วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ ๒-๒.๑.๒ ประเภทของสื่อออนไลน์


  • บทที่ ๒ สภาพปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน
    ๒.๑.๒ ประเภทของสื่อออนไลน์
    ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ มีด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำมาใช้โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม หลักดังนี้
    ๑. Weblogs หรือเรียกสั้นๆ ว่า Blogs คือ สื่อส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น บันทึกส่วนตัว โดยสามารถแบ่งปันให้บุคคลอื่นๆ โดยผู้รับสารสามารถเข้าไปอ่าน หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ซึ่งการแสดงเนื้อหาของบล็อกนั้นจะเรียงลำดับจากเนื้อหาใหม่ไปสู่เนื้อหาเก่า ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาย้อนหลังเพื่ออ่านและแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เช่น Exteen, Bloggang, Wordpress,Blogger, Okanation
    ๒. Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายทางสังคมที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มสังคม (Social Community) เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันทั้งด้านธุรกิจ การเมือง การศึกษา เช่น Facebook , Hi5, Ning, Linked in,MySpace, Youmeo, Friendste
    ๓. Micro Blogging และ Micro Sharing หรือที่เรียกกันว่า “บล็อกจิ๋ว” ซึ่งเป็นเว็บเซอร์วิสหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สำหรับให้ผู้ใช้บริการเขียนข้อความสั้นๆ ประมาณ ๑๔๐ ตัวอักษร ที่เรียกว่า “Status” หรือ “Notice” เพื่อแสดงสถานะของตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ หรือแจ้งข่าวสารต่างๆ แก่กลุ่มเพื่อนในสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ทั้งนี้การกำหนดให้ใช้ข้อมูลในรูปข้อความสั้นๆ ก็เพื่อให้ผู้ใช้ที่เป็นทั้งผู้เขียนและผู้อ่านเข้าใจง่าย ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Twitter
    ๔. Online Video เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเนื้อหาที่นำเสนอในวิดีโอออนไลน์ไม่ถูกจำกัดโดยผังรายการที่แน่นอนและตายตัว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามชมได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีโฆษณาคั่น รวมทั้งผู้ใช้สามารถเลือกชมเนื้อหาได้ตามความต้องการและยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บวิดีโออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้จำนวนมากอีกด้วย เช่น Youtube, MSN, Yahoo
    ๕. Poto Sharing เป็นเว็บไซต์ที่เน้นให้บริการฝากรูปภาพโดยผู้ใช้บริการสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพเพื่อนำมาใช้งานได้ ที่สำคัญนอกเหนือจากผู้ใช้บริการจะมีโอกาสแบ่งปันรูปภาพแล้ว ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่เพื่อเสนอขายภาพที่ตนเองนำเข้าไปฝากได้อีกด้วย เช่น Flickr, Photobucket, Photoshop,Express, Zooom
    ๖. Wikis เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) ซึ่งผู้เขียนส่วนใหญ่อาจจะเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ เช่น Wikipedia, Google Earth,diggZy Favorites Online
    ๗. Virtual Worlds คือการสร้างโลกจินตนาการโดยจำลองส่วนหนึ่งของชีวิตลงไป จัดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่บรรดาผู้ท่องโลกไซเบอร์ใช้เพื่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการอาจจะบริษัทหรือองค์การด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา รวมถึงองค์การด้านสื่อ เช่น สำนักข่าวรอยเตอร์ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อพื้นที่เพื่อให้บุคคลในบริษัทหรือองค์กรได้มีช่องทางในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ไปยังกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่ม ลูกค้าทั้งหลัก และรองหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท หรือองค์การก็ได้ ปัจจุบันเว็บไซต์ที่ใช้หลัก Virtual Worlds ที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียง คือ Second life
    ๘. Crowd Sourcing มาจากการรวมของคำสองคำคือ Crowd และ Outsourcing เป็นหลักการขอความร่วมมือจากบุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยสามารถจัดทำในรูปของเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆทั้งทางธุรกิจ การศึกษา รวมทั้งการสื่อสาร โดยอาจจะเป็นการดึงความร่วมมือจากเครือข่ายทางสังคมมาช่วยตรวจสอบข้อมูลเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ กลุ่มคนที่เข้ามาให้ข้อมูลอาจจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่อยู่ในภาคธุรกิจหรือแม้แต่ในสังคมนักข่าว ข้อดีของการใช้หลัก Crowd souring คือ ทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิดเพื่อนำ ไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยตรวจสอบหรือคัดกรองข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาสาธารณะร่วมกันได้ เช่น Idea storm, Mystarbucks Idea
    ๙. Podcasting หรือ Podcast มาจากการรวมตัวของสองคำ คือ “Pod” กับ “Broadcasting” ซึ่ง “POD” หรือ PersonalOn - Demand คือ อุปสงค์หรือความต้องการส่วนบุคคล ส่วน“Broadcasting” เป็นการนำสื่อต่างๆ มารวมกันในรูปของภาพและเสียง หรืออาจกล่าวง่ายๆ Podcast คือ การบันทึกภาพและเสียงแล้วนำมาไว้ในเว็บเพจ (Web Page) เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ที่สนใจดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งาน เช่น Dual Geek Podcast, Wiggly Podcast
    ๑๐. Discuss / Review/ Opinion เป็นเว็บบอร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความคิดเห็น โดยอาจจะเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ประเด็นสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เช่น Epinions, Moutshut, Yahoo!Answer, Pantip,Yelp
    ประเภทของสื่อออนไลน์ดังกล่าวซึ่งจากการรายงานผลการสำรวจการใช้สื่อออนไลน์ของคนไทยประมาณ 51 ล้านคนผ่านมือถือ“Mobile Device” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ พบว่า “Facebook” ยังคงเป็น Social Media ยอดนิยมอันดับ 1 ของคนไทย ส่วนอันดับ 2 คือ “YouTube อันดับ 3 “LINE” อันดับ 4 “Facebook Messenger”อันดับ 5 “Instagram” (https://www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-digital-report-2018/) จึงยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มตามความนิยมการใช้ของคนไทยและแบ่งตามลักษณะของการใช้ที่ใกล้เคียงกัน 5 ประเภทหลักได้ดังนี้
    ๑. โพสต์(ภาวนา) เป็นสื่อออนไลน์ที่เน้นการโพสต์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีบุคคลเข้ามาชมแสดงความคิดเห็นและแชร์ออกไปให้บุคคลอื่นได้รับทราบ อันประกอบสื่อออนไลน์ยอดนิยม เช่น Facebook Instagram Twitter LINE แบ่งออกเป็น
    ๑.๑ Social Networking
    หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารอย่างเช่นบุคคล เพื่อน บุคคล กลุ่มบุคคล จนกลางเป็นกลุ่มสังคม (Social Community) ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันทั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม ธุรกิจ การเมือง การศึกษา เช่น Facebook, LINE, Instagram ทั้งนี้ผู้ใช้จะเริ่มต้นสร้างตัวตนของตัวเองขึ้นในส่วนของ Profile ซึ่งประกกอบด้วยข้อมูลส่วนตัว (Info) รูป (Photo) การจดบันทึก (Note) หรือการใส่วิดีโอ (Video) และอื่นๆ นอกจากนี้ Social Networking ยังมีเครื่องมือสำคัญในการสร้างจำนวนเพื่อนให้มากขึ้น คือ ในส่วนของ Invite Friend และ Find Friend รวมถึงการสร้างเพื่อนจากเพื่อนของเพื่อนอีกด้วย
    ๑.๒ Micro Blogging และ Micro Sharing หรือที่เรียกกันว่า “บล็อกจิ๋ว” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog โดยเป็นเว็บเซอร์วิสหรือเว็บไซต์ ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สำหรับให้ผู้ใช้บริการเขียนข้อความสั้นๆ ประมาณ ๑๔๐ ตัวอักษร ที่เรียกว่า “Status” หรือ “Notice” เพื่อแสดงสถานะของตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ หรือแจ้งข่าวสารต่างๆ แก่กลุ่มเพื่อนในสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ทั้งนี้การกำหนดให้ใช้ข้อมูลในรูปข้อความสั้นๆ ก็เพื่อให้ผู้ใช้ที่เป็นทั้งผู้เขียนและผู้อ่านเข้าใจง่าย ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Twitter และ Microblog อื่นๆ สำหรับ Twitter นั้นเดิมทีผู้ออกแบบต้องการให้ผู้ใช้เขียนเรื่องราวว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ในขณะนี้ (What are you doing?) ต่อมามีการนำไปในทางธุรกิจเพิ่มยอดขาย สร้าง Brand เป็นครื่องมือสำหรับการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)รวมถึงประชาสัมพันธ์บทความใหม่ๆ ได้ด้วย ทำให้เป็นนิยมอย่างรวดเร็วจนทำให้เว็บไซต์ประเภท Social Network ต่างๆ เพิ่ม Feature ที่ให้ผู้ใช้สามารถบอกได้ว่าตอนนี้กำลังทำอะไรกันอยู่ นั้นก็คือการนำ Microblog เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งด้วยนั้นเอง
    ๑.๓ Weblogs หรือเรียกสั้นๆ ว่า Blogs เป็นระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเขียนบทความเรียกว่า Post และทำการเผยแพร่ได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากในการที่จะต้องมานั่งเรียนรู้ถึงภาษา HTML หรือโปรแกรมทำ web site ทั้งนี้การเรียงของเนื้อหาจะเรียงจากเนื้อหาที่มาใหม่สุดก่อน จากนั้นก็ลดหลั่นลงไปตามลำดับของเวลา (Chronological Order) การเกิดของ Blog เปิดโอกาสให้ใครๆที่มีความสามารถในด้านต่างๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ไม่มีขีดจำกัดเรื่องเทคนิคอย่างในอดีตอีกต่อไป ทำให้เกิด Blog ขึ้นมาจำนวนมากมาย และเพิ่มเนื้อหาให้กับโลกออนไลน์ได้เป็นจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้เครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดลักษณะของ Social คือการเปิดให้เพื่อนๆเข้ามาแสดงความเห็นได้นั่นเอง เป็นสื่อส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น บันทึกส่วนตัว โดยสามารถแบ่งปันให้บุคคลอื่นๆ โดยผู้รับสารสามารถเข้าไปอ่าน หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ซึ่งการแสดงเนื้อหาของบล็อกนั้นจะเรียงลำดับจากเนื้อหาใหม่ไปสู่เนื้อหาเก่า ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาย้อนหลังเพื่ออ่านและแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เช่น Blogger,Bloggang,Exteen,Okanation,Wordpress
    ๑.๔ Discuss / Review/ Opinion เป็นเว็บบอร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความคิดเห็น โดยอาจจะเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ประเด็นสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เช่น Epinions, Moutshut, Yahoo!Answer, Pantip,Yelp(พงษ์พิพัฒน์ สายทอง,ดร., สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอน
    ๒.แชร์(ทาน) (Media Sharing)เป็นสื่อออนไลน์ที่เน้นที่วิดีโอ ภาพ และเสียง ที่มุ่งหวังให้บุคคลอื่นเข้ามาชมแล้วก็แชร์ออกไป (Media Sharing) อันประกอบสื่อออนไลน์ยอดนิยม YouTube, ที่เน้นวีดิโอและภาพ "Media Sharing" เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์ (Online Video) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื้อหาที่นำเสนอในวิดีโอออนไลน์ไม่ถูกจำกัดโดยผังรายการที่แน่นอนและตายตัว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามชมได้อย่างต้องการ
    แบ่งเป็น Online Video เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเนื้อหาที่นำเสนอในวิดีโอออนไลน์ไม่ถูกจำกัดโดยผังรายการที่แน่นอนและตายตัว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามชมได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีโฆษณาคั่น รวมทั้งผู้ใช้สามารถเลือกชมเนื้อหาได้ตามความต้องการและยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บวิดีโออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้จำนวนมากอีกด้วย เช่น Youtube, MSN, Yahoo และเป็นเว็บไซต์ที่เน้นให้บริการฝากรูปภาพ Photo Sharing ที่ผู้ใช้บริการสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพเพื่อนำมาใช้งานได้นอกเหนือจากผู้ใช้บริการจะมีโอกาสแบ่งปันรูปภาพแล้ว ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่เพื่อ เสนอขายภาพที่ตนเองนำเข้าไปฝากได้อีก
    และ Poto Sharing เป็นเว็บไซต์ที่เน้นให้บริการฝากรูปภาพโดยผู้ใช้บริการสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพเพื่อนำมาใช้งานได้ ที่สำคัญนอกเหนือจากผู้ใช้บริการจะมีโอกาสแบ่งปันรูปภาพแล้ว ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่เพื่อเสนอขายภาพที่ตนเองนำเข้าไปฝากได้อีกด้วย เช่น Flickr, Photobucket, Photoshop,Express, Zooom ยังเป็นเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถ upload รูปหรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับครอบครัว เพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน นักการตลาด ณ ปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องทุ่มทุนในการสร้างหนังโฆษณาที่มีต้นทุนสูง เราอาจจะใช้กล้องดิจิตอลราคาถูกๆ ถ่ายทอดความคิดเป็นรูปแบบวิดีโอ จากนั้นนำขึ้นไปสู่เว็บไซต์ Media Sharing อย่าง Youtube หากความคิดของเราเป็นที่ชื่นชอบ ก็ทำให้เกิดการบอกต่ออย่างแพร่หลาย หรือกรณีหากกิจการคุณขายสินค้าที่เน้นดีไซน์ที่สวยงาม ก็อาจจะถ่ายรูปแล้วนำขึ้นไปสู่เว็บไซต์อย่าง Flickr เพื่อให้ลูกค้าได้ชม หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องมือในการนำชมโรงงาน หรือบรรยากาศในการทำงานของกิจการ เป็นต้น หรืออย่างกรณีของ Multiply ที่คนไทยนิยมนำรูปภาพที่ตนเองถ่ายมาแสดงฝีมือ เหมือนเป็นแกลลอรีส่วนตัว ทำให้ผู้ว่าจ้างได้เห็นฝีมือก่อนที่จะทำการจ้าง
    Podcasting หรือ Podcast มาจากการรวมตัวของสองคำ คือ “Pod” กับ “Broadcasting” ซึ่ง “POD” หรือ PersonalOn - Demand คือ อุปสงค์หรือความต้องการส่วนบุคคล ส่วน“Broadcasting” เป็นการนำสื่อต่างๆ มารวมกันในรูปของภาพและเสียง หรืออาจกล่าวง่ายๆ Podcast คือ การบันทึกภาพและเสียงแล้วนำมาไว้ในเว็บเพจ (Web Page) เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ที่สนใจดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งาน เช่น Dual Geek Podcast, Wiggly Podcast 9. Podcasting หรือ Podcast การบันทึกภาพและเสียงแล้วนำมาไว้ในเว็บเพจ (Web Page) เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ที่สนใจดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งาน
    ๓.ฐานข้อมูล(บุญ) (BiG Data) Wikis เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge)อันประกอบสื่อออนไลน์ยอดนิยม กูเกิล Wikis ซึ่งผู้เขียนส่วนใหญ่อาจจะเป็นนัก วิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ เช่น Wikipedia, Google Earth,diggZy Favorites Online Wikis เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ ผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ เช่น Wikipedia, Google Earth,diggZy Favorites Online
    ๔.วิเคราะห์ข้อมูล(ปัญญา) (Data Analysit) คือ Crowd Sourcing มาจากการรวมของคำสองคำคือ Crowd และ Outsourcing เป็นหลักการขอความร่วมมือจากบุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยสามารถจัดทำในรูปของเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆทั้งทางธุรกิจ การศึกษา รวมทั้งการสื่อสาร โดยอาจจะเป็นการดึงความร่วมมือจากเครือข่ายทางสังคมมาช่วยตรวจสอบข้อมูลเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ กลุ่มคนที่เข้ามาให้ข้อมูลอาจจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่อยู่ในภาคธุรกิจหรือแม้แต่ในสังคมนักข่าว ข้อดีของการใช้หลัก Crowd souring คือ ทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิดเพื่อนำ ไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยตรวจสอบหรือคัดกรองข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาสาธารณะร่วมกันได้ เช่น Idea storm, Mystarbucks Idea
    ๕. โลกเสมือนจริง(มายา) Virtual Worlds คือเป็นเครื่องมือในการสร้างโลกจินตนาการโดยจำลองส่วนหนึ่งของชีวิตลงไป จัดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่บรรดาผู้ท่องโลกไซเบอร์ใช้เพื่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการอาจจะบริษัทหรือองค์การด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา รวมถึงองค์การด้านสื่อ เช่น สำนักข่าวรอยเตอร์ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อพื้นที่เพื่อให้บุคคลในบริษัทหรือองค์กรได้มีช่องทางในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ไปยังกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่ม ลูกค้าทั้งหลัก และรองหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท หรือองค์การก็ได้ ปัจจุบันเว็บไซต์ที่ใช้หลัก Virtual Worlds ที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียง คือ Second life จะเห็นบทบาทสำคัญช่วยที่มีการแข่งฟุตบอลโลกที่ประเทศรัสเซียที่มาคือ VTR
    ทั้งนี้สื่อออนไลน์ (Online Journatitsm) นั้นประกอบด้วยเว็บไซต์ (Website) ที่ยอดฮิตที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก(สถิติ) เช่น เฟซบุ๊ก(facebook) ทวิตเตอร์(Twitter) ไลน์(Line) อินสตาร์แกรมหรือไอจี (Instagram - Ig) ยูทูป(YouTube) แอพพลิเคชั่น(Application) จนกระทั้งมีการลอมรวมเป็น (Online Muti Journatitsm) พัฒนาเป็น อินเตอร์เน็ต ออฟ ทิ้งค์ หรือ ไอโอที (Internet of Thinking =IOT) หรือมีการหลอมรวมรูปแบบ (Muti Platform)พัฒนาเป็นสังคมด้วยมีเดีย(Social Media) เพราะสร้างเป็นเครือข่ายทางสังคม (social network)ขณะเดียวกันทางด้านเทศโนโยลีได้(Technology) ที่มีการพัฒนาเริ่มตั้งแต่ กราฟิกเสมือนจริง(Augument Reality=AR) กราฟิก (VR)มีการผสมระหว่าง AR และ VR เป็น MR อย่างเช่น รวมถึง VTR คือ สื่อวีดีทัศน์หรือวิดีโอซึ่งใช้สำหรับบันทึกภาพและเสียง ส่วนมากมัก หมายถึงวิดีโอแนะนำบุคคล องค์กร หรือสถานที่โดยย่อเพื่อให้ผู้ชมเกิดความคุ้นเคยและได้รับข้อมูลที่สำคัญเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคคล หรือสิ่งที่จะได้สัมผัสหลังจากที่ได้ชม VTR แล้ว เช่น VTR แนะนำองค์กรจะทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรว่าทำอะไร มีใครเป็นผู้บริหารบ้าง และอื่น ๆ ก่อนที่จะได้ฟังการบรรยายจากตัวแทนขององค์กร เป็นต้น(http://www.xn--12c0ecxsex2q.com/)จนกระทั้งมีการพัฒนามาระดับปัญญาประดิษย์หรือหุ่นยนต์ (AI=Artificial Intelligence) หุ่นยนต์ อย่างเช่นโรบอต(robotics) ใช้ในสื่อออนไลน์สามารถสร้างข่าวได้ ๓๐,๐๐๐ ชิ้นต่อเดือน สร้างวิวสูงพร้อมกันนี้ยังนำมาใช้ในการสร้างข่าวปลอด(Fake News) ส่งผลให้เกิดผู้ส่งสารเสมือนจริง (VSR)
    หลังจากนั้นมีการประยุกต์ดิจิทอลในรูปแบบต่างๆ เช่น Digital Communications Digital Entrepreneurship Digital Learnings Digital Politics Digital Commerce Digital Innovations Digital Communications Digital Entrepreneurship Digital Learnings Digital Politics Digital Commerce Digital Innovations Digital City Digital Cafe Digital Sciene Digital Transformation หมายถึง ข่าวสร้างราคาได้บนฐานของการทำสิ่งที่คนอยากรู้ ขยายข้อมูลข่าว ต่อยอดประเด็นข่าว แตกต่างจากคนอื่น สื่อต้องทำ Big Data เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้รับสาร Digital Nomad สัมภเวสี "การดำเนินชีวิตประจำวันไม่ติดอยู่กับที่ อาศัยเทคโนโลยีและสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยสามารถนั่งทำงานตามร้านกาแฟ สวนสาธารณะ ชายทะเล ผาน้ำตก ริมขอบเหว ซึ่งสามารถทำงานได้" (https://thematter.co/sponsor/digital-nomad/47134) Digital City Digital Cafe Digital Sciene Digital Transformation หมายถึง ข่าวสร้างราคาได้บนฐานของการทำสิ่งที่คนอยากรู้ ขยายข้อมูลข่าว ต่อยอดประเด็นข่าว แตกต่างจากคนอื่น สื่อต้องสร้าง Big Data เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้รับสาร Digital Nomad สัมภเวสี "การดำเนินชีวิตประจำวันไม่ติดอยู่กับที่ อาศัยเทคโนโลยีและสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยสามารถนั่งทำ งานตามร้านกาแฟ สวนสาธารณะ ชายทะเล ผาน้ำตก ริมขอบเหว ซึ่งสามารถทำงานได้" (https://thematter.co/sponsor/digital-nomad/47134) ขณะที่ IBSC ก็มีแผนพัฒนาสอดรับ Digital Library MCU ประกอบด้วย Organization World MCU Classroom Contant Big Data Application Mind Sharing Caring Digital Literacy is for Social Enterprise Algorithm Platform Transformation ความเข้าใจ รู้เท่าทัน
    จากพัฒนาการของสื่อออนไลน์อย่างมากมายดังกล่าวส่งให้เกิดผู้ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ เช่นพร้อมกันนี้มีการหลอมรวมเช่น Digital Journatitsm ขณะเดียวกันก็มีเทศโนโลยีที่เป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวช่วยอย่างเช่น AR และ VR เป็น MR อย่างเช่น รวมถึง VTR รวมถึง AI (Artificial Intelligence) ................................ https://www.mindmeister.com/952405628/_ มา:http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post.html[๙ส.ค.๒๕๖๑]. ที่มา: http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=718 http://crnfe2013.blogspot.com/2013/05/11-social-media.html อ้างใน http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=718  
      • ไม่มีความคิดเห็น:

        แสดงความคิดเห็น

        วธ.ประเดิมงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดสารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน”

        กระทรวงวัฒนธรรมเปิด “งานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน” ณ วัดประยุรวงศาวาส  ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 2...