วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565

"อลงกรณ์" เดินหน้าพัฒนาเพชรบุรีดันโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบลเป็นจังหวัดแรก

 "อลงกรณ์" เดินหน้าพัฒนาเพชรบุรีดันโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบลเป็นจังหวัดแรก ผนึกศูนย์AICมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมขับเคลื่อนเขตส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร


วันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2565   นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี  ผศ. พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมีราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรในพื้นที่ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งหารือและรับทราบผลการดำเนินงานของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ความเป็นเลิศเกลือทะเล ศูนย์ความเป็นเลิศเกษตรอินทรีย์ และโครงการฟู้ดวัลเลย์จังหวัดภาคกลางตอนล่างรวมทั้งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในการขับเคลื่อนโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์(Petchburi Food Valley) ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก(Western Economic Corridor)ซึ่งจะมีการนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในเดือนตุลาคม


นอกจากนั้น ยังได้รับฟังรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ.จากเกษตรและสหกรณ์จังหวัดและส่วนราชการต่างๆโดยนายอลงกรณ์ได้แสดงความยินดีที่ศูนย์AICเพชรบุรีได้รับรางวัลศูนย์AICสมรรถสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและชื่นชมผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ2565 ของหน่วยงานในสังกัดตลอดจนการขับเคลื่อนโครงการ”เพชรบุรีโมเดล”เพื่อเป็นต้นแบบตัวอย่างการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิตการแปรรูปและการตลาดทั้งออนไลน์ออฟไลน์และตลาดกลางสินค้าเกษตร 


 ขณะเดียวกันยังได้ประกาศคิกออฟ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล  ภายใต้แนวคิด”บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน และเพื่อชุมชน “โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบลของจังหวัดเพชรบุรีเพื่อจะเป็นกลไกพัฒนาหมู่บ้านตำบลแบบบูรณาการทุกภาคส่วนตามแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล

 ควบคู่กับการเดินหน้าโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง “เพชรบุรีสีเขียว”(Green Petchburi) วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน โดยมีการวางโครงสร้างและระบบแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่เมืองและพื้นที่ชุมชนซึ่งทั้ง2โครงการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติ.เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุม 77 จังหวัด ต่อไปด้วย

 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...