วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

ผลวิจัย "วช."หนุนระบุชัด! ภาคธุรกิจท่องเที่ยวคนตัวเล็กรอดได้ เพราะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่  30 กันยายน 2565  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินโครงการโดย รศ.ดร เจริญชัย เอกมาไพศาล คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทั้งนี้จากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ที่พัก รวมถึงร้านอาหารต่าง ๆ ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้าง หรือ พนักงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอด ทำให้ธุรกิจต้องปรับการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่นในช่วงภาวะวิกฤต มีความหลากหลายในด้านบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำหลักบริหารแบบครอบครัวมาปรับใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีมีความเห็นอกเห็นใจกันทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่ลูกจ้าง หรือพนักงานที่ต้องเจอมรสุมออกจากงานกลับถิ่นฐานจะต้องปรับตัวเองนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีความรู้ทักษะในการหารายได้ในยุคดิจิตอล


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายภาคธุรกิจแทบตั้งหลักไม่ทัน ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งปิดกิจการ ลดพนักงาน รวมถึงปรับปรุงการบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีนวัตกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหลายโครงการที่ทาง วช. ได้ให้การสนับหนุนเพื่อนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน รวมไปถึงงานวิจัยที่นำเสนอโดยทีมวิจัยจากคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในเรื่องการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้ให้ผู้ประกอบการและพนักงานลูกจ้างฝ่ามรสุมวิกฤตนี้ไปให้ได้


รศ.ดร. เจริญชัย เอกมาไพศาล อาจารย์คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ที่วางโครงสร้างไว้ดีแม้จะต้องปรับตัวเองหลายด้านแต่ก็สามารถฝ่าวิกฤตไปได้ แต่มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลง ส่งผลให้มีการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่าจากสถานการณ์โควิด -19 ทำให้ลูกค้าน้อยลง รายได้ลดลงมาก  ส่วนของพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มีจำนวนไม่น้อยต้องกลับถิ่นฐานเดิม และพยายามหารายได้มาเลี้ยงชีพ ซึ่งในกลุ่มนี้จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีทักษะที่หลากหลายในยุคดิจิตอล การสร้างรายได้บนมือถือหรือที่เรียกว่าการขายของออนไลน์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง การเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะของตลาดในยุคปัจจุบัน 


ที่สำคัญคือการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ต้องรู้จักประมาณตน มีการวางแผนการดำเนินชีวิต ประหยัดรู้จักออม เพื่อสามารถนำเงินมาใช้ในคราวจำเป็นเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ เนื่องจากปัญหาแรงงานไทยจะประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เยอะมาก ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ซึ่งผลจากการวิจัยนี้เชื่อว่าเป็นองค์ความรู้ในการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระยะยาว เมื่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน สินค้าและบริการ ต้องปรับกลยุทธ์รับมือเพื่อความอยู่รอด


ขอบคุณข้อมูลจากเพจสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...