'ประวัติศาสตร์เกษตรของสหรัฐฯ' สู่การตื่นรู้เกษตรคนเมืองในไทย รายงานพิเศษชุด "
ในยุคนี้เราพูดถึงทฤษฎีโลกร้อน ที่ "อัล กอร์" อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จับเรื่องนี้มาตลอด และ คงยังเป็นประเด็นร้อนแรงต่อไปนับแต่ พ.ศ.2565 แต่ในประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ในภาคเกษตรกรรมก็เคยเกิดความล่มสลายอย่างหนัก เพราะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ใน พ.ศ.2472-2476 เกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจ (Great Depression) ในสหรัฐอเมริกาครั้งใหญ่ อันมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเกิดความแห้งแล้งและการสูญเสียหน้าดินที่เกิดในช่วงนั้น ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายติดต่อกันหลายปี เกษตรกรในสหรัฐฯ เป็นหนี้สินจนล้นพ้นตัว เกิดขีดความสามารถในการจ่ายคืน เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธนาคาร ตลาดหุ้น และ ภาคการผลิตอื่นๆ ซึ่งเป็นกลางน้ำและปลายน้ำ และ ส่งผลให้จีดีพีของสหรัฐฯลดลงกว่าร้อยละ 16 ใน พ.ศ. 2476 เมื่อนำไปเทียบกับจีดีพีใน พ.ศ.2473 ซึ่งในปี 2473 นั้น สหรัฐอเมริกาเผชิญสภาพอากาศร้อนจัดและแล้งติดต่อกัน 3 ปี ไร่ที่ไถไว้ปลูกอะไรก็ตายหมด และ ในปีถัดไปเผชิญกับสภาพน้ำมาก น้ำจำนวนมากหอบเอาหน้าดินไปลับไม่กลับมาจุดเดิมอีก
เหตุการณ์ที่เกษตรกรในสหรัฐอเมริกาเผชิญในช่วงนั้นส่งผลกระทบมายังเศรษฐกิจของไทยอย่างเต็มแรง โดยเป็นจังหวะสมัยปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 7
เรื่องของสินค้าเกษตรนั้นในสหรัฐอเมริกา ยังมีอีกตัวอย่างที่เห็นชัดและส่งผลกระทบด้านการเมือง คือ กรณีความเสียหายที่ยูไนเต็ด ฟรุ๊ต สร้างขึ้นในละตินอเมริกา บดขยี้ความรู้สึกของครอบครัวเกษตรกรในท้องถิ่นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ "จาโคโบ อาร์เบนซ์" ที่พยายามนำความยุติธรรมกลับคืนมาสู่ดินแดนกล้วยของประเทศ ซึ่งในยุคนั้นชนพื้นเมืองชาวมายากว่า 1 แสนคน ตายไปด้วยน้ำมือของทหารกัวเตมาลา อีกหลายหมื่นคนลี้ภัยไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างนั้น ธุรกิจกล้วยก็รุ่งเรืองจนถึงขั้นยกฐานะเข้าไปอยู่ในส่วนผสมของซีเรียลและนม
แต่สุดท้ายเรื่องกล้วยกลับเป็นเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตา เพราะสิ่งที่ยูไนเต็ด ฟรุต ต้องเผชิญ คือ เรื่องภัยธรรมชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยหนังสือพิมพ์ เดอะ นิวยอร์กไทมส์ ระบุว่า "โรคกล้วยทำสวนกล้วยพินาศ ไม่มีวิธีเยียวยา ทั้งภูมิภาคเหลือแต่เศษซาก ผู้ปลูกยอมแพ้" เหตุการณ์นี้ยังส่งผลให้รถไฟส่งสินค้าและตู้ขนสินค้าถูกทิ้งไว้จนรกร้างว่างเปล่า รวมไปถึงบ้านพักของผู้บริหารกล้วยก็ถูกทิ้งร้างด้วยเช่นกัน ซึ่ง เดอะ นิวยอร์กไทมส์ เปรียบเทียบเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเสมือนอาณานิคมโรคเรื้อน
เพราะฉะนั้นประวัติศาสตร์เกษตรของสหรัฐอเมริกานั้นสะท้อนให้เห็นว่า แม้วันนี้สหรัฐฯจะเป็นประเทศผู้นำของโลก แต่ก็มีพื้นฐานการเติบโตมาจากสินค้าเกษตรกรรม และ ยังคงแสวงหาพื้นที่ทำเกษตร ซึ่งเป็น "แหล่งอาหาร" อย่างไม่หยุดยั้งมาตลอดในทุกยุคทุกสมัย โดยภาคเกษตรกรรมเป็นฐานกำลังสำคัญในการส่งไม้ต่อมายังการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมและสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีที่ชื่อว่า "ซิลิคอนวัลเล่ย์" ซึ่งการเปลี่ยนทิศในแต่ละภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา จากเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรมการผลิต และ จากอุตสาหกรรมการผลิตมาสู่เมืองแห่งเทคโนโลยี ต้องอาศัยความกล้าอย่างยิ่ง
การทำเกษตรในเมืองในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยนั้น ยังสะท้อนนัยยะอันสำคัญในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ว่า ไทยจะยังคงรักษาพื้นที่และดำรงไว้ซึ่งภาพลักษณ์ในการเป็น "แหล่งอาหาร" ที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว การบริการ อุตสาหกรรมอาหาร และ อีกหลายภาคธุรกิจอีกจำนวนมากได้ต่อไปในรูปแบบใด
ปิดท้ายรายงานพิเศษชุด "
"...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่ามีกินมีอยู่ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงหรือระบบพอเพียง…"
"...แต่ความจริงแล้วเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า Self-Sufficiency คือ Self-Sufficiency นั่นหมายความว่า ผลิตอะไรที่พอมีที่จะใช้ไม่ต้องไปขอซื้อจากคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง…"
อ้างอิงข้อมูล
หนังสือ THE LEAN STARTUP เขียนโดย ERIC RIES, วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา แปล
หนังสือ กล้วย ไม่ใช่เรื่องกล้วย…กล้วย (BANANA : The Fate of the Fruit That Changed the World เขียนโดย DAN KOEPPEL , ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แปล
หนังสือ "เศรษฐกิจเขียวและใส" เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประเทศไทยในเรือนกระจก
เขียนโดย ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ วิเศษกุล
ขอบคุณภาพประกอบ
Facebook : U.S. Embassy Bangkok
(https://www.facebook.com/photo?fbid=429606945872024&set=pcb.429607092538676)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น