๒.๒.๑ บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
-ข้อมูลเฟซบุ๊กเล็งผุดfaceAIเซ็นเตอร์แห่งชาติ
-ญี่ปุ่นAI
-ประกอบแนวคิดทฤษฎีtheory
-นักข่าวJournalism มีข้อมูลเกี่ยวกับทักษะ ข้อมูลเฟซบุ๊กเล็งผุดfaceAIเซ็นเตอร์แห่งชาติ Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)Wednesday, November 14, 2018 06:09 40874 XTHAI XCORP XITBUS XECON XFINMKT XBANK DAS V%PAPERL P%TSK 'เอทีเอสไอ'เตรียมดึงรัฐ-สถาบันศึกษาร่วม เอทีเอสไอ ชี้เอไอมาแน่ เล็งผนึกภาครัฐ-สถาบันการศึกษา จัดตั้ง "เอไอ เซ็นเตอร์แห่งชาติ" ขึ้นมาให้เอสเอ็มอี นาไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ล่าสุดเตรียมจัดงาน "ไทยแลนด์ ซอฟต์แวร์ แฟร์ 2018" แสดงศักยภาพซอฟต์แวร์ไทย หนุนเอสเอ็มอีใช้งานเทคโนโลยี นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ เอทีเอสไอ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าเทคโนโลยีที่มองว่าจะเข้ามาต่อยอดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตต่อไปข้างหน้าคือ "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ เอไอ (AI) ที่สามารถ นำมาต่อยอดให้บริการเชิงธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจได้ โดยสมาคม มีแนวคิดร่วมกับภาครัฐ และสถาบันการศึกษา ในการจัดสร้าง AI เซ็นเตอร์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ได้มีโอกาสนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ ทั้งการวิเคราะห์วางแผนธุรกิจ และการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ทั้งนี้สมาคม อยู่ระหว่างการจัด ทำแผนร่วมภาครัฐ เพื่อของบประมาณเข้ามาจัดซื้อฮาร์ดแวร์ ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ส่วนสถาบันการศึกษา เข้ามาสนับสนุนข้อมูล อาทิ งานวิจัยต่างๆ หรือ ข้อมูลเชิงวิชาการ ขณะที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ จะเข้ามาสนับสนุนข้อมูล อาทิ ข้อมูลร้านของชาร่วย เช่นเดียวกับภาคธุรกิจต่างๆ ที่เข้ามาใช้งาน ก็จะนาข้อมูลรายงานยอดขายต่างๆ เข้ามารวมเพื่อให้เอไอ ทาการวิเคราะห์ และคาดการณ์ โดยเอไอ จะมีความฉลาดมากขึ้นหากมีการใส่ข้อมูลหลากหลายมิติเข้าไปเพื่อให้ระบบทำการเรียนรู้ วิเคราะห์ และคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต "เทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นขณะนี้มีทั้ง AI บล็อกเชน และ IoT แต่เรามองว่า AI น่าสนใจมากสุด และน่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ และผู้ประกอบการได้รับประโยชน์มากสุด ส่วนบล็อกเชน เป็นเรื่องของระบบปิดที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกลุ่มเฉพาะ ไม่ได้ประโยชน์กับธุรกิจวงกว้าง ขณะที่ IoT เป็นเรื่องของฮาร์ดแวร์ หรือ ดีไวซ์ต่างๆ" นายทินกร กล่าวต่อไปว่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในบางกลุ่มมีการแข่งขันรุนแรง ทั้งจากผู้ประกอบการภายในประเทศด้วยกันเอง หรือ การเข้ามาของซอฟต์แวร์ต่างประเทศ โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงเป็นตลาดซอฟต์แวร์ทางด้านการนาข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลาดซอฟต์แวร์ AI และ IoT เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ อาทิ พอยต์ออฟเซล (Pos) ซีอาร์เอ็ม และบริหารทรัพยากรบุคคล หรือ เอชอาร์ ที่ตลาดยังมีการเติบโต ตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมหาศาล โดยกลุ่มเอส เอ็มอี ยังมีการใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ไม่มาก ประเมินว่าขณะนี้น่าจะมีสัดส่วนเอสเอ็มอีใช้งานซอฟต์แวร์ราว 30% ขณะที่มาเลเซีย มีสัดส่วนเอสเอ็มอี ใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่า 50% และกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีสัดส่วนเอสเอ็มอีใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่า 80% ทั้งนี้สมาคมยังคงมุ่งเป็นศูนย์รวมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ภายในประเทศที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และมุ่งการสร้างกลุ่มตลาดใหม่ๆ ผ่านกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ทั้งจาก ภาครัฐ และเอกชน โดยล่าสุดได้เตรียมจัดงาน "ไทยแลนด์ ซอฟต์แวร์ แฟร์ 2018" ขึ้นมา ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ที่ C asean, Cyber World ภายใต้แนวคิด พลังซอฟต์แวร์ไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในยุคดิจิตอล เพื่อแสดงศักยภาพซอฟต์แวร์ไทย และเปิดให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เลือกลงทุนซอฟต์แวร์หรือระบบที่เหมาะกับธุรกิจ และได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยในงานดังกล่าวได้รวบรวมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย มานำเสนอโซลูชัน และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายภายในงาน 50 ราย พร้อมกันนั้นในปีนี้ยังได้ดึงภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมการจัดงานดังกล่าวทั้ง เอไอเอส และบริษัทอินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จากัด (มหาชน) หรือ ไอเน็ต เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มขึ้นมาผลักดันโซลูชันซอฟต์แวร์ลงไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นอกจากนี้ยังจัดงานสัมมนาให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถนามาประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางธุรกิจกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสิทธิประโยชน์ต่างๆ กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาทิ รับสิทธิส่วนลดสาหรับการซื้อซอฟต์แวร์ มูลค่าสูงสุด 10,000 บาท (ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในโครงการ depa Mini-Transformation Voucher จานวน 400 ทุน มูลค่ารวม 4 ล้านบาท--จบ-- ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 - 17 พ.ย. 2561-- ทีมนักพัฒนาไทยคว้ารางวัล LINE BOOT AWARDS Source - เว็บไซต์เดลินิวส์ (Th)Tuesday, November 13, 2018 11:33 43651 XTHAI XITBUS IT V%NETNEWS P%WDN ทีม NILA ตัวแทนจากประเทศไทย ผู้ชนะจาก LINE HACK 2018 โชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัลชนะเลิศในหมวด Business / Work จากงาน LINE BOOT AWARDS ในปีนี้มาครองได้สำเร็จพร้อมเงินรางวัล 5 แสนเยน รายงานข่าวจาก ไลน์ประเทศไทย แจ้งว่า ไลน์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้จัด โครงการ LINE BOOT AWARDS 2018 ซึ่งเป็นการแข่งขันผลงาน Chatbot ครั้งยิ่งใหญ่ของ ไลน์ ในระดับนานาชาติ ที่จัดขึ้น ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยในการแข่งขันปรากฎว่า ทีม NILA หรือทีม And Yet, It Compiles ทีมผู้ชนะจาก LINE HACK 2018 ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 คนโชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัลชนะเลิศในหมวด Business / Work จากงาน LINE BOOT AWARDS ในปีนี้มาครองได้สำเร็จพร้อมเงินรางวัล 5 แสนเยน โดยทีม NILA ได้สร้างผลงาน Chatbot ช่วยจัดการกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบ Agile ผ่านการสื่อสารกันตามปกติของสมาชิกในกลุ่ม LINE โดย NILA จะฟังและวิเคราะห์บทสนทนาต่าง ๆ ที่ถูกพูดคุยกันผ่าน LINE แล้วใช้ AI ช่วยในการสร้าง แก้ไข มอบหมาย หรือติดตามงาน และเชื่อมต่อข้อมูลงานต่างๆ เข้ากับบริการของ JIRA ให้แบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงรายงานต่างๆ ตามที่ต้องการได้อีกด้วย ทั้งนี้ LINE BOOT AWARDS การแข่งขัน Chatbot จาก LINE ในระดับนานาชาติ ด้วยคอนเซปต์ “HACK CONNECT TOMORROW” เปิดโอกาสให้นักพัฒนาจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสโชว์ฝีมือการพัฒนา Chatbot ของ LINE ทั้งแบบทีมและแบบเดี่ยว ชิงเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ล้านเยนและรางวัลอื่นๆ อีกมากมายตามหมวดหมู่ต่างๆ โดยในปีนี้ มีโปรเจคเข้าร่วมกว่า 1,125 โปรเจคจากนักพัฒนากว่า 4,000 คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ไทย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ทาง ไลน์ ประเทศไทยได้ทำการคัดเลือกทีมนักพัฒนาตัวแทนจากประเทศไทยซึ่งก็คือทีม NILA จากเวที LINE HACK 2018 เมื่อเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมานั่นเอง สำหรับ รายนามผู้ชนะ LINE BOOT AWARDS 2018 รางวัลชนะเลิศ: โปรเจค Toubans! จากทีม Yui Nishimura โปรเจค Ica Ica จากทีม Ferdays รางวัลชนะเลิศตามหมวดต่างๆ หมวด Family: โปรเจค Family chores list จากทีม Family Love หมวด Business / Work: โปรเจค InLINE Agile (NILA) จากทีม NILA หมวด Casual: โปรเจค Zombie City: Audio Horror Mystery Game จากทีม VoiceApp Lab หมวด Group: โปรเจค Memory Roll จากทีม Making Lab หมวด Engineer (2 รางวัล): โปรเจค Move! Friends Robot System จากทีม rino products และโปรเจค Clova Camera and Home Skill & Bot จากทีม Kenichi Yoshida หมวด Student: Toubans! จากทีม Yui Nishimura ที่มา: www.dailynews.co.th เฟซบุ๊กกับการเลือกตั้ง Source - เว็บไซต์ไทยรัฐ (Th)Tuesday, November 13, 2018 05:01 21365 XTHAI XECON ECO V%NETNEWS P%WTR หลายปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กได้พยายามอย่างหนัก ที่จะยกมาตรฐานเนื้อหาที่พรั่งพรูอยู่บนแพลตฟอร์ม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 2,200 ล้านคนทั่วโลก เฟซบุ๊กถูกวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงขึ้น หลังการเลือกตั้งทั่วไปในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2559 ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะเหนือนางฮิลลารี คลินตัน นอกจากข่าวหลอก ข่าวลวง ซึ่งแพร่กระจายผ่านเฟซบุ๊ก สร้างความสับสนให้กับผู้ลงคะแนนเสียง รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครรายใดรายหนึ่งแล้ว ที่ฉาวโฉ่ที่สุดเป็นกรณีของบริษัทแคมบริดจ์ อนาไลติกา บริษัทที่ปรึกษาทางการเมือง ที่ได้นำข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 50 ล้านบัญชี ไปแสวงหาประโยชน์ในการเลือกตั้ง จนทำให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้นายมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเฟซบุ๊ก ต้องเข้าไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตรวจ สอบของวุฒิสภา สหรัฐอเมริกา เขายอมรับว่าเฟซบุ๊กยังขาดมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและคัดกรองข้อมูล ส่งผลให้แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กเต็มไปด้วยข้อมูลเท็จ ข้อความจงเกลียดจงชัง เหยียดเชื้อชาติ และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาและหลายๆประเทศ ซัคเกอร์เบิร์ก ตอกย้ำว่า เฟซบุ๊กต้องปรับเปลี่ยนการทำงานครั้งใหญ่ ลงทุนเพิ่มเพื่อปกป้องระบบให้มีศักยภาพมากขึ้น จนในที่สุด นำไปสู่การกำหนดนโยบายมาตรฐานชุมชนหรือ Community Standards ซึ่งเปรียบเหมือนคัมภีร์ชี้ทาง ว่าเนื้อหาใดสามารถหรือไม่สามารถ แบ่งปันและเผยแพร่บนเฟซบุ๊กได้ เมื่อกระบวนการมีความคืบหน้า สัปดาห์ก่อนเฟซบุ๊กจึงได้เปิดแถลงข่าวกลุ่มเล็กๆขึ้นในกรุงเทพฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายมาตรฐานชุมชน ซึ่งละเอียดยิ่งขึ้นและเผยแพร่ในหลากหลายภาษา รวมภาษาไทย เนื้อหาที่เฟซบุ๊กไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ได้แก่ การทำร้ายตัวเอง (Self-Injury) การใช้วาจาสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech), การกลั่นแกล้งและการคุกคาม (Bullying & Harassment), ภาพโป๊เปลือยและกิจกรรมทางเพศ (Nudity & Sexual Activity), ภาพความรุนแรง (Violent & Graphic Content), การใช้ความรุนแรงและการชักชวนทางเพศ (Sexual Violence & Exploitation), การโจมตีบุคคลสาธารณะ (Attacks on Public Figures), องค์กรอันตราย (Dan gerous Organiza tions), สินค้าควบคุม (Regulated Goods) เช่น ยา กัญชา ยาเสพติด, การบิดเบือนความจริง ข่าวเท็จและสแปม (Fraud & Spam) เป็นต้น ปัจจุบันเฟซบุ๊กมีผู้ตรวจสอบเนื้อหาทั่วโลกทั้งสิ้น 20,000 คน ทำงานครอบคลุมทุกเขตเวลาและพูดกว่า 50 ภาษา รวมภาษาไทย ผู้ตรวจสอบจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ นอกจากนั้นเฟซบุ๊กยังลงทุนหนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Arti ficial Intelligence) ให้เข้ามาตรวจจับเนื้อหาที่ฝ่าฝืนกฎในแบบเชิงรุกด้วย จากรายงานล่าสุดเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานชุมชน (Community Stan dards Enforcement Report) ของเฟซบุ๊ก ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. 2561 พบว่า 1.เฟซบุ๊กสามารถยกเลิกบัญชีปลอมได้ 583 ล้านบัญชี โดยเป็นการยกเลิกภายในไม่กี่นาทีที่มีการลงทะเบียนเข้าใช้ เพราะเช็กได้ทันทีว่าเป็นบัญชีปลอมและ 99% ตรวจสอบโดย AI 2.กำจัดสแปม 837 ล้านชิ้นหรือเกือบ 100% ของสแปมทั้งหมด โดยใช้ AI ทำงาน 100% 3.ลบภาพโป๊เปลือยและกิจกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ 21 ล้านชิ้น โดย 96% ของ 21 ล้านชิ้นเป็นผลงานของ AI ที่ตรวจจับภาพได้ก่อนที่จะมีผู้ใช้รายงาน 4.ลบคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความรุนแรงจำนวน 3.5 ล้านชิ้น ซึ่ง 86% เป็นการทำงานโดย AI 5.ลบข้อความโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มก่อการร้าย 1.9 ล้านชิ้น และ 99.5% เป็นผลงานของ AI 6.ลบข้อความที่สร้างความเกลียดชัง 2.5 ล้านชิ้น โดย 38% ตรวจพบโดย AI ข้อมูลข้างต้นบ่งชี้ว่า AI ทำให้เฟซบุ๊กร่นเวลาจัดการกับเนื้อหาที่ฝ่าฝืนกฎได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอรายงานจากผู้ใช้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง ซึ่งมีความซับซ้อนและต้องใช้ทักษะมนุษย์ เฟซบุ๊กยังแสดงความเห็นต่อการเลือกตั้งในไทยที่อาจเกิดขึ้นว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กทำงานอย่างหนักเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่าจะทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม พอเพียง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำงานร่วมกับหน่วยงานในประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระมัดระวังภายใต้บริบทของการเลือกตั้ง ประกอบด้วยคอนเทนต์ประเภทคลิกเบต (Clickbait) หรือลิงก์ที่หลอกให้คลิก โดยพาดหัวล่อด้วยเรื่องน่าสนใจ แต่เนื้อหาจริงกลับไม่มีอะไรหรือมีแต่โฆษณา, ข้อความที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ความขัดแย้ง รวมทั้งข่าวปลอม (Fake News) และบัญชีปลอม ตลอดจนข้อมูลที่ปลุกระดมไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือหลอกให้ไปผิดที่ ศุภิกา ยิ้มละมัย ที่มา: www.thairath.co.th 6 ทักษะดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในกลุ่มเทคโนโลยี จากมุมมองดีแทค Source - MGR Online (Th)Friday, March 08, 2019 19:14 36524 XTHAI XITBUS IT V%WIREL P%ASMO ดีแทคเผย 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พร้อมชูนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในองค์กร สร้างวัฒนธรรมเคารพซึ่งกันและกัน-ออฟฟิศปลอดภัย หนุนความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ความเท่าเทียมทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคมเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงเป็นวงกว้างในระดับโลก เนื่องจากจำนวนเพศหญิงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยียังมีสัดส่วนที่น้อย เพราะอัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีของเพศหญิง ขาดการสนับสนุนของภาครัฐ การขาดแบบอย่าง (Role model) ในตลาดแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศที่เกิดขึ้น รัฐบาล มหาวิทยาลัยและเอกชนจึงควรสนับสนุน 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศในภาคเทคโนโลยี ได้แก่ 1. ความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer literacy) เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดทักษะทางดิจิทัลแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นบันไดก้าวแรกในการก้าวสู่สายอาชีพทางเทคโนโลยีชั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนยังก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้หญิง ดังนั้น การมีความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ไอทีและความสามารถในการจำแนกความแตกต่างของเทคโนโลยีต่างๆ ได้ 2. โปรแกรมมิ่ง (Programming) เป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัลที่มีความต้องการสูงในตลาดแรงงาน ซึ่งในสหรัฐอเมริกา รายได้ของโปรแกรมเมอร์สูงถึงปีละ 62,860-106,580 ดอลลาร์ต่อปี และที่สำคัญทักษะโปรแกรมมิ่งสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้จากคอร์สออนไลน์ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีปริญญาในระดับมหาวิทยาลับรับรอง 3. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีความต้องการอย่างมากในตลาด เนื่องจากเทคโนโลยี Smart Home ต่างๆ รวมถึงยานยนต์ไร้คนขับกำลังได้รับการพัฒนาอย่างก้าวหน้าในทุกปีๆ ซึ่งทักษะที่เกี่ยวเนื่องกับปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ Machine learning, Deep learningและระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP) 4. เทคโนโลยีเสมือน (Virtual Reality: VR) กำลังเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมบันเทิงและการแพทย์ การเข้าใจเทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยพัฒนากลยุทธ์และโมเดลทางธุรกิจ ตลอดจนโซลูชั่นใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งผู้หญิงสามารถร่วมกำหนดทิศทางไม่ว่าจะเป็นด้านโปรแกรมมิ่ง กลยุทธ์ทางธุรกิจ และการตลาด 5. วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นศาสตร์ที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการทราบความต้องการของลูกค้าและตลาด นอกจากนี้ ยังมีการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมอีกด้วย 6. การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ถือเป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัล เนื่องจากการทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัลมีปริมาณมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคหันไปใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เช่น SEO Content marketing Video search Video content Conversion optimization เป็นต้น “เพื่อลดช่องว่างทางเพศที่เกิดขึ้นในภาคเทคโนโลยี องค์กรต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการอบรมและให้คำปรึกษา (Mentorship) และการให้โอกาสที่เท่าเทียม เพื่อให้ผู้หญิงสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาทางเทคโนโลยีในอนาคต” นางอเล็กซานดรา กล่าวเสริมว่า เพื่อตอกย้ำจุดยืนของดีแทคในการสนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างไม่เพียงเรื่องเพศ แต่ยังรวมไปถึงชาติพันธุ์ ศาสนา ดีแทคจึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ ที่สนับสนุนความหลากหลายในองค์กร (Diverse workplace) ต่างๆ เช่น นโยบายลาคลอด 6 เดือน สิ่งอำนวยความสะดวก การสร้างวัฒนธรรมเคารพในความแตกต่าง และนโยบายออฟฟิศปลอดภัย “ความแตกต่างทางเพศนั้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ตลอดจนการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งดีแทคได้มุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศชายและหญิงผ่านนโยบายต่างๆ ที่สร้างสมดุลและเอื้อให้เกิดสภาวะการทำงานที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ตัวอย่างเช่น นโยบายลาคลอด 6เดือน ซึ่งดีแทคถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้พนักงานที่มีบุตรสามารถลาคลอดได้ 6เดือน โดยยังรับเงินเดือนเต็มอัตรา การอำนวยความสะดวกของคุณแม่ผ่านห้องให้นมบุตร ห้องเด็กเล่น เป็นต้น” นอกจากนี้ ดีแทคยังมีแนวนโยบายในการสร้างออฟฟิศปลอดภัย ผ่านการให้ความรู้และขั้นตอนการรายงานเมื่อเกิดเหตุ เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน (Prevention to Sexual Harassment)ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งขององค์กร “การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันจะเป็นกุญแจสำคัญของการความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในองค์กร และก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า”--จบ-- ที่มา: https://mgronline.com ทักษะ 21 6 ทักษะดิจิทัล ทักษะเอไอ ทักษะพุทธ 26 ทักษะ 4.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น