ผู้ว่าฯกระบี่ นำหน่วยงานทุกภาคส่วน ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริต เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล เพื่อปลุกกระแสสังคมไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ พร้อมมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมพนมเบญจา ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดกระบี่ เลขที่ 9/10 นายอังกูร ศีลาเทวากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสัมคม นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วม พร้อมกับรับชมสัญญานการถ่ายทอดสดการจัดงานวันต่อต้านคอรัปชันสากล (ประเทศไทย) จากอาคาร ศูนย์ประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พร้อมกันทั่วประเทศ โดยมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล โดยในปีนี้ กิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) กำหนดจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “FIGHT AGAINST CORRUPTION สู้ให้สุด หยุดการโกง”
สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดกระบี่ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2567 ผลการ จัดกิจกรรมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในระดับพื้นที่ และผลการพิจารณาคัดเลือกรางวัลเครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยจังหวัดกระบี่ มีหน่วยงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ป.ป.ท. เพื่อเข้ารับรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 2 เครือข่าย ได้แก่ ชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดกระบี่ (ภาคประชาชน) และสำนักงานคลังจังหวัดกระบี่ (ภาครัฐ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับผลการคัดเลือกระดับสูงสุดตามเกณฑ์ของสำนักงาน ปปท. เขต 8 และเป็นสำนักงานคลังจังหวัดเดียวในประเทศที่ได้รับรางวัล
นอกจากนี้ ได้ร่วมกันพิจารณาร่างแผนดำเนินงานของคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบจังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบจังหวัดกระบี่ พร้อมทั้ง ได้มีการเสนอแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยให้สถานศึกษาทุกสังกัด นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนการสอน และจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนหลักสูตรด้านทุจริตศึกษาระหว่างสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดกระบี่
จากนั้น นางอังกูร ศีลาเทวากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นำหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการ ผู้แทนภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์และแสดงสัญลักษณ์การต่อต้านการทุจริต ในกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ของจังหวัดกระบี่เพื่อแสดงเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญการการทุจริตอย่างต่อเนื่องและเป็นการยกระดับการรับรู้การทุจริตในจังหวัดกระบี่อีกด้วย
อนึ่ง เวลา 09.15 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่ชมรมชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดกระบี่ ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นชมรมที่มีผลงานดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มอบโล่รางวัลระดับดีเยี่ยมให้แก่ชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดกระบี่และสำนักงานคลังจังหวัดกระบี่ ได้รับคัดเลือกเป็นเครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต และมอบประกาศนียบัตรให้แก่หน่วยงานที่ผลคะแนนผ่าน ดีเยี่ยม ได้แก่ อำเภอคลองท่อมและอำเภอเหนือคลอง และผลคะแนนผ่านดี ได้แก่ อำเภออ่าวลึก อำเภอลำทับ อำเภอปลายพระยา และอำเภอเกาะลันตา ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
พร้อมกันนี้ได้วิเคราะห์จิตพอเพียงต้านทุจริตคอร์รัปชันพบว่า
การทุจริตคอร์รัปชันถือเป็นปัญหาระดับชาติที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และศีลธรรมของประเทศ ในบริบทของประเทศไทย การปลูกฝัง "จิตพอเพียง" ได้รับการส่งเสริมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจริยธรรมและพฤติกรรมที่ยั่งยืน โดยจิตพอเพียงเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเน้นการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และความพอประมาณ
บทความนี้จะวิเคราะห์บทบาทของจิตพอเพียงในฐานะเครื่องมือสำคัญในการต้านทุจริต โดยยกตัวอย่างจากการดำเนินการในจังหวัดกระบี่ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการจิตพอเพียงในการต่อต้านการทุจริต และจะนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการต่อต้านทุจริตอย่างยั่งยืน
การวิเคราะห์กรณีศึกษา: จังหวัดกระบี่
1. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ
ในกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล จังหวัดกระบี่ได้นำหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักเรียน และนักศึกษา มาร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริต กิจกรรมนี้สะท้อนถึงความพยายามในการปลุกจิตสำนึกและเสริมสร้างค่านิยมที่ไม่ยอมรับต่อการทุจริตในทุกระดับ
2. การส่งเสริมหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
การบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในสถานศึกษาเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้นักเรียนและนักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการทุจริต รวมถึงการปลูกฝังค่านิยมของจิตพอเพียง ซึ่งเป็นฐานรากสำคัญในการต้านทานต่อแรงจูงใจที่นำไปสู่การทุจริต
3. รางวัลและการยกย่ององค์กรต้นแบบ
จังหวัดกระบี่ได้มอบรางวัลให้แก่หน่วยงานที่ปฏิบัติงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม เช่น ชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตและสำนักงานคลังจังหวัดกระบี่ กิจกรรมดังกล่าวเป็นแรงจูงใจสำคัญที่สร้างความภาคภูมิใจและส่งเสริมความพยายามในการป้องกันการทุจริตในองค์กรต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ส่งเสริม "จิตพอเพียง" เป็นนโยบายระดับชาติ
รัฐบาลควรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางหลักในการสร้างจิตพอเพียงในทุกระดับ ตั้งแต่การศึกษา การบริหารราชการ จนถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อพฤติกรรมการทุจริต
2. บูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตในระบบการศึกษา
ควรขยายการบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปยังทุกระดับการศึกษา และสนับสนุนการฝึกอบรมครูเพื่อถ่ายทอดความรู้และคุณค่าของจิตพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านทุจริตผ่านการแบ่งปันทรัพยากร ความรู้ และแนวทางปฏิบัติที่ดี
4. ยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ควรเพิ่มความเข้มงวดในระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ (ITA) พร้อมทั้งยกย่องและมอบรางวัลแก่หน่วยงานที่มีผลการประเมินที่ดี เพื่อสร้างแรงจูงใจในเชิงบวก
5. ใช้เทคโนโลยีในการป้องกันการทุจริต
การนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ระบบบล็อกเชน หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการตรวจสอบข้อมูล จะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและลดโอกาสการทุจริตในระบบราชการ
บทสรุป
การต่อต้านการทุจริตเป็นภารกิจที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จิตพอเพียงสามารถเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและปลูกฝังคุณค่าที่นำไปสู่สังคมที่โปร่งใสและมีคุณธรรม การนำเสนอกรณีศึกษาจังหวัดกระบี่และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายข้างต้นหวังว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตในระดับชาติอย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น