วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565

โอกาสทองของคนเมือง 'สู่ความรู้เกษตร' อันเป็นอมตะวิชารายงานพิเศษชุด "ตื่นรู้สู่เกษตรคนเมือง" (Awake to urban agriculture) ตอน 3

โอกาสทองแห่ง "การตื่นรู้สู่เกษตรคนเมือง" ในกรุงเทพมหานครปีนี้เริ่มต้นเปิดศักราชช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ก็มีข่าวที่สร้างความฮือฮาให้กับแวดวงเกษตรกรรมไทย เมื่อบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) ลงทุน 20% ในบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด ซึ่งเปิดบริการเป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ "โอ้กะจู๋"

ปตท.มองว่า โอ้กะจู๋มีจุดเด่นในเรื่องความสดใหม่ของผักที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ และมีการระบบขนส่งสินค้าส่งตรงจากฟาร์มผักขนาดใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่ไปยังร้านสาขา ทำให้การลงทุนครั้งนี้ ปตท.ถึงกับกล้าตั้งเป้าว่าจะขยายสาขาร้านโอ้กะจู๋เพิ่มในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. (PTT Station) รวมถึงการจำหน่ายอาหารแบบซื้อรับประทานแล้วไปต่อได้ทันที (Grab & Go) ผ่านร้านคาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon)ทั้งสาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และภาคเหนือ

ล่าสุดตามมาด้วยข่าวที่เขย่าแวดวงการเกษตรอีกหนึ่งข่าว คือ การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง "วิน ฟาร์ม" ของนายวิลลี่ แมคอินทอช และนายเกียรติศักดิ์ อุดมนาค หรือ เสนาหอย กับ "อะโกรว์พลัส" (Agrowplus) ซึ่งมี "นายตะวัน น้อยมีธนสาร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอะโกรว์พลัส และบริษัทในเครือ เป็นหัวเรือใหญ่ในการเดินหน้าธุรกิจแนวร่วมกันเดินในรูปแบบเป็น "พันธมิตรทางธุรกิจ"

เรียกว่าการลงทุนในกลุ่มภาคการเกษตรทั้ง 2 รายนี้ ทำให้แนวโน้มการทำเกษตรคนเมืองในไทยมีการต่อยอดและเป็นไปเพื่อขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย รวมทั้งทำให้คนเมืองเห็นโอกาสการทำเกษตรที่สร้างรายได้ได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความฝัน หรือ นามธรรมที่จับต้องไม่ได้

แต่อะไรคือ "กุญแจ" ที่จะไขความรู้อันนำไปสู่ "การตื่นรู้สู่เกษตรคนเมือง"

สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ การค้นคว้า ศึกษาเรียนรู้หาข้อมูล สะสมไว้ และ รอโอกาส เมื่อจังหวะและเวลามาถึง เพราะฉะนั้นการปลูกผักบนพื้นที่เล็กๆ ก็อาจเป็นพื้นที่แห่งการวิจัยของคนๆหนึ่งที่อาศัยในเมืองหลวง และใครจะรู้ว่า วันหนึ่งคนๆนั้นอาจเป็นเจ้าของฟาร์มในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งสักแห่ง ที่สามารถปลูกผักตามแนวทางพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" และเป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศชาติได้

แต่การทำเกษตรกรรมในห้วงเวลานี้นั้น ต้องใช้เทคโนโลยีการเกษตรมาเป็นส่วนสำคัญ เพราะมีตัวแปรสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเรื่องนี้เคยสร้างปัญหาให้กับประเทศ "ไอร์แลนด์" มาแล้ว กรณีเกิดมหาทุพภิกขภัยมันฝรั่ง (Great Potato Famine)

โดยก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวไอริชได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มันฝรั่ง จนสามารถมีมันฝรั่งที่ปลูกได้ดีในสภาพอากาศหนาวและเกิดความนิยมปลูกมันฝรั่งพันธุ์นี้ทั้งประเทศเป็นเวลานา จนกระทั่งเมื่อเวลาเดินทางมาถึง พ.ศ.2384 เกิดการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ เกิดอากาศร้อนผิดปกติดติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปี ทำให้เกิดโรคพืชที่มีชื่อทางสามัญว่า ไบรต์ (Bright) ระบาดอย่างรุนแรง ส่งผลให้ผลผลิตมันฝรั่งบนเกาะไอร์แลนด์ลดลงทันที และ เกิดภาวะวิกฤตเฉียบพลัน เกิดทุพภิกขภัยมันฝรั่ง ทำให้คนอดอยากล้มตายจำนวนมาก ซึ่งเป็นจังหวะเวลาที่มีการค้นพบแผ่นดินใหม่ คือ "อเมริกา" หรือ สหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้มีชาวไอริชจำนวนหนึ่งอพยพหนีตายไปอยู่ที่แผ่นดินใหม่ และหนึ่งในทายาทของชาวไอริชที่มีชื่อเสียงก็คือ จอห์น เอฟ.เคเนดี้ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

นี่คือประวัติศาสตร์ของชาวไอริชช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างชีวิตความเป็นความตายของผู้คน อันมีวิถีชีวิตการทำเกษตรกรรมซึ่งจะต้องผลิตอาหารเพื่อเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่มาเลี้ยงชีพ และ ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ผันแปร จนทำให้เกิดการย้ายถิ่น และ ตั้งรกรากใหม่ เพราะความบังเอิญไม่มีในโลก ในจังหวะเวลาที่ชาวไอริชประสบภัย ก็มีการค้นพบแผ่นดินใหม่เกิดขึ้นมารองรับในช่วงเวลาวิกฤตพอดี

เพราะฉะนั้น การภาวะการตื่นรู้สู่เกษตรคนเมือง จะต้องกลับไปที่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมณโคดมบรมครู ที่ว่า "ชีวัง ปฐมัง กะลัง" ปฐมแห่งชีวิตเกิดจากเซลล์ ซึ่ง "กะลัง" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ตะไคร่น้ำที่เกาะตามโอ่ง ตามกะลาในสมัยพุทธกาล ดังนั้น การทำเกษตรกรรม มิใช่เพียงว่าเห็นแล้วมองว่าง่าย แต่จะต้องอาศัยการลงมือทำ ด้วยการเริ่มต้นศึกษาที่ "กะลัง" ของเกษตรกรรม จนนำมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่างมาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์

โปรดติดตามตอน 4 ของรายงานพิเศษชุด "ตื่นรู้สู่เกษตรคนเมือง" (Awake to urban agriculture) ได้ในวันต่อไป

อ้างอิงข้อมูลและภาพ

1.facebook : โอ้กะจู๋ official

2.facebook : Agrowplus

3.หนังสือ "เศรษฐกิจเขียวและใส" เขียนโดย ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ วิเศษกุล

4.เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ

5.เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์

https://www.naewna.com/likesara/678493

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...