วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระพรหมบัณฑิตชี้อภัยทาน จุดเริ่มต้นความปรองดอง ยก "เนลสัน" คนต้นแบบไม่จองเวร

       


เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  และคณาจารย์เจ้าหน้าที่    นำนิสิตระดับปริญญาโทและเอก หลักสูตรสันติศึกษา มจร เข้ารับฟังการบรรยายเรื่อง "พระพุทธศาสนากับสันติภาพ" จากพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร   อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในฐานะอาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา ที่อาคารสิริวัฒนภักดีธรรม วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร         

พระพรหมบัณฑิตได้ให้ความรู้เริ่มจากการนิยามความหมายของคำว่าสันติภาพทั้งในมุมของพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่สันติภาพในพระพุทธศาสนาคืออริยสัจ 4   และขั้นตอนตามหลักปธาน 4 ที่เป็นหัวใจของสันติศึกษา ในข้อ 2 ปหานปธาน คือ การแก้ไข ได้ยกตัวอย่างของพระพุทธเจ้าทรงห้ามญาติ และโทณพราหมณ์ห้ามสงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุได้สำเร็จ หรือบทบาทของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เลิกใช้สงครามวิชัยหันมาใช้ธรรมวิชัย 

ข้อ 3 ภาวนาปธาน การสร้างความปรองดองนั้น  พระพรหมบัณฑิตได้ยกหลักอภัยทานคือการให้อภัยในการสร้างความปรองว่า ที่ผ่านมานั้นมีการสอนหลักอภัยทานน้อยไปจึงต้องเริ่มจากภาวนาขันติธรรม มีความรักความเมตตา ทุกคนต่างรักประเทศชาติ กรุณาต่อกัน และต้องมีการให้อภัยยกโทษซึ่งกันและกัน เราจะมีกระบวนการปรองดองสมานฉันท์อย่างไร ภายในจิตใจของผู้ความขัดแย้งภายในจิตใจ ต้องศึกษาวิธีการ เป็นการสร้างความปรองดอง เมื่อเกิดความขัดแย้งทำอย่างไรจะลืมหรือให้อภัยกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะบางคนมองว่า 10 แก้แค้นก็ยังไม่สาย 

ภาวนาปธานเป็นการซ่อมแซมสิ่งที่ถูกทำลายไปเพื่อให้เกิดสมานฉันท์ มีพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวข้องคือ สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทานเป็นการให้ชนะทั้งปวง รวมถึงการให้อภัยทานเป็นธรรมทานอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการให้ที่ยากมาก แต่การให้อภัยเหนือกว่าให้ทั้งปวง สังคมไทยต้องการการให้อภัย ด้วยการให้อภัยกัน อภัยทานจึงสร้างสามัคคี ดังคำกล่าวที่ว่า "ถ้าไม่มีการให้อภัยผิด และไม่คิดที่จะลืมซึ่งความหลัง จะหาสามัคคียากลำบากจัง ความผิดพลั้งย่อมมีทั่วทุกตัวคน"  สามัคคีไม่เกิดถ้าไม่ให้อภัยกัน เริ่มจากตัวเราต้องให้อภัยก่อน 

พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า การไม่จองเวร นะ หิ เวเรนะ เวรานิ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร หรือความรุนแรงไม่ระงับด้วยการตอบโต้กัน แต่ อะเวเรนะ จะ สัมมันติ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ความรุนแรงระงับด้วยการให้อภัยกัน ทำอย่างไรคนถึงจะให้อภัยกัน ต้องเริ่มจากใจของคน สอดคล้องกับนายเนลสัน แมนเดลา  อดีตประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้  เป็นกรณีศึกษาที่การไม่จองเวร ที่ชีวิตติดคุก 27  ปี  ก่อนถูกจับติดคุกนายเนลสันได้พูดว่า "ตลอดชีวิตของผม ผมได้อุทิศชีวิตให้กับคนแอฟริกา แต่ไม่ต้องการให้คนขาวเป็นใหญ่และไม่ได้ต่อสู้ให้คนผิวดำเป็นใหญ่ แต่อุดมการณ์เพื่อให้เกิดประชาธิปไตย ถือว่าเป็นเป้าหมาย เป็นสังคมเสรีประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติมีโอกาสเท่าเทียมกัน มีความหวังเกิดขึ้น ถ้าจำเป็นขอสละชีวิตนี้เพื่ออุดมการณ์นี้"  เมื่อออกจากคุกได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้

"ดังนั้นนายเนลสันจึงเป็นบุคคลต้นแบบของการไม่จองเวร จากเหตุการแบ่งแยกผิว นิยมใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาความขัดแย้ง เขาติดคุก 27  ปี ทำให้พบความทุกข์จึงเห็นธรรมะ จึงสู้ด้วยอหิงสาไม่ใช้ความรุนแรง ใช้รูปแบบของการประนีประนอมและสมานฉันท์ เราต้องการคนฝ่ายขาวฝ่ายดำเพื่อพัฒนาประเทศร่วมกัน จึงมีการจับมือเพื่อเดินไปด้วยกัน ประเทศกำลังต้องการคนให้อภัย  จึงย้ำว่า คนฉลาดเรียนรู้ความผิดพลาดของตนเอง แต่คนฉลาดกว่าเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น การรักษาสันติภาพจะต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง ทำงานร่วมกัน ทำผลประโยชน์ร่วมกัน ทุกศาสนาจัดเวทีในการพัฒนาชาติบ้านเมือง  การทำงานร่วมกันจะทำให้เราเห็นมิติของ บวร บ้าน วัด โรงเรียนอย่าแท้จริงอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข" พระพรหมบัณฑิต ระบุ       

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2500551803576826&id=100008660918012

3 ความคิดเห็น:

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...