วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

'สรอรรถ-เศรษฐพงค์' นำทีมกระชับสัมพันธ์ 'จีน-อาเซียน'



วันที่ 29 สิงหาคม 2562 พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 40 ว่า การประชุมจะมีไปจนถึงวันที่ 30 สิงหาคมนี้ ซึ่งภาพรวมการประชุมตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม เป็นไปด้วยดี ตัวแทนของประเทศต่างๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งในส่วนของตนนั้นได้รับมอบหมายในทำหน้าที่ผู้รายงานการประชุม ในฐานะเป็นคณะผู้แทนรัฐสภาไทยที่ร่วมประชุมหารือกับรัฐสภาประเทศผู้สังเกตการณ์ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการประชุมคณะนี้มีนายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นประธานฯ การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น ได้รับความร่วมมือจากประเทศจีน และประเทศผู้สังเกตการณ์อื่นทุกประเทศเป็นอย่างดี ทั้งนี้ การหารือกับประเทศผู้สังเกตการณ์จากประเทศจีน ซึ่งรัฐสภาไทยได้เสนอให้มีความร่วมมือด้านกฎหมาย ด้านกฎระเบียบระหว่างประเทศสมาชิกสมัชชารัฐสภาอาเซียนและระหว่างสมัชชารัฐสภาอาเซียนกับรัฐสภาประเทศผู้สังเกตการณ์ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี

นอกจากนี้ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอาเซียนที่มีมาอย่างยาวนาน และเป็นไปด้วยดี ได้มีการหารือถึงความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีน - อาเซียน โดยให้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากประเทศจีนเป็นคู่ค้าสำคัญของอาเซียนมายาวนาน และอาเซียนยังได้รับการยอมรับว่าเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจีน รวมทั้งยังมีความร่วมมือระหว่างอาเซียน - จีนในประเด็นการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคผ่านกรอบการทำงานระดับภูมิภาค เช่น การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ADMM Plus) และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum-ARF) ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ที่สะท้อนผ่านวิสัยทัศน์ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีน - อาเซียนในปี พ.ศ. 2573 

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า จีนนับว่ามีความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกแห่งสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) มาอย่างยาวนานและมั่นคง โดยจีนได้เข้าร่วมประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่ง AIPA เองได้แสดงความขอบคุณอย่างจริงใจสำหรับความร่วมมือทวิภาคีกับจีน และความช่วยเหลือด้านการพัฒนาจากประเทศจีนในด้านต่างๆ เช่น ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน การลงทุน การขจัดความยากจน และการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ One Belt, One Road (OBOR) หรือเส้นทางสายไหมศตวรรษ 21 ที่ริเริ่มโดยจีน ที่จะช่วยให้การจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (MPAC) ประสบความสำเร็จ

 ขณะที่ นายสรอรรถ กล่าวว่า การประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน หรือ AIPA เป็นเวทีที่ ส.ส. ของแต่ละประเทศทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมาหารือและถกเถียงร่วมกันในประเด็นต่างๆ ผ่านการประชุมคณะกรรมาธิการด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เพื่อนำไปสู่การผลักดันให้มีการพัฒนาทุกด้านของอาเซียนที่สอดคล้องกัน เช่น เสนอให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนที่เท่าเทียมกัน ส่วนด้านกฎหมายของแต่ละประเทศต้องมีการผลักดันไปในทิศทางที่สนับสนุนประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และสันติภาพ นอกจากนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับบทบาทของ AIPA ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักรู้และเป็นพันธมิตรในการผลักดันข้อริเริ่มต่าง ๆ การเร่งรัดกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อให้ความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียนมีผลบังคับใช้โดยเร็ว และการทำให้กฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสอดคล้องกันเพื่อประโยชน์ของสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...