วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

'IBSCมจร'มุ่งจัดการเรียนรู้เพื่อตื่นรู้แบบ Mindful Active Learning



'IBSCมจร' มุ่งพัฒนาทักษะอาจารย์สอนนิสิตอินเตอร์ จัดการเรียนรู้เพื่อการตื่นรู้ แบบ Mindful Active_Learning ภายใต้ทิศทางการพัฒนาของ SDGs

วันที่ 21 ส.ค.2562 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย( มจร) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ที่สภาพสิ่งแวดล้อม (Environment) เศรษฐกิจ (Economic) และสังคม กำลังเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการจัดการศึกษาก็จำเป็นต้องออกแบบให้สอดรับวิถีของบริบทโลกตามกรอบของเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDG) ที่องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น: UN ได้ให้แนวทางเอาไว้ภายใต้บทสรุปของ 5 Ps คือ #People คน #Prosperity ความอยู่ดีกินดี  #Planet โลกสิ่งแวดล้อม #Peace สันติภาพ และ #Partnership ความเป็นหุ้นส่วน

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ก็มีระบบและกลไกเพื่อยกระดับการพัฒนาวิทยาลัยไปในทิศทางดังกล่าว  ดังจะเห็นได้จากการกราบนิมนต์พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกและสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ พระมหาเถระที่มีบทบาทสำคัญในการนำมหาจุฬาฯสู่เวทีโลก ปาฐกถาพิเศษแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562 ในวันปฐมนิเทศนิสิตใหม่ หัวข้อ "Buddhism and Sustainable Development Goals" เพื่อจะได้เข้าใจทิศทางการพัฒนาภายใต้บริบทของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

ถัดมาวันที่ 19 สิงหาคม 2562 วิทยาลัยได้จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่เพื่อตอกย้ำให้เห็นความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันในประเด็นดังกล่าว ซึ่งนำมาสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบโจทย์กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าควรจะมีรูปแบบและแนวทางอย่างไร เพื่อที่จะให้อาจารย์สามารถสอนและแนะนำแนวทางไปสู่การพัฒนานิสิตอินเตอร์ที่ศึกษาหลักสูตรนานาชาติได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางเอาไว้ 

วิทยาลัยได้จัดวางผลลัพธ์ของการเรียนเอาไว้ 4 คำ คือ IBSC ได้แก่ I = Intelligence มีปัญญา B : Being Mindful S : Synergy C : Compassion  ทั้ง 4 คำ จึงจัดเป็น Learning Outcome : LO  หรือ ผลลัพธ์ปลายทางที่วิทยาลัยมุ่งพัฒนาให้นิสิตมีหน้าตาแบบ IBSC  ซึ่งจะสอดรับกับค่านิยมหลัก หรือ Core Values ของวิทยาลัย

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะตอบโจทย์ดังกล่าว คือ "กระบวนการเรียนการสอน" เพื่อให้นิสิตบรรลุผลลัพธ์ดังกล่าว  ด้วยเหตุนี้วิทยาลัยจึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ "Mindfulness Based Learning" โดยอาตมา และหัวข้อ "Active Learning" โดย รศ.ดร.ณัฏฐา คุปตเสถียร ในที่สุดจึงนำไปสู่การบูรณาการ 2 ประเด็นให้เหลือประเด็นเดียวที่จะเป็นตัวแบบที่จะนำมาพัฒนานิสิตทั้งระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก คือ "Mindful Active Learning" อันเป็นผสมผสานจาก Active Mindfulness และ Active Learning 



Mindful Active Learning : MAL จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยความตื่นรู้ และใช้กระบวนการคิดแบบโยนิโสมมนสิการต่อสิ่งที่ผู้เรียนได้ศึกษาและเรียนรู้อย่างเท่าทัน กระบวนการเรียนรู้แบบ MAL จึงเป็นการพัฒนาทั้งตัวรู้และความรู้ หรือพัฒนาทั้งสติและปัญญา โดยการเอาตัวรู้ไปรักษา และพัฒนาความรู้ให้มีคุณค่าและมีความหมายมากยอ่งขึ้นต่อตัวเองและสังคม 

พระมหาหรรษา กล่าวด้วยว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า "โลกอันตัณหาย่อมย่อมนำไป" โลกจึงเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามกฏอนิจจัง (disruption) ประเด็นคือ การจัดการศึกษาต้องรู้เท่าทันโลกตามที่มันเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักจัดการศึกษาต้องปรับตัวและพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และออกแบบเครื่องมือเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดรับและสมสมัยวิถีของโลกที่เปลี่ยนไป ดังที่ชาลส์ ดาร์วิน กล่าวไว้ "ผู้อยู่รอดไม่ใช่ผู้ที่เข้มแข็งหรือฉลาดที่สุด  แต่เป็นผู้ที่ปรับตัวเก่งที่สุด"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา "อะคิตะโมเดล (Akita Model : ประสบการณ์ และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของประเทศไทย" เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่โรงแรมอมารีวอเตอร์เกต ประตูน้ำ กรุงเทพ ฯ ที่ผ่านมา โดยจะมีการถอดประสบการณ์เร่งผลักดันเป็นนโยบาย Active Learning ต่อไป ซึ่งสามารถติดตามได้ที่  https://siampongsnews.blogspot.com/2019/08/active-learning.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยาย: พิราบโรย

  หนังสือนิยาย: พิราบโรย 1. คำนำ บทบรรยายเปิดเรื่องเล่าถึงสถานการณ์สื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน บทนำที่ให้ผู้อ่านรู้จักตัวละครหลัก "สันติสุข...