วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เพลง ฉลาดเลือกดี

(Verse 1)
คนเราใช่จะดีหมดในทุกเรื่อง
มีดีเลวเคลื่อนคล้อยในตัวเขา
อย่าเพิ่งเร่งจะตัดสินให้ขัดเรา
จงเลือกเฝ้าดูสิ่งดีที่เขามี

(Chorus)
เพียงแค่เลือกมองให้เป็นและเข้าใจ
ทุกคนมีมุมดีให้เราเห็น
แม้ส่วนชั่วจะมีอย่าคิดเน้น
มองรอบด้านหาแง่ดีพอให้เจอ

(Verse 2)
เหมือนหนวดเต่าที่หาเจอยากเหลือเกิน
อย่าผิดเพลินมองหาคนดีไร้พลาด
ฝึกใจเราให้มองดีเป็นวิสาสะ
ย่อมพาชีวิตราบรื่นสุขเสมอ

(Chorus)
เพียงแค่เลือกมองให้เป็นและเข้าใจ
ทุกคนมีมุมดีให้เราเห็น
แม้ส่วนชั่วจะมีอย่าคิดเน้น
มองรอบด้านหาแง่ดีพอให้เจอ

(Bridge)
บางครั้งที่ต้องเตือนด้วยเจตนาดี
เพื่อให้เขาแก้ไขในสิ่งผิด
เลือกชมและชี้ทางให้เขาคิด
ชีวิตจะดีงามไปทุกวัน

(Chorus)
เพียงแค่เลือกมองให้เป็นและเข้าใจ
ทุกคนมีมุมดีให้เราเห็น
แม้ส่วนชั่วจะมีอย่าคิดเน้น
มองรอบด้านหาแง่ดีพอให้เจอ

(Outro)
ฉลาดเลือกดีในสิ่งที่เขามี
โลกนี้จะงดงามดังที่คิด
มองรอบด้านด้วยใจที่เปิดกว้าง
แล้วชีวิตจะสุขสันต์ทุกก้าวเดิน

..........
กราบขอบพระคุณข้อมูลตามนี้

ท่านพุทธทาสสรุปเป็นคำกลอนไว้ว่า

เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา
จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู
ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย

จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

ที่ว่ามองแง่ดีกันอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า ในชีวิตจริงเราจะชมกันร่ำไป บางทีเรา ก็ต้องตักเตือนลูกหลานของเราบ้าง อะไรที่ควรตำหนิก็ตำหนิ เขาจะได้แก้ไขปรับปรุง ตัวเอง

วันหนึ่งมีงานฉลองวัดที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ เจ้าภาพนิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต 
พฺรหฺมรํสี มาเทศน์อานิสงส์การสร้างวัด วัดนี้ตั้งอยู่ใกล้เยาวราช ติดกับสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชยในปัจจุบัน ชื่อว่า วัดคณิกาผล เจ้าภาพผู้สร้างวัดนี้มีชื่อว่ายายแฟง

ยายแฟงนิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาเทศน์อานิสงส์ของการถวายวัดในพระศาสนา ยายแฟงสร้างวัดด้วยเงินที่ได้มาจากการทำธุรกิจ ๒ อย่าง หนึ่งก็คือคุมตลาดสด เก็บเงินมาจากพ่อค้าแม่ขาย และอีกอาชีพหนึ่งก็คือทำหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการโสเภณี เรียกว่าแม่เล้านั่นแหละ ได้เงินมาก็รวบรวมทำบุญ เพื่อที่จะไถ่บาป ในที่สุด ก็สร้างวัดชื่อว่าวัดคณิกาผล ตอนแรกยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านเรียกว่าวัดใหม่ยายแฟง

แทนที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โตจะเทศน์เอาใจเจ้าภาพว่าสร้างวัดแล้วได้อานิสงส์อะไรได้บุญเท่าไร สมเด็จโตเทศน์ว่า อานิสงส์การทำบุญ ถ้าเต็มร้อยก็คือ ๑ บาท ยายแฟงนี้ได้บุญสักประมาณสลึงเฟื้องเท่านั้น 

ที่สมเด็จบอกว่าสลึงเฟื้องแสดงว่าได้บุญน้อย การคิดเงินในสมัยโน้น คือ ๔ สลึง
เป็น ๑ บาท ใน ๑ บาทนี้ มี๘ เฟื้อง ถ้า ๒ เฟื้องก็เท่ากับ ด สลึง คำว่า สลึงเฟื้อง ก็หมายความว่าถ้าแบ่งอานิสงส์บุญออกเป็น ๘ ส่วน ยายแฟงได้บุญแค่๓ ส่วน แสดงว่า บุญหายไป ๕ ส่วน สมเด็จอธิบายว่า เพราะต้นทุนแค่สลึงเฟื้อง เมื่อต้นทุนมีแค่สลึงเฟื้อง ก็ได้บุญแค่สลึงเฟื้อง

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต อธิบายต่อไปด้วยการเล่านิทานว่า ลุงคนหนึ่งไปบนบานศาลกล่าวขอเงินจากเทวดา ได้เงินจากเทวดาจำนวนสลึงเฟื้อง เขานำเอาเงินสลึงเฟื้องมาช่อนที่ใต้บันไดที่บ้านของเขา วันดีคืนดีเขาก็มาขุดดูเงินที่ฝังดินเอาไว้ พอขุดลงไปปรากฏว่าเงินไม่อยู่ในที่ที่ฝังไว้นั้น เงินดังกล่าวเคลื่อนที่ได้โดยกลิ้งตามช่องใต้ดินไปรวมอยู่ในคลังเงินใต้ดินของเศรษฐีข้างบ้าน เนื่องจากเศรษฐีมีบุญมากกว่า เงินของเศรษฐีมีพลังมากกว่า จึงดึงดูดเงินสลึงเฟื้องของลุงข้างบ้านให้เคลื่อนที่ไปรวมกับกองเงินของเศรษฐีในที่ฝังเดียวกัน ลุงก็ขุดตามไปเรื่อยๆ ตามรอยของเงิน ทะลุรั้วบ้านเข้าไป เศรษฐีมาเห็นก็มาต่อว่า ทำไมบุกรุกอย่างนี้ ลุงบอกว่าไม่ใช่บุกรุก ผมตามเงินมา เงินของผมมันไหลเข้ามาในบ้านของท่าน ลงใต้ดินเป็นช่องไป เศรษฐีเห็นช่องทางเดินของเงินแต่ไม่เชื่อคำพูดของลุง

เศรษฐีบอกว่าเงินของเรามีแต่ก้อนโตๆ เงินเล็กน้อยแค่นี้เราจะเอามาทำไม ลุงบอกว่า ท่านเศรษฐ์มีแต่เงินก้อนใหญ่ๆ ถ้าบังเอิญว่ามันมีเงินก้อนเล็กๆ สลึงเพื่องไปผสมอยู่ด้วย ถือว่าเป็นของผม ผมเอาคืนได้ไหม ว่าแล้วลุงก็ไปแจ้งความแก่ทางการให้พิสูจน์ในเรื่องนี้ ตกลงว่าถ้าเศรษฐีแพ้ต้องจ่ายเงินให้กับลุงที่ชนะคดีเท่ากับน้ำหนักตัวของลุงตกลงกันแล้วทางการก็ขุดพิสูจน์เข้าไปตามช่องเงินของลุงจนไปถึงคลังได้ดินของเศรษฐเจอเงินสลึงเพื้องจริงๆ ลุงบอกว่า เราชนะแล้ว ตามข้อตกลงก็คือว่าทางเศรษฐีต้องจ่าย ที่แพ้คดีเป็นเงินเท่าน้ำหนักตัวของลุง น้ำหนักตัวเท่าไรก็ให้เท่านั้น เศรษฐีเอาตาซั่งมาวางไว้แล้วให้ลุงขึ้นไปยืนบนตาชั่ง พอชั่งแล้วปรากฏว่าน้ำหนักของลุงเท่ากับสลึงเฟื้องพอดีน้ำหนักของลุงไม่ยอมขึ้นตามน้ำหนักตัวจริงๆ ชั่งเท่าไรก็ได้สลึงเพื้อง ลุงจึงได้เงินไปแค่สลึงเพื้องเท่านั้น เพราะอะไร เพราะเทวดาบอกว่าลุงมีบุญเท่านี้ จึงให้เงินมาแค่สลึงเฟื้อง ลุงจึงได้เงินคืนเท่ากับจำนวนเงินที่เทวดาให้มา เทวดาคงดลบันดาลให้ได้เงินคืนเท่าทุน ไม่ให้เอากำไรเกินควร ลุงจึงได้มาแค่สลึงเฟื้อง เพราะมีต้นทุนแค่นั้น

สมเด็จพระพุฒาจารย์โตสรุปอานิสงส์ว่า การสร้างวัดใหม่ยายแพงนี้ ต้นทุนก็คือสลึงเฟื้อง แล้วจะให้ได้บุญมากกว่านี้ก็คงไม่ได้ ทำไมแค่สลึงเฟื้อง เพราะที่มาของไทยธรรมคือการเบียดเบียนเอาค่าแรงของโสเภณีและการขูดรีดชาวบ้านด้วยการเก็บ ค่าตลาดสดแสนแพง เพราะฉะนั้นเมื่อต้นทุนน้อย ยายแฟงก็ได้บุญน้อยเหมือนกันเหมือนเรื่องของลุงสลึงเฟื้องดังที่เล่ามา

ยายแฟงฟังแล้วโกรธที่พระเทศน์อย่างนั้น สมเด็จเทศน์ตรงๆ เพื่อที่จะสอนให้ประกอบสัมมาอาชีวะทำความดีให้มากกว่านี้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่๔ ได้เปลี่ยนชื่อ วัดใหม่ยายแฟง เป็นนามพระราชทานว่า คณิกาผล แปลว่าผลจากโสเภณี หรือผลจากนางงามเมืองนั่นเอง

พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักแยกแยะ ส่วนไหนดีก็ชม ส่วนไหนไม่ดีก็ติ เวลาที่เราอยู่กับใครก็เลือกชมเขาบ้าง บางคนปากร้ายแต่ใจดี ก็ชมว่าเขาใจดีไม่พูดเรื่องที่เขาปากร้ายเป็นต้น นี่เรียกว่าเลือกชมในสิ่งที่พอจะชมได้ การเลือกอย่างนี้เรียกว่า วิภัชชวาท ไม่ได้มองสุดโต่งด้านเดียว แบบตาบอดคลำช้าง

พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องตาบอดคลำช้างไว้ดังต่อไปนี้มีพระราชาองค์หนึ่งประสงค์จะเล่นสนุกก็ให้ข้าราชบริพารคนหนึ่งไปเชิญคนตาบอดมา แล้วให้คนตาบอดซึ่งไม่เคยเห็นช้างแต่เกิดไปคลำช้าง แล้วบอกว่าช้างเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ละคนจับคนละจุด คนหนึ่งจับงวง คนหนึ่งจับขา คนหนึ่งจับหูช้าง คนหนึ่งจับหางช้าง เป็นต้น จากนั้นก็เอาคนตาบอดทั้งหลายที่ถูกโปรแกรมสั่งว่า ช้างเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มาสัมมนากันต่อหน้าพระราชา

พระราชาตรัสถามว่า ช้างเป็นอย่างไร คนตาบอดที่จับงวงก็บอกว่า
ช้างเหมือนงอนไถคนตาบอดที่จับขาบอกว่าช้างเหมือนเสา
คนตาบอดที่จับท้องช้างบอกว่าช้างเหมือนกับยุ้งข้าว
คนตาบอดที่จับหูบอกว่าช้างเหมือนกระดัง
คนตาบอดที่จับหางบอกว่าช้างเหมือนไม้กวาด
คนตาบอดแต่ละคนเถี่ยงกันว่าตัวเองถูก อีกคนผิด 

การมองอย่างคนตาบอด เรียกว่าเอกังสวาท คือมองมุมเดียว 
ถ้าคนมองรอบด้านแล้วก็จะไม่ทะเลาะกัน การมองรอบด้านเรียกว่า 
วิภัชชวาท คือมองหลายมุม

การที่เราจะชมคนๆ หนึ่งว่าดอย่างนั้นอย่างนี้ก็ต้องเผื่อใจว่า
เขาไม่ได้ดี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สร้างวัดใหม่ยายแฟงมีบุญกุศลก็ถูก 
แต่ก็ไม่ใช่ว่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครดีร้อยเปอร์เซ็นต์
นอกจากพระอริยเจ้า

มีอะไรถูกใจที่ไหนเล่า
ตัวของเรายังไม่ถูกใจหนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รู้ล่วงหน้าเสียก่อนไม่ร้อนใจ

พระธรรมเทศนา วิภัชชวาทกถา ว่าด้วยการมองหลายมุม
คติธรรม วาทะธรรมพระพรหมบัณฑิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง ฉลาดเลือกดี

(Verse 1) คนเราใช่จะดีหมดในทุกเรื่อง มีดีเลวเคลื่อนคล้อยในตัวเขา อย่าเพิ่งเร่งจะตัดสินให้ขัดเรา จงเลือกเฝ้าดูสิ่งดีที่เขามี (Cho...