วันที่ 9 ตุลาคม 2564 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้ร่วมรับฟังหัวข้อ “ธรรมาภิบาลเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุข” บรรยายแลกเปลี่ยนโดย ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ได้กล่าวประเด็นสำคัญว่า หลักการของธรรมาภิบาลเรารู้ทั้งหมดแต่ทำอย่างไรจะเกิดธรรมาภิบาลอย่างแท้จริงในสังคมไทย เราพยายามพูดเรื่องสันติวิธีแต่ยังมีความรุนแรงเกิดขึ้น รวมถึงในสังคมสงฆ์ในปัจจุบันยังมีประเด็นที่ต้องเรียนรู้และมีคำถาม
จึงมีการตั้งคำถามว่า “อะไรคือสังคมสันติสุข” โดยภาพที่เราคิดว่าอะไรที่สังคมไทยสันติสุข “อะไรที่สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไม่สันติสุข มีอะไรบ่งชี้ว่าสังคมไม่สันติสุข” โดยผู้ร่วมเรียนรู้มีการเสนอว่าในสังคมไทยมีการประท้วง ไม่มีความยุติธรรม การเมืองแบ่งฝ่ายชัดเจน และไม่เชื่อว่าความยุติธรรมมีอยู่จริงนำมาซึ่งการไม่อดทนขาดสติในการรับฟังกันเกิดอารมณ์ต่อกัน นำไปสู่การใช้ความรุนแรง มีความเชื่อว่ามีอำนาจมืดในการตัดสิน
คำถามว่าสงบคืออะไร ประท้วงได้แต่สงบหรือไม่ หรือห้ามประท้วง แต่สิ่งที่น่าสนใจมากคือ “ยุติธรรม” เป็นยุติธรรมโดยธรรม ยุติด้วยความเห็นต่างโดยใช้กฎหมายเป็นตัวอ้างอิง จึงใช้กฎหมายเป็นตัวตัดสินโดยใช้ดุลพินิจเป็นกลางหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสว่า “กฎหมายเป็นเครื่องอำนวยการยุติธรรมสังคม” แต่ดุลยพินิจจะบอกว่าใครควรรับโทษไม่ควรรับโทษ เช่น แม่ลูกอ่อนขโมยนมในร้าน ดุลพินิจไม่ถูกจำคุก แต่ถ้าใช้กฎหมายจะต้องนำไปใช้เท่ากันหมด ใครทำผิดคือผิดตามกฎหมายระบุไว้ การตัดสินคดีคนชนะบอกว่าเป็นธรรมส่วนแพ้บอกว่าไม่เป็นธรรม เพราะศาลตัดสินตามหลักฐานที่มี แต่ศาลจะลงโทษได้จะต้อง “สิ้นสงสัย” จึงตั้งคำถามว่าดุลพินิจถูกต้องหรือไม่เพราะมีความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การได้ยินซ้ำๆ จะเชื่อในสิ่งนั้น เวลาเราสนใจเรื่องใดระบบ AI จะส่งเรื่องที่เราชอบมาตลอด จึงได้ฟังเรื่องซ้ำ จนนำไปสู่ความเชื่อ เช่น การอ่านข่าวปลดเจ้าคณะจังหวัด จะเกิดปรากฎข่าวนี้ขึ้นตลอดผู้รับสารจะต้องใคร่ครวญให้ดี รับข่าวสารทางเดียวนำไปสู่พวกเราพวกเรา นำไปสู่การคิดเหมือนกันนำไปสู่อคติ ทำให้เกิด “ดุลพินิจอคติ” สังคมจึงขาดกระบวนการหาข้อเท็จจริง
ในกรณีการประท้วงแสดงว่ามีความเห็นที่ไม่ได้รับการตอบสนอง แต่สุดท้ายต้องหันหน้ามาพุดคุยเท่านั้นอย่างจริงจังแต่ไม่ต่างกับการทำงานของกระบวนการของศาล มีหลักฐาน มีข้อมูลเชิงประจักษ์ คนส่วนใหญ่มองว่ามีความไว้วางในในกระบวนการยุติธรรมแต่คนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบมองว่าไม่ไว้วางใจในกระบวนการยุติธรรม สังคมจึงมองคำถามเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทยในคดีใหญ่ๆ ทำให้เกิดความสงสัยในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะคดีที่เรารู้จักดี นำไปสู่ความขัดแย้งต่อไปเพราะเราเข้าไปตัดสินหรือเราไปเข้าข้างใดข้างหนึ่ง แท้จริงการประท้วงจะต้องให้เกิดประเด็นจะทำให้คนมองเห็น เป็นเชิงสัญลักษณ์
เวลาพูดเรื่องยุติธรรมถ้าเอาตนเองเข้าไปจะเกิดความคลาดเคลื่อนอย่างมาก เพราะ “สังคมปรองดองไม่ใช่เราถูกเสมอคนอื่นผิดเสมอ” แต่เราทุกคนมีส่วนผิดเสมอ เราอย่างมองเพียงการประท้วงในปัจจุบันแต่ต้องมองอดีตด้วยว่า “เส้นแบ่งของการยอมรับได้เท่าใด” โดยการไม่ข้ามเส้น ซึ่งไม่เคยเห็นคนอเมริกันปีนสภาในประเทศที่มีความเป็นแม่แบบของประชาธิปไตย ถือว่ามีการกระทำเชิงขอบเขต ถือว่าระบบจะต้องจัดการ “ต้องให้ระบบจัดการอย่าใช้อำนาจเข้ามาจัดการ” ประเทศอื่นๆเวลามีปัญหาความขัดแย้งไม่พยายามให้ใครมายึดอำนาจแต่พยายายามใช้ระบบเข้ามาจัดการ ใช้กติกาทำตามกติกาไม่เลือกปฏิบัติทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่บางสังคมรู้สึกว่า “เลือกปฏิบัติมีความไม่เท่าเทียมกัน”
สังคมที่สงบควรจะเป็นอย่างไร “อะไรเป็นตัวชี้สังคมที่สงบ” หรือ เป็นสังคมที่ไม่มีความรุนแรง สังคมมีการยอมรับได้ นิยามของความสงบจึงมีความผันแปรไปตามอารมณ์หรือจริตของผู้คน “ประเทศไทยอยู่ระดับสันติภาพต่ำจากตัวชี้วัดไทยอยู่อันดับที่ 113 ของโลก” แต่ความรู้ของมีของสันติของคนในสังคมต่างกันวัดโดย 23 ตัวชี้วัด
สถานการณ์ของประเทศไทยจะเปรียบเทียบกับโลกอย่างไร ซึ่งเด็กรุ่นใหม่เกิดมาเห็นความขัดแย้งในสังคมไทย จึงต้องถามว่าอะไรที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่ออกมาประท้วงในยุคปัจจุบัน หรือ “เด็กรุ่นใหม่บางกลุ่มบอกว่าไม่นับถือศาสนาอะไรเลย” ไม่มีศาสนาแต่เราเจอ “พุทธระบาด” ซึ่งนับถือว่าจากพ่อแม่สืบๆกันมาโดยไม่ได้ปฏิบัติอย่างเข้าถึง
จึงต้องสร้าง “สันติภาพเชิงบวกด้วยการมองโครงสร้างที่สร้างรักษาให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข” รัฐต้องใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค แต่สันติภาพเชิงลบเน้นปราศจากซึ่งความรุนแรงทางตรงหรือความกลัวของความรุนแรง สังคมจะต้องสร้างยุติธรรมให้ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรอย่างทั่วถึง ซึ่งประเทศที่ไม่มีการประท้วงเพราะมีการเข้าถึงทรัพยากร เช่น ประเทศจีน ประเทศเวียดนาม รัฐเป็นเจ้าของที่ดิน ในสังคมเราบางคนมีที่ดินจนลืมว่าเป็นของตนเอง สังคมจะต้องมีความโปร่งใสแต่ปัจจุบันใช้คำว่า “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นรอง” จึงต้องเปิดเผยจะนำไปสู่การไว้วางใจเกิดความสัมพันธ์ที่ดี ปัจจุบันจึงมีคำว่า “เสรีภาพในความรับผิดชอบ” โดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ถ้าเราเชื่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ควรให้คุณค่าความเป็นมนุษย์เท่ากัน ซึ่งการอยุติธรรมเกิดจากความทุจริตในสังคมจึงมองว่า “จงให้ต้นทุนแห่งการทุจริตแพง” หมายความหมายว่า มีการลงโทษให้หนักที่สุด โดยมีกระบวนการจัดการด้วยความรวดเร็ว และพยายามลดเรื่องดุลพินิจลงเกี่ยวกับการทุจริต ด้วยการแข่งขันภายในประเทศจะต้องมีความยุติธรรมอย่างสูงสุด
การสร้างสังคมสันติสุขจะต้องพัฒนาคุณภาพสังคมเป็นฐานราก ด้วย “คุณภาพชีวิตสู่คุณภาพสังคม” ด้วย “การสร้างโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงและส่งเสริมให้ทุกคนสามารถใช้โอกาส” มีการพัฒนาสังคมที่ไม่ทอดทิ้งใครไม่ให้ใครตกรถไฟขบวนสุดท้าย แต่ยังมีคนไทยจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าสถานีรถไฟอยู่ที่ไหน รัฐจะต้องหาผู้ไม่สามารถเข้าถึง โดยเฉพาะเรื่องโควิดเกิดขึ้นทำให้เราเห็น “ความยากจนข้ามรุ่น”ทำให้ผู้ปกครองตกงานจำนวนมาก คุณภาพในการเรียนออนไลน์มีคุณภาพลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เด็กเยาวชนมี “แผลเป็นในระบบการศึกษา” ซึ่งสถาบันศาสนาจะต้องทำให้สังคมมีความสามัคคีกันมีการยึดโยงยึดเหนี่ยวกัน พร้อมจะเป็นศัตรูกันได้ตลอดในสังคมปัจจุบัน
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทำให้นึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 พยายามให้สติคนที่มีความขัดแย้งกันในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทยใครที่เป็นคนกลางได้บ้าง ซึ่งสังคมไทย “ขาดเครื่องยึดเหนี่ยวขาดคนกลาง” จึงให้ลองเสนอว่าใครควรเป็นคนกลางในการหาทางออกของความขัดแย้งในสังคมไทย ปัจจุบันเราขัดแย้งเกินกว่าจะคุยกัน ซึ่งสังคมไทยมีทุนทางสังคมอย่างมาก เช่น พลังจิตอาสา การช่วยเหลือ การทำบุญ แต่ขาดการจัดการเท่านั้น กลไกศาสนาสามารถจัดการบริหารบุญให้ไปถึงคนยากจน ซึ่งสังคมสันติสุขจะต้อง ประกอบด้วย 1)การพัฒนาคุณภาพสังคมเป็นรากฐาน 2)การบ่มเพาะคุณค่าประชาธิปไตยเป็นรากฐานใช้หลักนิติธรรม 3)การสร้างความปรองดอง (Reconciliation)
จะสร้างประชาธิปไตยในวิถีชีวิตมองให้เห็นคนอื่นด้วย ซึ่งการจะสร้างวัฒนธรรมแห่งการปรองดองกันได้จะต้อง “เคารพทุกคน รู้สึกเห็นอกเห็นใจของคนอื่น ร่วมรู้สึก ต้องไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบด้วยการหาทางออกด้วยการสื่อสารพุดคุยสานเสวนา ต้องรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และการรู้จักให้อภัย” ถือว่าเป็นการสร้างสันติภาพเชิงบวก เป็นการนำธรรมะความดีงามความถูกต้องในการปกครองการทำงานทุกรูปแบบคือ ธรรมาภิบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น