วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565 พระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร. (สุทิตย์ อาภากโร) เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suthito Aphakaro ความว่า ประเทศไทยร่ำรวยวัฒนธรรม และนวัตกรรมกำลังจะเกิด U2T@MCU
วันที่ 25 กันยายน 65 เดินทางร่วมงาน U2T for BCG ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์และวิทยาลัยสงฆ์กำแพงเพชร ในฐานะประธานขับเคลื่อนโครงการ U2T ของมหาจุฬาฯ
โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T เป็นโครงการ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกิดขึ้นเพื่อยกระดับการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมสร้างสรรค์ของ 7000 กว่าตำบลทั่วประเทศโดยให้มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการพัฒนาศักยภาพสินค้าและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯได้รับการดูแล ลงไปพัฒนาจำนวน 84 ตำบล
ผลของการพัฒนา สามารถยกระดับสินค้าของชุมชนเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์มากกว่า 150 ผลิตภัณฑ์และมีกระบวนการเชิงการท่องเที่ยว การจัดการชุมชน การส่งเสริมการเรียนรู้อีกจำนวนมาก นับว่าเป็นความสำเร็จของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯที่สามารถนำพาชุมชนไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นต้นแบบสามารถต่อยอด OTOP ของประเทศได้อย่างดี โดยเฉพาะนครสวรรค์และกำแพงเพชร ต้องขอขอบคุณมาก ทุกวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ที่ร่วมงาน
จากการเดิมชมบูธ นิทรรศการของตำบลต่างๆ พบว่าประชาชนและบัณฑิตที่เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ U2T สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้ระดับดีมากขึ้น จึงเป็นความหวังว่าในอนาคตทุกทุกตำบลของสังคมไทย สามารถพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ให้มากขึ้นนอกจากความร่ำรวยทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว
การนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของชุมชน สามารถนำไปสู่การสร้างแบนสินค้าในระดับชาติและนานาชาติได้เหมือนประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศที่ประสบผลสำเร็จจากการเริ่มสร้างนวัตกรรมของชุมชนจนกลายเป็นแบรนด์ ระดับโลก ดังนั้น การที่ประเทศไทยนำแนวคิด BCG มาใช้คือ
B BioEconomy พัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร ยา เวชภัณฑ์ จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีจำนวนมากในประเทศไทย
C Circular Economy การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรม เช่น การพัฒนาออกแบบสิ่งทอ เครื่องจักรสาน บทเพลง ศิลปะ และการสร้างสรรค์อื่นๆ
G Green Economy การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพลังงานจากแสงแดดและธรรมชาติที่มีมากมายในสังคมไทยซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้บนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จึงนับว่าเป็นกรอบคิดการพัฒนาประเทศที่ดี
ที่ผ่านแนวคิด BCG เป็นนโยบายสำคัญของหลายรัฐบาลนับตั้งแต่สมัยอดีตนายกทักษิณ ชินวัตรจนมาถึงรัฐบาลปัจจุบันที่มองว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูง มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในระดับที่ดีมาก มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่สนใจในระดับโลก เพียงแต่เราขาดการสร้างสรรค์นำสิ่งเรานั้นมาเป็นนวัตกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าในระดับสูงได้
การขับเคลื่อนภายใต้กรอบแนวคิดนี้จึงผลักดันผ่านโครงการ OTOP และโครงการ U2T ในรอบนี้ แต่สิ่งที่ได้เห็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมสร้างสรรค์ในสังคมไทยยังขาดปัจจัยอีก 2 ส่วนสำคัญคือวิทยาศาสตร์และระบบการขนส่ง (Science and Logistics )
ดังนั้น หากเราทุ่มเทกับการสร้าง สรรค์ การพัฒนานวัตกรรมภายใต้กรอบคิด BCG จึง ควรเพิ่มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและระบบการขนส่งโดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมโยงคนและนักท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ
BCG + SL (Science and Logistics)
คาดว่า ผู้นำจะคิดและทบทวนเรื่องราวเหล่านี้ ในการพัฒนาประเทศต่อไป
มหาวิทยาลัยมหาจุฬา จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
เราไม่เพียงแต่ร่ำรวยวัฒนธรรม
แต่เราจะพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ดียิ่งขึ้น
เพื่อทุกคนในสังคมไทย
U2T @ MCU We creative to the Future
Based on BCG+ SL
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมชุมชน 84 ตำบล
ภายใต้ U2T @ MCU
1. สำรวจสินค้าและภูมิปัญญาชุมชน
2. ชวนคิดและสร้างสรรค์
3. พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์
4. พัฒนามาตรฐานสินค้า
5. พัฒนาระบบและกลไกการตลาด
6. ยกระดับเป็นนวัตกรรมชุมชน
7. ส่งเข้าสู่ Platform online
8. พัฒนาบุคลากรต่อเนื่อง
9. ลงนาม mou กับภาคเอกชน (บริษัท NeemMall) Platform online กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศและยกระดับสู่นานาชาติ
10. พัฒนาระบบวิสาหกิจของมหาจุฬา ให้สามารถพึ่งพาตนเองและสร้างสรรค์ (หลักสูตรผู้ประกอบการวิสาหกิจวิถีพุทธ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น