พระอาจารย์นภันต์ หนึ่งใน 18 ตัวแทนศาสนาจากทั่วโลก (และหนึ่งเดียวจากประเทศไทย)
ที่ World Council of Churches (WCC) Committee ได้ลงมติเลือกให้เป็นสมาชิก WCC Reference Group for Interreligious Dialogue and Cooperation ได้ปฏิบัติภารกิจที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เสร็จสิ้นและได้เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.
สืบเนื่องจากการประชุมของ WCC Committee ที่เมือง Bogota ประเทศโคลอมเบีย เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการได้ลงความเห็นที่จะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างศาสนาผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านสานเสวนาระหว่างศาสนา (Interreligious Dialogue) จากประเทศต่างๆ มาเป็นสมาชิก WCC Reference Group for Interreligious Dialogue and Cooperation ซึ่งพระอาจารย์นภันต์ ได้รับนิมนต์ให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Reference Group นี้
.
โดยตลอดระยะเวลาครึ่งปีที่ผ่านมา WCC Reference Group for Interreligious Dialogue and Cooperation ได้มีการร่วมประชุมแบบ online เป็นระยะ และได้มีการจัด in-person meeting ขึ้น ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก และเพิ่มความเข้าใจและความคุ้นเคยระหว่างสมาชิกที่มาจากหลากหลายประเทศ และต่างศาสนา กับ WCC
1. จริยธรรมในระดับนานาชาติ (global ethics)
2. บทบาทของศาสนาในภาคประชาสังคม
3. การเกิดขึ้นของความสุดโต่งทางศาสนา (religious extremism)
4. กระบวนการที่ WCC จะส่งเสริมให้ชาวคริสเตียนได้มีส่วนร่วมและส่งเสริมในกิจกรรมสานสาวนาระหว่างศาสนาในแต่ละท้องถิ่น
โดย Dr.Angeliki Ziaka, WCC Programme Executive for Interreligious Dialogue and Collaboration ได้กล่าวในที่ประชุมว่า
“สมาชิกแต่ละท่านของ Reference Group เป็นบุคคลที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจ และมีความโดดเด่นในเรื่องของประสบการณ์ขับเคลื่อนงานสานเสวนาระหว่างศาสนาตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติ ฉะนั้นจึงมีความหวังกับการขับเคลื่อนงานของ Reference Group ที่จะสามารถส่งเสริมการสานเสวนาระหว่างศาสนาตั้งแต่ในระดับรากหญ้า”
(ขอขอบคุณ Dr.Angeliki ที่ให้การต้อนรับดูแลพระอาจารย์เป็นอย่างดีตลอดงานนี้ด้วย)
นอกจากนี้ Dr. Jakob Wirén, Professor of Theology of Religions และ ที่ปรึกษาของ Archbishop แห่ง Church of Sweden ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสานเสวนาระหว่างศาสนา ว่า
“ใจความหลักของความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความเชื่อ คือการที่เราสามารถอยู่ร่วมกันบนขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละศาสนาได้ ฉะนั้น การสานเสวนาระหว่างศาสนา ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็น”
การเป็นสมาชิก WCC Reference Group for Interreligious Dialogue and Cooperation และการเข้าร่วมงานครั้งนี้ของพระอาจารย์นภันต์ เป็นอีกหนึ่งหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สะท้อนความสำเร็จและฉายภาพแนวทางในอนาคตของงานด้านสานเสวนาระหว่างศาสนาของพระอาจารย์นภันต์และ IBHAP Foundation.
สำหรับเนื้อหาฉบับเต็มของการประชุม WCC Reference Group for Interreligious Dialogue and Cooperation ครั้งนี้ สามารถอ่านได้จาก link ใน comment
ขอบคุณภาพจาก WCC ด้วย
@Peace
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น