรียนจากทีมข่าวของตนเองเกี่ยวกับกรณีถ้ำหลวง (มุมมองส่วนตัวนะคะ ไม่ใช่ในนามสถานี) • ช่วงวันแรกๆที่เกิดเหตุการณ์เด็กติดถ้ำ ไม่มีใครคาดว่าเรื่องจะใหญ่ขนาดนี้ เด็กเข้าไปวันเสาร์ วันอาทิตย์เริ่มรายงานกันเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่ทันคิดว่ามันจะใหญ่ได้มากกว่านี้อีก (มิกมาอบรมที่สิงคโปร์อยู่) ตอนระหว่างเดินทางกลับไทยวันจันทร์ น้องในทีมแจ้งมาว่า BBC ติดต่อมาขอคนช่วยรายงานให้รายการที่อังกฤษ ก็วุ่นสิคะ เพราะพี่อุ๋ม กีรติกร นาคสมภพ กลับบ้านไปแล้ว ส่วนมิกก็ไม่อยู่ที่สถานี โชคดีที่พี่แฟรงค์ ชัยรัตน์ ถมยา เข้าข่าวค่ำพอดี ทีมเราก็จัดการประสานงานและสไกป์สดกันสองสตูเลย ภาพรวมออกมาดูดีทีเดียว BBC บอกว่านี่เป็นครั้งแรกของเค้าเหมือนกันที่ลองทำโมเดลนี้ • ณ ตอนนั้นรู้ละว่าเรื่องใหญ่แน่ คิดในใจได้แป๊บเดียว ได้อีเมลล์จาก CNN Atlanta (สำนักงานใหญ่เลยนะ) ว่าขอคนเข้ารายงานข่าวนี้เช่นกัน ก็คิดต่อไปว่า เรื่องถ้ำหลวงไม่น่าจะใหญ่ธรรมดาละ ข่าวนี้น่าจะใหญ่มากถึงมากที่สุด เช้าวันอังคาร สถานีเราส่งพี่อุ๋ม รองบก.ต่างประเทศของเรา บินไปเชียงรายเลยทันที ไปเสริมทีมข่าวในประเทศที่ส่งไปก่อนหน้านี้ วันต่อมาก็ส่งตอง ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ทีมข่าวต่างประเทศ ตามไปร่วมทำข่าวเรื่องนี้ด้วย • พี่อุ๋มได้รายงานให้ CNN ในรายการ NewStream กับพิธีกรในดวงใจถึงสองครั้ง เป็นการรายงานแบบสดหลอก (เพราะที่นั่นสัญญาณไม่ดีพอในการรายงานสด) CNN ก็ส่งผู้สื่อข่าวลงพื้นทีทันทีในวันเดียวกันค่ะ แต่เป็นผู้สื่อข่าวกับช่างภาพ ไม่มีผู้ประกาศ เราเลยทำหน้าที่ให้ และวันเดียวกันนี้เอง BBC ก็ส่งทีมข่าวพร้อม Jonathan Head ลงพื้นที่เหมือนกัน • หลังจากนั้นก็เริ่มมีสื่อจากชาติอื่นเข้าพื้นที่มาเรื่อยๆ และมีสื่อจากหลายประเทศติดต่อทีมเราให้ช่วยรายงาน พี่อุ๋มได้โฟนอินให้ CBS ของอเมริกาอีกรอบ แต่หลังจากนั้นเราก็แทบช่วยอะไรใครไม่ได้แล้ว เพราะงานเราก็หนักหนาสาหัส จนบางสถานีถามมาว่างั้นช่วยแนะ fixer ให้ก็ได้ • ณ ตอนนั้นก็ช่วยใครไม่ได้แล้วจริงๆ อาชีพ fixer ขาดแคลน ลองถามเพื่อนไปหลายคน ก็ไม่มีใครสะดวก เลยอยากจะพูดถึงอาชีพนี้หน่อย ถ้าทำเป็นครั้งคราวก็น่าสนุก เป็นหน้าที่ของคนท้องถิ่นที่พูดภาษาอังกฤษเก่ง จะต้องคอยช่วยอำนวยความสะดวก ติดต่อประสานงาน เป็นล่าม และควรมีความรู้รอบตัวมากๆ งานนี้เงินดีมาก แต่ก็เหนื่อยมากเช่นกันเพราะงานไม่ง่ายเลย เค้าอยากได้อะไร ต้องสรรหามาให้ได้ เรียกได้ว่าเจเนอรัล เบ๊นั่นเอง • ต่อมา CNN ส่งผู้สื่อข่าวตัวหลักๆสลับกันลงพื้นที่เองเลย แต่ยังติดต่อเราทุกวัน วันละหลายเวลา เพื่อ double check ข้อมูลและ ประสานขอใช้ภาพโดยให้เครดิตเรา สิ่งที่เรียนรู้คือ เค้าให้ความสำคัญกับลิขสิทธิ์มาก จะถามเราทุกครั้งที่จะดึงสัญญาณช่องเราไปใช้ ด้วยประโยคเดิมๆว่า อันนี้สถานีคุณถ่ายเองไหม เพราะเค้าไม่อยากมีปัญหาถูกฟ้องในภายหลัง • ขั้นตอนนี้ทำให้ดิชั้นทำงานเหนื่อย เพราะบางทีติดต่อมาตอนนอน เพราะคนละเวลากัน ทั้งอีเมลล์ ทั้งโทรศัพท์ และทางเราก็ไม่ได้ลงพื้นที่ ก็ต้องโทรเช็คคนในพื้นที่อีกทีว่าแน่นะว่านี่คือภาพเราถ่ายเอง • แต่นี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้ค่ะ การทำข่าวของสำนักข่าวระดับโลก รวมถึงการเล่นประเด็นของสำนักข่าวต่างๆ ที่พยายามนำเสนอเรื่องเด็กติดถ้ำหลวงออกมาในมุมบวก ที่ทำให้เราอินไปกับเรื่องที่เกิดขึ้นและช่วยกันส่งใจไปช่วยทุกคน เขาแทบไม่นำเสนออะไรในแง่ลบเลยว่า โค้ชพาเด็กไปทำไม จะโดนอะไรไหม เด็กไปทำไม ไม่รู้เหรอว่าไม่ควรไป แต่เค้าโฟกัสที่วิธีการช่วยเหลือ และเน้นการเล่นข่าวกับตัวละครต่างๆในเชิงสร้างสรรค์ • ช่วงที่มีดรามาสื่อ มองให้ใจเป็นกลาง เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ใหม่ และกระทันหัน ในช่วงแรกของเหตุการณ์ ยังไม่มีการบริหารจัดการควบคุมสื่อที่ดีพอ เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าจะมากันเยอะขนาดนี้ภายในเวลาแค่วันสองวัน ทำให้สื่อสามารถเดินกระจัดกระจายหาข่าวกันได้ ทั้งสื่อไทยสื่อเทศ แต่ทางการก็เรียนรู้ไปพร้อมๆกับสื่อเรานี่แหละ ช่วงแรกสื่อเองก็ลำบากกันมากเลย สภาพพื้นที่เละเทะตุ้มเป๊ะ เต็มไปด้วยโคลน ห้องน้ำห้องท่าก็ลำบาก ข้อมูลกระจัดกระจาย ยังไม่มีความชัดเจนในหลายด้าน ก็เป็นการทำงานที่ลำบากมากสำหรับสื่อเช่นกัน • ในช่วงวันหลังๆ ก็มีการบริหารจัดการที่ดีเลย และตอนจะนำเด็กออกมา ก็มีการกันสื่อออกนอกพื้นที่ไปซะไกล สื่อส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือนะ เราก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะเคยดูข่าวต่างประเทศอื่นๆเขาก็มีการบริหารจัดการสื่อเหมือนกัน แต่ความน่าสงสารก็บังเกิดในคนหมู่วิชาชีพเรา คนลงพื้นที่ก็จะมีความกดดันว่าต้องหาข่าวมาส่งเข้าสถานี เพราะสถานีไทยเราเล่นเกาะติดกันทั้งวัน ก็เลยออกมาแนวสัมภาษณ์กันเอง และหา side story อื่นๆ ซึ่งก็มีหลายสื่อทำได้ดีมากเลย ขอชื่นชมจากใจ • ส่วนทีมเราย้ำกันเสมอว่า จะไม่ทำข่าวที่สร้างความลำบากให้ใคร อะไรที่ขอแล้วไม่ได้ ก็จะถอยทันที ไม่ตื๊อ เคารพการตัดสินใจของทางการ มีดรามาบ้าง แต่เราพยายามเรียนรู้และแก้ไข ส่วนตองซึ่งได้ขึ้นไปปีนเขาหาปากปล่องถ้ำกับทีมตำรวจ เราก็จะย้ำเสมอว่าห้ามไลฟ์เฟซบุ๊ค เพราะไม่อยากให้น้องพลาด และไม่อยากให้ตองที่เดินป่าต้องไปสร้างความไม่สะดวกให้คนทำงาน โดยภาพรวมก็ออกมาดี ตองรายงานเฉพาะตอนหยุดพัก และขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตลอดหากจะรายงาน • โดยภาพรวม ทีมเราผ่านงานนี้มาได้ สะดุดบ้าง ล้าบ้าง แต่พอไหวกับงานใหญ่ในประเทศแบบไม่ทันตั้งตัว 18 วันที่ผ่านมา เชื่อว่าทุกทีมข่าวทุกสื่อ สุขภาพแทบพัง ทางเราก็เช่นกัน แต่ก็ได้เรียนรู้อะไรเยอะ ว่าสื่อเราเองควรปรับปรุงตัวและพัฒนาอย่างไร • ชอบสเตตัสของเอม นภพัฒน์จักร บก.ดิจิทัลของเวิร์คพอยท์ ที่พูดถึงทีมข่าวตัวเองกับบรรดาสื่อต่างชาติที่มาทำข่าวกรณีถ้ำหลวงว่า รู้สึกเหมือนเตะบอลในสนามข้างบ้านอยู่ดีๆ จู่ๆก็มีโรนัลโดและเมสซี่มาแจมเตะด้วย เอมสื่อว่านี่คือครั้งแรกที่ทีมของเขาหรือสื่อไทยต้องลงสนามข่าวเดียวกันกับสื่อดังอย่าง BBC /CNN /ABC และอื่นๆอีกมากมายภายใต้สถานการณ์และข้อจำกัดเดียวกัน และรู้สึกว่าแพ้ยับ • มิกก็รู้สึกเช่นกันค่ะ เห็นการรายงานของแต่ละที่แล้ว รู้ตัวเลยว่าเราก็ต้องเร่งพัฒนา ในแง่ hardware เราคงสู้ไม่ได้อยู่แล้วด้วยเรื่องงบประมาณและทีมงาน แต่ software เราน่าจะพัฒนาได้ ก็เก็บไว้เป็นบทเรียน และจะเริ่มพัฒนากับทีมเล็กๆของเราก่อน อาจใช้เวลาหน่อย แต่ก็ต้องทำค่ะ • อ้อ ลืมบอกไป เป็นครั้งแรกนะที่มิกกับพี่อุ๋มลองทำข่าวเป็นภาษาอังกฤษ ขุดทักษะเดิมมาสมัยอยู่อสมท. เพราะอยู่กองข่าวภาษาอังกฤษ ยังเสียดายอยู่ ทำได้ไม่มาก เพราะมีภาระงานอื่นเป็นเรื่องหลักค่ะ เสริมเขี้ยวเล็บสื่อมวลชน ก้าวทันยุคดิจิตอล ออนไลน์ Source - เว็บไซต์เดลินิวส์ (Th)Saturday, July 14, 2018 23:20 30430 XTHAI XLOCAL XGEN RGN V%NETNEWS P%WDN ทุกอย่างจบในมือถือเครื่องเดียว !!! สมาคมฯสื่ออาชญากรรม ติวเข้มสื่อมวลชน เสริมทักษะพัฒนาความสามารถการใช้สมาร์ทโฟน รายงานข่าวผ่านสื่อดิจิตอลอย่างมีคุณภาพ สร้างสรรค์สังคม ตอบโจทย์ผู้อ่านเพื่อก้าวทันโลกยุค 4.0 เมื่อวันที่ 14 ก.ค.สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย จัดอบรมหลักสูตร “นักเล่าเรื่องด้วยมือถือ” (Mobile Journalism) ณ ห้อง 111C ชั้น 11 ซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม เพื่อพัฒนาสื่อมวลชนในยุค 4.0 และเพิ่มพูนความรู้ ในอาชีพสื่อมวลชนยุคดิจิตอลออนไลน์ นายสมชาย จรรยา อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นอีกวัตถุประสงค์หนึ่งที่ทางนายไพโรจน์ เทศนิยม นายกสมาคมฯ ได้วางแนวทางเพื่อต้องการที่จะพัฒนาสื่อมวลชน หรือสมาชิกในสังกัด ให้ได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ให้เท่าทัน และนำความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในอาชีพ “สำหรับหลักสูตรอบรมครั้งนี้ ทางสมาคม ร่วมกับ บริษัทซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน) โดยเชิญ คุณจุลพัฒน์ จันทร์ไกลลาศ มาบรรยายหลักคิดเรื่อง “วารสารศาสตร์มือถือ ภูมิทัศน์ของการสื่อสาร 4.0”โดยบรรยายหลักการถ่ายทำ การใช้มือถือทำงานผลิตเนื้อหา ฝึกการใช้งานขาตั้ง ตัวประคองมือถือ และ ไมโครโฟนเพื่อให้เข้าใจการทำงานผลิตวีดีโอเพื่อการเล่าเรื่อง การวางแผนการถ่ายทำ และการตัดต่อขั้นตอนที่ถูกขมวดมาอยู่ในกระบวนการเดียวกันในยุคปัจจุบัน” อุปนายกสมาคมกล่าวและว่า ในการอบรมครั้งนี้ นอกจากจะได้ข้อมูลความรู้แล้ว ยังได้ลงมือฝึกถ่ายคลิปเพื่อการเล่าเรื่อง การฝึกตัดต่อด้วยมือถือ / รีวิวงาน และคอมเม้นท์ ด้านนายบัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับประชาชนหลากหลายกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง และในหลากหลายรูปแบบ ในวันนี้สื่อดิจิตอล สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทต่อในการดำเนินชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะสื่อมวลชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะฝีมือในการนำเสนอข่าวให้ตอบโจทย์ยุค 4.0 เพราะสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ จิตวิญญาณของความเป็นสื่อมวลชนที่ต้องการส่งต่อคอนเทนต์ดีๆ ให้เกิดการรายงานข่าวผ่านสื่อดิจิตอลอย่างมีคุณภาพสร้างสรรค์สังคม ตอบโจทย์ความสนใจของผู้อ่าน ผู้ชม ซีพี ออลล์จึงได้ร่วมกับสมาคมฯ จัดอบรม “นักเล่าเรื่องด้วยมือถือ” ให้กับสมาชิกของสมาคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการรายงานข่าวคุณภาพ แบ่งปันเรื่องราวดีๆ เพื่อสังคม ที่มา: www.dailynews.co.th นาย Burton Blume นักวิเคราะห์การตลาดชาวอเมริกัน ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ถ้ำหลวงที่จะเปลี่ยนโฉม หรือ ‘รีแบรนดิ้ง’ ประเทศไทยไว้ดังนี้ . คุณอาจจะยังไม่รู้ ว่าไทยแลนด์เพิ่งจะเปลี่ยนโฉมใหม่ของตัวเอง ด้วยนักฟุตบอลเยาวชน 12 คน และโค้ชของพวกเขา และมันคือสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก . ทำไมต้อง ‘เปลี่ยนโฉมใหม่’? เพราะการเปลี่ยนโฉมใหม่คือการสร้างคุณค่าให้กับชีวิต . นอกจากการท่องเที่ยวในเรื่อง การเลี้ยงช้าง งานเทศกาลประเพณีต่างๆ อาหารที่สุดจะน่ารับประทาน และทะเลที่แสนจะสวยงามแล้ว ทั่วโลกได้รับรู้ถึงอภิมหาดราม่าความทรหดอดทนของมวลมนุษยชาติ และการเอาชนะความท้าทายต่างๆ . เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เผยแพร่โฆษณาเชิญชวนให้ชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว และดูเหมือนว่าสโลแกน ‘Amazing Thailand’ นั่นมันอะเมซิ่งจริงๆ เพราะไทยแลนด์กำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งสุดยอดวีรบุรุษ ซึ่งเรื่องราวการช่วยเหลือพวกเด็กๆที่หายตัวไปนั้น ได้หลอมรวมจิตใจของผู้คนทั่วโลก และจะตราตรึงในใจ อย่างไม่มีวันลืม . ลองนึกจินตนาการถึงสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยอุปสรรค อย่างเช่นพายุฝนที่ตกอย่างหนัก ดินโคลน ระดับน้ำสูง และความมืดมิดภายในถ้ำที่ไม่มีแสงแม้แต่น้อย เจ้าหน้าที่ไทยและอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลก ต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อโอกาสที่จะได้พบผู้รอดชีวิตภายในถ้ำ และพวกเขาก็ประสบความสำเร็จ . คุณลองคิดดูสิ ทีมฟุตบอลเยาวชน 12 คน จากชนบท เกือบจะได้ไปดูการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในอินเตอร์เน็ตและโทรทัศน์ ต่างก็เต็มไปด้วยเรื่องของทีมหมูป่าและเรื่องฟุตบอลโลก แล้วทรัมป์ เขาคือใครเหรอ? ไปสนใจเขาทำไม? . หลังจากที่ทีมหมูป่าออกมาจากถ้ำหลวง ทั่วโลกมองมายังประเทศไทย เปรียบเสมือนแสงใหม่แห่งความหวัง ... - ความใจกว้าง : ในภาคเหนือที่ซึ่ง 4 ประเทศมาบรรจบกัน ในบางครั้งเขตชายแดนก็มีช่องว่างที่ผู้อพยพและคนไทยมาเจอกันได้ และเด็กๆผู้อพยพทั้งหลายก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนร่วมกับเด็กไทยด้วยกัน และยังได้ที่พักอาศัยอยู่ในวัดและในชุมชนหมู่บ้านใกล้ๆกับชายแดน...ซึ่งแตกต่างไปจากประเทศต่างๆในยุโรปและอเมริกาเหนือ ที่มีความใจกว้างน้อยกว่า ... - ความร่วมแรงร่วมใจกัน : คนไทยเดินทางไปต่างประเทศมากกว่าที่ผ่านๆมา ส่วนชาวต่างชาติหลายพันคนก็เข้ามาอยู่อาศัยในราชอาณาจักรไทยเช่นกัน คนจากหลายประเทศมีความผูกพันต่อกัน จึงไม่แปลกที่หลายๆคนยอมเสียสละเวลาของตนเอง เพื่อช่วยกันสนับสนุนไทยแลนด์ ในการช่วยทีมหมูป่า ... - ความสุขที่รวมเป็นหนึ่งเดียว : คุณจะไม่เห็นรอยยิ้มที่สวยที่สุดของคนไทยจากศูนย์การค้าหรูหราในถนนสุขุมวิท แต่รอยยิ้มที่สวยที่สุดนั้นมาจากคนไทยที่รวมเป็นหนึ่งเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามวิกฤติ ไม่ว่าจะรวยจะจน หรือมีฐานะหน้าตาทางสังคมอย่างไรก็ตาม ... - ความกล้าหาญ : ตัวอย่างความกล้าหาญในครั้งนี้ ไม่มีใครที่จะยอดเยี่ยมไปกว่า จ่าเอกสมาน กุนัน อดีตทหารสังกัดหน่วยทำลายใต้น้ำ หรือหน่วยซีลของไทย ซึ่งเสียชีวิตในขณะที่ปฏิบัติภารกิจภายในถ้ำหลวง เพื่อเคลื่อนย้ายเด็กและโค้ชออกจากถ้ำ การเสียสละชีวิตของเขาเป็นแรงผลักดันให้เจ้าหน้าที่คนอื่นไม่ยอมแพ้ที่ปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จ ... - ความเป็นผู้นำที่ดี : คุณณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในขณะนั้น ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยย่อท้อ และเป็นผู้บังคับบัญชา ที่สั่งการและประสานงานกับตำรวจ ทหาร กระทรวง ทบวงกรม และอาสาสมัครจากหลายหน่วยงาน ซึ่งภารกิจในครั้งนี้มีความเสี่ยงสูง และทางเลือกในการปฏิบัติภารกิจนั้นมีไม่มาก แต่ท่านผู้ว่าฯก็มีการไตร่ตรองและออกคำสั่งได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ... - จิตใจที่แน่วแน่ : ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ความสามารถของตัวละครทั้งหลายในเรื่องนี้ คือการมีสติที่มั่นคง และแน่นอนว่ามาจากการฝึกนั่งสมาธิ ซึ่งเรารู้มาว่า โค้ชของพวกเด็กๆเคยบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์มาก่อน . จึงทำให้ในระหว่างที่รอคอยความช่วยเหลือเป็นเวลายาวนานนั้น เขาสามารถควบคุมสติของเขาได้อย่างสงบนิ่ง แม้แต่นักดำน้ำเองก็คงจะใช้การควบคุมจังหวะลมหายใจเพื่อทำให้จิตใจของพวกเขาสงบนิ่ง ไม่ตื่นตระหนกในระหว่างที่กำลังดำน้ำเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรในถ้ำที่มืดมิด ... ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่จะเปิดเผยในอีกไม่กี่วันนี้ แต่จะไม่มีใครมาเปลี่ยนแปลงเรื่องจริง ที่พวกเราเป็นสักขีพยาน: ประเทศชาติถูกกำหนดด้วยคุณค่าของประชาชน ..... *อย่าลืมกดติดตามเพจ?GEN?เพื่อไม่ให้พลาด บทความ ข่าวสาร และสาระดีๆ GEN ขอบคุณรูปและที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=495215210898898&id=454480918305661 . #ถ้ำหลวง #ไทยแลนด์ #โฉมใหม่ #BurtonBlume #Rebranding ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ 5 ลักษณะสื่อที่ไม่ปลอดภัย-ไม่สร้างสรรค์ Source - MGR Online (Th)Monday, July 16, 2018 20:25 51978 XTHAI XOTHER XGEN V%WIREL P%ASMO วันนี้ (16 ก.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เรื่อง กำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ พ.ศ.2561 ความว่าโดยที่พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 กำหนดให้คณะกรรมการประกาศกำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (2) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงกำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ไว้ ดังต่อไปนี้1. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคม หรือส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างร้ายแรง2. สื่อที่มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกแยก ยั่วยุ และสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล จนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ3. สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์4. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย5. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อหลักจรรยาบรรณสื่อ หรือแนวปฏิบัติของวิชาชีพสื่อนั้นๆประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561วิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์--จบ-- ที่มา: https://mgronline.com https://www.youtube.com/watch?v=YK92djz4ahk 18/7/61> การนำเสนอข่าวนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ทีม ‘หมูป่าอะคาเดมี’ ๑๓ คน ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นเวลา ๑๐ วัน แล้วได้รับความช่วยเหลือออกมาได้ทั้งหมด และอยู่ในระหว่างการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ นั้น การรายงานข่าวที่ผ่านมา ถูกสังคมตั้งคำถามต่อจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งองค์กรวิชาชีพสื่อได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อถอดบทเรียนเป็นแนวทางในการนำเสนอข่าวโดยยึดหลักจริยธรรมวิชาชีพ รวมไปถึงการเรียนรู้ร่วมกันในการสร้างกลไกการกำกับดูแลจากคนในวิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม นอกจากนี้ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เมื่อ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ได้ออกประกาศ แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตระหนักและระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ . ๑. พิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบในการนำเสนอข้อมูล ข่าว และภาพข่าวโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นส่วนตัว เคารพสิทธิส่วนบุคคล คำนึงถึงเรื่องชาติพันธุ์ ความเชื่อ และวิธีปฏิบัติของศาสนา . ๒. ไม่มุ่งนำเสนอข่าวสารเพื่อแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ . ๓. หลีกเลี่ยงการเปิดเผยรายงานแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารอันจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล และจะเป็นการกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตตามปกติของบุคคลในข่าว อาทิ ภูมิหลังทางครอบครัว รสนิยม หรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ . ๔. ไม่ควรเสนอข่าวในทำนองชักจูงให้บุคคลในข่าวเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตามปกติที่เคยดำเนินภายหลังเยาวชนและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนฟุตบอลทั้ง ๑๓ คน กลับมาใช้ชีวิตโดยปกติในชุมชนถิ่นที่อยู่อาศัย สื่อไทยโวยสื่อนอก เอารังนกมาล่อ-เข้าถึงตัวหมูป่า ทั้งๆ ที่ทางการสั่งห้าม Source - MGR Online (Th)Friday, July 20, 2018 09:50 54875 XTHAI XGEN V%WIREL P%ASMO วงการสื่อวิจารณ์แซ่ด ทางการสั่งห้ามสื่อเข้าถึงตัวทีมหมูป่า แต่กลับปล่อยสื่อนอกเข้าไปเยี่ยมถึงบ้าน เอากระเช้ารังนก-ซุปไก่สกัดมาเยี่ยม นายกสมาคมนักข่าววิทยุ-โทรทัศน์ แฉสื่อหัวทองไปหาไม่ต่ำกว่า 2-3 สำนัก กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนในแวดวงวิชาชีพสื่อในไทยวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง กรณีการนำเสนอข่าวของ 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมี่ ที่ได้รับการช่วยเหลือออกจากถ้ำหลวง และออกจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์กลับบ้านในความดูแลของผู้ปกครอง เมื่อพบว่าสื่อต่างประเทศเข้าไปสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ภายในถ้ำ แล้วนำไปออกอากาศ ทำให้ป็นที่กังขาถึงมาตรฐานในการเข้าถึงตัวเด็กของข้าราชการไทย โดยเฟซบุ๊ก Thepchai Yong ของนายเทพชัย แซ่หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ระบุว่า มัวแต่ห่วงสื่อไทยว่าจะไปรบกวนน้องๆ ทีม "หมูป่า" ที่ไหนได้ นักข่าวฝรั่งแห่กันไปดักถึงบ้าน เท่าที่เห็นมีทั้ง ABC News, CBS และอีกหลายช่องที่ประกาศอย่างภาคภูมิใจว่าได้สัมภาษณ์พิเศษบรรดาเด็กๆ ที่สื่อไทยถูกเตือนให้อยู่ห่างๆ นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อ ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวเช่นเดียวกัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ทางอำเภอแม่สายได้แจ้งว่า บุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่ต้องการติดต่อสัมภาษณ์ หรือทำกิจกรรมใดๆ กับนักเรียนทีมหมูป่าและเพื่อน ต้องได้รับอนุญาตจากประธานอนุกรรมการคุ้มครองเด็กระดับอำเภอ (นายอำเภอแม่สาย) ก่อน นายอำเภอจึงจะมีการให้พบตัวเด็กๆ ได้ นอกจากนี้ นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย บอกว่า หลังจากจบการแถลงข่าวเมื่อ 18 พ.ค. ไม่ควรให้สัมภาษณ์หรือออกรายการโทรทัศน์อีก เพราะเจ้าหน้าที่เป็นห่วงการใช้ชีวิตหลังจากนี้ และไม่อยากให้มีเรื่องกระทบจิตใจ และการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก โดยจะส่งพัฒนาสังคมเข้าไปดูแลให้เขาอยู่ในสังคมได้ ไม่ถูกคุกคาม นอกจากขอความร่วมมือแล้ว จะมีทีมสหวิชาชีพ และใช้กฎหมายคุ้มครองเด็กเข้าไปดูแลด้วย อย่างไรก็ตาม นายเทพชัย เป็นน้องชาย นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น อดีตผู้ก่อตั้งเครือเนชั่น ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัท กาแฟดำ จำกัด ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ทางไทยพีบีเอส ก่อนหน้านี้เป็นพิธีกรในรายการเดินหน้าประเทศไทย ช่วง ส่งหมูป่ากลับบ้าน ที่ผลิตโดยกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมี พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อยู่เบื้องหลังผลิตรายการดังกล่าว ก่อนหน้านี้ นายเจมส์ ลองแมน ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ ABC News ของสหรัฐอเมริกา ได้สัมภาษณ์ น้องไตตั้น ด.ช.ชนินท์ วิบูลรุ่งเรือง อายุ 11 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่ติดอยู่ในถ้ำอายุน้อยที่สุด เขากล่าวว่า รู้สึกเซอร์ไพร์สที่คนทั่วโลกเฝ้ารอพวกเขา หลายคนให้การสนับสนุนและให้กำลังใจ ซึ่งตลอดเวลาน้องไตตั้นคิดถึงพ่อแม่ และคิดว่ากำลังรอตนอยู่ที่หน้าถ้ำ ขณะนี้กำลังมีสุขภาพที่ดี ได้ทานอาหารที่ชอบอย่างผัดเผ็ดหมู และมีเวลาอยู่กับครอบครัว รวมทั้งตื่นเต้นที่จะได้ไปดูฟุตบอลตามคำเชิญในเร็วๆ นี้ และในรายงานข่าว พบว่านายเจมส์ได้ตามนายพรชัย คำหลวง หรือ ตี๋ อายุ 16 ปี สมาชิกทีมหมูป่ารายหนึ่งถึงบ้านในยามวิกาล หลังจากที่มีการจัดรายการเดินหน้าประเทศไทย ช่วง ส่งหมูป่ากลับบ้านแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยสังเกตว่านายเจมส์ได้นำกระเช้ารังนกและซุปไก่สกัดยี่ห้อหนึ่ง (สก็อต) มาเยี่ยมเด็กคนดังกล่าว เพื่อให้ได้สัมภาษณ์ออกทีวีอีกด้วย นอกจากนี้ นายเจมส์ ลองแมน ยังได้โพสต์อินสตาแกรมส่วนตัว ระบุว่า "ผมมีความสุขในการพบกับน้องไตตั้น อายุ 11 ปี อายุน้อยที่สุดในทีมหมูป่าอะคาเดมี่ ครอบครัวของเขาต้อนรับเราที่บ้าน และกล่าวว่ารู้สึกมีความสุขที่น้องได้กลับบ้านอีกครั้ง น้องเขาอายุแค่ 11 ปี เราจึงไม่ต้องการถามอะไรจากเขามากเกินไป เพียงแค่สนใจในความพิเศษของเขาเมื่อกลับมา มองที่รอยยิ้มนี่สิ เขาเผยสิ่งที่ดีที่สุดของประเทศนี้"--จบ-- ที่มา: https://mgronline.com เมื่อองค์กรวิชาชีพสื่อสั่งสอนจริยธรรมสื่อโดยละเลยคำว่า "ตรวจสอบข้อเท็จจริง" https://prachatai.com/journal/2018/07/77889 ณรรธราวุธ เมืองสุข นับเป็นเรื่องน่าอึดอัดใจของผมอย่างยิ่งต่อองค์กรวิชาชีพสื่อ โดยเฉพาะสื่อวิทยุโทรทัศน์ ที่ผู้ควบคุมดูแลจริยธรรมมุ่งแต่สั่งสอนผู้อื่นโดยละเลยที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริง และรับผิดชอบต่อผลกระทบ ผมยกกรณีของ ข่าวเวิร์คพ้อยท์ ที่โดนโจมตีเรื่องการ "ดักฟังวิทยุของราชการ" สืบเนื่องจากผู้สื่อข่าวภาคสนามของทีวีสาธารณะคนหนึ่ง ถ่ายภาพตอนเวิร์คพ้อยท์นำเสนอข่าวเด็กติดถ้ำที่มีการปล่อยเสียงจากวิทยุสื่อสารออกมาอากาศนำมาโพสต์และเขียนข้อความระบุว่า "ดักฟังวิทยุสื่อสารของเจ้าหน้าที่ ยังนำมาปล่อยเสียง และเป็นแหล่งข่าว...มาเปิดเผยสาธารณะ อ้าววว เขาทำข่าวแบบนี้กันแล้วเหรอ" และโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ส่งต่อไปจำนวนหลายพันคน เพจต่างๆ นำไปขยายความต่อ ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคม ต่อมานายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพสื่อ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกมาเขียนสเตตัส สื่อดักฟังวิทยุราชการทำได้หรือไม่ เผยแพร่ในเพจจริยธรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งทำให้นายฤทธิชัย ชูวงษ์ บรรณาธิการข่าวภูมิภาคของเวิร์คพ้อยท์เขียนชี้แจง และทางเพจจริยธรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์นำไปเผยแพร่ต่อ (https://bit.ly/2LnLSgG) ระบุความผิดพลาดในบทความของนายบรรยงค์ที่ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนว่า การนำเสนอคลิปข่าวดังกล่าวไม่ได้มาจากการดักฟังวิทยุสื่อสารของทางราชการ โฆษณา-ประชาสัมพันธ์ ขณะเดียวกัน ทางศูนย์พญาอินทรี เครือข่ายวิทยุภาคประชาชนเจ้าของได้เขียนชี้แจงว่า "ข่าวเวิร์คพ้อยท์น่าจะรับฟังผ่านเครื่องมือสื่อสารความถี่ภาคประชาชน (Citizen Band) เครื่องแดง ช่อง 49 ซึ่งเรารายงานสถานการณ์จากถ้ำหลวงตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน..." และ "ส่วนการรับฟังข่าวสารจากศูนย์พญาอินทรี ประชาชนคนไทยสามารถรับฟังได้โดยเสรี....หากมีวิทยุสื่อสารเครื่องแดงในมือ" ซึ่งข้อมูลนี้ ตรงกับคำชี้แจงของทางนายฤทธิชัย ชูวงษ์ บรรณาธิการข่าวภูมิภาคของเวิร์คพ้อยท์ที่ระบุว่า "ทางฝ่ายข่าวเวิร์คพอยท์ไม่ได้ดักฟังวิทยุสื่อสารของทางราชการแต่อย่างใด ฝ่ายข่าวได้คลิปเสียงส่งต่อมาทางไลน์ในกลุ่มสื่อทั่วไป ทั้งนี้ หลังจากเผยแพร่คลิปเสียงดังกล่าวแล้ว ทางฝ่ายข่าวก็ได้มีการติดต่อสัมภาษณ์อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายทางโทรศัพท์ เพื่อให้ท่านชี้แจงว่าข้อมูลในคลิปนั้น ถูกต้องหรือไม่ (ข่าวเช้าวันที่ 9 ก.ค. 61) และคลิปที่ถูกกล่าวหาก็เป็นเสียงของการรายงานข่าวของนายพลสิงห์ แสนสุข ประธานอำนวยการศูนย์สู้ภัยพิบัติแห่งชาติพญาอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช่เสียงของเจ้าหน้าที่หรือเสียงจากเครื่องมือของหน่วยงานราชการแต่อย่างใด" ประโยคข้างต้นนี้ ขัดแย้งกับสิ่งที่ประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยระบุ คือคำว่า "ดักฟัง" ซึ่งหากกิริยาดังกล่าวเป็นอย่างข้อกล่าวหาจะผิดกฏหมายของ กสทช. มาตรา 32 แต่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แสดงความเห็นกับสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ต่อกรณีการนำเสนอเสียงจากสัญญาณวิทยุสื่อสาร ในระหว่างภารกิจช่วยเหลือครั้งนี้ ว่า วิทยุสื่อสารสีแดง (ว.แดง) เป็นวิทยุคลื่นสาธารณะ ไม่ใช่คลื่นเฉพาะ ทุกคนจึงฟังได้ ดังนั้น จึงไม่มีความผิดฐานลักลอบดักฟัง อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นประเด็นอยู่ที่ความเหมาะสมมากกว่า ในการนำเนื้อหาที่คนอื่นพูดไปเผยแพร่ต่อ จากการไล่เรียงประเด็นนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดคำถามและคำตอบบางส่วนคือ 1.เรื่องนี้ คือการดักฟังวิทยุราชการหรือไม่? คำตอบคือไม่ใช่ แล้วเหตุใดผู้ใหญ่ในองค์กรวิชาชีพสื่ออย่างนายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง จึงใช้คำนี้เขียนเป็นหัวเรื่องในสเตตัสของตนเองอย่างจงใจว่า "สื่อดักฟังวิทยุราชการทำได้หรือไม่" ทำให้ชุดคำ "ดักฟังวิทยุของราชการ" ถูกผลิตซ้ำต่อไปทั้งที่มันขัดกับข้อเท็จจริง (และเมื่อ กสทช. ออกมาชี้ชัดแล้วก็ยังไม่มีการแก้ไขใดๆ แต่กลับแก้ไขเนื้อหาในข้อเขียนเพียงบางส่วนเท่านั้น) 2.สเตตัสต้นทางของผู้สื่อข่าวทีวีสาธารณะที่จุดประเด็นนี้ ถูกเจ้าตัวลบทิ้งไปแล้วอย่างไร้ความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น เหตุใดนายบรรยงค์จึงไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเรียกร้องจริยธรรมสื่อกรณีการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรมหรือไม่ อย่างไร 3.ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนายฤทธิชัย ชูวงษ์ ที่มีการถูกพักงานอย่างไม่มีกำหนด กระทบครอบครัว กระทบชีวิตส่วนตัว และถูกล่าแม่มดไปใส่ร้ายป้ายสีสร้างความเกลียดชังในเพจต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เจ้าตัวไม่ได้รู้เรื่องด้วย เหตุอันมาจากข้อชี้แจงที่เขาโต้แย้งข้อเขียนของนายบรรยงค์และถูกนำไปขยายความต่อ ทั้งที่การกระทำ (กรณีที่ถูกกล่าวหาว่ามีการดักฟัง) ไม่มีความชัดเจนว่าจะผิดจริยธรรมสื่อข้อใด (ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงใดๆ จากองค์กรวิชาชีพสื่อ) เป็นความผิดเกินกว่าเหตุหรือไม่ 4.การหยิบกระแสสังคมออกมาสอนจริยธรรมสื่อโดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง (จริงๆ มีกรรมการอยู่แล้ว) เป็นความเหมาะสมหรือไม่สำหรับคนที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพ 5.นายบรรยงค์คิดเห็นอย่างไรกับชุดคำที่ขัดแย้งกันในข้อกล่าวหาและข้อชี้แจง "ดักฟัง" และ "ไม่ได้ดักฟัง" "ราชการ" และ "สาธารณะ "ผิดจริยธรรม" และ "ไม่เหมาะสม" "ผิดกฏหมาย" และ "ไม่ผิดกฏหมาย" หากนำชุดคำดังกล่าวมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ผมไม่แน่ใจว่านายบรรยงค์จะรู้สึกรับผิดชอบขึ้นหรือไม่ว่า การออกมาสั่งสอนจริยธรรมสื่อท่ามกลางข้อเท็จจริงที่พร่ามัวโดยใช้กระแสสังคมนำ ไม่ต่างกับการชี้ว่าผิดจริยธรรม เพราะเท่ากับหนุนนำกระแสโดยไม่มีใครสนใจข้อเท็จจริง ใช้แต่ความรู้สึกนำ และต่างคนต่างมุ่งจะแสดงความเห็น และหากไม่อคติเกินไปนักก็จะรับฟังได้ว่า การกล่าวหาว่าทางเวิร์คพ้อยท์ดักฟังวิทยุราชการ คือการบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งโดยจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อข้อหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนจะกล่าวหาใคร ยิ่งเป็นองค์กรวิชาชีพก็ควรระมัดระวังก่อนจะลงแส้ใส่ผู้ใดมิใช่หรือ ผลกระทบต่อนายฤทธิชัย ชูวงษ์ในวันนี้ เกินกว่าเหตุ เกินความเหมาะสม เกินกว่าความผิดที่เขากระทำหรือไม่ (ซึ่งก็ยังมองไม่เห็นความผิดใดๆ เพราะความเหมาะสมเป็นเรื่องของวิจารณญาณ) ก็ยังไม่มีใครออกมายอมรับความผิดพลาด ไม่มีใครรับผิดชอบ และดูเหมือนการตีตราและทำร้ายตัวบุคคลครั้งนี้จะประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะมีผู้ร้าย มีการลงโทษที่รุนแรง และ ผู้กล่าวหาดูจะมีจริยธรรมสูงส่งขึ้นหรือไม่ คิดว่าในใจของเจ้าตัวน่าจะรู้ดี ซึ่งก็น่าเศร้ากับสมาคมวิทยุและโทรทัศน์ ที่หากยังใช้วิธีการเช่นนี้อยู่ (สั่งสอนจริยธรรมตามกระแสโดยละเลยข้อเท็จจริง) ใช้พละกำลังถีบสื่อออกไปแทนการพูดคุย เสนอแนะ ซึ่งอาจนำพาความร่วมมือหรือป้องกันปัญหาได้ในอนาคต น่าเสียดายจริงๆ ที่ต่อไปคงไม่มีใครสนใจว่าคุณบรรยงค์จะพูดอะไร. 20 ก.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังคงมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ 13 ชีวิตทีมหมูป่า ซึ่งภายหลังทั้งหมดได้รับการช่วยเหลือออกมาจากถ้ำหลวงได้สำเร็จนั้น ก็มีความห่วงใยจากประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เกรงว่าสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อในประเทศไทย จะเกาะติดสัมภาษณ์ รบกวนชีวิตส่วนตัวของทั้ง 13 ชีวิต แต่ปรากฏว่าล่าสุดสถานีโทรทัศน์ข่าวชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ช่อง ABC ได้ทำการเผยแพร่สกู๊ปข่าวสัมภาษณ์พิเศษเด็กๆทีมหมูป่า ไม่ว่าจะเป็น น้องไตตั้น หรือน้องตี๋ ทำให้ถูกมองว่ามีการกระทำที่ไร้จรรยาบรรณสื่อเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นว่า “มัวแต่ห่วงสื่อไทยว่าจะไปรบกวนน้องๆ ทีม “หมูป่า” ที่ไหนได้ นักข่าวฝรั่งแห่กันไปดักถึงบ้าน เท่าที่เห็นมีทั้ง ABC News , CBS และอีกหลายช่องที่ประกาศอย่างภาคภูมิใจว่าได้สัมภาษณ์พิเศษบรรดาเด็กๆ ที่สื่อไทยถูกเตือนให้อยู่ห่างๆ” เช่นเดียวกับ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่โพสต์ข้อความระบุว่า “ให้สัมภาษณ์สื่อทีวีไปเมื่อครู่ว่า ขอชื่นชมสื่อไทยที่ทำหน้าที่โดยยึดกรอบจริยธรรมสื่อ คำนึงถึงสิทธิเด็กและผู้ตกเป็นข่าว” “ขณะเดียวกันก็ขอประณามสื่อนอกที่มุ่งขายข่าวจนละเลยสิทธิความเป็นส่วนตัวของเด็กและครอบครัว เข้าไปวุ่นวายกับวิถีชีวิตของพวกเขาทั้งที่ได้รับการร้องขอแล้วก็ตาม” “ผมนึกเล่นๆว่า ถ้าเด็กที่ติดถ้ำเป็นชาติเดียวกับสื่อนอก ถูกนักข่าวรุมทึ้งไม่หยุดหย่อนแบบนี้ ดีไม่ดีคงมีการฟ้องร้อง เรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวกันบ้างละ ขอเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐในท้องที่ดูแลเด็กและครอบครัว ให้เหมือนกับที่แถลงข่าวไปเมื่อวันก่อน อย่าให้อภิสิทธิ์กับสื่อใดสื่อหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสื่อนอกหรือสื่อไทย ไม่เช่นนั้นวันแถลงข่าวหมู่ #พาหมูป่ากลับบ้าน คงเป็นแค่ปาหี่ฉากหนึ่งเท่านั้น #เปรยตามสายลม” ส่วน โจนาธาน เฮด นักข่าวชื่อดังของ BBC News ระบุว่า การทำข่าวของช่อง ABC ไม่ได้พิเศษอะไร เพราะอีกช่องก็ทำเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องไปรบกวนเด็กๆ หรือครอบครัวว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพราะทุกคนก็ต่างรู้ดีอยู่แล้วว่า นักดำน้ำพาเด็กออกมา และโค้ชเอกก็ทำหน้าที่ดูแลเด็กๆ ตอนอยู่ในนั้น ก่อนหน้านี้ นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า หลังจากจบการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ไม่ควรให้สัมภาษณ์หรือออกรายการโทรทัศน์อีก เพราะเจ้าหน้าที่เป็นห่วงการใช้ชีวิตหลังจากนี้ และไม่อยากให้มีเรื่องกระทบจิตใจ และการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก โดยจะส่งพัฒนาสังคมเข้าไปดูแลให้เขาอยู่ในสังคมได้ ไม่ถูกคุกคาม นอกจากขอความร่วมมือแล้วจะมีทีมสหวิชาชีพ และใช้กฎหมายคุ้มครองเด็กเข้าไปดูแลด้วย บันทึกสื่อถ้ำหลวง หลังฉากที่ยากลำบากและความประทับใจ เรื่อง – จุลสารราชดำเนิน คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าปฏิบัติการช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่า เป็นข่าวที่สะกดใจคนทั้งโลก ไม่เพียงแต่เฉพาะแค่คนไทย แม้วันนี้ทั้ง 13 คน จะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่จากเหตุการณ์ครั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือเสียงสะท้อนจากผู้ที่ติดตามข่าวสาร ที่วิจารณ์ถึงบทบาท การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการรายงานข่าว “จุลสารราชดำเนิน” สัมภาษณ์สื่อมวลชนภาคสนามที่ร่วมทำข่าวในเหตุการณ์ถ้ำหลวง เพื่อสะท้อนความรู้สึกถึงความยากลำบากในการทำงานของคนข่าวภาคสนามครั้งนี้ “เราสุขใจดีที่ภารกิจสำเร็จ” ชญตร์ มุกดาหาร “โบ๊ต” ผู้สื่อข่าวสายสังคม ช่อง 3 อายุ 30 ปี อายุงาน 8 ปี “ผมได้รับมอบหมายให้เข้าไปเสริมทีมของพี่แยม ฐาปนีย์ หน้าที่หลักคือประจำด้านหน้าถ้ำหลวง ติดตามเหตุการณ์และการทำงานของเจ้าหน้าที่ต่างชาติ กับอีกจุดคือที่ ดอยผาหมี ที่ ตำรวจไปสำรวจหาโพรง แต่พอตอนหลังที่มีจัดระเบียบสื่อ ก็ให้ลงมาอยู่ อบต. ตอนแรกเครียด เพราะยากในการทำงาน เนื่องจากสถานการณ์ไม่นิ่ง มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา จะทำยังไงให้เราไม่ตกประเด็น และการวางตัวก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ไปเกะกะการทำงานเจ้าหน้าที่เพราะจริงๆพื้นที่ของเหตุการณ์มันไม่มาก จุดมันไม่ได้กว้าง แต่พองานมันรันไป ความเครียดก็หายไปหมด เพราะจริงๆ ข่าวนี้ หัวใจคือการช่วยเหลือเด็กๆ เจ้าหน้าที่ทุกคน คือฟันเฟืองที่สำคัญทั้งหมด เราก็เลือกที่เรารู้สึกว่าตรงกับเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับข่าวจริงๆ ความประทับใจมี สองเรื่อง อย่างแรกคือคืนวันที่ 2 ก.ค. ซึ่งเป็นวันที่เจอเด็กๆและโค้ช ก่อนหน้านั้น มีข่าวลือมาตลอดว่าเจอแล้ว ตั้งแต่วันแรก เจอนานแล้ว และเริ่มหนาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทุกคนต้องหาข้อเท็จจริงไปหักล้าง ต้องตรวจสอบ เช็คกันตลอดว่าจริงไหม จนวันที่ 1 ก.ค. ยิ่งหนาหูมากขึ้น อาจเป็นเพราะมันใกล้ช่วงเวลาที่เหมาะสมว่าควรที่จะเจอเด็กๆ ทีมข่าวจึงต้องผลัดเปลี่ยนกัน 24 ชั่วโมง ตอนนั้นผมกลับมาที่พัก ระหว่างทางก็มีข้อความทีมที่ถ้ำหลวงว่าเห็น ผบ.ซีล กอดกับผู้ว่าฯ ผมก็ถามกลับไปว่ากอดแบบไหน เพราะตีความได้ 2 ความหมาย ในใจตอนนั้นอยากให้เป็นด้านบวก จนมาถึงที่โรงแรม มีข่าวด่วนว่าเจอเด็กแล้ว ทั้งทีมดีใจมาก ยิ้มทั้งน้ำตาออกมาโดยที่ไม่รู้เลยมาออกมาได้ยังไงแต่รู้สึกว่าก้าวแรกมันสำเร็จแล้ว ทั้ง 13 คนยังปลอดภัย ทั้งทีมรีบกลับไปที่ถ้ำ เพราะก้าวที่ 2 คือการช่วยเด็กออกมา และต้องปลอดภัย บรรยากาศที่ถ้ำวันนั้น ผมจำได้ว่ามันเหมือนการเฉลิมฉลอง เหมือนงานปาร์ตี้ ขนาดย่อม เจ้าหน้าที่ จิตอาสา ทุกภาคส่วนที่มาช่วยเหลือกัน 24 ชั่วโมง สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างชาติ คือหันไปทางไหน ทุกคนยิ้มแย้ม มีความสุข ดีใจ โล่งใจ มันใช้คำว่า “ปีติ” ได้เลย ทุกอย่างดูผ่อนคลายด้วยรอยยิ้มที่เติมในหน้าของแต่ละคน วันที่แถลงปิดศูนย์ ซึ่งมีการเล่าถึงเด็กๆ 13 คน รวมโค้ชเอก ว่าปลอดภัย ผอ.โรงพยาบาล ท่านพูดถึงอาการเด็กๆ ว่าอยู่ในภาวะที่โอเคมากๆ แล้วพูดขึ้นมาว่า จะขอให้ทุกคนดูสิ่งนี้ เป็นคำตอบที่ดีที่สุด ก่อนจะฉายคลิป ของทั้ง 13 คนที่อยู่ใน โรงพยาบาล มันเป็นภาพที่ประทับใจมาก เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีการเปิดคลิปออกมา ตอนที่น้องๆยกมือไหว้ขอบคุณในคลิป ทุกคนชูมือสัญลักษณ์ “เลิฟ” กลับไปให้น้องๆ คือกลั้นน้ำตาไม่อยู่ เราสุขใจที่เห็นเขาแข็งแรง ปลอดภัย เข้าใจคำว่าความสุข ทั้งที่ไม่ได้รู้จักกันเลย เราเห็นเขา รู้จักเขาผ่านเรื่องราวคำบอกเล่าจากคนอื่นด้วยซ้ำ ผมไม่รู้ว่าจะอธิบายให้เข้าใจได้ยังไง มันยินดีไปด้วย มันมีความสุขมาก 0เสียงวิจารณ์คือกระจก แต่อย่าเหมารวม ผมคิดว่าทุกคนมีสิทธิที่จะคิด แต่สำหรับคนทำงานในพื้นที่ทุกคน เท่าที่ผมเห็น สื่อให้ความร่วมมือ และเคารพการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทั้งการจัดระเบียบ หรือเรื่องต่างๆ อาจมีบางคนที่กระทำบางอย่างไม่ระมัดระวัง หรือมีภาพอะไรที่หลุดไป สื่อก็ตักเตือนกันอยู่แล้ว ความเห็นข้างนอกที่มองมาที่สื่อ ผมว่ามันเป็นกระจกสะท้อนให้เรามากกว่า ว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งให้เราทำงานด้วยความระมัดระวัง ยอมรับว่าบางทีก็ท้อที่เราถูกเหมารวม แต่อย่างที่บอก ทุกคนมีหน้าที่ และทุกคนมีสิทธิที่จะคิด เราก็รับฟัง และก็บอกตัวเองว่าเราทำงานอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง “ดราม่าสื่อ เราถูกมองด้วยอคติ” สมเกียรติ นูมหันต์ “เตอร์” ผู้สื่อข่าวอาชญากรรม TNN24 อายุ 30 ปี อายุงาน 8 ปี “ผมลงพื้นที่ไปรายงานข่าว หลังเหตุการณ์ผ่านไป 3 วัน สถานีมีทีมข่าวไปเกาะติดทั้งหมด 6 ทีม เราอยู่หน้างานก็จะคุยหารือกันว่าควรจะรายงานจุดไหน ยังไง ปรับไปตามสถานการณ์ ผมเป็นผู้ชายคนเดียว ก็เลือกไปจุดที่ลำบากหน่อย อยู่รอบนอก เดินป่า ขึ้นเขา การทำงานครั้งนี้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะแม้จะมีการแถลงชัดเจน ให้ข้อมูลถูกต้อง แต่เราเป็นสถานีข่าว ต้องมีข่าวนำเสนอตลอดเวลา จึงต้องหาความเคลื่อนไหว หาประเด็นที่จะส่งในแต่ละชั่วโมง จุดไหนมีอะไร เมื่อมีการจัดระเบียบการแถลงข่าว เราก็ใช้วิธีถามเอาเป็นข้อมูลมา เช่น การสูบน้ำออกกี่ลูกบาตรเมตรต่อนาที คือเป็นทีวีแต่ต้องเก็บข้อมูลเหมือนเป็นหนังสือพิมพ์ ที่จะมีรายละเอียดการทำงานต่างๆ ใช้วิธีแบ่งกันไปหาข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในแต่ละส่วน และสิ่งที่เราเห็น เช่น มีการยกอะไรเข้าไป มีการเคลื่อนขบวนเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องเป็นข้อมูล exclusive อะไรมากมาย เพราะสุดท้ายข้อมูลที่ลึกและละเอียดที่สุด จะมาตอนแถลงอยู่แล้ว ซึ่งพอแถลงแล้ว เราก็จะเอาที่แถลงนั่น มาซอยประเด็น แบ่งที่จะนำเสนอในแต่ละช่วงๆ และเก็บประเด็นซึ่งเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ เอาไปใช้วันต่อไป มันทำให้ต้องรู้จักเลือกคัดประเด็นที่จะนำเสนอ ต้องรู้จักวางแผน เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อ 0 สุดยอดผู้ว่าฯ คุมสถานการณ์อยู่หมัด สำหรับผมประทับใจการทำงานของท่านผู้ว่าฯ ตอนแรกเราไม่เข้าใจระบบแบบนี้ ทำไมไม่ให้สัมภาษณ์ ไม่ให้ข้อมูล ให้รอแถลงแค่วันละ 2 ครั้ง จากจุดเดียวเท่านั้น แต่พอพิจารณาแล้ว ก็เข้าใจแนวทางการทำงานของท่าน เพราะมันทำให้สามารถป้องกันข่าวลือข่าวโคมลอยต่างๆได้ ท่านผู้ว่าฯ ท่านเด็ดขาด ชัดเจน ข่าวถ้ามีสื่อแยกไปเล่นประเด็นที่ไม่ได้มาจากปากท่าน ท่านก็จะตำหนิอย่างชัดเจนเลย ว่าให้ข้อมูลข่าวสารที่ผิด มันทำให้ไม่มีใครกล้าออกนอกลู่นอกทาง เพราะถ้าถูกตำหนิ นั่นคือข่าวคุณไม่น่าเชื่อถือ ทุกคนก็จะไม่กล้าไปเจาะลึกอะไรเกินไป รอข้อมูลที่ยืนยันได้จากท่านผู้ว่าฯ เท่านั้น จริงๆมันก็ทำให้เราไม่เหนื่อยในการต้องคอยเช็คข่าวตลอดเวลา เวลามีข่าวลือ ข่าวปล่อยอะไรมาตลอดด้วย เราโฟกัสแค่เมื่อไหร่จะเจอเด็ก เมื่อไหร่จะพาเด็กออกมาได้ ผมมองว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเจ้าหน้าที่ เรื่องการจัดระเบียบการทำงาน การควบคุมการให้ข้อมูลข่าวสาร ในเคสที่เป็นสถานการณ์แบบนี้ เสียงวิจารณ์ที่มีต่อสื่อ แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติของกระแสโซเชียล ที่แค่รูปๆเดียวก็เป็นประเด็นได้แล้ว แต่อยากให้มองสื่อด้วยความเป็นธรรมด้วย หลายๆอย่างซึ่งคนที่ติดตามข่าว ไม่ได้เห็นในข้อเท็จจริงหน้างาน ดราม่าสื่อมันทำให้เรารู้สึกว่าสื่อของไทยถูกมองด้วยอคติ ยอมรับว่าช่วงแรกอาจจะยังไม่เป็นระเบียบ เพราะเหตุการณ์นี้มีสื่อไปเกาะติดจำนวนมาก ทั้งไทยและต่างประเทศ แม้แต่สื่อท้องถิ่นของต่างประเทศก็ให้ความสนใจมาทำข่าวนี้ หลังจากที่โดนว่า มีคอมเมนต์จากผู้ว่าฯ ก็มีการจัดระเบียบการให้ข่าว สื่อไทยเองก็ช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ ช่วยดูแลสื่อต่างชาติด้วย เพราะเขาอาจจะไม่เข้าใจภาษา การสื่อสาร เช่น ตอนจะเข้าไปถ่ายภาพซีล สื่อไทยก็ช่วยบอก บางครั้งก็รู้สึกว่าไม่เป็นธรรมที่เหมารวมตำหนิสื่อไทยทั้งหมด บางทีก็น่าน้อยใจ เพราะบางเรื่องไม่ใช่สื่อไทยทำ แต่คนที่เสพข่าว ดูแล้วก็ด่าไปก่อนแล้ว เช่น วันที่มีแถลงข่าว มีการถามเรื่องยาสลบ 5-6 คำถามติดกัน มีดราม่าในโซเชียลว่านักข่าวเข้าใจอะไรยากเหรอ ถามซ้ำๆอยู่ได้ คืออยากขอชี้แจงว่าที่ถามไม่ใช่สำนักข่าวของไทย แต่เป็นสื่อต่างชาติที่เขายังไม่เคลียร์ ด้วยความที่เขาใช้ล่าม ซึ่งล่ามไม่ใช่นักข่าวจริงๆ บางครั้งก็ไม่เข้าใจวิธีการทำข่าว หรือไม่เข้าใจประเด็น จึงจับประเด็นไม่ได้ เลยถามซ้ำๆ จนทำให้แหล่งข่าวโมโหและเกิดดราม่า มันก็รู้สึกน้อยใจที่เราเป็นสื่อไทยคนเสพข่าว จะมองแบบตำหนิไว้ก่อนแล้ว ว่าเราทำไม่ดี ทำงานไม่รู้เรื่อง ไม่มีจรรยาบรรณ แต่อันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะโทษใคร และไม่ได้ตำหนิสื่อต่างชาตินะ เพราะเข้าใจปัญหาเรื่องการสื่อสาร แต่ก็อยากขอความเป็นธรรมจากคนที่เสพข่าว อยากให้มองสื่อไทยด้วยความเป็นธรรมด้วย ไม่เหมารวม “ประทับใจความทุ่มเทของทุกคน” นฤพล อาจหาญ “มน” ผู้สื่อข่าว ช่อง 8 อายุ 27 ปี อายุงาน 4 ปี “ตอนที่ไปรายงานข่าวนี้ ผมได้รับมอบหมายให้อยู่หน้าถ้ำ แต่สามารถเคลื่อนได้ตลอด ถ้าตรงไหนมีประเด็นก็ให้ไปอยู่ตรงนั้น ในหน้างานมันก็ดูวุ่นวายในช่วงแรก เพราะมีทั้งเจ้าหน้าที่ และสื่อจำนวนมาก และข่าวต่างๆ กระจายอย่างรวดเร็ว มีข่าวลือ ข่าวปล่อยต่างๆ มันมีข้อผิดพลาดได้ง่าย จนกระทั่งมีการกำหนดการแถลงข่าวต้องรับข้อมูลจากผู้ว่าเท่านั้น วันละ 2 รอบ ทำให้วางแผนการทำงานได้ง่ายขึ้น ผมใช้สิ่งที่ผู้ว่าแถลงนั่นแหละ เอาข้อมูลนั้นมาใช้ เช่นแถลงรอบเช้า ผมก็เอาข้อมูลมาแกะ ส่วนหนึ่งก็รายงานจากประเด็นที่ผู้ว่าฯ แถลง อีกส่วนก็เอาไปหาข้อมูลต่อ ลงพื้นที่ เพื่อมาขยายและเล่าเรื่องให้คนดูเห็นภาพชัดขึ้นจากสิ่งที่ผู้ว่าแถลง ซึ่งเป็นข้อมูลที่เรายืนยันได้ มันทำให้ข่าวชัดเจน และเรามีข่าวที่จะเล่นต่อเนื่องได้ แม้จะมีการแถลงแค่วันละ 2 ครั้ง ผมประทับใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่สามารถช่วยเหลือทั้ง13 คนออกมาได้อย่างปลอดภัย แต่วินาทีที่รู้สึกว่ามันตื้นตันมากที่สุด คือตอนที่รถพยาบาลกำลังนำน้องคนสุดท้ายไปส่ง โรงพยาบาล ผมรายงานอยู่เส้นทางที่รถเคลื่อนผ่าน ก่อนเข้าไป โรงพยาบาล ตอนนั้นแค่ได้เห็นแสงไฟฉุกเฉินของรถพยาบาล ถึงจะมองไม่เห็นเลยว่ามีอะไรข้างในรถบ้าง แต่มันตื้นตัน ที่คนสุดท้ายเขาถึงมือแพทย์ น้ำตามันออกมาเอง มันเห็นพลังของทุกคนจริงๆที่ยินดีและมีความสุข พอรถเคลื่อนผ่าน ทั้งเสียงเฮ เสียงตบมือดีใจ เสียงคนร้องไห้ มีคนพูดว่าจ่าแซมหลับให้สบายนะ จ่าแซมทำสำเร็จแล้ว มันก็กลั้นน้ำตาไม่อยู่เลย ตอนที่รายงานข่าว ผมสัมภาษณ์ชาวบ้าน เขาบอกว่า ขอบคุณจ่าแซมมากๆ ภารกิจที่จ่าแซมทำสำเร็จแล้วนะ ดีใจทั้งที่น้องปลอดภัย และดีใจที่เจ้าหน้าที่ทำสำเร็จแล้ว เพราะเราอยู่ตรงนั้น เราเห็นว่าทุกคนทุ่มเทกันมากจริงๆ 0อย่าหวั่นไหวเพราะเรามีมาตรฐาน เสียงวิจารณ์ที่มีต่อสื่อ ในอีกมุมหนึ่งผมรู้สึกว่า มันก็ยังมีคนที่เข้าใจและให้กำลังใจการทำงานของสื่อ ไม่ได้มองสื่อในแง่ร้ายไปทั้งหมด อย่างผมเจอกับตัวคือคุณลุงท่านหนึ่ง เป็นเจ้าของร้านเค้กจากจังหวัดตรัง มาเยี่ยมลูกที่เชียงราย บังเอิญได้เจอกัน ก็บอกว่าดูข่าวที่รายงานแล้วร้องไห้ตาม เพราะรู้สึกเอาใจช่วยน้องๆไปด้วย คุณลุงขี่รถจักรยานยนต์ตามเอาขนมมาให้ ผมรู้สึกว่าในขณะที่สื่อมวลชนถูกสังคมออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ มีคนที่ตำหนิการทำงานของสื่อ แต่การมีจุดยืนในการรายงานข่าว ให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่เห็น หรือรายงานข้อมูลที่ยืนยันได้ มันทำให้งานของเราได้รับความน่าเชื่อถือ คำว่างานสื่อสารมวลชน มันก็บอกอยู่แล้วว่าเราเป็นสาธารณะ มีหน้าที่ที่ต้องรายงานสิ่งต่างๆให้คนได้รู้ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะถูกติเตียน จับตา ผมอยากให้กำลังใจสื่อ ถ้าเราทำงานตามบรรทัดฐานที่ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องหวั่นไหว แค่พิจารณาว่าเราเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ถ้าไม่ได้เป็นแบบนั้น ก็ไม่อยากให้เก็บมาคิดจนบั่นทอน เราจะได้มีพลังในการทำงานต่อไป โมเดลถ้ำหลวงต่อยอดระดับชาติ สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา “หนึ่ง” หัวหน้ากอง บก.ข่าว PPTV อายุ 38 ปี อายุงาน 17 ปี “วันแรกที่เราทราบเหตุการณ์ ก็ส่งทีมไปทำข่าว แต่คิดว่าเคสนี้ไป 3 วันก็พอ มีกู้ภัยแล้ว มันไม่น่าจะนาน เพราะถ้ำก็มีแค่นั้น เข้าไปก็ค้นหาในนั้น พอหน่วยซีลมา ความที่ผมเคยทำข่าวกู้ภัย ทำข่าวทหารมาเยอะ ถ้า “ซีล” มา คือมันต้องจบแล้ว เพราะเป็นหน่วยที่ศักยภาพสูงสุด จนมาวันที่ภาคสนามรายงานว่า ซีลถอยกำลังออกไป เพราะน้ำท่วมในถ้ำ เข้าไม่ได้ และมีการขึ้นไปหาโพรงด้านบน ตอนนั้นในกอง บก. ก็คุยกัน ว่าต้องปรับแผน ซึ่งตอนนั้นผมจะตามประเด็นนี้อยู่แล้ว ในกอง บก. จึงตัดสินใจว่าให้มาเลยแล้วกัน แล้วปรับทีมข้างในกันใหม่ โดยให้งานภาคสนาม ผมเป็นเซ็นเตอร์ ดูแลและประสานแจ้งเข้าไปข้างใน ส่วนทีม บก.ข้างใน ก็จะไปทำ side story ต่างๆ เพื่อประกอบเรื่อง เช่น ดูงานวิจัยถ้ำ ดูประวัตินักดำน้ำที่มา มันทำให้งานแบ่งชัดเจน และเก็บรายละเอียดมาประกอบกันได้แน่นขึ้น การมี บก.ออกไปกำกับดูแลในพื้นที่ มันช่วยได้มากในเคสที่ต้องการการเติมเต็ม การวิเคราะห์ประมวล มีคนที่คอยดูมุมกว้างของหน้างาน นั่งข้างสนามเป็นโค้ช คอยมองภาพรวมผู้เล่นในสนาม ว่าต้องเปลี่ยนตัวยังไง ต้องปรับเกมยังไง เวลาที่เราเติมทีม เราจึงเลือกใช้ บก. ลงไปเป็นตัวเติม เพื่อให้งานสนามสมูทมากขึ้น จริงๆอาจจะไม่ต้องเป็นผมก็ได้ อาจจะเป็น บก. คนอื่นก็ได้ แต่ผมอาจมีข้อที่เหมาะกับงานนี้ เพราะเป็นผู้รายงานข่าวภาคสนามโดยปกติอยู่แล้ว ในกรณีที่จำเป็น จะสามารถไปรายงานได้ด้วย อีกอย่างคือจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง กอง บก. ข้างใน กับทีมสนาม มันทำให้นักข่าวไปโฟกัสประเด็นหน้างาน ไม่ต้องกังวลการประสานกับออฟฟิศข้างใน เราอยู่หน้างาน เราเห็นว่านักข่าว เจอกับอะไร ต้องทำอะไร อะไรควรเสียเวลา อะไรไม่ควรเสียเวลา เช่น ให้ไปหาคำตอบว่าตอนนี้ “ซีล” เข้าไปถึงไหนแล้ว คนหน้างานจะรู้ว่ามันหาคำตอบไม่ได้ มันไม่มีใครมายืนยัน แต่คนข้างในแน่นอนว่าเขาอยากได้คำตอบ แต่เขาไม่เห็นภาพว่าหน้างานมันไม่มีใครให้คำยืนยันได้ หรือมีกระแสข่าวจากเพจนั้นบอกว่าอย่างนี้ จริงไหม ไปเช็คสิ หรือจะเอารายงาน 3 จุด จะเอาอะไรรายงานถ้าไม่มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญ เราช่วยตัดสินใจได้ ช่วยการดีไซท์ได้ กระบวนการตรงนี้มันช่วยทำให้ลดความหงุดหงิดระหว่างข้างในกับข้างนอก และทำให้ประเด็นที่รายงานออกไป มันมีอะไรมากขึ้น ไม่ใช่แค่รายงานเพียงเพื่อให้มี เพราะ บก. จะช่วยการมองงานในภาพรวมให้ได้ และเราเข้าใจอยู่แล้วว่าสั่งไปมันทำได้หรือไม่ได้ ยิ่งเราอยู่หน้างาน เรายิ่งเข้าใจ 0 ต้องถอดบทเรียนทั้งระบบ สำหรับผมประทับใจระบบการจัดการภัยพิบัติในการจัดการครั้งนี้ของประเทศไทย คืออาจจะเคยผ่านการทำข่าวภัยพิบัติต่างๆมาเยอะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มันทำให้ได้เห็นทั้งระบบที่ดี และระบบที่ยังไม่เคยเห็นในประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น เขามีระบบการจัดการ ที่ดี แบ่งงานชัดเจน มีผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ แต่ละจุด มีการสั่งการชัดเจน มีการแปะมือส่งต่อกัน ประเมินศักยภาพในการทำงานของตัวบุคคล ไม่ได้ดูแค่ความปลอดภัยของผู้ประสบภัยเท่านั้น แต่ดูความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือด้วย ที่ “ถ้ำหลวง” เราเริ่มจะมีภาพแบบนั้นในการจัดการภัยพิบัติของเรา มีการแบ่งงานที่ชัดเจน เช่น อุทยานไปดูการจัดการทางน้ำ มีทีมเจาะบาดาล มีทีมที่ไปหาโพรง คือจ่ายงานชัดเจน ทุกคนมีหน้าที่และไม่ก้าวก่ายกัน มันทำให้ทุกอย่างมีคำตอบหมด ว่าทำถึงไหน ทำได้ไม่ได้ ทำสำเร็จไม่สำเร็จ จะแก้ยังไงต่อ ถึงแม้ว่าพื้นที่ถ้ำหลวงจะมีความซับซ้อนของสภาพพื้นที่ แต่จุดเกิดเหตุไม่ได้กว้าง ต่างจากเคสน้ำท่วม หรือเหตุอื่นๆ ที่พื้นที่ประสบภัยกว้าง ผู้ประสบภัยเยอะกว่า แต่วิธีจัดการและวิธีคิดแบบนี้ มันมาถูกทางแล้ว มันน่าประทับใจที่ตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี น่าจะเป็นโมเดลต้นแบบที่เอาไปพัฒนาต่อได้ อีกอย่างที่น่าประทับใจคือ ได้เห็นการรวมตัวกันขององค์ความรู้มากมาย ทั้งคณิตศาสตร์ วิศวกรรม ทรัพยากรธรณี ชลประทาน คือเรียกว่าทุกศาสตร์องค์ความรู้มารวมกันอยู่ที่นี่ เพื่อช่วยกันออกแบบในการแก้ปัญหา จาก Mission Impossible ที่ทุกคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ น้ำท่วมถ้ำมิด ทางเข้าออกแคบๆ ที่ยากจะผ่านเข้าออกได้ แต่สุดท้ายก็ทำสำเร็จ เหตุการณ์นี้ ผมว่ามันมีคุณูปการมากๆ หลังผ่านเหตุการณ์มา เรามีการถอดบทเรียนการทำงานของสื่อ ถอดบทเรียนจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ แต่ผมว่าสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ที่เราอาจจะยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก นั่นคือ ระบบการทำงาน ความรู้ เทคนิค ศาสตร์ต่างๆที่ถูกนำมาใช้ในภารกิจครั้งนี้ มันควรที่จะมีการถอดบทเรียนองค์ความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเรามีทีมกู้ภัยที่สูง มีเรื่องการเปลี่ยนทิศทางน้ำ การกู้ภัยถ้ำ การดำน้ำในถ้ำ ต้องมีการวางไลน์เชือก ต้องเอาถังอากาศไปวางทุก 25 เมตร มีหน้ากากเต็มใบ มีอาหารพาวเวอร์เจลที่เอามาใช้ในการช่วยเหลือ คือเราไม่มีทางรู้หรอกว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกหรือไม่ องค์ความรู้หลายๆอย่าง ณ เวลาที่เกิดเหตุ มันอาจจะไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เวลานี้ มันผ่านการใช้มาแล้ว ถ้ามันจะไม่ถูกนำมาเปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จ ถ้าจะถูกเก็บไว้เพียงแค่คนที่มีความรู้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีการถ่ายทอดออกสู่สาธารณะ ผมว่ามันน่าเสียดาย ถามว่าทำไมวันแรกเราใช้เวลาในการช่วยเด็กออกมานานที่สุด แต่วันที่สองที่สามเร็วขึ้นเรื่อยๆ เพราะอะไร นั่นเพราะเขาเคยทำได้สำเร็จแล้ว มันมีความเข้าใจแล้ว เหมือนการอาบน้ำหน้าหนาว ยากแค่ขันแรก คนที่เคยทำก็ทำได้ แต่คนที่ไม่เคยทำล่ะ ถ้ามันเกิดเหตุแบบนี้อีก เราต้องไปตามคนที่ทำได้กลับมาทำเหรอ มันควรจะถูกถ่ายทอด การทำแผนที่ถ้ำ ซึ่งปรากฏว่าคนที่รู้มากที่สุดคือชาวต่างชาติ ไม่ใช่คนไทย เราควรกางองค์ความรู้เหล่านี้ออกมา หรือสกัดเป็นตำรา อะไรควรถ่ายทอดออกสู่สาธารณะได้ หรืออะไรที่ควรถ่ายทอดต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่มันจะไม่ทำให้เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้น และจบลงด้วยแค่ความสุขที่สามารถ ช่วยเหลือ 13 ชีวิตออกมาได้สำเร็จ แต่สุดท้ายมันจะเป็นประโยชน์และต่อยอดอะไรไปได้อีกมากมาย http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4756:2018-07-25-04-22-29&catid=168:2018-05-09-12-47-39 จรรยาบรรณสื่อมวลชน: กรณีภารกิจกู้ภัยทีมหมูป่า สิริยา จิตพิมลมาศ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ “ลูกชาย ได้มาเข้าฝันบ้างไหม…คุณแม่” นักข่าวได้ถามแม่ของหนึ่งในเด็กทีมหมูป่าผู้เคราะห์ร้ายติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ. เชียงราย เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงจรรยาบรรณและจริยธรรมสื่อมวลชน โดยนักข่าวภาคสนามท่านหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ให้สัมภาษณ์ส่วนบุคคลกับผู้เขียนว่าสถานการณ์ความกดดันในตอนนั้นทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เนื่องจากทีมหมูป่าได้ติดถ้ำหลวงล่วงเลยเข้าไปถึงวันที่ 10 มีทั้งข่าวลือมากมายและข้อมูลจากสายข่าวที่ไม่สู้ดีนัก ส่วนตัวแล้วนักข่าวภาคสนามท่านนี้เห็นว่าคำถามสัมภาษณ์นั้นไม่เหมาะสม แต่ก็ยังแสดงความเห็นใจและเข้าใจเหตุการณ์นี้มากกว่าประชาชนที่ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด จากเหตุการณ์ที่เกริ่นไว้เบื้องต้นสามารถชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดซึ่งเกิดจากความสิ้นหวังหมดหนทาง (Desperation) และถ้าวิเคราะห์ลึกลงไปจะเห็นได้ว่ามีส่วนจากความเชื่อในโชคลางอีกด้วย เหตุการณ์นี้จึงนำมาสู่คำถามว่าเวลาสื่อมวลชนลงปฏิบัติงานในช่วงวิกฤตการณ์ ซึ่งมีความกดดันรายล้อม จะสามารถนำความสิ้นหวังหมดหนทาง (Desperation) และความเชื่อมาเป็นสองปัจจัยหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลและปฏิบัติการนั้นควรจะกลายเป็นมาตรฐานจรรยาบรรณใหม่ที่สังคมควรจะยอมรับได้หรือไม่? ความสิ้นหวังหมดหนทาง (Desperation) มาตรฐานใหม่ของจรรยาบรรณสื่อมวลชนไทย? Bivins (2004) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Mixed Media: Moral Distinctions in Advertising, Public Relations, and Journalism ซึ่งเชื่อมั่นและศรัทธาในปรัชญาของอริสโตเติล เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่ได้ให้ความเห็นว่า จรรยาบรรณสื่อที่พอดีและเหมาะสมกับการนำไปใช้มากที่สุดคือ จรรยาบรรณที่ผ่านการแนะนำและชี้แนะแล้วเท่านั้น อย่างเช่น การขอคำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า ในขณะที่ Wyatt (2014) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และหัวหน้าภาควิชา Communication and Journalism ที่มหาวิทยาลัยมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้วิจารณ์หนังสือของ Bivins ว่าขาดการคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งจากตัวผู้สื่อข่าวเองจนไปถึงโครงสร้างองค์กรจากภายใน ทั้ง ๆ ที่ Bivins เองก็ได้เขียนไว้ในบทนำของหนังสือแล้วว่า “อิทธิพลจากองค์กร โดยเฉพาะในวงการข่าว สามารถมีได้อย่างมหาศาล” อิทธิพลดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าวได้โดยสิ้นเชิง โดยมีอิทธิพลมากพอที่จะสร้างความปรองดองหรือส่งเสริมความขัดแย้งจนไปถึงการริเริ่มสงคราม (Umeoguและ Ifeoma, 2012) โดยในประเทศไทยก็ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยการออกใบอนุณาตในการประกอบอาชีพสื่อมวลชนที่ควบคุมกำกับโดยรัฐ แต่ก็ติดว่าถ้าหากภาครัฐเป็นผู้ตรวจสอบและเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว อิสรภาพของสื่อก็จะหมดไป ในขณะที่ ดร. เกษม ศิริสัมพันธ์ (2008) ได้เน้นย้ำว่า ไม่ว่าอย่างไรสื่อก็ควรรักษามาตรฐานจรรยาบรรณสื่อหรือ “คุณภาพของข่าว” ที่นอกจากจะต้องเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ยังต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น สำหรับในกรณีของถ้ำหลวงซึ่งถือว่าเป็นข่าวที่อยู่ในประเภทวิกฤตและภัยพิบัติ และไม่ได้ถูกพบเจอบ่อยครั้งจึงกลายเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก สร้างความกดดันมหาศาลให้สื่อมวลชน เพราะทั้งโลกคอยจับจ้องความเคลื่อนไหวของสถานการณ์การกู้ภัยที่ถ้ำหลวงตลอดเวลา สำนักข่าวไทยและต่างชาติมารอทำข่าวหน้าถ้ำหลวงจำนวนมาก อีกทั้งสำนักข่าวในประเทศเองที่ต้องการออกอากาศความเคลื่อนไหว 8 ครั้งต่อวัน ในขณะที่รัฐบาลก็เข้ามาควบคุมเข้มงวดกับสื่อมวลชนให้นักข่าวรอการแถลงการณ์ตอนเย็นเท่านั้น เพราะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นความลับ ความกดดันและการแข่งขันจึงเกิดขึ้นอย่างมหาศาลจึงมาตกที่นักข่าวภาคสนาม ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นการเข้าไปสัมภาษณ์บริเวณภายในถ้ำที่เป็นพื้นที่ที่สงวนไว้ให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หรือการส่ง โดรนเข้าไปถ่ายทำข่าวในบริเวณที่ไม่ได้รับอนุญาต เหตุการณ์นี้ถูกตำหนิโดยคุณณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายฯ (ศอร.) ในขณะนั้น ว่าเป็นการกระทำที่ขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ ละเมิดกฎระเบียบ สร้างความเสี่ยงให้กับเจ้าหน้าที่ ความเสี่ยงเองมีหลายระดับ Coombs (2007) ได้กล่าวว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นจะมีลักษณะ 3 อย่าง นั่นก็คือ 1. ความเสี่ยงกับบุคคลส่วนรวม 2. ความเสี่ยงในการเสียหายทางการเงิน 3. ความเสี่ยงในการศูนย์เสียชื่อเสียง ซึ่งเหตุการณ์กู้ภัยครั้งนี้มีทั้ง 3 ระดับ นั่นก็คือความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่กู้ภัย การช่วยเหลือทางการเงิน อุปกรณ์ และอาสาสมัครจากคนทุกสารทิศ รวมไปถึงความเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียงของประเทศถ้าเกิดความผิดพลาดประการใดประการหนึ่ง เพราะฉะนั้นสื่อมวลชนควรจะมีการประเมินสถานการณ์อย่างละเอียดถี่ถ้วน และในครั้งนี้ควรนำจรรยาบรรณและจริยธรรมขั้นสูงสุดมาใช้ ไม่ใช่ใช้ความสิ้นหวังหมดหนทาง (Desperation) คุณชาย ปถะคามินทร์ เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อช่อง TNN 24 ว่าการทำข่าวภารกิจกู้ภัยทีมหมูป่าเต็มไปด้วยความรู้สึกที่มีความอ่อนไหว และทุกๆ องค์กรต้องกลับไปปรับปรุงแก้ไข เพราะสถานการณ์เป็นสถานการณ์วิกฤต ซึ่งถ้าเป็นนักข่าวก็ไม่ควรหวั่นไหว และควรที่จะส่งผู้สื่อข่าวที่มีประสบการณ์เข้าไปแทน รวมไปถึงกองบรรณาธิการที่ควรจะเข้ามากำกับดูแลให้เข้มงวด สั่งการการรายงานข่าว พิธีกรและคำถาม ว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและอ่อนไหวต่อความรู้สึก อย่างไรก็ดีสื่อมวลชนหลายๆ องค์กรก็สามารถรับมือกับความกดดันดังกล่าวด้วยการปรับทิศทางการนำเสนอข่าว โดยคุณพลอยศจี ฤทธิศิลป์ ผู้สื่อข่าวของช่องไทยรัฐ ได้รับมือความกดดันจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะต้องออกข่าวถึง 8 ครั้งต่อวัน ก็ได้แก้ไขปัญหาโดยเล่นข่าวในเชิงตามติดชีวิตความเป็นอยู่ของอาสาสมัครที่ทำงานอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างเช่นอาสาสมัคไทยที่ทำอาหารไทยรสจัดจ้านให้กับนักดำน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่นนานขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับน้ำที่เย็นเฉียบในถ้ำ หรืออาสาสมัครที่มาช่วยทำอาหารให้กับนักดำน้ำอังกฤษ และออสเตรเลียที่มีการควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด เป็นต้น สื่อต่างชาติเองก็มีเรื่องจรรยาบรรณสื่อเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นกัน ในความเป็นจริงแล้ว ศอร. ไม่ได้อนุญาตให้มีการเข้าสัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็กๆ ทีมหมูป่า สื่อต่างชาติเองถึงแม้จะได้รับความกดดันน้อยกว่า แต่ก็ได้มีการละเมิด และเข้าไปสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัว ซึ่งสื่อไทยเองยังไม่กล้าทำ ว่าด้วยเรื่องของความเชื่อ นอกจากความรู้สึกความสิ้นหวังหมดหนทาง (Desperate) แล้วยังมีเรื่องความเชื่อที่เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก โดยนักข่าวได้ถามแม่ของหนึ่งในเด็กทีมหมูป่าผู้เคราะห์ร้ายติดถ้ำหลวงว่า “ลูกชาย ได้มาเข้าฝันบ้างไหม…คุณแม่” ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเรื่องความเชื่อเป็นพื้นฐาน เพราะว่าเชื่อในเรื่องวิญญาณ และเชื่อว่าวิญญาณก็สามารถมาเข้าฝันได้เช่นกัน กรณีนี้คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูล คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน ได้ให้ความเห็นว่าการเอาความเชื่อมาผูกกับการนำเสนอข่าวเป็นเรื่องที่ไม่สมควร และไม่มีประโยชน์ต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องรายงานข่าวให้ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน มีความละเอียดอ่อนในฐานะคนไทยมากกว่านี้ ข่าวที่เกี่ยวกับความเชื่อและทำให้เกิดความสับสนในสังคมยังมีอีกมากมาย ดังเช่นปรากฏการณ์การรวมตัวกันของร่างทรงและหมอดูจำนวนมากอย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมานั่งร้องไห้ ผีเข้าอยู่หน้าถ้ำ แล้วยังมีข่าวจากสื่อกระแสรองบนอินเทอร์เน็ต โดยยอดค้นหาใน Google ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2561 ภายใต้คำค้น (keyword) ว่า “คำทำนาย ทีมหมูป่า” มีจำนวนมากถึง 204,000 ผลการค้นหา โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นวีดีโอถึง 45,400 คลิป และเมื่อภารกิจกู้ภัยสำเร็จ แม้แต่เพื่อนของผู้เขียนที่เรียนจบสูงจากประเทศอังกฤษ ไม่ได้เขียนขอบคุณหน่วยค้นหาผู้สูญหายในเฟซบุ๊กแต่อย่างใด แต่กลับเขียนว่า “หมอดู ก. แม่นจริงๆ” เรียกยอดไลค์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่าคนมีความเชื่อที่ฝังรากลึกและยากที่จะแก้ไข AC Nielsen ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในปี 2016 ซึ่งบ่งชี้ว่าช่องข่าวท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา จะออกอากาศเรื่องอาชญากรรม ภัยพิบัติ และสงครามร้อยละ 53.8 ในขณะที่ร้อยละ 15.5 ทุ่มไปกับการโฆษณา ตามมาด้วยรายการอื่นๆ อีกร้อยละ 15.5 และประกาศจากทางการอีกร้อยละ 0.7 โดย Zoe Boag บรรณาธิการ นิตยสาร The New Philosopher สัญชาติออสเตรเลียได้ชี้ว่าปัจจุบันนักเรียนทั่วโลกใช้เวลา 900 ช.ม. กับการศึกษาที่โรงเรียน ในขณะเดียวกันใช้เวลารับสื่อมากถึง 2,500 ช.ม. ต่อปี เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยู่ในสื่อก็คือสิ่งที่เด็กเรียนรู้และเลียนแบบ มันน่าเศร้าที่คิดว่าไม่ว่าพ่อกับแม่จะทุ่มเทดูแลลูก และส่งเข้าโรงเรียนอย่างดีที่สุดอย่างไร เด็กก็ยังจะเรียนรู้จากสื่ออยู่ดี ฉะนั้นการนำเสนอข่าวทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะโดยนักข่าวมืออาชีพที่ผลิตสื่อนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลัก และบุคคลทั่วไปที่ผลิตเนื้อหาด้วยตนเองบนโซเชี่ยลมีเดีย ทุกๆ คนควรจะตระหนักถึงผลกระทบ เพราะการทำสื่อที่มีจรรยาบรรณและจริยธรรมนั้น เปรียบเสมือนการสร้างอนาคตของชาติให้เจริญรุ่งเรืองในอนาคตนั่นเอง http://www.presscouncil.or.th/จับจ้องส่องจริยธรรมสื่/งานวิจัย-บทความวิชาการ-ก/sted4055/,วันที่13ก.ย.2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลงแบกฮัก

คลิก ฟังเพลงที่นี่ เพลง: แบกฮัก ศิลปิน: Suno (ท่อนแรก) เอาไปเถอะลูก บ่ต้องซื้อเขากิน ถุงข้าวที่แบกมา เต็มไปด้วยฮักอ้าย บ่แม่นแค่ข้าวสารเม็ดง...