วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565

"ดร.นฤมล" ชง 3 เพิ่ม 3 ลดแก้จน แนวเพิ่มพลังเศรษฐกิจฐานรากแนว "พปชร."



​วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) และหัวหน้านโยบายพรรคพปชร.ได้ โพสเฟซบุ๊ก วันนี้(28มิถุนายน 2565 )โดยระบุว่า พรรคพลังประชารัฐมุ่งเน้นที่จะขับเคลื่อนเพื่อพลังเศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่องที่เป็นนโยบายหลักของพรรคตามเป้าหมายของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคที่จะมุ่งยกระดับให้ประชาชนกินดีอยู่ดี สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อเป็นกลไกหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตแบบยั่งยืน

​“พรรคพลังประชารัฐ เราจะชวนทุกภาคส่วนมาร่วมกันช่วยเพิ่มพลังให้แก่คนฐานราก เพื่อให้พวกเขาสามารถกลับมาสู้ต่อไปได้ ดันเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง และการขับเคลื่อนต้องมองแบบองค์รวมในทุกมิติโดยเฉพาะภาคเกษตรที่จะเป็นฐานรากที่สำคัญให้กับระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป“ ศ.ดร.นฤมลกล่าว

​สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญได้แก่

1. เกษตรประชารัฐ 3 เพิ่ม 3 ลดคือ เพิ่มนวัตกรรม เพิ่มทางเลือก เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ลดภาระหนี้ ลดความเสี่ยง กองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

​2. ร่วมทุนระหว่างชุมชนและเอกชนเพื่อใช้เป็นกลไกการเงินชองชุมชนในการพัฒนาความเป็นอยู่ชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

​3. ส่งเสริมเติมเต็มระบบเศรษฐกิจฐานรากให้มีความหลากหลายในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้

​4. เติม เสริม แกร่งให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือ SMEs ชุมชนรายย่อย รายเล็ก เติมทุน เสริมทักษะ เพิ่มรายได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 พรรคสร้างคนาคตไทย นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคได้ประกาศยุทธศาสตร์ที่จะแก้ไขปัญหา ปัญหาหนี้สิน รายได้ตกต่ำ ข้าวของแพง ต้นทุนการผลิตสูง เป็นต้น ภายใต้แนวคิด “ปรับ-เติม-เพิ่ม-ลด” เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ กล่าวคือวันนี้คนไทยทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการ ต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สินสะสมมายาวนาน โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลง จากนั้นต้องเติมเงินทุนเพื่อให้นำไปดำเนินกิจการต่อ ขณะเดียวกันก็ต้อง เพิ่มแหล่งรายได้ให้ประชาชนจากกิจกรรมที่ทำอยู่เดิมก่อนหน้านี้ และสุดท้ายต้อง ลดต้นทุนการผลิตเพื่อสร้างผลกำไรให้มากยิ่งขึ้น

“หลายสิบปีที่ผ่านมาหนี้สินของเกษตรกรไม่เคยถูกแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ การพักหนี้แค่เพียงปีสองปีแต่ดอกเบี้ยเดินอยู่ไม่ได้ช่วยอะไร หากจะทำให้สำเร็จและเป็นรูปธรรม จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ ยืดหนี้ออกไปนานขึ้น จะเป็น 7-8 ปีก็ได้ แต่เกษตรกรต้องปรับตัวในการที่จะเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่ๆ เพื่อให้ธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถจ่ายหนี้ได้ โดยภาครัฐต้องช่วยส่งเสริมเงินทุน เทคโนโลยี และช่วยหาตลาด สุดท้ายต้องมีโครงการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรอย่างจริงจัง” 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้จากแนวคิดของศ.ดร.นฤมลและพรรคสร้างคนาคตไทยควรจะมีการปรับเป็น" กระบวนการแก้จนตามแนวคิดโคกหนองนาโมเดิร์นแปลงใหญ่"  โดยเริ่มจากการปลอดหนี้ตามแนวคิดของพรรคสร้างอนาคตไทยด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยหนี้ครัวเรือนที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรมดำเนินการอยู่ แล้วสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ได้รับการไกล่เกลี่ยฯตามการดำเนินการแก้จนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กระทรวงมหาดไทยดำเนินการอยู่ และบูรณาการให้ครบวงจรเป็นโคกหนองนาโมเดิร์นแปลงใหญ่ถึงจะยั่งยืน



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เด็กดอย(มิ)ด้อยดอกเตอร์

เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เด็กดอย(มิ)ด้อยดอกเตอร์ 1. บทนำ: จุดเริ่มต้นการเดินทาง เปิดเรื่อง : แนะนำตัวละครหลัก "สันติสุข" นักเข...