วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

"มจร-ยธ." เตรียมเปิดตัวตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน ทาง "ThaiPBS" 6 ต.ค.นี้


วันที่ 2 ต.ค.2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)   เปิดเผยว่า หลังจาก มจร กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานกิจการยุติธรรม ได้ลงนามความร่วมมือในการตั้งศูนย์การไกล่เกลี่ย และการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยร่วมกัน ตาม พรบ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 2562 นั้น

วันที่ 6 ตุลาคม 2563 เวลาตั้งแต่ 13:00-14.00 น. ทั้งสามส่วนงานจะออกรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS เพื่อเปิดตัวการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย มจร และศูนย์ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงการพัฒนาและฝึกอบรมให้เจ้าอาวาสกว่า 30,000 วัด เป็นผู้ไกล่เกลี่ยตาม พรบ. ต่อไป

พระมหาหรรษา กล่าวด้วยว่า  พระพุทธเจ้าถือได้ว่าพระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคนกลางระหว่างญาติฝ่ายพ่อและญาติฝ่ายแม่ที่กำลังทำสงครามน้ำระหว่างกัน โดยการตั้งถามกับคู่กรณีว่า "ระหว่างน้ำกับเลือดสิ่งใดมีค่ามากกว่ากัน" ในที่สุด จึงทำให้ญาติทั้งสองฝ่ายปรองดองกันได้ โดยไม่มีฝ่ายใดเสียเลือดเนื้อ พุทธกิจดังกล่าวจัดเป็นการสงเคราะห์หมู่ญาติ (ญาตัตถจริยา) และขณะเดียวกันนับว่าเป็นการสงเคราะห์ชาวโลก (โลกัตถจริยา) อีกด้านหนึ่งด้วย

"หากจะมองบทบาทของพระสงฆ์ในสมัยอดีต ย่อมสามารถตอบคำถามได้ชัดแจ้งเช่นกัน เพราะพระสงฆ์ในสังคมไทยในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ได้มีบทบาทสำคัญในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน โดยมีวัดเป็นแกนกลางของกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการสมานใจคนในชุมชน" พระมหาหรรษา กล่าวและว่า 

การที่พระสงฆ์ องค์กรภาครัฐ และเอกชนจะร่วมกันฟื้นฟูบทบาทดังกล่าวให้กลับคืนมาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนนั้น ก็นับเป็นการดึงศักยภาพที่ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของพระสงฆ์ออกมาช่วยเสริมสร้างสังคมสันติสุขดังที่พุทธองค์เคยปฏิบัติมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...