วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565

กมธ.แก้จนฯวุฒิสภาถกปมปัญหาประชาชนทำกินในพื้นที่ป่าไม้เลย "สังศิต"แนะทุกฝ่ายใช้หลักเมตตาธรรมอภัยทาน

สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ร่วมกันเสวนาเกี่ยวกับข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ร่วมกับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน ณ วัดบ้านน้ำพุพัฒนา ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย


วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2565 ส.ต.ท.สมเกียรติ พาหะ ปลัดอาวุโสอำเภอด่านซ้าย พร้อมด้วยศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการอำเภอด่านซ้าย ปลัดอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้านน้ำพุ และชาวบ้านน้ำพุ ให้การต้อนรับ พลโท จเรศักณ์ อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภา นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการ นายเกียว แก้วสุทอ สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ร่วมกันเสวนาเกี่ยวกับข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ร่วมกับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน ณ วัดบ้านน้ำพุพัฒนา ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย


นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการ ’ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาได้บรรลุโดยป่าไม้เปิดทางชาวบ้านน้ำพุเข้าทำกินที่เดิมได้ ตำรวจ เป็นเกษตรกรจริง ไม่ฟ้อง โดยเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลย ชาวบ้านน้ำพุที่ถูกดำเนินคดีกรณีรุกป่าประมาณ 30 คน เพื่อเข้ารับฟังคำชี้แจงแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินคดีและโอกาสกลับเข้าทำกินในที่ดินเดิมได้อีกครั้ง


การประชุมครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นนัดชี้ชะตาชาวบ้านน้ำพุ ประกอบด้วย ผู้แทนระดับนำตัดสินใจได้ ดังนี้ นายณรงค์ จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายชีวะภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดีกรมป่าไม้ พลตำรวจตรี สุรชัย สังขพัฒน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย พันเอก สมหมาย บุษบา รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเลย ฝ่ายทหาร พันตำรวจโท บุญชู มีศรี รองผู้กำกับการฝ่ายสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจภูธรด่านซ้าย พร้อมพี่น้องชาวบ้านน้ำพุ 30 คน นั่งฟังคำชี้แจง


นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าวเปิดประชุมว่า การแก้ปัญหาให้ตกไปจริงๆ หากใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียวจะแก้ได้ยากมากหรือแก้ไม่ได้เลย จึงจำเป็นต้องใช้หลักเมตตาธรรม หลักอภัยทานและการใช้กฎหมายให้อยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้จริงที่ประชาชนสมควรได้รับจากภาครัฐ (outcome) แก้ปัญหาโดยใช้หลักกฎหมายอย่างมีเมตตาธรรมต่อประชาชนเป็นพื้นฐานแก้ปัญหาร่วมกัน จากนั้นนายสังศิตได้เชิญ นายชีวะภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดีกรมป่าไม้ชี้แจงแนวทางการแก้ปัญหาที่ทำกิน


บ้านน้ำพุเป็นผืนป่าต้นน้ำป่าสัก ขั้นตอนก็คือให้พี่น้องประชาชนขอให้ข้อมูลกับคณะทำงาน 4 ฝ่าย ที่ได้ตั้งไว้แล้ว (ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ฝ่ายปกครอง กอ.รมน. และตำรวจ) ให้มากที่สุด อันนี้เป็นขั้นตอนแรก เป็นการแก้ปัญหาเรื่องคดีความก่อนจะแบ่งเป็นตามการแก้ไขปัญหาประมาณ 3 ขั้นตอน คือ


1. เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้พี่น้องประชาชนที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีสามารถไม่ถูกดำเนินคดีโดยใช้ระเบียบกฎหมายที่มีอยู่มาช่วยตรงนี้


2. พี่น้องประชาชนที่เคยทำกินอยู่ตรงไหนก็กลับไปทำกินที่เดิม ต้องที่เดิม ต้องจำให้ได้ว่าเดิมของเราอยู่ตรงไหน อย่าไปทำกินเกินกว่าที่เราเคยครอบครอง ถ้าตรวจสอบเจอช่วยไม่ได้แล้ว อ.สังศิต ก็ช่วยไม่ได้ ผมก็ช่วยไม่ได้เพราะไปทำเกินไปปลูกใหม่ และจะไม่มีกติกาอะไรมาช่วยได้เลย หลังจากปี 2557 ต้องมีกติกา พี่น้องประชาชนต้องมีกติกา กลับไปทำกินที่เดิม ’จะมีการพิจารณาที่ดินประมาณ 100 กว่าไร่ ต้องคุยกับฝ่ายปลูกป่า ฝ่ายป่าไม้ในรายละเอียด เพราะทราบว่าไปปลูกป่าซ้อนทับกันอยู่กับที่ทำกินของพี่น้อง ตรงนั้นไม่เป็นไร จะหาพื้นที่หรืออาจจะขยับนิดหน่อย หรืออาจไม่ขยับเลย จะดูในรายละเอียด’ นี่คือขั้นตอนที่สอง คือเข้าไปทำกินเพื่อไม่ให้เดือดร้อน อยู่ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ทำอะไรก็อยู่ตรงนั้นก่อน ในช่วงที่ต่อสู้คดี’ รองอธิบดีกรมป่าไม้ย้ำ และชี้แจงอีก


3. ต้องจัดพื้นที่ทำกินให้จบในกระบวนการ หมายถึงตอนคดีจบ แต่ต้องมาขั้นตอนที่ 3 จะต้องได้รับการจัดเข้า คทช. เราจะเอา คทช. ไปใช้ เพราะฉะนั้นพี่น้องประชาชนที่มีคุณสมบัติที่จะได้ที่ทำกินตามนโยบายรัฐ ก็คือ คทช. ก็ต้องได้ ทั้งหมดต้องทำคู่ขนานกัน ’และขอแจ้งว่า วันนี้พื้นที่ตรงนี้ต้องปลอดคดี ทราบว่ามีคดีที่พี่น้อง 4-5 ราย ไปร้องเรียนทนายท่านหนึ่งฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ คือคดีตรงนี้ ถ้ามันมาซ้อนอยู่ มันก็จะเดินต่อไม่ได้ ต้องปลดล็อคทีละอย่าง เพราะทั้งหมดทั้งปวงนี้ถือว่าเป็นของกลางในคดี ถ้าฝ่ายโจทย์หรือฝ่ายจำเลยท่านใดท่านหนึ่ง อย่างเช่น ผมบอกให้พี่น้องประชาชนกลับเข้าไปทำกิน ฝ่ายจำเลยคือเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ถูกฟ้องอยู่ เขาอุทธรณ์มาบอกว่า ผมไม่ยอม เพราะตรงนี้มันเป็นของกลางในคดีใครจะไปแตะต้องอะไรไม่ได้ พี่น้องประชาชนก็กลับเข้าไปทำกินไม่ได้ ซึ่งอาจารย์สังศิตจะได้ดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคที่พี่น้องจะกลับเข้าไปทำกิน’ นายชีวะภาพ กล่าวในที่สุด


นายสังศิตได้เชิญ พลตำรวจตรี สุรชัย สังขพัฒน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเลย ชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินคดีต่อมาว่า เรียนให้ทราบว่า ตอนนี้มีอยู่ 27 คน ที่ยังถูกดำเนินคดีอยู่ จะหายไปไม่ได้ จะต้องมีความเห็นและส่งอัยการ อัยการจะเป็นคนสุดท้ายที่จะมีความเห็นว่าสั่งฟ้องหรือสั่งไม่’


’ในส่วนของตำรวจ เมื่อฟังจากท่านประธาน ที่บอกว่ามีคณะกรรมการที่จะดำเนินการเรื่องที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติ ถ้าเมื่อไรคุณสมบัติถูกต้อง หมายถึงว่าเป็นเกษตรกรจริง เพราะผมจะต้องเป็นคนเซ็นสำนวนคนสุดท้ายของตำรวจเพื่อที่จะส่งอัยการ’


นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าวขอบคุณนายณรงค์ จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายชีวะภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดีกรมป่าไม้ พลตำรวจตรี สุรชัย สังขพัฒน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเลย พันเอก สมหมาย บุษบา รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเลย ฝ่ายทหาร และพี่น้องชาวบ้านน้ำพุผู้เข้าร่วมประชุม ก่อนปิดการประชุม ภายหลังปิดการประชุมแล้ว นายสังศิตได้เชิญเกษตรกรสี่ท่านที่ไปลงชื่อเป็นพยานให้มีการฟ้องร้องข้าราชการในข้อหาทุจริตและประพฤติมิชอบ ร่วมกันหารือถึงทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้ข้อยุติร่วมกันว่ายินดีที่จะถอนตัวจากการเป็นพยานในการฟ้องร้อง


ทั้งนี้ เมื่อเช้าวันที่ (9 ก.ย.65) ได้รับแจ้งจากผู้การจังหวัดว่าได้มีคำสั่งถึงผู้กำกับว่าสำหรับสำนวนของเกษตกรทั้ง 27 รายนั้น ท่านจะเป็นผู้ตรวจสำนวนและพิจารณาเห็นชอบก่อนส่งสำนวนให้อัยการด้วยตัวท่านเอง และตอนบ่ายได้นัดกับเกษตรกรเพื่อให้พบกับ คุณสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมการด้านคุณภาพชีวิตเพื่อให้คำแนะนำเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์และพืชที่สมควรปลูกที่เป็นที่ต้องการของตลาดในขณะนี้และจะช่วยดูแลเรื่องการตลาดในระยะยาวให้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พร...