วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565

สปก. หนุน 'ยุวลี ถาริวงษ์' สร้างชีวิตที่มั่นคง ด้วยการปลูกผักอินทรีย์ ที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว

 สปก. หนุน 'ยุวลี ถาริวงษ์' สร้างชีวิตที่มั่นคง ด้วยการปลูกผักอินทรีย์ ที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว

 

"ตอนเริ่มต้นที่มาเข้าร่วมนั้น มาคนเดียว พร้อมกับกระเป๋าใส่เสื้อผ้า 1 ใบ แต่ในวันนี้ ชีวิตได้เปลี่ยนไปมาก สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง มีทุกอย่าง มีบ้าน มีรถ ทุกวันนี้ เพราะ ส.ป.ก. ได้ช่วยสานฝัน ช่วยสร้างอาชีพ บนผืนดินทองคำแห่งนี้ จึงทำให้ชีวิตมีความสุขมาก โดยเฉพาะการได้ปลูกผักอินทรีย์คุณภาพดีให้กับผู้บริโภค ได้อยู่กับลูก ได้อยู่กับครอบครัว" นางยุวลี ถาริวงษ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนผักอินทรีย์แปลงใหญ่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต จากการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียว ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก.

นางยุวดี กล่าวว่า เดิมนั้นตนเองมีอาชีพเป็นช่างเย็บผ้า ต่อมาในปี 2549 ได้สมัครเข้าร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. และได้รับการคัดเลือก โดย ส.ป.ก. ได้จัดสรรที่ดินทำกินให้จำนวน 2.5 ไร่ พร้อมสนับสนุนให้ปลูกผักอินทรีย์ ด้วยการฝึกอบรมด้านความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่การรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นวิสาหกิจชุมชนผักอินทรีย์แปลงใหญ่ ดำเนินการผลิตผักสลัดอินทรีย์ เช่น เคล กรีนโอ้ค เรดโอ๊ค คอส เป็นสินค้าหลัก ส่งจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ สามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี

ด้าน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เป็นโครงการที่ ส.ป.ก. ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ด้วยการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่เกษตรกรยากจน และผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพเกษตรกรรม พร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างเป็นระบบ สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้แก่เกษตรกร บนพื้นฐานของหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

"จากการดำเนินงานของ ส.ป.ก. โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา ได้ส่งผลให้ปัจจุบัน นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน เกษตรกรมีการผลิตสินค้าตามหลักการตลาดนำการผลิต โดยเฉพาะตลาดสินค้าอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้เฉลี่ย35,000บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน และที่สำคัญพื้นที่นิคมฯ ได้รับการฟื้นฟูระบบนิเวศ ทั้ง ป่า ดิน และน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนชุมชนนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว มีชื่อเสียงในการเป็นพื้นที่สีเขียวของอำเภอ"ดร.วิณะโรจน์ กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 2562 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้คัดเลือกให้ นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม ระดับดี โดย "รางวัลเลิศรัฐ" ถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่มอบให้หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานภาครัฐ ในด้านการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และความโดดเด่นในการบริหารจัดการ

https://siamrath.co.th/n/383779

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พร...